ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
29-03-2024, 22:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ==คมช. ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเอง ตามที่ฝ่าย PT อ้างจริงหรือ== 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] 2
==คมช. ตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเอง ตามที่ฝ่าย PT อ้างจริงหรือ==  (อ่าน 12189 ครั้ง)
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« เมื่อ: 01-06-2007, 23:43 »

หลังจากมีคำพิพากษาให้ยุบพรรคไทยรักไทย ตอนนี้จึงเกิดกระบวนการดิสเครดิตตุลาการรัฐธรรมนูญ
โดยประเด็นหลักๆ ที่อ้างตลอดเวลาก็คือเป็นคณะตุลาการที่ คมช. ตั้งขึ้นเองจนฟังเหมือนกับว่าจะเป็น
ใครก็ได้ที่มาเป็นตุลาการตามแต่ใจของ คมช. แล้วฝ่าย PT ก็สรุปเอาเองว่าไม่น่าเชื่อถือ

ผมจึงเห็นสมควรจะเปรียบเทียบคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2549
กับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเดิมที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2540

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549

มาตรา 35  บรรดาการใดที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ หรือเมื่อมีปัญหาว่า
กฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ให้เป็นอำนาจของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบด้วย

ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นรองประธาน

ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่
ของศาลฎีกา โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน 5 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ
และตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยทีประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
โดยวิธีลงคะเเนนลับจำนวน 2 คน เป็นตุลาการรัฐธรรมนูญ


ให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย ว่าด้วยสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ธุรการ และการอื่นใด
ตามที่ประธานคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมอบหมาย องค์คณะในการพิจารณาพิพากษา วิธีพิจารณา
และการทำคำวินิจฉัย ให้เป็นไปตามที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาอรรถคดี หรือการใด ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 19 กันยายน
พุทธศักราช 2549 ให้โอนมาอยู่ในอำนาจและความรับผิดชอบของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 00:08 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #1 เมื่อ: 01-06-2007, 23:45 »

คราวนี้เทียบกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิม
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

มาตรา 255 ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ คนหนึ่งและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่น
อีกสิบสี่คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้

(1) ผู้พิพากษาในศาลฎีกา ซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือก
     โดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวน ห้าคน
(2) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด
     โดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน

(3) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา 257 จำนวนห้าคน
(4) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ ซึ่งได้รับเลือกตามมาตรา 257 จำนวนสามคน


ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่ง เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ
ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 00:12 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #2 เมื่อ: 02-06-2007, 00:05 »

สรุปว่าตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน ได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนห้าคน
และได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับอีก จำนวนสองคน

ซึ่งเหมือนกันกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิมตามรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 255 วงเล็บ 1 และ 2 ทุกประการ
ไม่ใช่มาจากการเลือกแต่งตั้งของ คมช. เอาเองอย่างที่ฝ่าย PT พยายามบิดเบือน


จะมีที่เปลี่ยนแปลงไปและอาจอ้างได้ว่า คมช. แต่งตั้งก็คือ ประธานและรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญ
ซึ่งก็มาจาก ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุด ซึ่งถ้านับถึงที่สุดแล้ว คมช. ก็ไม่ได้แต่งตั้ง
ทั้งตำแหน่ง ประธานศาลฎีกา และประธานศาลปกครองสูงสุด อยู่ดี

จะเห็นว่าตุลาการทั้งหมดในชุดนี้มาจากองค์กรศาลสูงสุดทั้งหมดซึ่งต้องถือว่ามีความน่าเชื่อถืออย่างสูง
ในขณะที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิมกว่าครึ่งหนึ่งคือ 8 คนใน 15 คน ไม่ได้มาจากองค์กรศาล แต่แต่งตั้ง
โดยวุฒิสภาตามบัญชีรายชื่อที่เสนอโดยคณะกรรมการสรรหา ซึ่งหากจะให้ตุลาการชุดปัจจุบันมีองค์ประกอบ
เหมือนเดิมก็ทำไม่ได้เพราะไม่มีวุฒิสภาแล้ว

การให้ตุลาการจากผู้ทรงคุณวุฒิทางนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์มีจำนวนมากกว่าตุลาการที่มาจากองค์กรศาล
ตามแบบรัฐธรรมนูญ พศ. 2540 ในความเห็นของผมก็ไม่ได้สร้างความน่าเชื่อถือในการตัดสินคดีมากขึ้น
และยังอาจจะถูกมองได้ว่าตั้งขึ้นตามความต้องการของ คมช. ยิ่งกว่าตุลาการชุดปัจจุบันที่มาจากองค์กรศาล
ทั้งหมดเสียอีก การให้มีแต่ตุลาการจากองค์กรศาลจึงน่าจะมีความน่าเชื่อถือว่าเป็นอิสระดีแล้ว


ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันตั้งขึ้นเองโดย คมช. จึงเป็นคำกล่าวหาที่เลื่อนลอย
เพราะตุลาการชุดปัจจุบันมาจากการแต่งตั้งโดยองค์กรศาลทั้งหมด และเนื้อความในรัฐธรรมนูญ 2549
เกี่ยวกับการแต่งตั้งโดยองค์กรศาลก็แทบจะเป็นเนื้อความเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2540 ทุกประการ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 00:19 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: 02-06-2007, 00:18 »

ถ้าคิดว่า รัฐธรรมนูญ 2549 มีพระปรมาภิไธย

ก็ให้ถือว่านั่นคือ การยอมรับว่าเป็นกฎหมายแล้วครับ

พวกนั้นตะแบงยังไงมันก็ไม่พ้นเรื่อง "รัฐถาธิปัตย์"

จะว่าไป มันก็ไม่แปลกไปกว่ารัฐธรรมนูญที่เริ่มมาตั้งแต่ 2475 หรอกครับ


ถึงที่สุด ใครครองเสียงมาก ใครมีอำนาจ ก็ออกกฎหมายเองทั้งนั้น...

ตอนทักษิณครองอำนาจ มีใครขัดใจได้บ้างล่ะ

ไม่ว่ากฎหมายที่โมฆะ หรือกฎหมาย ทุจริตเชิงนโยบายทั้งหลาย

ต่างกันตรงใหนครับ...มันก็พวกมากลากไปทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 02-06-2007, 00:20 »

อ้อ...ผมหมายถึงพวกผู้แทนที่ทุจริตเลือกตั้ง ซื้อเสียงมานั่นแหละครับ

มันเป็นประชาธิปไตยที่ตรงใหน ขี้หมาทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 02-06-2007, 00:27 »



อำนาจนิติบัญญัติต้องมีสำนึกในหน้าที่มากกว่านี้ครับ และกลไกการตรวจสอบสส. สว.ต้องทำงานด้วย

ฝ่ายบริหารจะไปบล็อคโหวตแบบเผด็จอำนาจแบบเดิมอีกอีก ประชาชนและสื่อต้องช่วยกันตรวจสอบด้วย

ถ้าโปร่งใส ไม่มีบล็อคโหวต มีคำอธิบายในกฎหมายต่างๆที่เห็นชอบและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างของประชาชน

ทั่วประเทศและฐานเสียงก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเลี่ยงการตรวจสอบ ก็คงมีสภาพที่ต้องถูกบีบ จนถึงถูกไล่

ควรเอากรณีของระบอบทักษิณไว้เป็นกรณีศึกษาครับ..

ต้องมีขอบเขตของการสื่อสารให้ความร่วมมือตามหลักการทำงาน แต่ต้องไม่เทรกแซงความเป็นอิสระในการลงมติ โดยเฉพาะระหว่างอำนาจ3ฝ่าย

ฝ่ายบริหารจะออกกฎหมายสำคัญหากไม่ผ่านสภาจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ครับ มีปัญหาแน่
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #6 เมื่อ: 02-06-2007, 00:31 »

ถ้าคิดว่า รัฐธรรมนูญ 2549 มีพระปรมาภิไธย

ก็ให้ถือว่านั่นคือ การยอมรับว่าเป็นกฎหมายแล้วครับ

พวกนั้นตะแบงยังไงมันก็ไม่พ้นเรื่อง "รัฐถาธิปัตย์"

จะว่าไป มันก็ไม่แปลกไปกว่ารัฐธรรมนูญที่เริ่มมาตั้งแต่ 2475 หรอกครับ


ถึงที่สุด ใครครองเสียงมาก ใครมีอำนาจ ก็ออกกฎหมายเองทั้งนั้น...

ตอนทักษิณครองอำนาจ มีใครขัดใจได้บ้างล่ะ

ไม่ว่ากฎหมายที่โมฆะ หรือกฎหมาย ทุจริตเชิงนโยบายทั้งหลาย

ต่างกันตรงใหนครับ...มันก็พวกมากลากไปทั้งนั้น


ในความคิดผมความจริงตอนที่ยึดอำนาจนั้น ประกาศยุบศาลรัฐธรรมนูญแล้ว
ก็ให้โอนคดีทั้งหลายมาให้ศาลฎีกาตัดสินเสียก็สิ้นเรื่องไปแล้ว คือให้กลับไป
ถือปฏิบัติเหมือนเดิมก่อนมีการตั้งศาลรัฐธรรมนูญ

เพราะในความเห็นผมศาลรัฐธรรมนูญเดิมก็ไม่เชิงว่าเป็นศาลเต็มรูปแบบ
เพราะกว่าครึ่งของคณะตุลาการก็ไม่ได้มาจากผู้พิพากษา และทำให้เกิด
คำตัดสินที่ดูเหมือนไม่ยึดถือหลักนิติศาสตร์มาหลายครั้งหลายหน

แต่สำหรับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันที่มาจากองค์กรศาลทั้งหมด
ผมก็ยังรู้สึกว่าน่าเชื่อถือกว่าคณะเดิม และถ้า คมช. ใช้สัดส่วนเหมือนเดิม
คือให้มีตั้งมาจากนอกองค์กรศาลจำนวนมากกว่า ผมว่าป่านนี้คงโดนวิจารณ์
หนักหนากว่านี้หลายเท่าครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #7 เมื่อ: 02-06-2007, 00:41 »

ประกาศและคำสั่งคณะปฏิวัติถือเป็นกฏหมายสูงสุด ไม่มีใครลบล้างได้ แม้กระทั่งบัดนี้ก็ยังใช้บังคับอยู่หลายร้อยฉบับ กระทรวงทบวงกรมต่างๆที่ได้ตั้งขึ้นโดยอำนาจคณะปฏิวัติจะต้องล้มเลิกไปหรือ จะล้มเลิกประกาศหรือคำสั่งฉบับใดต้องออกเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น เคยมีคนลองดีกับคำสั่งคณะปฏิวัติมาแล้ว จะยกตัวอย่างให้ดู คุณอุทัย พิมพ์ใจชน และคุณบุญเกิด หิรัญคำ และใครอีกคนหนึ่งจำไม่ได้ ออกมาอ้างแบบนี้แหละ ผลก็คือติดคุกครับ

พวกลิ่วล้อเหลี่ยมแพ้แล้วพาลอยู่แล้ว จะเอาอะไรล่ะครับ ถ้าสมมติว่าศาลตัดสินว่าไม่ยุบล่ะก็หน้าบาน น้อมรับคำตัดสินไปแล้ว

หรือเอาแท็กซี่มาเป็นศาลก็ได้ครับ ถ้าตัดสินว่าทรท.ไม่ยุบ ศาลแท็กซี่นั้นก็ได้สดุดีจากลิ่วล้อเหลี่ยมอยุ่แล้ว

บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #8 เมื่อ: 02-06-2007, 00:44 »


อำนาจนิติบัญญัติต้องมีสำนึกในหน้าที่มากกว่านี้ครับ และกลไกการตรวจสอบสส. สว.ต้องทำงานด้วย
ฝ่ายบริหารจะไปบล็อคโหวตแบบเผด็จอำนาจแบบเดิมอีกอีก ประชาชนและสื่อต้องช่วยกันตรวจสอบด้วย
ถ้าโปร่งใส ไม่มีบล็อคโหวต มีคำอธิบายในกฎหมายต่างๆที่เห็นชอบและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างของประชาชน
ทั่วประเทศและฐานเสียงก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเลี่ยงการตรวจสอบ ก็คงมีสภาพที่ต้องถูกบีบ จนถึงถูกไล่
ควรเอากรณีของระบอบทักษิณไว้เป็นกรณีศึกษาครับ..
ต้องมีขอบเขตของการสื่อสารให้ความร่วมมือตามหลักการทำงาน แต่ต้องไม่เทรกแซงความเป็นอิสระในการลงมติ โดยเฉพาะระหว่างอำนาจ3ฝ่าย
ฝ่ายบริหารจะออกกฎหมายสำคัญหากไม่ผ่านสภาจะทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้เหมือนที่ผ่านมาไม่ได้ครับ มีปัญหาแน่


ในความคิดผมคำตอบมันไม่ได้อยู่ในรัฐสภาครับ แต่อยู่ที่ว่าประชาชนจะมีอิสระทางการเมืองจนสามารถควบคุม สส.
ให้ทำงานอย่างถูกต้อง คือการเป็นตัวแทนประชาชนเพื่อตรวจสอบรัฐบาล และพิจารณากฎหมายได้หรือเปล่า

เพราะโครงสร้างการเมืองไทยมันบิดเบี้ยวแบบกลับหัวกลับหาง แทนที่ประชาชนจะควบคุม สส. และ สส. ควบคุม
+ตรวจสอบรัฐบาล มันกลับกลายเป็นว่า รัฐบาลควบคุม สส. ผ่านมติพรรคและ สส. ควบคุมคะแนนเสียงประชาชน
ผ่านหัวคะแนนโดยอาศัยความด้อยทางเศรษฐกิจสังคมของประชาชนมาต่อรองเสนอผลประโยชน์เฉพาะหน้าอีกที

แต่อย่างน้อยนะครับ ในตอนนี้เราก็ยังมีองค์กรศาลที่พอจะพึ่งพาเชื่อถือได้อยู่ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นองค์กรที่อดีตนายกฯ
ทักษิณ พยายามควบคุมแทรกแซงมาตลอด สังเกตว่ามีการล็อกตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมให้น้องเขยนั่งนาน
ถึง 6 ปี ติดต่อกันก่อนจะจำต้องเว้นวรรค และมีแผนจะให้มานั่งต่ออีกแต่ถูกยึดอำนาจเสียก่อน

และเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเดิมซึ่งมีโครงสร้างไม่เป็นศาลเต็มรูปแบบคือตุลาการกว่าครึ่งไม่ได้มาจากองค์กรศาล
เป็นจุดที่ถูกแทรกแซงก่อนเป็นอันดับแรก โดยผ่านการแต่งตั้งของวุฒิสภาที่ถูกครอบงำไปก่อนแล้ว และการเสนอ
ผลประโยชน์ให้โดยตรงตามที่คงพอได้ข่าวกันมาแล้ว

ผมจึงเห็นว่าโครงสร้างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่มาจากองค์กรศาลโดยตรงน่าเชื่อถือมากกว่า และการที่
ฝ่าย PT พยายามบิดเบือนดิสเครดิตคณะตุลาการว่าถูกครอบงำโดย คมช. นั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่น่าเชื่อถือครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #9 เมื่อ: 02-06-2007, 00:47 »

พอดีภาพนี้อยู่ในกระทู้ หมดทางสมานฉันท์ ของ อ.ปิยบุตร ที่ไปอ่านมา
จึงนำมาลงให้ดู จริงเท็จอย่างไร โปรดใช้วิจารณญาณ


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #10 เมื่อ: 02-06-2007, 00:47 »

ความสง่างามและประวัติของตุลาการชุด ซุกหุ้นภาค ๑ เทียบกับชุดนี้แล้ว
ต่างกันราวกับฟ้ากับเหว ..

ชุดก่อนนั้นตัดสินตามอำเภอใจราวกับ AIS โทรได้ทุกอำเภอ
เช่น ตัดสินให้ทักษิณพ้นผิดเพราะประชาชน ๑๑ ล้านคน เลือกเขามา
และกลัวจะยกพวกมาเผาศาล ฯลฯ

พอ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ  วิจารณ์การตัดสินคดีซุกหุ้น
ตุลาการบางคนหน้าบาง (แต่อาจจะหน้าหนาตอนร่างคำวินิจฉัย)
ทนที่คุณประสงค์วิจารณ์ไม่ได้ ก็เลยไปฟ้องอาญา
แล้วผลออกมาเป็นอย่างไร ... (พวกกองเชลียร์ อย่าเผลออ้างว่า ..
คมช. สั่งศาลให้ยกฟ้องนะ)

อย่าไปสนใจพวกอาจารย์หัวดอ ที่รับจ้างคนขายชาติ ออกมาดิสเครดิต
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบัน

...


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 00:55 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #11 เมื่อ: 02-06-2007, 00:53 »

ประกาศและคำสั่งคณะปฏิวัติถือเป็นกฏหมายสูงสุด ไม่มีใครลบล้างได้ แม้กระทั่งบัดนี้ก็ยังใช้บังคับอยู่หลายร้อยฉบับ กระทรวงทบวงกรมต่างๆที่ได้ตั้งขึ้นโดยอำนาจคณะปฏิวัติจะต้องล้มเลิกไปหรือ จะล้มเลิกประกาศหรือคำสั่งฉบับใดต้องออกเป็นพระราชบัญญัติเท่านั้น เคยมีคนลองดีกับคำสั่งคณะปฏิวัติมาแล้ว จะยกตัวอย่างให้ดู คุณอุทัย พิมพ์ใจชน และคุณบุญเกิด หิรัญคำ และใครอีกคนหนึ่งจำไม่ได้ ออกมาอ้างแบบนี้แหละ ผลก็คือติดคุกครับ

พวกลิ่วล้อเหลี่ยมแพ้แล้วพาลอยู่แล้ว จะเอาอะไรล่ะครับ ถ้าสมมติว่าศาลตัดสินว่าไม่ยุบล่ะก็หน้าบาน น้อมรับคำตัดสินไปแล้ว

หรือเอาแท็กซี่มาเป็นศาลก็ได้ครับ ถ้าตัดสินว่าทรท.ไม่ยุบ ศาลแท็กซี่นั้นก็ได้สดุดีจากลิ่วล้อเหลี่ยมอยุ่แล้ว



นั่นสิครับ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนี้ก็ระบุในรัฐธรรมนูญให้มีที่มาจากการเลือกของที่ประชุมศาล
เหมือนกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเดิม ถ้าจะบอกว่า คมช. ตั้งเองก็อ้างไม่ได้หรอกครับ

อย่าว่าแต่ถ้า คมช. จะตั้งเองจริงๆ ระบุชื่อไปเลยเหมือนที่ตั้งนายกฯ ก็สามารถทำได้อยู่แล้วด้วยซ้ำ
แต่ คมช. ก็ยังเลือกวิธีให้องค์กรศาลเป็นฝ่ายเลือกตั้งกันเองขึ้นมา  

คนที่มาโวยวายไม่ยอมรับจะอ้างยังไงก็อ้างไม่ขึ้นหรอกครับ แค่อ้างว่า คมช. ตั้งเองก็ผิดแล้ว
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #12 เมื่อ: 02-06-2007, 01:03 »

พอดีภาพนี้อยู่ในกระทู้ หมดทางสมานฉันท์ ของ อ.ปิยบุตร ที่ไปอ่านมา
จึงนำมาลงให้ดู จริงเท็จอย่างไร โปรดใช้วิจารณญาณ




อ.ปิยบุตร นี่เป็นใครหรือครับ?

ถ้าจะบอกว่าเอกสารคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีข้อความ "ในพระปรมาภิไธย"
ก็อธิบายได้ว่าเพราะตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ใช่ศาล เหมือนอย่างศาลรัฐธรรมนูญครับ

ซึ่งการไม่ใช่ศาลไม่ได้หมายความว่าไม่มีอำนาจตัดสินคดี และสถานะของคณะตุลาการ
ก็ได้รับการรับรองโดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้มีหน้าที่ตัดสินคดีที่อยู่ในระหว่าง
การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญ ก่อนวันที่ 19 กันยายน พุทธศักราช 2549 โดยตรง

และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้รับการประกาศเป็นพระบรมราชโองการมีผลบังคับสมบูรณ์

ถ้า อ.ปิยบุตร ของคุณ snowflake จะอ้างว่าตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยก็เป็นแค่
การอ้างลมๆ แล้งๆ เท่านั้น เพราะมีองค์กรอื่นๆ อีกครับที่มีอำนาจตัดสินโดยไม่ใช่ศาล

ผมชักเห็นด้วยกับลุงแคนที่ว่าทำไปทำมาก็วนมาเรื่อง รัฐาธิปัตย์ อีกจนได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 01:06 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #13 เมื่อ: 02-06-2007, 01:06 »

ตุลาการรัฐธรรมนูญแต่ละคน ปกติทำหน้าที่อะไร และใครแต่งตั้งให้ทำหน้าที่นั้นครับคุณ snowflake
บันทึกการเข้า
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #14 เมื่อ: 02-06-2007, 01:17 »

ทั้งที่รู้ว่าแต่ละท่านเป็นใครแต่กลับ แพ้แล้วชวนตี อ้างว่าไม่ได้ทรงรับรองจากในหลวง ทั้งที่ แต่ละท่านโดยบตำแหน่งหน้าที่ได้รับการโปรดเกล้าโดยพระองค์มาแล้วทั้งนั้น

นี่แหละครับคนคุณภาพห่วยของระบอบทักษิณ เอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้คนอื่นเสมอ


บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #15 เมื่อ: 02-06-2007, 01:21 »

อยากเรียนถามตุณ jeerasak นิดนึงครับ แล้วเป็นไปได้ไหมครับว่าหลังจากนี้ ตลก.ชุดนี้จะได้รับการลงพระปรมาภิไทจากพระองค์ หรือว่าต้องรอรัฐบาลใหม่และคัดสรรใหม่ครับ


เพราะผมเสียดายตลก.ชุดนี้ครับ เพราะแต่ละท่านท่านเฉียบขาดจริงๆ
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 02-06-2007, 01:30 »

ในความคิดผมคำตอบมันไม่ได้อยู่ในรัฐสภาครับ แต่อยู่ที่ว่าประชาชนจะมีอิสระทางการเมืองจนสามารถควบคุม สส.
ให้ทำงานอย่างถูกต้อง คือการเป็นตัวแทนประชาชนเพื่อตรวจสอบรัฐบาล และพิจารณากฎหมายได้หรือเปล่า

เพราะโครงสร้างการเมืองไทยมันบิดเบี้ยวแบบกลับหัวกลับหาง แทนที่ประชาชนจะควบคุม สส. และ สส. ควบคุม
+ตรวจสอบรัฐบาล มันกลับกลายเป็นว่า รัฐบาลควบคุม สส. ผ่านมติพรรคและ สส. ควบคุมคะแนนเสียงประชาชน
ผ่านหัวคะแนนโดยอาศัยความด้อยทางเศรษฐกิจสังคมของประชาชนมาต่อรองเสนอผลประโยชน์เฉพาะหน้าอีกที

แต่อย่างน้อยนะครับ ในตอนนี้เราก็ยังมีองค์กรศาลที่พอจะพึ่งพาเชื่อถือได้อยู่ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นองค์กรที่อดีตนายกฯ
ทักษิณ พยายามควบคุมแทรกแซงมาตลอด สังเกตว่ามีการล็อกตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมให้น้องเขยนั่งนาน
ถึง 6 ปี ติดต่อกันก่อนจะจำต้องเว้นวรรค และมีแผนจะให้มานั่งต่ออีกแต่ถูกยึดอำนาจเสียก่อน

และเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญเดิมซึ่งมีโครงสร้างไม่เป็นศาลเต็มรูปแบบคือตุลาการกว่าครึ่งไม่ได้มาจากองค์กรศาล
เป็นจุดที่ถูกแทรกแซงก่อนเป็นอันดับแรก โดยผ่านการแต่งตั้งของวุฒิสภาที่ถูกครอบงำไปก่อนแล้ว และการเสนอ
ผลประโยชน์ให้โดยตรงตามที่คงพอได้ข่าวกันมาแล้ว

ผมจึงเห็นว่าโครงสร้างคณะตุลาการรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่มาจากองค์กรศาลโดยตรงน่าเชื่อถือมากกว่า และการที่
ฝ่าย PT พยายามบิดเบือนดิสเครดิตคณะตุลาการว่าถูกครอบงำโดย คมช. นั้นเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่น่าเชื่อถือครับ


ที่ประชาธิปไตยของเรากลับหัวมาตลอด ผมเห็นด้วยครับ

กลไกระบอบประชาธิปไตยของเราเป็นระบบตัวแทน ดังนั้น

เสียงสส.ที่ไม่คานฝ่ายบริหารจึงเป็นปัญหา และประชาชนก็ไม่ตรวจสอบการทำงานของสส.ด้วย

กลับไปเชื่อสส.ที่ยกหัวหน้าพรรคจนไม่กล้าตรวจสอบ ก็เลยเป็นภาระของประชานต้องมาช่วยกันขับไล่

เป็นภาระที่ต้องมาพึงอำนาจตรวจสอบอื่นๆ ก็คือศาล การทำงานแม้ไม่ผิดกฎหมายแต่ไร้ประสิทธิภาพ

ประชาชนก็มีสิทธิ์จะให้สส.ตรวจสอบได้ครับ ด้งนั้นกลไกตรวจสอบและความเข้าใจของประชาชนจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เสียงส่วนใหญ่อย่างไรก็ต้องใช้กลไกต่างๆตัวแทนอยู่แล้วครับ

ส่วนเรื่องดิสเครดิตคณะตุลาการ เป็นเรื่องที่พวกเชื่อทฤษฎีสมคบคิด ระแววงโดยไม่มีหลักฐานอะไร บางพวกก็เพราะผลไม่เป็นดังใจต้องการ เพราะไม่ชอบรัฐประหาร

ไม่ได้มองข้อเท็จจริง ปัญหาของบ้านเมือง บางพวกก็หวังผลประโยชน์ รวมกันแล้วที่เห็นออกไปประท้วงแบบสงบไม่ปลุกระดม มีน้อยมาก แจกจตุคามนี่ก็เหมือนซื้อเสียง..
บันทึกการเข้า

สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #17 เมื่อ: 02-06-2007, 01:40 »

ขอบคุณ คุณ RONALDO ที่นำข้อมูลประวัติของตุลาการ มาเผยแพร่

ขอทายไว้ล่วงหน้า อีกไม่นาน จะมีพวกรับจ้างป่วน มาแถว่า ..

ตุลาการชุดนี้ ไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่มีผู้ที่มาจากสายรัฐศาสตร์ เพื่อมาตัดสินว่า ..

"ประชาชนเลือกทักษิณและพรรค ทรท. มา ๑๔ ล้านเสียง จึงควรให้พ้นผิด   

...
บันทึกการเข้า
RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #18 เมื่อ: 02-06-2007, 01:54 »

อ๋อนั่นเป็นเรื่องปกติของลิ่วล้อเหลี่ยมอยู่แล้วครับ แต่ 2-3 วันมานี้ไม่เห็นพวกที่เคยแถขนาดตั้งชื่อตัวเองว่าชอบแถมาเลยนะครับ สงสัยจำนนต่อหลักฐานของ ตลก.รธน.
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #19 เมื่อ: 02-06-2007, 02:14 »

อยากเรียนถามตุณ jeerasak นิดนึงครับ แล้วเป็นไปได้ไหมครับว่าหลังจากนี้ ตลก.ชุดนี้จะได้รับการ
ลงพระปรมาภิไทจากพระองค์ หรือว่าต้องรอรัฐบาลใหม่และคัดสรรใหม่ครับ

เพราะผมเสียดายตลก.ชุดนี้ครับ เพราะแต่ละท่านท่านเฉียบขาดจริงๆ

คณะตุลาการชุดปัจจุบันก็คงดำรงตำแหน่งไปจนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยไม่มีการลงพระปรมาภิไธยอีกครับ
และถ้ายึดถือตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับรับฟังความคิดเห็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นแบบนี้

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรา ๒๐๐  ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอื่นอีกแปดคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภาจากบุคคลดังต่อไปนี้                         

(๑) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้พิพากษาศาลฎีกา ซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสามคน
(๒) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ศาลปกครองสูงสุดโดยวิธีลงคะแนนลับ จำนวนสองคน
(๓) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ อย่างแท้จริงและได้รับเลือกตามมาตรา ๒๐๒ จำนวนสองคน
(๔) ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงและได้รับเลือกตาม มาตรา ๒๐๒ จำนวนสองคน

ในกรณีที่ไม่มีผู้พิพากษาในศาลฎีกาหรือตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้รับเลือก ตาม (๑) หรือ (๒)  ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาหรือที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี เลือกบุคคลอื่นซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑ และ
มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านนิติศาสตร์ที่เหมาะสมจะปฏิบัติหน้าที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี

ให้ผู้ได้รับเลือกตามวรรคหนึ่ง ประชุมและเลือกกันเองให้คนหนึ่งเป็นประธาน ศาลรัฐธรรมนูญ แล้วแจ้งผลให้ประธานวุฒิสภาทราบ

ให้ประธานวุฒิสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธาน ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สรุปก็คือจำนวนตุลาการตามรัฐธรรมนูญใหม่จะมี 9 คนเท่ากับชุดปัจจุบัน แต่ประกอบไปด้วยตุลาการจากองค์กรศาล
จำนวน 5 คน และจากนอกองค์กรศาลอีก 4 คน เทียบกับตุลาการฯ ตาม รธน.2540 ที่มีตุลาการจากนอกองค์กรศาล
มากกว่าครึ่ง ผมคิดว่าชุดใหม่ก็ยังดีที่มีจากศาลมากกว่าครึ่งแทน

แต่ใจผมจริงๆ อยากได้จากองค์กรศาลทั้งหมดมากกว่า การเอาหลักรัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์
มาใช้ผสมกับหลักนิติศาสตร์ในการตัดสินคดี ผมว่ามันทำให้เกิดความสับสนไม่มีหลักเกณฑ์ให้ยึดถือ ตัดสินอะไรแล้ว
คำวินิจฉัยออกมาแปลกๆ อธิบายด้วยหลักนิติศาสตร์ไม่ได้แต่กลับได้คำวินิจฉัยออกมาให้เถียงกันไม่จบ  ผมรู้สึกดีๆ
ตอนที่ตุลาการให้สัมภาษณ์ก่อนวันตัดสินคดียุบพรรคว่าจะมีหลักเดียวคือนิติศาสตร์

จากโครงสร้างตามร่างรัฐธรรมนูญเราก็คงไม่ได้คณะตุลาการชุดนี้กลับมาทั้งหมดหลังรัฐธรรมนูญใหม่หรอกครับ
ซึ่งผมเองก็รู้สึกเสียดายเหมือนกัน แต่ก็คงต้องยึดถือตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไปครับ และอย่างน้อยตุลาการ
ที่มาจากองค์กรศาลก็ยังมีมากกว่าครึ่ง ซึ่งผมคิดว่าดีกว่าโครงสร้างเดิมของฉบับปี 2540 ครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 02-06-2007, 02:24 »



หลักรัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ทำให้เที่ยงตรงยาก ต้องคนที่เข้าใจปัญหาของการเมืองจริงๆ

หลักนิติศาสตร์เป็นหลักที่เที่ยงตรงกว่า เหมาะกับการใช้ตัดสินคดีความ เพียงแต่เผอิญว่าเป็นศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเมืองของประเทศโดยตรง

ผ่านรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับนั่นแหละครับ จึงจำเป็นต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์อยู่ด้วย..

ความเห็นส่วนตัวผมว่า นับเป็นจำนวนคนที่มีสัดส่วนเหมาะสม ปัญหาอยู่ที่ว่าทรงคุณวุฒิหรือไม่ มีประวัติด่างพร้อยหรือไม่ ซึ่งคนเหล่านี้ควรจะเป็นกลางทางการเมืองและไม่สังกัดพรรคการเมืองใด
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 02-06-2007, 02:30 »

เหตุผลที่พอจะเข้าใจได้คือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน อาจไม่เป็นที่น่าไว้ใจ

เพราะว่าบางส่วนมาจาก "สภา" อย่างที่ทราบกัน

อ้อ...ศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะถือว่าเป็น "ศาลการเมือง"

ที่จริงหากดูตามโครงสร้าง ในความคิดผมใช้ศาลฎีกา น่าจะเหมาะสมกว่า

โดยให้มี "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" อยู่ในแผนกหนึ่งของ "ศาลฎีกา"

มีองค์คณะแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้

เช่นเดียวกับ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง

ประเด็นนี้ ลองอ่านใน เว็บ พับลิคลอว์ นะครับ

อาจารย์ทางกฎหมายมหาชน นำเสนอไว้เป็นขั้นเป็นตอนหมดแล้วครับ

..............

ผมยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ใครมีเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ น่านำมาวิจารณ์กันดูครับ
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #22 เมื่อ: 02-06-2007, 02:38 »

เหตุผลที่พอจะเข้าใจได้คือ ที่มาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน อาจไม่เป็นที่น่าไว้ใจ

เพราะว่าบางส่วนมาจาก "สภา" อย่างที่ทราบกัน

อ้อ...ศาลรัฐธรรมนูญ น่าจะถือว่าเป็น "ศาลการเมือง"

ที่จริงหากดูตามโครงสร้าง ในความคิดผมใช้ศาลฎีกา น่าจะเหมาะสมกว่า

โดยให้มี "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" อยู่ในแผนกหนึ่งของ "ศาลฎีกา"

มีองค์คณะแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็ได้

เช่นเดียวกับ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของนักการเมือง

ประเด็นนี้ ลองอ่านใน เว็บ พับลิคลอว์ นะครับ

อาจารย์ทางกฎหมายมหาชน นำเสนอไว้เป็นขั้นเป็นตอนหมดแล้วครับ

..............

ผมยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ใครมีเรื่องเกี่ยวกับเรื่องนี้ น่านำมาวิจารณ์กันดูครับ

เรื่องศาลรัฐธรรมนูญนี้มีอีกประเด็นที่แตกต่างกันระหว่าง รธน. 2540 กับร่าง รธน. ฉบับใหม่
คือที่มาของตุลาการจากนอกองค์กรศาล ของเดิมให้มีคณะกรรมการสรรหาจัดทำเป็นบัญชี-
รายชื่อจำนวน 2 เท่าของสัดส่วนตุลาการแล้วให้วุฒิสภาเป็นผู้เลือกจากบัญชีรายชื่อ

แต่ในร่าง รธน. ฉบับใหม่ให้คณะกรรมการสรรหาเป็นผู้สรรหาและเลือกตุลาการในส่วนนี้เลย
จากนั้นจึงส่งให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป

อีกประเด็นก็คือสัดส่วนและที่มาของคณะกรรมการสรรหาก็มีความแตกต่างกันด้วยครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 02-06-2007, 02:42 »

กฎหมายไทย ชอบออกลายกนก

ผมว่ายิ่งยืดยาว ยิ่งสร้างปัญหา

เรื่องของศาล ก็ให้ศาลท่านสรรหากันเองไปเลยไม่ดีกว่าหรือ
บันทึกการเข้า

คาคาชิ
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 521


ที่นี่เหมือนโลกที่โดนมนุษย์ต่างดาวบุกหาตรรกะไม่เจอ


« ตอบ #24 เมื่อ: 02-06-2007, 04:52 »

เถียงกันประเด็นนี้ทำไม

ทีตอนประชาธิปัตย์ฟ้อง  ทรท. ก็ฟ้องกลับ

ทุกจำเลย ก็โดนตัดสินภายใต้ศาลนี้

ถ้า ทรท. ไม่เอาแต่แรก ก็น่าจะไม่เล่นเกมฟ้องกลับ

เด็ก ๆ ว่ะ   

ฟังไม่ขึ้น
บันทึกการเข้า
คนขี่มังกร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #25 เมื่อ: 02-06-2007, 05:58 »

ถ้าคิดว่า รัฐธรรมนูญ 2549 มีพระปรมาภิไธย

ก็ให้ถือว่านั่นคือ การยอมรับว่าเป็นกฎหมายแล้วครับ

พวกนั้นตะแบงยังไงมันก็ไม่พ้นเรื่อง "รัฐถาธิปัตย์"

จะว่าไป มันก็ไม่แปลกไปกว่ารัฐธรรมนูญที่เริ่มมาตั้งแต่ 2475 หรอกครับ


ถึงที่สุด ใครครองเสียงมาก ใครมีอำนาจ ก็ออกกฎหมายเองทั้งนั้น...

ตอนทักษิณครองอำนาจ มีใครขัดใจได้บ้างล่ะ

ไม่ว่ากฎหมายที่โมฆะ หรือกฎหมาย ทุจริตเชิงนโยบายทั้งหลาย

ต่างกันตรงใหนครับ...มันก็พวกมากลากไปทั้งนั้น



สงสัยจริง ๆ กับประโยคที่ว่า


ถึงที่สุด ใครครองเสียงมาก ใครมีอำนาจ ก็ออกกฎหมายเองทั้งนั้น...

ตอนทักษิณครองอำนาจ มีใครขัดใจได้บ้างล่ะ

ไม่ว่ากฎหมายที่โมฆะ หรือกฎหมาย ทุจริตเชิงนโยบายทั้งหลาย

ต่างกันตรงใหนครับ...มันก็พวกมากลากไปทั้งนั้น



ใครมีอำนาจ ก็ออกกฎหมายเองทั้งนั้น ------ ใครมีอำนาจนั้นไม่สำคัญ
แต่สำคัญที่ว่าอำนาจนั้นมาจากไหน ?
โดยความยินยอมของปวงชนชาวไทย  หรือจากปลายกระบอกปืน

ทักษิณออกกฎหมายได้เพราะเขามีเสียงข้างมากในสภา ซึ่งมันก็ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย
คุณจะเอามาเทียบกับ การที่ คปค.ออกกฎหมาย ได้งัย

คปค. หรือ คมช. มันเป็นเผด็จการ
อำนาจที่ได้มา มาจากการใช้กำลังบังคับขู่เข็ญ อำนาจบาทใหญ่ใครไม่ทำตามจะฆ่าให้ตาย
นี่มันการกระทำของโจรชัด ๆ

คุณไปเห็นดีเห็นงามกับคนพวกนี้ได้งัย
คุณเอาสิ่งที่ออกหรือกระทำโดยคนเหล่านี้มาเทียบกับ สิ่งที่ทำโดยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้งัย

กระทู้นี้มันผิดตั้งแต่ความเห็นของคุณแล้ว อันที่เออออตามกันไปนั้นก็เปล่าประโยชน์
บันทึกการเข้า

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นในระบอบประชาธิปไตย และในศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ผมเชื่อในเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ ผมเชื่อในสิทธิของชายและหญิงทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การปฏิเสธไม่ให้สิทธินั้นแก่เขาเพราะเขายากจนหรือเขาขาดการศึกษา ผมถือว่าเป็นความร้ายกาจอย่างหนึ่ง ผมเกลียดชังเผด็จการไม่ว่าจะมีรูปแบบสีสันอย่างใดก็ตาม ผมมีความเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยควรจะได้มาโดยสันติวิธี เพราะผมต้องการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธในการรักษาอำนาจของรัฐบาล
****** ป๋วย  อึ๊งภากรณ์******
ScaRECroW
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,000


สุสูสัง ลภเต ปัญญัง - ผู้ฟังดี ย่อมเกิดปัญญา


เว็บไซต์
« ตอบ #26 เมื่อ: 02-06-2007, 06:09 »

ได้อำนาจมาตามวิถีทางที่ถูกต้อง แต่คิดเลว ๆ ว่า "จังหวัดไหนเลือกไทยรักไทยยกจังหวัด จะดูแลก่อน"

อย่างนี้หรือป่าวครับ

มีคนเลวเยอะมากได้อำนาจมาอย่างถูกวิธี  พอได้อำนาจแทนที่จะทำดี กลับทำเลว
บันทึกการเข้า

Politic is nothing but the continuation of [the sin of] 7 by other means.

ท่านคิดว่า นรม. ควรทำอย่างไรเมื่อพบว่ากฏหมายบางฉบับมีช่องโหว่?
ก.ใช้อำนาจ นรม.ที่ได้รับมาจากประชาชนแก้กฏหมายเพื่อปิดช่องโหว่เหล่านั้น เพราะเป็นประโยชน์ของแผ่นดิน
ข.ฉวยโอกาสใช้ช่องโหว่เหล่านั้นเพื่อประโยชน์ของตนเองและคนรอบข้าง แล้วก็อ้างว่าคนอื่นเขาก็ทำกัน
คนขี่มังกร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #27 เมื่อ: 02-06-2007, 06:46 »

ได้อำนาจมาตามวิถีทางที่ถูกต้อง แต่คิดเลว ๆ ว่า "จังหวัดไหนเลือกไทยรักไทยยกจังหวัด จะดูแลก่อน"

อย่างนี้หรือป่าวครับ

มีคนเลวเยอะมากได้อำนาจมาอย่างถูกวิธี  พอได้อำนาจแทนที่จะทำดี กลับทำเลว


นี่เป็นปลีกย่อยของนายก ฯ แต่ละคน
คุณจะเกลียดใครก็ได้ คุณจะติคำพูดหรือการทำงานของใครก็ได้
คุณจะฟ้อง คุณจะตรวจสอบ คุณจะเดินขบวนขับไล่ คุณจะ.. ฯลฯ
คุณจะทำยังงัยก็ได้ ตามสิทธิที่คุณมีอยู่และไม่กระทบสิทธิผู้อื่น
เพราะนี่คือวิถีของประชาธิปไตย

แต่ที่ผมยกขึ้นขึ้นมาเป็นประเด็นคือ
การรัฐประหารนั้นมันเป็นการกระทำของโจร เป็นการบังคับข่มเหงโดยใช้กำลัง
เพื่อที่พวกของตัวเองจะได้มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศนี้

และคนพวกนี้เองที่ออกกฎหมายอย่างที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่
เราจะไปรับรองและเห็นดีเห็นงามกับกฎหมายพวกนี้ได้งัย

หรือถ้าใครเห็นด้วยก็เท่ากับเป็นการรับรองว่า
อำนาจที่ได้มาโดยการใช้กำลังนี้มันถูกต้องชอบธรรมแล้ว !!!!!!!!!! ????????
บันทึกการเข้า

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นในระบอบประชาธิปไตย และในศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ผมเชื่อในเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ ผมเชื่อในสิทธิของชายและหญิงทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การปฏิเสธไม่ให้สิทธินั้นแก่เขาเพราะเขายากจนหรือเขาขาดการศึกษา ผมถือว่าเป็นความร้ายกาจอย่างหนึ่ง ผมเกลียดชังเผด็จการไม่ว่าจะมีรูปแบบสีสันอย่างใดก็ตาม ผมมีความเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยควรจะได้มาโดยสันติวิธี เพราะผมต้องการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธในการรักษาอำนาจของรัฐบาล
****** ป๋วย  อึ๊งภากรณ์******
นู๋เจ๋ง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,877



« ตอบ #28 เมื่อ: 02-06-2007, 08:20 »


นี่เป็นปลีกย่อยของนายก ฯ แต่ละคน
คุณจะเกลียดใครก็ได้ คุณจะติคำพูดหรือการทำงานของใครก็ได้
คุณจะฟ้อง คุณจะตรวจสอบ คุณจะเดินขบวนขับไล่ คุณจะ.. ฯลฯ
คุณจะทำยังงัยก็ได้ ตามสิทธิที่คุณมีอยู่และไม่กระทบสิทธิผู้อื่น
เพราะนี่คือวิถีของประชาธิปไตย

แต่ที่ผมยกขึ้นขึ้นมาเป็นประเด็นคือ
การรัฐประหารนั้นมันเป็นการกระทำของโจร เป็นการบังคับข่มเหงโดยใช้กำลัง
เพื่อที่พวกของตัวเองจะได้มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครองประเทศนี้

และคนพวกนี้เองที่ออกกฎหมายอย่างที่เรากำลังถกเถียงกันอยู่
เราจะไปรับรองและเห็นดีเห็นงามกับกฎหมายพวกนี้ได้งัย

หรือถ้าใครเห็นด้วยก็เท่ากับเป็นการรับรองว่า
อำนาจที่ได้มาโดยการใช้กำลังนี้มันถูกต้องชอบธรรมแล้ว !!!!!!!!!! ????????


การปฏิวัติ รัฐประหารไม่ใช่การกระทำของโจร เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการปราบโจรที่ครองเมือง
หลายครั้งหลายหนในอดีตของประวัติศาสตร์โลก
เป็นวิธีการหนึ่งของประชาชน ของคนในสังคม ใช้ไล่ผู้นำที่ไม่ดี เพื่อเปลี่ยนแปลงมาแต่โบร่ำโบราณ
เป็นการกระทำที่คนทั่วโลกยอมรับได้ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงสังคมในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ อาจดูรุนแรงนิดแต่หลังจากนั้น
บ้านเมืองก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น   จะเกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทำอะไรระมัดระวัง บ้านเมืองมากขึ้น

เผด็จการใช่ว่าจะไม่ดี การปกครอง ภาวะผู้นำ ในทางธุรกิจ ในการบริหารงาน ก็มีแบบเด็ดขาด เผด็จการ
และก็มีมีแบบที่ใช้เสียงส่วนใหญ่ผสามผสาน  แม้กระทั่งในพรรคการเมืองกลุ่มวังต่างๆก็พูดตรงกันหมดว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับนายใหญ่หมด
 
ปากก็ว่ารักประชาธิปไตย ยึดเสียงส่วนใหญ่ โปรอเมริกันจ๋า ว่าข้านี้คือผู้นำโลกเสรี เนื้อแท้แล้ว ก็แค่มาเฟียหาเงินใส่พวกตัวเอง แบบโกงทั้งโคตร แล้วอยากขี่มังกร ...


ประเทศไทยมีประชาธิปไตยเป็นเรื่องดี แต่บังเอิญมีผู้นำแบบทักษิณ เป็นผู้นำที่เลวแบบนรกส่งมาเกิด เป็นคนเก่งที่สามารถตบตาคนเป็นล้านคนให้เชื่อลมปากในช่วงยังมีอุดมการณืทางการเมือง สุดท้าย หลงอำนาจ จะคดโกงอะไรก็อ้างเสียงประชาชน
จะไม่ให้มีปฏิวัติรัฐประหารได้อย่างไร

ขณะนี้ผู้คนส่วนใหญ่ เค้ารับได้กับการใช้อำนาจของคมช ของผู้นำประเทศในขณะนี้ และรับกติกานี้ แม้จะมีบ้างที่ชักช้า ไม่ถูกใจแต่ก็เข้าใจในความยากของงานที่พวกเขากำลังแก้ไข ล้างบ้านล้างเมือง
ถามว่าขณะนี้ใครข่มเหงประชาชนดีๆ ประชาชนที่ทำมาหากินสุจริต...ไม่มี
ตอนนี้เค้าเรียกว่า ได้เวลา ที่ ต้องใช้อำนาจเด็ดขาด มาล้างบาง จับโจรชั่วมาตัดสินโทษตะหาก
ที่วุ่นวายมากหน่อยเพราะ โจรตัวนี้มันเลวสุดๆ ไม่สำนึกในความผิดและมีอำนาจเงินมาก
มีสมัครพรรคพวกที่มีผลประโยชน์ร่วมกันมาก ก็ต้องใช้เวลาในการปราบนานหน่อยก็เท่านั้นเอง 
 
อึดอัดมากหรือคุณขี่มังกร !!!
บันทึกการเข้า

~จะแน่วแน่...แก้ไข...ในสิ่งผิด~
อยากประหยัดให้ติดแก๊ส
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,406



« ตอบ #29 เมื่อ: 02-06-2007, 08:31 »

ทหารเลว ยึดอำนาจ
ทหารเลว ยกเลิกรัฐธรรมนูญ
ทหารเลว ออกประกาศ
ทหารเลว เลือก เบ๊ทหารเลว มาทำหน้าที่สภา
เบ๊ทหารเลว ออกธรรมนูญชั่วคราว
เบ๊ทหารเลว ให้เบ๊ของเบ๊ทหารเลว เลือกตลกด้วยวิธีของเบ๊ทหารเลว
เบ๊ของเบ๊ทหารเลว เลือกกันเองออกมาเป็น ตลกของเบ๊ทหารเลว

สรุปได้ว่า ทหารเลว->เบ๊ทหารเลว->ตัวตลกของเบ๊ทหารเลว

ภาษาสนุ้กเค้าเรียกว่า ใช้บ๋อย(เลวๆ)
บันทึกการเข้า
นายเกตุ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,289



« ตอบ #30 เมื่อ: 02-06-2007, 09:13 »

บางครั้งการจับมหาโจรก็ต้องใช้โจรมาจับเหมือนกัน

เหมือนกับการวิสามัญยาบ้าเห็น14ล้านเสียงยังเห็นดีเห็นงามไปด้วยทั้งๆที่หลักฐานก็ไม่มี

เคยลองไปสอบถามญาติพี่น้องของผู้ถูกกระทำบ้างไหมว่าเขารู้สึกอย่างไง

แล้วเป็นยังไงบ้างละตอนนี้โดนคนอื่นเขาวิสามัญตัวเองบ้างถึงกับทนกันไม่ได้เลยหรือ

ผลของกรรมไม่ต้องดูชาติหน้าหรอกเอาแค่ชาตินี้แหละพอแล้ว
บันทึกการเข้า
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #31 เมื่อ: 02-06-2007, 09:29 »

ขออนุญาตคุณ jerasak cop ไปแป่ะ และทำลิงค์ ที่ รดน.ไม่ทราบจะขัดข้อง ?...

ด้วยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม...
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 09:42 โดย Suraphan07 » บันทึกการเข้า
วินท์
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 176


« ตอบ #32 เมื่อ: 02-06-2007, 09:43 »

เถียงกันประเด็นนี้ทำไม

ทีตอนประชาธิปัตย์ฟ้อง  ทรท. ก็ฟ้องกลับ

ทุกจำเลย ก็โดนตัดสินภายใต้ศาลนี้

ถ้า ทรท. ไม่เอาแต่แรก ก็น่าจะไม่เล่นเกมฟ้องกลับ

เด็ก ๆ ว่ะ   

ฟังไม่ขึ้น

....................................

มันก็แค่นั้นแหละครับ  ขี้แพ้ชวนตี...

ทีไอ้ชุดก่อน... ตอนทักษิณซุกหุ้น ผิดกฎหมายเห็นอยู่โต้งๆ มันยังตะแบงไปได้
ว่าบกพร่องโดยสุจริต จะไปสอดรู้มันได้ยังไง ว่าสุจริตหรือทุจริต ใครจะไปยอมรับว่า
ตัวเองทุจริต เขามีกฎหมายชัดเจนไว้ให้ตัดสินว่ารัฐมนตรีซุกหุ้นผิดกฎหมาย ก็ดันตะแบงซะ..
ความเคยชินที่ทำผิดกฎหมาย แล้วไม่เป็นไร ทำให้พวกมันต้องมีวันนี้...
สมน้ำหน้า...
บันทึกการเข้า
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #33 เมื่อ: 02-06-2007, 10:29 »

"พล.อ.สนธิทำเซอร์ไพรส์ ประกาศผ่านทีวี พร้อมนิรโทษฯ 111 กก.บห.ไทยรักไทย เชื่อไม่ได้ทำผิดทั้งหมด เตรียมเลิกคำสั่งคุมพรรค แย้มใช้วิธีมั่นคงอื่นดูแลแทนตัดสิทธิ 5 ปี "สุรยุทธ์"เผยให้รอ 1-2 สัปดาห์ ตุลาการ รธน.ห่วงยกเลิกคำสั่ง คปค. ฉบับ 27 กระทบผลตัดสินคดี "หญิงหน่อย"ปลุกสมาชิกพรรคสู้ "

ที่มาของตุลาการ และ ความชอบทางกฏหมาย ได้มีคนอธิบายไปแล้ว ข้างบน........

หลังจากมีคำวินิจฉัย จากบรรดา ตุลาการ ..บรรดา คนในพรรคไทยรักไทย พยายามต่อสู้นอกศาล ไม่ยอมรับคำตัดสิน และพยายามกล่าวหา ว่ามีการแทรกแซงตุลาการโดย รัฐบาล และ คมช. .........

ผมนำบางส่วน ของข่าวมาตัดแปะ ซึ่งถึงตอนนี้ หลายคนในชุมชนนี้คงได้รับทราบข่าวสาร เรื่องความเห็นของ พล.อ. สนธิ เกี่ยวกับการขอนิรโทษกรรม การตัดสิทธิ ของ บรรดา คณะกรรมการ พรรค ทรท.เพื่อให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่างระหว่าง รัฐบาล คมช. และ บรรดาตุลาการ.......นั่นย่อมเป็นการยืนยัน เป็นอย่างดี ว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่ได้ถูกแทรกแซงแต่อย่างใด
ก่อนวันตัดสิน 1 สัปดาห์ ผมได้ยินหนาหูเรื่องการตัดสินคดียุบพรรค ว่า พรรคไทยรักไทย จะโดนยุบ โดยตัดสิทธิ์ทางการเมืองเฉพาะ กรรมการพรรคที่เกี่ยวข้อง

ก่อนการตัดสิน 1-2 วัน ผมเห็นข่าว บรรดาหัวหอกไทยรักไทย ออกมาประสานเสียง ประกาศน้อมรับคำตัดสินของ คณะตุลาการ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร.........

ทันทีที่ผลการตัดสินออกมาอย่างที่ทราบ กลับมีการ แสดงอาการไม่ยอมรับ และ ต่อต้าน กล่าวหา ตุลาการและ รัฐบาล คมช.อย่างรุนแรง

ผมเชื่ออย่างนี้ครับ......ย้ำน๊ะครับ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

ผมเชื่อว่า อาจมีการประนี ประนอม กัน ระหว่าง พรรคไทยรักไทย และ รัฐบาล คมช. เพื่อให้ยุบพรรค โดย ตัดสิทธิ์ กรรมเพียงบางคน....และส่วนใหญ่รอด โดยมีเป้าหมายเพื่อการสมานฉันท์.......ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า บรรดา กรรมการพรรคไทยรักไทย โดย เฉพาะ นายจาตุรนต์ ออกมาประกาศแข็งขัน ว่า " จะน้อมรับ คำตัดสินของตุลาการ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นใด"  เนื่องจาก ปักใจเชื่ออยู่ตลอดเวลา ว่า รัฐบาล คมช.สามารถแทรกแซง กระบวนการยุตธรรมได้ จึงคาดว่าจะรอดจากการถูกตัดสิน

และ รัฐบาล คมช. อาจมีการไปเจรจากับ ตุลาการ แต่ไม่ได้มีการตกปากรับคำแต่อย่างใด........แต่ด้วยความเป็นอดีต ผู้พิพากษาศาลฏีกา ที่ทำงานกับกระบวนยุติธรรม มาตลอดชีวิต และ ครั้งนี้ก็เช่นกัน.......กระบวนการ พิจารณา มุ่งไปที่ประเด็นของกฏหมาย คือใช้หลักนิติศาสตร์ ล้วน ๆ ไม่มีการพิจารณาดคีโดยใช้หลักรัฐศาสตร์ มาเกี่ยวข้อง....ผลของการตัดสิน จึงออกมาอย่างที่เห็น เป็นสิ่งที่นอกเหนือความคาดหมาย ของคนส่วนใหญ่ ทั้งตัวผม.......และโดยเฉพาะ คนใน ทรท.


ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับ พล.อ. สนธินัก เรื่อง การขอนิรโทษกรรม.......เนื่องจาก การกระทำความผิด เป็น ผลให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ และ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย (ตามที่ตุลาการ กล่าวอ้าง)....เมื่อมีการกระทำผิด แล้ว ก็ควรต้องมีบทลงโทษ.....เราลงทุน ประเทศไปมากแล้ว จากการ หลุดพ้นคดีซุกหุ้นของคุณทักษิณ รวมทั้งการรัฐประหาร.......หากความผิดต่าง ๆได้รับการอภัยโทษ .......ต่อไป จะกลายเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อสังคม ต่อ ประเทศชาติในอนาคต



พล.อ.สนธิ ก็เช่นกัน ได้ลงทุนตัวเองไปมาก ซึ่งนับว่ามากกว่า คนไทย คนอื่น ด้วยซ้ำ.........พล.อ.สนธิ ต้องไม่ลืมความจริงข้อหนึ่ง.......ถ้าปฏิวัติ ไม่สำเร็จ ท่าน ฯ จะกลายเป็นกบฏของแผ่นดิน......แต่เมื่อได้ดอกไม้มาแล้วจากการเอาตัวเข้าไปเสี่ยง ก็ควรต้องให้บ้านเมืองได้รับการปัดกวาดเสียที

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 11:01 โดย 55555 » บันทึกการเข้า
คนขี่มังกร
สมาชิกสามัญขั้นที่ 1
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 46


« ตอบ #34 เมื่อ: 02-06-2007, 11:50 »

นู๋เจ๋ง

ผมจะอึดอัดน้อยกว่านี้ ถ้าประเทศไทยประกาศตัวเองว่าปกครองด้วยระบอบเผด็จการหรืออะไรสักอย่างที่คล้าย ๆ อย่างนี้


55555

อย่าไร้เดียงสานักเลย

การตัดสินของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เขารู้กันให้แซ่ดว่าเป็นรายการผิดคิว ไม่มาตามนัด
ความต้องการของ คมช.เป็นอีกแบบหนึ่ง แต่ความต้องการของใครบางคนเป็นอีกแบบหนึ่ง
ใครบางคนที่ออกมาพูดในคืนวันที่ 24 พฤษภา นั่นเอง

คมช.กลับลำรับมือสถานการณ์แทบไม่ทัน
ด่วนที่สุด จาก "พิทักษ์ปฐพี 149" มาเป็น "พิทักษ์ 1"

จริง ๆ แล้วสนธิคงบ่นมากอยู่นะผมว่า
รัฐประหารก็ออกหน้าให้แล้ว รู้ก็รู้ว่าหลังจากนี้เขาจะตามเช็คบิลตัวเอง
พยายามประนีประนอมแก่ทุกฝ่ายอย่างที่สุด ถ้ายุบก็ยุบทั้งสอง ถ้าพ้นก็พ้นทั้งสอง
แต่นี่ท่านเล่นให้ปล่อยฝ่ายหนึ่ง แล้วเล่นงานอีกฝ่ายจนจมธรณี

ทักษิณน่ะไม่เท่าไหร่หรอก แต่อีกเก้าสิบกว่าคนที่เหลือนี่สิ จะรับมือกับเขายังงัยไหว
เครือข่ายโยงใยทั่วฟ้าปฐพี
ไปทางไหนก็หนีพวกนี้ไม่พ้นหรอก

ดังนั้นอย่าแปลกใจที่สนธิเปรยถึงกฎหมายนิรโทษกรรม แต่ นายกสุรยุทธ์กลับไม่รู้เรื่องนี้

"ตูก็ต้องหาทางรอดของตูบ้างสิวะ สูจะให้ตูรับเละอยู่ฝ่ายเดียว มันไม่ไหวนา ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่นา" สนธิคิด

บันทึกการเข้า

ผมมีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นในระบอบประชาธิปไตย และในศักดิ์ศรีของมนุษย์ทุกคน ผมเชื่อในเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลของสหประชาชาติ ผมเชื่อในสิทธิของชายและหญิงทุกคน ที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมสังคมที่เขาอาศัยอยู่ การปฏิเสธไม่ให้สิทธินั้นแก่เขาเพราะเขายากจนหรือเขาขาดการศึกษา ผมถือว่าเป็นความร้ายกาจอย่างหนึ่ง ผมเกลียดชังเผด็จการไม่ว่าจะมีรูปแบบสีสันอย่างใดก็ตาม ผมมีความเชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยควรจะได้มาโดยสันติวิธี เพราะผมต้องการหลีกเลี่ยงการใช้กำลังอาวุธในการรักษาอำนาจของรัฐบาล
****** ป๋วย  อึ๊งภากรณ์******
aiwen^mei
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,732



« ตอบ #35 เมื่อ: 02-06-2007, 11:54 »

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ คุณ jerasak และทุกท่านค่ะ ได้เปิดหูเปิดตาและความรู้อีกเยอะเลยค่ะ 
บันทึกการเข้า

有缘千里来相会,无缘对面不相逢。
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #36 เมื่อ: 02-06-2007, 12:05 »

ขออนุญาตคุณ jerasak cop ไปแป่ะ และทำลิงค์ ที่ รดน.ไม่ทราบจะขัดข้อง ?...

ด้วยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม...
 

ได้เลยครับ.. น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่ไม่รู้

สังเกตจากข้อความของคุณชอบแถเรื่องเบ๊อะไรของแก
เป็นการใส่ร้ายชัดเจนทำนองว่า กระบวนการแต่งตั้ง
ทำโดยบริวารของฝ่ายทหาร ทั้งที่เห็นๆ อยู่ว่าดำเนินการ
โดยองค์กรศาลเช่นเดียวกับการตั้งตุลาการศาลในส่วน
ที่มาจากองค์กรศาลตามรัฐธรรมนูญ 2540

และสำหรับประธานและรองประธานคณะตุลาการก็เป็น
ผู้นำสูงสุดขององค์กรศาล 2 องค์กรที่ดำรงตำแหน่งมา
ตามระเบียบวิธีการขององค์กรศาล

รบกวนคุณ Suraphan07 นำไปแปะและทำลิงค์เลยครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #37 เมื่อ: 02-06-2007, 12:48 »

แป่ะไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่า จะอยู่ได้นานแค่ไหน...

คคห.ที่1 ถูกบล็อก...



คมช.แต่งตั้ง ตุลาการรัฐธรรมนูญเอง จริงหรือ?
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5468667/P5468667.html

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 12:49 โดย Suraphan07 » บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #38 เมื่อ: 02-06-2007, 13:05 »

คุณ คนขี่มังกร


ก็ยังหลงกับมายาเลือกตั้ง ...วาทะกรรมหลอกลวง...พวกนั้นอีกหรือ

คุณยอมรับการเลือกตั้งที่ไม่สุจริต ยังงั้นหรือ

คุณยอมรับ การฉ้อฉลอำนาจของประชาชน จากวิธีการเลือกตั้ง อย่างนั้นหรือ

ทำไมไม่มองว่า การเลือกตั้งไทยมันสกปรกมาทุกยุคทุกสมัย

และที่ชัดเจนที่สุด คือการที่ กกต. 3 คน ถูกตัดสินจำคุก

เมื่อไหร่จะหลุดจาก "ตำรา" มายอมรับ "ความจริง" กันเสียทีครับ

การอ้างแต่ตำราว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง

นั่นมันแค่เปลือก ๆ เป็นกระพี้ ไม่ใช่ "แก่น" ของประชาธิปไตยครับ

การอ้างแต่ "หลักการ" ไม่มองดูความเป็นจริงของการเลือกตั้ง

เสร็จแล้วก็โยนความผิดไปที่ "ก็ไปทำการเลือกตั้งให้สะอาดสิ"

คำพูดแบบนี้ ผมถือว่า ไม่รับผิดชอบร่วมกัน หวังเอาชนะในหลักการและ วาทะกรรมเป็นประเด็น ๆ ไป

ความสำคัญของระบอบประชาธิปไตยคือ มันต้องได้ "อำนาจ" ที่แท้จริง ที่ประชาชนเต็มใจยกให้

หากเป็นประชาธิปไตยในจิตใจที่แท้จริง ทักษิณต้องพิจารณาตนเองมานานแล้ว

ไม่ปล่อยให้ประชาธิปไตยต้องตกอยู่ในอันตราย จนทหารลุกขึ้นมาปฏิวัติ

ความรับผิดชอบในรัฐธรรมนูญ 2540 นั้น...ทักษิณหนีความผิดไม่ได้เลยครับ

เป็น"จำเลยที่ 1" ด้วยซ้ำไป ในคดีทำลายรัฐธรรมนูญ 2540
บันทึกการเข้า

buntoshi
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,348



« ตอบ #39 เมื่อ: 02-06-2007, 13:11 »

คนที่หมิ่น ศาล ไม่ยอมรับ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ครั้ง นี้จริงๆ ก็คือ

ทำผิดไม่ยอมรับผิดนั่นแหล่ะครับ

ถ้าศาลตัดสินว่าถูก คงจะยอมรับล้านเปอร์เซ็นต์ กล้าออกมาประท้วงไม่ยอมรับหรือเปล่า 

ประวัติทั้ง 9 ท่าน ไม่สมควรที่จะมีใคร มาหมิ่นได้ ท่านต้องใช้ ความกล้าหาญขนาดใหนในการพิจารณาคดีครั้งนี้

ขอแสดงความนับถืออย่างแรงกล้า
บันทึกการเข้า


เราต้องสร้างคนดีมากกว่าคนเก่ง เพราะคนเก่งจะเห็นคนอื่นเก่งกว่าไม่ได้ จะพยายามเก่งกว่าคนอื่น แต่คนดีจะมีความสุขที่ได้ทำให้คนอื่นเก่ง รวมทั้งคนดีทุกคน ล้วนเก่งทั้งนั้น....  ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
---------------------------
55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #40 เมื่อ: 02-06-2007, 13:18 »

"คมช.กลับลำรับมือสถานการณ์แทบไม่ทัน
ด่วนที่สุด จาก "พิทักษ์ปฐพี 149" มาเป็น "พิทักษ์ 1"

ผมว่า คุณคนขี่มังกร น่าจะคิดไปเรื่อยเปื่อยแล้วครับ.......ดูจากการกระทำที่ผ่านมา...

ผมเห็น คมช.เป็นฝ่ายที่อึดอัดอยู่ตลอดเวลา ในการไล่เช็คบิลทักษิณ มีข่าวเรื่องความขัดแย้งกับรัฐบาลสุรยุทธิ์ ที่ทำงานช้า อืดอาด ไม่ร่วมมือ คตส. จนความนิยมเริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ

รัฐบาลคุณสุรยุทธ ต่างหาก ที่มีท่าทีประนีประนอม มาตลอด จนถูกด่า ถูกโขกอยู่ตลอดเวลา.....ทั้งจากฝ่ายพันธมิตร และสือต่าง ๆ ............การนำเอา คุณสมคิด ที่เป็นโลโก้หนึ่งของระบอบทักษิณ กับอีกหลายคน มาช่วยงาน ยังพิสูจน์ ไม่พออีกหรือ ว่า คุณสุรยุทธ มีท่าทีประนีประนอมกับระบอบทักษิณ

การแสดงออกของคนในไทยรักไทย ก็เห็นอยู่บ่อยว่า ไล่ถล่ม คมช. แต่ละเว้นสุรยุทธิ์

ผมพูดอย่างนี้เด๋ว คุณคนขี่มังกร จะมาหาว่าผมมองชั้นเดียวอีก...........


ไม่ได้เป็นเรื่องผิดคิวอะไรหรอกครับ.........มีแต่ คมช. ประสานหรือไม่ .....ตุลาการยอมให้มีการประนีประนอมหรือไม่

อีกอย่าง แทนที่จะดูว่า ไทยรักไทย ทำผิดจริง หรือ ไม่ แต่กลับไปมองเรื่องคำพูด หรือ มองหาข้อบกพร่องทางกฏหมาย ไปมองเรื่องการแทรกแซง เรื่องความถูกต้องการมีอยู่ของตุลาการรัฐธรรมนูญ........ผมก็ไม่เข้าใจจริง ๆ ครับ.....คนเหล่านี้หลายคนอาจจะต้องเป็นผู้บริหาร นำพาประเทศชาติ.....ถ้ามีการทำผิดจริง คุณคิดว่า ควรจะปล่อยให้ออกไปเล่นการเมืองมั๊ยครับ

 
บันทึกการเข้า
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #41 เมื่อ: 02-06-2007, 15:48 »

ขอบคุณ คุณ RONALDO ที่นำข้อมูลประวัติของตุลาการ มาเผยแพร่

ขอทายไว้ล่วงหน้า อีกไม่นาน จะมีพวกรับจ้างป่วน มาแถว่า ..

ตุลาการชุดนี้ ไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่มีผู้ที่มาจากสายรัฐศาสตร์ เพื่อมาตัดสินว่า ..

  "ประชาชนเลือกทักษิณและพรรค ทรท. มา ๑๔ ล้านเสียง จึงควรให้พ้นผิด   



พวกที่อ้างว่าประชาชนเลือกทักษิณและพรรค ทรท. 14 ล้านเสียง
แต่ละเลย แกล้งลืม ไม่พูดถึง 10-11 ล้านเสียง ที่ No vote....

พวกนี้ไม่พูดความจริงอีกข้อหนึ่ง คือ ประชาชนที่เลือกทักษิณและพรรคพวกนั้น 14 ล้านเสียง
มีกี่เสียงที่ไม่ได้รับเงินจ้างให้ลงคะแนน....


บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #42 เมื่อ: 02-06-2007, 19:55 »

อือม...

ทำลิงค์ให้ก็ไม่มาถามกันที่นี่...
คุณ TSC  ณ. คคห.ที่ 43 ถามผมมาว่า...


1. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงเรียกว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ"
แทนที่จะใช้ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" เช่นเดียวกับชุดก่อน ?
2. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงเรียกคำตัดสินว่า "คำวินิจฉัย" แทน "คำพิพากษา" ?
3. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่สวมครุยในการพิจารณาคดี ?
4. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่มีการเสนอชื่อขึ้นเพื่อโปรดเกล้าฯ
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน ?
5. จากข้อ 4 เมื่อตุลาการชุดนี้ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มีแค่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำหน้าที่เลือก
ซึ่งก็หมายถึงมีหน้าที่แค่สรรหาเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่เป็นผู้แต่งตั้ง
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน ที่ได้รับการคัดเลือกสรรหาจากวุฒิฯ
แต่ผู้โปรดเกล้าแต่งตั้งคือพระองค์ท่าน ไม่ใช่วุฒิฯ
และในเมื่อตุลาการชุดนี้ ไม่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง แล้วใครล่ะเป็นผู้แต่งตั้ง ?
6. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่ได้เข้าถวายสัตย์ปฎิญาณต่อหน้าพระพักตร์
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน เช่นเดียวกับศาลปกครอง
และเช่นเดียวกับผู้พิพากษาศาลอื่นๆ ?


ช่วยอธิบายให้ทราบด้วยครับ...
ผมเองก็อยากทราบ...


http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5468667/P5468667.html
คมช.แต่งตั้ง ตุลาการรัฐธรรมนูญเอง จริงหรือ?
บันทึกการเข้า
hidden dragon
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 189



« ตอบ #43 เมื่อ: 02-06-2007, 20:13 »

คนพรรค์นั้นพอจนด้วยความจริง
ก็ตะแบงไปเรื่องเปลือก

เหมือนดูลิเกไม่ถูกใจก็ไปตำหนิเรื่องเครื่องทรง
ใส่ใจทำไมกับกระพ
ี้
บันทึกการเข้า

Once a cheater, always a cheater
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #44 เมื่อ: 02-06-2007, 21:24 »

ผมไม่แน่ใจนัก ยังไม่ได้ค้น

คำว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" เกิดขึ้นก่อนมี รัฐธรรมนูญ 2540 ครับ

ก่อนนั้นเวลามีปัญหาให้ต้อง "ตีความ" ก็อาศัย "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" เป็นผู้ "ตีความ"

เมื่อเรามี "ศาลรัฐธรรมนูญ" ใน รัฐธรรมนูญ 2540 เราจึงลืม "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ไปเลย

จริง ๆ ก็คือ "องค์คณะ" ที่ตั้งขึ้นมา ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 35 นั่นแหละครับ

จะว่าไป "อำนาจหน้าที่" ของ "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" ก็คือ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละครับ

เดี๋ยวจะลอง ๆ ค้นดูนะครับ
บันทึกการเข้า

Solidus
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,381



« ตอบ #45 เมื่อ: 02-06-2007, 21:38 »

ผมไม่แน่ใจนัก ยังไม่ได้ค้น

คำว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" เกิดขึ้นก่อนมี รัฐธรรมนูญ 2540 ครับ

ก่อนนั้นเวลามีปัญหาให้ต้อง "ตีความ" ก็อาศัย "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" เป็นผู้ "ตีความ"

เมื่อเรามี "ศาลรัฐธรรมนูญ" ใน รัฐธรรมนูญ 2540 เราจึงลืม "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ไปเลย

จริง ๆ ก็คือ "องค์คณะ" ที่ตั้งขึ้นมา ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 35 นั่นแหละครับ

จะว่าไป "อำนาจหน้าที่" ของ "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" ก็คือ อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละครับ

เดี๋ยวจะลอง ๆ ค้นดูนะครับ

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #46 เมื่อ: 02-06-2007, 21:45 »

เจอแล้วครับ ในรัฐธรรมนูญ 2534

มาตรา ๑๙๕ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลอื่น หรือระหว่างศาลอื่นด้วยกัน ให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย

หมวด ๑๐
ตุลาการรัฐธรรมนูญ
______________________

            มาตรา ๒๐๐ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประธานรัฐสภาประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานศาลฎีกา อัยการสูงสุด และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ หรือสาขารัฐศาสตร์อีกหกคนซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งสภาละสามคน
            ประธานรัฐสภาเป็นประธานตุลาการรัฐธรรมนูญในระหว่างที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญโดยตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา และอัยการสูงสุด
            มาตรา ๒๐๑ ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งจะเป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น มิได้
            มาตรา ๒๐๒ ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี แต่อาจได้รับแต่งตั้งใหม่ได้
            ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระต้องปฏิบัติหน้าที่ไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญใหม่
            มาตรา ๒๐๓ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
            (๑) ตาย
            (๒) ลาออก
            (๓) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๑
            (๔) ต้องคำพิพากษาให้จำคุก
            มาตรา ๒๐๔ ถ้าตำแหน่งตุลาการรัฐธรรมนูญซึ่งวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรแต่งตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี แต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญสำหรับตำแหน่งที่ว่างลงภายในสามสิบวัน
            กำหนดวันดังกล่าวในวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัยประชุมในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญตามวรรคหนึ่ง ให้ตุลาการรัฐธรรมนูญที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
            มาตรา ๒๐๕ เมื่อร่างพระราชบัญญัติใดได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา ๘๘
            (๑) หากสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภาหรือประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ส่งความเห็นนั้นไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย แล้วแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ
            (๒) หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังคณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย แล้วแจ้งให้ประธานวุฒิสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎรทราบ
            ในระหว่างที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติตามวรรคหนึ่งจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ถ้าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้น มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป
            มาตรา ๒๐๖ ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งโดยศาลเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๕และยังไม่มีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว แล้วส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการ เพื่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย
            คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว
            มาตรา ๒๐๗ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรี รัฐสภา วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรมีมติว่ากรณีมีปัญหาที่จะต้องตีความรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา หรือประธานสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี ส่งเรื่องให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
            มาตรา ๒๐๘ การประชุมคณะตุลาการรัฐธรรมนูญต้องมีตุลาการรัฐธรรมนูญมาประชุมไม่น้อยกว่าห้าคน จึงจะเป็นองค์ประชุม
            มติของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้
            มาตรา ๒๐๙ คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ถือเป็นเด็ดขาดและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
            มาตรา ๒๑๐ วิธีการพิจารณาของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น


หมายเหตุ เมื่อมีการร่าง รัฐธรรมนูญ 2540 ได้มีการหยิบยกเอา เรื่อง "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" มายกขึ้นเป็น "ศาลรัฐธรรมนูญ" ครับ

ประเด็นสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่คำว่า "ศาล" หรือ "ไม่ใช่ศาล"

แต่มันสำคัญตรงที่ เมื่อมีคำวินินิจฉัยแล้ว มีผลอย่างไรต่างหาก

ถ้าถามว่า ทำไมใช้คำว่า คำวินิจฉัย หรือไม่สวมครุย

ก็ตอบง่าย ๆ ว่าเพราะไม่ได้เป็น "ศาล" นั่นแหละครับ

เหตุผลที่ยกเลิกตุลาการรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญ 2534 ก็เพราะ "ที่มา" ของ "ตุลาการ" นั่นแหละครับ

ที่มาของตุลาการรัฐธรรมนูญเดิม ก็คือ ประธานรัฐสภา ซึ่งก็คือ "นักการเมือง" ซีกรัฐบาล

ดังนั้นเพื่อให้มีความเป็น"อิสระ" จึงได้กำหนด "ศาลรัฐธรรมนูญ" ให้เป็น "องค์กรอิสระ" เท่านั้นเอง


บันทึกการเข้า

RONALDO
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 684


ไม่มีใคร ทำให้เรารู้สึกต่ำต้อยได้ หากเราไม่ยินยอม


« ตอบ #47 เมื่อ: 02-06-2007, 22:50 »

ขอบคุณข้อมูลของคุณ jerasak มากนะครับ ผมขออนุญาตไปเผยแพร่ในประชาไทที่มืดบอดซักหน่อย มีประโยชน์มากจริงๆ ขอบคุณมากนะครับ แล้วจะมาแลกเปลี่ยนความเห็นกันใหม่ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ถ้าไล่พวกโกงกิน ขจัดระบอบทักษิณ ให้ออกไป
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #48 เมื่อ: 02-06-2007, 22:54 »

อือม...

ทำลิงค์ให้ก็ไม่มาถามกันที่นี่...
คุณ TSC  ณ. คคห.ที่ 43 ถามผมมาว่า...

1. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงเรียกว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ"
แทนที่จะใช้ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" เช่นเดียวกับชุดก่อน ?
2. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงเรียกคำตัดสินว่า "คำวินิจฉัย" แทน "คำพิพากษา" ?
3. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่สวมครุยในการพิจารณาคดี ?
4. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่มีการเสนอชื่อขึ้นเพื่อโปรดเกล้าฯ
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน ?
5. จากข้อ 4 เมื่อตุลาการชุดนี้ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
มีแค่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำหน้าที่เลือก
ซึ่งก็หมายถึงมีหน้าที่แค่สรรหาเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่เป็นผู้แต่งตั้ง
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน ที่ได้รับการคัดเลือกสรรหาจากวุฒิฯ
แต่ผู้โปรดเกล้าแต่งตั้งคือพระองค์ท่าน ไม่ใช่วุฒิฯ
และในเมื่อตุลาการชุดนี้ ไม่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง แล้วใครล่ะเป็นผู้แต่งตั้ง ?
6. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่ได้เข้าถวายสัตย์ปฎิญาณต่อหน้าพระพักตร์
เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน เช่นเดียวกับศาลปกครอง
และเช่นเดียวกับผู้พิพากษาศาลอื่นๆ ?


ช่วยอธิบายให้ทราบด้วยครับ...
ผมเองก็อยากทราบ...

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5468667/P5468667.html
คมช.แต่งตั้ง ตุลาการรัฐธรรมนูญเอง จริงหรือ?

เรื่องที่ถามมาอาจต้องอธิบายยืดยาวมากนะครับ แต่ผมจะพยายามก็แล้วกัน
ก่อนอื่นจะขอตอบทั้ง 6 ข้อแบบสั้นๆ ก่อน แล้วค่อยอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

1. ทำไมตุลาการชุดนี้ถึงเรียกว่า "ตุลาการรัฐธรรมนูญ" แทนที่จะใช้ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" เช่นเดียวกับชุดก่อน?

    เพราะไม่ได้จัดตั้งขึ้นเป็น "ศาล" ครับแต่ตั้งเป็นคณะตุลาการคล้ายกับที่มีมาตั้งแต่ปี 2490 จนถึงก่อน รธน.2540

2. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงเรียกคำตัดสินว่า "คำวินิจฉัย" แทน "คำพิพากษา" ?

    ไม่ใช่เฉพาะชุดนี้แต่ใช้แบบนี้ตั้งแต่เป็นศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เพราะมีอำนาจหน้าที่ในการ "วินิจฉัย" ไม่ใช่พิพากษา

3. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่สวมครุยในการพิจารณาคดี ?

    คำตอบเช่นเดียวกันข้อ 1 เพราะเป็นคณะตุลาการไม่ใช่ศาลครับ

4. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่มีการเสนอชื่อขึ้นเพื่อโปรดเกล้าฯ เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน ?

    เพราะไม่มีการระบุในรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ให้ต้องทำเช่นนั้นครับ แต่ควรระลึกว่ารัฐธรรมนูญเองนั้น
    ก็ประกาศเป็นพระบรมราชโองการมาตั้งแต่ต้น เท่ากับมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
    ในมาตรา 35 มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้

5. จากข้อ 4 เมื่อตุลาการชุดนี้ไม่ได้มีการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง มีแค่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา ทำหน้าที่เลือก
    ซึ่งก็หมายถึงมีหน้าที่แค่สรรหาเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่เป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน
    ที่ได้รับการคัดเลือกสรรหาจากวุฒิฯแต่ผู้โปรดเกล้าแต่งตั้งคือพระองค์ท่าน ไม่ใช่วุฒิฯ และในเมื่อตุลาการชุดนี้
    ไม่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง แล้วใครล่ะเป็นผู้แต่งตั้ง ?


    ถ้าจะตอบให้ถึงที่สุดก็คือมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง มาตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 ครับ
    โดยที่เนื้อความในรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าเมื่อเลือกตุลาการตามมาตรา 35 แล้วต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ อีก

6. ทำไมตุลาการชุดนี้ ถึงไม่ได้เข้าถวายสัตย์ปฎิญาณต่อหน้าพระพักตร์ เช่นเดียวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดก่อน
    เช่นเดียวกับศาลปกครอง และเช่นเดียวกับผู้พิพากษาศาลอื่นๆ ?


    คำตอบเช่นเดียวกับข้อ 1 เพราะเป็นคณะตุลาการไม่ใช่ศาลครับ

---

ตอบคำถาม 6 ข้อแล้วก็จะขออธิบายต่อไปนะครับ เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องมีคำถามมาอีกแน่ๆ
ขอไปพิมพ์ต่อสักครู่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 22:59 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #49 เมื่อ: 02-06-2007, 23:19 »

คำถามที่ต้องมีตามมาแน่นอนก็คือ

1. ทำไมคณะปฏิรูปฯ ถึงยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญเดิม แต่คงศาลอื่นๆ ไว้ทั้งหมด

    ความจริงแล้วมีเรื่องหนึ่งที่หลายๆ คนอาจไม่ทราบก็คือศาลรัฐธรรมนูญนั้นจัดตั้งขึ้น
    โดยไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งเหมือนศาลอื่นๆ


    ตามรัฐธรรมนูญ 2540 นั้นได้ระบุถึงศาลต่างๆ ไว้ดังนี้คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม
    ศาลปกครอง และศาลทหาร ทุกศาลมีพระราชบัญญัติให้จัดตั้งขึ้นยกเว้นศาลรัฐธรรมนูญ

    ศาลยุติธรรม จัดตั้งโดย พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
    ศาลปกครอง จัดตั้งโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
    ศาลทหาร    จัดตั้งโดย พระราชบัญญัติพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498


    แต่สำหรับศาลรัฐธรรมนูญมีเพียง พระราชบัญญัติสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2542 ที่มีเนื้อหา
    เกี่ยวกับสำนักงานเท่านั้น ไม่ใช่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาล

    คำถามต่อมาก็คือแล้วทำไมถึงไม่มีพระราชบัญญัติจัดตั้ง เหตุผลก็คือไม่มีการระบุในรัฐธรรมนูญ 2540
    ให้มีกฎหมายจัดตั้งครับ ถ้าลองไปอ่านรัฐธรรมนูญ 2540 ดูในหมวด ศาลรัฐธรรมนูญ จะพบว่าไม่มีระบุ
    ข้อความ "ตามที่กฎหมายบัญญัติ" เอาไว้เลยนอกจากเรื่องสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ

    คราวนี้พอมีประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 ให้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง
    ศาลรัฐธรรมนูญจึงสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญไปด้วยพร้อมกับ วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี


    ในประกาศ คปค. ฉบับเดียวกันระบุให้ ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญ คงมีอำนาจในการพิจารณา
    พิพากษา อรรถคดี ตามบทกฎหมาย และตามประกาศ คปค. ซึ่งสามารถระบุได้เพราะทุกศาลที่ระบุนั้น
    ต่างมีพระราชบัญญัติรองรับแต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มี ถ้าจะประกาศให้ศาลรัฐธรรมนูญคงอยู่ต่อไปด้วยก็ไม่มี
    กฎหมายใดๆ รองรับ

    ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงสิ้นสุดไปโดยปริยายพร้อม รธน.2540 ในขณะที่ศาลอื่นๆ สามารถคงอยู่ต่อไปได้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 02-06-2007, 23:22 โดย jerasak » บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
หน้า: [1] 2
    กระโดดไป: