ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
23-04-2024, 22:05
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  ** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... ** 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8
** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... **  (อ่าน 38594 ครั้ง)
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #250 เมื่อ: 19-10-2007, 17:31 »



ผู้คิดระบบ ถ้าสร้างระบบที่คิดได้เหมือนระบบประสาทด้วยจะดีมากครับ..

ปัญหาคือระบบความปลอดภัย และผู้ดูแลระบบ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #251 เมื่อ: 19-10-2007, 18:24 »

การคิดนอกกรอบ บางทีก็ดีครับ

แต่ถ้าคิดนอกคอก ลำบากเหมือนนะ


การเลือกตั้ง กับ การเมืองภาคประชาชน
http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=5223.0


ถ้าสิ่งที่เราอยู่มันเป็นคอก ผมก็ว่าผมอยู่นอกคอกดีกว่าล่ะครับ ใครอยากอยู่ในคอกก็อยู่ไปเด้อ

แหมลิงค์ที่ให้มาต้องสมัครสมาชิกด้วย งั้นคงต้องรอใช้เวลาในการอ่านสักพักล่ะครับ


* เข้าไปอ่านแล้วครับ งงเลย

งงเพราะ นี่เป็นนิยามการเมืองภาคประชาชนที่ผมยึดในตอนพูดเรื่องระบอบที่เสนอกับการเมืองภาคประชาชน แต่คุณแคนแคนบอกว่า "ไปเอานิยามของ อ. นิธิ มาทำไม กร๊าก"


** แต่ยังไงก็ขอขอบคุณครับ เดี๋ยวผมจะลองอ่านบทความเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม เผื่อมีไอเดียอะไรเอามาเสริมได้




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-10-2007, 18:36 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #252 เมื่อ: 19-10-2007, 18:44 »

** ระบอบการปกครองแนวใหม่ที่เหมาะสมกับประเทศไทย... **

แยกประโยคนี้ออก พบว่ามี 2 เรื่องที่จะนำมาประกอบกัน

ระบอบการปกครองที่ดี

บริบทสังคมไทย

ทำแบบกระทู้ว่า มันเหมาะสมกับสังคมไทยตรงหรือประเทศไทยบ้าง

อธิบายเสริมหน่อย...เผื่อจะมีคนช่วยคิด

เอาแค่พื้น ๆ นี่ก่อน เหมาะสมตรงใหนว่ามาเลย

แต่ขอให้อยู่ในกรอบกระทู้...อย่าออกนอกคอก มันเพ้อเจ้อ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #253 เมื่อ: 19-10-2007, 19:37 »


ทำแบบกระทู้ว่า มันเหมาะสมกับสังคมไทยตรงหรือประเทศไทยบ้าง

อธิบายเสริมหน่อย...เผื่อจะมีคนช่วยคิด



ผมมองสภาพสังคมไทยจากตัวปัญหาประเด็นทางการเมืองที่มีอยู่ในตอนนี้ครับ

นั่นคือ การที่นักการเมืองน้ำเน่ารวบอำนาจโดยอาศัยการอ้างเสียงข้างมาก

ซึ่งมีสาเหตุคือ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ ยังไม่มีการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ และจิตสำนึกที่ดีพอจะตัดสินในประเด็นเรื่องต่างๆ ของชาติได้

ทำให้นักการเมืองใช้การซื้อ (ทั้งทางตรงด้วยเงินและอ้อมด้วยประชานิยม) ล่อหลอก สัญญาลมๆ แล้งๆ กับประชาชนส่วนใหญ่ได้

ซึ่งนี่เป็นเอกลักษณ์ของการเมืองไทย ในระบอบปัจจุบัน


ผมจึงเสนอให้จำกัดสิทธิเฉพาะส่วนที่ประชาชนสามารถใช้ได้และรู้จักใช้ โดยยังคงหลักความเสมอภาคและเสรีภาคอยู่

จึงเป็นที่มาของระบอบนี้ครับ


นอกคอกครับ เพราะอยู่ในคอกต่อก็ได้เป็นช้างม้าวัวควายให้นักการเมืองเลี้ยงต่อไป

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #254 เมื่อ: 19-10-2007, 19:49 »

ประเด็นปัญหาการเมืองไทยตอนนี้มีอะไรบ้างครับ

มันมีความจำเป็นถึงขนาดต้องไปคิดระบอบการปกครองใหม่ มาใส่สังคมไทยขนาดนั้นจริงหรือ

ถ้าระบอบของคุณมีปัญหาคุณก็ไปคิดระบอบใหม่มาใส่อีกใช่มั๊ยครับ
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #255 เมื่อ: 19-10-2007, 19:58 »

ประเด็นปัญหาการเมืองไทยตอนนี้มีอะไรบ้างครับ

มันมีความจำเป็นถึงขนาดต้องไปคิดระบอบการปกครองใหม่ มาใส่สังคมไทยขนาดนั้นจริงหรือ

ถ้าระบอบของคุณมีปัญหาคุณก็ไปคิดระบอบใหม่มาใส่อีกใช่มั๊ยครับ



ประเด็นปัญหาหลักที่จับ คือปัญหารวบเสียงส่วนใหญ่ ดังที่ว่าไปแล้วครับ


ส่วนเรื่องความจำเป็นนี่ ก็ต้องมาดูว่า ประโยชน์ที่น่าจะได้รับหากมีระบอบนี้ คุ้มค่าหรือไม่
พอเห็นว่า คุ้มค่า ก็มาช่วยกันคิด ช่วยกันร่าง
พอร่างเสร็จสมบูรณ์ เห็นว่าใช้ได้ดีแน่ๆ ประโยชน์ที่ได้คุ้มค่าความวุ่นวายในการเปลี่ยนมาใช้แน่ๆ จึงจะเริ่มคิดหาวิธีนำมาใช้ครับ

นี่เป็นสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรม ที่จะผันแปรไปสู่การสร้างสรรค์ใหม่

และถ้าระบบผมมันมีปัญหาจริงๆ และระบบเก่าที่มีไม่สามารถแก้ไขได้

ก็ต้องคิดระบบใหม่ ตามวิวัฒนาการของสังคมครับ


คุณแคนแคนคิดว่า

มนุษย์โบราณเปลี่ยนจากการปกครองระบอบ หมูไปไก่มา เป็นระบอบหัวหน้าเผ่า
บอลเชวิคยึดอำนาจพระเจ้าซาร์
คณะรสช. นำประชาธิปไตยมาใช้ในไทย

เพราะอะไรหรือครับ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19-10-2007, 20:01 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #256 เมื่อ: 19-10-2007, 20:08 »

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสังคม มันต้องมีคนยอมรับ ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดก็ตามมันถึงจะไปได้

ถ้าแค่ในเว็บบอร์ด 2-3 คน คุณยังทำให้คนแค่นี้ยอมรับไม่ได้ แล้วคุณจะไปคิดอะไรที่มันซับซ้อนกว่านี้

กินมาก นอนมาก ฝันมาก เพ้อเจ้อ
บันทึกการเข้า

jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #257 เมื่อ: 19-10-2007, 21:30 »

ขอบคุณครับ

1. ถ้าเช่นนั้นอาจจะใช้วิธีปฏิบัติที่คุณจิรศักดิ์เสนอมาก็ได้ครับ

2. ตรงนี้ส่วนที่น่าจะเป็นปัญหาคือ นักการเมืองแบบเก่า อาจจะย้ายสำนักไปสิงอยู่ที่วุฒิสภาแทนครับ และถ้าเป็นเช่นนี้ ถึงแม้ไม่มีอำนาจบริหาร แต่ก็ยังมีอำนาจขัดแข้งขัดขาเพื่อรักษาผลประโยชน์ (ที่มิชอบ) ของตน
    เพราะฉะนั้นคำถามที่สำคัญตรงนี้คือ สมาชิกวุฒิสภานี่ เข้ามาได้ยังไง ยังซื้อเสียงเข้ามาหรือใช้ระบบเครือญาติได้อีกหรือเปล่า

ส่วนเรื่องจุดอ่อน ยินดีครับ ที่เอามาลงอินเตอร์เน็ตนี่ก็เพราะอยากให้หลายๆ คนช่วยกันสอดส่องหาวิธีการ exploit กัน เพราะลำพังผมคนเดียวคงมองได้ไม่หมด

Have a smart and productive day ครับ

กลับเข้ามาดึกกว่าที่คิดไปหน่อย แต่รู้สึกยังไม่มีประเด็นอะไรเพิ่มเติม..

เรื่องจุดอ่อน (น่าจะใช้คำว่า "สิ่งที่ขาดไป") ในระบบที่คุณ PastelSalad เสนอมานั้น
คงต้องขอเรียบเรียงสักหน่อยหนึ่งนะครับ

และแน่นอนว่าเรื่องนี้คงคุยกันไปถึงระดับ ยอมรับ หรือ ไม่ยอมรับระบบ คงไม่ได้
เพราะยังไงก็ห่างไกลกับการนำไปใช้จริงแบบสุดกู่

ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องการพิจารณาความสมเหตุสมผล ว่าระบบที่เสนอขึ้นมาจะสามารถ
ทำงานได้จริงๆ หรือเปล่า และน่าจะมีปัญหาตรงไหนบ้าง ถือเป็นการลองคิดออกแบบ
ระบบการปกครอง เพราะที่ผ่านมาไม่เคยมีใครชวนคิดสักที

แต่ในโลกแห่งความจริง ตัวผมเองไม่ได้มีปัญหามากมายกับระบบการปกครองปัจจุบัน
เพราะผมมองว่าปัญหามันอยู่ที่จุดอื่นมากกว่า แต่ถ้าจะพูดถึงก็จะหลุดออกนอกประเด็น
ที่ จขกท. นำเสนอในกระทู้นี้ไป  ดังนั้นผมจะจำกัดประเด็นอยู่แต่เรื่องการคิดออกแบบ
ระบบการปกครองนะครับ

---

สำหรับเรื่องที่ว่า "นักการเมืองแบบเก่า อาจจะย้ายสำนักไปสิงอยู่ที่วุฒิสภาแทน" ผมไม่คิดว่า
จะมีปัญหาอะไรนะครับเพราะวุฒิสภาไม่ใช่ฝ่ายบริหาร ที่คุณ PastelSalad ควรจะกลัวมีปัญหา
น่าจะอยู่ที่นักการเมืองแบบเก่าจะเข้าไปอยู่ในสภาภารกิจ และสภาบริหาร มากกว่า

ซึ่งบอกได้เลยว่าเขาไปแน่ครับ และถ้าหากคุณ PastelSalad คิดว่าการที่นักการเมืองแบบเก่า
ไปอยู่ในสภาภารกิจ และสภาบริหาร ได้โดยไม่มีปัญหา หรือคิดว่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เข้าไปอยู่
การเข้าไปยึดวุฒิสภายิ่งไม่เป็นปัญหาใดๆ เลยครับ

น่าจะเป็นผลดีกับการตรวจสอบถ่วงดุลในโครงสร้างทางการเมืองมากกว่า เพราะมีที่มาต่างกัน
กับ สภาภารกิจ และสภาบริหารอย่างชัดเจน และถ้าเกรงว่าวุฒิสภาจะถ่วงการบริหารราชการ
ก็ควรมองข้อดีในการตรวจทานการทำงานขององค์กรอื่นด้วย และตามปกติจะมีการระบุหนทาง
กรณีกฎหมายที่สภาล่างสนับสนุนอย่างท่วมท้นแต่ถูกยับยั้งจากสภาสูง เช่นให้สภาล่างยืนยัน
ด้วยจำนวนเสียงที่มากพอ แล้วสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้โดยไม่ต้องผ่านสภาสูงอีกครับ

ในเรื่องวุฒิสมาชิกผมอยากให้เพิ่มเติมบางส่วน เช่นการพ้นตำแหน่งครึ่งสภาทุกๆ ครึ่งเทอม
ส่วนการดำรงตำแหน่งยาวกว่าสภาล่าง (เช่นคราวละ 6 ปี) น่าจะให้คงไว้ แต่พวกนี้ถือเป็น
รายละเอียดหยุมหยิม ไม่ใช่สาระสำคัญระดับโครงสร้างครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #258 เมื่อ: 19-10-2007, 21:31 »

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสังคม มันต้องมีคนยอมรับ ไม่ว่าจะโดยอำนาจใดก็ตามมันถึงจะไปได้

ถ้าแค่ในเว็บบอร์ด 2-3 คน คุณยังทำให้คนแค่นี้ยอมรับไม่ได้ แล้วคุณจะไปคิดอะไรที่มันซับซ้อนกว่านี้

กินมาก นอนมาก ฝันมาก เพ้อเจ้อ



ลุงแคนแคนกำลังหาเรื่องผมแล้วนะครับ

คนสองสามคนในเว็บบอร์ดไม่ยอมรับ ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่ดี

ถ้าหลังจากการถกกันอย่างเข้าใจถึงหลักการโดยแท้จริงแล้ว มีผู้ไม่ยอมรับหลายๆ คน ทั้งผู้มีความชำนาญและไม่มีความชำนาญ โดยมีเหตุผลหักล้างที่พอเพียง นั่นถึงจะแปลว่ามันใช้ไม่ได้ครับ



ผมประหลาดใจนะ ที่คุณแคนแคนยังคงสนทนาอยู่ในกระทู้นี้ได้นานขนาดนี้ ทั้งๆ ที่มีความคิดเช่นที่คุณว่ามา


บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #259 เมื่อ: 19-10-2007, 21:38 »

ผมอยากสรุปถึงข้อดีที่เห็นในระบบที่ จขกท. นำเสนอนะครับ (ก่อนจะพูดถึงสิ่งที่ขาดต่อไป)

- การแบ่งกลุ่มภารกิจตามอาชีพ และความรู้ความชำนาญ สำหรับผมมองว่าเป็นจุดเด่นที่สุด
  ในระบบที่ จขกท. นำเสนอมา เพราะเป็นการเปิดพื้นที่และช่องทางการเข้าถึงอำนาจรัฐ
  แบบใหม่ๆ ที่ต่างจากการแบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์แบบเดิมที่ผู้ลงคะแนนไม่มีบทบาท
  ในระดับนโยบาย ทำได้เพียงเลือกตัวแทนไปทำงานตามยถากรรม แต่การเลือกตามกลุ่ม
  ทำให้ผู้แทนแต่ละคนมีภารกิจติดตัวเข้าไปด้วย

- การระบุที่มาของสภาบริหาร (ครม.) มาจากกลุ่มภารกิจเป็นอีกจุดเด่น เนื่องจากที่ผ่านมา
  เราจำใจต้องยอมรับรัฐมนตรี ที่เป็นใครก็ไม่รู้มานั่งในตำแหน่งสำคัญของประเทศโดยเรา
  ไม่สามารถทราบล่วงหน้า ไม่ต้องพูดถึงเรื่องไม่รู้ว่ามีนโยบายจะทำอะไรบ้าง และยังต้อง
  ทนกับนโยบายที่คิดได้แบบเฉพาะกิจเฉพาะกาล ไหนยังจะความไม่มั่นคงของตำแหน่ง
  ที่รัฐมนตรีผลัดกันนั่งเหมือนเก้าอี้ดนตรี บางกระทรวงในปีเดียวเปลี่ยนรัฐมนตรีหลายหน

  การที่ผมเสนอให้ทำเป็นรูปแบบการสรรหา มีการแสดงวิสัยทัศน์ และโครงงานที่จะจัดทำ
  ก่อนที่รัฐมนตรีทุกคนจะได้รับเลือกเข้าดำรงตำแหน่ง เท่ากับทำให้ผู้ได้รับเลือกมีฐานเสียง
  สนับสนุนจากสภาภารกิจ ตัวรัฐมนตรีเองก็เท่ากับได้รับฉันทานุมัติมีอำนาจผลักดันโครงการ
  ให้บรรลุผลอย่างเต็มที่ และในฝั่งประชาชนก็สามารถติดตามตรวจสอบประเมินผลการทำงาน
  ของรัฐมนตรีแต่ละคนได้อย่างชัดเจน

- การระบุไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองเป็นอีกจุดเด่น เนื่องจากที่ผ่านมาพรรคการเมืองต่างๆ
  ไม่สามารถแสดงความแตกต่างในทางนโยบาย และแนวทางการทำงานระหว่างกันได้เลย
  ทุกพรรคเหมือนๆ กันหมด แต่ไปเกาะอยู่กับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์คือจังหวัดหรือภาคเป็นหลัก
 
  เมื่อพิจารณากลุ่มภารกิจต่างๆ จะพบว่าความจริงแล้วก็คือพรรคการเมืองในแบบที่ควรจะมี
  คือมีภารกิจมีเป้าหมายชัดเจน และไม่ซ้ำกันกับกลุ่มอื่นๆ  โดยมีการสะสมองค์ความรู้และ
  บุคลากรที่จะเข้าบริหารประเทศในส่วนรับผิดชอบของตนเอง และประชาชนทั่วไปสามารถ
  เข้าร่วมในกลุ่มภารกิจที่ตัวเองมีความสามารถ หรือมีความสนใจได้อย่างชัดแจ้ง
น่าจะมีอะไรอีกแน่ๆ ไว้ถ้านึกออกจะมาเพิ่มเติมอีกนะครับ (ขอไปเรียบเรียงสิ่งที่ขาดก่อน) 
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #260 เมื่อ: 19-10-2007, 22:02 »



สำหรับเรื่องที่ว่า "นักการเมืองแบบเก่า อาจจะย้ายสำนักไปสิงอยู่ที่วุฒิสภาแทน" ผมไม่คิดว่า
จะมีปัญหาอะไรนะครับเพราะวุฒิสภาไม่ใช่ฝ่ายบริหาร ที่คุณ PastelSalad ควรจะกลัวมีปัญหา
น่าจะอยู่ที่นักการเมืองแบบเก่าจะเข้าไปอยู่ในสภาภารกิจ และสภาบริหาร มากกว่า

ซึ่งบอกได้เลยว่าเขาไปแน่ครับ และถ้าหากคุณ PastelSalad คิดว่าการที่นักการเมืองแบบเก่า
ไปอยู่ในสภาภารกิจ และสภาบริหาร ได้โดยไม่มีปัญหา หรือคิดว่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เข้าไปอยู่
การเข้าไปยึดวุฒิสภายิ่งไม่เป็นปัญหาใดๆ เลยครับ

น่าจะเป็นผลดีกับการตรวจสอบถ่วงดุลในโครงสร้างทางการเมืองมากกว่า เพราะมีที่มาต่างกัน
กับ สภาภารกิจ และสภาบริหารอย่างชัดเจน และถ้าเกรงว่าวุฒิสภาจะถ่วงการบริหารราชการ
ก็ควรมองข้อดีในการตรวจทานการทำงานขององค์กรอื่นด้วย และตามปกติจะมีการระบุหนทาง
กรณีกฎหมายที่สภาล่างสนับสนุนอย่างท่วมท้นแต่ถูกยับยั้งจากสภาสูง เช่นให้สภาล่างยืนยัน
ด้วยจำนวนเสียงที่มากพอ แล้วสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้โดยไม่ต้องผ่านสภาสูงอีกครับ

ในเรื่องวุฒิสมาชิกผมอยากให้เพิ่มเติมบางส่วน เช่นการพ้นตำแหน่งครึ่งสภาทุกๆ ครึ่งเทอม
ส่วนการดำรงตำแหน่งยาวกว่าสภาล่าง (เช่นคราวละ 6 ปี) น่าจะให้คงไว้ แต่พวกนี้ถือเป็น
รายละเอียดหยุมหยิม ไม่ใช่สาระสำคัญระดับโครงสร้างครับ


โดยส่วนตัวผมคิดว่าระบบที่ออกแบบมา ไม่น่าจะเป็นห่วงเรื่องนักการเมืองเก่าเข้ามาในสภาล่าง (บริหาร และภารกิจ) ได้มากจนส่งผลให้การตรวจสอบและถอดถอนหยุดชะงักครับ

ส่วนเรื่องวุฒิสภา ถ้าตามที่คุณจิรศักดิ์ว่ามา ผมก็ยังไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นครับ ถ้าเช่นนั้น ผมจะลองหาวิธีใส่วุฒิสภาในระบบ โดยมีจุดประสงค์ดังนี้นะครับ

  • เพื่อรักษาผลประโยชน์ท้องถิ่น ซึ่งทำได้โดยให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งตามเขตภูมิศาสตร์
  • เพื่อเพิ่มอำนาจการยับยั้งและกลั่นกรองกฏหมาย
  • เพิ่มอำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหาร

ทีนี้ ประเด็นที่จะให้วุฒิสภาเป็นผู้แต่งตั้งและคัดสรรองค์กรอิสระทางการเมืองต่างๆ ด้วย เช่น ปปช คตส ผมยังลำบากใจครับ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นในวุฒิสภาที่มาจากเสียงส่วนใหญ่เท่าไหร่

เราอาจกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาไม่สังกัดพรรคการเมืองได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก

ทีนี้ ลองสมมติซีเนอริโอ ให้มีกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง (ไม่ใช่กลุ่มภารกิจนะครับ) กลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อว่า พรรคขอ (คือ ขอโกง) ได้อยู่เบื้องหลังส่งผู้สมัครวุฒิสภา จนสามารถครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาสูงได้

ก็จะทำให้สามารถแต่งตั้ง องค์กรตรวจสอบต่างๆ เองได้ ทั้ง ปปช คตส และอื่นๆ และสมมติต่อว่า พรรคขอ สามารถส่งผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้แทนของสภาล่างได้บางส่วน สมมติเป็น กลุ่มเกษตร
จากนั้น พรรคขอก็ใช้อำนาจในสภาล่างผ่านกลุ่มดังกล่าว เพื่อทำการโกงโครงการต่างๆ ในประเด็นเล็กๆ ของโครงการส่วนภายในกลุ่มเกษตรเอง เช่น โครงการประมูลปุ๋ย เป็นต้น ทีนี้ เนื่องจากองค์กรตรวจสอบอิสระ ได้ถูกควบคุมไว้แล้ว ทำให้ไม่มีผู้ที่จะตีแผ่การโกงดังกล่าวให้แก่ผู้แทนฝ่ายอื่นๆ และประชาชนได้รับรู้ และถึงแม้ เจ้าของกิจการปุ๋ยรายที่เสียประโยชน์จากการโกงการประมูลปุ๋ย จะออกมาเรียกร้องผ่านสื่อ  ปปช.ก็จะรับเรื่องมา แล้วทำสำนวนฟ้องแบบอ่อนๆ แกล้งให้ตัดสินว่าไม่มีการโกง ด้วยเหตุเช่นนี้ เนื่องจากไม่มีมูลความผิดที่ชัดเจน การที่ฝ่ายอื่นในสภาจะเสนอไม่ไว้วางใจก็เป็นเรื่องที่ลำบากใจ (เพราะปปช. ชำระความผิดให้แล้ว)

ตัวอย่างที่ยกมา ไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือมีทางแก้มั้ยครับ

แต่ถึงจะไม่ตั้งวุฒิสภา ก็ยังมีปัญหาในการคัดสรรองค์กรอิสระอยู่ดี

เรื่องนี้น่าจะกล่าวไปถึงระบบการคัดสรรตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งด้วย ตรงนี้ผมว่าน่าจะอาศัยพระราชอำนาจกษัตริย์ (หรือคณะองคมนตรี) คุณจิรศักดิ์หรือท่านอื่นๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #261 เมื่อ: 19-10-2007, 22:09 »

ผมอยากสรุปถึงข้อดีที่เห็นในระบบที่ จขกท. นำเสนอนะครับ (ก่อนจะพูดถึงสิ่งที่ขาดต่อไป)

...

น่าจะมีอะไรอีกแน่ๆ ไว้ถ้านึกออกจะมาเพิ่มเติมอีกนะครับ (ขอไปเรียบเรียงสิ่งที่ขาดก่อน) 

ขอบคุณมากครับ ที่ช่วยสรุปข้อดีออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ส่วนเรื่องข้อเสียและสิ่งที่ขาดนี่ น่าจะเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการร่วมออกแบบนี้เลยล่ะครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
jerasak
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5,432



« ตอบ #262 เมื่อ: 19-10-2007, 22:20 »


โดยส่วนตัวผมคิดว่าระบบที่ออกแบบมา ไม่น่าจะเป็นห่วงเรื่องนักการเมืองเก่าเข้ามาในสภาล่าง (บริหาร และภารกิจ) ได้มากจนส่งผลให้การตรวจสอบและถอดถอนหยุดชะงักครับ

ส่วนเรื่องวุฒิสภา ถ้าตามที่คุณจิรศักดิ์ว่ามา ผมก็ยังไม่เห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นครับ ถ้าเช่นนั้น ผมจะลองหาวิธีใส่วุฒิสภาในระบบ โดยมีจุดประสงค์ดังนี้นะครับ

  • เพื่อรักษาผลประโยชน์ท้องถิ่น ซึ่งทำได้โดยให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้งตามเขตภูมิศาสตร์
  • เพื่อเพิ่มอำนาจการยับยั้งและกลั่นกรองกฏหมาย
  • เพิ่มอำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหาร

ทีนี้ ประเด็นที่จะให้วุฒิสภาเป็นผู้แต่งตั้งและคัดสรรองค์กรอิสระทางการเมืองต่างๆ ด้วย เช่น ปปช คตส ผมยังลำบากใจครับ เพราะไม่มีความเชื่อมั่นในวุฒิสภาที่มาจากเสียงส่วนใหญ่เท่าไหร่

เราอาจกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาไม่สังกัดพรรคการเมืองได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก

ทีนี้ ลองสมมติซีเนอริโอ ให้มีกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง (ไม่ใช่กลุ่มภารกิจนะครับ) กลุ่มหนึ่ง ตั้งชื่อว่า พรรคขอ (คือ ขอโกง) ได้อยู่เบื้องหลังส่งผู้สมัครวุฒิสภา จนสามารถครองเสียงส่วนใหญ่ในสภาสูงได้

ก็จะทำให้สามารถแต่งตั้ง องค์กรตรวจสอบต่างๆ เองได้ ทั้ง ปปช คตส และอื่นๆ และสมมติต่อว่า พรรคขอ สามารถส่งผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้แทนของสภาล่างได้บางส่วน สมมติเป็น กลุ่มเกษตร
จากนั้น พรรคขอก็ใช้อำนาจในสภาล่างผ่านกลุ่มดังกล่าว เพื่อทำการโกงโครงการต่างๆ ในประเด็นเล็กๆ ของโครงการส่วนภายในกลุ่มเกษตรเอง เช่น โครงการประมูลปุ๋ย เป็นต้น ทีนี้ เนื่องจากองค์กรตรวจสอบอิสระ ได้ถูกควบคุมไว้แล้ว ทำให้ไม่มีผู้ที่จะตีแผ่การโกงดังกล่าวให้แก่ผู้แทนฝ่ายอื่นๆ และประชาชนได้รับรู้ และถึงแม้ เจ้าของกิจการปุ๋ยรายที่เสียประโยชน์จากการโกงการประมูลปุ๋ย จะออกมาเรียกร้องผ่านสื่อ  ปปช.ก็จะรับเรื่องมา แล้วทำสำนวนฟ้องแบบอ่อนๆ แกล้งให้ตัดสินว่าไม่มีการโกง ด้วยเหตุเช่นนี้ เนื่องจากไม่มีมูลความผิดที่ชัดเจน การที่ฝ่ายอื่นในสภาจะเสนอไม่ไว้วางใจก็เป็นเรื่องที่ลำบากใจ (เพราะปปช. ชำระความผิดให้แล้ว)

ตัวอย่างที่ยกมา ไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นได้ หรือมีทางแก้มั้ยครับ

แต่ถึงจะไม่ตั้งวุฒิสภา ก็ยังมีปัญหาในการคัดสรรองค์กรอิสระอยู่ดี

เรื่องนี้น่าจะกล่าวไปถึงระบบการคัดสรรตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งด้วย ตรงนี้ผมว่าน่าจะอาศัยพระราชอำนาจกษัตริย์ (หรือคณะองคมนตรี) คุณจิรศักดิ์หรือท่านอื่นๆ มีความเห็นว่าอย่างไรครับ

ประเด็นเรื่องที่มาองค์กรอิสระ ถ้ายึดตามแนวทางรัฐธรรมนูญ 2550
ก็คือให้มีคณะบุคคล ที่นำโดยผู้นำองค์กรศาล และมีประะธานวุฒิสภา
ประธานสภาผู้แทน(สภาภารกิจ) ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาร่วมกันครับ

น่าจะลดปัญหาการครอบงำองค์กรใดองค์กรหนึ่งอย่างได้ผลทีเดียว

ส่วนเรื่องการอาศัยพระราชอำนาจนั้น ต้องขอบอกว่าเป็นการขัดกับ
ธรรมเนียมการปกครองของเราครับ พระองค์ท่านไม่ทรงเห็นด้วยแน่
เหมือนกับกรณีขอนายกฯ พระราชทานเมื่อคราวก่อน

ดังนั้นขอเสนอย้ำว่าควรทำในรูปคณะบุคคล ที่มาจากผู้นำฝ่ายต่างๆ
และนำโดยผู้นำองค์กรศาล เป็นผู้สรรหาแต่งตั้งองค์กรอิสระนะครับ
บันทึกการเข้า

= A dreamer lives for eternity.=
== นัฝัมีชีวิพื่นิรัร์าล ==
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #263 เมื่อ: 19-10-2007, 22:20 »

ง่วงมากๆ ขอตัวไปนอนก่อนนะครับ 

ผู้ใดมีประเด็นเรื่องอะไร ก็โพสต์ไว้ได้เลยนะครับ เช้าๆ จะมาร่วมหารืออีกครั้ง

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
แอบอ่าน ซุ่มเงียบ
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 249


stand, fight, live or die for what?


« ตอบ #264 เมื่อ: 19-10-2007, 22:45 »

เข้ามาทักทาย หนุ่มไฟแรง พาสเทล ซะหน่อย
 
ผมยังสื่อกับคุณไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ เดี๋ยวจะลองใหม่

ว่าแต่จริงๆแล้ว คุณต้องการฟังความคิดของผมที่มองเห็นจากระบอบของคุณ หรือ ต้องการให้ผมร่วมสร้างฝันไปกับคุณล่ะเนี่ย

บันทึกการเข้า

IF YOU DON'T STAND FOR SOMETHING, YOU MIGHT FALL FOR ANYTHING.
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #265 เมื่อ: 19-10-2007, 23:32 »

อ้างจากคุณPastelSalad
 
นี่เป็นสิ่งที่เรียกว่า นวัตกรรม ที่จะผันแปรไปสู่การสร้างสรรค์ใหม่

และถ้าระบบผมมันมีปัญหาจริงๆ และระบบเก่าที่มีไม่สามารถแก้ไขได้

ก็ต้องคิดระบบใหม่ ตามวิวัฒนาการของสังคมครับ


ที่ผมย้ำในสิ่งที่ จขกท.เขียนและความหมายเพราะเราน่าจะนำมาสู่การลงไปหาจุดที่เป็นรายละเอียคต่างๆที่หลายๆท่านอยากจะเห็นหรืออยากจะให้เป็นเช่นที่คุณjerasakเข้ามาให้รายละเอียดแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม ผมมองว่าเราที่มาแลกเปลี่ยนกันไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานการก่อสร้างที่อยู่"บนซากปรักหักพังของระบอบปัจจุบัน"เราจะต่อยอดบนซากปรักหักพังไปทำไมในเมื่อพิสูจน์แล้วว่าในระบอบเดิมนั้น แม้แต่คนอย่างนายทักษิณที่มีเงินประสบความสำเร็จทางธุรกิจแล้วยังโกง ต้องให้พวกเราไล่ออกนอกประเทศ นั่นคือบทสรุปของระบอบเก่า แม้จะมีคนเก่งกว่าทักษิณแต่โกงน้อยกว่าพวกเก่าๆเดิมๆก็สร้างทายาทของพวกเขา(ทั้งหลาย)ก็ผุดก็เกิดมาแทนที่อยู่ดีแล้วอีกกี่สิบปีเราถึงจะได้"คนดีมาปกครองบ้านเมือง" แล้วเรายังคงคิดสร้างตึกที่ผุพังอีกหรือ?แล้วไม่ดีกว่าหรือที่มองจากความมั่นคงของพื้นดิน(ฐานประชาธิปไตยเดิมของไทย)"แต่ออกแปลนใหม่"ตึกหลังใหม่ที่มั่นคง โมเดลใหม่ สิ่งสร้างสรรค์ใหม่...และสิ่งที่เห็นเด่นชัดคือการได้มาซึ่งตำแหน่งทางบริหาร หรือตัวแทนตามที่ จขกท.นำเสนอมาเราท่านต่างยอมรับไม่ใช่ว่านี่คือ"จุดแข็ง"ที่จะนำเสนอ แทน"จุดอ่อน"ของระบอบเดิม หากความคิดของ จขกท ยังลอยไปอย่างหลายท่านว่าก็ร่วมกันดึงลงมาตามที่พวกเราอยากให้เป็นสิครับให้มันเชื่อมประสานไปในทิศทางหรือเป็นเนื้อเดียวกัน  ดีกว่าระบอบที่ไม่สามารถทำให้กระบวนการคัดสรร "ผู้แทน"ได้ผลแต่ล้มเหลวมาตลอดแต่จุดแข็งระบอบใหม่ที่จะเสนอนั้นเป็นเพราะ
๑.ประเด็นคุณสมบัติที่มาของตัวแทนที่ชัดเจน ซึ่งคัดสรรจากคนที่มีความรู้ ซึ่งต่างจากระบอบปัจจุบันที่"ไม่เข้ากรอบการได้มาซึ่งคนดี"เพราะกฎหมายไม่ได้สร้างกรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณสมบัติที่ชัดเจน ทำให้ใครก็ได้ที่มีเงินเข้ามาในระบบหรือระบุว่าเคยเป็นตำแหน่ง...มาก่อนแล้วจะเข้าสู่ระบบง่าย หรือต้องเป็นโคตรเหง้าผู้ที่เคยเป็นมาก่อนถึงจะได้เป็นทั้งระดับชาติและท้องถิ่นคือเป็นทั้งระบบแล้วจะแก้ตรงใหนครับ?
๒.การแบ่งการทำงานเป็นกลุ่มภาระกิจซึ่งประยุกต์จากระบอบเดิมแต่ทำให้กระชับมากขึ้นรวมกันเป็นClusterที่คล้ายๆกัน ทำงานร่วมกัน เสริมด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆไม่ต้องเปลืองงบประมาณ อืดอาดอย่างเดิม คือได้คนที่มีความรู้ ความสามารถมาเป็นคณะหรือทีมที่ชำนาญการด้านต่างๆ
๓.ความพยายามที่จะให้องค์กรทางศาลมีบทบาทมากขึ้น โดยมีบทบาทมาคัดสรร องค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งสอดคล้องและต่อเนื่องกับแนวทางที่ภาคประชาชนต้องการคือ ด้านสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ความเป็นธรรม ก็คือนำไปสู่การ "ปกครองโดยธรรม"นั่นเอง นี่เป็นส่วนที่จะสรุบหรือเขียนเพิ่มเติมเพื่อตบเข้ารูปอะไรสักอย่างในอนาคตอันใกล้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 00:01 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #266 เมื่อ: 20-10-2007, 00:08 »

เพ้อเจ้อต่ออีกหน่อย

เอาคนทำภารกิจ คมนาคม ไปบังคับคนใช้ระบบคมนาคมทั้งประเทศ โดยที่คนทั้งประเทศไม่ได้ร่วมตัดสินใจ

มันเป็นความชอบธรรมตรงใหน

เอาคนผลิตไฟฟ้า ดูแลภารกิจไฟฟ้า ควบคุมทุกอย่าง ไปบังคับคนใช้ไฟฟ้า ชอบธรรมแล้วหรือ

สุดท้ายมันก็เป็นพรรคการค้า พรรคคมนาคม พรรคทหาร พรรคชาวนา ดูแลกันเอง

คำว่าพรรคการเมือง มันก็เริ่มจากคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนั่นแหละก่อน อย่าไปรังเกียจคำว่า "การเมือง"

เพราะการเมืองมันมีขึ้นได้ในทุกสังคม ถึงได้ถามว่า ระบอบที่เป็นอยู่ มันมีปัญหาตรงใหยและแก้ไขอย่างไร

ระบบเอากรรมาธิการ เฉพาะด้านไปบริหาร ก็เท่านั้นเอง

แล้วการถ่วงดุลตรวจสอบมาจากใหน...ยังไม่ได้คิด เอาไว้คิด...

เฮ้อ...แค่ชื่อระบอบที่มันพอจะเรียกได้ เรียกถึงยังไม่ได้คิด

แม้แต่เรื่องสิทธิ์ของประชาชนที่มีต่อรัฐทั้งหมด หรือทรัพย์สินสาธารณะของประเทศคือสมบัติของประชาชนทั้งแผ่นดิน ยังคิดไม่ออก

มันไม่ใช่แล้วครับ ช่วยตอบคำถามที่ผมถามทั้งหมดนั่นแหละ อน่าไล่ไปอ่านที่เขียนไว้ อธิบายให้เป็นขั้นเป็นตอน

คำถามสุดท้าย ไม่มีปัญญาแก้ไขระบอบเก่าที่เค้ากำลังทำกันแล้วหรือ ระบอบเก่ามันแย่จนกระทั่งต้องคิดระบอบใหม่มาใช้จริงหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #267 เมื่อ: 20-10-2007, 00:37 »

 

ผมว่ากระทู้นี้ก็สนุกสนานดีครับ ก็รอดูคณะทำงานว่าจะช่วยกันให้ภารกิจสำเร็จได้ในระดับใด..

ในหลักการคำนึงได้ครบถ้วนพอเพียงไหม?
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #268 เมื่อ: 20-10-2007, 00:51 »

นั่นแหละครับ ผมถึงอยากไล่ให้ไปศึกษาเรื่อง "อำนาจอธิปไตย" ให้ชัดเจนว่า มันหมายถึงอำนาจของใคร

การจะเข้าสู่อำนาจอธิปไตยนั้น เข้าไปได้อย่างไร การเอาคนในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง ไปใช้อำนาจอธิไตย ของคนทั้งสังคม

ถูกต้อง ชอบธรรม ในเรื่องที่มาของ "อำนาจ" จริงหรือไม่ เอาแค่นี้ให้ผ่านก่อน

แล้วค่อยไปเพื้อเจ้อ ระบบวิธีบริหารอำนาจนั้น ถ้าฐานมันไม่ดี ตึกมันก็ทรุดพัง

จะเป็นคนออกแบบตึก ดันไม่มีความรู้พื้นฐานด้านธรณีวิทยา มันจะเป็นวิศวกรไปได้อย่างไร

เหมือนเอาคนผสมปูน มาควบคุมการสร้างตึกนั่นแหละ สร้างไปคิดไปถ่ายหนังไปเขียนสคริปไป

มันไม่รอดแล้วครับ...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 02:17 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #269 เมื่อ: 20-10-2007, 01:05 »

ระบบการปกครองในอดีตเกิดจากการผสมผสานแนวคิด แต่ก็เกิดขึ้นตามลำดับ

เรียกว่าเป็นธรรมชาติตามยุคตามสมัยและอาศัยตัวอย่างจริงที่ใกล้เคียงที่สุดต่อๆกันมา

สังคมพังแล้วพังเลย แก้ไขยากมาก จะกล่าวว่าสังคมหนึ่งๆมีชีวิตก็ได้เหมือนกันครับ

ดังนั้นการทดลองคงต้องเริ่มจากจุดเล็กๆ ไม่เชื่อมั่นในสูตรคณิตศาสตร์มากจนเกินไป

เพราะแง่มุมและมิติของปัญหามีมากกว่าที่จะคิดได้หากไม่ใช้ประสบการณ์จริงและตรวจสอบกับบันทึกที่ละเอียด

แต่ก็ตั้งกระทู้ถามกันได้ครับ เพียงแต่ท่าทีควรจะเป็นการขอคำปรึกษา มากกว่าจะท้าทายกันรุนแรงจนเกินไป..

คนมาบอกจะได้อยากบอก และบอกความจริงที่เขาคิดออกมาได้ง่ายหน่อย  จะถูกผิด ก็อีกเรือ่งหนึง

บอร์ดการเมืองมันเหมือนมวยหมู่ โดนลูกหลงกันได้ง่ายๆเหมือนกัน..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 01:08 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #270 เมื่อ: 20-10-2007, 04:01 »

เข้ามาทักทาย หนุ่มไฟแรง พาสเทล ซะหน่อย
 
ผมยังสื่อกับคุณไม่รู้เรื่องเท่าไหร่ เดี๋ยวจะลองใหม่

ว่าแต่จริงๆแล้ว คุณต้องการฟังความคิดของผมที่มองเห็นจากระบอบของคุณ หรือ ต้องการให้ผมร่วมสร้างฝันไปกับคุณล่ะเนี่ย



อย่างหลังโดยใช้ฐานความคิดจากอย่างหน้าครับ

คือถ้าคุณซุ่มจะมาบอก "ไอ้ย๋า อายนี่มังม่าช่ายหนึ่งคงหนึ่งเสียงอ้า มังสังคงนิยงชักๆ อ้า ม่ายหวายๆ" อันนี้ผมว่าไม่มีประโยชน์ซักเท่าไหร่ครับ

ผมอยากให้ทุกคนคิดทำนองว่า ละอุดมคติการเมืองส่วนตัวไปก่อน แล้วลองพิจารณาประโยชน์เบื้องต้นที่ผมเสนอดูว่า ระบอบใหม่มันน่าจะให้ประโยชน์ดังกล่าวได้จริงมั้ย

พูดเป็นภาษาอังกะหริด คือ ขั้นแรก อยากให้คุณลองพิจารณา potential ของแนวคิดนี้ก่อน

ถ้าคุณเห็นว่ามันน่าจะมีจริง เราก็มาช่วยกันคิดต่อ สร้างฝันต่อ ให้มันเป็นเรื่องราว จนอาจจะพร้อมที่จะเอาไปเสนอสังคมวิชาการการเมือง เป็นเรื่องเป็นราวไป

ถ้าคุณเห็นว่ามันไม่น่าจะมีศักยภาพดังว่า และยังอยากร่วมสนทนาต่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อความสนุกสนานหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ลองว่ามาดูว่า ที่คุณเห็นว่า potential ดังว่า ไม่น่าจะเป็นจริง เพราะอะไร ตรงไหน แล้วผมก็จะตอบ เผื่อว่าอาจชี้ให้คุณเข้าใจและเห็นได้ ถ้าถึงที่สุดแล้ว ยังไม่เห็นตาม จนความสนใจคุณหมด ก็จะเป็นการจบการสนทนาครับ

แต่ต้องกำหนดกรอบให้ดี ว่าตรงนี้ เราลองพิจารณาระบบที่ผมเสนอกัน มิใช่ให้หาทางแก้ไขระบบปัจจุบัน เช่นนั้นต้องตั้งอีกกระทู้ ทำนอง "มาร่วมแก้ไขปัญหาการเมืองไทยกันเถอะ"

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #271 เมื่อ: 20-10-2007, 04:10 »


๓.ความพยายามที่จะให้องค์กรทางศาลมีบทบาทมากขึ้น โดยมีบทบาทมาคัดสรร องค์กรอิสระต่างๆ ซึ่งสอดคล้องและต่อเนื่องกับแนวทางที่ภาคประชาชนต้องการคือ ด้านสิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค ภราดรภาพ ความเป็นธรรม ก็คือนำไปสู่การ "ปกครองโดยธรรม"นั่นเอง นี่เป็นส่วนที่จะสรุบหรือเขียนเพิ่มเติมเพื่อตบเข้ารูปอะไรสักอย่างในอนาคตอันใกล้ครับ


ขอบคุณครับ คุณสกอปี้

ว่าแต่ว่า คุณสกอปี้พูดเรื่องศาลขึ้นมา นึกขึ้นมาได้ว่ายังไม่ได้สนใจศาลเลย เพราะไม่มีความรู้ตรงจุดนี้จริงๆ

อยากทราบว่า ปกติเขาคัดสรรผู้พิพากษากันยังไงเหรอครับ แล้วทำไมในโครงการสร้างเก่า ผู้พิพากษามีอำนาจมากพอสมควรในการระงับข้อพิพาททางการเมือง (เช่น คดียุบพรรค) แล้วสังคมยังยอมรับได้ ทั้งๆที่ผู้พิพากษาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งครับ (ไม่ได้บอกว่าเป็นปัญหานะครับ)

แล้วไม่ทราบว่ามีใครเห็นปัญหาเรื่องศาลในปัจจุบันมั้ยครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #272 เมื่อ: 20-10-2007, 04:29 »

เพ้อเจ้อต่ออีกหน่อย

เอาคนทำภารกิจ คมนาคม ไปบังคับคนใช้ระบบคมนาคมทั้งประเทศ โดยที่คนทั้งประเทศไม่ได้ร่วมตัดสินใจ

มันเป็นความชอบธรรมตรงใหน

เอาคนผลิตไฟฟ้า ดูแลภารกิจไฟฟ้า ควบคุมทุกอย่าง ไปบังคับคนใช้ไฟฟ้า ชอบธรรมแล้วหรือ

สุดท้ายมันก็เป็นพรรคการค้า พรรคคมนาคม พรรคทหาร พรรคชาวนา ดูแลกันเอง

คำว่าพรรคการเมือง มันก็เริ่มจากคนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนั่นแหละก่อน อย่าไปรังเกียจคำว่า "การเมือง"

เพราะการเมืองมันมีขึ้นได้ในทุกสังคม ถึงได้ถามว่า ระบอบที่เป็นอยู่ มันมีปัญหาตรงใหยและแก้ไขอย่างไร

ระบบเอากรรมาธิการ เฉพาะด้านไปบริหาร ก็เท่านั้นเอง

แล้วการถ่วงดุลตรวจสอบมาจากใหน...ยังไม่ได้คิด เอาไว้คิด...

เฮ้อ...แค่ชื่อระบอบที่มันพอจะเรียกได้ เรียกถึงยังไม่ได้คิด

แม้แต่เรื่องสิทธิ์ของประชาชนที่มีต่อรัฐทั้งหมด หรือทรัพย์สินสาธารณะของประเทศคือสมบัติของประชาชนทั้งแผ่นดิน ยังคิดไม่ออก

มันไม่ใช่แล้วครับ ช่วยตอบคำถามที่ผมถามทั้งหมดนั่นแหละ อน่าไล่ไปอ่านที่เขียนไว้ อธิบายให้เป็นขั้นเป็นตอน

คำถามสุดท้าย ไม่มีปัญญาแก้ไขระบอบเก่าที่เค้ากำลังทำกันแล้วหรือ ระบอบเก่ามันแย่จนกระทั่งต้องคิดระบอบใหม่มาใช้จริงหรือเปล่า


ผมจะตอบเป็นข้อๆ นะครับ อยากให้คุณแคนแคนตั้งใจอ่านแล้วคิดตามหน่อยนะครับ

1. ความชอบธรรมอยู่ที่ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันหมด ในการสมัครเข้ากลุ่มภารกิจใดๆ คมนาคม พลังงาน หรือกลุ่มใดๆ ก็ตาม
    แต่ถ้าหากตนเองไม่ผ่านเกณฑ์การเป็นสมาชิกกลุ่ม ก็ต้องยอมรับครับว่า ตนไม่มีความสามารถในการใช้สิทธิดังกล่าวจริงๆ และต้องทำการศึกษาหรือเรียนรู้เพิ่มครับ
   
     แต่ก็มิใช่ว่าระบอบนี้จะเป็นการปิดกั้นการเรียกร้องสิทธิเสียหมด ถ้าหากสมมติ เกษตรกรคนใด ไม่มีความรู้เรื่องคมนาคม แต่เห็นว่า ถนนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับตน ตรงนี้เขาต้องคิดได้ครับว่า จำเป็นยังไง
     ถ้าจำเป็นสำหรับการทำการเกษตรของตน เขาสามารถเรียกร้องให้ผู้แทนเกษตร จัดทำโครงการได้ครับ มิได้แปลว่าอำนาจทำถนนอยู่ที่ผู้แทนคมนาคมอย่างเดียว เพียงแต่ต้องเห็นชอบร่วมกัน เท่านั้น
    แต่ถ้าจำเป็น เพราะแค่อยากได้ถนนใหม่สีดำเงางาม โดยไม่มีความจำเป็น ก็ไม่มีช่องทางให้ครับ

2. สุดท้ายถ้าผู้แทนทุกคนเข้าใจธรรมชาติของระบบ คือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ก็จะไม่มีการแยกเป็น พรรคชาวนา พรรคทหาร พรรคคมนาคมครับ เพราะทุกคนจะสำเหนียกได้ว่า การดูแลสมาชิกกลุ่มภารกิจตนได้สมบูรณ์นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือของกลุ่มภารกิจอื่นๆ อีกหลายกลุ่มด้วย

3. กรรมาธิการบริหาร หรือสภาอาชีพที่คุณแคนแคนว่า ไม่มีอำนาจบริหารครับ ตรงนี้ต้องขอช่วยไปอ่าน FAQ ด้วย ในคำถาม คุณกำลังเสนอสภาอาชีพ? (มีลิงค์ที่หน้าสารบัญ) เพราะไม่อยากพูดซ้ำครับ ตรงนั้นอธิบายไว้ค่อนข้างกระจ่างแล้ว

4. ระบอบเก่าสามารถแก้ให้ดีขึ้นได้ครับ แต่สมมติว่าคะแนนเต็มร้อย แล้วระบอบปัจจุบัน มีคะแนน 40 ในความคิดผม ต่อให้แก้ไปก็ได้ไม่เกิน 60 เพราะตัวระบบยังเอื้อการโกง และไม่มีประเด็นในการนำผู้มีความสามารถเข้ามาบริหาร ผมจึงคิดเอาไอ้ขอบเขตที่มาจำกัดออก ด้วยการออกแบบระบอบที่ลดอำนาจนักเลือกตั้งเสีย จึงทำให้คะแนนสามารถขึ้นได้เกิน 60 ครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #273 เมื่อ: 20-10-2007, 04:33 »

นั่นแหละครับ ผมถึงอยากไล่ให้ไปศึกษาเรื่อง "อำนาจอธิปไตย" ให้ชัดเจนว่า มันหมายถึงอำนาจของใคร

การจะเข้าสู่อำนาจอธิปไตยนั้น เข้าไปได้อย่างไร การเอาคนในภารกิจใดภารกิจหนึ่ง ไปใช้อำนาจอธิไตย ของคนทั้งสังคม

ถูกต้อง ชอบธรรม ในเรื่องที่มาของ "อำนาจ" จริงหรือไม่ เอาแค่นี้ให้ผ่านก่อน

...


ส่วนตัวผมเห็นว่าทุกอย่าง "just" แล้วนะครับ

คุณแคนแคนเห็นว่าประเด็นตรงไหน ไม่ชอบธรรมเหรอครับ

กรุณาอธิบายอย่างละเอียด


ว่าแต่ว่า ถามเพิ่ม

ถ้าเป็นคอมมิวนิสต์นี่ just มั้ยครับ
เมืองจีนก็ใช้กันนะครับ

หนักกว่าระบอบผมอีก
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #274 เมื่อ: 20-10-2007, 04:38 »

กำลังคิดว่า จะอธิบายตัวแบบของ ระบบพึ่งพากันและกัน อย่างละเอียดพอสมควรสักหน่อย

แต่อาจจะหนักคณิตศาสตร์บ้าง (เป็นทำนองโมเดลของ macro-economic)

ไม่ทราบว่ามีใครอยากดูบ้างครับ ถ้าไม่อยากอ่านจะได้ไม่ต้องเหนื่อยโฮสต์ภาพฟรี
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #275 เมื่อ: 20-10-2007, 04:43 »



อ่านกัน 1500 คนแล้วครับ

หวาย กลัวคนขโมยไอเดียไปทำเป็น thesis จัง




ว่าไปนั่น  มุกนะครับ มุก:slime_hitted:

จริงๆ คือมีอยู่ 5 คน แต่ว่าสนทนากัน 300 โพสต์แล้ว เลยขึ้นเป็น 1500 
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #276 เมื่อ: 20-10-2007, 05:32 »

ผมขออนุญาตไล่แก้คำศัพท์ เช่น กลุุ่มชำนาญการ เป็นกลุ่มภารกิจ เป็นต้น ในส่วนของเนื้อหาที่ผมเคยโพสต์ไปทั้งหมดนะครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 05:41 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #277 เมื่อ: 20-10-2007, 06:58 »

ผมพูดถึงการสร้างตึกหรือสิ่งก่อสร้างใหม่ ดีกว่าครับ...หากไม่มีคนที่ชำนาญด้านก่ออิฐถือปูนที่เก่งและมือไม่ถึงไม่มีความชำนาญพอเราก็อย่าหวังว่าจะได้"ตึกที่มั่นคงแข็งแรง"แถมยังโกงอีก  เพราะฉะนั้นคนคิดเริ่มก่อสร้างและทุกคนจึงตั้งแต่คนคิด คนออกแบบเขียนงานไปจนถึงคนสร้างทุกคน คนก่ออิฐทุกคนต้องเก่ง รู้งานเข้าใจหน้าที่และเชียวชาญจริงๆ...ฉันใดก็ฉันเพล การสร้างประชาธิปไตยใหม่ก็เป็นไปฉันนั้น
หากผมเป็นชาวนาในภาคอีสานแล้วผมไม่เข้าใจ"กระบวนการผลิตข้าว"ก็มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง เพราะผมยังคิดว่าเมืองไทยมีสามฤดูแล้วผมก็เชื่ออย่างนั้นเพราะผมเกิดมาก็เห็นอย่างนั้นก็เรียนมาอย่างนั้น แต่ที่จริงธรรมชาติมัน"เปลี่ยนแปลง"อยู่เรื่อยๆ จนปัจจุบันมันเปลี่ยนจริงๆ เราถึงต้องยอมรับว่ามันมีช่วงที่ฝน"ทิ้งช่วง"อยู่กลางช่วงระหว่างฤดูฝน...ผมก็ต้องรู้ว่าต้องเตรียมน้ำให้พอเพียง ต่อข้าวที่ปลูก หรือแม้กระทั่งการรับมือน้ำท่วมฉับพลัน อย่างที่เห็น
เมื่อการสร้างตึกได้คนก่ออิฐถือปูนที่ผ่าน"กระบวนการ"ที่คัดเลือกโดยทีมงานที่คิดก่อสร้าง เมื่อชาวนาได้รู้ว่าธรรมชาติ "เปี๊ยนไป๋"ชาวนาก็ต้องปรับตัว แล้วชาวนาที่ชำนาญก็จะรู้ว่ามุมใหน "แก"ได๋ มีรูรั่ว มีรูปูน้ำรั่วได้ก็ต้องเอาดินไปอุด เมื่อเรารู้ว่าระบบมีปัญหาเราถึงต้องแก้ที่"ระบบ"และเน้นการสร้างความมั่นคงหรือให้ความสำคัญที่"กระบวนการ"อย่ามัวโทษที่ตัวบุคคลเลย..เพราะกล่าวโทษไปเขาก็แค่หนีออกนอกเมือง....แล้วไปเสวยสุขกับช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ก็เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 07:17 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #278 เมื่อ: 20-10-2007, 09:37 »

ก็บอกแล้วให้ไปศึกษาเรื่องอำนาจอธิปไตย
อะไรคือประชาธิปไตยทางตรง อะไรคือประชาธิปไตยทางอ้อม
มันมีความชอบธรรมตรงใหนบ้าง ในการเข้าสู่อำนาจ

ถ้าไม่เข้าใจในมิตินี้ ป่วยการที่จะบอก

เออ..เอาคนผสมปูนมาออกแบบตึกเหรอ
เอาชาวนา มาคิดระบอบการปกครองเหรอ...ถ้าจะเพี้ยน..

คนบางคนบอกความต้องการได้ แต่ออกแบบการจัดการไม่ได้หรอก
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #279 เมื่อ: 20-10-2007, 13:35 »

ตะกี้นี้ลงไปทานข้าวมาครับ ก่อนออกจากร้าน เหลือบไปเห็นหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับวันนี้ (เสาร์ยี่สิบ) ตั้งอยู่

เปิดแสกนแว้บๆ ไม่มีอะไรน่าอ่าน เห็นคอลัมน์ ลั่นกลองรบ ของคุณกิเลน.. อะไรสักอย่าง เลยอ่านฆ่าเวลาระหว่างดูดน้ำให้หมดแก้ว

กลับพบปรัชญาที่น่าสนใจมากครับ จะขอเล่าให้ฟังแบบไม่ตามตัว เพราะไม่เคยคิดจะซื้อไทยรัฐ



ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พม่ามีพระราชวังไม้่สักอยู่แห่งหนึ่ง วิจิตงดงามมาก

บนหลังคาจะมีซุ้มคล้ายซุ้มไก่ทาสีขาวอยู่อันหนึ่ง

เมื่อครั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ไปเยี่ยมพระราชวังแห่งนี้ เห็นซุ้มดังกล่าวเข้าก็นึกสงสัย

สอบถามได้ความว่า เป็นซุ้มกันแร้ง ที่ให้คนขึ้นไปนั่งด้านบน แล้วคอยยิงไล่แร้ง ไม่ให้มาเกาะหลังคาพระราชวัง

เพราะพม่าสมัยนั้น มีแร้งเยอะมาก เต็มบ้านเต็มเมือง

ท่านพระยาดำรงได้ยินดังนั้น ก็นึกถึงพระราชวังแถวนครปฐม แถวนั้นสมัยนั้นมีแร้งชุมเช่นกัน

เมื่อท่านกลับมาถึงพระราชวัง ท่านก็นึกขึ้นได้ว่า แร้งนั้น จะมาบินวนเวียนเพื่อกินซากศพ

ดังนั้น แทนที่จะให้คนมาคอยไล่แร้ง ท่านก็สั่งคนไว้ว่า เมื่อใดเห็นแร้งบินวนเวียน

ก็ให้ส่งคนออกตรวจตราหาซากศพเสีย ถ้าพบก็ให้นำไปฝังหรือเผาให้เรียบร้อย


ตั้งแต่นั้นมา พระราชวังหลังนั้น ก็ไม่เคยมีฝูงแรงมาวนเวียนอีก





เช่นเดียวกับการเมือง ที่จะมีฝูงแร้งมาบินวนเวียน เพราะมีผลประโยชน์แห่งอำนาจเป็นซากศพอันเป็นอาหารอันโอชะ

ดังนั้น แทนที่จะมาคอยนั่งเฝ้าไล่ยิงแร้ง

เราหาทางกำจัดซากศพที่เรียกว่า ผลประโยชน์จากอำนาจ ออกจากระบบการเมืองไทย ไม่ดีกว่าหรือ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #280 เมื่อ: 20-10-2007, 14:04 »

ก็บอกแล้วให้ไปศึกษาเรื่องอำนาจอธิปไตยอะไรคือประชาธิปไตยทางตรง อะไรคือประชาธิปไตยทางอ้อมมันมีความชอบธรรมตรงใหนบ้าง ในการเข้าสู่อำนาจ

อำนาจของประชาชนมาจากประชาชนเพื่อประชาชน อย่าบอกเลยว่าแบบตรงหรืออ้อม...ไม่มีประโยชน์ในเมื่อ"ระบบหรือกระบวนการ"มันไม่"ประณีต"พอที่จะดักจับฝูง"นักกินเมือง"

ถ้าไม่เข้าใจในมิตินี้ ป่วยการที่จะบอก

ถ้าไม่พยายามเข้าใจร่วมกันว่านี่คือการร่วมหาทางออก ก็ป่วยการจริงๆครับ...ก็ยังเป็นคนอยู่ในระบบที่"ชอบ"ต่อไป..บ้านเมืองก็จะเป็นอย่างนี้ตลอด....วงจรอุบาทย์ทางการเมืองก็จะมีให้เห็นอย่างนี้ตลอดไป หากไม่ช่วยกันตัดวงจร

เออ..เอาคนผสมปูนมาออกแบบตึกเหรอ

ผมเปรียบว่าคนผสมปูนก็ทำหน้าที่"ผสมปูนให้ดีที่สุด"เพราะคุณต้องรู้สูตรการผสมต้องชำนาญไม่ผสมผิดส่วน ไม่ได้ให้มาออกแบบตึกครับ โปรดอ่านแล้ว"ตรึกตรอง"ความหมายดีๆ]

เอาชาวนา มาคิดระบอบการปกครองเหรอ...ถ้าจะเพี้ยน..

ผมเปรียบว่าหากผมเป็นชาวนาต้องรู้เรื่องการทำนาทั้งระบบ รู้เรื่องดิน ฟ้าอากาศ การเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรับปัญหาให้ทัน...ไม่ได้ให้มาคิดหรือหากแม้เป็นผมชาวนาจริงฯผมก็มีสิทธิคิดที่จะเปลี่ยน หากผมเห็นว่าระบอบเก่ามันเพี้ยนไม่ตอบสนองความต้องการชาวอย่างไรบ้าง ผมจะใช้สิทธิเสนอทางแก้หรือทางออกโดยสมัครเป็นสมาชิกสภาภารกิจไงครับ

คนบางคนบอกความต้องการได้ แต่ออกแบบการจัดการไม่ได้หรอก

สมมติ นะครับสมมติ...หากผมไม่ถนัดจัดการผมก็อยู่ตำแหน่งที่ถนัดสิครับทำในสิ่งที่ตนเองถนัดครับ ไม่ได้มีใครเขาว่า ชอบเขียนก็เขียน ชอบคิดก็คิดแบบสร้างสรรค์ หรือไม่ก็ช่วยกัน นำสิ่งที่ตัวเองรู้ไปบอกกล่าวเพื่อเพิ่ม ความสามารถ ผมจะไม่เป็นตัวถ่วงทีมเด็ดขาด(ให้ตายเหอะ) หากสมมติว่าผมไม่ชอบสิ่งที่ทำก็อยู่อย่างปกติไปทำอย่างอื่นเช่นผมถนัดไร่ไถนา(ถ้าผมเป็นชาวนา) ถ้าผมมีอายุมากหน่อย ผมก็จะหยุดทำงานไปเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน บ่มีไผว่าผม..มิใช่หรือ Mr. Green
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-10-2007, 14:13 โดย Scorpio6 » บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #281 เมื่อ: 20-10-2007, 17:45 »

ผมว่างๆ เลยลองนั่งศึกษาหลักการ functionalism (sociology) ในส่วนของข้อวิจารณ์ดู

พบประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การทับซ้อนของหน่วยภารกิจครับ

เนื่องจากบางกลุ่มในสังคม อาจไม่ได้มี "ภารกิจ" (function) ที่มีผลผลิตชัดเจนในสังคมก็ได้ (กลุ่มศีลธรรมมีผลผลิตชัดเจน คือ ดัชนีศีลธรรมและความสุข)

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น กลุ่มสิทธิสตรี กลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน คนพิการ หรือกลุ่มเรียกร้องต่างๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มที่มีหน้าที่ในสังคม

ซึ่งถ้าพิจารณาอย่างมักง่าย อาจเอากลุ่มพวกนี้ไปรวมในกลุ่มสวัสดิการและสิทธิมนุษยชน หรือกลุ่มศีลธรรมและจริยธรรมได้

โดยการเรียกร้องสิทธิ อาจใช้การบลัฟโดยผู้บริหารกลุ่มสวัสฯ ว่า หากไม่ทำการผ่านกฏหมายคุ้มครองสิทธิสตรีเช่นนี้ จะทำให้ประสิทธิภาพแรงงานลดไป 50% ในกลุ่มภารกิจต่างๆ


แต่อย่างที่ว่า มันดูมักง่ายเกินไปที่จะยกความรับผิดชอบนี้ให้กลุ่มสวัสฯ ทั้งหมด

จึงอาจกำหนดให้วุฒิสภา (ที่นอกจากจะรักษาผลประโยชน์ท้องถิ่นแล้ว) มีการคัดเลือกโดยวิธีคล้ายๆ ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อให้กลุ่มรักษาสิทธิที่ไม่ขึ้นกับภูมิศาสตร์ (สตรี เด็ก เกย์) สามารถมีอำนาจยับยั้งกฏหมายเพื่อรักษาสิทธิได้

แต่ในทางกลับกัน ตรงนี้อาจมองว่าเป็นอำนาจทับซ้อนได้เช่นกัน เพราะสำหรับการเรียกร้องสิทธิสตรี เด็ก สามารถใช้การออกนโยบาย (กฏหมาย) โดยกลุ่มสวัสฯ ได้อยู่แล้ว (กลุ่มสวัสดิอาจแบ่งกลุ่มย่อยเป็น ผู้ไร้ที่ทำกิน สิทธิพยาบาลผู้ยากไร้ สิทธิสตรี เด็ก ทางเลือกทางเพศ ผู้พิการ อื่นๆ เพื่อให้มีผู้แทนย่อยดูแลส่วนนี้ทั้งหมด)


ทุกท่านว่าอย่างไรครับ กลุ่มสวัสฯทำงานนี้ได้เพียงพอ หรือควรเพิ่มหนทางรักษาสิทธิกลุ่มสังคมเหล่านี้ด้วยหนทางอื่นๆ เช่น วุฒิสภา ครับ?

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
meriwa
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,100



เว็บไซต์
« ตอบ #282 เมื่อ: 20-10-2007, 17:53 »

อ่านหลายรอบละ 5555  

พยายามทำความเข้าใจ แต่ผมคิดว่าสิ่งนี้มันยังไม่ถึงกับเป็นระบอบการปกครองนะครับ
มันเป็นเพียงเรื่องของการทำงาน การใช้คน ให้ตรงกับความรู้ความสามารถ เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า

ที่ผมถามเรื่องระบบสัดส่วนว่าแต่ละอาชีพจะมีจำนวนเท่าใดนั้น เพราะมันต้องเขียนกฏหมายขึ้นมารองรับก่อน ว่ามีหน้าที่อะไร
ซึ่งกฏหมายโคงสร้างมันต้องชัดเจน มันถึงจะมีการเลือกตั้งกันได้
ปัญหาที่ตามมาก็คือ ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน  เมื่อคุณกำหนดสัดส่วนแต่ละอาชีพเข้ามาแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ที่ถูกเลือกกับปัญหาที่มีอยู่มันไม่สอดคล้องกัน จะทำอย่างไร
การแก้ไขกฏหมายไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำกันภายในวันสองวัน อาจใช้เวลาเป็นปีๆ  ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาได้ทันเวลาแน่นอน

ส่วนตัวแทนแต่ละสาขาอาชีพที่ถูกเลือกเข้ามา ก็ต้องถามว่าต้องการเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารเพราะอะไร  
ก็ตอบได้เลยว่า เพื่อเป็นตัวแทนของสาขาอาชีพของตนเอง ในการพลักดันกฏหมาย นโยบายต่างๆ เพื่อสาขาอาชีพของตนเอง
จะทำให้ตัวแทนสาขาอาชีพที่มีน้อยหรืออาจไม่ถูกเลือกเข้ามาเลย ไม่มีโอกาสในการนำเสนอปัญหาของตัวเอง
ซึ่งก็มักเป็นกลุ่มสาขาทางด้านสังคม และคนจน ด้อยการศึกษา  

ที่ผมถามเรื่องข้อมูลว่าเวลาคุณคิดนโยบายต่างๆ คุณจะเอาข้อมูลจากไหนมา มีข้อมูลกลางหรือข้อมุลเชื่อถือได้แค่ไหน
ซึ่งตัวข้อมูลที่คุณจะแทนค่าลงในสมการ มันย่อมมีผลต่อการคำนวณใช่หรือไม่  คุณจะให้น้ำหนักแต่ละตัวแปรมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่างปัจจุบันที่เห็นอยู่ก็เป็นเรื่องของการสร้างเขื่อน  ท่อแก๊สภาคใต้  ซึ่งหากสภาอาชีพหรือสภาอย่างอื่น ไม่มีคนในพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่ ก็จะไม่ทราบข้อมุลที่แท้จริงว่าผลกระทบต่างๆ มันมีอะไรบ้าง

ฯลฯ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะทำเป็นรูปภาพเปรียบเทียบแนวคิดระว่างระบบปัจจุบัน กับ ระบบที่คุณคิดให้ดู  แต่ไม่รู้จะได้ทำหรือเปล่า 5555  แค่เขียนยังไม่ค่อยจะรู้เรื่องเลย ไปนั่งขัดสนิมก่อน
บันทึกการเข้า

ผู้ปกครองระดับธรรมดา   ใช้ความสามารถของตน    อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับกลาง       ใช้กำลังของคนอื่น             อย่างเต็มที่
ผู้ปกครองระดับสูง           ใช้ปัญญาของคนอื่น           อย่างเต็มที่

                                                                  ...คำคมขงเบ้ง
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #283 เมื่อ: 20-10-2007, 18:49 »

คำค้น

อำนาจอธิปไตย

การเมือง

รัฐศาสตร์

ดูในวิกิพีเดีย
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #284 เมื่อ: 21-10-2007, 06:40 »

อ่านหลายรอบละ 5555 

พยายามทำความเข้าใจ แต่ผมคิดว่าสิ่งนี้มันยังไม่ถึงกับเป็นระบอบการปกครองนะครับ
มันเป็นเพียงเรื่องของการทำงาน การใช้คน ให้ตรงกับความรู้ความสามารถ เป็นเรื่องของประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่า

ถ้าผมเสนอให้ตั้งสภาพัฒน์ขึ้นมาเสริมจากสภานิติ และ ครม. ในปัจจุบัน นั่นจะเป็นการพูดถึงเรื่องการบริหารเพียงอย่างเดียวครับ

แต่เนื่องจากผมเสนอเรื่องการหาผู้แทนของประชาชนในรูปแบบใหม่ รวมถึงการจัดโครงสร้างอำนาจแบบใหม่ (ทั้งบริหารและนิติฯ) นั่นจะแปลว่า เป็นระบอบการปกครองครับ

อ้างถึง
ที่ผมถามเรื่องระบบสัดส่วนว่าแต่ละอาชีพจะมีจำนวนเท่าใดนั้น เพราะมันต้องเขียนกฏหมายขึ้นมารองรับก่อน ว่ามีหน้าที่อะไร
ซึ่งกฏหมายโคงสร้างมันต้องชัดเจน มันถึงจะมีการเลือกตั้งกันได้
ปัญหาที่ตามมาก็คือ ความยืดหยุ่นในการบริหารงาน  เมื่อคุณกำหนดสัดส่วนแต่ละอาชีพเข้ามาแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้ที่ถูกเลือกกับปัญหาที่มีอยู่มันไม่สอดคล้องกัน จะทำอย่างไร
การแก้ไขกฏหมายไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะทำกันภายในวันสองวัน อาจใช้เวลาเป็นปีๆ  ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาได้ทันเวลาแน่นอน

เรื่องสัดส่วนต้องตั้งสภาร่างคิดละครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นที่คุณเมริว่าว่า แต่ไม่ใช่สาระสำคัญของโครงร่างในที่นี้ครับ

ระบบบริหารในที่นี้จะยืดหยุ่นได้อย่างน้อยก็เท่ากับระบบกระทรวงที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ละครับ เพราะปัญหาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องได้รับการจัดการแก้ไขจากกลุ่มภารกิจเดียวเสมอไป ยังสร้างความร่วมมือได้ ผมยกตัวอย่างสมมติผมเป็นรมต. กระทรวงวิทย์ ส่วนหนึ่งผมต้องพัฒนาตัวกลุ่มวิทยฯเอง แต่อีกส่วนผมก็ต้องพัฒนากลุ่มการศึกษา เพื่อป้อนคนเข้าวงการวิทย์ พัฒนาวงการอุตสาหกรรม พลังงาน และเกษตร เพื่อจัดหาตลาดที่จะนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยไปใช้ โดยเรื่องพวกนี้ ผมอาจไม่คิดเองก็ได้ แต่รมต.อุต อาจเสนอมาเอง เมื่อเขาพบว่าต้นทุนทางบุคลากรต่างประเทศสูงไป เป็นต้น ซึ่งสุดท้ายแล้วทุกอย่างจะเกี่ยวข้องกันหมดครับ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าระบบบริหารนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบบริหารแบบเดิมอีก เนื่องจากแต่ละกลุ่มสามารถพัฒนากลุ่มตัวเองได้ด้วย แม้จะไม่มีผลลัพธ์เป็นเม็ดเงิน เช่น ผมเป็นรมต. วิทย์ ผมอาจสนับสนุนงานด้านทฤษฎี (ซึ่งไม่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ) มากขึ้นได้ เพราะผมประเมินแล้วว่าจะพัฒนาวิทย์ได้ภายใน x ปี ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลให้์งานวิจัยประยุกต์ (ที่มีมูลค่า) เพิ่มขึ้นด้วย


อ้างถึง
ส่วนตัวแทนแต่ละสาขาอาชีพที่ถูกเลือกเข้ามา ก็ต้องถามว่าต้องการเข้ามาเป็นฝ่ายบริหารเพราะอะไร 
ก็ตอบได้เลยว่า เพื่อเป็นตัวแทนของสาขาอาชีพของตนเอง ในการพลักดันกฏหมาย นโยบายต่างๆ เพื่อสาขาอาชีพของตนเอง
จะทำให้ตัวแทนสาขาอาชีพที่มีน้อยหรืออาจไม่ถูกเลือกเข้ามาเลย ไม่มีโอกาสในการนำเสนอปัญหาของตัวเอง
ซึ่งก็มักเป็นกลุ่มสาขาทางด้านสังคม และคนจน ด้อยการศึกษา 

ตรงนี้แก้ปัญหาโดยการกำหนดโควต้ากลุ่มย่อยได้ครับ ส่วนเรื่องกลัวว่าสาขาสังคมจะไม่มีความสำคัญนี่ เดี๋ยวผมจะชี้ให้ดูในโมเดลว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรครับ


อ้างถึง
ที่ผมถามเรื่องข้อมูลว่าเวลาคุณคิดนโยบายต่างๆ คุณจะเอาข้อมูลจากไหนมา มีข้อมูลกลางหรือข้อมุลเชื่อถือได้แค่ไหน
ซึ่งตัวข้อมูลที่คุณจะแทนค่าลงในสมการ มันย่อมมีผลต่อการคำนวณใช่หรือไม่  คุณจะให้น้ำหนักแต่ละตัวแปรมากน้อยแค่ไหน
ตัวอย่างปัจจุบันที่เห็นอยู่ก็เป็นเรื่องของการสร้างเขื่อน  ท่อแก๊สภาคใต้  ซึ่งหากสภาอาชีพหรือสภาอย่างอื่น ไม่มีคนในพื้นที่ที่มีปัญหาอยู่ ก็จะไม่ทราบข้อมุลที่แท้จริงว่าผลกระทบต่างๆ มันมีอะไรบ้าง

ฯลฯ

ข้อมูลที่นำมานำเสนอ อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่จะตรงกับความพอใจของทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบครับ ตรงนี้จะเห็นชัดในโมเดลที่จะนำเสนอครับ (ซึ่งคิดว่าคงต้องนำเสนอแล้ว)

อ้างถึง
เอาไว้ว่างๆ ผมจะทำเป็นรูปภาพเปรียบเทียบแนวคิดระว่างระบบปัจจุบัน กับ ระบบที่คุณคิดให้ดู  แต่ไม่รู้จะได้ทำหรือเปล่า 5555  แค่เขียนยังไม่ค่อยจะรู้เรื่องเลย ไปนั่งขัดสนิมก่อน

ถ้าช่วยเสนอแผนภาพดังกล่าวได้ จะขอบคุณมากเลยครับ เพราะจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นในมุมมองที่ต่างออกไป
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #285 เมื่อ: 21-10-2007, 17:13 »

ในที่สุดผมก็เขียนให้ความสัมพันธ์แบบพึงพากันโดยไม่ใส่คณิตศาสตร์ลงไปสำเร็จแล้วครับ จะได้เข้าใจกันมากขึ้น ว่าระบบนี้จะทำงานบริหารได้อย่างไร




ตัวแบบการบริหารการปกครองแบบไม่มีศูนย์กลางโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยภารกิจในสังคมที่ขึ้นต่อกันและกัน (Collaborative Decentralized Government Model of Interdependent Social Functional Units)

ในที่นี้จะเสนอโมเดลหยาบๆ ที่เพียงพอแต่การทำให้เห็นภาพเท่านั้น เนื่องจากโมเดลอย่างละเอียดนั้นเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่อยู่ในระหว่างการวิจัย จึงไม่สามารถเผยแพร่ในเอกสารสาธารณะได้

  ระบบจะประกอบด้วย หน่วยภารกิจ (functional unit) ซึ่งแทนกลุ่มภารกิจต่างๆในสังคม โดยแต่ละหน่วยภารกิจจะมี ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ (key performance index – KPI) ในเวลานั้นๆ กำกับอยู่ ซึ่งการตัดสินว่าจะใช้ดัชนีใดเป็น KPI ก็ขึ้นอยู่กับหน่วยภารกิจนั้นๆ เช่น สำหรับหน่วยที่มีการผลิต อาจใช้อัตราการผลิต (กำไร/ปี) เป็น KPI ได้ ในขณะที่หน่วยภารกิจที่ไม่มีการผลิตเพื่อผลกำไรอาจใช้ดัชนีอื่นได้ เช่น หน่วยวิทยาศาสตร์ ใช้เป็น งานวิจัย/ปี หน่วยศีลธรรมเป็น ระดับศีลธรรมและความสุข หน่วยงานยุติธรรมเป็น จำนวนคดีที่ตัดสินได้/คดีความทั้งหมด ต่อปี  และ KPI ของแต่ละหน่วย ไม่จำเป็นต้องเปรียบเทียบกันได้


จากนั้น แต่ละหน่วยภารกิจ จะเชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์ที่เรียกว่า อิทธิพล (influence)


ซึงการเชื่อมต่อนี้จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ คือ ทุกๆ คู่หน่วยภารกิจ จะมีอิทธิพลเชื่อมกันโดยตรงเสมอ


หน่วยภารกิจจะแบ่งประเภทย่อยออกได้ดังนี้
  • 1.   หน่วยผลิตขั้นต้น (primary production unit) คือหน่วยที่มี KPI เป็นเงินโดยตรงทั้งหมด  เช่น กลุ่มเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มพาณิชย์ กลุ่มแรงงาน เป็นต้น
  • 2.   หน่วยผลิตขั้นรอง (secondary production unit) คือหน่วยที่ไม่มี KPI เป็นเงิน แต่ยังสามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ (โดยนำผลผลิตที่ได้ผ่านหน่วยผลิต) เช่น กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มพลังงาน กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
  • 3.   หน่วยสนับสนุน (support unit) คือ หน่วยที่ไม่มี KPI เป็นเงิน และไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ เช่น กลุ่มศีลธรรม กลุ่มงานยุติธรรม กลุ่มความมั่นคง กลุ่มสวัสดิการและสิทธิมนุษยชน กลุ่มการศึกษา เป็นต้น
  • 4.   หน่วยการคลังและเศรษฐกิจ  (treasury and economic control) เป็นหน่วยพิเศษที่มีเพียงหน่วยเดียว มี KPI คือเงินคงคลัง (ไม่ใช่อัตรา) 


การทำงานของระบบ ในหนึ่งวัฏจักรเวลา (time cycle) หนึ่ง ซึ่งในที่นี้คือ หนึ่งปีงบประมาณ แต่ละหน่วยภารกิจที่ไม่ใช่หน่วยคลังจะม้กิจกรรมดังนี้

  • การทำงาน (work) หน่วยภารกิจจะทำงานของตนเอง ซึ่งจะทำให้เกิด
             o   ผลผลิต (product) เกิดจากหน่วยผลิตขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งผลผลิตจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปหน่วยเงิน และจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยคลัง (ลูกศรสีแดง p)
             o   การพัฒนา (development) ซึ่งจะเพิ่มค่า KPI ให้หน่วยตัวเอง โดยมากการพัฒนาจะเกิดกับ หน่วยผลิตขั้นรองและหน่วยสนับสนุน มากกว่าหน่วยผลิตขั้นต้น
             o   ผลกระทบ (effect) การทำงานของหน่วยหนึ่งอาจส่งอิทธิพลไปยังหน่วยอื่นๆ ซึ่งจะทำให้ค่า KPI ของหน่วยที่ได้รับผลกระทบเปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น การทำงานอุตสาหกรรมมีการทำลายสภาพแวดล้อมนั่นเอง ก็จะส่งผลทำให้ค่า KPI ของหน่วยสิ่งแวดล้อมลดลง เป็นต้น
             o   ค่าใช้จ่าย (cost) คิดตามจำนวนจริงที่ต้องใช้ในการทำงานตลอดหน่วยเวลา คิดเป็นสัดส่วนของเงินคงคลังในหน่วยเวลานั้นๆ ค่าใช้จ่ายจะถูกรวมใน งบประมาณ (Bi) ที่ส่งมาจากหน่วยคลัง (สีน้ำเงิน)

  • การทำนโยบาย (policy act) หน่วยภารกิจจะมีการทำนโยบายขึ้น  เช่น หน่วยสิ่งแวดล้อมออกนโยบายกำหนดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ หน่วยอุตสาหกรรมออกโครงการสนับสนุนอุตสาหกรรมหนัก หน่วยศีลธรรมออกกฏหมายควบคุมแอลกอฮอล เป็นต้น ซึ่งสามารถทำได้หลายนโยบายภายในหนึ่งวัฏจักรเวลา การทำนโยบายหนึ่งๆ จะก่อให้เกิด
           o   การพัฒนา เช่นเดียวกับการทำงาน แต่การพัฒนาจากนโยบายไม่จำเป็นต้องขึ้นกับ KPI และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกๆ หน่วยภารกิจ (รวมหน่วยคลังด้วย)
           o   ผลกระทบ เช่นเดียวกับการทำงาน แต่ผลกระทบอาจไม่ขึ้นกับ KPI ก็ได้
           o   การลงทุน (investment) จะเกิดกับนโยบายที่มีลักษณะเป็นโครงการที่ต้องอาศัยเงินลงทุน การลงทุนจะคิดเป็นสัดส่วนเงินคงคลังและถูกรวมเข้าไปในงบประมาณของหน่วยนั้นๆ (Bi)
    การทำนโยบายจะมีลักษณะพิเศษอีกประการ คือ การทำนโยบายสามารถทำเป็นนโยบายร่วมได้ เช่น โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ด้านอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการออกนโยบายร่วมกันระหว่างหน่วยวิทยาศาสตร์กับหน่วยอุตสาหกรรม เป็นต้น ในนโยบายร่วมเช่นนี้ ผลกระทบที่เกิดระหว่างกลุ่มเจ้าของโครงการจะถูกคิดเป็นการพัฒนาแทน และการลงทุนอาจแบ่งเป็นสัดส่วนตามที่ตกลงในแผนนโยบาย ในนโยบาย (policy) หนึ่งๆ จะเรียกกลุ่มของหน่วยที่ออกนโยบายว่า หน่วยปฏิบัติ (active units) เรียกหน่วยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของนโยบายแต่ได้รับผลกระทบว่า หน่วยรับผล (passive units)

  • การเสื่อมค่า (degradation) ส่งผลให้ค่า KPI ลดลง เป็นการเสื่อมค่าในตัวเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับกลุ่มภารกิจอื่น


เนื่องจากในวัฏจักรเวลาหนึ่งๆ (ปีงบประมาณ) จะมีการเสนอนโยบายต่างๆ มากมาย แต่เนื่องจากข้อจำกัดของงบประมาณ เราจึงต้องเลือกได้เฉพาะบางนโยบายเท่านั้น เพราะฉะนั้น สิ่งที่ต้องหาในแต่ละวัฏจักรเวลาคือ เซตของนโยบายที่ทำให้ได้การเพิ่มของ KPI ของแต่ละหน่วยตรงตามกับแผนพัฒนา (development plan) ที่สุด และอยู่ในขอบเขตงบประมาณที่มี



สำหรับการประเมินค่าการพัฒนา การเสือมค่า ที่เป็นค่าภายในของแต่ละหน่วยนั้น สามารถตั้งคณะกรรมการศึกษาภายในได้ แต่หากเป็นการประเมินผลกระทบของแต่ละโครงการ ต้องเป็นการประเมินร่วมกันทั้งฝ่ายที่ก่อและฝ่ายที่รับผลกระทบ


ดังนั้น การพิจารณานโยบายใดๆ สามารถใช้โมเดลในปัจจุบันมาใช้ในการประณีประนอมและทำการตกลงได้ การทำนโยบายที่สนับสนุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบทางลบต่อกลุ่มอื่นๆ  สุดท้ายผลกระทบนั้นจะแทรกซึม (propagate) เข้าไปในเครือข่ายของระบบ และส่งผลย้อนกลับมาหาตนเองในที่สุด เช่น การที่กลุ่มอุตสาหกรรม เน้นการผลิตจนทำให้สิ่งแวดล้อมเสีย จะส่งผลกลับมาที่กลุ่มอุตสาหกรรมเองในตอนท้าย ดังแผนภาพ


ซึ่งการมีโมเดลที่แน่นอนนี้ สามารถใช้ในการจูงใจได้มากกว่าการกล่าวลอยๆ ว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นอันตราย เพราะการใช้โมเดลจะเห็นอันตรายดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น และสามารถประเมินได้ว่า ผลกระทบทางลบเท่าไหร่ที่รับได้ และรับไม่ได้  จึงเป็นการส่งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มต่างๆ

การตกลงแผนพัฒนานั้น สามารถใช้โมเดลในรอบเวลาของปีงบประมาณก่อนพิจารณาได้ และเนื่องจากการเน้นพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป อาจส่งผลให้ด้านอื่นมี KPI ที่ติดลบได้ (เนื่องจากผลกระทบ) และการไม่ตั้งเป้าพัฒนาหน่วยใด ก็อาจทำให้การเสื่อมค่าส่งผลลบต่อหน่วยนั้นจนส่งผลลบทั้งระบบได้ 

KPI ของทุกๆ หน่วยภารกิจ ยังสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดความสุขของคนทั้งประเทศได้ เนื่องจากเป็นดัชนี้ชี้ถึงการพัฒนาอย่างบริบูรณ์ในทุกๆ ด้าน



โมเดลนี้เป็นโมเดลอย่างหยาบ (oversimplified) ซึ่งในโมเดลจริงนั้นจะซับซ้อนกว่า และใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงมากกว่า เช่น  การมี KPI หลายค่า การเปรียบเทียบ KPI การมีนโยบายที่ส่งผลต่อเนื่องหรือส่งผลช้า การจำกัดขอบเขตทรัพยากร เป็นต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21-10-2007, 17:19 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #286 เมื่อ: 21-10-2007, 21:54 »



ชอบแบบหวังผลกำไร  หรือครับ..??

ปรัชญาในการลงทุนตามโครงสร้างนี้ของรัฐอาศัยคณะผู้บริหาร..ตัดสินใจตามสถานการณ์แวดล้อมใช่หรือไม่?

เป้าหมายหลักคืออะไร?



บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #287 เมื่อ: 22-10-2007, 06:30 »


ชอบแบบหวังผลกำไร  หรือครับ..??

ปรัชญาในการลงทุนตามโครงสร้างนี้ของรัฐอาศัยคณะผู้บริหาร..ตัดสินใจตามสถานการณ์แวดล้อมใช่หรือไม่?

เป้าหมายหลักคืออะไร?





ไม่เข้าใจคำถามครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #288 เมื่อ: 22-10-2007, 07:38 »


ชอบแบบหวังผลกำไร  หรือครับ..??

ปรัชญาในการลงทุนตามโครงสร้างนี้ของรัฐอาศัยคณะผู้บริหาร..ตัดสินใจตามสถานการณ์แวดล้อมใช่หรือไม่?

เป้าหมายหลักคืออะไร?





จะลองพยายามตอบดูตามที่ผมเข้าใจนะครับ

คุณคิวหมายถึง การบริหารแบบนี้จะหวังสร้างผลกำไรสูงสุด เนื่องจากมีการนำผลกำไรแจกจ่ายให้ทุกระบบในรูปเงินคงคลังที่หน่วยคลังและเศรษฐกิจ ใช่มั้ยครับ

ถ้าเช่นนั้นก็จะบอกว่า ไม่ใช่ครับ

เนื่องจากเงินงบประมาณที่จ่ายให้แต่ละหน่วย (Bi) นั้น ก่อนที่จะนำไปสร้างการพัฒนาภายในแต่ละหน่วย จะต้องมีการคำนึงถึง "ประสิทธิภาพในการพัฒนาต่อเงินงบประมาณ" ก่อนครับ

ซึ่งหน่วยประเภทสนับสนุน (support) จะมีส่วนประสิทธภาพนี้ค่อนข้างต่ำ คือ ต่อให้อัดเงินลงไปก็ใช่ว่าจะพัฒนาได้มาก เช่นในกลุ่มศีลธรรม สวัสดิการ ยุติธรรม แรงงาน เป็นต้น

หน่วยสนับสนุนพวกนี้ จะพัฒนาได้ส่วนมากโดยการอาศัยการออกนโยบาย (ซึ่งส่วนมากส่งผลกระทบเชิงลบให้หน่วยผลิต) เช่น การขึ้นค่าแรง การควบคุมสินค้าการบริโภค การต่อต้านการผูกขาด เป็นต้น

ดังนั้น ต่อให้มีกำไรมากขึ้น ก็ใช่ว่ากลุ่มผลิตจะพัฒนาได้ในระยะยาว เพราะสุดท้าย การไม่พัฒนาของกลุ่มสนับสนุนจะส่งผลร้ายกลับมา


ดังนั้น นโยบายชุดหนึ่งๆ ที่จะเลือกในปีงบประมาณ จึงต้องเลือกให้มีความสมดุลย์กัน เพื่อให้ทั้งหน่วยผลิต หน่วยผลิตรอง และหน่วยสนับสนุน พัฒนาไปได้อย่างสมดุลย์กัน


ดังนั้น ปรัชญาที่นำเสนอในตัวแบบการบริหารนี้ คือ การบริหารเพื่อความสมดุลย์และยั่งยืน ซึ่งจะทำได้เมื่อพิจารณาสถานการณ์แวดล้อม ที่ถูกทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นโดยอาศัยตัวแบบ ครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #289 เมื่อ: 22-10-2007, 13:42 »



ผมอยากให้เจ้าของกระทู้ลอง

กำหนดภารกิจหลักของผู้บริหารกลาง ขึ้นมาสักหลายภารกิจเท่าที่จำเป็น ในสภาพแวดลอ้มของไทยขณะนี้ครับ..

เพื่อจะได้เข้าใจ ว่าหากจะกำหนดเป้าหมายหลักของระบอบร่วมกันได้ มันควรจะเป็นอะไร? แล้วจะไปถึงกันได้อย่างไร?


บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #290 เมื่อ: 22-10-2007, 14:18 »


ผมอยากให้เจ้าของกระทู้ลอง

กำหนดภารกิจหลักของผู้บริหารกลาง ขึ้นมาสักหลายภารกิจเท่าที่จำเป็น ในสภาพแวดลอ้มของไทยขณะนี้ครับ..

เพื่อจะได้เข้าใจ ว่าหากจะกำหนดเป้าหมายหลักของระบอบร่วมกันได้ มันควรจะเป็นอะไร? แล้วจะไปถึงกันได้อย่างไร?




คุณคิวกำลังหมายถึง ให้ลองแบ่งกลุ่มภารกิจ หรือให้ลองกำหนดนโยบายของแต่ละกลุ่มภารกิจครับ

ถ้าคุณคิวหมายถึงอย่างแรก ก็ให้มองรูปแบบกระทรวงตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นได้ครับ ปัญหาจะอยู่ที่กลุ่มสื่อ และกระทรวงมหาดไทย ที่ยังคิดไม่ตกผลึกว่าจะเอายังไงดี (ตอนนี้คิดๆ ว่า สื่อจะไม่ตั้งเป็นกลุ่มภารกิจ ส่วนมหาดไทยตั้งได้ ให้ดัชนี้ชี้วัดเป็นความสามารถในการบริการประชาชนและประสิทธิภาพในการปกครองส่วนท้องถิ่น)

ถ้าคุณคิวหมายถึงอย่างหลัง ผมคงตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ลองคิดว่า นโยบายที่พรรคการเมืองในตอนนี้เสนอกันนั้น จะเสนอผ่านระบอบใหม่ทางไหน อันนี้คิดว่าพอทำได้ครับ

บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #291 เมื่อ: 22-10-2007, 14:23 »

คุณคิวกำลังหมายถึง ให้ลองแบ่งกลุ่มภารกิจ หรือให้ลองกำหนดนโยบายของแต่ละกลุ่มภารกิจครับ

ถ้าคุณคิวหมายถึงอย่างแรก ก็ให้มองรูปแบบกระทรวงตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นได้ครับ ปัญหาจะอยู่ที่กลุ่มสื่อ และกระทรวงมหาดไทย ที่ยังคิดไม่ตกผลึกว่าจะเอายังไงดี (ตอนนี้คิดๆ ว่า สื่อจะไม่ตั้งเป็นกลุ่มภารกิจ ส่วนมหาดไทยตั้งได้ ให้ดัชนี้ชี้วัดเป็นความสามารถในการบริการประชาชนและประสิทธิภาพในการปกครองส่วนท้องถิ่น)

ถ้าคุณคิวหมายถึงอย่างหลัง ผมคงตอบไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ลองคิดว่า นโยบายที่พรรคการเมืองในตอนนี้เสนอกันนั้น จะเสนอผ่านระบอบใหม่ทางไหน อันนี้คิดว่าพอทำได้ครับ



หากมีการเสนอก็ต้องพิจารณาครับ หากไม่มีการเสนอ ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีการจัดการจากส่วนกลาง..
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #292 เมื่อ: 22-10-2007, 14:48 »

รบกวนคุณคิวช่วยขยายความหน่อยครับ คิดตามไม่ทัน


คุณจิรศักดิ์หายไปเลย เห็นบอกจะมาโพสต์เรื่องส่วนที่ยังขาดหาย ผมรออ่านเนี่ย จะได้มีอะไรเตรียมไปคุยกับอาจารย์มากขึ้น
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #293 เมื่อ: 22-10-2007, 14:56 »

รบกวนคุณคิวช่วยขยายความหน่อยครับ คิดตามไม่ทัน


คุณจิรศักดิ์หายไปเลย เห็นบอกจะมาโพสต์เรื่องส่วนที่ยังขาดหาย ผมรออ่านเนี่ย จะได้มีอะไรเตรียมไปคุยกับอาจารย์มากขึ้น

ถึงแม้หน่วยภารกิจต่างๆ จะกลั่นกรองเรื่องต่างๆไปได้มาก

ในด้านทิศทางการนำร่อง และการแก้ปํญหาความเร็วในการขับเคลื่อน  ตลอดจนการกำหนดเป้าหมายหลัก ภารกิจหลักต่างๆ ก็ยังคงต้องจัดลำดับความสำคัญ

ซึ่งก็ต้องอยู่บนพื้นฐานสุดท้ายคือการตัดสินใจครับ หนีไม่พ้นแนวคิดการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งต้องย้อนกลับมาที่จุดตั้งต้นว่า อะไรเป็นแก่นของระบอบนี้..

ส่วนกลไกทั้งหมดจะถูกพัฒนาให้สอดคล้องได้ เมื่อทุกคนในระบอบเข้าใจและยอมรับตรงกันในความเป็นไปได้นั้น..
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-10-2007, 14:59 โดย ********Q******** » บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #294 เมื่อ: 22-10-2007, 15:17 »

ถึงแม้หน่วยภารกิจต่างๆ จะกลั่นกรองเรื่องต่างๆไปได้มาก

ในด้านทิศทางการนำร่อง และการแก้ปํญหาความเร็วในการขับเคลื่อน  ตลอดจนการกำหนดเป้าหมายหลัก ภารกิจหลักต่างๆ ก็ยังคงต้องจัดลำดับความสำคัญ

ซึ่งก็ต้องอยู่บนพื้นฐานสุดท้ายคือการตัดสินใจครับ หนีไม่พ้นแนวคิดการจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งต้องย้อนกลับมาที่จุดตั้งต้นว่า อะไรเป็นแก่นของระบอบนี้..

ส่วนกลไกทั้งหมดจะถูกพัฒนาให้สอดคล้องได้ เมื่อทุกคนในระบอบเข้าใจและยอมรับตรงกันในความเป็นไปได้นั้น..


การนำร่องจะเป็นการตัดสินใจอย่างมีระบบบนพื้นฐานของเหตุผลและใช้ตัวแบบเป็นตัวช่วยเหลือครับ อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสูงสุดจัดลำดับความสำคัญก็ได้

เพราะผู้นำสูงสุดเองก็ใช่ว่าจะมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องเสมอไป

ซึ่งตรงนี้ยังต้องทำการวิจัยต่ออีก ในเรื่องของการร่วมมือโดยไม่ต้องอาศัยศูนย์กลางครับ


ส่วนเรื่องที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมรับตรงกันของทุกคน ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่คุณคิวว่าเลยครับ

ตรงนี้ยังเป็นข้อกังวลของผมอยู่ คือ ถ้าหากมีคนหัวรั้นจำนวนหนึ่งได้บริหารกระทรวง และใช้ความคิดทำนอง "ข้าจะเอา" โดยไม่สนใจให้ความร่วมมือกับระบบ ตรงนี้จะเป็นปัญหาครับ

ทางออกก็ยังพอมี คือการใช้การถอดถอนโดยผู้บริหารส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะตัวระบบจะทนได้สักเท่าไหร่ เพราะโดยปกติคนก็ไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลซะตลอด
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #295 เมื่อ: 22-10-2007, 15:32 »

การนำร่องจะเป็นการตัดสินใจอย่างมีระบบบนพื้นฐานของเหตุผลและใช้ตัวแบบเป็นตัวช่วยเหลือครับ อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้นำสูงสุดจัดลำดับความสำคัญก็ได้

เพราะผู้นำสูงสุดเองก็ใช่ว่าจะมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องเสมอไป

ซึ่งตรงนี้ยังต้องทำการวิจัยต่ออีก ในเรื่องของการร่วมมือโดยไม่ต้องอาศัยศูนย์กลางครับ


ส่วนเรื่องที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการยอมรับตรงกันของทุกคน ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่คุณคิวว่าเลยครับ

ตรงนี้ยังเป็นข้อกังวลของผมอยู่ คือ ถ้าหากมีคนหัวรั้นจำนวนหนึ่งได้บริหารกระทรวง และใช้ความคิดทำนอง "ข้าจะเอา" โดยไม่สนใจให้ความร่วมมือกับระบบ ตรงนี้จะเป็นปัญหาครับ

ทางออกก็ยังพอมี คือการใช้การถอดถอนโดยผู้บริหารส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะตัวระบบจะทนได้สักเท่าไหร่ เพราะโดยปกติคนก็ไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลซะตลอด



แล้วพลังและความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบ

ตลอดจนมิติอื่นๆ(ถ้ามี)ล่ะครับ คิดไว้อย่างไร?

                                                                 
บันทึกการเข้า

PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #296 เมื่อ: 23-10-2007, 07:01 »



แล้วพลังและความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบ

ตลอดจนมิติอื่นๆ(ถ้ามี)ล่ะครับ คิดไว้อย่างไร?

                                                                 

หมายถึงระบอบปกครองหรือระบบบริหารครับ

ความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบปกครอง... อันนี้คงไม่มีความหมาย
ถ้าความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบบริหาร คิดว่าเร็วกว่าในปัจจุบันครับ เพราะทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำงานของตนให้เร็ว แต่เป็นการเร็วอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ต้องคิดจริงๆ คือความเสถียรของระบบครับ ว่าระบบจะล่มได้อย่างไรบ้าง ตรงนี้ต้องลองใช้เวลาวิเคราะห์ก่อน ถึงจะตอบได้

ไม่ทราบว่ายังมีคนติดตามกระทู้นี้อยู่รึเปล่า เพราะว่าต้องคิดเรื่องสื่อกับเรื่องมหาดไทย (The bureaucracy expands to meet the needs of an expanding bureaucracy) อีก

จะยังมีคนติดตามอยู่จะได้ยกประเด็นมาสนทนาครับ
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #297 เมื่อ: 23-10-2007, 08:18 »

ช่วงนี้เห็นพรรคการเมืองชูนโยบายปากท้องเป็นวาระแห่งชาติกันมาก แถมคนก็อยากให้แก้เรื่องปากท้องกันเป็นอันดับหนึ่ง (แหงอยู่แล้ว)

เลยคิดว่าน่าจะพูดเรื่อง



งานด้านสังคมในระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่
(Social Welfare in Functionalistic Democracy)

เนื่องจากการที่ระบอบประชาธิปไตยตามหน้าที่ใช้การคัดเลือกคนบริหารประเทศจากแต่ละหน่วยภารกิจ ซึ่งดัชนีชี้วัดของหลายหน่วยไม่ใช่ความสุขของประชาชนโดยตรง (เช่นกลุ่มอุตสาหกรรมมี การวัดประสิทธิภาพจากเงินที่ภาคอุตสาหกรรมทำได้ ไม่ได้แปลว่าเงินนั้นจะตกถึงมือแรงงานอย่างถ้วนหน้า) ทำให้หลายท่านอาจคิดไปว่า ระบอบนี้จะเน้นความมั่งคั่งหรือการพัฒนาของกลุ่มคนชนชั้นกลางขึ้นไป โดยไม่สนใจคนชั้นล่าง ซึ่งตรงนี้ไม่เป็นความจริงครับ

กลุ่มที่ทำหน้าที่ด้านนี้โดยตรง คือ กลุ่มสวัสดิการสังคมและสิทธิมนุษยชน ครับ (หรือจะชื่ออะไรก็แล้วแต่)

ส่วนกลุ่มที่รับผิดชอบทางอ้อม คือ กลุ่ม support อื่นๆ ครับ (กลุ่มแรงงาน กลุ่มศีลธรรมและจริยธรรม กลุ่มงานยุติธรรม กลุ่มการศึกษา ฯลฯ)

กลุ่มสวัสฯ จะเป็นตัวนำในการเสนอนโยบายสำคัญสำหรับการกระจายรายได้ นโยบายเพื่อปากท้อง นโยบายการกระจายโอกาส (เช่น โอท็อป โรงเรียนในที่กันดาร งานอาชีพเพื่อคนพิการ กองทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น) โดยความร่วมมือกับกลุ่มอื่นๆ (เช่น การศึกษา เกษตร พาณิชย์)

เรื่องผู้ที่จะเสนอตัวเข้ามารับภาระพัฒนาปากท้องคนในชาติผ่านทางกลุ่มสวัสฯ นั้นมีแน่นอน (อย่างน้อยก็พรรคการเมืองในปัจจุบันนี้ เพราะเห็นนโยบายทำเพื่อคนจนทั้งนั้น (ฮ่าๆ ประชด)) และการที่ระบอบนี้ไม่ให้ความสำคัญกับพรรคการเมือง ยิ่งจะทำให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ด้านสังคมได้มากขึ้นเสียอีก

และเนื่องจากกลุ่มสวัสฯ นี้เป็นกลุ่มที่ประชาชนทุกคนมีเสียงโดยอัตโนมัติ การเลือกตั้งของกลุ่มสวัสฯ จึงเป็นการหยั่งเสียงโดยทุกๆ คน เหมือนกับ ในตอนนี้ ทำให้ผู้สมัครในกลุ่มสวัสฯ ต้องคิดนโยบายที่ทำให้คนทั้งประเทศพอใจได้อย่างแท้จริง

ประเด็นต่อมาคือเรื่องอำนาจในการทำโครงการกระจายโอกาสที่เสนอ เนื่องจากกลุ่มสวัสฯไม่มีอำนาจโดยตรงในการอนุมัติโครงการหลายๆ อย่าง ซึ่งหลายคนอาจเป็นห่วงว่าจะทำให้โครงการเหล่านี้ทำไม่ได้จริง แต่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่น่าห่วง เพราะต่อให้ผู้แทนกลุ่มอื่นๆ สนใจประโยชน์ของกลุ่มตนเป็นหลัก แต่ก็ต้องสนใจสวัสดิการของคนทั้งประเทศด้วย มิฉะนั้นผลเชิงลบก็จะตกถึงตนเอง ตามตัวแบบที่เสนอไป และในความเป็นจริง โครงการหลายๆ อย่างที่เป็นการพัฒนาคนทั้งประเทศ ย่อมส่งผลดีต่อกลุ่มอื่นๆ ด้วยอยู่แล้ว

ในทางกลับกัน การกระจายอำนาจเช่นนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่จะช่วยกำกับประสิทธิภาพของโครงการที่นำเสนอโดยกลุ่มสวัสฯ เพราะกลุ่มที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยดูแลโครงการ เช่น นโยบายโคล้านตัว กลุ่มเกษตรจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองโครงการให้การแจกโคเหล่านี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการติดตามผล มิเช่นนั้นกลุ่มเกษตรจะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้เลย หรือโครงการกองทุนหมู่บ้าน กลุ่มพาณิชย์ และกลุ่มเศรษฐกิจ จะติดตามดูแลการใช้เงินและการคืนเงินอย่างใกล้ชิด เป็นต้น ทำให้โครงการต่างๆ มีประสิทธิผล และเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ระยะยาวจริงๆ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โครงการประชานิยม และที่สำคัญคือ กลุ่มสวัสฯ จะไม่มีอำนาจในการแสวงประโยชน์ใดๆ จากโครงการเหล่านี้เลย

ซึ่งนี่จะทำให้โครงการและนโยบายต่างๆ เป็นสิ่งที่พัฒนาความเป็นอยู่ของคนทั้งประเทศได้อย่างแท้จริงครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23-10-2007, 08:21 โดย PastelSalad » บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
Scorpio6
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,210


Man on Mission *เสี่ยวฯ>สันติภาพ*


« ตอบ #298 เมื่อ: 23-10-2007, 12:08 »

หมายถึงระบอบปกครองหรือระบบบริหารครับ

ความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบปกครอง... อันนี้คงไม่มีความหมาย
ถ้าความเร็วในการขับเคลื่อนระบอบบริหาร คิดว่าเร็วกว่าในปัจจุบันครับ เพราะทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำงานของตนให้เร็ว แต่เป็นการเร็วอย่างยั่งยืน

สิ่งที่ต้องคิดจริงๆ คือความเสถียรของระบบครับ ว่าระบบจะล่มได้อย่างไรบ้าง ตรงนี้ต้องลองใช้เวลาวิเคราะห์ก่อน ถึงจะตอบได้

ไม่ทราบว่ายังมีคนติดตามกระทู้นี้อยู่รึเปล่า เพราะว่าต้องคิดเรื่องสื่อกับเรื่องมหาดไทย (The bureaucracy expands to meet the needs of an expanding bureaucracy) อีก

จะยังมีคนติดตามอยู่จะได้ยกประเด็นมาสนทนาครับ

ยังติดตามครับและจะติดตามต่อไป..ระบบราชการยังเป็นระบบที่จะคงอยู่ต่อไปครับแต่ต้องมีการปริรูปหรือถูกปรับเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนด้วยอย่างทันท่วงทีตัวอย่างเช่น กรณีการจัดเก็บภาษีผ่านทางอินเทอร์เน็ต และเป็น e-government และราชการต้องออกมาใช้แนวทางอย่างองค์กรอิสระในการบริหารเพื่อความคล่องตัว การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องบริหารตัวเองได้อย่างเช่นกทม.และผู้ว่าเลือกตั้งโดยตรงทุกจังหวัด การกระจายอำนาจต้องเป็นไปอย่างจริงจังรัฐบาลกลางมีหน้าที่กำกับดูแลเท่านั้น 
สื่อจะเป็นเครือข่ายที่สำคัญที่จะนำข่าวสารที่จะออกจากหน่วยงานของรัฐ จากเอกชน สื่อสารมวลชนสื่อท้องถิ่นและการสื่อสารระหว่างบุคคล เครือข่ายเป็นไปโดยอิสระ(รัฐกำกับนโยบาย)
และต้องมีเครือข่ายผู้ชำนาญด้านนี้มากขึ้นไปด้วย..นั่นคือประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารกันถ้วนหน้า ประชาชนมีความรู้เท่าเทียมกันพอประมาณ
บันทึกการเข้า



คิดจะล้มระบอบทักษิณ ต้องอ่านใจเนวินและเพื่อน
บล็อกเสี่ยวไทบ้าน*แวะเยี่ยมRepublican Collage ของคุณสุธา ชันแสง*
http://www.oknation.net/blog/thaibaan/2008/03/26/entry-1
"ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนและในฐานะอย่างไร จงตรองหาว่า จะมีทางใช้ชีวิต
ให้เป็นประโยชน์ในทางใดบ้าง เมื่อตั้งใจคิดถึงมันแล้วก็จะพบเสมอ
ไม่ว่าอยู่ที่ใด เมื่อพบทางแล้วจงลงมือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์"
PastelSalad
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 183



« ตอบ #299 เมื่อ: 23-10-2007, 14:07 »

ขอบคุณครับที่ยังติดตามอยู่ เช่นนั้นจะได้มีกำลังใจต่อไป

ระหว่างที่รอทุกท่านเสนอความคิดนี้ ผมจะพยายามนำผลึกความคิดที่กลั่นกรองได้หลังจากฟังความคิดเห็นของทุกๆ ท่าน ทั้งสนับสนุนและโต้แย้ง มาลงไว้เรื่อยๆ นะครับ



ส่วนเรื่องมหาดไทย (ตัดตำรวจออก เป็นองค์กรอิสระไปแล้ว) นี่มีหน้าที่หลักในการบริหารราชการการปกครองใช่มั้ยครับคุณสกอปี้

ถ้าเช่นนั้นเราสามารถใช้ดัชนีชี้วัดประสิทธภาพเป็นความคล่องตัวในการทำงานขององค์กร และการบริการ อย่างนี้ได้มั้ยครับ

อีกประเด็นเกี่ยวกับมหาดไทยตามที่คุณสกอปี้ชี้มา คือเรื่องการบริหารท้องถิ่น ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะปล่อยให้มีลักษณะจัดการตนเอง (autonomous) ไปเลยจะเป็นการดีหรือเปล่า ตรงนี้ผมไม่มีความรู้เรื่องอำนาจการปกครองของมหาดไทยจริงๆ รบกวนผู้มีความรู้ช่วยแนะนำด้วยครับ

เดี๋ยวผมขอเวลาไปค้นคว้าก่อนว่า มหาดไทย ทำอะไร ที่ทำการอำเภอ ทำอะไร เพราะผมไปอำเภอแค่สองอย่าง คือ ทำบัตร กับจัดการเรื่องเกณฑ์ทหาร -_-""
บันทึกการเข้า


ใจเย็นๆ แล้วมานั่งจิบโกโก้อุ่นๆ ด้วยกันก่อนดีกว่าครับ
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8
    กระโดดไป: