ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 12:29
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  หมักมันก็เคยเป็นคนนึงที่ออกมาต่อต้าน รธน.ปี 2540 ไม่ใช่หรือ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
หมักมันก็เคยเป็นคนนึงที่ออกมาต่อต้าน รธน.ปี 2540 ไม่ใช่หรือ  (อ่าน 3132 ครั้ง)
Anthony
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 296



« เมื่อ: 27-11-2007, 13:57 »

ผมจำได้ ตอนวันลงคะแนนลงมติรับ รธน.40 หมักมันให้ลูกพรรคมันไม่เข้าประชุมด้วยหนิ
แต่วันนี้มันกลับมาชื่นชม รธน.2540 ว่าดีอย่างนู้นดีอย่างนี้ ช่างมีอุดมการณ์มั่นคงจริงๆครับ ป๋าหมาก
บันทึกการเข้า

ขอต่อต้านสื่อชั่วอย่าง ไทยรัฐ โลกวันนี้ และประชาทรรศน์

คนไทยจะฉลาดขึ้นต้องเลิกบริโภคสื่อในเครือเหล่านี้ทั้งหมด
goolnw
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 460


new goolnw


« ตอบ #1 เมื่อ: 27-11-2007, 14:00 »

ขอหลักฐานครับผมจะได้เอาไปตอกหน้าห้องราชดำเนินหน่อยพ
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/goolnw
Goolnw ชอบสมัคร รักทักษิณ
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #2 เมื่อ: 27-11-2007, 14:52 »

ช่วยกันค้นครับ ว่าตอนรัฐสภาลงมติรับรัฐธรรมนูญ 2540 มีพรรคไหนบ้าง
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #3 เมื่อ: 27-11-2007, 15:05 »

นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายอดิศร เพียงเกษ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นกลุ่มผู้สนับสนุน รธน 2540 มานานแล้ว ไม่น่าเกลียดอะไร และดูน่าสรรเสริญในการปกป้อง รธน 40 ด้วย แต่สมัคร ผู้ต่อต้าน รธน 40 กลับมาชุบมือเปิดจากอ๋อย เดี๋ยวดูกันต่อ มีหลายคน

การที่ผู้นําพรรความหวังใหม่มีทีท่าต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทําให้ความตึงเครียดในสังคมการเมืองไทยเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ในขณะที่พลเอกชวลิต หัวหน้าพรรครู้เห็นเป็นใจกับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขมาตรา 211 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรค ซึ่งดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยกลไกของกระทรวงดังกล่าวในการสร้างกระแสต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการระดมกํ านันผู้ใหญ่บ้านมาชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อแสดงพลังต่อต้าน (ประเวศ วะสี 2541 : 110) ตัวนายเสนาะเองก็ให้สัมภาษณ์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างชัดเจน ในการนี้ นายเสนาะได้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทยเป็นพันธมิตรสําคัญ เพราะนายสมัครไม่ชอบใจแนวทางการปฏิรูปการเมืองตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
ลูกหินฮะ๛
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,099


เสียเข็มขัด อย่าเสียกุงเกง


« ตอบ #4 เมื่อ: 27-11-2007, 15:10 »

นายจาตุรนต์ ฉายแสง นายอดิศร เพียงเกษ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นกลุ่มผู้สนับสนุน รธน 2540 มานานแล้ว ไม่น่าเกลียดอะไร และดูน่าสรรเสริญในการปกป้อง รธน 40 ด้วย แต่สมัคร ผู้ต่อต้าน รธน 40 กลับมาชุบมือเปิดจากอ๋อย เดี๋ยวดูกันต่อ มีหลายคน

การที่ผู้นําพรรความหวังใหม่มีทีท่าต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทําให้ความตึงเครียดในสังคมการเมืองไทยเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ในขณะที่พลเอกชวลิต หัวหน้าพรรครู้เห็นเป็นใจกับการเคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขมาตรา 211 นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรค ซึ่งดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยกลไกของกระทรวงดังกล่าวในการสร้างกระแสต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีการระดมกํ านันผู้ใหญ่บ้านมาชุมนุม ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อแสดงพลังต่อต้าน (ประเวศ วะสี 2541 : 110) ตัวนายเสนาะเองก็ให้สัมภาษณ์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างชัดเจน ในการนี้ นายเสนาะได้นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทยเป็นพันธมิตรสําคัญ เพราะนายสมัครไม่ชอบใจแนวทางการปฏิรูปการเมืองตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่


เข้ามา สนับสนุนข้อมูล ..ว่า จริง! ตามนั้นฮะ 
บันทึกการเข้า

  ... ... ... 
ปรมาจารย์เจได
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,771


รักแท้ก็เหมือนผี รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเจอ


« ตอบ #5 เมื่อ: 27-11-2007, 15:28 »

แถมอีก

หลักการ"สมัคร สุนทรเวช""เปลี่ยนได้ตามสถานการณ์"

นายสมัคร สุนทรเวช พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ "เทพชัย หย่อง" ผ่านรายการ "สยามเช้านี้" ทาง ททบ.5 เรื่อง วิสัยทัศน์หัวหน้าพรรคพลังประชาชน โดยชี้แจงถึงเหตุการณ์ปะทะคารมกับนักข่าวและคำพูด  "เมื่อคืนไปเสพเมถุนกับใครมาหรือเปล่า" รวมทั้งยอมรับอย่างเต็มปากเต็มคำว่า หลักการของเขาสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์ 

เทพชัย : ผมสังเกตดูหัวหน้าพรรคอื่น เขาหาเสียงพูดถึงนโยบายพรรค แต่คุณสมัครด่าสื่อมวลชน ด่า คมช. นี่คือแนวทางหาเสียงของคุณสมัครหรือเปล่า    

 สมัคร : คุณเทพชัยมาจัดเรียงแถวให้ฟังดูเหมือนจะเป็นอย่างนั้น แต่ผมจะถามย้อนหน่อยว่า ที่ผมพูดอย่างอื่น ไม่พูดถึง เอาเฉพาะตรงนี้ ด่าสื่อมวลชน อยู่ดีๆ จะลุกขึ้นมาด่าเลยหรือ สื่อมวลชนประพฤติตัวให้เราต้องด่ามั้ย ให้พูดถึงมั้ย  

 เทพชัย :  ถ้าไม่มีคุณสมัคร ก็ตอบว่าไม่มี มันก็จบไม่ใช่หรือ 

 สมัคร : มันก็ไม่จบ ไปถามกลุ่มผู้สื่อข่าวซิว่าจะเอาให้ได้เลย จะบอกว่า พรรคเป็นสาธารณะปิดบังไม่ได้ ผมก็ต้องยกตัวอย่างให้ ยกตัวอย่างเพื่อให้หยุดถามคำถามอย่างนี้ สุภาพที่สุด ถ้อยคำเนี่ยเรียบร้อย พจนานุกรมก็รับรองคำนี้ 

 เทพชัย : คือถามว่า "เมื่อคืนไปเสพเมถุนกับใครมาหรือเปล่า" 

สมัคร  : เขาก็ตอบว่าไม่มี วันนั้น ผมพูดจานุ่มนวลสุภาพ แล้วเด็กพวกนั้นก็พูดจาเล่นหัวกันตลอด ธรรมดา 

เทพชัย :  คุณสมัครด่าว่านี่สันดานสื่อมวลชน สื่อมวลชนมันเลวอย่างนี้  มันไม่นิ่มนวลเท่าไรนะ ผมว่า  

 สมัคร  : ไอ้ที่ด่าสื่อมวลชนวันนั้น เพราะเอาไปออก เอาไปตัดตอนออกเป็นท่อนเดียวๆ ออกแล้ววนๆ ไป สนุกใช่มั้ย ต้องการจะประจานใช่มั้ย ไปตั้งคำถามว่า ผมหาเสียงด้วยการด่าหนังสือพิมพ์ ผมตอบว่า ผมไม่ได้ด่า 

 เทพชัย :  ไม่ใช่ ก็โอเค คำถามนี้จบ ...ด่า คมช.มั้ยครับ 

 สมัคร  : ผมด่าเขาได้หรือ คมช. แต่ผมต้องพูดถึง คมช. ผมอธิบายให้ฟังว่า จะเลือกตั้ง คมช.เป็นคนทำปฏิรูปยึดอำนาจ ใช้เวลา 1 ปี ผมก็ไม่พูด 1 ปี เพราะเขาใช้ประกาศ  39  มาตรานั้น วันหนึ่งก็ประกาศรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญออกก็คุ้มครองประชาชนคนไทย ผมก็ต้องแสดงความเห็นตอบโต้ว่าผมไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ ผมบอกให้ประชาชนรู้ว่าการปฏิวัติมันไม่มีเหตุผลๆ ไปว่ากล่าวเขาว่า เขาไม่จงรักภักดี ว่าเขาทุจริต  ว่าเขาแทรกแซงองค์กร ว่าเขาเหยียบสื่อสารมวลชน แล้วผมบอกว่า ไอ้ 4 ข้อนี้พิสูจน์ไม่ได้เลย  

 เทพชัย :  คือคุณสมัครต่อต้านการปฏิวัติ 

 สมัคร  :  แน่นอน  

 เทพชัย : แต่ว่าผมฟังดูแล้วมันเหมือนกับว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ เพราะว่าคุณสมัครต่อต้านการปฏิวัติครั้งนี้ แต่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ 6 ตุลาคม 

 สมัคร  : 6 ตุลาคม เขาปฏิรูป คราวนี้เขาก็ปฏิรูป 

 เทพชัย :  แต่คุณสมัครก็เข้าไปร่วมรัฐบาล ก็เหมือนกันว่าทำไมคุณสมัครไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติครั้งนี้ แต่เห็นด้วยครั้งนั้น 

 สมัคร  : ผมไม่ได้เห็นด้วยครั้งนั้น  

 เทพชัย :  แต่คุณสมัครเป็นรัฐมนตรีมหาดไทยใช่หรือไม่  

 สมัคร  : เขาเชิญคุณธรรมนูญ เทียนเงิน แล้วคุณธรรมนูญท่านบอกไม่ ท่านบอกว่าถ้าท่านรับต้องเป็นผู้ว่าฯ กทม. ผมไปกับคุณธรรมนูญเพราะคณะปฏิรูปเขาเชิญเข้าไป    

 เทพชัย : แต่ถ้าคนไม่เห็นด้วยกับคณะปฏิวัติ ก็ต้องมีหลักการใช่หรือไม่  ไม่ว่าจะเป็นสมัยไหนใครทำมันก็ไม่ 

 สมัคร  : มันจะด้วยอะไรก็ตามแต่ มันต่างเหตุต่างผล ผมทำหน้าที่ตรงนั้น ผมก็มีสิทธิไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ ผมไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว แต่ตรงนั้นสถานการณ์ตรงนั้น ที่ผ่านมานั้น  ผมไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรอก แต่ว่าคนที่เชิญผม เป็นครูที่สอนหนังสือผมมา และในเวลานั้นเขาตั้ง 18 คน เขาก็ขอแรง ผมก็บอกให้เขาสอบปากคำผม เมื่อสอบเสร็จเขาก็บอกว่า ใช้ได้ ผมก็ทำหน้าที่ เสร็จแล้ว 1 ปี ผมก็ถูกปฏิวัติอีก  ผมทำหน้าที่เพราะผมเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนั้น มันเป็นสิทธิเสรีภาพของผมที่จะวินิจฉัยอย่างนั้น  และเป็นสิทธิเสรีภาพของผมที่ผมจะต้องวิพากษ์วิจารณ์ สถานการณ์ตอนนั้นกับตอนนี้ถามว่า เหมือนกันหรือไม่ 

 เทพชัย : มันเป็นสิทธิเสรีภาพของคุณสมัครแน่  แต่เรื่องของการไม่เห็นด้วยทางการเมืองโดยเฉพาะเรื่องปฏิวัติที่มันใหญ่มาก ควรเป็นเรื่องหลักการใช่หรือไม่ มันไม่ควรจะว่า หลักการนี้ช่วงนี้มันเป็นอย่างหนึ่ง อีกช่วงหนึ่งเป็นอย่างหนึ่ง นักการเมืองที่ดีไม่ควรเป็นอย่างนั้นใช่หรือไม่ 

 สมัคร : ไม่ใช่ที่ดีไม่ดีหรอก คนที่เป็นคนเนี่ยนะ ต้องรู้ว่าเวลานั้นเป็นอย่างไร เวลานี้เป็นอย่างไร แต่ก่อนคุณเทพชัยเป็นอะไร เดี๋ยวนี้คุณเทพชัยเป็นอะไร เราจะไปขุดคุ้ยเอาประพฤติตั้งแต่ตอนนั้นๆ มาเปรียบเทียบอย่างนั้น 

 สมัคร  : เวลานี้คุณเทพชัยย้อนหลังไปดูมั้ย ตอนที่ยังก๊องๆ แก๊งๆ ไม่มีอะไร กับตอนนี้ตั้งหลักตั้งตัวได้ แล้วก็มาแสดงว่า เทพชัย หย่อง, สุทธิชัย หยุ่น แล้วแต่ก่อนเป็นอย่างนี้หรือเปล่า    

 เทพชัย :  เมื่อก่อนนี้ก็กระจอกครับ ก็เป็นนักข่าวที่ไม่มีอะไร แต่จุดยืนไม่เคยเปลี่ยน 

 สมัคร  : แล้วผมเปลี่ยนหรือไม่ 

 เทพชัย :  ผมกำลังถามหลักการ เรื่องการเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยเรื่องปฏิวัติ 

 สมัคร  : ผมเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย สถานการณ์ตรงนั้น ผมต้องช่วยบ้านเมืองผม คนมาเชิญ ต่อมาเป็นอะไร เป็นองคมนตรี คนมาเชิญบอกว่า ช่วยบ้านเมืองหน่อย ผมก็ช่วย เสร็จแล้วก็ปฏิวัติเตะผมออกไป ผมไม่เคยพูดจาอะไรทั้งนั้น คือเวลานั้นก็เป็นเวลานั้น เวลานี้เป็นเวลานี้ สิทธิเสรีภาพของคนไม่ใช่ไปเห็นอย่างนั้นแล้ว แล้วต่อไปจะต้องเห็นอย่างนี้กันตลอดไป ไม่ได้เด็ดขาดเลย 

 เทพชัย : หลักการนี้ปรับได้   

 สมัคร  : ผมถามว่า หลักการบ้าอะไร วันนี้เห็นอย่างนั้น วันนั้นเห็นอย่างนี้ไม่ได้ ไม่มีอะไรเสียหายเลย 

เทพชัย :  คือหลักการนี้คุณสมัครสามารถเปลี่ยนได้ ตามสถานการณ์ 

 สมัคร  : "แน่นอน"  ผมถามซิว่า คุณสุรยุทธ์ เป็นองคมนตรี แล้วไปรับเป็นนายกฯ คณะปฏิวัติทำได้อย่างไร เป็นองคมนตรี ถ้าเป็นองคมนตรีอยู่จริง ต้องไม่รับ ถูกหรือไม่ เพราะเป็นองคมนตรีต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง นี่รับออกมา แล้วทำไมเปลี่ยนสถานะได้ อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ 

 เทพชัย : มีเสียงบ่นมาจริงๆ แม้แต่เสียงในพรรคเอง เขาบ่นว่า ความก้าวร้าวของคุณสมัครกำลังทำให้เสียงของพรรคตกลง 

 สมัคร  : คือถ้าเขาได้ยินแล้วบอกผมนะ ไม่มีปัญหาหรอกถ้าใครจะบ่นอย่างนั้น ก็เป็นสิทธิเสรีภาพที่จะบ่น ผมต้องพูดเรื่องนี้เพราะเหตุอะไรรู้มั้ย เพราะคนที่รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษ โดยเหยียบย่ำว่า ไม่จงรักภักดีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ผมเป็นคนฉุดมือเขาขึ้นมา เขาบอกเลยว่ามีการดำเนินการทางการเมือง คือ ฆ่า 111 คนไปแล้ว กำลังจะตามเล่นงาน 270 คน ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ซึ่งควรจะรวมกันเป็นพรรคการเมือง ถ้าหากผมรับให้มาเป็นหัวหน้าพรรคตอนนี้ได้ พวกนี้ก็จะไม่ถูกกระจัดกระจาย ก็จะเป็นพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมได้ การเมืองที่เคยดำเนินการไว้ก็จะไม่เสียของ ลองเทียบดูง่ายๆ วันนี้ไม่ได้มานินทาใครนะ เวลาบ้านเมืองมีปัญหาเมื่อปี  2540 พรรคการเมืองความจริงไม่อยากจะไปพูดให้กระทบกระทั่งว่าเป็นคนก่อให้เกิดปัญหานั้นขึ้นมา มีโอกาสกลับเข้ามาบริหารบ้านเมือง 3 ปีเต็มๆ ผมไม่ได้ว่าไม่เก่งหรือแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่การใช้ระบบระเบียบแบบราชการที่ปลอดภัย 100% แต่พอเปลี่ยนพรรคการเมืองใหม่เข้ามาก็ได้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ เขาเข้ามา 4 ปี เดินหน้ามา 2 ปี เขาสามารถจะแก้ไขปัญหาคือบ้านเมืองมีรายได้พอที่จะเอาไปใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้  

 เทพชัย :  พูดตรงๆ ก็คือ อดีตนายกฯ ทักษิณ มีบทบาทสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจ แต่ว่าคุณสมัครไม่ฟังเสียงเกี่ยวกับเรื่องข้อกล่าวหาที่มีต่อคุณทักษิณเลยหรือ เรื่องการทุจริต ผลประโยชน์ทับซ้อน มันไม่มีความหมายกับคุณสมัครเลยหรือกับข้อกล่าวหาเหล่านี้  

 สมัคร  : ผมถึงบอกว่า คุณทักษิณต้องมาขึ้นศาล ผมไม่เคยปฏิเสธเรื่องนี้เลย ต้องมาขึ้นศาล คือการกล่าวหากันรุนแรงก็กล่าวหาได้ แต่คุณเทพชัยไม่ได้อ่านข้อกล่าวหาเลย ถามจริงๆ ไม่ได้อ่านเลยใช่มั้ย ฟังให้ดีนะ กล่าวหาว่า ไปซื้อที่เขาประมูล ภรรยานายกฯ ไปซื้อมีคนประมูล 3 ราย แล้วไปซื้อแล้วก็เสนอแพงสุดได้ ไม่ได้ประกาศได้เลยว่า มีนายกฯ ห้ามซื้อ ถ้าไม่ใช่เมียนายกฯ เป็นเมียนาย ก. เขียนเหมือนกัน ทุกอย่างก็จบ ปัญหาก็คือว่าเป็นเมียนายกฯ  เขากล่าวหาเลยว่าเป็นเมียนายกฯ เพราะต้องเกี่ยวพัน กล่าวหาว่าเมียนายกฯ ซื้อไม่ได้  ถ้าซื้อไม่ได้มันก็ต้องกลับสู่สถานะเดิม ถูกหรือไม่  ต้องเอาเงินคืนเขาไป เอาที่คืนเขาไป นี่ฟ้องคดี แล้วคนที่ประเมินคดีเป็นใครเป็นผู้พิพากษาอายุ 70 กว่า มารับหน้าที่เป็นพนักงานสอบสวน เสร็จแล้วก็มาบอกว่า  ผิด  ผิดอย่างไรรู้มั้ย โดยที่ต้องยึด สามีภรรยาก็ต้องติดตะราง 

เทพชัย : แล้วมันสมควรหรือไม่ที่มีผู้นำประเทศจะมาประมูลซื้อที่แข่งกับชาวบ้าน แล้วนี่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน บางทีมันเป็นพฤติกรรมที่พิสูจน์ทางกฎหมายไม่ได้ แต่ว่าความเหมาะสมทางการเมือง สิ่งที่มันควรไม่ควรทางการเมือง 

 สมัคร  : ควรไม่ควร ไม่เป็นไรหรอก สำคัญที่สุด แล้วดันออกมาประมูลทำไม แล้วทำไมไม่ประกาศว่าเมียนายกฯ ห้ามซื้อ ถ้าสามีเป็นนายกฯ แล้วเมียทำอะไรไม่ได้เลย 

เทพชัย : ทำได้ แต่ต้องระวังที่จะไม่มีภาพผลประโยชน์ทับซ้อน  

 สมัคร  : มันประโยชน์ทับซ้อนกันตรงไหน ฟังให้ดีนะ ผมจะถามว่ามันทับซ้อนกันตรงไหน ถ้าไอ้คนธรรมดา เมียนายกฯ มาซื้อแล้วก็จบ มันทับซ้อนกันตรงไหน  

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-11-2007, 15:35 โดย ปรมาจารย์เจได » บันทึกการเข้า

http://www.oknation.net/blog/jedimaster



"เมืองดอกบัวงาม  แม่น้ำสองสี  มีปลาแซบหลาย หาดทรายแก่งหิน  ถิ่นไทยนักปราชญ์  ทวยราษฎร์ใฝ่ธรรม งามลำเทียนพรรษา  ผาแต้มก่อนประวัติศาสตร์"

ไม่มีใครเน่าบริสุทธิ์ดุจดั่งมูล ประชาชินสมบูรณ์ซะที่ไหน เมื่อยืนหยัดโชว์จู๋และปาขี้ ประชาชินย่อมมีชีวิตใหม่ เมื่อท้องฟ้าสีขี้ผ่องอำไพ เหลี่ยมจันไsย่อมเป็นใหญ่อยู่ใต้ดิน ...

ขอเชิญร่วมกลุ่มต้านทักษิณใน hi5 ครับ

THAKSIN get out !!
http://www.hi5.com/friend/group/1123605--THAKSIN%2Bget%2Bout%2521%2521--front-html

say no to thaksin !
http://www.hi5.com/friend/group/1186900--say%2Bno%2Bto%2Bthaksin%2B%2521--front-html
Suraphan07
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #6 เมื่อ: 27-11-2007, 15:35 »

ขอหลักฐานครับผมจะได้เอาไปตอกหน้าห้องราชดำเนินหน่อยพ

มีหลักฐานแล้ว อย่าเสียคำพูดล่ะ...
บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #7 เมื่อ: 27-11-2007, 15:59 »

ก่อนจะไปตอกหน้าห้องทรราชย์ดำเนิน ตอกหน้าเกรียนซะหงายเลย กร๊าก
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: 27-11-2007, 16:16 »



เวลา มีคดีความ หวังว่าผู้ดูแลพันทิป จะส่งข้อมูลที่ถูกร้องของ พวกปากกล้าไม่รับผิดชอบให้ทางการครบถ้วนได้

ตามกฎหมายมันต้องเก็บข้อมูลการโพสต์ไว้ ข้อมูลว่าใครโพสต์ตอนไหนด้วย.. เจ้าของเองอาจจะถูกเล่นงานได้

เพราะมีปัญหามานานแล้ว ตั้งแต่รมต.ไอซีทีคนก่อน..
บันทึกการเข้า

นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 27-11-2007, 16:18 »

ถ้าจำไม่ผิด

สมัครแกต่อต้านรธน.ปี40 เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษย์ชน ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่

ด้วยความขวาจัดของแก แกเลยไม่ยอมรับ


มางวดนี้เพื่อจอมเผด็จการรัฐสภา (ถูกใจขวาจัดอย่างแก)

แกยอมทำทุกอย่าง

 
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 27-11-2007, 16:20 »


เวลา มีคดีความ หวังว่าผู้ดูแลพันทิป จะส่งข้อมูลที่ถูกร้องของ พวกปากกล้าไม่รับผิดชอบให้ทางการครบถ้วนได้

ตามกฎหมายมันต้องเก็บข้อมูลการโพสต์ไว้ ข้อมูลว่าใครโพสต์ตอนไหนด้วย.. เจ้าของเองอาจจะถูกเล่นงานได้

เพราะมีปัญหามานานแล้ว ตั้งแต่รมต.ไอซีทีคนก่อน..


ต้องพูดถึงเพราะห้องนั้นบอกทักษิณดี เลือกสมัครก็ดี เหตุผลต่างๆนาๆ ซึ่งบ่อยครั้งไม่ได้ช่วยกันตรวจสอบตนเอง อาจจะผิดกฎหมายได้ง่ายๆ                                                                                                                                                               
บันทึกการเข้า

********Q********
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8,520


I'm Looking At You.


เว็บไซต์
« ตอบ #11 เมื่อ: 27-11-2007, 16:23 »

ถ้าจำไม่ผิด

สมัครแกต่อต้านรธน.ปี40 เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษย์ชน ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่

ด้วยความขวาจัดของแก แกเลยไม่ยอมรับ


มางวดนี้เพื่อจอมเผด็จการรัฐสภา (ถูกใจขวาจัดอย่างแก)

แกยอมทำทุกอย่าง

 


พอๆกับพวกนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่หลักการวิ่งเข้าหาระบอบสี่เหลี่ยมอย่างเดียว เหมือนไม่ใช่คนไทย 
บันทึกการเข้า

eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #12 เมื่อ: 27-11-2007, 16:23 »

แล้วใครที่อภิปราย จุดไข่ปลา ครับ ป๋มจำไม่ได้แย้ว
บันทึกการเข้า
เล่าปี๋
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,417


ทำดีได้ดีมีไฉน ทำชั่วได้ดีมีถมไป


« ตอบ #13 เมื่อ: 27-11-2007, 16:31 »

ถ้าจำไม่ผิด

สมัครแกต่อต้านรธน.ปี40 เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษย์ชน ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่

ด้วยความขวาจัดของแก แกเลยไม่ยอมรับ


มางวดนี้เพื่อจอมเผด็จการรัฐสภา (ถูกใจขวาจัดอย่างแก)

แกยอมทำทุกอย่าง

 




เอิ๊กๆๆๆๆ เข้ามาสนับสนุนด้วยครับ


บันทึกการเข้า

ขงเบ้งดูดาว เฮอะเอ่อเอ้ย เมื่อดาวตก เสียวในหัวอกเมือเห็นดาว
ไม่พราวไสว  หรือว่าตัวเราจะหมดบุญ จึงเป็นไป
ดาวที่สดใสเมื่อก่อนนั้น  พลันมืดมัว....
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #14 เมื่อ: 27-11-2007, 16:32 »

รัฐธรรมนูญราคาแพง
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/article2004july02p8.htm

 

“ผมนอนไม่หลับมาหลายคืนแล้ว ... ผมอยู่ใกล้ประเทศบ้านพี่เมืองน้องเห็นคนที่สิ้นชาติมาแล้ว ไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ถ้ารัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้” (เสนาะ เทียนทอง, 10 สิงหาคม 2540)

“ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นความหวังสุดท้ายของประชาชน ซึ่งเสียขวัญอย่างรุนแรงมาจากปัญหาเศรษฐกิจ” (มีชัย ฤชุพันธุ์, สิงหาคม 2540)

 

วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ 2540 และสภาพล้มเหลวของการเมืองไทย ตั้งแต่ช่วงหลังพฤษภาทมิฬ ทำให้คนไทยทนไม่ไหวกับการเมืองแบบไทยๆ และนักการเมืองแบบไทยๆ ที่อยู่ภายใต้ระบอบยียาธิปไตย

เสียงเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนดังกระหึ่ม โดยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทั้ง 99 คน เริ่มทำงานร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน พร้อมๆ กับการเริ่มต้นของรัฐบาลพลเอกชวลิต หากจำกันได้ พลเอกชวลิต เคยประกาศต่อสาธารณชนในวันแรกๆที่เข้ารับตำแหน่งว่า จะเป็นนายกฯเพียงสองปี เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่และกฎหมายลูกแล้วเสร็จ จะยุบสภาทันที

แม้พรรคร่วมรัฐบาลจะเขียนไว้ในปฏิญญาในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันอย่างชัดเจนว่า “4. จะเร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” แต่เมื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีความก้าวหน้ามากมายใกล้แล้วเสร็จ แกนนำหลายคนกลับออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะนายเสนาะ เทียนทอง และนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่พลเอกชวลิตเลือกที่จะไม่ประกาศจุดยืน(เช่นเคย)ว่าจะสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ

ในช่วงก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เกิดภาวะเผชิญหน้าขึ้นเมื่อกลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการมหาดไทย ภายใต้การนำของนายเสนาะ เทียนทอง และกลุ่มการเมืองฝ่ายขวา ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐธรรมนูญใหม่อย่างอึกทึก โดยใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์

ด้านกลุ่มเคลื่อนไหวสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้สีเขียวอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของการสนับสนุน มีการติดธงเขียว สติกเกอร์เขียว และใส่เสื้อเขียวกันทั้งบ้านทั้งเมือง

พลเอกชวลิต ผู้แสดงท่าทีวางเฉยมาตลอด โยนก้อนหินถามทางโดยลุกขึ้นพูดในสภาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2540 ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้ ส.ส.ร. นำร่างกลับไปแก้ไขก่อนให้รัฐสภาลงมติรับรอง อันเป็นจุดยืนเดียวกับนายเสนาะ ทำให้ความเชื่อมั่นทางการเมืองของรัฐบาลลดต่ำติดดิน ค่าเงินบาทตกอย่างหนัก กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญก็ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มนักธุรกิจ แม้แต่จากกองทัพ

ระหว่างการพิจารณาในรัฐสภา กลุ่มคัดค้านยังตีรวนกระทั่งยกข้ออ้างสุดตลกร้ายว่า ในคำปรารภของร่างมีจุดไข่ปลาเว้นไว้โดยไม่มีข้อความ แสดงว่ารัฐธรรมนูญยังร่างไม่เสร็จ ขัดต่อมาตรา 211 ที่กำหนดให้ ส.ส.ร.ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน ดังนั้น ถือว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ

แม้ว่าสุดท้ายพลเอกชวลิต จะออกมากลับลำประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในวันรุ่งขึ้นหลังโดนกระแสสังคมกระหน่ำ แต่ความไม่น่าเชื่อถือของท่านที่สะสมมานาน บวกกับความรวนเรอย่างรุนแรงในจุดยืนเรื่องการผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้กระแสการสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้ขยายตัวกลายเป็นกระแสหมดศรัทธาผู้นำ จนต้องการให้พลเอกชวลิตลาออก โดยไม่ยุบสภา

ในขณะที่กลุ่มสนับสนุนรัฐธรรมนูญขยายตัวเป็นกลุ่มขับไล่พลเอกชวลิต กลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญเองก็ขยายตัวไปเป็นม็อบประชาชนจากอีสาน มีการปลุกม็อบให้มาชนม็อบ

ส.ส.อีสาน อย่างนายชิงชัย มงคลธรรม นายไพจิตร ศรีวรขาน นายขจิตร ชัยนิคม ชูประเด็นว่า “คนกรุงเทพฯไม่มีสิทธิ์มาไล่รัฐบาลของคนอีสาน 20 ล้านคน และคนชั้นกลาง ไม่มีสิทธ์มาไล่รัฐบาลที่เลือกมาโดยคนยากคนจนในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ” (มติชนสุดสัปดาห์, 23 กันยายน 2540)

ท้ายที่สุด แรงสนับสนุนรัฐธรรมนูญอย่างมืดฟ้ามัวดินของประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ส.ส.ร. ผ่านรัฐสภา ด้วยความจำยอมของกลุ่มผู้ต่อต้าน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 ภาพนายเสนาะ เทียนทอง เปล่งวาจา “รับครับ” ในรัฐสภาเป็นที่ติดตาของคอการเมือง

 

กลับบ้านเถอะ ลุงจิ๋ว

 

“บุหลันฉายให้ “เขา” ด้วย ช่วยส่องแสง

กระจ่างแจ้งหนทางสว่างไสว

ให้“เขา”กลับบ้านได้อย่างมั่นใจ

ว่าบัดนี้ไม่มีใครต้องการเลย”

 

(สุจิตต์ วงษ์เทศ, มติชนรายวัน, กันยายน 2540)

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #15 เมื่อ: 27-11-2007, 17:09 »

โปรดช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลจริงเหล่านี้ ให้รู้เช่น เห็นชาติ "สันดานนักการเมือง"
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #16 เมื่อ: 27-11-2007, 17:37 »

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6069054/P6069054.html


*  (35.59 KB, 712x275 - ดู 259 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

drop
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 737



« ตอบ #17 เมื่อ: 27-11-2007, 18:32 »

ไม่เกี่ยวกับ รธน ปี ๔๐  แต่จำข่าวนี้ได้ ------------- ขอเอามาแจม

คำพิพากษา สมัคร สุนทรเวช /ดุสิต ศิริวรรณ

“สมัคร-ดุสิต” ติดคุก 24 เดือน! ไม่รอลงอาญา
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม ผู้จัดการออนไลน์ 12 เมษายน 2550 10:37 น.

“สมัคร-ดุสิต” อดีตคู่หูพิธีกร “เช้าวันนี้...ที่เมืองไทย” ถึงครารับผลกรรม ศาลพิพากษาจำคุก 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา กรณีกล่าวหาอดีตรองผู้ว่าฯ กทม. “สามารถ ราชพลสิทธิ์” รับสินบน “บีเอ็ม ซีรีส์ 7” - แบ่งเค้ก 3 พันล้าน ประมูลงาน เมกะโปรเจกต์

วันนี้(12 เม.ย.)ที่ห้องพิจารณาคดี 34 ศาลอาญากรุงเทพใต้ สนามหลวง ศาล ออกนั่งบัลลังก์อ่าน คำพิพากษา คดีหมิ่นประมาท ที่นาย สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายดุสิต ศิริวรรณ ร่วมกันเป็นจำเลยในความผิดฐาน หมิ่นประมาท โดยการโฆษณา

ตามฟ้องโจทก์ระบุความผิดจำเลยสรุปว่า เมื่อระหว่างวันที่ 12 – 19 ม.ค. 49 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการ”เช้าวันนี้ที่ช่อง 5 “ และรายการ”สมัคร – ดุสิต คิดตามวัน” ทางช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยวันที่ 12 ม.ค. 49 จำเลยทั้งสองได้กล่าวถ้อยคำกล่าวหาว่า “มีผู้บริหารกรุงเทพมหานครบางคนออกรถบีเอ็มฯ ซีรีส์ โดยใช้ชื่อภรรยาเป็นเจ้าของ ที่แท้มีผู้รับเหมาซื้อให้ ผ่านทั้งสองรายการในวันเดียวกัน ต่อมาวันที่ 13 ม.ค. 50 นายดุสิต จำเลยที่ 2 ได้กล่าวผ่านรายการ”สมัคร – ดุสิต คิดตามวัน “ ว่า โครงการประมูลของกรุงเทพมหานคร 10 โครงการมันกินกัน 12 – 13 % เกือบ 3,000 ล้านบาท โดยมีจำเลยที่ 1 กล่าวสนับสนุน นอกจากนี้ในวันที่ 17 ม.ค. 49 จำเลยที่ 2 ได้กล่าวผ่านรายการเช้าวันนี้ที่ช่อง 5 ว่า ขออ่านจากข่าวนะ นายสามารถชี้แจงว่า ไม่เคยสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาล็อกสเป็ก ขอถามคุณสมัครหน่อยว่า ใครจะกล้ารับว่าตัวเองเป็นคนสั่ง และข้อความอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นเท็จทั้งสิ้น เหตุเกิดที่แขวง – เขตห้วยขวาง และที่อื่นเกี่ยวพันกัน การกระทำของจำเลยทั้งสอง ทำให้ประชาชนที่ชมรายการดังกล่าวเข้าใจผิดคิดว่า โจทก์เป็นคนไม่ดี เรียกรับทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของตัวเอง ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียง จึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดด้วย

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ทำนองเดียวกันว่า ไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย เพียงแต่กล่าวไปตามข้อเท็จจริงที่ทราบข้อมูลมา แต่ไม่ได้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมทั้งการดำเนินรายการก็เป็นการระดมความคิดเห็นร่วมกับประชาชนให้ได้รับทราบ

ศาลพิเคราะห์คำเบิกความและพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่า ถ้อยคำที่บ่งบอกว่า ผู้บริหารระดับสูงของกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นความผิดทางอาญา โดยมีจำเลยที่ 1 กล่าวสนับสนุนว่าเป็นความจริง เมื่อฟังประกอบกันแล้วทำให้เห็นได้ชัดว่า เป็นผู้บริหารกรุงเทพมหานครคือโจทก์นั่นเอง เพราะขณะนั้นภรรยาโจทก์ขับรถยนต์ยี่ห้อบีเอ็มดับเบิลยู ป้ายแดงได้ 2 เดือน ทั้งยังมีการกล่าวย้ำว่ามีการใช้ตำแหน่งแสวงหาผลประโยชน์แม้ไม่ได้ระบุชื่อก็ตาม ทั้งที่ความจริงแล้วโจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านโยธา ดูแลเรื่องการก่อสร้างถนน สะพานข้ามแยก อุโมงค์ทางลอดต่าง ๆ นอกจากนี้โจทก์ยังมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เบิกความเกี่ยวกับการตรวจสอบการทุจริตของโจทก์นั้น ชุดสืบสวนไม่ได้ตรวจสอบเรื่องการซื้อรถยนต์บีเอ็มดับเบิลยูคันดังกล่าว เพราะเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อด้วยเงินตัวเองโดยมีการนำสำเนาบัญชีของธนาคารกรุงเทพ ฯ สำเนาเช็คเงินสด มาแสดงเป็นหลักฐานการชำระเงิน

การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการเสนอข่าวให้ประชาชนเชื่อว่า การก่อสร้างของกรุงเทพมหานครมีเงื่อนงำ ทุจริต ซึ่งเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจริง ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ทั้งนี้จำเลยที่ 1 ได้เคยกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทมาแล้วหลายครั้ง โดยศาลปรานีให้รอการลงโทษไว้เพื่อให้ปรับตัวเป็นคนดี แต่จำเลยที่ 1 กลับกระทำผิดซ้ำในความผิดเดิมอีก พิพากษาให้จำคุกจำเลยทั้งสองรวม 4 กระทง ๆ ละ 6 เดือน รวมจำคุกคนละ 24 เดือน โดยไม่รอลงอาญา และให้โฆษณาคำพิพากษาย่อในหนังสือพิมพ์ติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย

ภายหลังฟังคำพิพากษาเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำตัวทั้งสองไปควบคุมไว้ในห้องพิจารณาคดีที่ 15 ระหว่างนี้นายสมัคร กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า ต้องยื่นอุทธรณ์แน่นอน ต่อมาทนายความได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอประกันตัวเป็นเงินสดคนละ 2 แสนบาท ระหว่างอุทธรณ์คดีโดยศาลพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้ทั้งสองประกันตัวไปโดยตีราคาประกันคนละ 2 แสนบาท

ด้าน นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ โจทก์คดีนี้กล่าวว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้พิสูจน์ให้สังคมทราบว่าตนไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกทั้งสองกล่าวหา นอกจากนี้ตนยังได้ยื่นฟ้องทั้งสองต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ เรียกค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 100 ล้านบาทด้วย คาดอีกไม่นานศาลจะมีคำพิพากษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไป

http://www.manager.co.th

เพื่อตอกย้ำว่า "สมัครแก้ตัวไม่ขึ้น"

ใครมีข้อมูลบ้าง ว่า คดี ไปถึงไหนแล้ว   
บันทึกการเข้า

A  Few  Good  Men

Downey: What did we do wrong? We did nothing wrong.

Dawson: Yeah, we did. We were supposed to fight for the people who couldn't fight for themselves. We were supposed to fight for Will.

************************
I  only  want  to  fight  for  my  country as  long as  I ' m alive. I  do nothing  wrong  .  The tyrant  is  still  the  tyrant, I  have  to  expel  them  in  every  step  of  life. When the  time  come,  the  tyrant   will  absolutely  extinguish. That  ‘ s  the   dharma  truth.
สมชายสายชม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,048


« ตอบ #18 เมื่อ: 27-11-2007, 18:53 »

เนื้อหาเดียวกับคำตอบที่ #14 ของคุณ eAT

.........................................................................................................

http://www.onopen.com/wp-print.php?p=98

กลับหลังหัน
ปกป้อง จันวิทย์

โลกสีหม่น ของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
.
.
.

รัฐธรรมนูญราคาแพง

“ผมนอนไม่หลับมา หลายคืนแล้ว ... ผมอยู่ใกล้ประเทศบ้านพี่เมืองน้องเห็นคนที่สิ้นชาติมาแล้ว ไม่อยากให้เกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ถ้ารัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้” (เสนาะ เทียนทอง, 10 สิงหาคม 2540)

“ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นความหวังสุดท้ายของประชาชน ซึ่งเสียขวัญอย่างรุนแรงมาจากปัญหาเศรษฐกิจ” (มีชัย ฤชุพันธุ์, สิงหาคม 2540)

วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจ 2540 และสภาพล้มเหลวของการเมืองไทยตั้งแต่ช่วงหลังพฤษภาทมิฬทำให้คนไทยทนไม่ไหว กับการเมืองแบบไทยๆ และนักการเมืองแบบไทยๆ ที่อยู่ภายใต้ระบอบยียาธิปไตย

เสียง เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปการเมืองอย่างถึงรากถึงโคนดังกระหึ่ม โดยมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทั้ง 99 คน เริ่มทำงานร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน พร้อมๆ กับการเริ่มต้นของรัฐบาลพลเอกชวลิต หากจำกันได้ พลเอกชวลิต เคยประกาศต่อสาธารณชนในวันแรกๆที่เข้ารับตำแหน่งว่า จะเป็นนายกฯเพียงสองปี เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่และกฎหมายลูกแล้วเสร็จ จะยุบสภาทันที

แม้ พรรคร่วมรัฐบาลจะเขียนไว้ในปฏิญญาในการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกันอย่างชัดเจนว่า “4. จะเร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” แต่เมื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่มีความก้าวหน้ามากมายใกล้แล้วเสร็จ แกนนำหลายคนกลับออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะนายเสนาะ เทียนทอง และนายสมัคร สุนทรเวช ในขณะที่พลเอกชวลิตเลือกที่จะไม่ประกาศจุดยืน(เช่นเคย)ว่าจะสนับสนุนร่าง รัฐธรรมนูญ

ในช่วงก่อนที่ร่างรัฐธรรมนูญจะเข้าสู่การพิจารณาของ รัฐสภา เกิดภาวะเผชิญหน้าขึ้นเมื่อกลุ่มกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการมหาดไทย ภายใต้การนำของนายเสนาะ เทียนทอง และกลุ่มการเมืองฝ่ายขวา ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐธรรมนูญใหม่อย่างอึกทึก โดยใช้สีเหลืองเป็นสัญลักษณ์

ด้านกลุ่มเคลื่อนไหวสนับสนุนร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้สีเขียวอ่อนเป็นสัญลักษณ์ของการสนับสนุน มีการติดธงเขียว สติกเกอร์เขียว และใส่เสื้อเขียวกันทั้งบ้านทั้งเมือง
พลเอกชวลิต ผู้แสดงท่าทีวางเฉยมาตลอด โยนก้อนหินถามทางโดยลุกขึ้นพูดในสภาเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2540 ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ โดยเสนอให้ ส.ส.ร. นำร่างกลับไปแก้ไขก่อนให้รัฐสภาลงมติรับรอง อันเป็นจุดยืนเดียวกับนายเสนาะ ทำให้ความเชื่อมั่นทางการเมืองของรัฐบาลลดต่ำติดดิน ค่าเงินบาทตกอย่างหนัก กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญก็ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นมาจากกลุ่มนักธุรกิจ แม้แต่จากกองทัพ

ระหว่าง การพิจารณาในรัฐสภา กลุ่มคัดค้านยังตีรวนกระทั่งยกข้ออ้างสุดตลกร้ายว่า ในคำปรารภของร่างมีจุดไข่ปลาเว้นไว้โดยไม่มีข้อความ แสดงว่ารัฐธรรมนูญยังร่างไม่เสร็จ ขัดต่อมาตรา 211 ที่กำหนดให้ ส.ส.ร.ต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายใน 240 วัน ดังนั้น ถือว่ากระบวนการร่างรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ

แม้ว่าสุดท้ายพลเอกชวลิต จะออกมากลับลำประกาศสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในวันรุ่งขึ้นหลังโดนกระแส สังคมกระหน่ำ แต่ความไม่น่าเชื่อถือของท่านที่สะสมมานาน บวกกับความรวนเรอย่างรุนแรงในจุดยืนเรื่องการผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้กระแสการสนับสนุนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ได้ขยายตัวกลายเป็นกระแสหมดศรัทธาผู้นำ จนต้องการให้พลเอกชวลิตลาออก โดยไม่ยุบสภา

ในขณะที่กลุ่มสนับสนุนรัฐธรรมนูญขยายตัวเป็นกลุ่ม ขับไล่พลเอกชวลิต กลุ่มต่อต้านรัฐธรรมนูญเองก็ขยายตัวไปเป็นม็อบประชาชนจากอีสาน มีการปลุกม็อบให้มาชนม็อบ

ส.ส.อีสาน อย่างนายชิงชัย มงคลธรรม นายไพจิตร ศรีวรขาน นายขจิตร ชัยนิคม ชูประเด็นว่า “คนกรุงเทพฯไม่มีสิทธิ์มาไล่รัฐบาลของคนอีสาน 20 ล้านคน และคนชั้นกลาง ไม่มีสิทธ์มาไล่รัฐบาลที่เลือกมาโดยคนยากคนจนในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของ ประเทศ” (มติชนสุดสัปดาห์, 23 กันยายน 2540)

ท้ายที่สุด แรงสนับสนุนรัฐธรรมนูญอย่างมืดฟ้ามัวดินของประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ส.ส.ร. ผ่านรัฐสภา ด้วยความจำยอมของกลุ่มผู้ต่อต้าน เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2540 ภาพนายเสนาะ เทียนทอง เปล่งวาจา “รับครับ” ในรัฐสภาเป็นที่ติดตาของคอการเมือง

...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27-11-2007, 18:57 โดย สมชายสายชม » บันทึกการเข้า
สมปอง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,128



« ตอบ #19 เมื่อ: 27-11-2007, 18:54 »

อนาถกับความเห็นของพวกลิ่วล้อในพาลถ ่ อย จริงๆ
บันทึกการเข้า



ไม่มีดินผืนใดให้ไออุ่น เท่ากับดินที่คุณถือกำเนิด
ไม่มีดินผืนใดดูมั่นคง เท่ากับดินที่ลงสำมะโนครัว
ไม่มีดินผืนใดให้คุณเดิน เท่ากับดินที่คุณเดินตอนตั้งไข่
ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่าแผ่นดินสุดท้ายของเผ่าพันธุ์

ไม่มีเงินไม่มีทองยังไม่หมองเศร้า
มีแผ่นดินปลูกข้าวเราอยู่ได้
ไม่มีเงินไม่มีทองค่อยหาใหม่ บนแผ่นดินสุดท้ายของไทยทุกคน
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 27-11-2007, 19:08 »

ของแถม
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6069003/P6069003.html


*  (65.21 KB, 718x433 - ดู 271 ครั้ง.)

*  (94.41 KB, 714x450 - ดู 275 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #21 เมื่อ: 27-11-2007, 19:11 »

อีกนิด


*  (49.97 KB, 717x482 - ดู 274 ครั้ง.)

*  (25.51 KB, 796x246 - ดู 263 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า

55555
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,263



« ตอบ #22 เมื่อ: 27-11-2007, 19:13 »

แหม๋ คุณ เคือง ไทแมน ก็ใจร้อนจังครับ ไม่น่า จะไปโพสต์ รายละเอียด เร็วขนาดนั้น รอให้มีคนมาตอบทู้ก่อน....น่าจะปล่อยให้แถ กัน ไปซักพัก แล้ว ค่อย ไปโพสต์ ตบปาก ทีหลัง  

บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #23 เมื่อ: 27-11-2007, 19:26 »

อิ อิ รีบปล่อยของออก ของมีเยอะ

เดี๋ยวเค้าหาว่าเล่นเชิงมาก...

แค่นั้น "คุณเคือง ไทแมน" ก็ทำเอากระอักแล้ว

ดันไปว่าแกไม่ติดตาม นายสมัครมาตลอด...หนอย..เลยโดนอีก 2 กระทู้ ขุดให้ดูกันเห็นๆ

ไม่รู้ว่าจะวิ่งหนีทันมั๊ย อิ อิ


เฉพาะใน เสรีไทย WOM ในบล็อคอีกเป็นกระตั๊ก ฮ่า ฮ่า

ช่วงนี้ต้องรีบเปิด "คลังสรรพาวุธ" เพื่อ "ออกรบ"

หมดช่วงโปรโมชั่นแล้วตลาดจะวาย...ใครจะขายอะไรรีบไปวางแผงนะครับ

คนกำลังมา เยอะเชียว..อิ อิ
บันทึกการเข้า

Anthony
ขาประจำ
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 296



« ตอบ #24 เมื่อ: 27-11-2007, 19:55 »

นอกจาก ป๋าหมาก
ขอให้กันขุดบทความเก่าๆของพวกคอลัมนิสต์บางตัวที่ต่อต้านเผด็จการ(เชลียร์เหลี่ยม) แต่ในอดีตเคยสนับสนุนเผด็จการ รสช.เหมือนไอ้หมัก เช่น ฉลามเขียว ด้วยครับ
อยากเห็นความหน้าด้านของเจ้าพวกนี้เยอะๆครับ 
บันทึกการเข้า

ขอต่อต้านสื่อชั่วอย่าง ไทยรัฐ โลกวันนี้ และประชาทรรศน์

คนไทยจะฉลาดขึ้นต้องเลิกบริโภคสื่อในเครือเหล่านี้ทั้งหมด
eAT
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,066



« ตอบ #25 เมื่อ: 27-11-2007, 21:19 »

นี่ๆๆ ไม่มีใครจำได้เลยหรือว่า ใครเป็นคนอภิปราย จุดไข่ปลา
บันทึกการเข้า
ชัย คุรุ เทวา โอม
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,846


สมัครรักแมว แต่ผมรัก Cat


« ตอบ #26 เมื่อ: 27-11-2007, 21:20 »

หมัก 555555
บันทึกการเข้า

"...สิ่งที่มนุษย์เราหวงแหนที่สุดก็คือชีวิต และก็เป็นสิ่งที่ให้แก่เขาเพื่อดำรงอยู่ได้แต่เพียงครั้งเดียว เขาจักต้องดำรงชีวิตอยู่เพื่อที่ว่าจะไม่ต้องทรมานใจด้วยความโทมนัสว่าวันเดือนปีที่ผ่านไปนั้นปราศจากจุดหมาย จักต้องไม่มีความรู้สึกอับอายว่าตนมีอดีตอันต่ำต้อยด้อยคุณค่า ชีวิตเช่นนี้ เมื่อตายลงก็สามารถพูดได้ว่าชีวิตของฉัน และพลังกายพลังใจทั้งหมดของฉันได้อุทิศให้แก่อุดมการณ์ที่ดีงามที่สุดแล้วในโลกนี้ นั่นคือการต่อสู้เพื่อกอบกู้อิสรภาพของมนุษย์..."

คำรำพัน ณ สุสานสหายผู้เสียสละในการต่อสู้ปฏิวัติ จากนวนิยายโซเวียตยอดนิยมเรื่อง เบ้าหลอมวีรชน

(How the Steel Was Tempered)

นิโคไล ออสตร๊อฟสกี้ เขียน ค.ศ.1933


*******************************

เชิญเยี่ยมชมบล็อคครับ
http://www.oknation.net/blog/amalit1990
ริวเซย์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4,637


Worrior in The Blue Armor


เว็บไซต์
« ตอบ #27 เมื่อ: 27-11-2007, 23:59 »

สมัคร สุนทรเวช เปลี่ยนสีได้ตามสถานการณ์มากกว่า
บันทึกการเข้า

ถ้ามีแฟนแบบนี้เอาไหมครับ^^


Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #28 เมื่อ: 28-11-2007, 00:23 »

รัฐบาลแตกแยกศาลปกครอง "จิ๋ว" เมินตุลาการไม่สนแสปถอน

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการออนไลน์
ประจำวันที่ : 15 ม.ค. 40


ทำเนียบรัฐบาล – รัฐบาลจิ๋ว 1 กำลังเดินเข้าสู่จุดวิกฤติ หลังหาข้อตกลงเรื่องศาลปกครองไม่ได้ พรรคร่วมรัฐบาลเสียงแตก กิจสังคม-ประชากรไทย-มวลชน จับมือเสนาะ ค้านกฤษฎีกาดูหน่วยธุรการเสนอทางออกรอรัฐ ธรรมนูญใหม่ของส.ส.ร. แต่จิ๋วไม่เห็นด้วย ย้ำต้องเกิดให้ได้ในเดือน ก.พ.นี้ ให้กฤษฎีกาดูแล 6 เดือน เมินเสียงคัดค้านผู้พิพากษา รวมทั้งไม่แคร์พรรคกิจสังคม หากคิดจะถอนตัวเพราะไม่ได้ตามที่ต้องการ นัดเจรจาประธานศาลฎีกาวันนี้


ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี วานนี้ (14 ม.ค.) พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีได้เรียกนายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี และนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าพบเพื่อหารือปัญหาศาลปกครอง ซึ่งกำลังทวีความรุนแรงและกลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายตุลาการ รวมทั้งความขัดแย้งในระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง เนื่องจากพรรคกิจสังคม ต้องการให้ศาลปกครองสังกัดกระทรวงยุติธรรม แต่นายโภคินที่ปรึกษาพรรคความหวังใหม่ เสนอให้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา การหารือดังกล่าว

นอกจากจะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาแล้ว ยังมีแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลบางคนเข้าร่วมด้วย โดยการหารือใช้เวลานานเกือบชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เนื่องจากพรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย พรรคมวลชน และนายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ เห็นว่าหากยังไม่สามารถตกลงกันได้อย่างเป็นเอกฉันท์ว่า หน่วยธุรการศาลปกครองควรสังกัดฝ่ายใดก็ควรจะชะลอการตัดสินใจเรื่องนี้ไปก่อนจนกว่าสภาร่างรัฐธรรมนูญจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จ แต่พล.อ.ชวลิต และนายโภคิน ไม่เห็นด้วย พร้อมทั้งยืนยันว่าจะผลักดันเรื่องนี้ต่อไป และจะไม่รอให้มีรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้บรรยากาศการหารือค่อนข้างตึงเครียด


จิ๋วย้ำไม่รอสภาร่างฯ

พล.อ.ชวลิตเปิดเผยภายหลังการประชุมว่าตนได้เรียนให้ทุกคนทราบแล้วว่า รัฐบาลเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด ซึ่งได้มีการตกลงที่จะเจอกันระหว่างประธานศาลฎีกา ตนและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง คือนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ยุติธรรมนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งข้อมูลให้ตนตัดสินใจโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะคำนึงถึงผลดีให้มากและคำนึงถึงแนวทางที่ทุกคนจะเห็นชอบด้วย ทั้งนี้จะให้เห็นชอบทุกกรณีคงไม่ได้

"อย่างไรก็ตาม คงไม่ต้องรอการร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร. เพราะจะใช้เวลานานเกินไป ซึ่งในครม.ก็มีคนเสนอถึงว่าเป็นข้อเสนอที่ดี แต่ตนเห็นว่า เรื่องนี้เป็นภาระหน้าที่จะต้องกระทำ โดยผมจะพยายามผลักดันพ.ร.บ.ศาลปกครองให้ทันในสมัยการประชุมนี้ แต่ขอดูข้อเสนอของทั้งสองฝ่ายก่อนและขอเน้นว่าจะไม่รอช้าและทุกอย่างจะมีความชัดเจนขึ้น"


ไม่แคร์กิจสังคมถอนตัว

พล.อ.ชวลิตกล่าวด้วยว่ารัฐบาลจะปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลที่แถลงไว้ แต่ทั้งนี้ขอดูให้รอบคอบก่อนและการตัดสินใจใดๆ ของตน ก็จะไม่กลัวผลที่ตามมา และไม่กลัวว่าพรรคกิจสังคมจะถอนตัว หากไม่ได้ตามที่ต้องการ ถึงขณะนี้ความคิดที่ให้หน่วยธุรการขึ้นอยู่กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยจะขอให้อยู่กับคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่จะมีการจัดตั้งศาลปกครองเป็นองค์กรอิสระ ส่วนสาเหตุที่ไม่แยกหน่วยธุรการมาตั้งให้เป็นอิสระ เช่น ศาลปกครอง ก็เนื่องมาจากเป็นช่วงรอยต่อ เพราะเมื่อตั้งเสร็จแล้วก็ต้อง มีคนทำงาน หากขาดเจ้าหน้าที่ธุรการที่มีประสบการณ์ก็จะทำให้เกิดช่องว่าง จึงจำเป็นต้องให้อยู่กับคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อน


ปรึกษา "ประมาณ ชันซื่อ" กล่อมตุลาการ

นายกรัฐมนตรีกล่าวต่อว่าจะนำเรื่องศาลปกครองหารือกับ นายประมาณ ชันซื่อ อดีตประธานศาลฎีกา ที่เพิ่งจะมารับงานตำแหน่งประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในวันที่ 20 ม.ค. นี้ คงต้องไปขอคำเสนอแนะจากท่าน อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวจะไม่เป็นประเด็นเรื่องการเมืองและจะใช้เวลาอีกไม่นานขอให้ทุกคนใจเย็นๆ ที่ผ่านมาคนอื่นทำมาถึง 2-3 ปีก็ยังไม่เสร็จ แต่นี่เราขอเวลาเพียง 2-3 วัน หากไม่ได้ก็แย่แล้ว ขอเน้นว่าการจัดตั้งศาลปกครองจะต้องทำให้เห็นเป็นรูปธรรมให้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดไว้ โดยจะเสนอให้สภาพิจารณาก่อนที่จะปิดสมัยประชุมในเดือนกุมภาพันธ์


มนตรีเผยพรรคร่วมให้รอ ส.ส.ร.

ทางด้าน นายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ครม.ได้มีการพูดถึงศาลปกครองซึ่งเสียงส่วนใหญ่บอกว่า ถึงแม้จะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ก็คงไม่ทันสมัยประชุมนี้ และสภาจะต้องปิดอีก 4-5 เดือน ขณะเดียวกันสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ก็กำลังร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 5 เดือนก็จะรู้ผล ดังนั้น ถ้ารัฐธรรมนูญกำหนดอย่างไร ก็ต้องทำตามนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง จึงให้นายสุวิทย์ กับนายโภคิน หารือกัน ซึ่งที่ประชุมก็เห็นตรงกันว่าควรจะรอการร่างรัฐธรรมนูญของส.ส.ร.ก่อน

"หากนายกรัฐมนตรียังยืนยันให้หน่วยธุรการขึ้นตรงกับกฤษฎีกา ถ้านายกฯ สามารถไปทำความเข้าใจกับผู้พิพากษาและประธานศาลฎีกาได้แล้ว ผมก็ไม่ขัดข้องและการตัดสินใจรัฐบาลเช่นนี้ ไม่ได้ต้องการที่จะถ่วงเวลา และไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่กล้าตัดสินใจ ซึ่งผมก็ยังไม่ทราบว่าทางผู้พิพากษามีความเห็นอย่างไรกับการตัดสินใจของรัฐบาลครั้งนี้ แต่นายกฯ ยืนยันว่าจะเป็นคนไปพูดจากับพวกผู้พิพากษาเอง"


"สุวิทย์" ชี้ไม่จำเป็นต้องเสร็จ ก.พ.

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว. ยุติธรรม กล่าวว่าเรื่องนี้ได้พูดคุยกับนายโภคินแล้ว โดยทางคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงยุติธรรม จะรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องทำให้เสร็จก่อนเดือน ก.พ. 2540 ตามที่ได้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ที่จะต้องให้มีการจัดตั้งศาลปกครองให้แล้วเสร็จ ซึ่งถ้าตนทำเสร็จเมื่อไรก็เสนอให้นายกรัฐมนตรี เพราะขณะนี้ความคิดของผู้พิพากษามีจำนวนมาก

นายสุวิทย์ กล่าวว่า ในการประชุมครม.วันนี้ ไม่ได้พูดถึงการจัดตั้งศาลปกครองว่า จะให้มีการยึดไปจนถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่แล้วเสร็จ ตนก็ได้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบถึงผลการประชุมของผู้พิพากษาว่า ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมา โดยคณะทำงานดังกล่าวจะทำงานไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแล้วเสร็จ

"การแก้ไขปัญหาจะต้องมีข้อยุติที่ชัดเจน ที่สำคัญจะต้องมีหลักประกันเรื่องของความอิสระและที่มาของผู้พิพากษาจะต้องดูรายละเอียดให้ชัด"

รมว. ยุติธรรมกล่าวและยืนยันว่าจะทำให้เป็นที่พอใจของประชาชน คือ ไม่ได้มีฝ่ายนั้นฝ่ายนี้จะมีแต่ฝ่ายของประชาชนเท่านั้น การที่ผู้พิพากษาออกมาเคลื่อนไหว เพราะมีความห่วงใยความเดือดร้อนของประชาชนที่จะได้รับ เมื่อมีปัญหากับภาครัฐบาล แต่เมื่อให้ฝ่ายธุรการมาสังกัดฝ่ายบริหาร ถึงเวลาพิจารณาคดีก็จะไม่มีใครมองว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด เพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้ตัดสินคดีที่เกิดขึ้นกับตนจึงเป็นเรื่องที่น่าห่วง


ระบุร่างกฤษฎีกาเปิดช่องฝ่ายบริหารครอบงำ

นายสุวิทย์ยังวิจารณ์ถึงร่างพ.ร.บ.ศาลปกครองที่ร่างโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ในหมวดการแต่งตั้งตุลาการศาลปกครอง ซึ่งระบุว่าผู้แต่งตั้งจะมาจาก 3 ฝ่าย คือประธานวุฒิสภา ประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรี ซึ่งบุคคลทั้งหมดนี้จะเสนอชื่อ ตุลาการศาลปกครองให้กับที่ประชุมครม.ได้พิจารณา แต่ในที่ประชุมครม.นายกรัฐมนตรีถือว่าเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร การพิจารณาคงไม่มีรายละเอียดนัก ประธานรัฐสภาก็เป็นคนพรรคเดียวกับนายกรัฐมนตรี

ดังนั้นการที่บุคคลทั้ง 3 เสนอชื่อใครเข้ามาก็ได้พิจารณาตามนั้น ตนจึงเป็นห่วง แต่ถ้าถามในความรู้สึก คิดว่ากระบวนการนี้ก็ดีเหมือนกัน แต่ถ้าถามตนถึงหลักการของประชาชนส่วนใหญ่รวมทั้งเราไม่ได้เป็นรัฐบาลตลอดไป ตนก็ไม่อยากให้ขบวนการศาลปกครองถูกฝ่ายบริหารครอบงำ ส่วนขบวนการที่มาผู้พิพากษาศาลปกครองในร่างของกระทรวงยุติธรรมที่ให้มีการสอบคัดเลือก ซึ่งก็แตกต่างกับร่างของกฤษฎีกาที่มาจากการแต่งตั้ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการคัดเลือกจะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ


มนตรีอัดจิ๋วสถาปนาอำนาจใหม่

ก่อนจะเข้าหารือนอกรอบกับพล.อ.ชวลิต นายมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าถ้าจะพูดถึงศาลแล้วก็ควรให้อยู่กับฝ่ายยุติธรรม ไม่ใช่อยู่กับฝ่ายบริหาร แล้วถึงเวลาก็ไม่รู้เอาใครมาเป็นผู้พิพากษา ทำอย่างนี้สถาบันศาลจะเสื่อมเสีย ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะเอาหน่วยธุรการไปสังกัดกฤษฎีกา ตนเกรงว่าต่อไปเมื่อมีการฟ้องร้องหน่วยราชการซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารจะเป็นผู้ทำเรื่องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้วค่อยเสนอให้ศาลพิจารณาเท่ากับว่ามีอิทธิพลในตัวเอง ต่างกับหน่วยธุรการของกระทรวงยุติธรรมที่ไม่ได้ใช้ระบบแบบนี้ แต่จะมีรูปแบบของการสืบพยานซึ่งจะให้ความยุติธรรมมากกว่า ตนถึงได้ไม่เห็นด้วยเพราะกลายเป็นว่าเป็นการหมกเม็ดของฝ่ายบริหาร การออกมาแสดงความเห็นของตนไม่ให้การเข้าข้างหรือลำเอียงไปทางฝ่ายยุติธรรม แต่เป็นความรู้สึกจากการได้สัมผัสและทำงานร่วมกับกระทรวงยุติธรรม

"ถ้าเป็นอย่างที่รัฐบาลว่า เวลาประชาชนจะฟ้องร้องแล้วมาฟ้องที่ศาลปกครองไปก็ไม่เกิดประโยชน์ เพราะคนรวบรวมข้อมูลเป็นฝ่ายบริหารเสนอมาที่ศาลซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะเอาผู้พิพากษามาจากไหนอย่างที่บอกว่ามาได้หลายทาง ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้พิพากษามาก่อน ให้ใช้ระบบสอบเอามันไม่ง่ายอย่างนั้นหรอก ประเทศไทยเขียนรัฐธรรมนูญให้มีอำนาจ 3 สถาบัน ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระเจ้าอยู่หัว แต่ถึงเวลาคุณไปตั้งศาลปกครองขึ้นมาอีกศาลเอาคนไม่มีความรู้มาว่าความทำอย่างนี้ต่อไปสถาบันก็ตกต่ำ" นายมนตรี กล่าว


สมัครหนุนแสปค้านแนวคิดชวลิต

นายสมัคร สนุทรเวช รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวว่าเสียเวลาที่จะพูดเรื่องนี้ในช่วงเวลานี้ ควรจะรอไปอีก 8 เดือน เพื่อดูว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดไว้อย่างไร ส่วนที่นายกรัฐมนตรีเห็นว่าควรจะให้หน่วยธุรการขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีต้องฟังที่ปรึกษา เมื่อมีคนแนะนำอย่างนั้นก็ต้องพูดอย่างนั้น

"ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้หน่วยธุรการไปอยู่กับกฤษฎีกาเพียงชั่วคราวแล้วแยกออกมา ถ้าทำอย่างนั้นก็ต้องถามว่าแล้วทำไมไม่ให้ศาลดูแลหน่วยธุรการของศาลปกครองชั่วคราวบ้าง เรื่องนี้คงไม่พูดกันในครม.แต่จะพูดกันเป็นการภายในและจะไม่บอกให้สื่อมวลชนรับทราบด้วย" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว


เสนาะเครียดหารือพรรคร่วม ลงมติรอ รธน.ใหม่

ภายหลังการประชุมครม.แล้ว นายเสนาะได้นำเรื่องศาลปกครองมาหารือกับหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาล ประกอบด้วยนายสมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี นายมนตรี พงษ์พานิช รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมช.มหาดไทย ซึ่งเห็นตรงกันว่าควรจะรอการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก่อนว่า จะให้จัดศาลปกครองในลักษณะใด เพราะถึงแม้ว่าจะเสนอร่างในขณะนี้ ก็ไม่ทันในสมัยประชุมนี้อย่างแน่นอน ดังนั้นรัฐบาลไม่ควรไปเร่งเพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้ง

นายเสนาะกล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมานานแล้ว ก็คิดกันว่าไม่น่าให้เกิดข้อขัดแย้ง ในช่วงนี้เป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังจะแก้ไขปัญหาอะไรต่างๆ ที่หมักหมมเป็นจำนวนมาก และเรื่องศาลปกครองก็ไม่ใช่เรื่องรีบร้อนอะไร ทั้งนี้ระบบเกี่ยวกับความเป็นธรรมก็มีระบบในการปฏิบัติอยู่แล้วทั้ง 3 ฝ่ายประกอบด้วยนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ อะไรต่างๆ ก็ครบอยู่แล้ว

"ถ้ายังไม่เห็นตรงกันก็สามารถที่จะรอว่าสภาร่างฯ กำลังปรับเปลี่ยนระบบเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง จะได้ไม่ต้องแก้กันหลายครั้ง ก็จะได้มาดูว่าการปฏิรูปการเมืองจะออกไปในแนวไหน ก็จะรอตรงส่วนนั้นให้สอดคล้องกันไปเลยทีเดียว"

นายเสนาะกล่าวว่า ควรที่จะต้องรอให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาก่อน จึงจะผลัดดันเรื่องศาลปกครอง แต่การชะลอนี้ไม่ได้เกิดจากการกดดันของผู้พิพากษาที่มีการประชุมลับผนึกกำลังคัดค้านการแยกธุรการศาลปกครองไปขึ้นกับกฤษฎีกา และก็ไม่ถือว่าเป็นการกดดัน แต่เป็นการออกความเห็นร่วมกันอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ถึงกับเป็นมติครม.แต่เป็นการคุยกันในระดับผู้ใหญ่ มีการคุยกันธรรมดาไม่ได้เป็นข้อยุติ

"เป็นความคิดเห็นของหลายคนตรงกัน ผมเห็นว่านายกฯ ก็คงคิดเช่นนี้ เพราะบ้านเมืองกำลังรอแก้ไขหลายเรื่อง ถ้ายังไม่จำเป็นก็รอไว้ก่อน เดี๋ยวข้อยุติต่างๆ นายกฯ จะไปคุยกับประธานศาลฎีกา" นายเสนาะ กล่าว


ชาติพัฒนาหนุนแนวทางจิ๋ว

ทางด้านพรรคชาติพัฒนา ซึ่งเป็นพรรคที่ไม่เคยแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้มาก่อน ก็ได้แถลงแล้วว่าทางพรรคมีความเห็นในแนวทางเดียวกับนายกรัฐมนตรีว่า ให้แยกส่วนงานฝ่ายธุรการของศาลปกครองไปอยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนหน่วยงานศาลปกครองให้เป็นหน่วยงานอิสระซึ่งจะปลอดจากความควบคุมจากฝ่ายบริหาร

"ทุกคนเข้าใจตรงกันในศาลปกครอง ซึ่งได้มีการศึกษามาหลายรัฐบาลแล้ว มาถึงตรงนี้รัฐบาลชุดนี้มีความชัดเจนที่จะให้มีศาลปกครอง ซึ่งทุกคนเห็นด้วย แต่ในทางปฏิบัติแล้วย่อมจะมีความเห็นหลากหลาย แต่ทั้งหมดนี้ทุกฝ่ายต่างเห็นว่าหากให้มีศาลปกครองโดยเร็วจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ผมขอย้ำว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีความขัดแย้งกัน" นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าว


ตุลาการเครียดแก้สถานการณ์ 24 ชม.

นายประดิษฐ์ เอกมณี อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ในฐานะประธานคณะทำงานศาลปกครอง กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยภายหลังเข้าพบนายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ยุติธรรม ว่าขณะนี้คณะทำงานได้หารือกันทางโทรศัพท์เกือบทุกชั่วโมง ตนได้มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายแต่ละฝ่ายทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายไปได้เลย ไม่ต้องรอเข้าที่ประชุม เนื่องจากการดำเนินงานครั้งนี้เป็นงานรีบด่วน อย่างไรก็ตาม วันที่ 24 ม.ค.นี้จะมีการประชุมผู้พิพากษาหัวหน้าศาลทั่วประเทศ เพื่อมอบนโยบายเผยแพร่ความรู้เรื่องศาลปกครองแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง

สำหรับกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา เสนอให้แยกหน่วยงานธุรการศาลปกครองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อหน่วยงานใดนั้น นายประดิษฐ์ กล่าวว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นความต้องการสูงสุดของผู้พิพากษา หลักการที่ถูกต้อง ควรแยกศาลยุติธรรมเป็นอิสระจากกระทรวงยุติธรรมด้วย เพื่อนำหน่วยงานธุรการศาลทั้งหมดไปตั้งอยู่รวมกัน แนวคิดที่ต้องการแยกธุรการออกจากการดูแลของศาล มันเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ขณะนี้ประชาชนมองว่าศาลฎีกาทะเลาะกันเพื่อแย่งอำนาจ แต่ในความเป็นจริง ต้องพิจารณากันด้วยว่าใครเป็นคนอยากแย่งอำนาจ เพราะอำนาจการพิจารณาคดีเป็นของผู้พิพากษาอยู่แล้ว แต่กฤษฎีกาอยากได้อำนาจนี้บ้าง

"ประเด็นที่กฤษฎีกาอ้างว่าระบบคัดเลือกผู้พิพากษาของศาลเป็นระบบปิด ใช้การสอบคัดเลือกใครก็ได้เข้ามาเป็นผู้พิพากษา ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นนั้น ถ้าให้มีการเลือกตั้งผู้พิพากษาในบ้านเมืองเรา คงมีแต่การซื้อเสียงเข้ามาเป็นตุลาการ ระบบศาลของเราคงเละเทะไม่ต่างไปจากการเมืองในปัจจุบัน" อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญากล่าว


ประธานศาลฎีกาเจรจาจิ๋ววันนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายศักดา โมกขมรรคกุล ประธานศาลฎีกา ได้เรียกรองประธานศาลฎีกา ทั้ง 5 คนเข้าประชุมที่ห้องทำงานเพื่อหารือถึงแนวทางคัดค้านการจัดตั้งศาลปกครองที่ให้หน่วยงานธุรการไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นอกจากนั้นนายสุวิทย์ ยังได้เข้าพบนายศักดาด้วย เพื่อชี้แจงผลการประชุมครม. และผลการหารือร่วมกันระหว่างนายสุวิทย์ กับนายโภคิน และในวันที่ 15 ม.ค. พล.อ.ชวลิตจะเดินทางเข้าพบประธานศาลฎีกา เพื่อหารือถึงข้อยุติความขัดแย้งเรื่องศาลปกครอง ซึ่งนายสุวิทย์ได้แจ้งให้นายประดิษฐ์ เอกมณี หัวหน้าคณะทำงานศาลปกครองเพื่อประชาชนเดินทางไปที่ศาลฎีกา เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้พิพากษาต่อนายกรัฐมนตรีด้วย


กฤษฎีกาไม่เห็นด้วยรอสภาร่างฯ

นายอักขราทร จุฬารัตน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า ตนไม่อยากแสดงความคิดเห็น เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แสดงความเห็นไปมากแล้ว ส่วนที่ตุลาการยกพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ระบุว่า ต้องการให้ศาลเป็นเพียงหนึ่งเดียว ตนเห็นว่าตุลาการควรที่จะกลับไปพิจารณาพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ให้ดีกว่านี้ เพราะพระองค์ต้องการให้ศาลยุติธรรมเป็นที่รวมของศาลแพ่งและศาลอาญาเท่านั้น

นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศาสน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นร่างที่สมบูรณ์ที่สุด สมบูรณ์กว่าร่างของกระทรวงยุติธรรมด้วยซ้ำไป สุดท้ายแล้วไม่มีความเป็นศาลเลยแม้แต่น้อย เพราะการส่งคำพิพากษาให้นายกรัฐมนตรีสั่งการผิดกับร่างของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่คำพิพากษามีผลตามกฎหมายทันที

สำหรับประเด็นคณะกรรมการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองสูงสุด ตามร่างกฎหมายของกฤษฎีกา ที่มีนายกรัฐมนตรีประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา และตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ที่นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา คัดเลือกมาอีก 3 ท่าน ซึ่งถือว่าเป็นผู้ใหญ่และเป็นที่ยอมรับของสังคมได้

"ในต่างประเทศระบบการคัดเลือกตุลาการไม่ใช่อย่างนี้ ระบบศาลไทยเราใช้กันมาผิดๆ ด้วยวิธีการใครก็ได้สอบคัดเลือกเข้ามาคัดเลือกกันเอง แล้วมาบอกว่านี่เป็นตุลาการ ซึ่งต่างประเทศเขาต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา"

ต่อข้อถามว่าในเมื่อระบบการเมืองไทยยังไม่พัฒนาเทียบเท่ากับต่างประเทศ และขณะนี้อยู่ระหว่างการรื้อโครงสร้าง โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ จะให้ความมั่นใจได้อย่างไรว่า การเมืองจะไม่เข้าไปแทรกแซงศาลปกครอง นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า หากเราไม่เชื่อระบบประชาธิปไตยก็คงลำบากและการใช้ตัวเองเป็นมาตรฐานการวัดเป็นเรื่องอันตราย แต่ก็เป็นธรรมดาเพราะนักการเมืองอยู่ใกล้อำนาจ แต่ระบบการตรวจสอบยังมีน้อย การเมืองจึงไม่พัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น

ส่วนความต้องการที่จะให้ชะลอเรื่องนี้ไว้ เพื่อดูการยกร่างของ ส.ส.ร. นั้น นายชัยวัฒน์ กล่าวว่าสภาร่างฯ เป็นเรื่องของอนาคต แต่ศาลปกครองเป็นกฎหมายลูกที่ต้องเกิดขึ้นมาอยู่แล้ว ทำไมจะต้องรออนาคต เพราะเมื่อทุกคนเห็นว่าควรตั้งศาลปกครองขึ้นมา ทำไมจะต้องรอถึง 2 ปี หรือเพื่อประวิงเวลาหวังผลบางสิ่งบางอย่างหรือเปล่า



Updated : 15/1/2540
Last updated : 15/6/2550


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #29 เมื่อ: 28-11-2007, 00:25 »

"ปองพล" เย้ยปฏิรูปการเมืองเสียงเรียกร้องคนส่วนน้อย

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการรายวัน
ประจำวันที่ : 29 ก.ค. 39


ปองพลอ้างคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่สนใจปฏิรูปการเมือง มีแต่คนกรุงกับนักวิชาการเท่านั้น ด่าคนเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบเหมือนนิทานหมาป่ากับลูกแกะ สมัครเตือนพรรคร่วมบอกว่าฟรีโหวตเหมือนไม่มีหลักเกณฑ์ แนะควรฟังอภิปรายในสภาก่อน พูนศักดิ์สอนรัฐบาลควรให้ผ่านวาระ 2 ก่อน ถ้าไม่ผ่านวาระ 3 รัฐบาลจึงไม่ต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าไม่ผ่านวาระ 2 จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ วุฒิฯ ใหญ่ชี้ไม่ผ่านเกิดวิกฤตแน่


วานนี้ ( 29 ก.ค.) นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เชื่อมั่นว่าเมื่อถึงเวลาพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211 จะไม่มีปัญหา เพราะตอนนี้อาจจะมีความคิดหลากหลาย แต่เมื่อถึงเวลาทุกคนจะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ และขณะนี้ทางผู้รับผิดชอบกำลังประสานทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายเพื่อหาทางออก

"ความจริงแล้วคนที่สนใจเรื่องนี้มีอยู่แค่ในกทม.และนักวิชาการเท่านั้น แต่ต่างจังหวัดเขาจะสนใจเรื่องปากท้องมากกว่า โดยจะดูว่ารัฐบาลสามารถแก้ปัญหาปากท้องได้หรือ ไม่เขาไม่ได้สนใจว่า 211จะแก้สำเร็จหรือไม่ หรือถ้าสำเร็จแล้วทำให้การกินอยู่ของเขาดีขึ้นหรือเปล่า ซึ่งเราต้องฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศด้วย ผมว่าถ้าเรื่องนี้ไม่ผ่านก็ไม่กระทบกับรัฐบาล เพราะเราสามารถชี้แจงกับประชาชนได้แต่ไม่รู้ว่า จะเหมือนนิทานหมาป่ากับลูกแกะหรือ เปล่าที่พูดอะไรก็ไม่ยอมฟังจะให้ยอมรับผิดท่าเดียว"

ประธานวิปรัฐบาลยังวิจารณ์ถึง ร่างของกรรมาธิการฯ ว่า อยากให้พิจารณากันให้รอบคอบไม่ใช่ต้องให้สภาร่างมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะการเลือกตั้งไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีความรู้เรื่องกฎหมายดี หรือจบอะไรมาก็เป็นได้ แต่ส่วนร่างของรัฐบาลนั้นมีความพอดีอยู่แล้ว เพราะมีผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมมากมาย และมีการกำหนดคุณสมบัติไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะให้มีการฟรีโหวตหรือไม่คงต้องรอดูแนวทางก่อนว่าจะมีใครคัดค้านมากน้อยแค่ไหน

นายเสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคชาติไทย และรมว.สาธารณสุขกล่าว การพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 เพื่อการปฏิรูปการเมืองว่า ไม่ทราบว่าจะเป็นไปในทิศทางใดและเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แต่มีการพูดกันมากว่าการปฏิรูปก็เพื่อป้องกันการซื้อเสียง ซึ่งการซื้อเสียงที่เกิดขึ้นมีฐานมาจากคนดังนั้นการแก้ไขจะต้องปรับเปลี่ยนให้คนมีความรู้ เรื่องประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น เพราะคนที่ต้องการปฏิรูปการเมืองพยายามที่จะนำจุดซื้อเสียงมาเป็นหลักเพื่อต้องการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อมีการเลือกตั้งก็ เห็นว่า การแก้ไขดังกล่าวยังเป็นเรื่องที่มืดมน

ด้านนายสมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่หัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลหลายคนออกมา พูดถึงการฟรีโหวตในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ไม่ถือว่าเป็นการโดดเดี่ยวพรรคชาติไทย เพราะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่ตนไม่อยากให้ใช้คำว่าฟรีโหวต เพราะดูแล้วเหมือนรัฐบาลไม่มีหลักเกณฑ์

"ทำไมต้องออกมาพูดอะไรล่วงหน้า โดยยังไม่ได้ฟังการอภิปรายในสภาเลย ตอนนี้รัฐบาลควรจะอยู่เฉยๆ ควรจะบอกกันแต่ภายใน โดยให้แกนนำเขาหารือกันก่อน แต่ตอนนี้เขายังไม่ได้คุยกันแสดงว่าคงจะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ รัฐบาลเป็นเจ้าของร่างเรายอมรับ แต่ไม่ควรออกมาพูดว่าฟรีโหวต" นายสมัครกล่าวและว่า เรื่องนี้จะหัวหรือก้อยจะไปทางไหนก็แล้วแต่ ก็ไม่มีใครเขาว่าอะไร เพราะแม้แต่วุฒิสมาชิกเองเสียงยังแตกเป็น 3 กลุ่ม หรือแม้แต่แกนนำเองก็ ตามจะหารือกันอย่างไร ก็ต้องฟังการอภิปรายก่อน ถ้ากำหนดท่าทีไปแล้ว แต่ผลการพิจารณาไปอีกด้านหนึ่งเราจะเสียหายได้

นายสมัคร กล่าวว่า เรื่องนี้ยังต้องพูดกันอีกยาว เช่นมาดูว่าจะเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญหรือไม่ "เราไม่ ควรไปบังคับสมาชิกในการแสดงความคิดเห็นตอนนี้ เพราะเรื่องนี้อาจจะมีการลากเข้าไปสู่การพิจารณาในตุลาการรัฐธรรมนูญ เพื่อทำการวินิจฉัย อีกไกลและอาจจะไม่ทันรัฐบาลนี้ก็ได้" หัวหน้าพรรคประชากรไทยกล่าวทิ้งท้าย

นายอดิศร เพียงเกษ ส.ส. ขอนแก่น พรรคนำไทย ฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211 กล่าวว่า ตนเองเป็นผู้หนึ่งที่ของสงวนคำแปรญัตติไว้ เนื่องจากเห็นว่าคณะกรรมาธิการวิสามัญฯที่รัฐสภาตั้งขึ้นไม่น่าจะมีอำนาจไปร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ นอกเหนือไปจากร่างที่รัฐสภารับหลักการไปแล้ว ส่วนเนื้อหาที่ให้มีคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือเป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญตนเองไม่ติดใจ ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเห็นแตกต่างกันได้ในทางรัฐศาสตร์

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา มองว่าผู้ที่คัดค้านสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพราะเกรงว่าต้องเสียเงินในการเลือก ดั้งนั้น นายอดิศร กล่าวว่า ประธานวุฒิสภาไม่เคยลงเลือกตั้ง อาจไม่ทราบปัญหาไม่ได้อยู่ที่เรื่องดังกล่าว แต่อยู่ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ควรพิจารณาร่างรับหลักการซึ่งเป็นบรรทัดฐานประเพณี หากทำกันอย่างนี้ต่อไปการพิจารณาร่างกฎหมายต่างๆ ก็ไม่ต้องมีวาระ 1

นายอดิศรกล่าวอีกว่า พรรคนำไทยมีนโยบายชัดเจนที่ต้องการให้มีการปฏิรูปการเมืองและอยากให้มีการแก้ไขมาตรา 211 ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ส่วนที่มีการเสนอให้ลงมติฟรีโหวตนั้น เมื่อเป็นระบบพรรคการเมืองก็ต้องมีการถกเถียงในพรรคก่อน เรื่องดังกล่าวพรรคนำไทยยังไม่ได้มีข้อยุติจึงยังให้ความเห็นไม่ได้

สำหรับการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 วาระ 2 และ 3 คาดว่ารัฐสภาจะมีการพิจารณาหลังจากที่การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2540 เสร็จสิ้นแล้ว

นายบุญชง วีสมหมาย รองเลขาธิการนายกฯ กล่าวว่า ในวันที่ 6 พรรคความหวังใหม่จะประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของส.ส.ว่าพรรคจะมีมติอย่างไร โดยจะให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไม่ว่าทางรัฐบาลจะเสนอให้ ฟรีโหวตหรือไม่ รัฐบาลก็ไม่ต้องรับผิดชอบเพราะได้เสนอเข้าสู่สภาแล้วถือว่ารัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องนี้อย่างเต็มที่แล้ว ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะเสนอให้ฟรีโหวตแทนที่จะรับร่างของรัฐบาลนั้น ก็เพราะตอนแรกรัฐบาลยังคิดไม่ทัน แต่ตอนนี้ได้พิจารณาอย่างถ่องแท้แล้ว เห็นว่ามีการเปลี่ยนโครงสร้างมาก จึงควรปล่อยให้เป็นการตัดสินใจของสมาชิกส่วนใหญ่

นายจาตุรนต์ ฉายแสง โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญม.211 กล่าวถึง กรณีที่จะมีการลงมติให้ฟรีโหวตในการพิจารณา ม.211 วาระ 2-3 ว่า ข้อเสนอเรื่องนี้ เป็นเรื่องของหัวหน้าพรรคการเมืองบางคนที่ออกมาเสนอความเห็น ซึ่งจะต้องรอดูอีกระยะหนึ่งว่าทาง รัฐบาลและคณะกรรมาธิการจะตกลงกันอย่างไร ส่วนที่ข่าวว่ามีการลอบบี้วุฒิฯ เพื่อให้สนับสนุนร่างของรัฐบาลนั้น ความจริงไม่ได้เป็นการลอบบี้เพียงแต่มีการไปชี้แจงให้วุฒิฯ เข้าใจ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการลงมติในวาระ 2-3 ในการพิจารณานายพูนศักดิ์ วรรณพงษ์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่า โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับร่างกรรมาธิการเนื่องจากต่อสู้มานานแล้ว แต่ก็ไม่เห็นด้วยในรายละเอียดของบางมาตรา ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาเพราะสามารถแก้ไขได้ แต่จริงแล้วกรรมาธิการที่สงวนคำแปรญัตติไว้ในร่างของรัฐบาลที่สภารับหลักการในวาระแรกมาก็สามารถที่จะนำไปพูดในสภาใหญ่ได้ ไม่ถือว่าขัดต่อกฎหมาย เพราะสิ่งที่กรรมาธิการเปลี่ยนแปลงและกำลังดำเนินการอยู่ ในขณะนี้เป็นเหมือนของเถื่อน เพราะจริงแล้วอำนาจของกรรมาธิการจะใหญ่กว่าอำนาจของสภาใหญ่ไม่ได้สภาใหญ่มีอำนาจสูงสุดกรรมาธิการเหมือนเป็นผู้ช่วยสภาใหญ่ร่างของกรรมาธิการก็เปรียบเสมือนกับเสื้อที่ใส่อยู่สามารถถอดได้

นายพูนศักดิ์กล่าวต่อไปว่า ทางออกที่ดีที่สุดขณะนี้คือทั้งรัฐบาลและกรรมาธิการควรเดินเข้ามาหากัน คนละหนึ่งก้าว และจับมือกันนำร่างทั้งสองฉบับมาผสมผสานกัน ส่วนไหนที่ดีก็เอาไว้ ส่วนไหนไม่ดีก็ตัดออกไป ขณะนี้รัฐบาลต้องคิดว่าผลประโยชน์ทางการเมืองคืออะไรที่สำคัญ คือต้องให้พวกลิ่วล้อของรัฐบาลหยุดพูดในเรื่องนี้ เพราะยิ่งพูดก็จะทำให้รัฐบาลเสียหาย โดยเฉพาะการพูดของนายประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ ที่ออกมาพูดว่าเป็นเปรซีเดียมบ้างทำให้รัฐบาลเสียหายและขอให้รู้ว่าวุฒิสภาส่วนหนึ่งเขาคัดค้านในท่าที่ดังกล่าว

สมาชิกวุฒิสภากล่าวต่อว่า ส่วนที่เสนอให้มีการฟรีโหวตนั้น ตนเห็นว่า นายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค กิจสังคม และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน รู้ทางมวยดี จึงเสนอให้มีการฟรีโหวต ซึ่งตนก็เห็นด้วยแต่หากการให้ฟรีโหวตและมีโผจากรัฐบาลส่งมากำกับรัฐบาลก็คงจะทำกันได้เฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลเท่านั้น จะมากำกับสมาชิกวุฒิสภาไม่ได้ และอย่าไปทำให้สมาชิกวุฒิสภาโกรธด้วยการไปบีบบังคับ แม้ว่านายกรัฐมนตรี จะเป็นคนแต่งตั้งมาก็ตาม ซึ่งถ้ารัฐบาลทำเช่นนั้นก็จะทำให้วุฒิแบ่งเป็นสองกลุ่มเหมือนรัฐบาลชุดที่แล้ว และในที่สุดรัฐบาลก็จะเจอกับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ผู้สื่อข่าวถามว่าเรื่องนี้รัฐบาลควรจะประสานงานกับวุฒิสภาให้เข้าใจกันก่อนหรือไม่ นายพูนศักดิ์กล่าวว่า ไม่จำเป็นเพราะอย่างตนรัฐบาลคงไม่มาประสาน เพราะรู้ว่าตนเป็นคนพูดตรงๆ คนที่มาประสานก็มีเยอะ บางคนก็อ้างว่าเจอนายกฯ สัปดาห์ละสามวัน และบอกว่ารัฐบาลต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ ตนขณะนี้สมาชิกวุฒิสภา เขาเอือมระอาหมั่นไส้คนที่มาประสานกันหมดแล้ว และคนที่มาประสานน่าจะเป็นคนที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ พูดอะไรก็มีเหตุผลเหมือนคนที่มีความรู้ไม่ใช่ลูกกระจ็อก

"ผมอยากเตือนว่า มาตรา 211 มีนัยแฝงเร้นอยู่มากกว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้ารัฐบาลยังยืนยันจะเอาร่างของตัวเองยังหน้าด้านอยู่ไม่ลาออก ก็จะเกิดหลุมดำทางการเมืองขึ้นคนจะหลั่งไหลมายังถนนราชดำเนิน โดยมีคนคอยสนับสนุนคอยส่งข้าวส่งน้ำอยู่ข้างๆ ยิ่งกว่าเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 16 ที่ประชาชนสามารถล้มคนใหญ่ได้ รัฐบาลอย่าไปทระนงว่าของตัวเองถูกต้องชอบธรรม หรือคิดว่ามีเสียงข้าง แล้วจะชนะทุกเรื่อง ซึ่งถ้าสภาไม่รับทั้งสองร่างแต่มีการเสนอให้มีการยกร่างใหม่เป็นร่างที่สามขึ้นมาก็มีความเป็นไปได้ แต่ตนเกรงว่าจะเสียเวลา" นายพูนศักดิ์กล่าว

นายพูนศักดิ์ กล่าวว่าถ้ารัฐบาลไม่เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการในการพิจารณาวาระ 2 โดยโหวตให้ร่างเดิมของรัฐบาลชนะไปแล้วในการพิจารณาวาระ 3 ร่างของรัฐบาลเกิดตกไป เพราะทั้งฝ่ายค้านสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนประมาณ 80-100 คนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย และถ้ารัฐบาลทำเช่นนี้รัฐบาลก็ควรเป็น ผู้รับผิดชอบถ้าร่างนี้ตกไปแต่ถ้ารัฐบาลมีความฉลาด ก็ควรช่วยผลักดันร่างของกรรมาธิการในการพิจารณาวาระ 2 เพราะถ้าการพิจารณาในวาระ 3 ร่างนี้เกิดตกไปรัฐบาลก็ไม่ต้องรับผิดชอบเพราะถือเป็นเรื่องของสภาที่คณะกรรมาธิการได้ไปปรับปรุงแก้ไขร่างใหม่ แต่ถ้าร่างนี้เกิดผ่านไปได้ก็จะเป็นผลดีกับรัฐบาล




Updated : 29/7/2539
Last updated : 16/10/2550


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #30 เมื่อ: 28-11-2007, 00:28 »

รัฐบาลถกเครียด รธน.211 ปัดความรับผิดชอบให้สภา

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการรายวัน
ประจำวันที่ : 16 ก.ค. 39


ทำเนียบรัฐบาล/รัฐสภา - รัฐบาลเตรียมทางถอย ปัดความรับผิดชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สภาฯ อ้างผลักดันผ่านวาระแรกแล้ว ถือว่าหมดภาระ บรรหารเรียกประชุมแกนนำ ประเมินสถานการณ์ร่างกรรมาธิการฯ ผ่านยาก เพราะเสียงแตกทั้งส.ส.-วุฒิฯ ยอมรับไม่ขัดหลักการ วิปรัฐบาลสนองนายกฯ คว่ำสภาร่างรธน. มีชัยชี้ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์ตีความข้อบังคับ เตือนรัฐบาลหากใช้ "การเมือง" คว่ำสภาร่างฯ ก็ต้องเตรียมแก้ปัญหาการเมือง


วานนี้ (15 ก.ค.) นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงท่าทีของรัฐบาลต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ว่าเมื่อรัฐบาลส่งเรื่องเข้าสภาและรัฐสภารับหลักการ แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของรัฐสภาจะพิจารณา ซึ่งอยู่ที่เหตุผลอะไรที่เป็นประโยชน์เป็นผลดีแก่ประชาชน รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่

"ผมไม่อยากพูดมากจะทำให้สับสน ส่วนที่สมาชิกมีความเห็นแตกต่างกันนั้นก็เป็นเรื่องของสมาชิกจะแสดงความเห็น" นายบรรหาร กล่าวภายหลังการประชุมแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งมีการหารือถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีความขัดแย้งกันระหว่างกรรมาธิการเสียงข้างมาก กับส.ส.รัฐบาล ในเรื่ององค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งกรรมาธิการแก้ไขร่างที่รัฐบาลเสนอ จากคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นสภาร่างรัฐธรรมนูญปัดไม่ใช่กฎหมายรัฐบาลแล้ว

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่าที่ประชุมแกนนำรัฐบาลได้พูดเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา211 เป็นหลัก และเห็นว่าหลังจากที่รัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อสภา และมีการรับหลักการในวาระที่1ไปแล้ว จึงถือว่าหมดภารกิจของรัฐบาลแล้ว เนื่องจากขณะนี้กฎหมายอยู่ในสภา ไม่ได้เป็นกฎหมายของรัฐบาล

"นายกรัฐมนตรีมีความภูมิใจว่าแนวคิดของรัฐบาลในการแก้ไขมาตรา 211 ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ดังนั้นอะไรต่างๆ ที่จะนำมาปรับปรุงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า รัฐบาลก็จะดูในตอนสุดท้ายว่าร่างที่กรรมาธิการแก้ไขแล้วเป็นอย่างไร ถ้าดีรัฐบาลก็จะให้การสนับสนุนไม่คิดที่จะโต้แย้ง และไม่คิดที่จะเอาเรื่องนี้มาเป็นเกมการเมือง รัฐบาลมองด้วยใจบริสุทธิ์ ว่าเป็นความปรารถนาดีของทุกฝ่ายที่เห็นพ้องต้องกัน"

ต่อข้อถามว่าหมายความว่าถ้าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา รัฐบาลก็ไม่ต้องรับผิดชอบใช่หรือไม่ ร.ต.อ. เฉลิม กล่าวว่าเราไม่ได้มองว่า จะผ่านหรือไม่ แต่ถ้าร่างของกรรมาธิการดี รัฐบาลก็เห็นด้วย รัฐบาลรับผิดชอบในการผลักดันให้แก้ไขมาตรา 211 แล้ว แต่ขณะนี้ยังบอกไม่ได้ว่าจะให้การสนับสนุนร่างของ กรรมาธิการหรือไม่ แต่ยืนยันว่าพร้อมจะสนับสนุนมาตรา 211 ของกรรมาธิการ ถ้าคิดว่าดีกว่าร่างที่รัฐบาลเสนอไป


เฉลิมแนะอย่าไปจริงจังกับรัฐธรรมนูญ

ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ประชุมแกนนำรัฐบาลได้พิจารณาถึงสภาร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่าก็มีเหมือนกัน และเห็นว่าบางส่วนของเราก็ดี แต่บางส่วนของเขาก็ดี เพราะรัฐธรรมนูญไม่มีเรื่องผิดถูก แต่มองได้ทุกมุม ไม่เหมือนการเมืองที่ต้องไปในแนวทางเดียวกันตลอด รัฐธรรมนูญวันนี้กับในอนาคตไม่เหมือนกัน เราอย่าไปจริงจัง จะเป็นจะตายจนต้องทะเลาะกัน แต่ ณ วันนี้ต้องทำให้ดีที่สุด รัฐบาลไม่ห่วงเรื่องการเคลื่อนไหวของทุกฝ่าย เพราะถือว่าทุกคนมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ใช่ส.ส.อย่างเดียว ถือเป็นเรื่องที่ดี

"เพราะถ้าไม่มีการเคลื่อนไหว ก็จะเป็นเผด็จการ อยากขอร้องให้สื่อมวลชน ประชาชน และส.ส.ได้ออกมาเคลื่อนไหว แสดงความคิดเห็นมากกว่านี้ การแก้ไขจะได้มีความชอบธรรมมากขึ้น"


เผย "บรรหาร" ยอมรับไม่ขัดหลักการ

สำหรับประเด็นสภาร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังถกเถียงกันว่าขัดกับหลักการของร่างที่รัฐบาลเสนอในวาระที่1หรือไม่นั้น ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่านายกรัฐมนตรีเรียนกฎหมายจบปริญญาโท ท่านบอกว่าไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะมองได้หลายมุม แล้วแต่ใครจะหยิบตรงที่มีน้ำหนักมาพูด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้รัฐบาลยังไม่ได้นำร่างของกรรมาธิการเปรียบเทียบกับร่างของรัฐบาลว่า อันไหนดีกว่ากัน แต่สุดท้ายแล้วเราจะดูว่าอะไรที่เป็นประโยชน์มากกว่ากัน เป็นเรื่องที่สภาฯ จะว่ากัน รัฐบาลจะไม่ไปบังคับขอร้อง เพราะตรงนี้เป็นหน้าที่ของส.ส.และสมาชิกวุฒิสภา ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลอีกต่อไป โดยเฉพาะ ส.ส.สมัยนี้ไปบังคับเขาไม่ได้ และสมาชิกวุฒิสภาก็มีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้เป็นตรายางเหมือนที่ผ่านๆ มา

ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าต่อไปนี้รัฐบาลจะโยนเรื่องมาตรา 211 ให้กับรัฐสภาใช่หรือไม่ รมว.ยุติธรรม ตอบว่าแน่นอน กฎหมายทุกฉบับต้องโยนให้สภาทั้งนั้น เพราะรัฐบาลทำเองไม่ได้ ถ้าให้รัฐบาลทำฝ่ายเดียวก็ไม่สำเร็จ พวกเราไม่ภูมิใจหรือที่นายกรัฐมนตรีไม่เคยไปลอบบี้สมาชิกวุฒิสภา ท่านบอกว่าสมาชิกวุฒิสภามีอิสระทางความคิด ทุกสมัยที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีมักจะลอบบี้สมาชิกวุฒิสภา แต่นายบรรหารไม่เคยไปก้าวก่ายอะไร ถ้าเป็นประโยชน์รัฐบาลจะสนับสนุนทุกรูปแบบ

"รัฐบาลหมดความรับผิดชอบแล้ว กฎหมายที่ผ่านวาระ 1 จะไปไม่ยุ่งไม่ได้แล้ว รัฐบาลเป็นเจ้าของเรื่อง แต่สภาเป็นเจ้าของความคิด เป็นหน้าที่ของสภาจะไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็ได้" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว


ชี้ร่างกรรมาธิการผ่านยาก-เสียงแตก

นายสมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวว่าที่ประชุมเห็นตรงกันว่ารัฐบาลได้ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ต่อไปเป็นเรื่องของสภาฯ จะถกเถียงอย่างไรก็ย่อมได้ ใครจะเห็นอย่างไรก็สามารถที่จะไปอภิปรายในสภาฯ เรื่องนี้ทางกรรมาธิการจะแบ่งเป็นกี่ฝ่าย ก็เป็นเรื่องของสภาฯทั้ง 2 สภารวมกัน ปัญหาในตอนนี้เกิดจากการเอาแนวความคิดมาใส่แล้วให้เป็นปฏิปักษ์กัน

"เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาลกับสภาฯ แต่เป็นเรื่องของคนที่มีสิทธิ์ที่เถียงกันในสภาฯ ซึ่งเรื่องน่าจะสู้กันข้างใน หรือหารือในวงสัมมนาที่มีความเห็นจากทั้ง 2 ฝ่าย วันนี้แกนนำพรรคร่วมได้บอกนายกฯ ไปว่าท่านไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับเขาแล้ว ถ้าจะแสดงความเห็น ต้องในฐานะ ส.ส.สุพรรณบุรี ที่ผ่านมา เป็นเพราะท่านอยากฟังความและไม่ต้อง การให้เกิดความขัดแย้งกัน" นายสมัคร กล่าวและว่าลองคิดดูว่าการมีสภาที่ 3 เป็นเรื่อง ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะในรัฐธรรมนูญ ระบุให้มี 2 สภา ทำเสร็จออกเสร็จ นำเรื่องกราบบังคมทูลฯเลย ต้องพิจารณากัน

รายงานข่าวแจ้งว่าในตอนท้ายของการหารือ แกนนำรัฐบาลได้ประเมินความเป็นไปได้ที่ร่างของกรรมาธิการจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ซึ่งไม่มีใครกล้ายืนยัน เนื่องจากขณะนี้เสียงของรัฐบาล ฝ่ายค้านและสมาชิกวุฒิสภา ไม่เป็นเอกภาพ แตกออกเป็น 3 ส่วนคือ มีทั้งเห็นด้วยกับร่างของรัฐบาล เห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการฯ และยังไม่ตัดสินใจ เนื่องจากไม่ทราบรายละเอียดและไม่เห็นด้วยกับการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ รัฐบาลจึงต้องหาทางออกด้วยการปัดให้เป็นความรับผิดชอบของรัฐสภา เพื่อที่จะไม่ผูกมัดตัวเองไว้กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 อีกต่อไป


วิปรัฐบาลสนองเติ้งคว่ำสภาร่างรธน.

นายปองพล อดิเรกสาร ประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่าได้เชิญนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส.มหาสารคาม พรรคชาติไทย มาชี้แจงและมอบเอกสารเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ที่เป็นร่างของรัฐบาลและร่างของกรรมาธิการ ทั้งนี้วิปต้องมีการพิจารณาอย่างละเอียดในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง และเท่าที่ฟังความคิดเห็นของวิปส่วนใหญ่ เห็นว่าขอสงวนคำแปรญัตติ โดยจะเสนอตามร่างเดิมของรัฐบาล และในที่ประชุมไม่ได้มีการหยิบยก ประเด็นการยกร่างใหม่ของกรรมาธิการว่า ขัดหลักการหรือไม่ขึ้นมาหารือ แต่ทุกคนไม่เข้าใจว่ากรรมาธิการยกร่างใหม่ขึ้นมาได้อย่างไร ถือเป็นครั้งแรกที่มีเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้น

ประธานวิปรัฐบาล กล่าวว่าการเคลื่อนไหวของส.ส.รัฐบาล หลายคนต้องการให้ร่างเดิมของรัฐบาล โดยไม่รับร่างของกรรมาธิการนั้นคงไม่เกิดวิกฤติขึ้น กรณีของนายประยุทธ์ ซึ่งเป็นส.ส.รัฐบาลถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะยืนตามร่างเดิมของรัฐบาล เนื่องจากสมาชิกไม่รู้ว่าจะแปรญัตติอย่างไร เพราะร่างที่กรรมาธิการเสนอมาเป็นการยกร่างขึ้นมาใหม่ไม่ใช่ร่างเดิม ดังนั้นเรื่องนี้ต้องหารือกันอีกหลายยก


"มีชัย" เชื่อถึงที่สุดต้องมียกร่างใหม่

ทางด้าน นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่าตนเชื่อว่าถึงที่สุดแล้ว การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสามารถผ่านไปได้ เพราะคงจะมีเสียงข้างมากทำให้ผ่านไปได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แล้วแต่ว่าใครจะโน้มน้าวได้มากกว่ากัน ส่วนจะสำเร็จหรือไม่คงบอกไม่ได้เพราะจะกลายเป็นข่าวใหญ่ได้ โดยส่วนตัวเห็นว่าร่างของกรรมาธิการ ไม่ขัดหลักการ เพราะรัฐบาลเขียนหลักการมากว้าง เมื่อมีทั้งฝ่ายมองว่าไม่ขัดกับอีกฝ่ายที่มองว่าขัดหลักการ ก็ต้องไปรอดูในรัฐสภาว่าเหตุผลใครจะดีกว่ากัน

"ก็ต้องไปดูผลสุดท้ายว่าต้องการอะไร คำตอบคือรัฐบาลต้องการให้มีการตั้งองค์กรขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการฯก็ได้มีการแก้ไขให้การตั้งองค์กรหรือสภาร่างขึ้นมา ส่วนองค์กรดังกล่าวจะเป็นอย่างไรก็ต้องไปพูดกันในสภา"


ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจตีความ

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากร่างดังกล่าวไม่สามารถตกลงกันได้ จะต้องให้ตุลาการรัฐธรรมนูญตีความหรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่าข้อถกเถียงปัจจุบันนี้ ตนก็รู้สึกสับสนเหมือนกัน เพราะถ้าจะมีการตีความจะต้องไปตีความที่ข้อบังคับ เพราะตามรัฐธรรมนูญไม่มีอะไรมาบ่งบอกชัดเจนว่าจะแก้กันอย่างไร ซึ่งการตีความข้อบังคับนั้น ก็ไม่ใช่หน้าที่ของตุลาการรัฐธรรมนูญตีความ ไม่เช่นนั้นต่อไปก็คงไม่ต้องมีสภา

นายมีชัย กล่าวถึงกรณีที่เกรงกันว่าการแก้ไขมาตรา 211 จะนำไปสู่วิกฤตเหมือนที่ผ่านมาว่า แล้วแต่ใครจะมองอย่างไร แต่ถ้ามองในระบอบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ไม่น่าจะใช่เรื่องวิกฤต น่าจะเป็นความเห็นของคนที่ไม่ลงรอยกันมากกว่า คิดว่าครั้งนี้น่าจะใช้หลักว่าเสียงข้างมากไปทางไหนก็ยึดทางนั้น เราจะไปบอกว่าแนวทางนี้ถูกหรือผิดเลย ไม่ได้ ต้องให้เวลาเป็นเครื่องตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม หากร่างฉบับนี้ไม่ผ่านก็คงเป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะดูว่าร่างนี้ไม่ผ่านเพราะอะไร ถ้าร่างไม่สมบูรณ์ก็นำกลับมาเสนอใหม่ แต่ถ้าไม่ผ่านเพราะเรื่องการเมือง ก็ต้องให้กลไกทางการเมืองในการแก้ปัญหาเพื่อเดินหน้าต่อไป ส่วนจะเป็นวิธีใดก็แล้วแต่รัฐบาลจะคิด

ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้สมาชิกวุฒิสภาถือเป็นตัวชี้ขาดของร่างนี้ว่า จะสนับสนุนร่างของรัฐบาล หรือร่างของกรรมาธิการเสียงข้างมาก ซึ่งมีฝ่ายค้านรวมอยู่ด้วย นายมีชัย กล่าวว่าไม่น่าจะใช่ เพราะตนยังไม่รู้ว่าสมาชิกวุฒิสภา แต่ละคนมีความเห็นอย่างไร ขณะนี้อยู่ในระยะที่ต่างคนต่างแสดงความเห็นกัน จึงยังบอกไม่ได้ว่าจะออกมาในรูปแบบใด เพราะสมาชิกวุฒิสภาบางคนอาจต้องฟังการชี้แจงในสภาก่อนจึงตัดสินใจ ยกเว้นบางคนที่ มั่นใจก็ตัดสินใจไปก่อนเลย ซึ่งเราก็คงจะไปตำหนิไม่ได้

"เวลาโหวตอะไรแล้วความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาล หากเรื่องนั้นเป็นการประชุมร่วมระหว่างส.ส.และ ส.ว. ก็จะมองว่าวุฒิสมาชิกจะเป็นตัวชี้ขาดเสมอ ซึ่งความจริงวุฒิฯ ก็ไม่ใช่ว่าจะมีเสียงเอกฉันท์เสมอไป บางเรื่องก็แบ่งกันเป็น 2 ฝ่าย 3 ฝ่าย เพราะฉะนั้นก็คงต้องรอดูวันอภิปรายว่าจะเป็นอย่างไร อย่าเพิ่งไปกังวลมาก เพราะวุฒิฯ เวลาลงคะแนนหรือแสดงความเห็นอะไร ก็มักจะนึกถึงเหตุผลต่างๆ รอบตัว แต่ละคนก็ล้วนเป็นผู้ที่มีคุณวุฒิและมีประสบการณ์ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่ใครจะไปบังคับก็คงไม่ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเองก็ต้องทราบเรื่องนี้ เพราะรายชื่อของคนที่เป็นวุฒิฯแต่ละคน ได้ผ่านสายตานายกฯ ทุกคน ดังนั้นนายกฯ ก็ต้องรู้ว่าใครเป็นอย่างไร" ประธานวุฒิสภา กล่าว


จัดประชุมวุฒิฯ อีกรอบก่อนถกวาระ 2

นายมีชัย กล่าวด้วยว่าการที่มีการวิจารณ์การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 211 กันมากถือเป็นเรื่องดี ซึ่งกรรมาธิการฯ จะได้นำไปไตร่ตรองและปรับปรุงหากร่างนั้นดี แต่ถ้าเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กรรมาธิการฯ ก็ต้องเตรียมคำชี้แจงสำหรับวุฒิสภา จะมีการฟังคำชี้แจงจากกรรมาธิการอีกหรือไม่ ยังบอกไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าสมาชิกวุฒิสภาต้องการฟังเหตุผลจากกรรมาธิการอีกหรือไม่ แต่ทั้งนี้เมื่อร่างเสร็จสมบูรณ์แล้ว อาจจะมีการเชิญมาชี้แจงอีกครั้ง แต่คงจะเป็นการชี้แจงเกี่ยวกับหลักการและเหตุผลเท่านั้น จากนั้นแต่ละคนจะนำกลับไปคิดเองว่าเห็นด้วยกับเหตุผลของกรรมาธิการหรือไม่ ก่อนตัดสินใจยกมือ

ผู้สื่อข่าวถามถึงการล็อบบี้ให้ร่างดังกล่าวไม่ผ่านการพิจารณาของสภาในวาระ 2 นายมีชัย กล่าวว่า การล็อบบี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา ใครมีความเห็นอย่างไรอยากให้คนอื่นเห็นด้วยก็จะโน้มน้าวใจให้เห็นด้วยกับตน ซึ่งตนเห็นว่าหากคำว่า ล็อบบี้ มีความหมายเพียงเท่านี้ก็คงไม่เป็นไร เพราะแต่ละคนมีความคิดเป็นอิสระ


สันต์ยกพวกเค้นคอเติ้งต้องมีรธน.ใหม่

วันเดียวกันนี้ นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ ประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตย พร้อมด้วยนายพิเชียร อำนาจวรประเสริฐ เลขาธิการชมรมนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย ตัวแทนองค์กรแรงงาน และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อขอคำยืนยันในการผลักดันให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 สำเร็จ

นพ.สันต์ กล่าวว่ารัฐสภาควรจะพิจารณาว่าจะรับร่างใดร่างหนึ่ง จากนั้นก็พิจารณาไปตามร่างนั้น เพราะถ้าไม่รับร่างดังกล่าวก็จะตกไปเลย ซึ่งจะทำให้การแก้ไขมาตรา 211 ไม่เกิดขึ้น

"ผมผิดหวังกับอาจารย์ชัยอนันต์ จริงๆ ที่ไปพูดว่าประธานรัฐสภาจะเป็นผู้เลือกคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญตามร่างของรัฐบาลโกหกชัดๆ นักวิชาการต้องมีสัจจะ เพราะตอนนี้ไปคาดหวังกับนักการเมืองไม่ได้แล้ว แกบอกว่าจะไม่รับเป็นวุฒิฯ แต่ก็มาเป็นในเมื่อคนเราไม่มีสัจจะก็เชื่อถือกันไม่ได้แล้ว" นพ.สันต์ กล่าวและว่าในการเข้าพบนายกรัฐมนตรี ก็ได้รับคำชี้แจงจากนายกรัฐมนตรีว่าไม่เคยล็อบบี้นายชัยอนันต์ เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และนายกรัฐมนตรียังยืนยันด้วยว่าไม่ได้ไปพบกับนายชัยอนันต์ เป็นการส่วนตัว

ประธานสมาพันธ์ กล่าวอีกว่านายบรรหารยังย้ำด้วยว่าไม่เห็นด้วยกับสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่าถ้าให้สมาชิกสภาร่างฯ มาจากการเลือกตั้งก็จะส่งคนของตัวเองไปเลือกตั้งใน จ.สุพรรณบุรี และจะพยายามผลักดันให้ถึงที่สุดให้คนของตัวเองได้เข้าไปร่วมร่างรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งตนเห็นว่า เป็นช่องโหว่ในสภาร่างฯ ที่จะเปิดโอกาสให้นักเลือกตั้งและข้าราชการเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อมาปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง การที่กรรมาธิการฯ บอกว่าไม่มีผลประโยชน์ อยากถามว่าในอดีตที่ผ่านมาประชาชนจึงร่างไม่สำเร็จ เว้นแต่ต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต หรือต้องปฏิวัติยึดอำนาจเท่านั้น

นพ.สันต์ กล่าวว่ารัฐบาลจะต้องรับผิดชอบผลักดันให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้สำเร็จ ไม่ใช่แค่ผลักดันในวาระแรกเท่านั้น เพราะเรื่องนี้เป็นนโยบายหลักของรัฐบาลจะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ถ้ารัฐบาลทำไม่ได้ ก็ไม่มีทางออกอื่น นอกจากยุบสภาหรือลาออก เพราะเมื่อรัฐบาลเห็นว่ากำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน แต่สภาฯ ไม่เห็นด้วย แสดงว่าสภาไม่มีคุณภาพและคุณธรรมเพียงพอ จึงเป็นเหตุผลที่จะยุบสภาฯ

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเข้าพบนายบรรหาร นพ.สันต์ และคณะได้กลับไปด้วยความไม่พอใจ เนื่องจากไม่ได้รับคำยืนยันตามที่ต้องการ เนื่องจากนายบรรหารย้ำเพียงว่าเป็นเรื่องที่รัฐสภาต้องพิจารณา รัฐบาลหมดหน้าที่แล้ว นพ.สันต์ และแกนนำสมาพันธ์จึงได้หารือกันเพื่อจะกำหนดแนวทางเคลื่อนไหวต่อไป




Updated : 16/7/2539
Last updated : 31/8/2550


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการรายวัน
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #31 เมื่อ: 28-11-2007, 00:29 »

ร่างม 211 ถึงสภา 25 กค.นี้จิ๋วชี้มีปัญหาทั้งรัฐบาล-กมธ.

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการรายวัน
ประจำวันที่ : 18 ก.ค. 39


รัฐสภา - กรรมาธิการแก้ไขร่างมาตรา 211 เสร็จเรียบร้อยแล้ว รอตรวจทานถ้อยคำ 24 ก.ค.ก่อนเสนอสภา 25 ก.ค.นี้ ชัยอนันต์ออกสส.รัฐบาล นายว่าขี้ข้าพลอย ที่ออกมาตอบโต้กรณีแฉบรรหารลอบบี้เลื่อนประชุมกรรมาธิการฯ ชุมพลตีรวนประชุมกรรมาธิการฯ ถ่วงเวลาไม่รับรองรายงานการประชุม จิ๋วเผยความหลังใหม่มีคำตอบอยู่ในใจ ชี้จุดอ่อนร่างรัฐบาลลงประชามติรายมาตราจะวุ่นวาย ส่วนของกรรมาธิการก็ขัดรัฐธรรมนูญเรื่องการใช้พระราชอำนาจค้านเลือกตั้งสภาร่าง ชี้เงินสะพัดแน่แนะปรับสองร่างเข้าหากันด้านชวน หลีกภัย ยังสงวนท่าที


วานนี้ (17 ก.ค.) นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (มาตรา 211) ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการฯ นัดสุดท้าย เพื่อตรวจสอบรายละเอียดของร่างแก้ไข ก่อนนำเสนอต่อรัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายอัษฎางค์ ปาณิกบุตร กรรมาธิการฯ ได้กล่าวกับนายชัยอนันต์ ถึงกรณีที่ระบุว่าถูกนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี เรียกไปขอให้เลื่อนการประชุม จนทำให้ส.ส.รัฐบาลหลายคนแสดงความไม่พอใจและต่อว่าอย่างมาก ซึ่งนายชัยอนันต์ได้กล่าวตอบว่าตนขอยืนยันในคำพูดดังกล่าวว่า การพูดของตนเป็นการพูดกับนายบรรหาร ไม่ใช่พูดกับคนอื่น และนายบรรหารเองก็ไม่ได้ออกมา บอกว่าตนพูดโกหก ซึ่งตนคงต้องยึดหลักสุภาษิตโบราณที่แม่เคยสอนมาว่า "นายว่าขี้ข้าพลอย"

เมื่อนายชัยอนันต์ กล่าวถึงตรงนี้ นายชุมพล ศิลปอาชา น้องนายบรรหาร ซึ่งเป็นกรรมาธิการฯ อยู่ด้วยถึงกับแสดงสีหน้าเคร่งเครียดทันที และกล่าวกับนายชัยอนันต์ว่าไม่ควรพูดเช่นนี้อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ควรให้ผ่านไป ชุมพลตีรวนไม่รับรองรายงานประชุมจากนั้นที่ประชุมจึงได้เข้าสู่วาระการประชุม โดยเริ่มจากการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานผลการประชุม เมื่อวันที่ 11 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีปัญหาวุ่นวายเกิดขึ้นเมื่อนายชุมพล ขอสงวนบันทึกการประชุมตั้งแต่หน้า 4-7 โดยอ้างว่ายังไม่ได้อ่านรายละเอียดจึงจะขอนำกลับมารับรองในการประชุมคราวหน้า ไม่จำเป็นต้องมารับรองวันนี้ เพราะไม่ได้รีบร้อนอะไรขนาดนั้น แต่กรรมาธิการฯ หลายคนรวมทั้งนายชัยอนันต์ โต้แย้งว่าจะทำให้เสียเวลา ถ้าหากนายชุมพลสงวนไว้และมีการแก้ไข จะทำให้สมาชิกคนอื่นโต้แย้งและต้องเลื่อนการประชุมออกไปอีก

อีกทั้งผลการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่จะให้เสร็จสิ้นวันนี้ จะต้องให้เจ้าหน้าที่พิมพ์เป็นรายงาน แต่นายชุมพลก็ยังยืนยันว่าจะนำกลับไปอ่านที่บ้าน เมื่อถึงช่วงนี้ นายชัยอนันต์จึงกล่าวว่าที่ประชุมจะรอให้นายชุมพลอ่านบันทึกการประชุมเสร็จก่อน เพื่อจะได้รับรองเพราะนายชุมพลเป็นถึงอาจารย์ที่มีความรู้ น่าจะใช้เวลาไม่นานในการอ่านเอกสาร 3-4 หน้า ทำให้นายชุมพลแสดงอารมณ์ไม่พอใจทันที และพูดขึ้นว่า "ประธานพูดอย่างนี้ไม่สวย พูดประชดเช่นนี้ไม่ถูกต้องเด็กๆ ฟังก็รู้" นายชัยอนันต์จึงพูดขึ้นว่า "เดี๋ยวนี้เป็นอะไร ผมพูดอะไรก็ชอบแปรเจตนาไม่ดีอยู่เรื่อย" แต่ก็ยอมถอนคำพูดและขอให้ไปรับรอง การประชุมภายหลังเลิกประชุม ต่อจากนั้นประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง นายชุมพลก็ได้แจ้งว่าอ่านบันทึกการประชุมเสร็จแล้ว ที่ประชุมจึงได้รับรองรายงานโดยไม่มีปัญหาอีก


ส่ง 5 แกนนำวุฒิฯชี้แจงวาระ 2

การประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ได้มอบหมายให้นายสมภพ โหตระกิตย์ ไปยกร่างตามมติกรรมาธิการฯ ซึ่งมีการแก้ไขถ้อยคำเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นเป็นการแต่งตั้งกรรมาธิการฯ ที่จะทำหน้าที่ชี้แจงข้อซักถามของสมาชิกในการพิจารณาวาระ 2 และ 3 ซึ่งหลายคนเสนอว่าไม่ควรจะกำหนดโดยน่าจะให้กรรมาธิการฯ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้ชี้แจงให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นในที่สุดที่ประชุมจึงมีข้อสรุปคร่าวๆ ว่าจะให้ผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น นายสมภพ นายวิษณุ เครืองาม นายไพศาล กุมาลย์วิสัย พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ และนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นหลักในการชี้แจง นอกนั้นผู้ที่เสนอส่วนใดให้ชี้แจง ส่วนนั้นสำหรับประธานคณะกรรมาธิการฯ จะเป็นผู้ชี้แจงหลักการและเหตุผล โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่ว่ากรรมาธิการทำผิดกฎหมายและขัดหลักการ

พล.ร.อ.เกาะหลัก เสนอต่อที่ประชุมว่าในการชี้แจงกรรมาธิการไม่ต้องไปโต้เถียงว่าร่างที่กรรมาธิการฯ แก้ไขผิด หลักการหรือไม่ มิฉะนั้นเรื่องจะไม่จบ แต่ควรชี้แจงถึงเหตุผลให้สภารับทราบ ขอให้ทุกคนอดทนอดกลั้น เพราะต้องมีการกระแหนะกระแหนเรื่องนี้แน่นอน หน้าที่ของเราก็คือต้องชี้แจงว่า ร่างที่กรรมาธิการฯแก้ไขไม่ได้ทิ้งหลักการของรัฐบาล เพียงแต่แก้ไขสาระจึงไม่ควรเอาเรื่องของสาระมายึดเป็นหลักการ

นายอลงกรณ์ พลบุตร โฆษกคณะกรรมาธิการฯ แถลงภายหลังการประชุมว่าที่ประชุมได้นัดตรวจร่างที่เจ้าหน้าที่ไปพิมพ์อีกครั้งในวันที่ 24 ก.ค.นี้ และจะนำเสนอต่อสภาในวันที่ 25 ก.ค. สรุปแล้วกรรมาธิการฯ มีการประชุมทั้งสิ้น 13 ครั้ง มีผู้ขอแปรญัตติอภิปรายในสภา 23 คน นายสมภพ กล่าวว่าหากทุกคนมองที่เหตุผลก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าคนใดมีความคิดว่าอย่างนี้ถูกเพียงอย่างเดียวก็ช่วยไม่ได้ก็คงต้องปล่อยให้เป็นความคิดของแต่ละคน


ชัยอนันต์มั่นใจเข้าสภาไม่มีปัญหา

นายชัยอนันต์ กล่าวว่ามั่นใจว่าการพิจารณาในสภาคงไม่มีปัญหาเพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่มีความเห็นแตกต่าง กรรมาธิการฯ ได้นำร่างที่ผ่านสภาในวาระ 1 โดยพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบและเห็นว่าสิ่งที่แก้ไขมาทำดีที่สุดแล้ว ไม่ได้ขัดหลักการจากร่างเดิม และการที่บางฝ่ายเห็นว่าน่าจะกลับไปใช้ร่างเดิมของรัฐบาลก็เป็นเรื่องธรรมดาในระบอบประชาธิปไตย แต่ละคนสามารถแสดงความคิดเห็น ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับจะพิจารณาอย่างไร อย่างไรก็ตาม มีส.ส. รัฐบาลหลายคนบอกว่ามีสมาชิกจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาลต้องการให้มีการฟรีโหวต แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องแล้วแต่สภาไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ตนพร้อมที่จะเจ็บตัวบ้างก็ยอม

ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความมั่นใจแค่ไหนว่าร่างของกรรมาธิการฯ จะได้รับการยอมรับในรัฐสภา นายชัยอนันต์ กล่าว ว่ากรรมาธิการฯ หลายคนได้ทำงานอย่างหนักและคิดว่าสมาชิกที่จะออกเสียงในเรื่องนี้มีวุฒิภาวะ มีเหตุผลที่จะไตร่ตรอง เรื่องนี้อย่างรอบคอบ ตนทำหน้าที่ด้วยสำนึกในการเป็นวุฒิสมาชิกที่ได้ปฏิญาณตนในสภา ดังนั้นขอให้ทุกคนมีน้ำใจเป็นนักกีฬามีเหตุผล คนทำตรงนี้มั่นใจว่าดีที่สุดแล้วเพราะผลสรุปทั้ง หมดเป็นมติของเสียงส่วนใหญ่ในกรรมาธิการฯ ดังนั้นจะต้องยอมรับในกติกา

นายชัยอนันต์ กล่าวย้ำว่า นายบรรหารได้ขอให้ตนเลื่อนการประชุมกรรมาธิการฯ ออกไปจากที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งหลังเข้าพบนายบรรหารแล้ว ตนก็ไม่ได้ให้สัมภาษณ์อะไร นายกรัฐมนตรีก็รู้อยู่แก่ใจถึงเหตุการณ์ในวันนั้น การที่นายกรัฐมนตรีพูดในทำนองว่าจะเลือก คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญเอง ท่านพูดในลักษณะว่า ปกติก็มีคณะกรรมการเลือก เช่น การแต่งตั้งวุฒิสมาชิกที่ผ่านมา ท่านก็สามารถเลือกคนดีๆ ได้ แต่ตนก็เรียนท่านว่าผลสรุปที่ได้กรรมาธิการฯ มีมติด้วยเสียงเอกฉันท์หลายประเด็น และขอให้ตนได้ทำหน้าที่ไปตามการดำเนินการของกรรมาธิการฯ ส่วนที่กรรมาธิการฯ บางส่วนออกไปพูดข้างนอก และมีการเคลื่อนไหวจนถึงขณะนี้ก็เป็นสิทธิของแต่ละคน


เกาะหลักยันบรรหารขอให้เลื่อนประชุมจริง

พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่าในการพบนายกรัฐมนตรีวันนั้น ตนก็อยู่ด้วย เพราะ นายกรัฐมนตรีห่วงใยที่มีความเห็นต่างกัน เกรงว่าจะมีปัญหาถกเถียงในที่ประชุมจึงขอให้เลื่อนประชุมออกไป แต่เมื่อได้รับการยืนยันจากนายชัยอนันต์ว่าเลื่อนไม่ได้ ท่านยังขอให้ไปตกลงกันให้ได้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและถูกมองได้ว่าเป็นการดึงเกมในกรรมาธิการ

"ผมยืนยันได้ว่านายกฯไม่ได้เข้า มาก้าวก่ายงานของกรรมาธิการฯ เพราะเมื่อสภาใหญ่มอบหมายให้กรรมาธิการฯ ซึ่งถือเป็นสภาเล็กไปพิจารณา ทุกฝ่ายก็ต้อง เคารพมติของฝ่ายนิติบัญญัติที่มีศักดิ์ศรี และสามารถช่วยเหลือบ้านเมือง ในส่วนของรัฐบาลเองก็ถือว่าไม่ได้เสียหาย เพราะได้ทำหน้าที่ในการเสนอร่างแก้ไขในวาระ แรกแล้ว เมื่อสภาเล็กนำมาแก้ไขอย่างไร ก็เป็นหน้าที่ที่ต้องอธิบายกับประชาชนเอง"


เตรียมทางแก้ข้อหาขัดรัฐธรรมนูญ

แหล่งข่าวเปิดเผยว่าจากการที่กรรมาธิการฯ เสียงส่วนน้อยที่สงวนคำแปรญัตติ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับบางประเด็นของคณะกรรมาธิการฯ เสียงส่วน ใหญ่ นายบวรศักดิ์ อุวรรโณ กรรมาธิการฯ จึงได้จัดทำร่างอีกหนึ่งฉบับ โดยมีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกับของคณะกรรมาธิการฯ เพียงแต่เพิ่มในวงเล็บ 2 ของหลักการ เพิ่มวงเล็บ 16, 17, 18 และ 19 ของมาตรา160 คือ เพิ่มให้สมาชิก 2 สภาเข้าชื่อไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเสนอความเห็นให้สภามีมติดำเนินการให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ส่งร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นให้ประธานรัฐสภาแจ้งให้สมาชิกรับทราบ นอกจากนี้กรณีสภาผู้แทนฯถูกยุบไปให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา

"ร่างของนายบวรศักดิ์ สงวนคำ แปรญัตติไว้เป็นการแก้ทางตัน กรณีรัฐบาลไม่ยอมรับหลักการในร่างของกรรมาธิการฯ โดยเฉพาะประเด็นที่มีการกล่าวว่าขัดหลักการออกกฎหมายที่ร่างของกรรมาธิการฯ ให้ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้นำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯ ในหลวงโปรดเกล้าฯ โดยที่ไม่ต้องผ่านสภา" แหล่งข่าวกล่าว


จิ๋วชี้มีปัญหาทั้งสองร่าง

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เปิดเผยว่า ในการประชุมพรรคความหวังใหม่ ตนได้ชี้แจงกับส.ส.ในพรรคให้ตื่นตัวและมีความคิดที่ถูกต้อง ในการติดตามข้อมูลในอนาคตเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211 ซึ่งมีการพูดกันหลายเรื่องหลายประเด็น เช่น กรณีที่นายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมาธิการฯ ของพรรคพูดถึงมติกรรมาธิการฯ ถือเป็นเรื่องปกติที่ไม่เกี่ยวกับพรรค เพราะเรื่องนี้ต้องหารือในที่ประชุมพรรคก่อนซึ่งทุกคนก็เข้าใจ

"ร่างของกรรมาธิการฯ มีการติติงว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 3 ที่ระบุว่า ให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจ ผ่านฝ่ายบริหารนิติบัญญัติ และศาล แต่ในวิถีทางของกรรมาธิการฯ หมายถึง ว่าทำเสร็จไม่ต้องกลับเข้าสู่สภา ถือว่าเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้บางคนก็ยังบอกว่าผิดหลักการเดิม แต่ไม่ได้หมายความว่าพรรคความหวังใหม่ไม่เห็นด้วย ทั้งนี้ที่มีการพูดกันก็วิจารณ์ในประเด็นเหล่านี้ เช่นพูดว่า อยู่ดีๆ พูดกันเรื่องไก่ คนแปรญัตติก็ต้องแปรเป็นไก่โต้ง ไก่ขาว ไก่ดำ แต่พอออกมาจริงๆ พูดกันเรื่องไก่ แต่กลายเป็นเรื่องหมูไม่ถูกต้อง เพราะพูดเรื่องไก่ก็ต้องไก่ให้จบ"

พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่าพวกเราแสดงความห่วงใย เพราะเห็นความบริสุทธิ์ใจของคณะกรรมาธิการฯ ที่ต้องการให้ร่างรัฐธรรมนูญมาจากประชาชนจริงๆ แล้วมาตำหนิว่าไม่ให้ใช้สภาเพราะมาจากการซื้อเสียง แต่กลับกลายเป็นว่าที่มาของสภาร่างก็ต้องมาจากการเลือกตั้งอีก สิ่งที่นายกรัฐมนตรีพูดว่ากลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องแสดงศักดิ์ศรี เช่น พรรคความหวังใหม่ในภาคอีสานก็ต้องสู้กันสุดฤทธิ์ แทนที่จะเก็บกระสุนต่างๆ ไว้คนละหนึ่งล้าน ก็ไม่ต้องเก็บเงินทองยิ่งหายากอยู่

"ขณะเดียวกันร่างของรัฐบาลก็มีจุดที่ติติง เช่น เมื่อตกลงไม่ได้ต้องไปขอประชามติทุกมาตราอย่างนี้ตายแน่ ซึ่งผมก็ไม่ได้ถือว่าใครผิดใครถูก แต่อยากให้ทุกคนหาข้อเท็จจริงอยู่บนทางสายกลาง เอาความดีของสองด้านมาประสานกัน เพื่อให้ได้สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งทางสายกลาง เช่น ร่างของรัฐบาลก็ต้องขอประชามติทุกมาตรา อย่าไปทำอย่างนั้นให้ขอประชาชามติครั้งเดียว หรือการเลือกตั้งของสมาชิกสภาก็ไม่ว่าอะไร แต่ที่แต่งตั้งต้องทัดเทียมกัน ถ้าทำอย่างนี้จะแก้ไขได้ ส่วนกรณีที่บางคนคิดว่า บิ๊กจิ๋ว หรือทหารยึดอำนาจขอยืนยันว่าไม่ยึด อีกประเด็นหนึ่งคือ ตั้งเป็นบุคคลถ้าสภายุบไปก็ยังอยู่ ซึ่งถือว่าเป็นการแสวงหาทางออกร่วมกัน"


เผยหวังใหม่มีร่างใหม่อยู่ในใจแล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่พรรคความหวังใหม่จะยกร่างของตนเองขึ้นมา พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าพรรคความหวังใหม่พูดเรื่องการแก้ไขมาตรา 211 มาตั้งแต่สมัยที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดข้าวอยู่ที่หน้าสภาฯ เราเป็นคนเสนอคนแรก แต่ขณะเดียวกันเราเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล ก็ต้องฟังรัฐบาลต้องฟังกรรมาธิการฯ ด้วย เอามาผสมกัน ขณะนี้ตนได้คิดไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม คิดว่าร่างแก้ไขมาตรา 211 ต้องเข้าสู่สภาได้ทันสมัยประชุมนี้ให้ได้และความคิดของตนก็คงไม่ต้องเสนอให้พรรคร่วมรัฐบาล เพราะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนก็รู้กันหมดแล้ว

ต่อข้อถามว่าพรรความหวังใหม่จะแสดงจุดยืนในเรื่องนี้เหมือนกรณีมาตรา 198-199 หรือไม่ หัวหน้าพรรค ความหวังใหม่ กล่าวว่าถ้าเป็นเรื่องจะเป็นจะตาย และถ้าไม่ทำแล้วมีความเสียหาย พรรคก็ต้องแสดงจุดยืนอย่างตรงไปตรงมา อย่างเช่นกรณี 198-199 เราก็บอกเป็นเดือนๆ ไม่ให้เขาวิตกว่าเราจะเอากับเขาด้วยหรือไม่ ต้องตรงไปตรงมา แต่มาตรา 211 ไม่ใช่เรื่องจะเป็นจะ ตาย เป็นเรื่องที่จะต้องแก้ไขเท่านั้นและให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของและมีส่วนในการร่วมปกครอง มีโอกาสได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์ของบ้านเมือง


ยอมรับระบบปัจจุบันใช้ไม่ได้

พล.อ.ชวลิต กล่าวอีกว่าตนเชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 211 มีโอกาสที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา และคิดว่าความรู้สึกของคนไทยอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ดีและเป็นของประชาชน โดยไม่อยากให้ซื้อเสียงและไม่อยากเลือกรัฐมนตรีที่เป็นอยู่ พร้อมทั้งอยากให้มีระบบตรวจสอบผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐมนตรี เพราะที่ผ่านมาการตรวจตราไม่ได้ผล แต่ไม่คิดว่าเรื่องนี้ประชาชนจะออกมาเรียกร้องเพราะบ้านเราต้องอดทน ถ้าทนไม่ได้จริงๆ หรือหนักจริงๆ ค่อยออกมา แต่ขณะนี้รัฐบาลได้พยายามทำเรื่องนี้อย่างเต็มที่

"ที่มาเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบนั้น ความจริงแล้วอย่าว่าแต่รัฐบาลเลย ทุกคนในแผ่นดินทุกคนในสภาต้องรับผิดชอบเหมือนกัน เรื่องสำคัญๆ จะให้รัฐบาลรับผิดชอบคนเดียวได้อย่างไร โดยเฉพาะส.ส.ในสภาจะมาโยนว่าเอ็งรับ กูไม่รับไม่ได้ เป็นเรื่องสำคัญต้องรับตายก็ตายด้วยกัน อยู่ก็อยู่ด้วยกัน เรื่องอย่างนี้นักเลงเขาถือกัน" พล.อ.ชวลิต กล่าว

สำหรับที่มีการกล่าวหานักการเมืองซื้อเสียงนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ในต่างประเทศก็มีการใช้เงินทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเขาจะดีกว่าประเทศไทย ขณะนี้เรากำลังจะทำในสิ่งที่เกิดไม่ได้ บอกมาที่ไหนไม่ใช้เงินบ้าง ทุกประเทศที่มีการเลือกตั้งใช้เงินกันหมด แล้วเรากำลังบอกว่า ไม่ให้ใช้เงินอยากรู้ว่าขอบเขตอยู่ตรงไหน การแจกกระติกน้ำเป็นการซื้อเสียงหรือเปล่า เรากำลังพัฒนาการเมืองด้วยระบบ ไม่ใช่ระบอบต้องยอมรับว่าบ้านเมืองเราไม่ใช่ประชาธิปไตยแล้ว แทนที่จะเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย กลับมาเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ เพราะระบอบประชาธิปไตยก็มีระบบรัฐสภา ระบอบเผด็จการก็มีระบบรัฐสภา ถ้ายังมุ่งเน้นระบบรัฐสภา โดยไม่ดูหรือแก้ไขที่ระบอบให้ตายก็ไม่สำเร็จ แต่ไม่ได้หมายความว่าตอนนี้เราเดินผิดทาง แต่การจะแก้ไขอะไรก็ตาม ต้องมองให้รอบคอบอย่าลืมหัวใจของเรื่อง

ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลจะยกมือให้ ร่างดังกล่าวด้วยเสียงที่เป็นเอกภาพหรือ ไม่ พล.อ.ชวลิต กล่าวว่าถ้าเป็นสิ่งที่ดี ไม่ต้องมีวิป ก็ยกมือพรึบแน่ เวลานี้ไม่ ถึงขั้นนั้นกำลังอยู่ระหว่างทำความเข้าใจ ทั้งกรรมาธิการฯ เอง หรือแม้กระทั่ง นายชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานกรรมาธิการฯ ก็เป็นเพื่อนกันทั้งนั้น มีความรู้ความสามารถมีความตั้งใจ หันหน้าเข้ามาหากันก็สำเร็จและคิดว่าคงจะประสานความเข้าใจสำเร็จแน่นอน


ชวนสงวนท่าทีไม่ตอบรับทั้ง 2 ร่าง

ทางด้านนายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถพูดอะไรได้ ต้องรอให้พิจารณารายละเอียดก่อน และรอให้คณะกรรมาธิการฯ ที่ได้เข้าไปร่วมพิจารณาได้มาชี้แจงข้อดีข้อเสียต่างๆ ของทั้งสองร่าง

นายสมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้รัฐบาล รับผิดชอบหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ว่าแสดงว่าใครเอาไปต้มยำทำแกงอย่างไร รัฐบาลต้องรับผิดชอบอย่างนั้นหรือ ขณะนี้ตนรู้สึกอย่างเดียวว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ถ้าสามารถทำให้รัฐบาลยุ่งยากเดือดร้อนได้ เรื่องต่างๆ ก็จะรุมเร้าเข้ามาอยากรู้ว่าถัดจากเรื่องมาตรา 211 แล้วจะมีเรื่องอะไรมาต่อว่ารัฐบาลอีก

"ผมอยากถามพวกคุณว่า ทำไมถึงตื่นเต้นกันนักหนากับมาตรา 211 มีคนจะเป็นจะตายเวลานี้หรืออย่างไร ถ้า 211 ไม่เดินหน้าไม่ดำเนินการจะมีคนตายหรือไม่ รอให้หารือกันเรียบร้อยก่อนไม่ได้หรืออย่างไร ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติที่จะเอาเรื่อง 211 ไปเป็นเรื่องใหญ่ และพยายามที่จะโยงให้รัฐบาลรับผิดชอบให้ได้ ผู้สื่อข่าวเป็นคนทำให้เรื่องมีปัญหาเรื่องไม่เป็นเรื่องก็พยายามไปเสี้ยมทางโน้นทีทางนี้ที เพื่อเป็นข่าวใหญ่ คุณไม่ทำข่าวเรื่องนี้สัก 7 วันได้หรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต่อให้อีกครึ่งเดือนก็ยังไม่เข้าสภา และสื่อมวลชนพยายามอ้างประชาชนตลอดเวลา ผมจึงรู้สึกประหลาดใจว่า สื่อมวลชนมีส่วนได้ส่วนเสียและอยากเป็นผู้วิพากษ์วิจารณ์กันเองหรืออย่างไร" นายสมัครกล่าวอย่างมีอารมณ์





Updated : 18/7/2539
Last updated : 10/9/2550


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: 28-11-2007, 00:29 »

นำไทยหนุนสภาร่าง รธน.หวังใหม่แนะเติ้งอย่าบังคับ

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการรายวัน
ประจำวันที่ : 27 ก.ค. 39


นำไทยเห็นด้วยฟรีโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 "อำนวย" หนุนแนวทางกรรมาธิการ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่มีส่วนได้เสียยกร่างรัฐธรรมนูญ ความหวังใหม่แนะ บรรหารอย่าใช้มติบังคับพรรคร่วมจะทำให้แตกแยกมากขึ้น อยากให้ผ่าน ต้องยึดร่างกรรมาธิการฯ โฆษกรัฐบาลระบุฟรีโหวตไม่ได้ 7 พรรคต้องโหวตแนวทางเดียวกัน ตามมติวิปรัฐบาล วุฒิฯชี้นักการเมืองใช้รัฐธรรมนูญเป็นเกม หวังผลทางการเมือง


วานนี้ (26 ก.ค.) นายอำนวย วีรวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคนำไทย กล่าวถึงข้อเสนอของพรรคกิจสังคมและพรรคมวลชนที่ให้พรรคร่วมรัฐบาลให้อิสระสมาชิก ในการตัดสินใจลงมติ ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. ...... (มาตรา 211) วาระที่ 2 และ 3 แบบฟรีโหวต ว่าในส่วนของพรรคนำไทย จะต้องหารือกันก่อน เพราะเป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา แต่ตนเห็นว่ามีทางเป็นไปได้ที่จะให้ฟรีโหวต เพราะร่างแก้ไขมาตรา 211 ที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ ไม่ได้เป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฉะนั้นหากพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่าควรเป็นฟรีโหวต ก็หารือกันได้ แต่สำหรับตนเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองมีความเกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 จึงเป็นเรื่องที่จะต้องทำออกมาให้ได้ ซึ่งจุดยืนของพรรคนำไทย ก็เป็นเช่นนั้น


หนุนผู้ไม่มีส่วนได้เสียยกร่าง รธน.

"โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าควรจะเอาผู้ที่ทรงคุณวุฒิและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาแก้ไข" หัวหน้าพรรคนำไทย กล่าว

ต่อข้อถามที่ว่า พรรคนำไทยจะรับร่างของรัฐบาล หรือของคณะกรรมาธิการ นายอำนวยกล่าวว่า ร่างของคณะกรรมาธิการนั้น เรายังไม่ได้รับการชี้แจงว่าเหตุผลที่แก้ไขคืออะไรและมีเหตุผลดีกว่าของรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องมีการหารือกันในพรรคครั้งต่อไปเสียก่อน เพราะเราอยู่กันด้วยเหตุและผล ถ้าเหตุผลของกรรมาธิการดีกว่า เราก็รับฟังและให้การสนับสนุนได้ แต่ถ้าฟังไม่ขึ้น และเหตุผลของรัฐบาลดีกว่า เราก็สนับสนุนร่างของรัฐบาลสมัครแนะวิปรัฐบาลอย่าแสดงท่าที

นายสมัคร สุนทรเวช รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวว่า เป็นสิทธิของนายมนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิสังคม และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ แต่สำหรับพรรคประชากรไทย เราก็ได้มีการประชุมและพิจารณาในเรื่องนี้แล้ว พร้อมทั้งมีมติแล้ว แต่จะไม่แถลง เพราะตามกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้ว่า เมื่อประชุมพรรคแล้วจะต้องแถลงให้สื่อมวลชนรับทราบ แต่ในขณะนี้ไม่อยากใช้คำว่าฟรีโหวต อยากรับฟังคำชี้แจงความเห็นของคณะกรรมาธิการและของสมาชิกรัฐสภาเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะเมื่อการพิจารณาในวาระที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว สภาจะลงมติอย่างไร จะขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ยังไม่ทราบ จึงยังไม่อยากที่จะแสดงความเห็นในตอนนี้ เพราะเรื่องยังอยู่อีกไกล

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่นายเดโช สวนานนท์ รองหัวหน้าพรรคประชากรไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกับคณะกรรมาธิการเสียงส่วนใหญ่ นายสมัคร กล่าวว่า "สำหรับคนๆ นี้ ผมยกให้เค้าไปแล้ว ตอนนี้ผมนับพรรคประชากรไทยมีเพียง 17 เสียงเท่านั้น"

หัวหน้าพรรคประชากรไทย กล่าวด้วยว่าวิปรัฐบาลไม่ควรออกมาแสดงความเห็นในเรื่องนี้ ส่วนที่มีผู้เสนอให้มีการรวมร่างทั้ง 2 ร่าง เพื่อพิจารณาในวาระ 2 นั้น ก็เป็นความคิดเห็นของคนที่ต้องการให้มีการประนีประนอม แต่ตนไม่ขอออกความเห็นในเรื่องนี้


หวังใหม่เตือนเติ้งยิ่งบังคับยิ่งแตก

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคความหวังใหม่ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวถึงกรณีที่มีการเสนอให้ฟรีโหวตร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ว่า การจะให้มีการฟรีโหวตหรือไม่ เป็นประเด็นปัญหาที่ได้มีการเสนอกันขึ้นมา เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อเสถียรภาพและความเป็นเอกภาพของรัฐบาล ถ้าเทียบระหว่างการฟรีโหวตกับการมีมติออกมาอย่างใดอย่างหนึ่ง การมีมติบังคับจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างหนักในรัฐสภา จนกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญไม่สามารถผ่านไปได้ ตนคิดว่าถ้าเลือกระหว่างฟรีโหวตกับมีมติ ควรให้ฟรีโหวตดีกว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องฟรีโหวตยังไม่ใช่ประเด็นที่จะตัดสินใจในตอนนี้

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้พรรคร่วมรัฐบาลควรหารือกันอย่างจริงจังว่าจะทำอย่างไรจะให้ร่างรัฐธรรมนูญที่ออกมา เป็นที่ยอมรับของประชาชนและสังคมซึ่งสามารถผ่านสภาออกมาได้ ซึ่งแต่ละพรรคไม่ควรต่างคนต่างไป เพราะร่างรัฐธรรมนูญตอนนี้จำเป็นต้องเลือกร่างใดร่างหนึ่ง แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นร่างเดิมของรัฐบาลหรือเป็นร่างของกรรมาธิการฯ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะอาจมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในบางข้อบางประเด็น ซึ่งตรงนี้ต้องอาศัยการรวบรวมสติปัญญาการหารือกันอย่างจริงจัง ก่อนที่จะมีการประชุมสภา

ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคความหวังใหม่ได้เสนอแนวคิดอะไรต่อพรรคร่วมรัฐบาล นายจาตุรนต์ กล่าวว่า พรรคได้ให้สมาชิกติดตามเรื่องนี้อย่างจริงจัง และพยายามประสาน ความคิดกับฝ่ายต่างๆ ซึ่งเราทราบดีว่าพรรคร่วมรัฐบาลยังไม่ได้มีมติออกมา และพรรคความหวังใหม่ก็ยังไม่มีมติออกมาในขณะนี้ เพราะเราอยากเห็นความประนีประนอมกับทางความคิดอาจจะไม่เอาร่างทั้ง 2 ร่างมาผสมกัน แต่ควรประนีประนอมว่าหากเอาร่างใด ร่างหนึ่งมาปรับปรุงและขจัดช่องโหว่ต่างๆ ได้อย่างไร เพราะสิ่งที่เราอยากเห็นก็คือร่างรัฐธรรมนูญสามารถผ่านวาระ 3 ไปได้ในลักษณะสอดคล้องกันกับการปฏิรูปการเมือง เพราะนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลก็คือ การปฏิรูปการเมือง อยากให้ผ่านต้องเดินตามกรรมาธิการ

ต่อข้อถามว่าขณะนี้รัฐบาลมีท่าทีที่ชัดเจนที่จะไม่รับรางกรรมาธิการฯ และมีการออกมาลอบบี้สมาชิกวุฒิสภาบางส่วนแล้ว นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาคงไม่ใช่การลอบบี้ เพราะเป็นในลักษณะต่างคนต่างทำยังไม่มีความคิดที่ชัดเจน แม้แต่แกนนำรัฐบาล ยังมีความคิดว่าทั้งสองร่างมีเหตุผลและคนที่เคยเห็นด้วยกับร่างของรัฐบาลอย่างเต็มที่ แต่พอมาฟังคำชี้แจงของกรรมาธิการฯ ก็ยอมรับว่ามีหลายประเด็นที่มีเนื้อหาที่ดีกว่าร่างของรัฐบาล ซึ่งเท่าที่ได้ยินมาจากสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาล คงต้องมีการชั่งน้ำหนักของทั้ง 2 ร่าง เพื่อหาทางออกที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่คนระดับแกนนำได้ฟังความคิดเห็นและหาข้อสรุปที่ดีไม่ใช่หัวชนฝา

นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า ตนเห็นว่าร่างกรรมาธิการฯน่าจะมีโอกาสผ่านสภาไปได้มากกว่า เพราะฝ่ายค้านทั้งหมดตั้งท่ารออยู่แล้วว่าจะสนับสนุนร่างของคณะกรรมาธิการฯ ดังนั้นถ้าพรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับร่างของกรรมาธิการฯ ก็จะได้เสียง 391 เสียง ส่วนที่มีการมองกันว่ารัฐบาลต้องการกลับไปเอาร่างเดิมนั้น ตนคิดว่าอาจมีวิปบางคนหรือส.ส.รัฐบาลบางคนที่คิดอย่างนั้น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีหัวหน้าพรรคอย่างน้อย 2 คนที่เสนอให้ฟรีโหวต ซึ่งก็แสดงว่าไม่จำเป็นต้องเอาตามร่างเดิมของรัฐบาล และยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่ได้แสดงความคิดเห็น


โฆษกรัฐบาลลั่นฟรีโหวตไม่ได้

ทางด้าน นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าพรรคร่วมรัฐบาลคงต้องลงมติไปในทิศทางเดียวกัน การที่รัฐบาลมีพรรคร่วมหลายพรรค สิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเป็นเอกภาพ อย่างไรก็ตาม ตนเข้าใจว่าแต่ละพรรคต่างก็มี ความคิดเป็นของตัวเอง แต่สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยก็คือความเป็นเอกภาพในรัฐบาล เมื่อมีการนำร่างแก้ไขมาตรา 211 เข้าสู่สภา พรรคร่วมรัฐบาลทั้ง7พรรคก็ต้องมาหารือกันว่าควรจะมีมติออกมาในทิศทางใด การแสดงความคิดในขณะนี้ถือเป็นความคิดเห็นของแต่ละพรรค ไม่ใช่ของรัฐบาล เพราะถึงที่สุดแล้วเรื่องนี้จะต้องนำเข้าสู่กระบวนการของพรรคร่วม โดยจะมีการประชุมกันอีกครั้ง ผลจะออกมาเป็นอย่างไร ขอให้ทุกคนคอยจับตาดู

ต่อข้อถามว่าทำไมต้องมีมติออกมาบังคับให้ทำตาม เพราะเป็นเรื่องของรัฐสภา นายสมศักดิ์ กล่าวว่ารัฐบาลยังไม่ได้บอกว่าจะบังคับพรรคร่วม เพราะยังไม่มีมติออกมาชัดเจน แต่ถ้ามาถามว่าทำไมไม่ปล่อยให้มีการฟรีโหวต ตนก็จะขอย้อนถามว่าทุกวันนี้เราต้องการสนับสนุนระบบพรรคการเมืองและพัฒนาการเมืองหรือไม่

"ถ้าปล่อยให้แต่ละคน มีความคิดเห็นเป็นอิสรเสรี ผมว่าพรรคการเมืองนั้นก็อยู่ไม่ได้ เพราะมันต้องมีมติออกมา แต่จะออกมาอย่างไรถือเป็นเรื่องของแต่ละพรรค ซึ่งที่สุด แล้ว ก็ต้องมีความเป็นเอกภาพ เพราะมติพรรคยังเป็นหัวใจสำคัญในระบอบประชาธิปไตย"

ผู้สื่อข่าวถามว่าการลงมติครั้งนี้ พรรคร่วมทุกพรรคจะต้องอยู่ภายใต้มติวิปรัฐบาล หรือไม่ นายสมศักดิ์ กล่าวว่าภายหลังจากวิปรัฐบาลมีมติออกมาอย่างไรแล้ว แกนนำทั้ง 7 พรรคจะนำมาหารือกันนอกรอบก่อน เพื่อให้ได้ข้อยุติ จากนั้นแกนนำทุกพรรคก็จะนำไปบอกกล่าวกับวิปของแต่ละคนให้ได้รับทราบ เพื่อให้นำไปประชุมในวิปอีกครั้ง แต่ที่ผ่านมา มติของวิปและแกนนำก็มักสอดคล้องกันอยู่แล้ว


ชุมพลระดมนักวิชาการแก้เกมในสภา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเวลา 12.30 น. นายชุมพล ศิลปอาชา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) ได้เชิญนักวิชาการที่เป็นกรรมการ คปก.มาร่วมรับประทานอาหารที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ปัญหาการพิจารณาร่างแก้ไขมาตรา 211 โดยหารือกันเป็นเวลา 40 นาที จึงได้ข้อสรุป และนายชุมพล จะแถลงให้สื่อมวลชนทราบในวันที่ 3ส.ค.นี้ จากนั้นจะมอบหมายให้คณะกรรมการ คปก. ชี้แจงต่อประ ชาชนทางโทรทัศน์ช่อง 11 ในวันที่ 7ส.ค. โดยมีนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ กรรมการ คปก. และกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ

รายงานข่าวแจ้งว่าการหารือครั้งนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้ฟรีโหวต โดยให้เหตุผลว่าเมื่อรัฐบาลมีนโยบายปฏิรูปการเมือง ก็ต้องมีเสียงไปในทิศทางเดียวกัน และควรจะตกลงกันให้ชัดเจนก่อนว่า จะเอาแนวทางไหนจะมาปล่อยให้ต่างคนต่างคิดไม่ได้

นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เท่าที่ทราบขณะนี้เสียงฝ่ายรัฐบาลยังแตกอยู่ ก็คงไม่แปลกอะไร เพราะความคิดเห็นเรื่องนี้ไม่ลงตัวกันมาตั้งแต่แรกแล้ว ถือเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนการที่มีผู้เสนอให้รวมร่างของกรรมาธิการฯและของรัฐบาลด้วยกันนั้น ความจริงเป็นร่างเดียวกัน เพียงแต่คณะกรรมาธิการฯนำไปแก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่สองร่าง การจะรับร่างใดยังไม่มีข้อยุติ ความเห็นของรัฐบาลก็ยังแตกต่างกันอยู่ อย่างไรก็ตามก็เป็นสิทธิของรัฐบาลว่าจะเห็นด้วยหรือไม่ ก็ต้องรอจนกว่าจะเข้าสภา


มีชัยเผยวุฒิฯ ฟรีโหวต-ไม่มีโผ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงโอกาสที่ร่างแก้ไขมาตรา211 จะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ว่าคงต้องรอดูต่อไปในสภาว่าจะรอมชอมได้มากน้อยแค่ไหน แต่คงไม่ใช้ลักษณะการรวมร่างเพราะรวมไม่ได้ คงเป็นการต่อรองเรื่องนั้นเรื่องนี้อย่างที่เคยปฏิบัติมา

ผู้สื่อข่าวถามว่า มีผู้เสนอว่าจะให้ตุลาการรัฐธรรมนูญตีความจะเป็นไปได้หรือไม่ นายมีชัย กล่าวว่า ไม่เห็นทางที่จะให้ตุลาการรัฐธรรมนูญตีความ เพราะไม่ใช่ร่างพ.ร.บ. แต่เป็นรัฐธรรมนูญ ถึงจะขัดกับหลักการก็คงจะใช้ได้ หรือตนอาจจะฉลาดไม่พอ ส่วนทางออกในการประนีประนอมนั้น ตนคิดว่าเมื่อไปอภิปรายในสภาก็คงจะออกมาเองว่าใครต้องการเรื่องใดหรือไม่ต้องการเรื่องใด เป็นการพูดคุยระหว่างกรรมาธิการฯ กับสภา สำหรับกรณีที่มีผู้เสนอให้กรรมาธิการฯ ถอนร่างไปทบทวนใหม่นั้น คิดว่าสามารถทำได้แต่ขึ้นอยู่กับกรรมาธิการฯ ว่าจะยอมหรือไม่

ต่อข้อถามที่ว่าในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 สมาชิกวุฒิสภามีเสียงแตกกันนั้น จะมีการเชิญสมาชิกวุฒิสภามาพูดจากันหรือไม่ เพื่อความเป็นเอกภาพ นายมีชัย กล่าวว่า สมาชิกวุฒิสภามีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ไม่จำเป็นต้องเป็นเอกภาพ ถ้าจะเชิญมาพูดคุยก็เพราะเหตุผลเดียว คือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาชี้แจงว่า ร่างที่ออกมาเป็นอย่างไร ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้น ตนยังไม่ทราบ ต้องถามสมาชิกวุฒิสภาว่ายังติดใจประเด็นใดอีกหรือไม่ แต่ตนได้อ่านแล้วก็เข้าใจ

ส่วนกรณีที่รัฐบาลลอบบี้สมาชิกวุฒิสภา ให้เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลนั้น นายมีชัย กล่าวว่า การลอบบี้เป็นเรื่องธรรมดา ขึ้นอยู่กับผู้ที่ถูกลอบบี้ว่าจะมีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน การลอบบี้ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่อย่าสั่งก็แล้วกัน ส่วนการที่สมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคที่เสนอให้มีการฟรีโหวตนั้น ตนคิดว่าการฟรีโหวตมีอยู่ทุกปีอยู่แล้ว ไม่มีใครสั่งใครได้

สำหรับท่าทีของสมาชิกวุฒิสภาบางกลุ่ม อาจจะงดออกเสียงทำให้ร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปนั้น นายมีชัย กล่าวว่าวาระ 2 จะไม่ตก เพราะเอาเสียงข้างมากเป็นเครื่องวัด แต่ต้องรอดูวาระ 3 อีกที จะข้ามขั้นตอนไปถึงตอนนั้นคงตอบยาก และการที่สมาชิกวุฒิสภาเสียงแตกนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดา การที่หลายฝ่ายมองว่าสมาชิกวุฒิสภาเป็น ตัวแปรสำคัญให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านนั้น ตนคิดว่าไปโยนบาปเคราะห์ให้สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ก็ไม่เป็นธรรมเหมือนกันต้องร่วมกันทั้งหมด แต่คิดว่าขณะนี้อย่าเพิ่งไปพูดอะไร ยังมีเวลาที่จะพิจารณาอีกหลายวัน อาจจะมีใครคิดทางออกขึ้นมาได้ เพราะมีคนตั้ง 600 กว่าคน


สิทธิชี้แค่เกมของนักการเมือง

พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวว่าตนเห็นว่าเรื่องการปฏิรูปการเมืองไม่มีเหตุผล ควรให้เวลาในการแก้ไข อย่าใจร้อน และคิดว่าการปฏิรูปการเมืองไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยการแก้ไขกฎหมายลูก เช่น กฎหมายเลือกตั้งเพื่อป้องกันการซื้อเสียง และการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ยังไม่มีใครตอบได้ว่าจะปฏิรูปอะไร แลปฏิรูปทำไม

ผู้สื่อข่าวถามว่า คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเกมการเมืองหรือไม่ พล.อ.สิทธิ กล่าวว่า แน่นอนเป็นเกมของนักการเมืองเพื่อหวังผลทางการเมือง นายสมภพ โหตระกิตย์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่เคยเห็นด้วยกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้กลับมาคัดค้านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เมื่อเขาเป็นฝ่ายรัฐบาลก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกระแสทางการเมือง ซึ่งก็ต้องเห็นใจนักการเมืองในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนสมาชิกวุฒิสภายังไม่ได้มีการปรึกษาหารือกัน แต่เชื่อว่าสมาชิกวุฒิสภาทุกคนสามารถวินิจฉัยเองได้ว่าร่างของรัฐบาลหรือร่างของกรรมาธิการฯฉบับไหนดีกว่ากัน และตนเชื่อว่าจะมีสมาชิกวุฒิสภาบางส่วนที่เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาล ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาเพียงแต่ยังมีความเป็นห่วงสมาชิกวุฒิสภาใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง เพราะอาจยังมองไม่ออกว่ากระแสไปทางไหน

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่พล.อ.สิทธิ บอกว่าจะไม่สนับสนุนทั้งสองร่าง นายสมภพ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นสิทธิของท่านที่ทุกคนก็ต้องเคารพความคิดเห็นของคนอื่น แต่เมื่อสุดท้ายมีการลงคะแนนแล้วผลออกมาเป็นอย่างไรก็ต้องเอาตามเสียงข้างมาก ส่วนที่มีการเสนอให้ฟรีโหวตนั้นตนก็เห็นด้วย อย่างไรก็ตามพล.อ.สิทธิยังได้ปรารภว่าทำไมถึงมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันบ่อย เพิ่งแก้ไปเมื่อปีที่แล้วถ้าแก้กันบ่อยๆ จะทำให้ยุ่งยาก

นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานรัฐสภา กล่าวว่าหากคณะกรรมาธิการส่งร่างแก้ไขกลับมาถึงสภาเมื่อไร ตนก็จะปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุม คือส่งร่างรัฐธรรมนูญนั้นให้กับสมาชิกส.ส.และพรรคการเมือง ให้นำกลับไปศึกษาให้เข้าใจก่อนที่จะประชุม ส่วนที่มีการเกรงกันว่าในวาระ 2 มีผู้ขอแปรญัตติจำนวนมากอาจทำให้เกิดปัญหานั้น ตนคิดว่าควรให้ถึงเวลานั้นก่อน ไม่ควรไปคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า




Updated : 27/7/2539
Last updated : 24/9/2550


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการรายวัน
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #33 เมื่อ: 28-11-2007, 00:31 »

คนในกระแส

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการออนไลน์
ประจำวันที่ : 15 ก.ย. 40


…… กระแสรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับส.ส.ร. ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงในทางการเมืองอย่างต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ แม้เสียงส่วนใหญ่ในสภาฯ ทั้งส.ว.และส.ส.ส่วนใหญ่จะโน้มเอียงความเห็นไปทางกระแสความต้องการของประชาชนคือรับร่างฯ กลุ่มหนุนที่ชัดเจนในท่าทีส่วนของปีกฝ่ายค้านคือ ชวน หลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ส่วนพรรคเอกภาพภายใต้การนำของไชยยศ สะสมทรัพย์ แม้จะหนุนแต่ความคิดคนในพรรคไม่ถึงกับเนื้อเดียว ต้องคอยจับตาลูกพรรคสายบุรีรัมย์ โดยเฉพาะชัย ชิดชอบ พ่อของเลขาธิการพรรค เนวิน ชิดชอบ ……


…… ส่วนพรรคพลังธรรมที่มีเพียง สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ส.ส.หนึ่งเดียว งานนี้เทหมดกระเป๋า ขณะที่พรรคไท ที่มีส.ส.สังกัดเพียงคนเดียวเช่นกันคือ สุชาติ ตันเจริญ คงจะหาคำตอบลำบาก ในส่วนของรัฐบาล พรรคชาติพัฒนาดูจะได้เปรียบในการเข้าถึงกระแสมากที่สุด เมื่อประกาศหนุนร่างฯ ก่อนที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคความหวังใหม่จะประกาศรับร่างฯกลางสภาหลังถูกกดดันอย่างหนัก……


มนตรี พงษ์พานิช หัวหน้าพรรคกิจสังคม 1 ใน 5 พรรคร่วมรัฐบาลเป็นอีกพรรคหนึ่งที่อ้างมติพรรคร่วมในการรับร่างฯ ส่วนพรรคมวลชนของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง งานนี้ลู่ตามกระแส ……

สำหรับพรรคความหวังใหม่ แม้หัวหน้าพรรคในฐานะนายกรัฐมนตรีจะประกาศรับร่างฯ แต่ก็เกิดกลุ่มต้านในพรรคอยู่หลายก๊ก เสนาะ เทียนทอง เลขาธิการพรรคความหวังใหม่ พรรคเดียวกับนายกฯ แห่งกลุ่มวังน้ำเย็นที่มีส.ส.ในกลุ่มกว่า 30 คน ผนวกเข้ากับกลุ่ม 17 สิงหาคม นำโดย สุขวิช รังสิตพล รองหัวหน้าพรรค ดิ้นทุกทางเพื่อให้รัฐธรรมนูญตกไปโดยเฉาะการบีบให้มีการยุบสภาฯ ……


…… เสียงในพรรคความหวังใหม่ 125 เสียง จึงถูกจับตาว่าจะไม่เป็นเอกภาพกลุ่มหนุนส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มยังเติร์ก เช่น จาตุรนต์ ฉายแสง, อดิศร เพียงเกษ, เปรมศักดิ์ เพียรยุระ, กลุ่มชิงชัย มงคลธรรม, กลุ่มเรืองวิทย์ ลิกค์ ซึ่งระยะหลังถอยห่างจากกลุ่มวังน้ำเย็น มาเข้ากับทางพล.อ.ชวลิต หัวหน้าพรรค ……


…… ทางด้าน สมัคร สุนทรเวช กับพรรคประชากรไทย แนวโน้มชัดเจนว่าพรรคประชากรไทย 18 เสียง จะงดออกเสียงเพื่อยืนบนหลักการไม่รับร่างฯ ฉบับของ ส.ส.ร. ตามมารยาททางการเมืองในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ในส่วนของแกนนำค้านในซีกของวุฒิสมาชิกอย่าง พล.ต.ท.สมคิด หริกุล ผู้นำกลุ่มลูกเสือชาวบ้าน พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ และอาจารย์พูนศักดิ์ วรรณพงษ์ นักวิชาการ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งถือเป็นแนวร่วมสำคัญในแนวคิดกลุ่มขวาจัด โดยเน้นค้านไปที่ประเด็นข้อบกพร่องของร่างฯ ……

…… ส่วนวุฒิสมาชิกกลุ่มหนุน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มยังเติร์กที่มี ดำรง พุฒตาล เป็นธงนำ และ กลุ่มวุฒิสมาชิกสายทหาร 2 กลุ่มนี้รวมกันประมาณ 40 เสียง อย่างไรก็ตามสถานการณ์ล่าสุดแม้ว่าเสียงส่วนใหญ่เทคะแนนให้ แต่การทิ้งเวลา การลงมติออกไป 15 วัน ในภาวะสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในภาวะที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา วงในให้จับตาการอภิปรายของฝ่ายค้าน ถ้ากดดันผลต่อรัฐบาลผนวกกับการพลิกเกมเรื่อง รัฐธรรมนูญมีจุดบกพร่องขึ้นมาตี นายกรัฐมนตรี อาจใช้ข้ออ้างดังกล่าวมาใช้ยุบสภา แต่ที่แน่ๆ แว่วๆ มาว่าวันที่ 27 วันลงมติรับร่างฯ จะเห็นวุฒิสมาชิกติดงานราชการ และเกิดอาการป่วยฉับพลันขึ้นมาเป็นแถว !!! ……



Updated : 15/9/2540
Last updated : 15/3/2549


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: 28-11-2007, 00:32 »

คนในกระแส

เรียบเรียงจาก : ผู้จัดการออนไลน์
ประจำวันที่ : 13 ก.ย. 40


..... ยามนี้ต้องถือว่าขิงแก่อย่างน้าชาติ คือผู้นำตัวจริงประเทศไทย ทำเอาน้องจิ๋วของพี่ชาติน้ำต้องจุกอกช้ำในกลับไปกินน้ำใบบัวบกที่ทำเนียบหลายรอบ เกมของการเมืองเป็นเรื่องไม่เข้าใครออกใคร คนที่คิดใหญ่แล้วแต่ใช้ว่าจะแน่เสมอไปลองได้แพ้ทางมวยกันแล้วมันแก้ยาก .....


..... แต่ไหนแต่ไรบิ๊กจิ๋วมักจะถูกพี่ชาติดึงเข้าดึงออกเสียจนเสียศูนย์ไปหลายครั้ง รู้ทั้งรู้ว่าต้องเป็นฝ่ายแก้เกม แต่ยังไงก็ต้องพึ่งเขาอยู่วันยังค่ำ วันก่อนพล.อ.ชวลิต ไปรับปากจะปรับครม.ใหม่ คนใกล้ชิดบอกว่าก่อนออกจากบ้านต้องนั่งถอนหายใจเงือกใหญ่ สงสัยงานนี้โดนอีกดอก ผลลงเอยเป็นตามที่ทราบเจ็บตัวเรียบร้อยระเบียบโรงเรียนชาติพัฒนา

..... ประโยคทอง "รัฐบาลแห่งชาติ" จากปากท่าน รัฐบุรุษ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ทำให้สังคมฮือฮาขึ้นมารอบใหม่ โดยเฉพาะมาตรา 317 ที่เปิดช่องคนนอกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่ 11 ตุลาคม หลายฝ่านขานรับ แต่นักการเมืองที่อยู่ในอำนาจฟากรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัย ประสานเสียง เกรงจะเสียระบบ แล้วระบบที่ว่าจะเสีย ถ้าเปลี่ยนแล้วประชาชนดีขึ้นทำไมไม่ทำ หรือต้องเก็บนักการเมืองทั้งหลายไปเข้ากรุสักปี รอเวลาประเทศฟื้นกลับมาดีแล้วค่อยปล่อยออกมาสนุกกันถลุงรอบใหม่ ดีมั้ย ทะเลาะกันอยู่นั่นแหละประชาชนซวยทุกรอบ .....


..... แว่วมาว่าในคณะเดินทางของบรรดาคุณหญิงคุณนายที่ไปต่างประเทศพร้อมก๊วนเก่าๆ เที่ยวเดินชอปปิ้ง หาซื้อกระเป๋ายี่ห้อหลุยส์ วิตตอง ต้องการเกิดอาการหน้าแตก เพราะขณะกำลังเริงร่ากับบริวารถามไถ่ว่าจะเอาแบบไหนถึงแปลกแหวกแนว ฝรั่งเจ้าของร้านขี้สงสัยก็เตร่เข้ามาถามว่ามาจากแดนดินไหน เมื่อทราบว่าจากสยามเจ้าฝรั่งหัวแดงถึงกับขนหัวลุกแล้วประกาศเสียงดังฟังชัดว่า ซอรี่ ไอขายให้ยูไม่ได้ดอก ! เอ้าทำไมฉันมีเงินฟาดหัวแกน่ะ ฝรั่งผู้หยั่งรู้สถานการณ์โลก จึงศอกกลับว่าบ้านเมืองยูกำลังย่ำแย่ด้วยค่าเงินบาททรุดเข่าอยู่ฮวบๆ อย่างนี้ ยูควรจะช่วยรักษาสถานภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ ไอต้องขอโทษด้วยที่ขายให้ไม่ได้ ครานี้เล่นเอาบรรดาภริยารั้วของชาติกลุ่มนั้นโมโหโกรธาสาปแช่งเป็นภาษาไทยคล่องปื้ ....ที่หลังอย่าทำๆ .....


..... ทั้งๆ ที่ยังนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่พอรู้มีคนจะแซะให้หลุดเก้าอี้ ด้วยข้อหาทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ คนชื่อปิยะณัฐ วัชราภรณ์ รัฐมนตรีและส.ส.ปากกล้าตลอดกาล ไม่ว่าจะอยู่กับรัฐบาลไหน เลยต้องเข็นสังขารออกมาเปิดโฉมให้รู้ทั่วกันว่าฉันก็ยังโอเคนะ ! .....

..... เพราะฉะนั้นอย่าริแหยมกับอุดมการณ์ที่เก็บไว้ในลิ้นชัก วันใดที่รัฐมนตรีปิยะณัฐ แกหอบอังโล่ไปกรมประชาสัมพันธ์เลือกอธิบดีฯ ที่แกฝากให้เขาเฝ้าทรัพย์ไว้ด้วยตนเองแล้วจะรู้ฤทธิ์ คนอะไรขนาดคนสนิทยังกระซิบให้ฟังเต็มสองหูว่าเศรษฐกิจช่วงนี้มันไม่ดีอยู่นา ขืนปล่อยให้หลุดมือไปก็เสร็จซิ ขอให้เข้าใจกันบ้าง ไม่ต้องอะไรช่วงนี้ขนาดนรกยังไม่รับแกเลย ! .....


..... รู้ๆ กันอยู่ว่า น้าหมัก ผู้มีเสน่ห์อยู่ที่ปลายลิ้น เป็นรัฐมนตรีดาวน์ทู เอิร์ลท์ ที่มักนิยมการเข้า-ออกประตูหลัง (ทำเนียบรัฐบาล) แบบไม่สนใจใคร วันจันทร์ก่อนก็เห็นเดินก้มหน้าก้มตาข้ามถนนข้างทำเนียบมาประชุมอย่างคุ้นเคย แต่ไม่รู้เอาบีเอ็มดับบลิวคันงามที่หามาแทนคันเก่าที่ถูกชนยับบนถนนพระราม 9 ไปแอบซุ่มไว้ที่ไหน ลงรถแล้วหน้าเดินไม่หันมองไปข้างหลังเพราะไม่มีใครเดินหิ้วกระเป๋าตามอารักขา จอดรถก็จอดในที่ๆ ชาวบ้านธรรมดาๆ เขาจอดกัน ถ้ายามรักษาการณ์ไม่ยกมือไหว้แกซะก่อน แกก็คงจะไม่โงศีรษะขึ้นมารับไหว้ อาการแปลกๆ ของรองนายกฯ สมัคร สุนทรเวชเป็นเช่นนี้มานานเท่าไร ใครตอบที ช่างสมกับลักษณะผู้นำที่คนไทยอยากได้ ยามนี้ไหมเนี๊ยะ ! .....


..... คนดีมีวาสนาไม่ว่าจะอยู่หนใด ภาวะใดก็ดูดี้ดีไปหมด....บุคคลที่ว่านี้ก็อดีต ครูน้อย ฉายาที่เพื่อนๆ นักเรียนเซนต์คาเบรียลตั้งให้ มาวันนี้ พล.ร.อ.สุวัชชัย เกษมศุข กลายมาเป็น แม่ทัพน้อยของทหารน้ำ ที่แม้จะอยู่รอดปลอดภัยจากเหตุการณ์เฮลิคอปเตอร์ กองทัพเรือตกครั้งดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ทร.เมื่อหลายเดือนก่อน และผลพวงก็คือขาต้องดามเหล็ก เดินกะเพลกเกือบหมดมาดหล่อ ณ วันนี้ ให้ถือเป็นทุกข์ลาบ ยังไงก็แล้วแต่ยามนี้ บิ๊กน้อย หน้าตาช่างสดใสมีราศีขึ้นเป็นกอง .....


..... รู้แน่แก่ใจว่า มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานรัฐสภา จำใจรับตำแหน่งประธานวุฒิสภา ว่ากันว่าในการร่างรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่หัวอกทั้งสี่ห้องไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ทำไงได้ กระแสก็คือสายน้ำที่ต้องไหลตาม วานซืนปะหน้าผู้คนที่อาคารวุฒิสภา ก็โดนถามเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องของตัวว่า ท่านผู้นำรัฐบาลไทยคนที่ 23 นี้ ท่านกำลังวุ่นวายกับปัญหาต่างๆ มากมายจะทำไงต่อไป ท่านมีชัยอดเห็นใจ บิ๊กจิ๋ว ของท่านไม่ไหว เลยสวนตูมไปว่า ก็นายกฯ คนนี้ท่านเป็นคนทำงานซินแสที่ไหนๆ แกรู้แกก็ตามไปพบหมด ประชาชนต้องเห็นใจท่านให้มากๆ !! .....



Updated : 13/9/2540
Last updated : 15/3/2549


เรียบเรียงจาก :
ผู้จัดการ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Kittinunn
Aloha007
Global Moderator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,127


ไปได้สวย...ด้วยเกียร์ต่ำ!!!


เว็บไซต์
« ตอบ #35 เมื่อ: 28-11-2007, 00:35 »

http://forum.serithai.net/index.php?topic=18518.msg238154#msg238154
ข่าวนี้น่าจะชัดเจนที่สุด

ขอขอบคุณ
บันทึกการเข้า

“ผมเขียนไปในบล็อกนั้น แบบข้างบนนี้เหมือนกัน นึกว่า จะโพสต์ ปรากฏว่า เขาบอกว่า ต้อง สมัครสมาชิกก่อน ผมขี้เกียจ เลยมาโพสต์ที่นี่แทน อ้อ ตอนเขียน ผมใส่คำว่า ทุเรศ และ น่าสมเพช ไปด้วย” (อ.สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล-เว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน - ข้อความในเสรีไทย โดย Snowflake)

Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: 28-11-2007, 09:24 »

เอาอีก เอาอีก น้องอ๊อฟ...เดี๋ยวให้พี่อัพเดท มาเก็บข้อมูล ฮ่า ฮ่า

อาจารย์ แถมสุข นุ่มนนท์ พิมพ์เรื่อง ร่างฯรัฐธรรมนูญ 2540 ไว้เล่มหนึ่ง ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ น่าจะมี
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: