ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 20:30
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  'แก้วสรร อติโพธิ' ปุจฉา-วิสัชนา 'กฎหมาย คตส.กับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ' 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
'แก้วสรร อติโพธิ' ปุจฉา-วิสัชนา 'กฎหมาย คตส.กับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ'  (อ่าน 1181 ครั้ง)
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« เมื่อ: 19-05-2008, 20:00 »

'แก้วสรร อติโพธิ' ปุจฉา-วิสัชนา 'กฎหมาย คตส.กับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ'
มติชน วันที่ 19 พฤษภาคม 2551 เวลา 09:46:31 น.

ถาม-ตอบคำต่อคำ อีกมุมมองหนึ่งของ "แก้วสรร อติโพธิ" อาจารย์กฎหมายมหาชน และกรรมการ คตส. ผ่านข้อเขียนเชิงปุจฉา-วิสัชนา เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายที่กำลังถกเถียงกันอยู่

หลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีความเห็นส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สถานะของคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กลายเป็นประเด็นใหญ่ เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์แตกเป็นประเด็นย่อยตามมามากมาย บางคนมองข้ามไปว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่า สถานะของ คตส.ขัดรัฐธรรมนูญ 2550 จะส่งผลให้ทุกคดีที่ คตส.ที่พิจารณามาก่อนหน้านี้ต้องยุติลงทันที และคิดไปไกลถึงขั้นที่ว่า ทุกองค์กรที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 อาจจะเป็นโมฆะทั้งหมด

และนี่เป็นอีกมุมมองหนึ่งของ "แก้วสรร อติโพธิ" อาจารย์กฎหมายมหาชน และกรรมการ คตส. ผ่านข้อเขียนเชิงปุจฉา-วิสัชนา เกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมายที่กำลังถกเถียงกันอยู่

ถาม-ทราบว่าอัยการแนะ คตส.ให้หยุดทำงาน เพื่อรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อนว่า กฎหมาย คตส.ใช้บังคับได้หรือไม่ แต่ คตส.ไม่ยินยอมหรือครับ

ตอบ-เป็นความจริงเพราะ คตส.กับอัยการมีทฤษฎีรัฐธรรมนูญที่ต่างกัน ทางผมนั้นยืนอยู่ว่า ประกาศ คมช. มีฐานะเป็นกฎหมาย ปัญหาว่ากฎหมายนี้มีสาระขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดก่อน และตราบใดที่ยังไม่มีคำชี้ขาดนี้ กฎหมายทุกฉบับจะยังมีผลใช้บังคับอยู่ตลอดไป ทุกองค์กรทั้ง คตส. อัยการ หรือแม้กระทั่งศาลในคดีอาญา ต่างก็ยังคงมีหน้าที่ต้องทำตามกฎหมายนั้นไปตลอด จะหยุด จะลังเล จะสงสัย จะรอฟังคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญก่อน อย่างนี้ไม่ได้ ข้อเสนอของอัยการจึงเป็นการเสนอให้เราละเว้นปฏิบัติหน้าที่ อย่างนี้ติดคุกครับ รับทำให้ไม่ได้ อัยการเองก็เหมือนกัน ท่านอย่าหยุด ไม่พิจารณาสำนวนของ คตส.นะครับ คุกเหมือนกันนะครับ

ถาม-เอาหลักที่ไหนมาว่า หยุดรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้

ตอบ-หลักความผูกพันที่แน่นอนของกฎหมายครับ รัฐธรรมนูญไทยระบุไว้ชัดว่า เมื่อกฎหมายใดมีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว

1.ทุกองค์กรต้องถูกผูกพันโดยกฎหมายนั้น

2.ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญจะถูกหยิบยกขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเป็นคดีเฉพาะรายเกิดขึ้นในศาลใดเท่านั้น โดยศาลเห็นเอง หรือคู่ความยกเป็นข้อต่อสู้ว่ากฎหมายนั้นไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และใช้บังคับกับคดีนั้นมิได้ เมื่อเข้าเงื่อนไขนี้เมื่อใด ก็ให้ศาลนั้นส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ

3.จากนั้นให้ศาลนั้นดำเนินการพิจารณาต่อไป ไม่ต้องหยุดรอคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าพิจารณาคดี สืบพยานจบสิ้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่วินิจฉัยอีก ก็ให้รอฟังคำวินิจฉัยก่อน จะด่วนพิพากษาไปเลยมิได้

หลักข้างต้นนี้มี มาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติบังคับไว้ชัดเจน การทำงานของ คตส.กับอัยการไม่ใช่ชั้นศาล จึงหยุดชะงักลังเลอะไรไม่ได้ ส่งปัญหาไปให้ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ เราทั้งสองต่างก็ต้องเดินหน้าทำงานส่งคดีแต่ละคดีส่งขึ้นไปยังศาลในคดีอาญาเรื่อยๆ หยุดไม่ได้ครับ

ถาม-แล้วเมื่อคดีทุกคดีไปถึงศาลแล้ว ศาลก็จะยังไม่รับฟ้อง แล้วส่งคำร้องของจำเลยว่ากฎหมาย คตส.ขัดรัฐธรรมนูญ ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ทุกคดีๆ ไป อย่างนั้นหรือ

ตอบ-เมื่อศาลในคดีหวย 3 ตัวนำทางไว้อย่างนี้ จำเลยทุกรายก็คงทำอย่างนั้นอีก ศาลในคดีนั้นๆ ก็คงต้องเดินตามอีก

ถาม-ตกลง ทั้ง คตส.และอัยการหยุดไม่ได้ แต่เมื่อถึงศาลแล้วทุกคดีก็ไม่ไปไหน ต้องรอฟังศาลรัฐธรรมนูญอยู่อย่างนั้นใช่ไหมครับ

ตอบ-ครับ..น่าจะเป็นอย่างนั้น ถ้า 3 เดือนต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากฎหมาย คตส.ใช้ได้คดีก็จะเดินต่อไป

ถาม-แต่เราก็ต้องเสียเวลาไปเฉยๆ 3 เดือนใช่ไหมครับ

ตอบ-ถ้ารับฟ้องของ คตส.ก่อน แล้วค่อยรับคำร้องจำเลยส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ แล้วศาลก็ดำเนินการพิจารณาต่อไป แต่ห้ามไปถึงขั้นพิพากษาเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้เราจะไม่เสียเวลาและเสียความยุติธรรม เพราะถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากฎหมาย คตส.ใช้ไม่ได้ จำเลยก็ไม่เป็นไร เพราะศาลยังไม่พิพากษา ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่ากฎหมาย คตส.ใช้ได้ ส่วนรวมก็ไม่เสียเวลาเพราะคดีเดินหน้ามาโดยตลอด นี่คือเส้นทางที่คตส.เข้าใจว่ามีอยู่ในกฎหมาย แต่ศาลฎีกาท่านก็เดินมาอีกทางว่า แม้ในชั้นก่อนรับฟ้อง ศาลก็สามารถส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังนี้ ก็เป็นความเห็นที่ต่างกันได้ คตส.ก็ต้องยอมรับว่าคำสั่งศาลฎีกาท่านต้องถือเป็นที่สุด

ถาม-ฟังดูเหมือน คตส.ไม่อยากถูกตรวจสอบโดยศาลรัฐธรรมนูญ ใช่ไหมครับ

ตอบ-อยากหรือไม่อยากไม่ได้หรอกครับ ถ้าจำเลยเขาไม่เห็นด้วยกับกฎหมาย คตส. เขาก็มีสิทธิโต้แย้งให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบได้ เราก็ต้องยอมรับครับ ถ้าเราเป็นจำเลยเราก็คงต้องสู้อย่างนี้เหมือนกัน หรือถ้าเราเป็นศาลฎีกา เมื่อจำเลยเขาร้องมา เราก็มีหน้าที่ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเช่นกัน ตรงนี้ไปว่าศาลฎีกาท่านไม่ได้

เรื่องไปถึงศาลรัฐธรรมนูญนี้ คตส.ไม่เคยวิตกเลย เพราะเรามิได้เป็นคนออกกฎหมายนี้ และก่อนรับตำแหน่งเราก็ตรวจดูแล้วเห็นว่ายุติธรรมใช้ได้ ตัวความผิดก็ว่ากันตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ลงโทษก็ต้องฟ้องศาลให้เขาต่อสู้คดีได้เช่นคนทั่วไป มาตรฐานความยุติธรรมในการไต่สวนก็ระดับเดียวกับ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) เราถึงได้รับเป็น คตส. แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าความยุติธรรมไม่ได้มาตรฐาน เราก็ต้องยอมรับคำวินิจฉัยของท่าน ก็เท่านั้น

ถาม-ศาลรัฐธรรมนูญจะตรวจสอบกฎหมาย คตส.ได้หรือครับ ในเมื่อมีมาตรา 309 ระบุว่า ประกาศ คปค. ต้องถือว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

ตอบ-เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะเลือกปฏิบัติตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แต่เฉพาะพระราชบัญญัติของรัฐสภา แล้วยกเว้นไม่ตรวจประกาศคณะปฏิวัติ มาตรา 309 ระบุเท่านั้นว่า ให้ถือประกาศ คปค. เป็นเช่นกฎหมายที่ตราโดยชอบตามรัฐธรรมนูญนี้เท่านั้น ส่วนจะขัดหรือแย้งกับสิทธิเสรีภาพพื้นฐานจนมีผลใช้บังคับได้หรือไม่นั้น รัฐธรรมนูญจะเลือกปฏิบัติคุ้มกันประกาศ คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ไว้ไม่ได้ ใครไม่ทราบ ไม่รู้จริงแล้วไปให้ความเข้าใจให้คำแนะนำท่านอดีตนายกฯทักษิณ กันผิดๆ ว่า มาตรา 309 ไม่เป็นธรรม ปฏิเสธช่องทางที่คนคนหนึ่งจะมีสิทธิพื้นฐานเช่นคนทั่วไป ต้องยกเลิก ไปแนะผิดๆ อย่างนี้เรื่องจึงได้ยุ่งจนถึงทุกวันนี้

ถาม-นี่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญลงมือตรวจสอบอย่างที่อาจารย์ว่า แล้วชี้ว่ากฎหมาย คตส.ใช้ไม่ได้ ทุกอย่างคงป่วนไปหมด ทั้งสิ่งที่ คตส.กระทำไปแล้วรวมทั้งการใช้อำนาจทั้งปวงของ คมช.ด้วย คงโมฆะกันไปหมด

ตอบ-ใครบอกคุณอย่างนั้น

ถาม-เขาว่า มี ส.ว.สรรหาท่านหนึ่งวิตกอย่างนั้นครับ

ตอบ-ถ้าเป็นจริงก็เป็นความเห็นที่ผิดอีกครับ ในทางกฎหมายมหาชนนั้นกฎหมายไม่มีโมฆะหรอกครับ ศาลรัฐธรรมนูญเพียงแต่วินิจฉัยเท่านั้นว่า ประกาศ คตส.มีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดก็ไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป โดยนับแต่วันมีคำพิพากษา ไม่ได้ย้อนหลังมาเพิกถอนทำลายการใดที่ คตส.ทำไปแล้วแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องหยุดต้องเลิก ไม่ทำต่อไปอีกเท่านั้น ฟ้องคาศาลอยู่ก็ต้องเลิก ยึดทรัพย์อยู่ก็ต้องปล่อย แต่เจ้าทรัพย์จะไปฟ้องกลับ คตส.ย้อนหลังไปว่าวันที่ คตส.อายัดทรัพย์นั้น คตส.ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไม่ได้

ถาม-ฟังดูแล้ว ความเข้าใจของอาจารย์นี่เป็นเสียงส่วนน้อยจริงๆ

ตอบ-เรื่องหลักกฎหมายนี่ยังจะลงคะแนนกันอีกหรือคุณ คุณเห็นด้วยกับผมไหมล่ะครับว่า ณ เวลาหนึ่ง กฎหมายหนึ่งๆ ก็ต้องได้รับความเชื่อถือผูกพันปฏิบัติตาม ถ้าศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ชี้ขาดทุกฝ่ายก็ต้องก้มหน้าทำหน้าที่ของตนเองไป อัยการจะมาเสนอให้ คตส.หยุดทำงานไม่ได้ เพราะไม่ได้ติดคุกแทน คตส. และแม้ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ว่ากฎหมายใดไม่ถูกต้อง ก็ต้องเป็นเรื่องใช้บังคับอีกต่อไปไม่ได้ ไม่ใช่ย้อนหลังกลับมาโมฆะมาตั้งแต่แรก ทั้งหมดนี้เป็นหลักกฎหมายที่ผมเรียนมาและสอนมา ถูกผิดคลาดเคลื่อนก็ต้องว่ากันตามเหตุผล ไม่ใช่ข้างมากข้างน้อยนะคุณ

ถาม-แล้วที่เขาว่าโลกจะหมุนกลับไปหมด เพราะทุกอย่างที่ทำกันมาหลังปฏิวัติจะฟาวล์ไปหมดเลยล่ะครับ

ตอบ-คดีรัฐธรรมนูญของ คตส.นี่ เขาโต้แย้งว่ากฎหมาย คตส.มีสาระขัดสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน เช่นตราออกมามุ่งใช้บังคับกับพวกเขาเท่านั้น ไม่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป เป็นต้น อย่างนี้ถ้าศาลเห็นด้วยมันก็เจ๊งไป หยุดไปเฉพาะกระบวนการไต่สวนของ คตส.เท่านั้น และถ้าเขาสู้ว่าประกาศ คมช.ไม่ใช่กฎหมายและศาลรัฐธรรมนูญเห็นด้วยอย่างนี้ ก็เจ๊งไป แต่เฉพาะประกาศฉบับที่ 30 ที่ตั้ง คตส.เท่านั้นเหมือนกัน มันจะลามไปที่อื่น เรื่องอื่นได้อย่างไรผมมองไม่ออก ในเมื่อเป็นเรื่องเฉพาะคดีอย่างนี้

ถาม-ตกลงอาจารย์เชื่อหรือไม่ว่า สังคมไทยจะสามารถใช้กฎหมายแก้ไขความขัดแย้งในบ้านเมืองได้

ตอบ-กระบวนการทางกฎหมายต้องถูกใช้อย่างบริสุทธิ์ใจ เที่ยงตรง และกล้าหาญ คือถ้าใครมีคดีเป็นส่วนตัวก็ต้องขึ้นศาลอย่าไปแก้รัฐธรรมนูญหรือไปยุบสภาให้ประชาชนเลือกกลับมาใหม่ ข้างบรรดา ส.ส.ในพรรคเมื่อหัวหน้าผิดพลาดบกพร่องก็ต้องเปลี่ยนหัวหน้า ตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่ใช่แห่แหนปกป้องยอมตนเป็นบริวารเป็นสัตว์ในคอกของหัวหน้า พากันช่วยกันใช้การเมืองบิดผันกฎหมายอีกแรงหนึ่ง ส่วนพวกที่เป็นศาลเป็นอัยการ เป็น ป.ป.ช.หรือตำรวจ ก็ต้องกล้าหาญในคุณธรรม จึงจะเป็นวีรบุรุษช่วยชาติได้

ถาม-ถ้าทั้งหมดนี้เป็นไปไม่ได้ ล่ะครับ

ตอบ-ก็จะช่วยยืนยันได้ชัดเจนเลยครับว่า บ้านนี้เมืองนี้ไม่มีทางมีถูกมีผิด ความขัดแย้งต้องชี้ขาดด้วยการเมือง ด้วยศพวีรชน หรือไม่ก็ศพขบถ หรือทั้งสองอย่างเท่านั้น ส่วนผู้คนที่เหลือก็แตกแยกถูกนักคิดจอมปลอมแบ่งแยกออกจากกันราวกับปั่นจิ้งหรีด เป็นอำมาตยาธิปไตย vs ประชาธิปไตยบ้าง เป็นพวกเชื่อเลือกตั้ง vs พวกบ้าความถูกต้องก็มี เป็นชนชั้นรากหญ้า vs ชนชั้นกลางก็ได้ ถูกแบ่งได้ทั้งนั้น เหตุเพราะเป็นบ้านเมืองที่ไม่มีถูกมีผิดนั่นเอง

ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 กำหนดไว้ว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเอง หรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้น ตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญ จะได้พิจารณาวินิจฉัย ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้ แต่ให้รอการพิพากษาคดี ไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคำโต้แย้งของคู่ความตามวรรคหนึ่งไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาก็ได้

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ใช้ได้ในคดีทั้งปวง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดแล้ว 
 
 
 


กระทู้เกี่ยวเนื่อง
http://forum.serithai.net/index.php?topic=26019.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-05-2008, 05:33 โดย CanCan » บันทึกการเข้า

หน้า: [1]
    กระโดดไป: