ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
25-04-2024, 23:25
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  ห้องสาธารณะ  |  ร่วมด้วยช่วยกันพิสูจน์ ข้อมูลการล่มลอยตัวทีผมได้มากจาก รดน. 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
ร่วมด้วยช่วยกันพิสูจน์ ข้อมูลการล่มลอยตัวทีผมได้มากจาก รดน.  (อ่าน 4208 ครั้ง)
512KB
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 93


« เมื่อ: 14-04-2006, 18:44 »

จากการตั้งกระทู้ที่ รดน. จึงมีท่านนึงนามว่า Mars นำบทความลงตอบอย่างชัดเจน
แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มา ดังนั้น ผมจึงอยากพิสูจน์บทความนี้

รัฐบาลพรรค ปชป. สร้างตราบาปมหาศาลให้กับประเทศไทย
ทศวรรษที่ 2530 เป็นทศวรรษแห่งการขยายตัวที่รวดเร็วของไทย คือ มากกว่า 8% เกือบทุกปี ประเทศไทยมีเงินไหลเข้าจากต่างประเทศอย่างมหาศาลทั้งในรูปเงินกู้และเงินลงทุน ในขณะที่มีเงินไหลเข้าอย่างรุนแรงนั้น นโยบายของประเทศมิได้มีการปรับตัวเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น การวางกฎเกณฑ์ ควบคุมสถาบันการเงินเป็นไปด้วยความหละหลวม และความผิดพลาดที่สำคัญก็คือการดำเนินนโยบายตรึงค่าเงินบาทไว้กับดอลลาร์เป็นเวลานานทำให้ขาดกลไกสำคัญที่จะช่วยลดแรงกดดันจากการไหลเข้าของเงิน และยังเท่ากับเป็นการค้ำประกันและส่งเสริมการกู้เงินระยะสั้นจากต่างประเทศ เมื่อรวมเข้ากับการเปิดเสรีทางการเงินและการที่ดอกเบี้ยภายในประเทศสูงกว่าภายนอกมาก ก็ยิ่งทำให้การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเติบโตจนเกินควบคุม สภาพคล่องที่ล้นเพราะเงินไหลเข้าได้ทำให้เกิดฟองสบู่ในราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่พุ่งสูงขึ้นจนเกินเหตุผล ภาคสถาบันการเงินเมื่อมีสภาพคล่องมากก็ปล่อยกู้อย่าง หละหลวม มีการทุจริตและการลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่าเป็นจำนวนมาก

ในที่สุดเมื่อสถานการณ์สุกงอม อสังหาริมทรัพย์เริ่มขายไม่ออกอย่างรุนแรง สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มประสบปัญหาหนี้เสีย หนี้สินต่าง ประเทศเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ 60%ของ GDP และดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศที่ขาดดุลมาโดยตลอดก็เพิ่มขึ้นจนถึง ขีดอันตราย กองทุนต่างประเทศก็เข้ามา ฉวยโอกาสหากำไรโดยการเข้าโจมตีค่าเงินผสมโรงกับนักลงทุนในประเทศที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงของตัวเอง กดดันให้รัฐบาลต้องยอมลดค่าเงินบาท การลดค่าเงินทำให้เกิดการขาดทุน และมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักลงทุนต่างประเทศบางกลุ่มก็ขาดทุนกันอย่างรุนแรง ในขณะที่เกิดวิกฤติทางการเงิน ก็มีเงินไหลออกนอกประเทศอย่างฉับพลัน เจ้าหนี้ต่างประเทศเรียกหนี้คืนและไม่ยอมต่อสัญญาเงินกู้เกิดเป็นปรากฎการณ์สภาพคล่องเหือด ฟองสบู่แตก

## รัฐบาล ชาติชาย (สิงหา 2531-กุมภา 2534)
เป็นยุคของการเปิดเสรีทางการลงทุน ชักชวนต่างชาติมาลงทุน เศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็ว และเริ่มมีการสะสมฟองสบู่ โดยเฉพาะที่ดินที่มีการเก็งกำไรกันมาก
อัตราการขยายตัวประมาณ 11~13%ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 3~ 8% ของ GD P
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2533) 29600 ล้านดอลลาร์

## รัฐบาล อานันท์1 (มี.ค. 25 34-เม.ย. 2535) อานันท์2(มิ.ย 2535-ก.ย.2535)
รัฐบาลได้สร้างภาพพจน์ต่อต่างประเทศด้วยการเปิดเสรีทางการค้า มีการลดภาษีนำเข้าหลายรายการเช่น รถยนต์ ไทยขาดดุลการค้ามากขึ้น
อัตราการขยายตัวประมา ณ 8.5 %ของ GDP
ดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบประมาณ 5.5~ 7.5% ของ GDP
หนี้ต่างประเทศรวม (ปี 2535) 43621 ล้านดอลลาร์

## รัฐบาล ชวน 1 (ก.ย.35-พ.ค.38)
*นโยบายเปิดเสรีทางการ เงิน
โดยหวังให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค อนุญาติให้มีการปล่อยสินเชื่อวิเทศธนกิจ BIBF แต่ได้คงนโยบายค่าเงินตายตัวโดยผูกติดไว้กับดอลลาร์ ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่สามารถปรับตัวได้ อีกทั้งการกู้เงินต่างประเทศประเภท BIBF นั้นก็ได้มีการผ่อนคลายมาตรการกำกับที่มีอยู่เดิมให้ไม่ต้องมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS

*นโยบายเปิดเสรีทางสาธารณูปโภค
รัฐบาลขณะนั้นมีนโยบายจำกัด บทบาทของภาครัฐ โดยให้สัมปทานกับเอกชนและเรียกเก็บค่าสัมปทานล่วงหน้า เช่น โทรคมนาคม ทางด่วน (สบายครับ นอกจากไม่เปลืองงบแล้ว ยังได้เงินเข้ารัฐ ทั้งไม่ต้องเสี่ยงโดนด่าว่าขายสมบัติชาติ หรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนเหมือนระดมทุนจากตลาดทุน )
การเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการลงทุนในสาธารณูปโภคและการเปิดเสรีภาคการเงินเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการกู้ยืมเงินจากนอกประเทศโดยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นมาก มีการกู้เงินจากนอกประเทศเข้ามาฝากกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เก็งกำไรในที่ดินและในตลาดหุ้น สถาบันการเงินก็กู้เงินเข้ามาปล่อยกู้อย่างหละหลวม มีการใช้เงินกู้ไปในการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า
ในเวลาไม่กี่ปีหนี้สินต่างประเทศของไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี 2537 IMF ได้เริ่มเตือนประเทศไทยให้เปลี่ยนนโยบายการเงินและได้เตือนซ้ำอีกในปี 38 แต่ไม่ได้รับความสนใจ
ระยะนี้อัตราการขยายตัวของไทยยังคงอยู่ในระดับสูงคือประมาณ 8~9% ของ GDP แต่ช่วงนี้ก็มีดุลบัญชีเดินสะพัดที่ติดลบรุนแรงทุกปีเช่นกัน (-5~ -5.5 %ของ GDP ) ส่วนหนี้ต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ปี 2538 ไทยมีหนี้ต่างประเทศ 82,568 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นประมาณ หนึ่งเท่าตัวในช่วงเวลา 3 ปีของรัฐบาล )


## รัฐบาลบรรหาร (ก.ค.2538-ก.ย.39)
ช่วงรัฐบาลบรรหาร เริ่มมีการเสื่อมลงของ อสังหาริมทรัพย์และหนี้สินในสถาบันการเงิน ตลาดหุ้นตกต่ำลง การส่งออกกุ้งถูกกีดกันจากกฎหมายสิ่งแวดล้อมของสหรัฐ ประจวบกับค่าเงินดอลลาร์ได้สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เงินบาทที่ผูกติดไว้กับดอลลาร์ก็สูงตามไปด้วย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลงไปอีก ปี 2538 และ 2539 ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยตกต่ำเข้าขั้นวิกฤต สองปีติดต่อกัน คือ -8.2 และ -8.1 ตามลำดับทำให้เงินบาทอยู่ในฐานะที่ล่อแหลมต่อการถูกโจมตี
มี.ค. 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody’s ได้เตือนว่าจะลดอันดับหนี้ระยะสั้นของไทย และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแก้ไขปัญหา BBC โดยเพิ่มทุนใหม่โดยไม่ได้ลดทุนเก่าเสียก่อน ยิ่งซ้ำเติมให้ต่างชาติขาดความเชื่อมั่น และกระบวนการขนเงินกลับก็ได้เริ่มต้นขึ้น
ก.ย. 2539 สถาบันจัดอันดับ Moody’s ได้ลดอันดับ พันธบัตรระยะสั้นของไทย
ในช่วงรัฐบาลบรรหาร นักเก็งกำไรต่างชาติได้เข้ามาโจมตีค่าเงินหลายครั้งแต่ยังไม่รุนแรงนักเป็นการหยั่งเชิงว่า ธปท. จะเปลี่ยนนโยบายค่าเงินหรือไม่
**ถึงตรงนี้คงจะกล่าวได้ว่า มีนโยบายทางการเงินการคลังที่ควรได้รับการแก้ไข แต่รัฐบาลไทยในอดีต ไม่ได้มีการตัดสินใจใดๆ คือ
1.ไม่ได้ดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดพอ
2.ไม่ได้ดำเนินนโยบายทางการคลังที่เข้มงวดและเกินดุลมากพอ
3.ไม่ได้เตรียมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้เพียงพอ ต่อการไหลออกของเงินกู้และใช้ในยามวิกฤติ ขณะนั้นทุนสำรองของชาติมีเพียงพอสำหรับชำระสินค้าขาเข้าราว 4 เดือนเท่านั้น และยังเป็นเงินที่กู้มาเกือบทั้งหมด
4.ไม่ได้เปลี่ยนนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนทั้งๆ ที่ IMF ได้เคยเตือน ในปี 2537 2538(ชวน1) และ 2539(บรรหาร)
5.ไม่ได้มีนโยบายสะกัดกั้นการกู้เงินระยะสั้น (ในระยะหลังการกู้เงินจากต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการกู้ระยะสั้น)

## รัฐบาลชวลิต(พย.39-พ.ย.40)
ต้นปี 2540 รัฐบาลได้ตัดงบประมาณแผ่นดินลงอย่างรุนแรงถึง 2 ครั้งเพื่อชะลอเศรษฐกิจและเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
ในปี 2540 ธุรกิจอสังหาริมทรัย์ก็ได้กลายเป็นหนี้เสียในสถาบันการเงินมากขึ้นอุตสาหกรรมบางอย่างก็แสดงอาการเป็นฟองสบู่ เกิดเป็นหนี้เสียเช่นกัน ในเดือน มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่ามีบริษัทเงินทุน 10 แห่งต้องเพิ่มทุนด่วน ประชาชนที่ได้ข่าวหนี้เสีย ก็แห่กันมาถอนเงินฝาก บ. เงินทุนขาดสภาพคล่องจึงหันไปขอความช่วยเหลือจากกองทุนฟื้นฟู เดือน ก.ค. บริษัทเงินทุน 16 แห่งถูกระงับกิจการเป็นการชั่วคราว และอีก 42 แห่งในเดือน สิงหา เพื่อให้ ธ.ป.ท. เข้าไปตรวจสอบ

***การโจมตี ค่าเงินของต่างชาติ
14 ก.พ. 2540 (เดือนที่ 3 ของรัฐบาลชวลิต) มีการโจมตีค่าเงินโดยกองทุนต่างชาติอย่างรุนแรง ด้วยความกลัวว่าระบบการเงินจะพัง ธปท.ได้ทำสัญญา swap เพื่อปกป้องค่าเงินบาทไปถึง 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ (ขณะนั้นไทยมีหนี้ต่างประเทศ 91000 ล้านดอลลาร์ ) ครั้งนั้นแม้ ธปท. จะแกล้งสั่งจำกัดการแลกเปลี่ยนเงินบาทของธนาคารในประเทศ จนทำให้กองทุนต่างชาติต้องไปตั้งโต๊ะขอซื้อเงินบาทที่สิงคโปร์ในราคาแพงและขาดทุนไปตามกัน แต่กองทุนต่างชาติมิได้ล่าถอยแต่กลับไปเตรียมเงินบาทเพื่อกลับมาใหม่

14 พ.ค. ได้มีการโจมตีค่าเงินบาทครั้งใหญ่อีกครั้ง ธปท.ได้ต่อสู้โดยทำสัญญา swap ไปกว่าหมื่นล้านดอลลาร์ จนทำให้ทุนสำรองสุทธิ เหลือเพียง 2.5 พันล้านดอลลาร์(ทุนสำรองสุทธิ คือทุนสำรอง หักด้วยภาระ swap แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุนสำรองจริงๆเหลือเท่านั้น เพราะการส่งมอบภาระ swap ทำที่เวลาต่างๆ กันในอนาคต ส่วนจะเสียหายเท่าไรก็อยู่ที่อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อถึงกำหนดส่งมอบ)

ตามรายงาน ศ.ป.ร.(ที่ตั้งโดย ป.ช.ป.) การต่อสู้ครั้งใหญ่ทั้งสองครั้ง ธ.ป.ท รายงานแต่ชัยชนะแต่ไม่ได้รายงานยอด swap ให้ ร.ม.ต. คลังทราบเพราะถือว่าเป็นบัญชีซื้อขายของฝ่ายการธนาคาร และไม่ได้กระทบกับเงินสำรองในทันที อีกทั้งต้องการซ่อนไม่ให้ ตลาดเงินและประชาชนรู้ (จริงๆแล้ว ร.ม.ต. คลังกับพลเอกชวลิตจะทราบหรือไม่ กระผมไม่อาจรู้ได้)

25 มิ.ย. ดร.ทนง (ที่เพิ่งเข้ามารับตำแหน่ง ร.ม.ต. คลัง แทน ดร. อำนวย)ได้สั่งให้ ธ.ป.ท. รายงานสถานะเงินสำรองสุทธิ และเข้ารายงาน พลเอกชวลิต ในวันที่ 29 มิ.ย. จากนั้น พลเอกชวลิต ได้ตัดสินใจลดค่าเงินบาทโดยการปล่อยลอยตัว ในวันที่ 2 ก.ค. 40 (เหตุผลคือเงินสำรองสุทธิลดลงมากจนไม่อยู่ในสถานะที่จะปกป้องค่าเงินได้อีก และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด)

เป็นอันสรุปว่า ธปท. ได้ทำให้เกิดความเสียหายจากการที่พยายามตั้งค่าเงินไว้สูงเกินไป และได้ทำสัญญา swap เพื่อต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินบาท เป็นวงเงินรวมทั้งหมดเกือบ 30,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งภายหลังเมื่อ ธปท. ได้ชำระภาระ swap หมดแล้วพบว่ามีขนาดความเสียหาย 188,760 ล้านบาท หรือทำสัญญา swap 30,000 ล้านเหรียญแล้วขาดทุนเฉลี่ยเหรียญละ 6.3 บาท (ไม่ใช่เสียหายทั้ง จำนวนสัญญาสามหมื่นล้านเหรียญ หรือ แปดแสนกว่าล้านอย่างที่มีคนบางกลุ่มพยายามทำให้ประชาชนเข้าใจอย่างนั้น)
การลดค่าเงินโดยการปล่อยลอยตัว แม้จะทำให้ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเป็นบวก(นับจากเดือนกันยายน 2540 ไทยมีดุลการค้าเป็นบวก 800~ 1000 ล้านดอลลาร์ต่อเนื่องทุกเดือน) แต่ก็ทำให้ธุรกิจที่กู้เงินต่างประเทศและธนาคารต่างๆ มีหนี้สินสูงขึ้นทันที

เมื่อเงินสำรองสุทธิ ลดต่ำลงมากทำให้รัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อของวงเงินสำรองไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน IMF ได้ตั้งวงเงินกู้ให้ไทยเพียง 17.2 พันล้านดอลลาร์(ให้เป็นงวดๆ หาก LOT ไม่ถูกใจเมื่อไหร่ก็ไม่ให้) ซึ่งทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศคาดว่าวงเงินเพียงเท่านั้นแม้จะเพียงพอต่อรัฐบาลแต่จะไม่เพียงพอต่อการคุ้มกันการทวงหนี้ของภาคเอกชน เมื่อวงเงินคุ้มกันไม่มากพอ การทวงหนี้ในภาคเอกชนจึงดำเนินต่อไปอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดการลดค่าเงินอย่างรุนแรง และปัญหาการขาดสภาพคล่องที่นำไปสู่การล้มละลายของธุรกิจจำนวนมากตามมา

ช่วงเดือน สิงหา ถึงตุลา ได้มีการปลุกกระแสสังคมอย่างหนักว่าประเทศไทยกำลังจะล้มละลายเพราะรัฐบาลชวลิต จากกระแสต่อต้าน พลเอกชวลิตได้ตัดสินใจลาออก ขณะนั้นเงินบาทอยู่ที่ 36.85 บาท


## รัฐบาล ชวน 2 (พย.40-กพ 44)
หลังจากที่ ได้เข้ามาบริหารประเทศด้วยเสียงเชียร์อันดังกระหึ่มของบรรดานักวิชาการและสื่อแล้ว รัฐบาลก็ได้พยายามหยุดยั้งการไหลออกของเงินด้วยการขึ้นดอกเบี้ย แต่เนื่องจากขาดความเชื่อมั่น แม้จะขึ้นดอกเบี้ยการไหลออกของเงินก็ยังไม่ลดลง ยังคงมีการเรียกหนี้คืนอย่างหนักจากต่างประเทศ ค่าเงินบาทได้ไหลลงต่อเนื่องและทำจุดต่ำสุดที่ 57.5 บาทต่อดอลลาร์ในเดือน มกราคม 2541 ก่อนจะกลับขึ้นมาอยู่ในระดับประมาณ 40 บาทเมื่อสิ้นไตรมาสที่ 1 แต่รัฐบาลก็ยังคงตั้งเป้าที่จะทำให้ค่าเงินเข็งขึ้นไปอีก และคงนโยบายดอกเบี้ยสูงต่อไป ทั้งๆที่เงินบาทได้เข้าสู่ระดับสมดุลและเศรษกิจชะลอลงอย่างรุนแรงแล้ว

ความพยายามที่จะทำให้เงินแข็งขึ้นโดยใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงและควบคุมฐานเงินทำให้เงินฝืดเป็นเวลานาน เพื่อช่วยธุรกิจขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินที่กู้เงินต่างประเทศมาก และทำให้ธนาคารสามารถหากำไรจากการไม่ปล่อยสินเชื่อได้ โดยนำเงินมาฝากกับ ธ.ป.ท. แต่การใช้นโยบายนี้เป็นเวลานานเกินไปก็มีผลข้างเคียงคือ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และปัญหาการขาดสภาพคล่องในธุรกิจขนาดเล็กรุนแรงมากขึ้น ช่วงนั้นมีธุรกิจล้มละลายเดือนหนึ่งๆ นับพันราย

ช่วงปลายเดือน ก.ค. ปี 2541 รัฐบาลได้เริ่มลดอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารลงเรื่อยๆ ธนาคารเองก็ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน และยังไม่มีทีท่าว่าจะปล่อยเงินกู้เข้าสู่ระบบเศรษกิจเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร เนื่องจากธนาคารถูกบังคับให้ต้องกันสำรองให้ได้ ตามเกณฑ์ 8.5% ต่อสินทรัพย์เสี่ยง

สำหรับสถาบันทางการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราวและอยู่ในการดูแลของ ป.ร.ส. นั้น มี 56 แห่งไม่สามารถสำรองตามเกณฑ์ 15 %(หลังจากถูกตรวจสอบบัญชีและประเมินราคาสินทรัพย์โดย บ.สอบบัญชีต่างชาติแล้ว)จึงถูกปิดกิจการถาวร ปล่อยรอดมาเพียง BIC และ KK ซึ่งแข็งแรงถึงขนาดเข้าประมูลสินทรัพย์ ป.ร.ส. แข่งกับต่างชาติได้ (กรณีที่ใช้เกณฑ์การสำรองหนี้เสียที่เข้มงวดกว่าปกตินี้รัฐบาลอธิบายว่า เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่กลับมาเป็นปัญหาอีก) จากนั้นรัฐได้รีบจัดให้ประมูลขายสินทรัพย์และหนี้ที่ติดอยู่กับ ป.ร.ส. ออกไปทั้งหมด ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาชาวต่างชาติโดยไม่มีการประนอมหนี้แต่อย่างไร ด้วยผลประโยชน์ที่ขัดแย้ง ที่ปรึกษาต่างชาติได้ตั้งกฎเกณฑ์ที่เอื้อให้พวกตัวเองและกีดกันคู่แข่งขัน ในการประมูลปี 2541 ได้ราคาต่ำเพียง 20% เท่านั้น (รัฐบาลให้เหตุผลว่าที่รีบขายออกไปเพราะต้องการขายก่อนประเทศอื่นที่มี ปัญหาเช่นกัน เช่นเกาหลี อินโด และจะทำให้ได้เงินเข้าประเทศ)

การปิดสถาบันการเงินทำให้ ธุรกิจที่กู้เงิน ถูกปิดวงเงิน ทรัพย์สินถูกยึดติดไปกับหนี้ ไม่มีเงินหมุนเวียน กลายเป็นหนี้เสีย ลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่น ทั้งสินทรัพย์ที่ได้ถูกประมูลไป แล้วขายออกมาในราคาถูกกว่าท้องตลาดก็มีส่วนทำให้สินทรัพย์ที่ตกต่ำอยู่แล้วตกต่ำลงไปอีกและย้อนกลับมาเป็นภาระให้ธนาคารต้องกันสำรองมากขึ้น (สินทรัพย์ที่ราคาต่ำลง ทำให้หลักประกันไม่คุ้มมูลหนี้ หนี้สินที่ให้กู้จึงจัดเป็นหนี้เสีย ต้องตั้งสำรอง นำไปสู่การลดลงของกองทุน ซึ่งธนาคารเกือบทุกแห่งต้องลดทุนลงจนสูญเสียความเป็นเจ้าของ)

ความเสียหายจากฟองสบู่แตกในครั้งนั้นมีความเสียหายเท่าไรไม่อาจประเมินได้แน่ชัด เฉพาะความเสียหายในภาคสถาบันการเงินก็มีมูลค่านับล้านล้านบาท ยังไม่รวมการที่รัฐต้องยอมลดค่าสัมปทานให้กับธุรกิจเอกชน การล้มละลายของธุรกิจนับหมื่นแห่ง รวมถึงธุรกิจไทยที่ต้องตกไปอยู่ในมือต่างชาติ

คำศัพท์
*เงินสำรองระหว่างประเทศ คือเงินที่มีสำรองไว้ใช้จ่ายกับต่างประเทศ ประกอบไปด้วย เงินเหลือใช้ และเงินที่กู้เขามา
*ดุลบัญชีเดินสะพัด คือ ดุลการค้าบวก ดุลบริการ เป็นตัววัดว่าการค้าขายทุกชนิดของประเทศมีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด เสมือนเป็นงบกำไรขาดทุนของประเทศ ถ้าบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ส่วนที่ขาดดุลจะถูกปิดด้วยทุนสำรองของประเทศ หรือด้วยการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ(ทั้ง เงินกู้และเงินลงทุน)

*ดุลการชำระเงิน เป็นตัวเลขแสดงเงินไหลเข้าออกสุทธิในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งก็คือ ดุลบัญชีเดินสะพัด บวกด้วยเงินไหลเข้าจากการกู้เงิน หรือนำมาลงทุน หักด้วยเงินไหลออก เพื่อนำไปชำระหนี้ หรือเงินทุนไหลกลับในรูปเงินปันผลหรือขายหุ้นแล้วเอาคืนไป ดุลการชำระเงินจึงเป็นเหมือนกระแสเงิน Cash Flow ของประเทศ กรณีของประเทศไทยรัฐบาลในอดีต ได้ให้ความสำคัญกับดุลการชำระเงินมากเกินไป เมื่อดุลบัญชีเดินสะพัดติดลบจึงไม่ได้มีความพยายามที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศหรือยอมลดค่าเงิน แต่ได้ทำการกู้เพิ่มซึ่งเป็นการกลบเกลื่อนปัญหาของประเทศ

### ปุจฉา ###
1.) หากรัฐบาลไทยในอดีตได้ตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายค่าเงิน หรือได้ทำการชะลอเศรษฐกิจลงบ้าง เมื่อเห็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศติดลบมากเกินไป โดยเฉพาะหากกระทำก่อนที่หนี้ต่างประเทศจะอยู่ในระดับสูง สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร และการโจมตีค่าเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่
2.) เมื่อมีการโจมตีค่าเงิน หาก ธ.ป.ท. ตัดสินใจไม่ปกป้องค่าเงินแต่ยอมให้ค่าเงินลดลงในทันที ปัญหาการไหลออกของเงินกู้การล้มละลายของธุรกิจอันเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องที่รุนแรงและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น การตกต่ำของสินทรัพย์ หนี้เน่าใน ภาคสถาบันการเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเปลี่ยนไปอย่างไร
3.) การโจมตีค่าเงินอย่างรุนแรงทั้งสองครั้ง หากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ใช่ รัฐบาลพลเอกชวลิต แต่เป็นรัฐบาลอื่น เช่นรัฐบาลชวน ท่านคาดว่าจะมีการตัดสินใจต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินหรือไม่
4..) หากกล่าวว่าการตัดสินใจลดค่าเงินด้วยการ เปลี่ยนระบบ การเงินของประทศ ไปเป็น Managed Float System(ลอยตัวภายใต้การจัดการ) ในสถานการณ์ขณะนั้น โดยรัฐบาล พลเอกชวลิต เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ฉะนั้นทางเลือกอื่นคืออะไร ในแนวทางนั้นจะสามารถแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงเกินไปได้หรือไม่ รวมถึงจะต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินของต่างชาติต่อไปอย่างไร
5.)การใช้ข้อมูลเท็จ ปลุกกระดม สร้างกระแสให้เกิดความหวาดกลัว เพื่อโค่นล้มรัฐบาล พลเอกชวลิต รวมถึงการไปพูดโจมตีถึงต่างประเทศ มีส่วนทำให้ค่าเงินบาทรูดลงไปที่ 57.5 บาทต่อ ดอลลาร์หรือไม่

สรุปมีพรรคเดียวเท่านั้นที่ทำความเลวเช่นนี้ให้เกิดกับประเทศชาติได้ คือ พรรคมาร ปชป. นี้เท่านั้น และตอนนี้ พรรคนี้ ก็กำลังใช้คารมกลับขาวเป็นดำ กับดำเป็นขาว เพื่อสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศชาติอีก

ไม่มีพรรคการเมืองใดจะเลวเท่าพรรคนี้อีกแล้ว เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ พวกนี้ก็จะทำได้ทุกอย่าง ร่วมมือกับโจรโกงเงินชาวบ้าน เช่น นายเอกยุทธ พรรคนี้ก็ทำ
พวกเปิดประตูเมืองกรุงศรีอยุทธยา กลับชาติมาเกิด

อ้างอิงจาก http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4284179/P4284179.html
บันทึกการเข้า
Can ไทเมือง
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13,486



เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14-04-2006, 19:58 »

แหม...เรื่องที่ผมอ่อนด้อยที่สุดก็คือเรื่่องเศรษฐกิจ หากพอจะมีความรู้อยู่บ้างก็คือเรื่องการเมืองกับสังคม

อยากได้มุมมองจากเพื่อน ๆ ที่มีความสามารถด้านเศรษฐกิจมาร่วมเสวนาในกระทู้นี้

ส่วนผมขอร่วมทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยด้วย

ช่องรัฐบาลเกาเหลา รู้สึก ปชป. ก็โดนมรสุมโจมตี ไม่แพ้ไทยรักไทยในยุคนี้

เพียงแต่เป็นคนละประเด็น คนละมุมมอง
บันทึกการเข้า

จูล่ง_j
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,901



« ตอบ #2 เมื่อ: 14-04-2006, 20:45 »

ข้อคิดเห็นของคุณ Mars นั้นกล่าวเกินจริง คือพยายามโยนขี้มาทาง ปชป ฝ่ายเดียว
ทั้งๆที่ฟองสบู่มันแตกในสมัย ชวลิต

-จะโทษนโยบายเสรีทางการเงินได้อย่างไร ในเมื่อมันก็ต้องเสรีอยู่แล้ว
ปัญหามันหมักหมมมาจากรัฐบาลหลายสมัย
การปล่อยกู้ง่ายเกินไป การทุจริตในสถาบันการเงินเอง
มีการตั้งบริษัทกระดาษมากู้มากมาย ยุคนั้นที่ดังๆ มีสองคนคือ ราเกส ศักด์เสนา กับใครอีกคน จำชื่อไม่ได้

-ใครเป็นคนนำเงินไปปกป้องค่าเงินบาทจนหมดคลัง
ชวลิต เป็นนักเล่นการพนันไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แถมเล่นได้ห่วยแตก เล่นจนหมดเนื้อหมดตัวค่อยเลิก

-การตัดสินใจลอยตัวค่าเงินบาทอันเชื่องช้า
ธ.ป.ท.ได้ประชุมกับรัฐมนตรีในรัฐบาลชวลิตแล้วว่า ยังไงก็ต้องลอยตัวค่าเงินบาท
แต่รัฐบาลชวลิตก็พยายามเยื้อไปอีกหลายวัน ประเทศเลยยิ่งเสียหายหนัก
แถมมีข่าวรั่วออกไปอีก มีคนไทยมากมายไปแลกเปลี่ยน กักตุนดอลล่าร์ ซ้ำเติมประเทศไทย
ผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งคือ ทักษิน

-ขณะที่ เครื่องบินเศรษฐกิจไทย กำลังโหม่งโลก ชวลิตก็เลิกขับเครื่องบินดื้อๆซะงั้น

-เมื่อ ปชป เข้ามาบริหาร ได้ให้เวลา สถาบันการเงิน หาทุนสำรองเพิ่ม
แต่ มีสถาบันการเงิน ทำได้แค่ 2 แห่ง ที่เหลือจำเป็นต้องปิด

-เมื่อประเทศไทยขาดเงินหมุนขนาดหนัก การขายทรัพย์สินเน่า
จึงจำเป็นต้องให้ต่างมาประมูลด้วย คนไทยเองก็ประมูลได้ แต่ตอนนั้นหาคนมีเงินน้อยเต็มที

-ทำไมถึงขายได้ราคาต่ำ
ก็ในเมื่อมันไม่มีคนซื้อจะขายราคาสูงได้ยังไง คนไทยเองมันยังไม่ซื้อเลย

-พอ ทรท มาเป็นรัฐบาล ก็ได้ตั้งหน่วยมาสอบสวนเรื่องนี้
แล้วยังไง ทำไมไม่เอาผิดกับ ปชป ล่ะ คุณเป็น รัฐบาล อำนาจเต็มมือแท้
อย่าเอาแต่ด่า ใครผิดเอามันติดคุกไปสิ เล่น ย้อนหลังไปให้ถึง ชวลิตไปเลย
บันทึกการเข้า

ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #3 เมื่อ: 14-04-2006, 21:48 »

ขอเสริมต่อจากคุณจูล่ง_J.....

เจ้าของกระทู้หรือเจ้าของข้อมูลนั้นรู้ละเอียดมาก(?) สามารถระบุความผิดของผู้เกี่ยวข้องระดับต่างๆ  แต่ไม่สามารถ หรือ ไม่ระบุ คนที่นำ 'inside' การลดค่าเงิน ไปหาผลประโยชน์ทั้งที่คนที่ติดตามเรื่องนี้ รู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง.......!


1. เจ้าของกระทู้เผอิญไม่รู้เรื่องนี้ หรือ จงใจละเว้นที่จะกล่าวถึงคนที่ได้รับผลประโยชน์จาก inside เพื่อปกป้อง ?

2. จากข้อ 1 ทำให้เจ้าของกระทู้หรือเจ้าของข้อมูลเจตนา จงใจไม่พูดรายละเอียดในเรื่องอื่นๆ สองด้าน เพื่อให้คนอ่านเข้าใจผิดคิดผลเสียเกิดขึ้นกับผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พรรคประชาธิปัตย์เท่านั้น ?

3. การบริหาร การจัดการของรัฐบาลชวน 2 มีผลร้ายต่อประเทศด้านเดียว ไม่มีผลดีเลย...

4.  ฯลฯ

ถ้าอยากจะอ่าน ก็ต้องใช้สติปัญญา ความรู้ และไตร่ตรองตามหลักกาลามสูตร เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวง เป็นตัวโง่
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
ลมรำเพย
น้องใหม่
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12


« ตอบ #4 เมื่อ: 14-04-2006, 22:54 »

อยากรู้แบบชัด ๆ ต้องส่งหน่วยกล้าตายเข้าไปคุยในรายการคุยได้คุยดี กับ วีระ  ธีรภัทร  ดูนะ  ท่าทางแกจะให้คำตอบที่ชัดเจนได้    รายการมีทุกวันจันทร์ - ศุกร์     เวลา 14 - 17 น.  ช่อง 97.0   เบอร์โทร. 026366821 - 3     แต่ต้องบอกก่อนว่าแกปากร้ายหากซี้ซั้วพูดโดยไม่มีความจริง   น่าจะใช้วิธีว่าขอสอบถาม   ถ้าแกขี้เกียจอธิบายก็อาจจะแนะนำให้หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องตรงนี้ให้ไปอ่านกันเอง    จะรอฟังนะ
บันทึกการเข้า
ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #5 เมื่อ: 15-04-2006, 13:41 »

ลองหาหนังสือของอาจารย์สมภพเป็นแหล่งอ้างอิงอันหนึ่งได้ครับ น่าจะเป็นกลางกว่า ส่วนในราชดำเนินอันนั้นก็ไม่ได้เปิดเข้าไปอ่าน (พอจะเดาได้ว่าเข้าไปอ่านแล้วจะได้เห็นความเห็นแบบไหน)

ผมเคยคุยกับดร.อำนวย (เอ้อ คือมีโอกาสยกมือถามน่ะครับ แหะแหะ ไม่ใช่คุยเป็นการส่วนตัว ตัวผมน่ะโนเนมครับ) ดร.อำนวยบอกแค่ว่าจริงแล้วการเปิดเสรีทางการเงินก็เสมือนกับนโยบายอันหนึ่งของทาง IMF ที่อยากให้ไทยเปิดในสมัยนั้น ผมพยายามย้อนหาบทความในสมัยนั้นเหมือนกันว่ามีใครค้านเรื่อง IMF,BIBF บ้าง แต่ก็ไม่เคยเจอ เคยมีสมาชิกจากราชดำเนินที่ตอบผมเหมือนกันว่าก็มีอาจารย์อัมมาร์ คนหนึ่งที่ท้วงเรื่องนี้ (อ้อ สมัยก่อนนั้นผมไม่ได้สนใจการเมืองจริงๆจังๆครับ ผมมุ่งไปที่ computer อย่างจริงจัง เพิ่งมาสนใจจริงจังก็ตอนเข้าราชดำเนิน)

ประเด็นในย่อหน้าที่ 2 ก็คือ ความดีของ BIBF มันก็มีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติมันเกิดผิดพลาดขึ้นมา ในกระทู้ราชดำเนินซึ่งเจือไปด้วยอคติพอสมควรก็จะมักกระหน่ำว่า BIBF มันคือยาพิษ IMF มันคือสถาบันปีศาจ ฯลฯ ใครสนับสนุนก็คือสาวกปีศาจ มันก็ทำให้ไม่ค่อยจะมีการมองภาพที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมานอกจากการสร้างภาพเพื่อถล่มคู่ต่อสู้

หลายคนก็เลยจงใจ (หรือไม่รู้จริงๆก็ไม่ทราบ) ไม่กล่าวถึงว่าจริงๆแล้ว BIBF ได้มีการเซ็นสัญญาในสมัยรัฐบาลคุณอานันท์ ต่อมาสมัยรัฐบาลคุณบรรหารในฐานะพรรคชาติไทยก็สนับสนุน เช่นเดียวกับรัฐบาลพลเอกชวลิต ซึ่งก็มีพตท.ทักษิณเข้าร่วมในเวลาต่อมา หลายคนละเลยกล่าวถึงเรื่องนี้ ทั้งๆที่ผมไปซื้อหนังสืออื่นย้อนหลังมันก็มีบอกไว้ชัดเจน แปลกดีครับ

พอเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะฟองสบู่ และเมื่อการโจมตีค่าเงินบาทเริ่มต้นขึ้นและจบด้วยความเจ๊งชัยของรัฐบาลและประชาชนไทย ก็ถึงคราวของการเมืองมาถล่มเศรษฐศาสตร์ โดย IMF ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการบีบบังคับการเปิด BIBF ส่วนเหล่านักเศรษฐศาสตร์เจ้าของรางวัลทั้งหลายก็พากันมาโจมตี model ของ IMF  ว่าผิดอย่างมหันต์ในการแก้ปัญหา การปิดเสรีทางการเงินอย่างดร.มหาเธร์หรือจีนถือเป็นวิธีการที่ถูกต้อง การฉลองชัยในการปลดหนี้จาก IMF (แต่ไปเป็นหนี้อย่างอื่นแทน) ถือว่าเป็นช่วงเวลาน่าไชโยโห่ฮิ้วต้องติดธงชาติ

ทั้งหมดนี้คือมุมมองของผม ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคร้าบ
บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
ลูกไทย หลานไทย
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,196


วันนี้วันดี วันที่เป็นไท


« ตอบ #6 เมื่อ: 15-04-2006, 13:47 »

กลับไปอ่านบทความที่คุณเอามาลงใหม่อย่างละเอียด ผมว่าบทความนั้นมันจงใจดึงมาบางส่วนทีเดียวครับ ไม่มีการอ้างถึง Plaza Accord ที่ผมมองว่าหากต้องการสาวถึงปัญหา มันควรขุดไปถึงรากลึกอย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ตอนนั้น

มันก็อยู่ที่คนเล่นกระทู้ต้องการด้านไหน ผลลัพธ์ด้านการเมือง หรือความรู้เล่นๆด้านประวัติศาสตร์ของประเทศ

แต่หาก

หากใครอยากเล่นด้านการเมือง ก็เล่นในช่วงถล่มเงินบาทได้ครับหากสนใจ เพราะนั่นผมคิดว่าประโยคในหนังสือ My Life ของ Bill Clinton น่าจะมีความหมายในสภาวะการเมืองระหว่างประเทศขณะนั้นที่น่าสนใจ ผมเดาว่ารายการนั้นมีประเทศหลายๆประเทศที่หักหลังเรานะครับ ย้ำว่าเดาครับ
บันทึกการเข้า

Ŋēmŏ mē ĩmρưŋē ĺдċęşšįҐ
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #7 เมื่อ: 15-04-2006, 15:28 »

คุณลูกไทย หลานไทย ไชโย

เรื่องนี้ บรรดาสาวกฯ และ หวอรูม พยายามหยิบยกมาพูดอย่าง half-truth(การหลอกลวงที่มีความจริงเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น) หยิบยกมาบางท่อน เพื่อบิดเบือนให้เข้าใจผิดตามที่ต้องการ การอธิบายให้ถูกต้องแต่ละครั้งต้องใช้เวลาและการพิมพ์มาก

บางครั้ง ผมจึงต้องชี้แจงสั้นแต่ได้ใจความ พร้อมกับบอกว่า ถ้าอ่านอย่างนี้เข้าใจ ก็เข้าใจประเด็นอื่นๆด้วย แต่ไม่พยายามเข้าใจ ถึงจะชี้แจงมากกว่านี้ สิบเท่า ร้อยเท่า ก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะตั้งเข็มไม่เข้าใจมาแต่แรกแล้ว
บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
512KB
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 93


« ตอบ #8 เมื่อ: 15-04-2006, 22:42 »

ขอขอบคุณ เพื่อน สมาชิกครับที่ตอบและ อ้างอิงแหล่งข้อมูลให้ด้วย
นี่แหละ อดีต ชาว รดน. ที่แท้จริง ว่ากันด้วยข้อมูล
ไม่ใช่เอาอารมณ์ เอามันส์
แบบปัจจุบัน ผมเองพยายามตั้ง กระทู้ที่คิดว่าดีใน รดน หลายครั้ง คำตอบมันไม่ดีเลย
คนที่มาตอบก็มีแค่ฝ่ายเดียว พอฝ่ายอื่นมาตอบ บ้างก็โดนยำเละเลย
..
ขอขอบคุณมากๆครับที่ช่วยให้ความรู้
บันทึกการเข้า
::วิญญาณห้อง2::
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 656



เว็บไซต์
« ตอบ #9 เมื่อ: 16-04-2006, 13:49 »

สรุปคือ โยนขี้ให้ ปชป นั่นแหละ

เรื่องวิกฤติ หากบอกว่า ต้นเหตุคือ BIBF ยังงั้น คงต้องโยนขี้ต่อไปว่า เพราะมีระบบธนาคารขึ้นทำให้เกิดวิกฤติ

เรื่องนี้ขี้เกียจเสวนา ไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมา เพราะพวกที่เกลียด ปชป นี่ มันฝังรากลึกมานานหลายปีดีดักแล้ว
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอวิสัชนาข้อปุจฉาจะดีกว่า

1.) หากรัฐบาลไทยในอดีตได้ตัดสินใจเปลี่ยนนโยบายค่าเงิน หรือได้ทำการชะลอเศรษฐกิจลงบ้าง เมื่อเห็นว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศติดลบมากเกินไป โดยเฉพาะหากกระทำก่อนที่หนี้ต่างประเทศจะอยู่ในระดับสูง สถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร และการโจมตีค่าเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่

ตอบ.................... การโจมตีค่าเงินจะทำไม่ได้โดยสิ้นเชิง หากเปลี่ยนนโยบายเป็นแบบเงินบาทลอยตัว หากย้อนกลับไปอ่านข้อมูลของนาย mars ให้ดี ก็จะรู้ซึ้งว่า  ทุกพรรคการเมือง ไม่ได้รับรู้ถึงอันตรายนี้เลย ตั้งแต่สมัย ชวน 1 และคนในประเทศทั้งหมดก็ไม่ได้รับรู้ถึงอันตรายอันนั้นด้วย.......ทุกคนยังฟุ้งเฟ้อ ทุกคนจ้องแต่กู้เงินมาลงอสังหาริมทรัพย์ ทุกคนออกรถ Benz มาขับกันเกลื่อนเมือง......แต่สมัยชวน 1 สัญญาณทางเศรษฐกิจยังดีอยู่ แต่เริ่มมีสัญญาณ downturn ในช่วงสมัย บรรหาร และหนักที่สุดคือช่วง จิ๋ว และกู่ไม่กลับคือ ช่วงโดนโจมตีค่าเงินบาท........... ซึ่ง หากพิจาณาดู ก็จะปรากฏว่า ทีมบริหารประเทศของบรรหาร กับทีมจิ๋ว คือทีมเดียวกันใช่หรือไม่.......ขณะที่ฝ่ายค้าน ช่วงนั้นได้เตือนรัฐบาลบรรหาร และจิ่วรึเปล่า อันนี้จำไม่ได้แน่ (แต่น่าจะเตือนสมัยจิ๋ว สมัยเดียว สมัยที่เศรษฐกิจเข้าสู่อาการป่วยหนักแล้ว)

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

2.) เมื่อมีการโจมตีค่าเงิน หาก ธ.ป.ท. ตัดสินใจไม่ปกป้องค่าเงินแต่ยอมให้ค่าเงินลดลงในทันที ปัญหาการไหลออกของเงินกู้การล้มละลายของธุรกิจอันเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องที่รุนแรงและภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น การตกต่ำของสินทรัพย์ หนี้เน่าใน ภาคสถาบันการเงินจะเกิดขึ้นหรือไม่ หรือเปลี่ยนไปอย่างไร

ตอบ............... ลดค่าเงินบาททันทีสมัยจิ๋ว ก็จะก่อหนี้เน่า เหมือนกัน เพราะว่า เศรษฐกิจได้เข้าสู่อาการป่วยหนักแล้วในตอนนั้น.... คนกู้เงินมาทำอสังหาก็ยังอยู่ และระดับความรุนแรงของหนี้เน่า คงคล้ายคลึงกัน
 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

3.) การโจมตีค่าเงินอย่างรุนแรงทั้งสองครั้ง หากรัฐบาลในขณะนั้นไม่ใช่ รัฐบาลพลเอกชวลิต แต่เป็นรัฐบาลอื่น เช่นรัฐบาลชวน ท่านคาดว่าจะมีการตัดสินใจต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินหรือไม่

ตอบ................ อันนี้ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับผู้ว่าการแบงค์ชาติในตอนนั้นนะ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

4..) หากกล่าวว่าการตัดสินใจลดค่าเงินด้วยการ เปลี่ยนระบบ การเงินของประทศ ไปเป็น Managed Float System(ลอยตัวภายใต้การจัดการ) ในสถานการณ์ขณะนั้น โดยรัฐบาล พลเอกชวลิต เป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ฉะนั้นทางเลือกอื่นคืออะไร ในแนวทางนั้นจะสามารถแก้ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรื้อรัง อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงเกินไปได้หรือไม่ รวมถึงจะต่อสู้กับการโจมตีค่าเงินของต่างชาติต่อไปอย่างไร

ตอบ................ การต่อสู้ค่าเงินนั้น ผมถือว่า ทำได้...... เพราะไทยได้มีการทำ SWAP เงินไว้แล้ว แต่ การปล่อยลอยตัว หลังจากมีภาระ SWAP มากมายทำให้ประเทศเจ๊งทันที
สรุปว่า ทางเลือกมี 2 แนวทางคือ
          1. ปล่อยเงินบาทลอยตัวทันที การโจมตีค่าเงินจะหยุดไปในทันที โจมตีไปก็ไม่ได้อะไร
          2. ต่อสู้ค่าเงินบาท โดยทำ SWAP เงินควบคู่ไปด้วย
แต่ที่รัฐบาลจิ๋วทำคือ ทำข้อ 2 ก่อนแล้วกลับมาทำข้อ 1

ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยนั้นตามลักษณะของ Parity ถ้าเราใช้นโยบายเงินบาทลอยตัว ดอกเบี้ยจะจัดการให้นิ่งได้ (ไม่แกว่ง)
หากเราจัดการให้เงินบาทให้ไม่แกว่ง (Fixed) ดอกเบี้ยจะแกว่ง ลองนึกย้อนตอนที่ชวน 2 เข้ามาดูสิ ตอนแรกเงินบาทไหลรูดเลยใช่ไม๊ หลังจากลอยตัวค่าเงิน ทำให้อัตราดอกเบี้ยไม่ขยับ ต่อมาเพราะนโยบาย ไม่ให้เงินบาทไหลออกอีก จึงขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างมโหฬาร ทำให้เงินบาทนิ่ง ไม่ไหลต่ออีกต่อไป ซึ่งผมไม่รู้ว่าตอนนั้นวิธีแก้อันไหนของชวน 2 จะดีกว่ากัน จะปล่อยให้เงินบาทรูดลง หรือจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้น แต่สุดท้ายก็เจ็บทั้งคู่
(เงินบาทรูดลง Bank เจ๊งระนาว --------> อาจกระทบไปถึงผู้ฝากเงินด้วย)
(หากดอกเบี้ยขึ้น -------------------------> แบงค์อยู่ได้ คนเสียคือผู้มีเงินกู้อยู่)
แต่หากเป็นผม ยังไงก็คงต้องปกป้องคนฝากเงิน

ผมไม่รู้ว่า Bank ชาติ ไม่รู้ หรือว่าแกล้งไม่รู้
แต่ผมก็ยังคงสงสัยว่า....... ที่ตอนแรกให้สู้ค่าเงินและทำ SWAP ค่าเงินสู้นี่ คือการประวิงเวลา ให้ใครบางคนไปหาผลประโยชน์ให้ตัวเองหรือไม่ กลัวว่า บริษัทพวกพ้องตัวเองจะเจ็บ หากปล่อยค่าเงินลอยตัวทันที

มาปล่อยลอยตัวทีหลังทั้งๆที่มีภาระ SWAP นี้ ทำให้ประเทศชาติขาดทุนยับเยินเลยทีเดียว

---------------------------------------------------------------------------------------------------------

5.)การใช้ข้อมูลเท็จ ปลุกกระดม สร้างกระแสให้เกิดความหวาดกลัว เพื่อโค่นล้มรัฐบาล พลเอกชวลิต รวมถึงการไปพูดโจมตีถึงต่างประเทศ มีส่วนทำให้ค่าเงินบาทรูดลงไปที่ 57.5 บาทต่อ ดอลลาร์หรือไม่

ตอบ............... ข้อมูลที่ไปพูด เท็จหรือไม่ ไม่รู้ ผมจำไม่ได้ว่าใครไปพูดอะไรในต่างประเทศหรือ???.........แต่ไม่เกี่ยวกันเลย เงินบาทก็คงต้องไหลรูดอยู่ดี เพราะมันเป็นที่พื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศ

---------------------------------------------------------------------------------------------------------
บันทึกการเข้า

--------this is the world-------
::วิญญาณห้อง2::
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 656



เว็บไซต์
« ตอบ #10 เมื่อ: 16-04-2006, 14:18 »

ส่วนที่อ้างว่า ต้องลดค่าเงินเพราะเงินทุนสำรองหมด

อันนี้ อ้างผิด

เพราะ ทำ SWAP ไว้แล้ว ย่อมมีเงินเข้ามาในเงินทุนสำรอง

ต้องอธิบายเพิ่มเติมนิดนึงว่า

SWAP คือการกู้เงินในอนาคต

ประเทศไทย ยืมเงินดอลล์ (โดยเอาเงินบาทไปแลกในตลาดมาเป็นเงินดอลล์แล้วก็เอามาใส่ไว้ในกองทุนสำรอง) เพื่อนำมาใช้พยุงค่าเงินบาท เมื่อความต้องการเงิน ดอลล์ ในเงินทุนสำรองมีมากอันเนื่องมาจากการโจมตีค่าเงิน หรือการชำระหนี้ต่างประเทศในช่วงนั้นเยอะมาก

แล้วในอนาคตก็จะใช้คืนเงินดอลล์ (โดยเอาเงินดอลล์ในกองทุนสำรองไปคืน)

ในทางกลับกัน นายโซรอส ก็ทำ SWAP ด้วยเหมือนกัน โดยนายโซรอสยืมเงินบาท (เอาเงินดอลล์ของตัวเองไปแลกเป็นเงินบาท) เพื่อเอามาใช้โจมตีค่าเงินบาท แล้วเอามาปล่อยกู้ให้ Supply เงินบาทในตลาดเมืองไทยมีเยอะมาก และเงินบาทในตลาดโลกถูกดูดหายไปหมด นั่นคือเหตุผลที่ช่วงโจมตีค่าเงินบาท ทำให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศต่ำ.......

ในอนาคตโซรอส ก็จะต้องคืนเงินบาท (ต้องไปเก็บเงินบาทมาคืน)

และเมื่อ ถึงกำหนดใช้คืน แล้วอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทอ่อนตัวลงมากๆ ทำให้ประเทศไทยที่ต้องใช้คืนเงินดอลล์ล่าร์ ขาดทุนบักโกรก

แต่โซรอส ใช้คืนเงินบาท สบายแฮ กำไรพุงปลิ้น เอาเงินบาทที่อ่อนค่าไปใช้คืน

แต่ที่ผมสงสัยคือ ...................... การสู้ค่าเงินไปขนาดนั้น โซรอส ไม่น่าจะหาเงินบาทคืนได้ เพราะเงินบาทอยู่ในประเทศไทยหมด.............. ใครอีกเป็นไอ้โม่งที่แอบส่งเงินบาทไปให้โซรอส.......................
บันทึกการเข้า

--------this is the world-------
512KB
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 93


« ตอบ #11 เมื่อ: 18-04-2006, 22:50 »

เนื่องจาก คุณ Mars มีข้อมูลเพิ่มเติม ขออนุญาต update นะครับ
http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P4284179/P4284179.html#30
ซึ่งได้มีคุณ จูล่ง ตามมาติดๆ แต่ทั้งนี้
ผมก็ยังสงสัยว่า คุณMars แกเอาข้อมูลมาจากไหน...
บันทึกการเข้า
แอ่นแอ๊น
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2,591


"Angela Gheorghiu" My goddess


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: 07-05-2006, 22:00 »

มายืนยันเรื่องคำเตือนเรื่องฟองสบู่แตกค่ะว่ามีมาตั้งแต่ชวน 1 แล้วแต่ตอนนั้นปัญหาหลักอยู่ที่การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ที่เตือนกันชัดๆ ก็ TDRI แหละค่ะ (รายละเอียดจำไม่ได้มากนานแล้ว) ส่วนอีกตอนนึงที่เป็นสัญญาณอันตรายก่อนที่จะถูกโจมตีค่าเงินคือ ตัวเลขการส่งออกจากบวกอยู่ 10 กว่าเปอร์เซ็นต์กลับมาเป็นติดลบ โดยเฉพาะสาขาอิเลคทรอนิคส์ และตามมาด้วยการล้มของบริษัทที่ยังไม่ทันเกิดคือ อัลฟาเทค ตอนนั้นเราอยากจะเป็นศูนย์กลางการเงิน อยากจะเป็นเสือ อยากจะเป็นนิคส์ ไม่ดูตัวเองว่ามีปัญหาอะไร คิดว่าจัดการได้ ทำให้ดื้อแพ่งไม่ยอมลดค่าเงิน (ตอนนั้น step แรกเค้าเสนอให้เพิ่ม spread การแกว่งของค่าเงิน) ถ้าบอกว่าตอนนั้นยอมลดค่าจะเสียหายมั้ย ก็เสียหาย แต่ไม่มากและรุนแรงเท่านี้ การเลือกที่จะใช้ Managed Float System หลังจากการคลังกลวงโบ๋เป็นการจัดการที่ผิดอย่างแรงมากๆ เพราะมันไม่มีตังจะไป Managed ตอนนั้นหลายฝ่ายยังบอกให้ลดค่าเงิน แต่จิ๋วไม่ยอม เพราะเคยประกาศว่าจะไม่ลด กลัวเสียหน้า นอกจากนั้นยังมีเกมส์หักหลังกันอีก คือ ตอนที่ไปกู้เงินจีน เค้าให้มาแล้ว 20000 ล้าน แต่ผีที่ไหนไม่รู้หลังจากประชุมออกมาแล้วดันไปบอกว่า ไม่จำเป็นต้องให้มากขนาดนั้น จีนเลยให้มาน้อยลง (จนป่านนี้ผีตัวนั้นเป็นใครยังไม่ยอมเปิดเผย)

ส่วนมาถึงยุคชวน ยังไงก็ต้องเลือกยันแบงค์ไว้ก่อน เพราะว่าต้องการรักษาผู้ฝากเงิน เพราะถ้าแบงค์ล้ม ผู้ฝากเงินตาย นั่นจะหมายถึง การลุกลามของการละลายๆ จะกระจายตัวและเสียหายมากขึ้น แต่เมื่อถึงระยะหนึ่งที่เริ่มคงตัว มีเสียงบอกให้ลดดอกเบี้ยลง ก็เริ่มมีปัญหาเกาเหลากันใน ปชป สุดท้ายตัดสินใจไม่ยอมลง (ตรงนี้จำได้ไม่ถนัดค่ะ เพราะมัวแต่เรียนหนังสือยุ่งๆ ไม่ได้ตามต่อ) จริงๆ ถามว่าจะโทษใคร ต้องบอกว่าผิดกันหลายฝ่าย แต่ที่เลวร้ายสุดน่าเป็นนักการเมืองฉ้อฉล ปั่นเงิน ปั่นที่ดิน รวมถึงพวกที่เอาทรัพย์สินที่ด้อยค่าไปค้ำประกันออกขอกู้กับแบงค์และไฟแนนซ์จนกระหน่ำ วัฒนธรรมเห็นแก่พวกพ้อง ปล่อยกู้โดยไม่ยั้งคิดไม่ระมัดระวัง จนมีปัญหามาบานปลายมาทีหลัง เรื่อง ปรส หน่ะ ยังเป็นผลของเหตุ แก้ผิดแก้ถูก มันก็เสียหายไปแล้ว
บันทึกการเข้า

       

"เมื่อเจตนาเบี่ยงเบนไปจากความจริง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง บางทีก็เป็นเพียงภาษาสุภาพสำหรับการพูดเท็จนั่นเอง" : วิถีแห่งปราชญ์ พิมพ์ครั้งที่ ๗ หน้า ๒๐๖
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #13 เมื่อ: 07-05-2006, 22:44 »

Mars เขาสุดยอดเรื่องพรรค์นี้อยู่แล้ว ว่าเค้า Half true  ก็เอา True ที่เหลือมาแฉสิ
เห็นพูดซ้ำพูดซากเรื่อง Insider หลักฐานอะไรก็ไม่มีซักอย่าง โภคิน ฟ้องเพื่อพิสูจน์ตัวเองไปแล้วก็ไม่เห็นพูดถึง
บันทึกการเข้า
นทร์
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 7,441



เว็บไซต์
« ตอบ #14 เมื่อ: 07-05-2006, 22:56 »

่ความพยายามวนเวียนเบี่ยงประเด็น

ทรท ถ้ามีช่องให้ทำ ทำไปนานแล้ว

หยิบเอามาทำเพื่อเบี่ยงประเด็น ตอนนี้ เฉยๆ....


.... คิดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม....
บันทึกการเข้า

"ประชาชน อย่าทิ้งประเทศชาติ"
ka-rab
สมาชิกสามัญขั้นที่ 2
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 59


รักการ์ตูนแค่ไหน ก็ไม่ทิ้งเรื่องการเมือง


« ตอบ #15 เมื่อ: 08-05-2006, 01:15 »

เข้ามาหาความรุ้เติมใส่กะลาคร้าบบบบ
บันทึกการเข้า

สมาชิกเสรีไทย#232 เด็กใหม่ผู้ฝักใฝ่ความจริง

รักการ์ตูนมากแค่ไหน ก็ไม่ทิ้งเรื่องการเมือง
ปุถุชน
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10,332



« ตอบ #16 เมื่อ: 08-05-2006, 03:17 »

คุณ Killer....

หมัก-จืด โดยเฉพาะคนหลังนี้พูดถึง ปรส.กับคุณอานันท์แลละพรรคประชาธิปัตย์มาตลอด 5 ปี เสี่ยทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี และแกนนำพรรคฯ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทำไมไม่สนใจคำพูดของสองคนนี้ ละทิ้งหน้าที่ ความรับผิดชอบในฐานะเจ้าพนักงานของรัฐฯ....?

ถ้าเป็น หมัก-จืด ผมคงจะพูดแรงๆ พูดไปแล้วเหมือน น้ำลดหัวตอเสี่ยทักษิณและดร.สมคิด หรือไม่  ?


อย่าหาว่าเบี่ยงเบนประเด็นเลย  อยากจะถามกฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ที่คุณ Killer เคยตอบด้วย เสี่ยทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีความรับผิดชอบ ปล่อยให้กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ ถูกใช้ตลอดเวลา ทำไม...?

หรือว่าเสี่ยทักษิณ ใช้กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ เพื่อซื้อ-ขายชาติ ในขณะนี้ด้วย ?


คนที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับ ปรส. ก็หาอ่านตำรา หนังสือ บทความได้ ก่อนจะอ่านดูผู้เขียน ผู้เรียบเรียงก่อน.....

อ่านข้อเขียนของ หมัก-จืด แล้ว เชื่อตาม ก็ตามใจครับ...........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า








บันทึกการเข้า

“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา เมื่อเราทราบดีว่า การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบันมีปัญหาที่ต้องแก้ไข หากผู้ที่อาสาเข้ามายังจะใช้วิธีการเดิมๆ อีก ย่อมจะแก้ไขไม่ได้ เพราะปัจจุบันเป็นผลของอดีต และจะเป็นเหตุของอนาคต ต้องคิดให้ดี พูดให้ดี และทำให้ดี ในอนาคตจึงจะมีความหวังได้ มิฉะนั้นผู้สนับสนุนผู้ถูกร้อง(พ.ต.ท.ทักษิณ) จะต้องผิดหวังในที่สุด”


อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประเสริฐ นาสกุล ได้มีคำวินิจฉัยส่วนตัวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความผิดในคดีซุกหุ้น......
อะไรว้า
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #17 เมื่อ: 08-05-2006, 08:03 »

Mars  เขาเอาข้อมูลที่ถูกต้องมาให้  ก็ยอมรับกันซิ ยกเว้นแต่ว่า "ทำใจไม่ได้" 
ถ้ามีอะไรดีๆ  ของแมงสาปมาบอกกันบ้างก็ได้

แต่ตอนนี้นึกไม่ออก  ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
บันทึกการเข้า
~ GARFIELD ~
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 158


แม่ไม่ปลื้ม .. จบ!!


เว็บไซต์
« ตอบ #18 เมื่อ: 08-05-2006, 08:09 »

บันทึกการเข้า

Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #19 เมื่อ: 08-05-2006, 08:13 »

พอเค้าด่าลูกเดียว ก็บอกว่าเอาแต่ด่า ด่า ด่า ไม่มีข้อมูล
พอเค้าเอาข้อมูลมาให้ ก็บอกว่า พูดแค่ครึ่งเดียว
เบี่ยงเบนประเด็นไปเรื่องโน้นเรื่องนี้

กฏหมาย 11 ฉบับ มันมีผลได้เสียมหาศาล และยังมีกระบวนการค้างคากันอยู่
เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฏหมาย เหล่านั้น อย่าง บบส. นี่ก็ยังค้างเติ่งกันอยู่
เคลียร์กันไม่จบ จะไปแตะต้องกฏหมาย เหล่านั้น คนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
มันฟ้องกันไปฟ้องกันมา วุ่นวายตายเลย
บันทึกการเข้า
~ GARFIELD ~
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 158


แม่ไม่ปลื้ม .. จบ!!


เว็บไซต์
« ตอบ #20 เมื่อ: 08-05-2006, 08:20 »

บันทึกการเข้า

นายเบียร์
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 997



« ตอบ #21 เมื่อ: 08-05-2006, 09:58 »

พอเค้าด่าลูกเดียว ก็บอกว่าเอาแต่ด่า ด่า ด่า ไม่มีข้อมูล
พอเค้าเอาข้อมูลมาให้ ก็บอกว่า พูดแค่ครึ่งเดียว
เบี่ยงเบนประเด็นไปเรื่องโน้นเรื่องนี้

กฏหมาย 11 ฉบับ มันมีผลได้เสียมหาศาล และยังมีกระบวนการค้างคากันอยู่
เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฏหมาย เหล่านั้น อย่าง บบส. นี่ก็ยังค้างเติ่งกันอยู่
เคลียร์กันไม่จบ จะไปแตะต้องกฏหมาย เหล่านั้น คนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
มันฟ้องกันไปฟ้องกันมา วุ่นวายตายเลย


แล้วทำไมไทยรักใครไม่ยอมเลิกละครับ หรือได้กินเลยเงียบ
บันทึกการเข้า

อะไรว้า
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: 08-05-2006, 10:34 »

"ปรส." คือตัวอย่างไง  ที่ยังไม่เลิก  เรื่องอื่นๆ รอก่อนเดี่ยวตามมา  หลอกให้ยายจวนออกมาด่าเล่น
บันทึกการเข้า
Killer
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,576


ช๊อบบ ชอบบ...ปฏิวัติ ปลื้ม ค่ะ


« ตอบ #23 เมื่อ: 08-05-2006, 10:41 »

คดีความ และผลของกฏหมายฉบับนั้น
มันยังคาราคาซังอยู่อีกเป็นจำนวนมากมายมหาศาล เคลียร์กันยังไม่จบเลย
ผ่านมา 6 -7 ปีแล้ว และก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะจบสิ้นกัน
การไปยกเลิกเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ของง่ายยิ่งมันไปเกี่ยวโยง
มีผลกับกฏหมายอื่นๆอีกหลายฉบับยิ่งยากเข้าไปใหญ่

เขาถึงด่าไง ว่าก่อนออกกฏหมาย ทำไมไม่คิดให้ดีเสียก่อน
บันทึกการเข้า
Jupiter
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 161


" ~!@ JupITeR--{(ZeUS)} ...@!~ "


เว็บไซต์
« ตอบ #24 เมื่อ: 08-05-2006, 14:45 »

อ่านแล้วเข้าใจยากจังอ่ะ Confused
แต่ก้อพอจะจับเมนหลักๆได้อ่ะค่ะ

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติม จะลองไปหาศึกษานะคะ
ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดี Very Happy
บันทึกการเข้า

"ไม่มีใครตาบอด เท่ากับคนไม่เปิดตามอง"



                  "ถึงเสียเปรียบก็สู้!!!"
RiDKuN
Administrator
ขาประจำขั้นที่ 3
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,015



เว็บไซต์
« ตอบ #25 เมื่อ: 08-05-2006, 15:27 »

ปกติเรื่องพวกนี้ ผมจะฟังความเห็นจากคนที่มีเครดิตเอานะ
แต่ก็ ไม่เห็นมีใครออกมาพูดอะไรเลย ก็เลยได้แต่ทำใจ
บันทึกการเข้า

คนไม่มี "อุดมคติ" ไม่ใช่ "นักการเมือง"
davil amature
สมาชิกสามัญขั้นที่ 3
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 154


วันว่าง ยามพัก ใจสู้ศึก


« ตอบ #26 เมื่อ: 10-05-2006, 15:36 »

พอเค้าด่าลูกเดียว ก็บอกว่าเอาแต่ด่า ด่า ด่า ไม่มีข้อมูล
พอเค้าเอาข้อมูลมาให้ ก็บอกว่า พูดแค่ครึ่งเดียว
เบี่ยงเบนประเด็นไปเรื่องโน้นเรื่องนี้

กฏหมาย 11 ฉบับ มันมีผลได้เสียมหาศาล และยังมีกระบวนการค้างคากันอยู่
เป็นผลสืบเนื่องมาจากกฏหมาย เหล่านั้น อย่าง บบส. นี่ก็ยังค้างเติ่งกันอยู่
เคลียร์กันไม่จบ จะไปแตะต้องกฏหมาย เหล่านั้น คนที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์
มันฟ้องกันไปฟ้องกันมา วุ่นวายตายเลย



ได้ยินสื่อต่าง ๆ เรียกกฏหมายทั้ง 11 ฉบับ นี้ว่ากฏหมายขายชาติใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า

ความจริงมันก็แค่สิ่งที่เรารับรู้ และจิตใจเรายอมรับว่าจริง ทั้ง ๆ ที่ความจริงมันไม่ใช่เลยก้ได้
หน้า: [1]
    กระโดดไป: