ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
28-03-2024, 23:55
378,182 กระทู้ ใน 21,926 หัวข้อ โดย 9,412 สมาชิก
สมาชิกล่าสุด: MAN4U
ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด (รุ่นแรก)  |  ทั่วไป  |  สภากาแฟ  |  สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี : จดหมายจากชายขอบของโลกสีเขียว 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1]
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี : จดหมายจากชายขอบของโลกสีเขียว  (อ่าน 1031 ครั้ง)
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« เมื่อ: 10-10-2006, 02:34 »

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี : จดหมายจากชายขอบของโลกสีเขียว

ถ้าคุณไม่รู้จัก สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี เขาก็ลงท้ายจดหมายฉบับนี้ว่า ‘ประชาชนธรรมดา’
แต่ถ้าคุณพอรู้จักอยู่บ้าง ก็น่าจะรู้ว่าผู้สื่อข่าวอาวุโสแห่งเดอะเนชั่นนี้ ไม่ค่อยมีงานชิ้นที่
เขียนออกมาเป็นภาษาไทยมากนัก ทว่าที่มีอยู่น้อยชิ้นนั้น เกือบทุกชิ้นล้วนแต่โด่งดังด้วย
เนื้อหา ลีลา สำนวน การเสียดสี ที่ไม่ใช่มีไว้เพียงเพื่อชวนให้อ่าน แต่เพื่อยืนยันว่า ‘ของจริง’
คงไม่ต้องบอกว่า งานชิ้นนี้คือเรื่องอะไร โปรด ‘คลิก’ โดยพลัน

0 0 0

                                              เขียนที่ชายขอบของโลกสีเขียว

เรื่อง การปฏิวัติเขียว (อีกครั้ง)

เรียน ท่านผู้เจริญที่บรรเจิดด้วยสติปัญญาอันทรงสุรพลยิ่งด้วยวรรณธรรม

ก่อนอื่น ขอแสดงความยินดีกับพี่ๆเพื่อนๆ นักเรียนกฎหมายด้วยกัน ที่เรียนจบกฎหมาย
และสอนกฏหมายในมหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติของประเทศนี้ ที่ได้มีโอกาสและมีส่วน
สนับสนุนในการฉีกกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ที่ใครๆเรียกว่าฉบับประชาชน ไปเช็ด
รองเท้าบูทให้ขุนทหาร แล้วพยายามช่วยกันร่างฉบับใหม่ภายใต้ความดูแลและกำกับ
ของคณะนายทหารและเหล่าขุนนาง

ปลื้มปิติเป็นล้นเหลือที่ได้ทราบข่าวว่า คณาจารย์ทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยอันทรง
เกียรติหลายแห่งที่ได้ประสิทธิประศาสน์วิชานิติรัฐให้ผู้คนมากหน้าหลายตาได้มีโอกาส
เข้าไปทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้บรรยากาศที่น่ารื่นรมย์แห่งเสียงเพลงเราสู้และด้วย
ความคุ้มกันของทหารหาญของชาติ รถถังและปืนกล คงทำให้ท่านทั้งหลายอุ่นใจว่าจะ
เขียนรัฐธรรมนูญได้ดีกว่าฉบับที่ใครๆเรียกว่าฉบับประชาชน

เป็นที่น่าเชื่อถืออย่างเหลือคณานับเกินกว่าเม็ดดินเม็ดทรายว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะร่าง
ขึ้นมาด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง ประชาชนทุกหมู่เหล่า จะได้ลง
ลายมือของตัวเองคนละเล็กละน้อยช่วยสร้างรัฐธรรมนูญภายใต้การกำกับดูแลของทหาร
ให้ดีกว่าฉบับที่ใครๆเรียกว่าฉบับประชาชน

แต่เดี๋ยวก่อนท่านผู้เจริญคัมภีรภาพทั้งหลาย ท่านแน่ใจหรือว่า รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่
ประชาชนไทยต้องการ มันมีความสำคัญแค่ไหนกันเชียวที่ประเทศของเราจะต้องมี
รัฐธรรมนูญเพราะที่เรามีกันมาหลายฉบับนั้นมันพิสูจน์แล้วว่า ค่าของมันไม่ต่างอะไร
จากกระดาษชำระที่ขุนทหารจะฉีกมันเป็นเช็ดลำกล้องปืนและรองเท้าบูทเมื่อไหร่
ก็ได้โดยที่เหล่าประชาชนผู้เจริญจะพากันแซ่ซ้องสรรเสริญ


ความจำเป็นการในจัดทำร่างรัฐธรรมนูญมีอยู่อย่างเดียวคือ ช่วยให้นักกฎหมาย
(มหาชน) จำกัด มีงานทำหลังการยึดอำนาจ เพื่อทำให้คณะทหารที่ยึดอำนาจดูดีขึ้น
สักเล็กน้อยและได้ชื่อว่าเป็นผู้มีกฎเกณฑ์เคารพหลักนิติรัฐ (ปกครองโดยกฎหมาย)
ทั้งๆ ที่ความจริงเราปกครองกันโดยอำนาจดิบๆ (คราวก่อนอำนาจเงิน คราวนี้อำนาจ
ปืน)

นักกฎหมายผู้เจริญและบรรเจิดด้วยสติปัญญาได้เสนอโมเดลสมัชชาแห่งชาติให้คณะ
ทหาร ด้วยหลักการอันสำคัญ 3 ประการ คือ
1 การมีส่วนร่วมของประชาชน
2 หลักการให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ และ
3 หลักการสร้างความต่อเนื่องให้กับภารกิจสมัชชาแห่งชาติ

ก่อนที่เราจะได้พูดเรื่องอื่นกันต่อไปขอให้สังเกตถ้อยคำข้างต้นก่อนว่า ประกอบด้วย
“การมีส่วนร่วมของประชาชน” และ “ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ” แปลว่า ให้ประชาชนมีส่วนร่วมพอเป็นพิธี แต่ให้ความสำคัญกับชนชั้นนำ
ผู้มีปัญญา

เพื่อเห็นแก่ขุนทหารผู้ยิ่งใหญ่ กระบวนการสร้างรัฐธรรมนูญ ให้สิทธิยับยั้งอย่างล้นเหลือ
กับคณะนายทหารที่เรียกตัวเองว่าเป็นสมัชชาความมั่นคงแห่งชาติ (อำนาจเหมือนกับ
สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเปี๊ยบเลย)

ปรมาจารย์ท่านใดหนอประสาทวิชาการให้ท่านว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถ
คำนวนออกมาเป็นสัดส่วนได้จังหวัดละ 20 คน ทั้งๆที่ประชากรของประเทศนี้ไม่เท่ากัน
ทุกจังหวัด แล้วใครหรือบอกว่าท่านว่า ภาคประชาสังคม 450 คน เท่าหรือไม่เท่ากับ
ธุรกิจเอกชน ผู้นำท้องถิ่น วิชาการ เยาวชน ผู้นำศาสนา

อ้าว! แล้วประชาชาสังคมของท่านคืออะไรแล้ว ผู้นำท้องถิ่น เยาวชน ผู้นำศาสนา ไม่นับ
เป็นประชาสังคมหรือ? ประชาสังคมคือใคร เป็นเอ็นจีโอ นักประท้วงหรืออะไร อันโตนีโอ
กรัมชี่ ต้องหลั่งน้ำตาให้กับคำนิยามนี้อย่างแน่นอน

ที่สำคัญคือ พวกนี้มีที่มาอย่างไร ให้ทหารไปเอาเขม่าดินปืนไปหมายหัวมา หรือ ว่าเปิด
สมัครรับเลือกตั้งโดยกว้างขวาง แล้วพวกที่ไม่เข้าคุณสมบัติเหล่านี้ไปอยู่กลุ่มไหน นัก
การเมืองอยู่ตรงไหน สมาคมวิชาชีพอยู่ตรงไหน หรือว่าประชาธิปไตยภายใต้คณะทหาร
เขาเลือกที่รักมักที่ชังกันขนาดที่ว่า ให้กลุ่มนั้นมีส่วนร่วม คนกลุ่มนี้เป็นผู้ดู

ขอให้พระเจ้าคุ้มครองประชาธิปไตยแบบนี้ให้เจริญก้าวหน้าด้วยเถิด

ดูเหมือนนักการเมือง เป็นกลุ่มคนที่ไม่ได้นับเนื่องเข้าไปมีส่วนร่วมกับการร่างรัฐธรรมูญ
เพราะเป็นกลุ่มที่สังคมควรรังเกียจอย่างยิ่ง พวกนี้ถ้าไม่โกง ก็กินมูมมาม แต่ท่านผู้เจริญ
ช่วยบอกหน่อยว่า จะเอาพวกนี้ไว้ไหน เราสมควรตัดเขาออกไปจากสารบบการเมืองของ
ไทยเลยดีไหม เพราะดูเหมือนว่าพวกเขาช่างเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้ค่า รกแผ่นดินเสียจริงๆ

จะเป็นการดีกว่าไหม ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะระบุว่า ห้ามมีพรรคการเมือง ใครเคยเป็น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภามาก่อนหมดสิทธิทางการเมืองไปโดย
อัตโนมัติ เฉพาะพวกที่สายสัมพันธ์อันดีกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี
เท่านั้นจึงนับเป็นพลเมืองของไทยที่มีสิทธิมีส่วนร่วมทางการเมือง ที่เหลือไม่ใช่ (โดย
เฉพาะพวกเคยเคลื่อนไหวไล่เปรม ควรถูกถอนสิทธิพลเมืองไปด้วย)

กระบวนการประชาธิปไตยอะไรกันหรือท่าน ที่ให้คณะทหารนั่งคอยหยิบจับคนนั้นคนนี้
มาเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คิดดูเอาเถิด เขาให้พวกท่านเข้ามา 2,000 คน คัดทิ้งกันเอง
ให้เหลือ 200 แล้วเขาจะใช้สิทธิ (ในฐานะผู้ถือปืนเฝ้าอำนาจอธิปไตย) เลือกทิ้งไป
ครึ่งหนึ่ง* แต่ถึงเวลายกร่างจริงๆ ให้ผู้เชี่ยวชาญแค่ 25 คน** เป็นคนทำ แล้วพวก
ที่เลือกๆ กันเข้ามาให้ไปนั่งทำอะไรหรือไปคอยบีบนวดให้เทวดาทั้ง 25 องค์นั่นทำ
รัฐธรรมนูญ ส่วนขยะที่เหลือจากการคัดทิ้ง 1,900 คนไปทำหน้าที่เป็นกองเชียร์
ประชาสัมพันธ์เพื่อชวนเชื่อให้ประชาชนว่ารัฐธรรมนูญนี้เลิศสมควรแก่การลงมติรับรอง
ในขั้นสุดท้าย นับเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ประเสริฐแท้ๆ

เสียดายเวลาที่สูญเสียไปกับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจริงๆ 70 กว่าปีที่ผ่านมา มัน
เทียบอะไรไม่ได้กับ 60 ปีที่ผ่านไปเลยหรือ ถ้าจะเห็นแก่การมีส่วนร่วมของประชาชน
จริงๆ ลองเสนอแบบนี้จะได้ไหมว่า

1 จัดสัดส่วนสมัชชาใหม่ ใครเป็นคนบอกว่าต้อง 2000 คน เปลี่ยนเป็นการเลือกตั้งแบบ
   ทั่วไปได้หรือไม่ ทุกคนที่มีสิทธิ นักการเมืองหรือไม่ใช่การเมือง ขี้ข้าทักษิณหรือขี้ข้า
   สนธิก็ได้ ใครที่คิดว่าตัวเองเก่งมาเสนอตัวเป็นผู้แทนร่างรัฐธรรมนูญเลยจะได้ไหม
   ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของทุกคนอย่างเสมอภาคเท่าเทียม ไม่ใช่คนนั้นได้คนนี้ไม่ได้
   แบบนี้เขาไม่เรียกประชาธิปไตย ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นคนเลือก และให้
   กลไกที่มีอยู่แล้วคือ คณะกรรมการเลือกตั้งเป็นคนจัดการ

2 คณะทหารไม่ยุ่งเกี่ยวเลยจะได้ไหม ถ้าท่านเป็นชายชาติทหารที่ถือเอาความสัตย์
   เป็นใหญ่ หากจะถอนตัวไปก็ต้องไปเด็ดขาดปล่อยให้ประชาชนทำรัฐธรรมนูญกันเอง
   ไม่ใช่เปลี่ยนชื่อไปถือปืนยืนคุมเชิงแล้วอ้างว่าไม่ต้องการอำนาจ มันไม่ดูสามานย์ไป
   หน่อยหรือ

3 ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วก็เปิดทำประชามตินั่นชอบแล้ว ถ้าประชาชนคว่ำทิ้งก็ร่างใหม่
   ไม่ใช่ให้อำนาจทหารไปหยิบเอากระดาษชำระที่ท่านทิ้งลงชักโครกไปแล้วมาใช้อีก***


                                                        จึงเรียนเสนอมาอย่างผู้สิ้นหวัง

                                                            สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

                                                             (ประชาชนธรรมดา)


http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=5339&SystemModuleKey=HilightNews&System_Session_Language=Thai

*    มาตรา 23 ดูรายละเอียดที่ คคห. ต่อไป (#1)
**   มาตรา 25 เจ้าของจดหมาย พูดถึงแค่ส่วนเดียว รายละเอียดดู คคห. # 2
*** มาตรา 32 ดูรายละเอียดที่ คคห. #3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10-10-2006, 02:59 โดย snowflake » บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #1 เมื่อ: 10-10-2006, 02:43 »

ขั้นตอนที่ต่อจาก สมัชชาแห่งชาติ 2,000 คน เลือกได้
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 200 คน
แล้วจาก 200 คน เลือกให้เหลือ 100 คน
ใครกันเป็นผู้ทรงสิทธิขาดในการเลือกนั้น?

ประชาชนหน้าไหนไม่ทราบคะ?

แบบนี้ไม่เรียกว่า “แอบแฝง/หมกเม็ด” แล้วเรียกอะไร?

       มาตรา 23 เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว
ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติคัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือ
100 คน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิก
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
       ในกรณีที่สมัชชาแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่ไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา
22 วรรค 1 ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเลือกสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ จำนวน
100 คน เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป
       ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
แต่งตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ
       ให้นำความในมาตรา 5 วรรค 4 มาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญ และกรรมาธิการ ตามมาตรา 25 ด้วยโดยอนุโลม


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #2 เมื่อ: 10-10-2006, 02:45 »

ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว ไปให้เสร็จสิ้นกระบวนการเลยดีกว่า
มาดูต่อว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 100 คน ที่ว่า
เขามีหน้าที่ทำอะไร?

มีหน้าที่เลือกคนมาร่างรัฐธรรมนูญค่ะ
แต่เลือกได้แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น (คือ 25 ใน 35)
ไม่ทราบว่า 100 คน นี้ คมช. ก็เลือกมากับมือแล้ว
ยังไม่ไว้วางใจหรืออย่างไร
ว่าเขาจะเลือกคนที่ท่านพอใจมาทำหน้าที่ร่าง?
จึงต้องขอเลือกโดยตรงอีกส่วนหนึ่ง (คือ 10 ใน 35)
เพื่อความมั่นใจ?

สรุป คือ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน ประกอบด้วย
25 คน เลือกโดยสภาร่างฯ 100 คน ที่เลือกมาโดย คมช. (มาตรา 23)
+ 10 คน เลือกโดย ประธาน คมช.

      มาตรา 25 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญแต่งตั้งคณะ
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือ
มิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภา จำนวน 25
คน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 10 คน
ตามคำแนะนำของประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
snowflake
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3,207



« ตอบ #3 เมื่อ: 10-10-2006, 02:47 »


เมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากทำประชามติผ่านก็ดีไป
แต่หากไม่ผ่าน ทำอย่างไร? ให้เลือกจากฉบับเก่าๆ มาใช้
แล้วใครเป็นผู้เลือกหรือคะ? คมช. และ ครม. ค่ะ

เหตุใดไม่ถามไปตอนทำประชามติว่า
ถ้าไม่เอาฉบับใหม่แล้วเอาฉบับไหน?

หรือเกรงประชาชนจะฉลาดน้อยเกินไปตอบไม่ถูก?

ที่นี่ประเทศไทย คนฉลาดคือ ผู้มีอำนาจเท่านั้น

       มาตรา 32 ในกรณีที่สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่างรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน
กำหนดเวลาตามมาตรา 29 วรรค 1 ก็ดี สภาร่างรัฐธรรมนูญไม่ให้ความเห็นชอบร่าง
รัฐธรรมนูญตามมาตรา 28 วรรค 2 ก็ดี หรือการออกเสียงประชามติตามมาตรา 31
ประชาชนโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่ ก็ดี ให้สภาร่างรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง และให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติประชุม
ร่วมกับคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้
บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันออกเสียง
ประชามติไม่เห็นชอบ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
       ในการประชุมร่วมกันตามวรรค 1 ให้ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ทำหน้าที่
ประธานในที่ประชุม การประกาศใช้รัฐธรรมนูญตามมาตรานี้ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนาม
รับสนองพระบรมราชโองการ


บันทึกการเข้า

Even the smallest person can change the course of the future.
เพนกวินน้อยนักอ่าน
ขาประจำขั้น 2
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 866



« ตอบ #4 เมื่อ: 10-10-2006, 03:04 »

ผมว่าดัดแปลง ให้ 1900 คนนั้น เป็นคนพิจารณารับร่างเป็นข้อๆไป จะดีมากครับ
เช่นมาตรา 1 เป็นอย่างนี้โอเค ไหม ใครรับได้ก็ยกมือเห็นด้วย เปิดอภิปรายกันบ้างก็จะดี
อันไหนไม่ผ่านก็กลับไปแก้ไข จนกว่าจะผ่าน พอผ่าน 1900 คน ก็ถือว่ารับร่าง รธนฯ แล้ว
เปิดให้สื่อมวลชนและคนภายนอกเข้าไปสังเกตการณ์ด้วยก็จะดีมากครับ

แต่ที่มาของ สองพันคน ควรมาจากการเลือกตั้งเกือบทั้งหมด
ยกเว้น บุคคล ที่ควรมาเพื่อสร้างความหลากหลายของอาชีพและสถานะทางสังคม รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญกฎหมายด้วย
ทั้งหมดก็ควรจะมีในสัดส่วน หนึ่งในสาม คือสักหกร้อยคน  จะได้เกิดความหลากหลายทั้งทางลึกและทางกว้าง

ส่วนวิธีการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่เห็นด้วยอย่างแรง
ผมว่าเอาคนดีมาให้จิ้มเนี่ยผิดแน่ๆ เพราะคนไทยไม่ได้เลือกคนดี
คนไทยเลือกคนคุ้นหน้า เพราะคนดีมันมองกันไม่เห็นง่ายๆ เป็นดีแตกซะส่วนมาก
เดี๋ยวดารา อดีต สส สว มากันเต็มเอียด
ควรเว้นที่ให้แนวลึกของสังคมบ้างก็ดีครับ

จะเหลือคนไปร่างกันน้อยๆก็ได้ แต่ชุดแรกร่างเสร็จ พอมีมาตราไหนไม่ผ่าน
ชุดเดิมก็ต้องถอนตัว ให้มีการเลือกชุดใหม่อีกครั้ง จากทั้งหมด เพื่อไปร่างกลับมาใหม่
จนกว่ามาตราทั้งหมดจะผ่านจนครบถ้วน

โดยที่ส่วนสำคัญคือ การเสนอร่างรธนฯ จากทั้ง สองพันคน ตั้งแต่แรกครับ
คือทั้งหมดแบ่งกลุ่ม คิดข้อกฎหมายต่างๆ แล้วเสนอรวมรวมเก็บไว้ทั้งหมด
แล้วให้คณะร่างฯ ร่างจากที่ทุกคนเสนอเข้ามาให้ได้ ข้อไหนขัดแย้งก็ตัดทิ้ง คัดเลือกเอา
แล้วถ้าคนส่วนใหญ่ไม่พอใจมาตราไหน ก็จะมีคนกลับมาแก้เอง
ก็จะสามารถช่วยผสมผสาน แนวคิดต่างๆกันได้ดีในระดับหนึ่งนะครับ

ผมเสนอแบบนี้ ผมว่าดีกว่าที่คนเขียนบทความคิดไว้ ที่แค่อยากให้มีการเลือกตั้งคนร่างอย่างเดียวครับ
แต่ก็เห็นด้วยว่าทหาร ไม่ควรเข้ามาควบคุมเกินไป อย่างวิธีแบบที่เป็นข่าว ครับ
แต่คาดว่าคงมีการเปลี่ยนวิธีการ เพราะมันดูแปลกๆ และไม่ค่อยโปร่งใส
ทหารอาจจะต้องใจกล้ากว่านี้...
 
บันทึกการเข้า
คนในวงการ
ขาประจำขั้นที่ 3
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,393


FLY WITH NO FEAR !!


เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 10-10-2006, 07:13 »

ผมขอเสนอให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 35 คน มาจาก

เว็บประชาไท 10 คน
เว็บมหาลัยเที่ยงคืน 10 คน
คอลัมนิตส์หนังสือพิมพ์ 10 คน
ตัวแทนพรรคการเมือง 5 คน

และทหารไม่ยุ่งเกี่ยว ไม่ขัดข้อง

เราจะได้รัฐธรรมนูญที่เลิศที่สุดตั้งแต่มีคำว่าสยามประเทศมาเลยครับ
บันทึกการเข้า

"Be without fear in the face of your enemies. Be brave and upright that God may love thee.
Speak the truth, always, even if it leads to your death. Safeguard the helpless, and do no wrong. That is your oath."
- Balian of Ibelin -
หน้า: [1]
    กระโดดไป: