พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

ห้องสำหรับกระทู้นอกเรื่อง ดูแลโดย Mod 1ktip

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby benzcl » Sat Aug 14, 2010 9:00 am

ถ้าจะมองด้วยใจเป็นธรรม มีอีกกรณีหนึ่ง หลายอาชีพที่ต้องอาศัยตำราต่างประเทศเป็นหลักเช่น
แพทย์ เภสัชกร วิศวกร ล้วนมีศัพทฺ์เทคนิคก็ยังถือว่าถูกกาละเทศะ แต่ต้องใช้ในกลุ่มพวกตนเองเท่านั้น
ถ้าจะนำมาใช้กับบุคคลอื่น และไม่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
หลายคนอาจมองเจตนาได้เพียงอย่างเดียวว่าอวดภูมิ
User avatar
benzcl
 
Posts: 3901
Joined: Mon May 03, 2010 10:59 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby yenmanovic » Sat Aug 14, 2010 9:36 am

benzcl wrote:ถ้าจะมองด้วยใจเป็นธรรม มีอีกกรณีหนึ่ง หลายอาชีพที่ต้องอาศัยตำราต่างประเทศเป็นหลักเช่น
แพทย์ เภสัชกร วิศวกร ล้วนมีศัพทฺ์เทคนิคก็ยังถือว่าถูกกาละเทศะ แต่ต้องใช้ในกลุ่มพวกตนเองเท่านั้น
ถ้าจะนำมาใช้กับบุคคลอื่น และไม่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว
หลายคนอาจมองเจตนาได้เพียงอย่างเดียวว่าอวดภูมิ


พวกนั้นไม่ว่ากันครับ

ผมเองก็พูดอังกิด ทำไมจะไม่รู้ว่าหลายๆคำมันไม่มีในคำไทย

แต่ไอ้พวกที่คำปกติยังพูดไทยคำอังกิดคำเนี่ยดิ ผมว่าน่ารำคาญมาก - -
บทสัมพลาดเมียเสื้อแดงที่โดนยิงตาย

http://www.youtube.com/watch?v=uR6VTVJGbVQ&
User avatar
yenmanovic
 
Posts: 3038
Joined: Sat Jan 10, 2009 11:18 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby eAT » Sat Aug 14, 2010 5:52 pm

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแพร่หลายในการใช้งาน เราคงได้เห็นการบัญญัติศัพท์ออกมาหลายคำจากราชบัณฑิตยสถาน แต่คำ (หลาย) บางคำที่ไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆ เลยของราชบัณฑิตยสถาน กลับถูกพูดต่อและแพร่หลายกระจายไปทั่ว

ที่ติดตาติดปากมากที่สุดคง ต้องยกให้คำว่า ละมุนภัณฑ์ ที่มาจากศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ (software) กระด้างภัณฑ์ มาจากศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) เรื่องนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตสถาน จินตนา พันธุฟัก บอกว่าเป็นตราบาปที่ราชบัณฑิตยสถานต้องรับมาอย่างไม่รู้เรื่อง เป็นความเสียหายที่แก้ไม่ได้เสียที แล้วยิ่งคำศัพท์ว่า joystick ที่ไปกล่าวกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา นี่ยิ่งไปกันใหญ่ และเป็นเรื่องที่ “น่าเกลียดมากๆ” ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ การบัญญัติศัพท์ย่อมต้องมีหลักวิชาการ และใช้การพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...


...“ลองดูจากพจนานุกรมศัพท์บัญญัติ ที่ราชบัณฑิตยสถานได้พิมพ์ไว้ได้เลย
hardware คือ ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์ หรือใช้ทับศัพท์ว่าฮาร์ดแวร์
software บัญญัติว่าส่วนชุดคำสั่ง หรือใช้ทับศัพท์ซอฟต์แวร์
ส่วน joystick บัญญัติไว้ว่า ก้านควบคุม” ...


ทำไมคนไทยหลายๆ คนชอบไส่ร้ายป้ายสี
เกลียดราชบัณฑิตด้วยสาเหตุอะไรก็ิมทราบ ก็ใช้วิชามารใส่ร้ายป้ายสี
เพื่อให้คนดูถูกเยียดหยาม บ้านเมืองเราถึงไม่เจริญสักที เพราะเอาแต่
ทำลายองค์กรที่ให้ความรู้แก่คนไทย
User avatar
eAT
 
Posts: 4011
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:11 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby ปุถุชน » Sat Aug 14, 2010 8:38 pm

Jseventh wrote:พึ่งจะใช้มาหมาดๆ เลยที่กระทู้อื่น :lol:

บางทีก็เป็นความเ้คยชินด้วยค่ะ ประมาณว่า..เคยใช้พูดกันอยู่ในกลุ่มบ่อยๆ
เป็นคำที่พูดกันสนุกๆ อย่างไม่เป็นทางการ ถ้าเป็นทางการก็คงต้องแปลออกมาใช้ให้เหมาะสม
แต่บางทีเวลาคุยกันออกรสชาด ก็ลืมไปเลย! รวมถึงคุยกันแบบ "พิมพ์คุย" ด้วย

ส่วนตัวก็มีเป็นบางคำและบางครั้ง ส่วนใหญ่ก็ใช้ไทยเกือบหมด หลุดคำอังกฤษมาเป็นบางคำเท่านั้น
ไม่ได้ดัดจริต ไม่เก่งภาษา ไม่เคยไปเรียนเมืองนอก แต่ก็มีหลุดใช้เป็นบางคำ บางครั้ง

คิดว่า..เป็นเพราะติดมาจากกลุ่มคนที่เราติดต่อพูดคุยด้วยมากกว่า เหมือนเป็นโรคติดต่อทางภาษา :roll:
บางคำก็เห็นเป็นภาษาสนุก เช่น กำลังจิ้นถึงใครอยู่? (กำลังอิมเมจิ้น-Imagine ถึงใครอยู่?)
^ ยอมรับว่า บางทีก็ออกจะภาษาวิบัตินิดๆ เหมือนกันค่ะ ถ้าคุยกันสนุกๆในกลุ่มคนรู้จัก

เช่น..
- สโคพงานของคุณคืออะไร?.. (scope สโคพ)
- วันนี้ฉันมีอะไรจะเซอร์ไพรส์เธอด้วยล่ะ! (surprise เซอไพรซ')
- ทำไมวันนี้ดูซีเรียสจัง? (serious เซีย'เรียส)

กรณีดิฉันน่าจะเข้าข่าย "ไทยร้อยคำ อังกฤษหนึ่งคำ" มากกว่าค่ะ
จะรอดตัวไม๊เนี่ย?
:mrgreen:



Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

ถ้าพูดอังกฤษเก้าคำไทยหนึ่งคำจึงผิดปกติครับ.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby halfmoon » Sat Aug 14, 2010 11:10 pm

joystick เขาว่า แท่งหฤหรรษ์ อะไรทำนองนั้น คนก็ไม่ใช้เรียก หรือว่าเหน็บภาษากันเล่นๆ

ส่วนผมบัญญัติ animation ว่า "ติงกลิ้ง" ก็ไม่มีใครพูดตามเหมือนกัน ทั้งที่ มันก็ติงกลิ้ง :lol:
  • อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง
User avatar
halfmoon
 
Posts: 10731
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:34 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby Moon » Sun Aug 15, 2010 12:21 am

eAT wrote:ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแพร่หลายในการใช้งาน เราคงได้เห็นการบัญญัติศัพท์ออกมาหลายคำจากราชบัณฑิตยสถาน แต่คำ (หลาย) บางคำที่ไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆ เลยของราชบัณฑิตยสถาน กลับถูกพูดต่อและแพร่หลายกระจายไปทั่ว

ที่ติดตาติดปากมากที่สุดคง ต้องยกให้คำว่า ละมุนภัณฑ์ ที่มาจากศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ (software) กระด้างภัณฑ์ มาจากศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) เรื่องนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตสถาน จินตนา พันธุฟัก บอกว่าเป็นตราบาปที่ราชบัณฑิตยสถานต้องรับมาอย่างไม่รู้เรื่อง เป็นความเสียหายที่แก้ไม่ได้เสียที แล้วยิ่งคำศัพท์ว่า joystick ที่ไปกล่าวกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา นี่ยิ่งไปกันใหญ่ และเป็นเรื่องที่ “น่าเกลียดมากๆ” ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ การบัญญัติศัพท์ย่อมต้องมีหลักวิชาการ และใช้การพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...


...“ลองดูจากพจนานุกรมศัพท์บัญญัติ ที่ราชบัณฑิตยสถานได้พิมพ์ไว้ได้เลย
hardware คือ ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์ หรือใช้ทับศัพท์ว่าฮาร์ดแวร์
software บัญญัติว่าส่วนชุดคำสั่ง หรือใช้ทับศัพท์ซอฟต์แวร์
ส่วน joystick บัญญัติไว้ว่า ก้านควบคุม” ...


ทำไมคนไทยหลายๆ คนชอบไส่ร้ายป้ายสี
เกลียดราชบัณฑิตด้วยสาเหตุอะไรก็ิมทราบ ก็ใช้วิชามารใส่ร้ายป้ายสี
เพื่อให้คนดูถูกเยียดหยาม บ้านเมืองเราถึงไม่เจริญสักที เพราะเอาแต่
ทำลายองค์กรที่ให้ความรู้แก่คนไทย


ผมก็พึ่งทราบนะครับเนี่ย ว่าคำพวกนี้ไม่ได้ออกมาจากราชบัณฑิตยสถาน ขอบคุณครับ
แต่พอผมค้นคำต่างๆ เช่น ละมุนภัณฑ์ในกูเกิ้ล ก็ตกใจอย่างแรง หลายๆ คำนั้น
สื่อต่างๆ เอามาใช้กันอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ปี 49 นู้น เลยนะครับ

ถ้าจะให้เดาว่าคนใส่ร้ายป้ายสีเป็นใคร อันนี้เดายาก แต่ถ้าให้บอกว่าคำเหล่านี้แพร่หลาย
ไปได้อย่างไร ผมก็คงจะโทษสื่อต่างๆ นี่แหละครับตัวการแพร่เชื้อชั้นดีเลยทีเดียว
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
User avatar
Moon
 
Posts: 6807
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:51 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby Chenhero » Sun Aug 15, 2010 3:38 am

เสื้อแดงเค้ามีปัญหามั้ย กับคนที่พูดไทยคำเขมรคำ หรือว่าเป็นการฝึกภาษาเขมรไปในตัว
เมื่อต่อสู้มาระยะหนึ่ง การถอดบทเรียนภายใน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับขบวนการประชาชน
User avatar
Chenhero
 
Posts: 2353
Joined: Tue Jan 27, 2009 10:24 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby so what? » Sun Aug 15, 2010 8:03 am

ไม่มีคอมเมนต์สำหรับบลอกที่ว่าครับ เพราะขี้เกียจจะคลิกเข้าไปอ่าน แต่เห็นด้วยกับหลายๆท่านครับว่านายกฯอภิสิทธิ์ เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องโดยไม่ต้องโชว์ภูมินักเรียนนอก ต่างกะไอ้ปลื้มปลาดุกราวฟ้ากะเหว ท่านอานันท์ ปันยารชุน องคมนตรีสุรยุทธ จุลลานนท์ ก็เป็นอีกสองท่านที่พูดได้แบบไม่ต้องไทยคำฝรั่งคำ ส่วนไอ้เหลี่ยมมอนเตฯ คนนี้ยิ่งสั่วทั้งภาษาไทยภาษาฝรั่ง ไม่คู่ควรให้เขียนถึงจริงๆ

เราคงต้องยอมรับความจริงอย่างนึงว่าภาษาอังกฤษมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนใหญ่เกิดจากตำราฝรั่งหรือตำราที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้ว จึงมีคำใหม่ๆเกิดขึ้นและถูกนำไปใช้เป็นทางการได้ตลอดเวลา ในขณะที่ภาษาไทยเรา คำใหม่ๆที่เกิดมักเป็นแสลงแบบ แว้น สก๊อย เมพขิง ฯลฯ เลยทำให้ราชบัณฑิตยสถานของเราไม่กล้าเอาไปบรรจุในพจนานุกรม

แต่ในความจริงก็มีหลายครั้งที่ราชบัณฑิตฯทำตัวเป็นไอ้เข้ขวางคลอง หรือชอบขโมยซีนชาวบ้านเค้าแบบหน้า ... ๆ ยกตัวอย่างเช่นในช่วงต้นๆของ 1990s คำว่า globalization เริ่มเข้ามาติดปากคนไทย ถ้าผมจำไม่ผิด ท่าอาจารย์ไชยอนันต์ สมุทวณิช เป็นคนบัญญัติศัพท์ภาษาไทยสำหรับ globalization ว่า โลกานุวัฒน์ แล้วก็มีคนนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย อยู่ๆวันนึง ท่านราชบัณฑิตยสถานเกิดของขึ้น ออกมาประกาศว่า ต้องเป็นโลกาภิวัตร ต่อจากนั้น อาจารย์เกษียร เตชะพีระ ก็ออกมาเขียนโต้ตอบราชบัณฑิตฯ ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการสมัยก่อนคุณสนธิลิ้มฯ จะกลายเป็น NPL อยู่พักนึง ผมก็ไม่รู้ว่าราชบัณฑิตฯทำแบบนั้นเพื่ออะไร เพราะคำใหม่ก็คือคำใหม่ ตั้งคำขึ้นมา ให้นิยามเข้ามาก็จบ ใครคิดได้ก็ให้เครดิตเค้าไป
User avatar
so what?
 
Posts: 919
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:26 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby Vihok_Asnii » Sun Aug 15, 2010 10:32 am

เรื่องแท่งหฤหรรษ์ หรือละมุนภัณฑ์ ผมว่ามันเริ่มจากเป็นมุขล้อเลียนมากกว่าครับ แต่พอเผยแพร่ต่อๆ กันไปก็ดันเกิดเข้าใจผิดกันว่าเป็นศัพท์บัญญัติจริงๆ ซะงั้น

พูดไปแล้วผมก็แอบเคืองราชบัณฑิตฯ อยู่เรื่องนึงก็คำว่า มุข กับ มุก นี่แหละ :?
ชาติหนอนย่อมเสพส้อง .... อาจม
อิ่มหนำก็ชื่นชม .... แซ่ซร้อง
มินำพาครรลอง .... ถูกผิด
อ้างความสุขที่ต้อง .... หมักหมมอมมูล


REMEMBER, O BEAST! THAT STARTED THY BLOODY HISTORY ON 14th OF JULY,
REMEMBER, HE WHO INVENTED GUILLOTINES WAS HIMSELF BEHEADED BY A GUILLOTINE!
User avatar
Vihok_Asnii
 
Posts: 2133
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:54 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby บุญปลีก » Sun Aug 15, 2010 12:46 pm

Vihok_Asnii wrote:เรื่องแท่งหฤหรรษ์ หรือละมุนภัณฑ์ ผมว่ามันเริ่มจากเป็นมุขล้อเลียนมากกว่าครับ แต่พอเผยแพร่ต่อๆ กันไปก็ดันเกิดเข้าใจผิดกันว่าเป็นศัพท์บัญญัติจริงๆ ซะงั้น

พูดไปแล้วผมก็แอบเคืองราชบัณฑิตฯ อยู่เรื่องนึงก็คำว่า มุข กับ มุก นี่แหละ :?


ครับ แค่เรื่องขำขัน ที่เอามาพูดคุยกันแบบ ตลกๆหนะครับ เรื่องนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการทำพจนานุกรม ก็ได้ออกมาแถลงแล้ว

และคนส่วนใหญ่ก็น่าจะเข้าใจว่ามันเป็นเรื่อง ตลก นะครับ หรือว่าบางท่านอาจจะยังคิดว่าเป็นเรื่องจริง (สงสัยออกมาแถลงนานแล้วคงต้องแถลงซ้ำกระมัง :D )
บุญปลีก
 
Posts: 7184
Joined: Mon May 03, 2010 12:23 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby noona » Sun Aug 15, 2010 2:56 pm

มีเพลงมาฝาก แบบนี้ไม่เรียกว่าดัด...ใช่มั๊ยค่ะ :D

User avatar
noona
 
Posts: 6433
Joined: Fri May 21, 2010 2:40 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby รักน้องพิณ » Sun Aug 15, 2010 5:03 pm

Vihok_Asnii wrote:อืม...ผมว่ามัน absurd ที่จะมากล่าวว่าภาษาบาลี-สันสกฤต raping ภาษา Thai เพราะ root ของความเป็น Thai มีความเป็นมาผูกพันกับศาสนาพุทธมาอย่าง intimate ตั้งแต่ long, long time ago :roll: แล้วยังรับอิทธิพลทาง Bhrami มาอีก ทั้งภาษา Thai ที่ชาวสยามชาวสุวรรณภูมิ use guard come ก็เป็นภาษาที่ออกจะ hybrid อยู่แต่แรกแล้ว

การที่เราไม่ค่อย appreciate การใช้ภาษาทางตะวันตกปนกับภาษา Thai เมื่อเทียบกับบาลีสันสกฤต ไม่ได้เป็นการ hypocrite ดังจะเห็นได้จาก proverb ที่ว่า seeing feces better than guts เพราะของมันที่มีรากมาจากคนละ source กัน มันก็ get along กันยากกว่า และเมื่อผสมออกมาก็ดูไม่ค่อย in สูญเสีย aesthetics และ condensed flavour กลายเป็นความน่า bite water bowl ไปซะมากกว่า ...จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งกับ story city work ที่ต้องการความ SERIOUS และ clear ในการสื่อความหมาย

อ้อ แล้วมันยังดู smith annoying อีกด้วย :x

ช่วยแปลหน่อยครับ

แล้ว "story city work " ใช่เรื่องการเมือง ?
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby Vihok_Asnii » Sun Aug 15, 2010 7:41 pm

รักน้องพิณ wrote:
Vihok_Asnii wrote:อืม...ผมว่ามัน absurd ที่จะมากล่าวว่าภาษาบาลี-สันสกฤต raping ภาษา Thai เพราะ root ของความเป็น Thai มีความเป็นมาผูกพันกับศาสนาพุทธมาอย่าง intimate ตั้งแต่ long, long time ago :roll: แล้วยังรับอิทธิพลทาง Bhrami มาอีก ทั้งภาษา Thai ที่ชาวสยามชาวสุวรรณภูมิ use guard come ก็เป็นภาษาที่ออกจะ hybrid อยู่แต่แรกแล้ว

การที่เราไม่ค่อย appreciate การใช้ภาษาทางตะวันตกปนกับภาษา Thai เมื่อเทียบกับบาลีสันสกฤต ไม่ได้เป็นการ hypocrite ดังจะเห็นได้จาก proverb ที่ว่า seeing feces better than guts เพราะของมันที่มีรากมาจากคนละ source กัน มันก็ get along กันยากกว่า และเมื่อผสมออกมาก็ดูไม่ค่อย in สูญเสีย aesthetics และ condensed flavour กลายเป็นความน่า bite water bowl ไปซะมากกว่า ...จึงไม่เหมาะอย่างยิ่งกับ story city work ที่ต้องการความ SERIOUS และ clear ในการสื่อความหมาย

อ้อ แล้วมันยังดู smith annoying อีกด้วย :x

ช่วยแปลหน่อยครับ

แล้ว "story city work " ใช่เรื่องการเมือง ?


use guard come=ใช้กันมา
bite water bowl=ขบขัน
smith annoying=ช่างน่ารำคาญ
ชาติหนอนย่อมเสพส้อง .... อาจม
อิ่มหนำก็ชื่นชม .... แซ่ซร้อง
มินำพาครรลอง .... ถูกผิด
อ้างความสุขที่ต้อง .... หมักหมมอมมูล


REMEMBER, O BEAST! THAT STARTED THY BLOODY HISTORY ON 14th OF JULY,
REMEMBER, HE WHO INVENTED GUILLOTINES WAS HIMSELF BEHEADED BY A GUILLOTINE!
User avatar
Vihok_Asnii
 
Posts: 2133
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:54 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby yenmanovic » Sun Aug 15, 2010 8:01 pm

Vihok_Asnii wrote:
use guard come=ใช้กันมา
bite water bowl=ขบขัน
smith annoying=ช่างน่ารำคาญ


อื้อหือออออ เจอมุกนี้เข้าไปเข็มขัดสั้นเลยตู Image
บทสัมพลาดเมียเสื้อแดงที่โดนยิงตาย

http://www.youtube.com/watch?v=uR6VTVJGbVQ&
User avatar
yenmanovic
 
Posts: 3038
Joined: Sat Jan 10, 2009 11:18 am

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby รักน้องพิณ » Sun Aug 15, 2010 8:14 pm

WTF
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby ปุถุชน » Sun Aug 15, 2010 11:48 pm

Moon wrote:
eAT wrote:ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ยุคที่คอมพิวเตอร์เข้ามาแพร่หลายในการใช้งาน เราคงได้เห็นการบัญญัติศัพท์ออกมาหลายคำจากราชบัณฑิตยสถาน แต่คำ (หลาย) บางคำที่ไม่เคยถูกบรรจุอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดๆ เลยของราชบัณฑิตยสถาน กลับถูกพูดต่อและแพร่หลายกระจายไปทั่ว

ที่ติดตาติดปากมากที่สุดคง ต้องยกให้คำว่า ละมุนภัณฑ์ ที่มาจากศัพท์ว่า ซอฟต์แวร์ (software) กระด้างภัณฑ์ มาจากศัพท์ว่า ฮาร์ดแวร์ (hardware) เรื่องนี้ เลขาธิการราชบัณฑิตสถาน จินตนา พันธุฟัก บอกว่าเป็นตราบาปที่ราชบัณฑิตยสถานต้องรับมาอย่างไม่รู้เรื่อง เป็นความเสียหายที่แก้ไม่ได้เสียที แล้วยิ่งคำศัพท์ว่า joystick ที่ไปกล่าวกันว่าราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่า แท่งหรรษา นี่ยิ่งไปกันใหญ่ และเป็นเรื่องที่ “น่าเกลียดมากๆ” ราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยผู้ทรงความรู้ การบัญญัติศัพท์ย่อมต้องมีหลักวิชาการ และใช้การพินิจพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...


...“ลองดูจากพจนานุกรมศัพท์บัญญัติ ที่ราชบัณฑิตยสถานได้พิมพ์ไว้ได้เลย
hardware คือ ส่วนเครื่อง ส่วนอุปกรณ์ หรือใช้ทับศัพท์ว่าฮาร์ดแวร์
software บัญญัติว่าส่วนชุดคำสั่ง หรือใช้ทับศัพท์ซอฟต์แวร์
ส่วน joystick บัญญัติไว้ว่า ก้านควบคุม” ...


ทำไมคนไทยหลายๆ คนชอบไส่ร้ายป้ายสี
เกลียดราชบัณฑิตด้วยสาเหตุอะไรก็ิมทราบ ก็ใช้วิชามารใส่ร้ายป้ายสี
เพื่อให้คนดูถูกเยียดหยาม บ้านเมืองเราถึงไม่เจริญสักที เพราะเอาแต่
ทำลายองค์กรที่ให้ความรู้แก่คนไทย


ผมก็พึ่งทราบนะครับเนี่ย ว่าคำพวกนี้ไม่ได้ออกมาจากราชบัณฑิตยสถาน ขอบคุณครับ
แต่พอผมค้นคำต่างๆ เช่น ละมุนภัณฑ์ในกูเกิ้ล ก็ตกใจอย่างแรง หลายๆ คำนั้น
สื่อต่างๆ เอามาใช้กันอย่างแพร่หลายมาตั้งแต่ปี 49 นู้น เลยนะครับ


ถ้าจะให้เดาว่าคนใส่ร้ายป้ายสีเป็นใคร อันนี้เดายาก แต่ถ้าให้บอกว่าคำเหล่านี้แพร่หลาย
ไปได้อย่างไร ผมก็คงจะโทษสื่อต่างๆ นี่แหละครับตัวการแพร่เชื้อชั้นดีเลยทีเดียว



ผมเคยเข้าใจว่าบัญญัติโดย"ราชบัณฑิตยสถาน"ด้วยเหมือนกัน.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby halfmoon » Mon Aug 16, 2010 1:57 am

Vihok_Asnii wrote:เรื่องแท่งหฤหรรษ์ หรือละมุนภัณฑ์ ผมว่ามันเริ่มจากเป็นมุขล้อเลียนมากกว่าครับ แต่พอเผยแพร่ต่อๆ กันไปก็ดันเกิดเข้าใจผิดกันว่าเป็นศัพท์บัญญัติจริงๆ ซะงั้น

พูดไปแล้วผมก็แอบเคืองราชบัณฑิตฯ อยู่เรื่องนึงก็คำว่า มุข กับ มุก นี่แหละ :?


เรื่องคำว่า มุก กับ มุข ผมติดใจที่เขาว่า มุขตลก กับ มุกตลก ส่วนผมเข้าใจว่า หากคำว่า ตลก เป็นคำไทยแท้ ต้องเป็น มุกตลก

และแต่หาก ตลก เป็นคำบาลี ก็ต้องเป็น มุขตลก หากไม่ใช่คำบาลี ก็ต้องเป็น มุกตลก

มุก แปลว่า เม็ดกลม เม็ดใน

มุข แปลว่า ส่วนหน้า ส่วนยื่น ประธาน บางที่ก็เรียกหน้าจั่วบ้านว่ามุข

มุขตลก ก็อาจจะเป็นคำเรียกที่ถูกต้อง เพราะเป็นตลกเสนอหน้า ให้ฮาขำกลิ้ง

มุกตลก ก็อาจจะเป็นคำที่ถูกต้อง เพราะเป็นเม็ดใน กลเม็ดหรือที่เด็ดในการแสดงตลก

สองคำนี้ผมไม่ติดใจในเนื้อหาของความหมาย แต่ให้ดูที่การรวมคำข้างต้น ว่า ตลก เป็นภาษาไทยแท้หรือไม่ เป็นบาลีหรือไม่

แต่ผมติดใจที่บางครั้งบอกว่า มุข แปลว่าส่วนยื่นส่วนงอกออกมานี่สิ ทำให้ผมสับสนในคำว่า ฝังมุก หรือ ฝังมุข อันไหนถูกต้อง

ฝังเม็ดกลม หรือว่า ฝังแล้วยื่น โผล่ งอกออกมา เป็นติ่ง หรืออะไรทำนองนั้น แล้วถ้าเป็นเช่น มุข ส่วนที่เรียกว่าติ่งหู ถือว่าเป็น มุข หรือไม่

ถ้าใช่ ติ่งหู ก็เป็นประธานของหูสิ งั้น ติ่งอื่นๆ ก็เป็นประธานของอวัยวะส่วนนั้นๆด้วยเหมือนกัน มันก็น่าจะใช่นะ เพราะมันชอบเสนอหน้าออกมา :lol:


ถ้ามันโผล่ล้ำหน้าออกมา ก็คงเรียกว่า มุข แต่ถ้ามันยังหลบเป็นเม็ดใน มันก็คงเป็น มุก เช่น ถ้าเหงือกล้นออกมา ก็เป็น มุขหน้า ส่วนลิ้นไก่ก็เป็น มุกคอ :lol:
  • อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง
User avatar
halfmoon
 
Posts: 10731
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:34 pm

Re: พูดไทยคำอังกฤษคำ ผิดตรงไหน?

Postby yenmanovic » Tue Aug 17, 2010 12:00 am

แต่บางครั้งผมก็งงว่าราชบัณฑิตยสถานคิดอะไร หรือไม่ได้ทำการบ้าน หรือว่าต้องการโชว์เหนือว่าข้าคือมาตรฐานก็ไม่รู้

เช่นพอมีคำใหม่เกิด พอเอามาอัพเดทในพจนานุกรม หลายๆครั้งจะต้องเอามาเปลี่ยน คือถ้าดีกว่าเดิมก็โอเค แต่หลายๆครั้งของเดิมดีอยู่แล้ว จะเปลี่ยนทำไมไม่รู้

อย่างี่เห็นกับตาคือเมื่อ3-4ปีก่อนมั้งที่คำว่าอารยะขัดขืน

แต่ราชบัณฑิตฯกลับเขียนว่า "อริยะขัดขืน" แถมขึ้นโชว์ที่หน้าปกด้วยว่าเป็นตัวอย่างของคำอัพเดทใหม่ -*-

งงเลย มาจากไหนวะ อริยะขัดขืน :(
บทสัมพลาดเมียเสื้อแดงที่โดนยิงตาย

http://www.youtube.com/watch?v=uR6VTVJGbVQ&
User avatar
yenmanovic
 
Posts: 3038
Joined: Sat Jan 10, 2009 11:18 am

Previous

Return to ห้องพัก