'มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์' จะปกป้องแผ่นดินไทย อภิสิทธิ์ต้องเลิก MOU43
ประเด็นที่กำลังร้อนระอุที่สุดในรอบสัปดาห์นี้คงไม่มีเรื่องใดร้อนไปกว่ากรณีที่กัมพูชาจะเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหารในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งมีขึ้นที่ประเทศบราซิล เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนให้กับกัมพูชา จึงเกิดกระแสคัดค้านอยากหนักจากประชาชนไทยทั่วประเทศ
ขณะที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่เคยนิ่งเฉยปล่อยให้ทหารกัมพูชารุกล้ำแผนดินไทยมาตลอดก็จำใจต้องลุกขึ้นแสดงท่าทีคัดค้านพร้อมทั้งประกาศว่าหากไทยไม่ได้รับความเป็นธรรม ไทยก็ถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการมรดกโลก รวมทั้งถอนตัวจากภาคีสมาชิกยูเนสโก จนหลายคนวิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นท่าทีที่สายเกินไป ทั้งนี้ที่ผ่านมาการคัดค้านของภาคประชาชนมีผลมากน้อยเพียงใด รัฐบาลไทยได้ทำหน้าที่ปกป้องประเทศหรือไม่และหากกัมพูชาประสบความสำเร็จในการเสนอแผนครั้งนี้..ไทยควรจะทำอย่างไร 'ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์' ได้พูดคุยกับ
'มล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์' นักวิชาการไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ติดตามและเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตลอด **การออกไปชุมนุมของภาคประชาชนที่ยูเนสโกประเทศไทย เป็นการยืนยันชัดเจนว่ามีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่คัดค้านการนำประสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่ของกัมพูชา คือก็มีนักข่าวคนหนึ่งเขาไปสัมภาษณ์คุณสุวิทย์ (สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยที่เดินทางไปประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศบราซิล) แล้วก็โทร.มาหาดิฉันว่า....อาจารย์ที่อาจารย์บอกว่าจะเอาคนออกมาชุมนุมคัด ค้านแค่ร้อยคนเนี่ย เอาออกมาสักหมื่นคนสิ ตอนแรกเราก็ไม่ได้คิดอะไร วันรุ่งขึ้นมาดูข่าว เห็นหน้าคุณสุวิทย์เหลือสองนิ้ว ก็อืม..คงไม่ไหวจริงๆ คุณจำลอง(พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) ก็โทร.มาปรึกษาว่าเอาคนออกมาแล้วจะคุ้มไหม เราก็เลยบอกว่า นักข่าวเขาโทร.มาบอกว่าคุณสุวิทย์มองว่าร้อยคนไม่พอ เอาออกมาหมื่นหนึ่งได้ไหม ก็เลยตัดสินใจว่าต้องเอาคนออกมา แล้วดิฉันก็ส่งข้อความไปบอกคุณสุวิทย์ว่า..คอยดูนะวันที่ไปยูเนสโก คนจะออกมาเป็นหมื่น แล้วจงใช้ประโยชน์จากภาคประชาชนเพื่อปกป้องประเทศชาติ **หลังการออกมาชุมนุมในวันนั้น ตามที่ปรากฏว่าอาจารย์เป็นคนหนึ่งที่มีโอกาสได้พูดคุยกับนายกฯ เนื้อหาที่พูดคุกันเป็นอย่างไรบ้าง คือที่เข้าหารือกับท่านนายกฯเพราะ พล.ต.จำลอง โทร.มาแจ้งว่าให้ดิฉันเป็นหนึ่งในตัวแทนเข้าไปคุยกับนายกฯ ตอนนั้นเราก็คิดว่าคงเป็นนิมิตหมายอันดีเพราะกำลังเกิดเรื่องและคนออกมาคัด ค้านเยอะ นายกฯอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) คงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และอยากร่วมมือกับภาคประชาชน แต่พอเข้าไปคุยกันแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย เข้าไปแล้วมันเหมือนกับว่าเขาอยากจะบอกว่าฉันชอบอะไร ไม่ชอบอะไร คือไม่ชอบให้ใครมาพูดกับฉันแบบนี้ ดิฉันก็สงสัยว่าเขาอยากได้อะไร ดิฉันก็บอกกับท่านนายกฯว่า จริงๆแล้วประชาชนอยากร่วมมือกับรัฐบาลเพียงแต่เราไม่รู้ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล เพราะฉะนั้นจะมาบอกว่าไอ้อย่างนี้เราไม่ควรออกมา...มันไม่ใช่คือที่ผ่านมารัฐบาลไม่เคยเปิดเผยแผนงานว่าจะดำเนินการอย่างไรกับกรณีเขาพระวิหาร เราก็ดำเนินการไปตามที่เราวิเคราะห์ ถ้ารัฐบาลอ่อนเรื่องนี้ เราต้องเดินอย่างนี้ วันนั้นก็มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน ซึ่งก็มีทั้งประเด็นที่นายกฯเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งหน่อมแน้มมาก ในที่สุดเราก็ถามไป 2 ประเด็น คือ 1.ประเด็น MOU43 มันหมายถึงอะไร และเราจะยกเลิกได้อย่างไร 2.ประเด็นเรื่องศาลโลก ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้เรากับนายกฯเห็นไม่ตรงกัน
**เห็นไม่ตรงกันตรงไหน คือประเด็นแรกเราขอให้ยกเลิก MOU43 (บันทึกข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ลงนามในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย) เพื่อเป็นการแก้ปัญหาทั้งหมด เพราะไม่เช่นนั้นถ้ายังมีการอ้าง MOU ตัวนี้ กัมพูชาก็ล้ำแดนเราได้
นายกฯก็ไม่เห็นด้วย บอกว่า MOU43 มีข้อดี
ข้อดีประการที่1
มันเป็นการยืนยันว่ากัมพูชายอมรับว่าตรงนั้นเป็นพื้นที่พิพาทระหว่าง ไทย-กัมพูชา แต่โดยหลักการแล้ว MOU43 มันยึดแผนที่ที่ใช้อัตราส่วนพื้นที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งกัมพูชาเขาก็ใช้อัตราส่วน 1 ต่่อ 200,000 แล้วอย่างนั้นตรงไหนเป็นพื้นที่พิพาท แต่ถ้าเราใช้สันปันน้ำเป็นแนวแบ่งเขตพื้นที่ระหว่างประเทศ ซึ่งยึดแผนที่ที่ใช้อัตราส่วน 1 ต่อ 50,000 ขณะที่กัมพูชาใช้แผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 มันก็จะมีพื้นที่ที่กัมพูชาล้ำเข้ามา ซึ่งตรงนี้จึงจะเรียกว่าพื้นที่พิพาท นอกจากนั้นถ้าบอกว่าเป็นพื้นที่พิพาท พื้นที่ตรงนี้ก็ต้องไม่เป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งทางกัมพูชาก็ต้องยอมรับด้วยว่ามันเป็นพื้นที่พิพาท แต่เขาไม่ยอมรับเขาอ้างว่าเป็นของกัมพูชาแล้วถามว่าทำไมนายกฯอภิสิทธิ์จึงไม่บอกว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นของไทย เพราะถ้าบอกว่าเป็นของไทยก็แปลว่า MOU43 ที่ไทยทำกับกัมพูชาในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ก็ใช้ไม่ได้สิ ข้อดีประการที่ 2 นายกฯบอกว่า ข้อ 5 ใน MOU43 ระบุว่าทั้ง 2 ประเทศไม่สามารถทำอะไรก็ตามที่ถือว่าเป็นการทำลายหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในอาณาบริเวณตรงนี้ได้ เพราะมันเป็นอาณาบริเวณที่จะต้องมีการจัดทำหลักเขตแดนเนื่องจากยังไม่ชัดเจนว่าตรงไหนเป็นของใคร
แต่ในความเป็นจริงแล้วพื้นที่ตรงนี้กัมพูชาได้เข้ามาสร้างวัด ทำถนน สร้างตลาด สร้างชุมชน และเอาคนของเขาเข้ามาอยู่นานแล้ว สิ่งเหล่านี้เขาทำมาร่วมสิบปีแล้ว ขณะที่ไทยประท้วงไปเขาก็ไม่ถอนคนและสิ่งก่อสร้างออกจากพื้นที่ แสดงว่ากัมพูชาไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดใน MOU ดังนั้นเราจึงไม่เห็นด้วยกับนายกฯ เพราะมันมีแต่ข้อเสีย จะเห็นได้ว่าปัจจุบันไทยไม่สามารถยืนยันอธิปไตยในพื้นที่ตรงนี้ได้เลย ไม่ใช่บอกว่าเขาเข้ามาเราก็มีทหารยืนกันแต่ทหารเราจะใช้วิธีแสดงสัญลักษณ์ด้วยการไปปรากฏกายอยู่ที่วัดซึ่งกัมพูชาเข้ามาสร้างในพื้นที่ประเทศไทย แต่ปรากฏว่าเมื่อไม่กี่วันมานี้เขมรก็เอาทหารเข้ามาแล้ว เอาพระมาทำพิธี เพื่อตรึงกำลังตรงวัด เท่ากับเป็นการทำลายสัญลักษณ์ของเราแล้ว ต่อไปนี้ถามว่าทหารไทยจะขึ้นไปแสดงตัวตรงนั้นได้หรือไม่ ประเด็นที่สองเรื่องศาลโลกท่านนายกฯเห็นว่าถ้าเราคัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วทางกัมพูชาเอาเรื่องขึ้นศาลโลกแล้วขยายผลไทยจะเสียเปรียบ ซึ่งเราก็เถียงว่าไม่เห็นจำเป็นจะต้องขึ้นศาลโลกเลยเพราะประเทศไทยเรามีอธิปไตยตรงนี้สำคัญ คุณรู้จักคำว่าอธิปไตยไหม ถ้ารู้จักอธิปไตยจะรู้ว่าเราไม่ต้องยอม องค์กรที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิ์มาสั่งเรา ศาลโลกเนี่ยถือว่าองค์กรที่ 3 เขาไม่มีสิทธิ์ที่จะมาบังคับเพราะประเทศเรามีอธิปไตย **ตามหลักการแล้วไทยสามารถยกเลิก MOU43 ได้ใช่ไหม ทำไมจะยกเลิกไม่ได้เพราะรัฐธรรมนูญของไทยระบุว่าเรื่องใดที่เป็นข้อ ตกลงระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องนำเข้าหารือต่อที่ประชุมสภา แต่การทำ MOU43 ระหว่างไทย-กัมพูชา รัฐบาลขณะนั้นไม่ได้นำเข้าสภา ไอ้ที่เข้าสภามันเป็นแค่เอกสารประกอบในเรื่องของกรอบการเจรจา ส่วนตัวที่เป็นสนธิสัญญาไม่ได้ผ่านสภา ดังนั้นจึงถือว่ามันเป็นโมฆะต้องแต่ต้น เราบอกเลยว่าทำไมรัฐบาลไม่ใช้อนุสัญญาเวียนนาให้เป็นประโยชน์ เพราะตามอนุสัญญากรุงเวียนนาข้อ 46 ระบุว่า โดยปกติแล้ว รัฐต่างๆ เมื่อไปลงนามในหนังสือสัญญาใดๆไม่สามารถอ้างเหตุของการทำผิดกฎหมายภายใน ประเทศไปลบล้างข้อผูกมัดได้ ยกเว้นว่าการละเมิดกฎหมายดังกล่าวนั้นเป็นการละเมิดกฎหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลสามารถยกเลิก MOU43 ได้ **บรรยากาศการหารือกับนายกฯ ในวันนั้นเป็นอย่างไร เรารู้สึกเหมือนถูกรุมนะ เพราะฝ่ายรัฐบาลมีทั้งคุณกษิต (นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ) คุณชวนนท์ (นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุด เลขานุการ รมว.ต่างประเทศ) คุณศิริโชค (นายศิริโชค โสภา เลขานุการส่วนตัวนายกรัฐมนตรี) เขาก็คอยค้านความเห็นเรา แต่คุณกษิตแกไม่ค่อยพูดหรอก คิดว่าแกอาจเข้าข้างเราด้วยซ้ำ แต่บางทีมีความจำเป็นต้องบอกว่านโยบายรัฐบาลเป็นอย่างนี้..อย่างนี้... แต่ถ้าไม่พูดเรื่องนโยบายรัฐบาลดิฉันว่าคุณกษิตต้องเห็นด้วยกับเรา ส่วนท่านนายกฯพูดไปก็ทุบโต๊ะไปตลอดเวลาเลย
เราก็บอกว่าเอาอย่างนี้ไหมท่านนายกฯ...เราก็มีนักวิชาการของเรา ท่านก็มีผู้เชี่ยวชาญของท่าน มีกองงานของกระทรวงการต่างประเทศที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ เรามาจัดการความรู้กันไหม จัดประชุมและก็ถกเถียงกันเลยว่าในที่สุดแล้วจะเอาแบบไหนยังไง นายกฯก็บ่ายเบี่ยง คุณกษิตก็บอกว่าถ้าอยากประชุมเดี๋ยวผมจัดให้ได้ แต่เราบอกว่ามันไม่ใช่ความหมายของการจัดเวที แต่หมายถึงว่าเรามาดีเบตกัน แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างฝ่ายที่คัดค้านกับฝ่ายรัฐบาลซึ่งยังมีความเห็น ไม่ตรงกันอยู่ แต่มันต้องมีข้อสรุปที่นำไปสู่การปฏิบัติ นายกฯก็บอกว่าบางทีมันเป็นเรื่องของความมั่นคง เราก็บอกว่าท่านนายกฯไว้ใจใครก็ส่งคนนั้นมาคุยแล้วกัน เดี๋ยวเราจัดทำข้อมูลให้แต่เขาไม่ได้สนใจทำให้เรารู้เลยว่าการเรียกเราไปคุยครั้งนี้เขาไม่ได้อยากขอความร่วมมือจากเรา และทำงานร่วมกันไม่ได้ จริงๆเขาน่าจะชมว่าเฮ้ย...ประชาชนออกมาขนาดนี้ ภาคประชาชนเนี่ยเป็นตัวช่วยเลยนะ แต่เขากลับไม่เห็นความสำคัญของภาคประชาชนเลย เราก็เลยมองว่าถ้าอย่างนั้นเราก็เดินไปตามทางของเรา ทำไมต้องมาพยายามประสานขอความร่วมมือจากรัฐบาลเพราะรัฐบาลไม่ได้ต้องการเราสักนิด
**แปลว่าท่าทีของคุณอภิสิทธิ์เปลี่ยนไปจากเมื่อครั้งเป็น ฝ่ายค้าน ซึ่งลุกขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลสมัคร (สุนทรเวช) กรณีเขาพระวิหาร ใช่ค่ะ เปลี่ยนไปมาก ตอนเป็นฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ก็ส่งคนมาขอข้อมูลเรื่องเขาพระวิหาร เราก็นั่งคุยกันอะไรกัน พอคุณอภิสิทธิ์อภิปรายเสร็จก็โทร.มาหาดิฉัน บอกว่า..ขอบคุณครับ เราก็เออ...ดีใจว่าเราทำข้อมูลและพิสูจน์ข้อมูลตรงนี้แล้วมีคนเอาไปใช้ ประโยชน์ แล้วที่ผ่านมาหลังจากนั้นมีอะไรคุณอภิสิทธิ์ก็จะส่งข้อความมาตลอด กระทั่งเป็นนายกฯก็ยังประสานกันตลอด กฎหมายบางฉบับเราไม่อยากให้เอาเข้าสภาเราก็ส่งข้อความไปบอก นายกฯก็โทร.กลับมาถามว่า...มีอะไรครับ คือนายกฯก็เหมือนกับเพื่อนนักวิชาการที่พูดกันรู้เรื่อง จนกระทั่งมีการพูดเรื่องเสียดินแดน ท่าทีของคุณอภิสิทธิ์ก็เปลี่ยนไป ตอนเป็นฝ่ายค้านเขาบอกว่าต้องยกเลิกแถลงร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาในการขึ้น ทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ได้มีการยกเลิกเลย **ที่ผ่านมาตั้งแต่คุณอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ รัฐบาลได้มีมติหรือท่าทีอะไรเกี่ยวกับพระวิหารบ้าง คือพอรัฐบาลสมชาย (นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์) ได้ผ่านกรอบการเจรจา เมื่อ 8 ต.ค.2551 ต่อมา 6 เม.ย.2552 ได้เกิดร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งในรายงานครั้งที่ 33 ของคณะกรรมการมรดกโลกระบุว่ามาดามฟรองซัวร์ ( มาดามฟรองซัวร์ ริวิริแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก) ซึ่งเป็นตัวแทนของยูเนสโกได้แนะนำว่าไทยและกัมพูชาต้องตกลงกันเสีย ให้เกิดสันติ และควรต้องมีข้อตกลงร่วมกันขึ้นมา เพื่อที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปประกอบในการพิจารณาขอขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
จากคำแนะนำตรงนี้ต่อมามันก็เกิดข้อตกลงชั่วคราว 6 เม.ย.2552 ทหารของกัมพูชาที่เข้ามาตรึงกำลังในพื้นที่ประเทศไทยก็แปลงร่างเป็นชุด ติดตามสถานการณ์ชั่วคราว เพราะอยู่ในฐานะทหารที่เข้าตรึงกำลังก็อาจจะถูกมองว่าไทยกับกัมพูชาไม่มี สันติ ซึ่งยูเนสโกทำเพื่อปกป้องตัวเอง และทำให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้ไม่มีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ ซึ่งเป็นการสร้างมายาภาพว่ามีสันติ แต่ทำไมรัฐบาลไทยไม่ฉลาดพอที่จะจับประเด็นว่าจริงๆแล้วยูเนสโกแคร์ประเด็นเรื่องภายในประเทศ
ดังนั้นประเด็นที่รัฐบาลอภิสิทธิ์บอกว่าถ้าเราคัดค้านโดยเอาคำสั่งศาลซึ่ง ระงับแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูา ที่สนับสนุนให้มีการจดทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียง ฝ่ายเดียวมาแสดงไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องภายในประเทศ ยูเนสโกเขาไม่ฟังหรอก ซึ่งดิฉันว่าไม่ใช่และตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องภายในประเทศเสียทีเดียวเพราะมันเกี่ยวข้องกับอาณาเขตระหว่างไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ซึ่งมันสามารถเอาไปเป็นข้อโต้แย้งได้ แม้แต่ในข้อตกลงชั่วคราวในข้อ 8 ก็ระบุว่าประเทศภาคีต้องดำเนินการทุกอย่างให้เสร็จสิ้นตามกระบวนการกฎหมายภายในของตน
*
*ดูแล้วรัฐบาลไม่ฉลาด ไม่รู้เรื่อง หรือว่ามีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงหรือเปล่าถึงได้ทำแบบนี้ คือทุกอย่างรัฐบาลยอมจำนนหมดไงคะ พอเราอธิบายอะไรไปรัฐบาลก็จะบอกว่าต่างประเทศไม่เข้าใจหรอก มันต้องอธิบายบรรยายกันยาว ก็แล้วทำไมคุณต้องมาทำวันนี้ล่ะ เป็นรัฐบาลมาตั้งเป็นปีๆทำไมไม่พยายามอธิบาย ถ้ารักประเทศชาติ แล้วรู้ว่ากำลังจะสูญเสียแผ่นดินไป เราต้องพยายามปกป้องใช่ไหม มีคนบอกดิฉันว่าเขมรมันฉลาดมากนะ จริงๆ แล้วเขมรไม่จำเป็นต้องฉลาดเลยเพราะรัฐบาลไทยไม่ทำอะไรเลย
คือถ้าเราเชื่อว่านายกฯไม่โกง พรรคประชาธิปัตย์ไม่โกง ก็ต้องไปยอมรับว่า กระทรวงต่างประเทศไม่รู้เรื่องอะไรเลยแต่จะเป็นไปได้ไหม จริงอยู่คุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลนี้มีคุณอภิสิทธิ์คนเดียว ยังมีนักการเมืองอีกตั้งเยอะแยะเขาเล่นกันคนละหน้า ถามว่าสุเทพ (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง)ไปทำอะไรกับใครหรือเปล่า พูดถึงเรื่องนี้ ดิฉันก็แปลกใจว่าทำไมสุรเกียรติ์ถึงมาเปิดตัวในช่วงนี้บ่อยครั้ง มาให้สัมภาษณ์นักข่าวบางสำนักว่า MOU43 มีประโยชน์ เพราะอะไร? เพราะ MOU44 มันรับรอง MOU43 ในเมื่อสุรเกียรติ์ทำ MOU44 ในสมัยรัฐบาลทักษิณ แล้วจะมาบอกว่า MOU43 ที่ทำในสมัยรัฐบาลชวนไม่ดีได้ยังไง นอกจากนั้น นพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ สมัยรัฐบาลทักษิณ ซึ่งเป็นผู้ลงนามร่วมกับกัมพูชาในการสนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนประสาท พระวิหารเป็นมรดกโลก ยังเคยเป็น ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายในสมัยรัฐบาลชวน วศิน ธีรเวชญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย ในสมัยรัฐบาลชวน เขาก็ทำวิทยานิพนธ์เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย และปัจจุบันคุณวศินก็เป็นประธานเจบีซี (ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา) ฝ่ายไทย
**การยื่นแผนพัฒนาพื้นที่ฯ ครั้งนี้ทางกัมพูชาก็ใช้แผนที่ในอัตราส่วนพื้นที่ 1 ต่อ 200,000 ? ใช่ คือกัมพูชารู้ดีว่าในทางพฤตินัยกระบวนการจัดทำพื้นที่ของเรานั้นถ้าภาคประชาชนไม่ออกมาคัดค้าน วันนี้มันเสร็จแล้วและมีแผนที่ประเทศไทยใหม่ รุ่นลูกรุ่นหลานเราใช้แผนที่ประเทศไทยอันเดิมไม่ได้แล้ว
ที่ผ่านมามันก็มีนักวิชาการฝ่ายไทยไปให้การสนับสนุนแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ในช่วงรัฐบาลสมัคร ขณะที่เครือข่ายภาคประชาชนออกมาคัดค้านว่าไทยไม่ควรยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200,000 แต่คุณวศิน (ปัจจุบันเป็นประธานเจบีซี ฝ่ายไทย ) กลับให้สัมภาษณ์ว่าเราควรใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ซึ่งประเด็นนี้ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชายด้านกฎหมายระหว่างประเทศ ท่านก็ค้านว่าเราต้องยึดคำพิพากษาของศาล ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาที่ 23 และ 24 /2551 และคำพิพากษาของศาลปกครองเมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 52 ที่ระบุว่าใครจะไปกำหนดเขตแดนที่ไม่เป็นคุณต่อประเทศจะกระทำไม่ได้ และถือว่าเป็นการละเมิดศาล **ที่ผ่านมาท่าทีของยูเนสโกเข้าข้างกัมพูชามาตลอดเป็นเพราะคณะกรรมการในยูเนสโกได้ประโยชน์ทางธุรกิจอะไรจากกัมพูชาหรือเปล่า ยังไงฝรั่งเศสเขาก็ต้องถือว่ากัมพูชาเคยเป็นประเทศอาณานิคมของเขา นอกจากนั้นฝรั่งเศสก็มีผลประโยชน์เรื่องธุรกิจน้ำมันและธุรกิจท่องเที่ยวใน กัมพูชา ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนว่าที่ผ่านมา มาดามฟรองซัวร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก มักจะเข้ามาแนะนำให้รัฐบาลไทยและกัมพูชาทำอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งมันขัดต่อความเป็นจริง
**ตอนนี้รัฐบาลไทยก็ประกาศว่าจะคัดค้าน และจะตอบโต้อย่างเต็มที่ เราก็ต้องรอดูว่าประกาศอกมาแล้ว จะทำไหม ในสมัยนพดล ปัทมะ เป็น รมว.ต่างประเทศ ก็บอกว่าจะคัดค้านกัมพูชา กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวไม่ได้ ไทยต้องขึ้นทะเบียนร่วมด้วย แต่พอเอาเข้าจริงกลับไปสนับสนุนกัมพูชา โดยเอาอุทยานแห่งชาติของไทยเข้าไปร่วมขึ้นทะเบียนด้วย ซึ่งส่งผลให้จากเดิมที่เราจะสูญเสียดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,000 ไร่ แต่ตามโมเดลใหม่นี้ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านไร่ ดังนั้นเมื่อนายกฯอภิสิทธิ์บอกว่าเราคัดค้านและไม่ต้องการให้เสียดินแดนก็ต้องถามต่อว่าแล้วขั้นต่อไปคืออะไร
ที่ผ่านมามีข้อเสนอว่าเราน่าจะเอาพื้นที่ป่าเขาลำเนาไพร่ที่อยู่ใน อีก 3 จังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมพัฒนาด้วย ซึ่งคนที่ไม่รู้อาจจะมองว่าดี เขาจะมาช่วยพัฒนาพื้นที่ให้ แต่จริงๆแล้วถ้าขึ้นร่วมแบบนี้พื้นที่ซึ่งเป็นของคนไทยและคนไทยอาศัยทำมาหา กินได้รับผลกระทบแน่เพราะคนที่เคยอยู่อาศัยหรือทำมาหากินในบริเวณนี้ต้อง ย้ายออกทันที ตอนที่หารือกับนายกฯ ท่านก็บอกว่าถ้าขึ้นทะเบียนร่วมแบบนี้ไทยไม่เสียดินแดนแน่ เราก็ถามกลับไปว่าพื้นที่ตรงนี้เรายังมีโฉนดเป็นของประเทศไทยหรือเปล่า หรือต้องไปใช้โฉนดของเขา นายกฯก็อึ้งเลย ตอบไม่ได้ แล้วนายกฯ ก็คิดว่าถ้าขึ้นร่วมแบบนี้ประชาชนคนไทยก็คงไม่รู้หรอกว่าเปลี่ยนแปลงดินแดนตามแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตามที่กัมพูชาเสนอแล้ว เพราะหลังจากขึ้นทะเบียนมรดกโลก ประชาชนจะเข้าไปในพื้นที่ตรงนี้ไม่ได้เลย แล้วก็ต้องถามต่อว่าถ้าเป็นเช่นนั้นรัฐบาลได้เตรียมมาตรการไว้รองรับ หรือให้การช่วยเหลือประชาชนที่เคยอาศัยทำกินในพื้นที่แถบนี้ซึ่งต้องย้ายออก หลังขึ้นทะเบียนแล้วหรือยัง ที่ผ่านมามีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยได้รับผลกระทบจากการรุกไล่ยึดพื้นที่ของฝ่ายกัมพูชาแล้ว จนกระทั่งชาวบ้านกลุ่มหนึ่งบอกว่าไม่ไหวแล้ว ชาวบ้านก็กลับเข้าไปใหม่เพราะไม่มีที่ทำกิน ซึ่งที่บางแห่งก็มีเจ้าของ จากเดิมเขามีที่ร้อยกว่าไร่ ถูกกัมพูชาบุกรุกจนเหลือไร่เดียว จนเกิดเป็นเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ขึ้นมา **แล้วประเทศไทยควรทำอย่างไร ไทยจะควรขอถอนตัวจากการเป็นภาคีสมาชิกยูเนสโก ซึ่งยูเนสโกเป็นองค์กรที่ไม่ได้มีอำนาจจะไปบังคับประเทศใดได้ และการถอนตัวไม่ได้ทำให้เราได้รับผลกระทบอะไร ที่ผ่านมาก็เห็นได้ชัดเจนว่าคณะกรรมการในยูเนสโกมีผลประโยชน์แอบแฝงตลอดแม้แต่แผนการอนุรักษ์ที่บอกว่ามันมีมาตรฐานอย่างนั้นอย่างนี้ ยูเนสโกก็เป็นคนกำหนดเองทั้งหมด แล้วก็เอาประเทศต่างๆ เข้ามาร่วมพัฒนา ซึ่งประเทศเหล่านี้ต่างก็มีธุรกิจแอบแฝงกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้มันคือรูปแบบของอาณานิคมสมัยใหม่ ซึ่งนานาประเทศต้องลุกขึ้นมาต่อต้านhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000105503