ก็ยังอยู่ที่เดิม...รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์คัดค้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวของเขมรสำเร็จ
๑๘. ต่อมาเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๙
(ค.ศ. ๒๐๐๖) กัมพูชาได้ส่งเอกสารรายละเอียด
เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารเพื่อการขึ้นทะเบียน
เป็นมรดกโลกถึงศูนย์มรดกโลก ซึ่งต่อมาได้รับรอง
และนำเสนอเข้าวาระ ในการประชุมคณะกรรมการ
มรดกโลกสมัยที่ ๓๑ ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศ
นิวซีแลนด์ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗)
๑๙. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
สมัยที่ ๓๑ ที่เมืองไครสต์เชิร์ช ฝ่ายไทยได้รณรงค์
ทางการเมืองและการทูต จนประสบผลสำเร็จให้
คณะกรรมการมรดกโลกมีมติเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน
๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) ให้เลื่อนการพิจารณาขึ้น
ทะเบียนของกัมพูชาออกไป ๑ ปี และให้ไทยและ
กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้ โดยจะมีการ
พิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการ
มรดกโลก สมัยที่ ๓๒ เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๑
(ค.ศ. ๒๐๐๘) ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา
๒๐. ในการดำเนินการของฝ่ายไทยเพื่อหาทาง
แก้ปัญหาร่วมกันกับฝ่ายกัมพูชา ฝ่ายไทยได้เสนอใน
หลายโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาถอนคำขอขึ้นทะเบียนเดิม
ของตน และให้กัมพูชาและไทยร่วมกันนำปราสาท
พระวิหารในพื้นที่ฝั่งกัมพูชา รวมทั้งโบราณสถานที่
เกี่ยวข้องกับปราสาทที่อยู่ในฝั่งไทย อาทิ สระตราว
สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่รับข้อเสนอดังกล่าวของไทย
๒๑. ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘)
ไทยได้เสนอรายงานข้อโต้แย้งทางวิชาการเกี่ยวกับ
การประเมินของอิโคมอส (International Council onMonuments and Sites – ICOMOS)
กรณีการเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยอ้าง
เหตุผลต่างๆ อาทิ การไม่ได้นำองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ
ที่ต่อเนื่องจากปราสาท (อาทิ สระตราว แหล่งตัดหิน)
มาพิจารณา การไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์ของปราสาท
กับชุมชนดั้งเดิมในแง่ความผูกพันทางจิตใจ และ
ความคลาดเคลื่อนของการตีความและนำเสนอข้อมูล
๒๒. อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมคณะกรรมการ
มรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ได้มีมติเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม
๒๕๕๑ (ค.ศ. ๒๐๐๘) ณ นครควิเบก ประเทศแคนาดา
ให้ปราสาทพระวิหาร (ไม่รวมชะง่อนเขาที่มีพื้นที่กว้าง
หน้าผา และถ้ำต่างๆ) เป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่า
สากลที่โดดเด่นของตัวปราสาทพระวิหารเอง
http://www.mfa.go.th/190/data/4940.pdf0000
อ่านข้อมูลเดียวกัน ทำไมตีความต่างกัน