jaw wrote:ทำไมต้องไปดู ถ้าจะแย้งก็แย้งมาเลย ใช้กฏหมายมาตราไหน วรรคไหน ตราขึ้นเมื่อไหร่ คุณคงเห็นนะว่าเราแนบข้อกฎหมายให้ดูด้วย ไม่ใช่เพ้อเจ้อแล้วเชื่อ
คำอธิบาย กรณีขายหุ้นชินคอร์ป บทที่ 1 (ภาษีการขายหุ้น)1. ประเด็นภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปฯ
1.1. (หากขายหุ้น 49% ตั้งแต่ปี42) คุณทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% (จากที่ตั้งบริษัทเองเมื่อ 22 ปีก่อน และเข้าตลาดหุ้นเมื่อ 15 ปีก่อน) หุ้นจำนวนนี้หากขายในตลาดหุ้น ไม่ว่าให้ลูกและลูกขายต่อให้ใคร ในฐานะนักลงทุนบุคคลในตลาดหุ้นไม่มีภาษีจากการขายหุ้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคุณทักษิณและครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อลดหรือเลี่ยงภาษี (เช่นกรณีแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลดหรือเลี่ยง
· ที่คุณทักษิณทำเรื่องบริษัทแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาหุ้นชินคอร์ปฯ 11% เข้าขายในตลาดหุ้นสหรัฐ (ดูหน้าข้อมูลประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน แต่หุ้นส่วนนี้ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ
1.2. (โอนไป หุ้น11%) คุณทักษิณโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่เดิมถือเองอยู่ในฐานะบุคคล ให้ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมข้อ 1.1
· (ยกหุ้น49% ให้ลูก) ปลายปี 43 คุณทักษิณและภรรยา ขายโอนชินคอร์ปฯให้ลูกที่ต้นทุน ก่อนจะเป็นนายกฯ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ: เป็นหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคล) และเป็นตัวบริษัทแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 11%)
1.3. (โอนกลับ หุ้น11%) ต้นปี 49 พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่บริษัทแอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองตรงในฐานะบุคคล การโอนกลับก็เทียบเท่ากับตอนแรกที่ได้โอนไป คือ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมในข้อ 1.1
· โอนกลับ 11% จากแอมเพิลริช (มาถือในฐานะบุคคล) เพื่อมารวมกับส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคลมาตลอด) เท่าจำนวนหุ้นเดิม 49%
1.4. (ขายหุ้น 49% ปี 49) ต้นปี 49 พาน/พิณ จึงขายหุ้นทั้ง 49% ในตลาดหุ้นในฐานะบุคคลธรรมดา ไม่มีภาษี เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมตามข้อ 1.1
· ปรากฏว่า ถูกกล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีส่วนแอมเพิลริช 11% ตอนโอนกลับ และหากถูกกฏหมายก็หาว่าผิดจริยธรรม
1.5. ข้อกล่าวหาแบบที่ (1) ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท แล้วตอนขายได้ 49 บาท พาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 48 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ขาย”
1.6. ข้อกล่าวหาแบบที่ (2) คล้ายกรณีบริษัทออกหุ้นราคาถูกพิเศษขายจูงใจให้พนักงาน (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP ที่พนักงานสามารถซื้อหุ้นใหม่นี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าราคาหุ้นบริษัทที่ซื้อขายอยู่ในตลาดในวันนั้นๆ จงใจให้พนักงานมีกำไรจากการขายหุ้น อันเป็นวิธีหนึ่งในการจ่ายรายได้เพิ่มให้พนักงาน)
· ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯในตลาดหุ้นราคา 42 บาท เสมือนว่าพาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 41 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ซื้อ” เลย(ภายหลังขายในตลาดหุ้นที่ 49 บาทไม่มีภาษีแล้วเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
1.7. ข้อกล่าวหาทั้งสองลักษณะ เป็นการตีความคนละหลักการ
· พาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริช เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่แอมเพิลริชถืออยู่กลับมาถือเองโดยตรงในราคาพาร์ต้นทุน ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
· เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ (หรือ บางข้อกล่าวหาว่าเหมือนการให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว) ล้วนเป็นการจ่ายให้ผู้รับมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ แต่กรณีพาน/พิณไม่มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
· จึงดูเพียงครึ่งทางตอนขาโอนกลับอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งวงจร คือเจ้าของเดิมโอนไปครั้งแรกและโอนกลับครั้งหลัง ระหว่างตนเองกับบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ (แอมเพิลริช) ไม่เป็นการมีรายได้เพิ่ม มิเช่นนั้น ก็ควรต้องออกกฏหมายให้ชัดๆว่าการโอนโดยเจ้าของเดียวกันต้องเสียภาษี
1.8. ประเด็นนี้ พาน/พิณหารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ
· ข้อกล่าวหาโดยนักกฏหมายยังมีการตีความไปหลายแบบ (ที่ไม่ใช่ประเด็นถูกต้อง) ว่ามีเข้าข่ายต้องเสียภาษีในหลายกรณีที่แตกต่างกันมาก เพื่อยัดเยียดว่าต้องผิดจริยธรรมแน่นอน (การถูกผิดกฏหมายควรเป็นกรณีชัดเจนเพียงอันใดอันหนึ่ง)
· หากแคลงใจในแง่กฏหมายว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี โดยการตีความไปต่างๆนาๆ ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่แค่เอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ สรรพากร และ กลต
1.9. เป็นสิทธิ์ของประชาชนตามกฏหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ก็เรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่ทุกคนยื่นแบบภาษีกันทุกปี
· ข้อกล่าวหานี้ เปรียบไปคล้ายกับว่า ถนนข้างล่างว่าง ขับได้เร็วอยู่แล้ว คนขับมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ไปบอกว่าหากไม่ขึ้นทางด่วนเสียเงินค่าทางด่วน ถือว่าคนขับหลีกเลี่ยง
1.10. ตลาดหลักทรัพย์ตั้งใจยกเว้นภาษีกำไรให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาด เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุนได้
· บริษัทนิติบุคคลสามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
· บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน หรือเสียภาษี ก็หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องส่งเสริมเช่นนี้ มิเช่นนั้น นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายต้องทำบัญชี สอบบัญชี
1.11. ทั้งตัวคุณทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีให้รัฐทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ คุณทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
1.12. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับแรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่