กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

เรื่องการเมือง เชิญที่นี่เลยครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

เชิญทุกท่านเข้าสู่บอร์ดใหม่ได้ที่ http://webboard.serithai.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ viewtopic.php?f=2&t=44976 ครับ

กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sat Jul 25, 2009 12:36 pm

วันนั้น 7 ชาติ ประกอบด้วย อินเดีย เบลเยียม สหรัฐ ฝรั่งเศส จีน ญี่ปุ่น ไทย จะทำการยึดดินแดนรอบตัวปราสาทเป็นอาณาเขตอันไพศาล ในนามของ ICC: International Corrdinating Committee ตามเงื่อนเวลาที่ระบุอยู่ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา 2551

จากนั้น กัมพูชาในฐานะผู้จัดการทรัพยากรทางบกและในอ่าวไทยบริเวณพื้นที่ทับซ้อน จะดำเนินการสมนาคุณให้ทุกประเทศที่กล่าวข้างต้นให้ได้รับสัมปทานเมกโปรเจกต์กันตามฐานานุรูป

1 ใน 7 ชาติที่มีไทยด้วยนั้นก็ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องเรียกร้องให้ลาออก เพราะไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของเอกชนที่ถูกวางตัวจากความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างยูเนสโกกับกัมพูชาเมื่อเดือนกันยายน 2550
จากนั้นเอกชนรายนี้ได้บทบาทสำคัญในฐานะเป็น ICC ตามแถลงการณ์ร่วม 2551
หลังจากการตัดสินขั้นสมบูรณ์ที่บราซิล เอกชนเจ้าเดิมนี้เอง ก็จะเป็นผู้รับสัมปทานบริหารจัดการมรดกโลกให้กัมพูชาในคราบของ “Public Institution” ที่เคยรับจเงกัมพูชาเมื่อเดือนกันยายน 2550 นั่นเอง

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นขั้นตอนสุดท้ายในความก้าวหน้า (in-progress) ของผลงาน ICC คณะกรรมการมรดกโลกก็เพียงรอเห็นชอบในกลางปี 2553 เมื่อมีรายงานการส่งมอบพื้นที่บริหารจัดการ (ที่อาจมีขนาดถึง 1.5 ล้านไร่ตามแผนที่ใหม่ที่วาดเสร็จเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2551 ครบถ้วน) ตามข้อ 4 ของแถลงการณ์ร่วมวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ที่ระบุว่ามิต้องรอให้ JBC ของไทยและกัมพูชาตกลงก่อนเหมือนกรณีทั่วไป
Last edited by อารยา on Sat Jul 25, 2009 5:31 pm, edited 1 time in total.
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sat Jul 25, 2009 12:39 pm

7 ชาตินี้มาจากเอกชนธรรมดาที่นางฟรังซัวส์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Unesco's World Heritage Centre ที่ปารีส แนะนำให้ฮุนเซนจ้างมาสำรวจเพื่อทำรายงานประเมินคุณค่าทางโบราณคดีเมื่อปี 2550 เพื่อให้ยูเนสโกรับไปตัดสินว่าเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้ เป็นการประมาณซ้ำซ้อนจากที่ ICOMOS ระบุไว้ชัดเจนก่อนหน้านั้นไม่กี่เดือนว่า เฉพาะตัวปราสาทเป็นไม่ได้ เหตุที่ดูไม่ชอบมาพากลนี้น่าจะเกิดจากวาระซ่อนเร้นที่ต้องการให้มีการขึ้นทะเบียนทำได้สำเร็จไปก่อนที่จะนำไปอ้างเพื่อบังคับใช้แถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาทั้งหมดตลอดพรมแดนทางบกถึงทางทะเลที่ทักษิณกับฮุนเซนทำไว้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544
และนั่นคือที่มาของคำตัดสินเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 โดยที่คณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศไม่อาจเห็นเป็นอย่างอื่นจากเอกสารที่เป็นแถลงการณ์ร่วมลงนามกันอย่างฉุกละหุกเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

กลับไปที่สัมปทานที่เขมรกำลังกลายเป็นผู้จัดการใหญ่ จีนได้ทางบกไปเป็นกอบเป็นกำเมื่อเดือนมกราคม 2551 เมื่อรับงานสร้างถนนจากจังหวัดพระวิหารในเขมรเข้ามาจ่อที่พื้นที่ทับซ้อนทางด้านตะวันตกของตัวปราสาทพระวิหาร
ถนนนี้เสร็จหลายเดือนแล้ว กำลังถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมมาก กำลังพลและยุทโธปกรณ์ถูกส่งมาสนับสนุนการตรึงพื้นที่ทับซ้อนที่ชายแดนไทย เป้าหมายเพื่อยึดเนินมะเขือหรือ Eagle Zone ใกล้ตัวปราสาท จุดยุทธศาสตร์ที่กองทัพภาคที่ 2 ไม่อาจอยู่เฉยได้
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby dog_freeman » Sat Jul 25, 2009 2:15 pm

ขอสนับสนุนทุกประการ
Last edited by dog_freeman on Sat Jul 25, 2009 2:18 pm, edited 1 time in total.
ปีกาลู กาลกิณีขี่ควายแดง
User avatar
dog_freeman
 
Posts: 1328
Joined: Tue Jul 21, 2009 1:03 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby dog_freeman » Sat Jul 25, 2009 2:17 pm

ผมยังไม่เคยไปปราสาทพระวิหารเลยครับ สงสัยไม่ได้ไปเสียแล้ว ดูแต่ภาพแล้วใจหายครับ
ไม่ได้เป็นห่วงปราสาทเก่าๆหินเก่าๆห่วงแต่ทรัพยากรของเราครับ
Last edited by dog_freeman on Sat Jul 25, 2009 2:31 pm, edited 1 time in total.
ปีกาลู กาลกิณีขี่ควายแดง
User avatar
dog_freeman
 
Posts: 1328
Joined: Tue Jul 21, 2009 1:03 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Tam-mic-ra » Sat Jul 25, 2009 2:25 pm

แถลงการณ์ร่วมนพดล ฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เขายกเลิกไปแล้ว ไอ้อารถา ไอ้มั่ว ชอบบิดเบือน
Image


เขมรมันบอกไม่ใช่ international treaty


ต่อมา เมื่อประชุมยูเนสโก้

http://www.ryt9.com/s/mfa/393670/
ข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก แคนาดา
รับรองเมื่อ 7 กรกฎาคม 2551 เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

http://whc.unesco.org/en/decisions/1548

(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อมติ: 32 COM 8 B. 102
คณะกรรมการมรดกโลก

5. รับรอง ว่าคำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทย กับยูเนสโก รวมทั้งร่างคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้


อารถา เลิกพิมเถอะ ไอ้มั่วเอ๊ย อายเค๊า
คำว่า "คนฉลาด" ด้วยเพราะคนอื่นเขายกย่อง มิใช่ ยกหางเน่าๆของตัวเอง โดยการโยนยัดใส่คนอื่นว่า โง่
มาดูกัน นักเรียนตลอดชีพแถว่าสมัยแม้วปล่อยเขมรมาสร้างวัด viewtopic.php?f=2&t=37916&p=708131#p707996
User avatar
Tam-mic-ra
 
Posts: 901
Joined: Mon Mar 02, 2009 4:03 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Cherub Rock » Sat Jul 25, 2009 2:31 pm

Tam-mic-ra เหมือนไอ้นพดลมาเองเลย :lol:
:idea: 1 ปีตุลาเลือด ฆาตรกรต้องไม่ลอยนวล
วันข้างหน้า ผู้มีอำนาจ จะไม่บังอาจฆ่าประชาชน
-->
User avatar
Cherub Rock
 
Posts: 2769
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:47 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sat Jul 25, 2009 4:24 pm

ไอ้ระยัมตัวนี้Tam-mic-ra เกิดมาขายชาติโดยเฉพาะ ถ้ามันถือสัญชาติเดียวกับไอ้นพดล

Damn Bastard Tam-mic-ra,

Although Mr. Hor Num Hong's view on the joint communique seemed opposed to the Thai Admin Court's ruling, Nopadol's act of treason to his motherland would still be subjected to the Thai law. His fate is similar to his boss, the crooked Thug-sin who is to be imprisoned as a criminal.
That letter was simply scrutinized in response to Khun Tej's unknown message to us here. Yet, I don't care to know it whatsoever, either.
To be sure, we are discussing about an inevitable enforcement of that joint communique by the Cambodian government and Unesco in due course. That English evidence has nothing to do with that.

By the way, post me your next comments in the language you deem scaring me to death. Should your next posting be in Thai, then I know you are completely illiterate and stupid. See u, then.
จับตาดูกึ๋นมันเท่านั้นเอง
พวกรับจ้างมามักไปไม่ได้ไกล
อยากให้นพดลมันลงมาเอง ตัวนี้ไร้ราคาแล้ว
ทำได้อย่างมากแค่ตื่นเต้นกับเอกสารภาษาอังกฤษ แต่ตัวเองยังอ่านไม่แตก หรือไม่ก็มีปัญหา semantics
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sat Jul 25, 2009 5:53 pm

ศาลปกครองสั่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2551 ให้แถลงการณ์ร่วมที่ลงนามก่อนหน้านั้น 10 วันไม่มีผลใช้บังคับ ก็แน่นอนว่า คุณเตชย่อมต้องพูดกันถึงเรื่องนี้กับนายฮอนัมฮงที่เสียมเรียบเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อให้เข้าใจว่า เราต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย
หรือพอเจอกันอีกที่ชะอำกลางเดือนสิงหาคมต่อมาก็คงเอ่ยถึงอีก
คุณเตชจะเห็นด้วยหรือไม่กับมาตรา 190 เป็นคนละเรื่องกับการที่ต้องประกาศจุดยืนที่ชัดเจน

หลังจากจบการประชุมที่ชะอำ คุณเตชเขียนถึงนายฮอนัมฮงตามที่จดหมายข่าวบอกไว้ เราได้เห็นจดหมายตอบของนายฮงนัมฮง ประเด็นที่พูดว่า “ไม่ใช่สนธิสัญญา” ก็เท่ากับไม่เห็นด้วยกับศาลไทย ก็เป็นสิทธิของเขา แต่เป็นคนละเรื่องกับการที่กัมพูชากับยูเนสโกจะยังคงมีสิทธิบังคับใช้แถลงการณ์ร่วมเมื่อถึงวาระที่ผลประโยชน์ของชาติเขาจะได้รับการยืนยันจากเอกสารที่เห็นร่วมกัน ซึ่งอาจเป็นเพียง Memorandum บันทึกช่วยจำธรรมด๊าธรรมดา ไม่ต้องมาเถียงว่าเอกสารแผ่นนั้นเป็นสนธิสัญญาหรือไม่เป็นหรอกครับ

งวดหน้า 1 กุมภาพันธ์ 2553 มิใช่กำหนดปกติ แต่เป็น "The final curtain" ถ้าเราทำให้กัมพูชาและยูเนสโกถือว่าไม่มีแถลงการณ์ร่วมวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ในโลกนี้ ก็เท่ากับบอกเขาว่าประเทศไทยไม่เคยมีการสนับสนุน ("active support") ให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก หมายถึงยุติบทบาทของ ICC ไปโดยปริยาย

จากค่อยมาพูดว่า เขมรยังอยากขึ้นทะเบียนมรดกโลกกันอีกไหมหรือไม่ถามแต่บอกว่าไทยเองก็ไม่ขอขึ้นร่วมกับกัมพูชา กัมพูชาก็อาจตอบว่าเขาก็ไม่ต้องการขึ้นร่วมกับไทยมาแต่ไหนแต่ไรแล้วเหมือนกัน ก็ตกลงกันว่าไม่ต้องพูดกันต่อไปเรื่องนี้ถ้าจะมียูเนสโกมาเกี่ยวด้วย
ส่วนที่จะทำให้เป็นมรดกของประชาชนทั้ง 2 ประเทศ ไม่ใช่มรดกโลกนะจะเอาไหม ฯลฯ
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sat Jul 25, 2009 6:38 pm

กำหนดการ "ส่งมอบพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหาร" ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 ถูกเลื่อนมาจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 หรือ 1 กุมภาพันธ์ 2552 หรือไม่ หาสำคัญเท่ากับว่าใครเป็นฝ่ายมีอำนาจไปกำหนด โดยไม่คำนึงถึงว่าพื้นที่นั้นเป็นดินแดนของประเทศใด หรือมีการปักปันเขตแดนกันเป็นกิจจะลักษณะกันแล้วหรือยังระหว่างประเทศที่ขอขึ้นทะเบียนกับประเทศ "State Party" วึ่งในที่นี้คือประเทศไทย

ยูเนสโกใช้ ANPV มาดูแลขั้นสำรวจเมื่อวันที่ 1 ก.พ.2551 หลังมีการประชุมที่นิวซีแลนด์กลางปี 2550
กับระบุว่าเป็น ICC หรือกรรมการ 7 ชาติมารับมอบพื้นที่บริหารในวันที่ 1 ก.พ.2552 หลังการประชุมที่คานาดา 2551
ประเด็นคือ ชื่อขององค์กรเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร มีอำนาจเหนือบูรณภาพและอธิปไตยของไทยได้อย่างไร

อย่างกรณี ANPV เอกชนกลุ่มเข้ามาสำรวจโบราณสถานบริเวณปราสาทพระวิหารซ้ำซ้อนและนำเสนอรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่คานาดา (2-7 กรกฎาคม 2551)ว่าแค่ตัวปราสาทก็เป็นมรดกโลกได้ ขัดแย้งจากที่ ICOMOS เสนอเป็นทางการในการประชุมนิวซีแลนด์ (25 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2550) ก่อนหน้านั้นแล้วว่า แค่ตัวปราสาทเป็นมรดกโลกไม่ได้ ต้องรวมองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สถูปคู่ สระตราว ฯลฯ ด้วย
จุดหักเหของยูเนสโกที่พิกลเริ่มต้นตรงที่ทิ้งหลักการของ ICOMOS หลังจากแนะนำฮุนเซนให้ไปจ้าง ANPV มาสำรวจซ้ำนั่นเอง
โดยร่วมกันลวงโลกว่า ANPV เป็น "Public Institution"
ANPV วันนี้ได้จำแลงมาเป็น ICC หรือ "กรรมการ 7 ชาติ" กลายมามีอำนาจชี้เป็นชี้ตายเมื่อแถลงการณ์ร่วมวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ระบุบทบาทที่จะเป็นองค์กรรับมอบพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลก


ย้อนไปตั้งแต่ปี 1991/2534 เขมรพยายามขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารมาอย่างต่อเนื่อง แตารัฐบาลไทยไม่เคยส่งซิกให้เขมรทำำได้สำเร็จเพราะไทยถือว่าการไม่สนับสนุนกัมพูชาในกิจการดังกล่าวเป็น "วาระแห่งชาติ"
กัมพูชาจึงทำได้แค่ล๊อบบี้ประเทศต่างๆให้สนับสนุนอย่างล่องลอย
มาสบโอกาสก็ต่อเมื่อมีรัฐบาลทักษิณที่แหกคอกถลำลึกไปถึงขั้นตกลงว่าจะมีสัญญาต่างตอบแทนลับๆกับผู้นำเขมร
ศาลปกครองจึงจำเป็นต้องเข้ามาขัดตาทัพเมื่อพบว่า การที่ทักษิณเปิดช่องให้เช่นนั้น โอกาสที่จะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดดินแดนมีความเป็นไปได้สูง หากจะทำก็ควรได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฏรก่อน ตามมาตรา 190 ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ

รวบลัดตัดความมาถึงวันที่นภเหล่จำต้องบากหน้าบินด่วนเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เพื่อแจ้งให้ที่ประชุมที่คานาดาทราบถึงข้อขัดข้องที่ไทยไม่อาจเห็นด้วยกับคำตัดสินของคณะกรรมการมรดกโลก หากจะให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ที่ต้องเป้นนพดลเพราะตนคือตัวการที่ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้โดยลำพังเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551

แต่กว่าจะได้รับอนุญาตให้แจ้ง นพดลต้องนั่งรอให้ที่ประชุมพิจารณากรณีกัมพูชาขอขึ้นทะเบียน และมีมติเรียบร้อยแล้วว่าสามารถเป็นเจ้าของมรดกโลกได้ผ่านพ้นไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ไม่กี่นาที ที่ประชุมจึงบันทึกรับทราบ โดยไม่มีประเด็นต้องถกว่าแถลงการณ์ร่วมนั้นเป็น "สนธิสัญญา" (international treaty) หรือไม่
Last edited by อารยา on Sun Jul 26, 2009 6:09 pm, edited 3 times in total.
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Jseventh » Sat Jul 25, 2009 8:49 pm

เรียนถามคุณอารยาหน่อยนะคะ :)

อ่านเจอจากเว็บ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=458594
ศ.ดร.อดุล”แจงข้อมูลพื้นฐานละเอียดยิบ! กรณีขึ้นทะเบียนพระวิหาร

จากบทความอาจารย์ อดุล ขอความเห็นคุณอารยาว่า..
เราควรถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก และองค์การยูเนสโกหรือไม่คะ?

ประกาศถอนการเป็นภาคี อนุสัญญา (Denunciation) ตามบทบัญญัติข้อ 35 แห่งอนุสัญญามรดกโลก ค.ศ.1972 และ อาจจะเลยไปถึงการถอนตัวจากยูเนสโก ด้วยเหตุที่ยูเนสโกจงใจทำการอันเป็นอธรรมเบียดเบียนอธิปไตยของไทย ทำการนอกหน้าที่เข้าโยงใยเอื้อประโยชน์แก่กัมพูชาโดยชัดแจ้งตลอดมา ทั้งหมดนี้แม้จะมีผลเสีย อยู่บ้าง ก็ย่อมสมควรที่จะแลกเปลี่ยนเพื่อรักษาหลักการ และการแสดงความเป็นเอกราช และอธิปไตยของประเทศไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาชาติ และแก่ประชาชนชาวไทยตลอดไป
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
User avatar
Jseventh
 
Posts: 1741
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:19 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 12:24 am

ผมจะเห็นด้วยถ้ามีการแจงว่า World Heritage Centre ที่ปารีส bullsh!t อย่างไรมากมาย แต่อาจารย์อดุลย์กล่าวสรุปเพียงว่ายูเนสโกลำเอียง
นอกนั้นเป็นการวิพากษ์ organization ของยูเนสโกกับ WHC ว่ามันไม่เกี่ยวกัน ผมว่านั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก
ต้องมีข้อมูลละเอียดกรณีเฉพาะกัมพูชา-ไทย จับตัวละครให้ได้ทุกตัว แล้วดูว่ามันเล่นอะไรกันที่พิลึกๆ ไม่ชอบมาพากล

ถ้าอยู่ดีๆถอน จะถูกเย้ยใยไพว่าแพ้แล้วโยเย

ขอเสนอ 3 แนวทาง คือ
1 คุยกับกัมพูชาจากประเด็นแถลงการณ์ร่วม แผนที่ เพื่อกดดันยูเนสโก
2. คุยกับยูเนสโกว่าทำอะไรที่ขัดแย้งกับระเบียบของตัวเองอย่างน่าเกลียดตั้งแต่ปี 2550
3. คุยสามฝ่ายพร้อมๆกัน (เคยโพสต์ไปแล้ว)

ผมอยากอัดยูเนสโกให้จำนนก่อนเป็นประเดิม ข้่อมูลมีมากพอ จากนั้นจะง่ายขึ้นเมื่อต้องคุยกับกัมพูชา
จากนั้น ถ้าถอนจากอนุสัญญา เราก็จะดูไม่น่าเกลียด งามสง่ากว่าอยู่ดีๆก็ถอนแบบที่ "เทพมนตรี" แนะเมื่อปีกลาย หลังการประชุมที่คานาดา
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby halfmoon » Sun Jul 26, 2009 12:44 am

พูดถึง 1.5 ล้านไร่แล้วผมของขึ้นอีกครั้ง คราวที่แล้วที่เว็บ thaiNGO ผมก็โดนอ้ายพลจันทร์ไล่กัดจนตูดแหว่ง ผมถามแค่เพียงว่า ต่อไปชาวบ้านในสาม-สี่จังหวัดชายแดนตะวันออก บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานีจะไปเก็บเห็ด เก็บฟื้น สมุนไพร ผึ้ง ไข่มดแดง ต้องขออนุญาตใคร เข้าไปเฉยๆได้มั๊ย เรื่องนี้รบกันหนักเด้อพี่น้อง :lol:
  • อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง
User avatar
halfmoon
 
Posts: 10731
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:34 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Tam-mic-ra » Sun Jul 26, 2009 6:46 am

คำชี้แจงของ กระทรวงการต่างประเทศ "กรณีเขาพระวิหาร" ย้ำไทยไม่เสียดินแดน

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำคำชี้แจงกรณีเขาพระวิหาร เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวง (คำแปล...คำแถลงการณ์ร่วม ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551) พร้อมคำชี้แจง นพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


"บัวแก้ว" แจงเขาพระวิหารย้ำไทยไม่เสียดินแดน
หมายเหตุ :
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน กระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำคำชี้แจงกรณีเขาพระวิหาร เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ มีรายละเอียด คือ
=========================
คำชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศ "กรณีเขาพระวิหาร"

ปราสาทพระวิหารมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เพราะเคยเกิดกรณีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์เหนือปราสาท แต่ความขัดแย้งข้อนี้ได้ยุติลงไปแล้ว โดยผลของคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ระบุให้กรรมสิทธิ์เหนือปราสาทเป็นของกัมพูชา และรัฐบาลไทยก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตั้งแต่ปี 2505 ยอมรับคำตัดสินนี้

อย่างไรก็ดี ศาลโลกมิได้ระบุชัดเจนว่าเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาบริเวณนี้อยู่ที่ใด และมติ ครม.เดียวกับที่ยอมรับคำตัดสินของศาลโลกก็ได้ย้ำยืนยันการตีความของไทยเกี่ยวกับเส้นเขตแดนบริเวณนี้ไว้ด้วยโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ นายถนัด คอมันตร์ ในขณะนั้น ได้มีหนังสือแจ้งทั้งเรื่องการยอมรับกรรมสิทธิ์เหนือ (เฉพาะ) ตัวปราสาท และเรื่องเส้นเขตแดนที่ไทยยึดถือส่งให้สหประชาชาติอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2505 ดังนั้น จนถึงปัจจุบันไทยก็ยังยึดถือเส้นเขตแดนตามเอกสารแผนที่คนละเส้นกับที่กัมพูชายึดถือ และจึงเกิดพื้นที่ที่ทั้งไทยและกัมพูชายังอ้างสิทธิทับซ้อนกันอยู่ในบริเวณนั้น

ซึ่งรัฐบาลสองฝ่ายก็ได้หารือและทำงานร่วมกันมาระยะหนึ่งแล้วเพื่อแก้ปัญหาฉันมิตรตั้งแต่ปี 2543 รัฐบาลไทยและกัมพูชาได้เห็นชอบพร้อมกันจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint BoundaryCommission-JBC) ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา พ.ศ.2543 มีกลไกพร้อมอยู่แล้วในส่วนของรัฐบาลไทยก็ยังยินดีและพร้อมที่จะทำงานร่วมกับกัมพูชาภายใต้กลไกนี้ต่อไป


หากเป็นเช่นนั้นข้อกังวลของไทยเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกคืออะไร

อันที่จริงไทยไม่ได้คัดค้านการที่กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทนี้ (ซึ่งไทยก็ยอมรับว่าเป็นของกัมพูชา) แต่ปัญหาที่ทำให้ไทยเป็นกังวล คือข้อเท็จจริงปรากฏว่ากัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมีเอกสารแผนที่ที่กัมพูชาเสนอยูเนสโก ลากเส้นบริเวณเขตต่างๆ รอบตัวปราสาทล้ำเข้ามาในเขตที่ไทยถือว่าเป็นดินแดนไทยเข้าด้วย ฝ่ายไทยจึงนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อรักษาสิทธิของไทยโดยชอบธรรมไว้ก่อน จนกว่าจะปักปันเขตแดนเสร็จ เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของแต่ละฝ่าย

ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศไทยได้ดำเนินการทางการทูตและกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อปกป้องรักษาสิทธิมาตลอด ในรูปแบบมิตรกับมิตรจะเจรจากันหาทางแก้ไขระหว่างกัน กลไกที่จะแก้ปัญหาเขตแดนนั้นก็มีพร้อมเสร็จอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2543 และถ้าสามารถหารือกันได้ด้วยดีแล้วการที่เส้นเขตแดนตรงนี้ยังไม่ชัดเจนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาปราสาทพระวิหารด้วย

ส่วนไทยจะเสียดินแดนหรือไม่

ยืนยันได้ว่าจนบัดนี้กระบวนการพิจารณาเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารยังไม่สิ้นสุด ยังดำเนินอยู่และไม่ว่าจะมีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกหรือไม่ก็ตาม งานของยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับปัญหาเขตแดนอนุสัญญายูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.1972 ก็ระบุว่าการขึ้นทะเบียนไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิในดินแดน อีกทั้งยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกเองก็ยอมรับว่าไม่มี ""อาณัติ"" หรืออำนาจหน้าที่เรื่องการกำหนดเขตแดนมีเพียงความสนใจและความรับผิดชอบเกี่ยวกับความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เท่านั้น

ท่าทีของฝ่ายกัมพูชาที่ผ่านมาทั้งในการหารือระดับนายกรัฐมนตรีสองฝ่ายที่กรุงพนมเปญระหว่างนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช กับสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เมื่อวันที่ 3-4 มีนาคม 2551 หรือการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศนพดล ปัทมะ และรัฐมนตรีฮอร์ นัมฮง ที่สิงคโปร์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 กัมพูชาก็เคยแสดงท่าทีว่าจะขอให้ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร โดยกัมพูชารับรองว่าจะไม่มีผลกระทบต่องานด้านเขตแดนที่กำลังทำอยู่ร่วมกับไทย

ทั้งนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชาได้มีหนังสือยืนยันมาด้วยว่าการกำหนดเขตขึ้นทะเบียนจะไม่ถือว่าเป็นการปักปันเขตแดนระหว่างกัน ในส่วนของไทย กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินมาตรการที่จำเป็นต่างๆ ทางกฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิด้านดินแดนของไทยมาตลอด และจะดำเนินต่อไปโดยคำนึงถึงการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับกัมพูชาด้วย
จึงขอให้ประชาชนไทยสบายใจได้ว่าในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ไทยจะไม่เสียดินแดน
==========================
นายนพดล ปัทมะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
--------------------------------------------




ปี 2549 -2550 กัมพูชาขึ้นทะเบียนตัวปราสาท และพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทย กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานรัฐอื่นๆ จึงพยายามคัดค้านอย่างต่อเนื่อง และหากปล่อยไปไทยจะสุ่มเสี่ยงเสียดินแดนในพื้นที่ทับซ้อน ผมจึงเจรจากับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรี ที่เกาะกง และเดินทางไปกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 22-23 พฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเจรจากันด้วยความยากลำบาก จนกระทั่งกัมพูชาตกลงที่จะจำกัดการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท โดยหน่วยงานรัฐบาลไทยใช้แผนที่ L 7017 เป็นแผนที่ปฏิบัติงาน

แผนที่ใหม่ไม่มีตอนใดลุกเข้ามาพื้นที่ทับซ้อนแม้แต่น้อย ซึ่งไม่เคยคิดปกปิดแผนที่นี้ เพียงแต่ไทยเพิ่งได้รับแผนที่และมีการลงนามเอกสารจากกัมพูชาในวันนี้ (18 มิถุนายน) ภายหลังที่ตรวจสอบแผนผังฉบับนี้ ไทยได้เสนอเรื่องให้ สมช. (สภาความมั่นคงแห่งชาติ) และ ครม.อนุมัติคำแถลงการณ์ร่วมและแผนที่ใหม่นี้ และมีการลงนามร่วมกันระหว่างผมกับนายซก อาน ขั้นตอนต่อไปเราจะส่งแผนที่และคำแถลงการณ์ร่วมให้ยูเนสโกลงนาม และยูเนสโกจะส่งเรื่องเข้าพิจารณาสู่คณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 5-9 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดา

สำหรับพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่มีวัด มีตลาด มีบ้านคนนิดหน่อย ซึ่งเกิดตั้งแต่ปี 2543 เราต้องรักษาอธิปไตยของไทย ต่อไปเราจะไปเจรจาพูดคุยทำแผนบริหารจัดการร่วมกันส่วนนี้ แล้วยื่นให้ยูเนสโก หรือคณะกรรมการมรดกโลกในอีก 2 ปี ภายในปี 2553 ยืนยันว่าไม่มีผลประโยชน์แน่นอน ไม่มีเอาประโยชน์เกาะกง หรือเกาะอะไร การทำงานให้ชาติไม่มีใต้โต๊ะ นี่คือความสำเร็จ ผมไม่ใช่จำเลย ผมควรเป็นพระเอกมากกว่าผู้ร้าย บ้านเมืองเราไม่สามารถบริหารด้วยข่าวลือ คนทำงานจะเสียกำลังใจ
---------------------------------------------
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
คำแถลงการณ์ร่วม
ณ วันที่ 22 พฤษภาคม 2551

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ได้มีการประชุมระหว่าง นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ประจำสำนักรัฐมนตรีของกัมพูชา กับนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพื่อสานต่อการหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก การประชุมดังกล่าวจัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส โดยมี นางฟรองชัวส์ ริวิแยร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายวัฒนธรรมของยูเนสโก เอกอัครราชทูตฟรานเชสโก คารูโซ นายอเซดีน เบส์ชาวุช นางปาโอลา ลีออนซินี บาร์โตลี และนายจีโอวานนี บอคคาร์ดี เข้าร่วมการประชุมด้วย
ระหว่างการประชุม ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน ดังนี้

1.ราชอาณาจักรไทยสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งเสนอโดยกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 (ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในเดือนกรกฎาคม 2551) ขอบเขตของปราสาทปรากฏตาม N.1 ในแผนที่ที่จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาตามที่แนบมาพร้อมนี้ ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวได้กำหนดเขตอนุรักษ์ (buffer zone) ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของตัวปราสาทไว้ด้วยดังปรากฏตาม N.2

2.ด้วยเจตนารมณ์แห่งไมตรีจิตและการประนีประนอม ราชอาณาจักรกัมพูชายอมรับว่าปราสาทพระวิหารจะได้รับการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยในชั้นนี้ไม่มีเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท

3.ให้ใช้แผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 แทน แผนที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และรวมทั้ง Schema Directeur pour ta Zonage de Preah VihearŽ ตลอดจนการอ้างอิงโดยรูปภาพต่างๆ ทั้งหมดที่แสดงให้เห็นถึงเขตคุ้มครอง (core zone) หรือการกำหนดเขตอื่นๆ (zonage) ในบริเวณปราสาทพระวิหารตามที่ระบุในเอกสารประกอบคำขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชา

4.ในระหว่างที่ยังไม่มีผลของการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ในพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารทางทิศตะวันตกและทางทิศเหนือดังปรากฏตาม N.3 ในแผนที่ที่ระบุในย่อหน้าที่ 1 ข้างต้น แผนบริหารจัดการในพื้นที่ดังกล่าวจะได้รับการจัดทำขึ้นร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของกัมพูชาและของไทย โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์ระดับสากล เพื่อรักษาคุณค่าอันเป็นสากลที่โดดเด่นของปราสาท ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนการบริหารจัดการดังกล่าวไว้ในแผนบริหารจัดการฉบับสุดท้ายสำหรับตัวปราสาทและพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาท ซึ่งจะต้องเสนอต่อศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในสมัยที่ 34 ในปี 2553

5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ

6.ราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก นายโคอิชิโร มัตซุอุระ สำหรับความช่วยเหลือในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการอันนำไปสู่การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
----------------------------------------------------------
คำว่า "คนฉลาด" ด้วยเพราะคนอื่นเขายกย่อง มิใช่ ยกหางเน่าๆของตัวเอง โดยการโยนยัดใส่คนอื่นว่า โง่
มาดูกัน นักเรียนตลอดชีพแถว่าสมัยแม้วปล่อยเขมรมาสร้างวัด viewtopic.php?f=2&t=37916&p=708131#p707996
User avatar
Tam-mic-ra
 
Posts: 901
Joined: Mon Mar 02, 2009 4:03 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 10:06 am

น่าสงสารนภดลที่กลายเป็นหนังหน้าไฟ เมื่อนายสมัครสั่งเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 ให้บินด่วนไปแถลงต่อที่ประชุมมรดกโลกที่เมืองกีเบคทราบถึงจุดยืนของไทย หลังจากไม่กี่วันก่อนหน้านั้น ศาลปกครองได้สั่งคุ้มครองให้แถลงการณ์ร่วมวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ไม่มีผลใช้บังคับ

ต่อหน้าตัวแทนชาติต่างๆนับร้อยในที่เมืองกีเบค นภดลพลิกลิ้นประณามยูเนสโกอย่างเหลือเชื่อ ดังนี้
“ประเทศไทยประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากการกระทำหรือมาตรการ และการดำเนินการใดๆ ที่จะติดตามมาหลังจากนี้ ไม่ว่าจะโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามอื่นๆ ในพื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารที่เป็นดินแดนไทยนั้น จะไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะได้รับความยินยอมของประเทศไทยเท่านั้น

ประเทศไทยขอย้ำว่า การประท้วงและคัดค้านเอกสารทั้งปวงที่กัมพูชาได้ยื่นเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานทางเทคนิคของคณะผู้เชี่ยวชาญ และรายงานความก้าวหน้าที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง เพราะประเทศไทยถูกปิดโอกาสไม่ให้เข้าร่วมอย่างเต็มที่ จนจำใจต้องสงวนสิทธิและปลีกตัวออกจากรายงานดังกล่าวในท้ายที่สุด ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกแก่คณะกรรมการมรดกโลกว่า แผนบริหารจัดการของปราสาทพระวิหารที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้หากปราศจากความร่วมมือจากประเทศไทย”

หมายเหตุ : เป็นคำแปลอย่างไม่เป็นทางการของถ้อยแถลงของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 หลังที่ประชุมมีมติขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0104


นี่คือจุดเดียวที่นภดลฉวยเอามาเป้นข้ออ้างในหนังสือ ผมไม่ได้ขายชาติ
อนิจจา!ที่หลบๆซ่อนๆทำในสถานะ รมว. ต่างประเทศในรัฐบาลนอมินีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่ปารีส โดยสมคบกับนางฟรังซัวส์และนายซกอัน ทำไมไม่กล้าออกมารับสารภาพ ปล่อยให้ลูกน้องเก่าที่ กต. ออกมาเป็นทนายหน้าหอแก้ต่างอย่างโง่งม เลื่อนลอย กลับไปกลับมา
น่ากลัวว่าอนาคตคงไม่พ้นตะแลงแกงเสียแล้ว (ถ้าโชคดีไม่โดนประหาร)


ถ้าเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2551 นพดลรายงานให้สภาทราบว่าเพิ่งกลับมาจากปารีส แล้วถูกบีบให้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมที่ร่างแล้ว และต้องรับรองแผนที่โสโครกที่รัฐบาลพนมเปญกำลังวาดตามใจชอบ เอกสารที่จะทำให้ตนอาจกลายเป็นคนขายชาตินี้จะส่งมาให้ลงนามในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2551 จากนั้นก็พูดอย่างที่พูดกับสมาชิกมรดกโลกยูเนสโกที่เมืองกีเบคข้างบนนั้น อารยาพนันพันเปอร์เซนต์ว่านพดลก็จะรอดตัว ไม่เป็นจำเลยของสังคมอย่างปัจจุบัน
เพราะแม้สภากิ๊กก๊อกบอกให้เซนต์สนับสนุนเขมรไปเถอะ นภดลก็อ้างได้ว่าปรึกษาสภาแล้ว ไม่ผิด รธน. มาตรา 190 แทนที่จะงี่เง่าปฏิเสธว่าไม่รู้กฏหมาย หรือตั้งแง่ว่ากระดาษแผ่นนี้เป็นหรือไม่เป็น internat'l treaty

คนเราถ้าเจตนาดี คิดดีต่อบ้านเมือง สมองจะสั่งงานชัดเจนว่าจะทำในสิ่งที่ถูกที่ควรเอง แต่ถ้าคิดชั่วเห็นแก่ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม มันจะคิดเข้าข้างตัวเอง เพี้ยน ยิ่งรู้ว่า พ่อมันมีสัญญาลับระหว่างไทย-กัมพูชาอีกฉบับเมื่อปี 2544 ก็โลภสิ มองเห็นด้วยกิเลศตัณหาว่าส่วนนี้เป็นข้อตกลงที่จะปล้นสินทรัพย์ของชาติร่วมกับเขมรตั้งแต่ปราสาทพระวิหารถึงเกาะกูด ใครจับได้ก็บอกว่าเป้นการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน
มีข้อตกลงกำกับไว้ (เพื่อจะได้ผลประโยชน์ทับซ้อน) ว่าเขตแดนของประเทศทั้งสองจะแบ่งกันโดยไม่ต้องให้ JBC ตกลงให้เสร็จก่อน
555 ไปดูข้อ 4 ในฉบับปี 2551 สิ
แล้วนพดลก็ลงนามในฉบับปี 2551 จนได้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน


ถ้านพดลมีสำนึกทางประวัติศาสตร์สักนิดจะจับได้ว่า กัมพูชาล่อให้นพดลลงนามเพื่อจะปิดปากไทย เมื่อถึงเวลาใช้ฉบับ 2544
เป็นวิธีเดียวกับที่ไทยเคยถูกปิดปาก จากคดีเขาพระวิหารที่ศาลโลกบอกว่าเราไปรับรองแผนที่ปี 1908 ไปแล้ว จะมาร้องแรกแหกกะเชอขอใช้ฉบับ 1904 ที่อ้างว่าทำกับฝรั่งเศสไม่ได้แล้ว
อะไรที่ทำให้ไทยอ้างไม่ได้ เขมรตอนนั้นมันเอาขึ้นมาอ้างยิบ ครั้งนั้นเราเชื่อใจฝรั่งเศสมากเกินไป ทั้งๆที่เจ้านายฝ่ายไทย (พระยาสรรพสิทธิ์) แท้ๆที่เป็นคนพบปราสาทพระวิหารปี 1901 ก่อนฝรั่งเศสด้วยซ้ำ
Last edited by อารยา on Sun Jul 26, 2009 10:55 am, edited 1 time in total.
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 10:35 am

อารยาจำได้ว่า ก่อนถึงเวลาลงมติไม่กี่ชั่วโมง นายนพดลให้สัมภาษณ์ข้ามทวีปจากเมืองกีเบค 7 โมงเช้า (วันที่ 7 กรกฏาคม 2551) มาเมืองไทยว่า "พรุ่งเขาให้ผมมีเวลาพูดในที่ประชุม 1 นาทีเท่านั้น ส่วนคุณปองพลต้องไปขอเวลาว่าเขาจะให้พูดหรือไม่ ผมเป็นหัวหน้าคณะของไทย แฟ้มที่ผู้เข้าร่วมประชุมไม่มีเอกสารที่ศาลปกครองไทยระบุว่าไทยไม่ยอมรับแถลงการณ์ร่วม"

ที่ร้ายกว่านั้น เมื่อถึงวาระประชุม ประธานบอกว่าจะอ่านคำตัดสิน แล้วไม่อนุญาตให้มีการอภิปรายใดๆเกี่ยวกับคำตัดสิน แต่จะให้ผู้แทนจากประเทศไทยได้กล่าวถ้อยคำใดๆได้ก่อนปิดประชุมในวาระนี้ โดยถือว่าคำตัดสินเป็นการเริ่มต้นที่จะมีความร่วมมือพัฒนามรดกโลกชิ้นนี้ต่อไปในอนาคต(ภายใต้ “กรรมการ 7 ชาติ”) … ยูเนสโกได้ทิ้งหลักการเดิมที่ว่า หากก่อนขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกมีปัญหาด้านพรมแดน ณ ที่ตั้ง ประเทศที่ขอจะต้องได้รับการสนับสนุน (active support) จากประเทศคู่พิพาท จึงจะได้รับพิจารณาอนุมัติให้ขึ้นทะเบียนได้
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby weshare » Sun Jul 26, 2009 10:44 am

Tam-mic-ra wrote:5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ



ข้อมูลเยอะดีนะ ก็เท่านั้น
แต่ก็ไม่ช่วยแก่ให้เหล่ดีขึ้นหรอก
ก็รู้ๆ อยู่ว่าเหล่ไปทำอะไรไว้บ้าง
แก้ยังไงก็ไม่ได้ทำให้รอดข้อกล่าวหา

เอาสั้นๆ เฉพาะข้อ 5 อะไรที่ทำให้เหล่เชื่อเขมรนักหนา
ว่าอนาคตเขมรจะไม่มีแผนเขมือบพื้นที่โดยรอบไปละ
ถ้าไม่ใช่จงใจแกล้งเชื่อเพื่อเปิดทางให้เขมร
"ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน
แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หล้งเมฆ"
User avatar
weshare
 
Posts: 1539
Joined: Mon Oct 13, 2008 8:57 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 10:48 am

หลังจากคณะกรรมการ 21 ชาติที่กีเบค ลงมติ (7 กรกฎาคม 2551) ให้กัมพูชาได้ครอบครองปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไม่ถึง 48 ชั่วโมง
อารยาJul 09, 2008 8:21 am http://aryaforum.freeforums.org/topic-t409-45.html wrote:รัฐบาลใหม่เท่านั้นจะต้องตั้งโต๊ะคุยกับยูเนสโกและกัมพูชาภายใน 2 ปีนี้ ก่อนที่พื้นที่อนุรักษ์บนเทือกเขาพนมดงรัก (นอกเหนือจากพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.)จะตกอยู่ในเขตอาณานิคมของ 7 ชาติ ยูเนสโกปิดปากไทยให้เป็น 1 ใน "คณะบริหารจัดการมรดกโลก" ที่มี 7 ชาติ (กัมพูชานั่งกระดิกเท้าท่องคาถา "เฉพาะตัวปราสาท" กรูไม่ได้รุกล้ำดินแดนไทย)

นี่คือการฟื้นกลับมาของลัทธิอาณานิคมใหม่ภายใต้ขบวนการ "มรดกโลก"
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 11:24 am

weshare wrote:
Tam-mic-ra wrote:5.การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของราชอาณาจักรกัมพูชาและราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ของทั้งสองประเทศ


ข้อมูลเยอะดีนะ ก็เท่านั้น
แต่ก็ไม่ช่วยแก่ให้เหล่ดีขึ้นหรอก
ก็รู้ๆ อยู่ว่าเหล่ไปทำอะไรไว้บ้าง
แก้ยังไงก็ไม่ได้ทำให้รอดข้อกล่าวหา

เอาสั้นๆ เฉพาะข้อ 5 อะไรที่ทำให้เหล่เชื่อเขมรนักหนา
ว่าอนาคตเขมรจะไม่มีแผนเขมือบพื้นที่โดยรอบไปละ
ถ้าไม่ใช่จงใจแกล้งเชื่อเพื่อเปิดทางให้เขมร


ข้อ 4 ที่ปฏิเสธภารกิจของ JBC โดยสิ้นเชิงก็น่าจะพอให้มองออกแล้วว่า ทั้งเขมรและ WHC มันคิดจะหักคอ ถ้าเหล่มีจิตสำนึกดีต่อบ้านเมือง
แต่เพื่อให้ความเป็นธรรม ผมจึงพยายามวิเคราะห์ว่ามีเหตุปัจจัยอะไรที่ทำให้นพดลมีพฤตกรรมเข้าข่ายขายชาติอย่างที่ไม่อาจให้อภัยได้
ก็เลยได้คำตอบว่า คนชั่วทำได้ทุกอย่างที่เป็นความเลวที่สุด
แต่ผมจะไม่ลงความเห็นนี้กับใคร จนกว่าจะพบว่ามีพฤติกรรมชั่วก่อนหน้านั้นอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าไม่พบมาก่อน ก็ต้องยกประโยชน์ให้ว่า อาจเพิ่งทำไปด้วยความพลั้งเผลอ ประมาท ขาดสติ โง่เขลา เบาปัญญา ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคนมีสันดานเลวชาติ

ผอิญที่เทคโนโลยียุคนี้ช่วยเป็นประจักษ์พยานให้ได้อย่างดีในบางคดี เช่น พบในช่วงปี 2550 ทั้งปีว่ามีบุรุษหนึ่งร่วมหัวจมท้ายเป็นที่ปรึกษาให้อดีตผู้นำคนหนึ่งที่ปัจจุบันกลับต้องกลายเป็นนักโทษหนีคดี แต่ทว่าอดีตเป็นผู้นำคนแรกที่เปิดทางให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยลำพัง
ส่วนบุรุษผู้นั้นได้ปรับสถานะมาเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนอมินีของนักโทษหนีคดีรายนั้น พลันลงนามรับรองการเปิดทางให้กัมพูชาดังกล่าวเมื่อกลางปี 2551 ที่เพิ่งผ่านมา 13 เดือน
อย่างนี้มีหรือที่บุรุษผู้นั้นจะไม่รู้ว่าตนกำลังสมคบกันทำชั่วอีกครั้งตามแผนปล้นชาติ
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 12:06 pm

อารยา wrote:ต่อหน้าตัวแทนชาติต่างๆนับร้อยในที่เมืองกีเบค นภดลพลิกลิ้นประณามยูเนสโกอย่างเหลือเชื่อ ดังนี้
“...แผนบริหารจัดการของปราสาทพระวิหารที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้หากปราศจากความร่วมมือจากประเทศไทย”
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0104[/i]


อีกวลีในที่เดียวกัน เหล่พูดขาวเป็นดำสวนทางกับแถลงการณ์ร่วมที่ตนลงนามให้การสนับสนุนแท้ๆ:"...โดยสรุป ประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์"

หลังจากทำสิ่งที่ทุเรศที่สุดในชีวิตของนักการทูต เหล่ก็ขอลาออกจากความเป็นรัฐมนตรี
ทิ้งไว้ซึ่งระเบิดเวลาที่ประทุเนืองๆมาตลอดปีที่ผ่านมา
และ หากไม่ปลดลูกสำคัญ หายนะอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Jseventh » Sun Jul 26, 2009 12:39 pm

อารยา wrote:ผมจะเห็นด้วยถ้ามีการแจงว่า World Heritage Centre ที่ปารีส bullsh!t อย่างไรมากมาย แต่อาจารย์อดุลย์กล่าวสรุปเพียงว่ายูเนสโกลำเอียง
นอกนั้นเป็นการวิพากษ์ organization ของยูเนสโกกับ WHC ว่ามันไม่เกี่ยวกัน ผมว่านั่นไม่ใช่ประเด็นหลัก
ต้องมีข้อมูลละเอียดกรณีเฉพาะกัมพูชา-ไทย จับตัวละครให้ได้ทุกตัว แล้วดูว่ามันเล่นอะไรกันที่พิลึกๆ ไม่ชอบมาพากล

ถ้าอยู่ดีๆถอน จะถูกเย้ยใยไพว่าแพ้แล้วโยเย

ขอเสนอ 3 แนวทาง คือ
1 คุยกับกัมพูชาจากประเด็นแถลงการณ์ร่วม แผนที่ เพื่อกดดันยูเนสโก
2. คุยกับยูเนสโกว่าทำอะไรที่ขัดแย้งกับระเบียบของตัวเองอย่างน่าเกลียดตั้งแต่ปี 2550
3. คุยสามฝ่ายพร้อมๆกัน (เคยโพสต์ไปแล้ว)

ผมอยากอัดยูเนสโกให้จำนนก่อนเป็นประเดิม ข้่อมูลมีมากพอ จากนั้นจะง่ายขึ้นเมื่อต้องคุยกับกัมพูชา
จากนั้น ถ้าถอนจากอนุสัญญา เราก็จะดูไม่น่าเกลียด งามสง่ากว่าอยู่ดีๆก็ถอนแบบที่ "เทพมนตรี" แนะเมื่อปีกลาย หลังการประชุมที่คานาดา



ตอนนี้ดิฉันเริ่มจะเห็นด้วยอย่างยิ่ง ที่เราต้องอัดยูเนสโกก่อน เพราะเขาทำอะไรน่าเกลียดๆ อยู่หลายอย่าง..อย่างที่คุณอารยาบอก ทำอะไรขัดแย้งกับระเบียบของตัวเองจนน่าเกลียดจริงๆ ..

แต่ที่ดิฉันว่าดูออกจะประหลาดและไม่่น่าไว้วางใจก็คือ ยูเนสโกบอกว่าแถลงการณ์ร่วมที่ไทยทำไว้นั้น จะไม่ถูกนำมาใช้ แต่ในข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก แคนาดา เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (12 กรกฎาคม 2551) กลับมีข้อความว่า..

15. ร้องขอ รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009:
ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหารจัดการ

ดิฉันเกรงว่า ข้อ 15. นี้ นอกจากจะสร้างปัญหาให้กัมพูชาขัดแย้งกับไทยแล้ว และที่อยากจะทราบต่อคือ ถ้าประเทศที่เป็นภาคีสมาชิก WHC เกิดพิพาทกัน จะมีกรณีใดสามารถเป็นเหตุให้ศาลโลกมีเขตอำนาจเข้ามาพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้หรือไม่?..คุณอารยาพอจะทราบไม๊คะ?

อาจเพราะ ดิฉันกังวลในประเด็นการใช้ศาลโลกหรือองค์กรสากล มาดำเนินการกับเราเหมือนเมื่อคราวก่อน มากกว่าประเด็นอื่น

edit เพิ่มเติม..จะหาอ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ในวันที่ 19 มิ.ย 2009 ได้ที่ไหนคะ? ขอบคุณค่ะ
Last edited by Jseventh on Sun Jul 26, 2009 1:35 pm, edited 1 time in total.
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
User avatar
Jseventh
 
Posts: 1741
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:19 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 1:25 pm

Jseventh wrote:ดิฉันเกรงว่าข้อ 15. นี้ จะสร้างปัญหาให้กัมพูชาขัดแย้งกับไทยได้


ทำไมคุณไม่พูดกลับกันครับว่า "ข้อ 15. นี้ จะสร้างปัญหาให้ไทยขัดแย้งกับกัมพูชาได้" ?

ยูเนสโกมีแต่สร้างคุณประโยชน์ให้กัมพูชาทุกข้อ ไม่เว้นข้อ 15 และอีกหลายเรื่องตั้งแต่กลางปี 2550
ถ้าตั้งหลักตรงนี้ได้ก่อนจะค่อยๆเห็นปัญหาร่วมกันชัดเจนขึ้นครับ

ที่เกี่ยวกับเดือน 2/2009 หรือข้อ 15 นี้ คงต้องถามว่า
1. ได้เกิดปัญหากับไทยอะไรไปแล้ว เพราะนี่มันปามาเดือน 7 แล้ว?
2. นี่คือประเด็นเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในข้อ 4 ของแถลงการณ์ร่วมใช่ไหม?
3. เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2552 ที่คณะกรรมการมรดกโลกประชุมที่สเปน ได้รับทราบผลงานตามข้อ 15 นี้ว่าอย่างไร?
4. จากข้อ 3 ทำไมนายกฯอภิสิทธิ์บ่นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552 ว่า "ทำไมไทยเราไม่เคยเห็นรายงานเดือนเมษายน" ?
5. อะไรอยู่ในรายงานฉบับนั้นที่สเปน (ที่นายกฯไทยไม่เคยเห็น) แต่แน่นอนว่ามิใช่นายกฯเขมรเท่านั้นที่เห็น ICC (ที่มีไทยเป็น 1 ใน 7 ชาติ) ย่อมต้อง้ห็นในฐานะคนเขียนรายงานกับมือ?
6. จะมีคนสัญชาติไทยได้รู้บ้างไหมว่าอะไรอยู่ในรายงานฉบับนั้นที่สเปน หรือต้องเป็นคนไทยใจเขมรเท่านั้น?

ผมตั้งคำถามได้เท่านั้น แต่ตอบไม่ได้เลยสักข้อเดียวครับ
Last edited by อารยา on Sun Jul 26, 2009 1:39 pm, edited 1 time in total.
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Jseventh » Sun Jul 26, 2009 1:38 pm

ขออภัยด้วย ที่แก้ไขข้อเขียน rep บนไปเสียแล้ว (เพราะอ่านดูแล้วว่าตัวเองเขียนทะแม่งๆ)
ไม่ทัีนสังเกตุว่าคุณอารยาออนไลน์อยู่ค่ะ :oops:
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
User avatar
Jseventh
 
Posts: 1741
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:19 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Jseventh » Sun Jul 26, 2009 1:48 pm

ประชาชนผู้สนใจเรื่องนี้อย่างดิฉัน ก็อยากจะทราบมติที่ประชุม WHC ครั้งล่าสุดเหมือนกันค่ะ.. :roll:
และ ยูเนสโก สมควรโดนประท้วงและกดดันมากที่สุดในตอนนี้!!!

อยากรู้ความคืบหน้าและท่าทีของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้ :roll:
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
User avatar
Jseventh
 
Posts: 1741
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:19 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 3:19 pm

รายงานการประชุม WHC ที่ Seville คนใน กต. คงมีครับ
ท่านใดทราบช่วยสงเคราะห์ด้วยจะได้กุศลแรงครับ
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 4:16 pm

ปลายปีที่แล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศไทยที่มีนายเสน่ห์ จามริกเป็นประธาน ส่งคำประท้วงไปสหประชาชาติกรณีศูนย์มรดกโลกตัดสินให้กัมพูชาเป็นเจ้าของมรดกโลกบ้าๆบอๆ อย่างที่คุณ Jseventh บอกว่าตอนนี้โกรธมากนี่แหละครับ

ประเด็นที่ผมว่าตลกคือ เป็นการประท้วงจากองค์กรที่ค่อนข้างจะผิดฝาผิดตัว
เพราะคนที่จะประท้วงตอนนั้นน่าจะเป็นคุณปองพล หรือไม่ก็อาจารย์ อดุลย์ ซึ่งคร่ำหวอดอยู่กับวงการมรดกโลกทั้งในตำแหน่งที่ดำรงอยู่ หรือเคยดำรงมาก่อนก็น่าจะเป็นที่ปรึกษาให้

อาจารย์เสน่ห์เกิดฟิตอะไรขึ้นมา หลายคนยังงงๆกันอยู่ แกโดนวิจารณ์แหลกว่าไม่มีอะไรจะทำแล้วหรือฟระ มันคนละงานกันน่ะ

ก็น่าจะจริง คำประท้วงของอาจารย์เสน่ห์จึงดูเป๋ๆยังไงพิกล:
1. คณะกรรมการมรดกโลกตัดสินไม่เป็นธรรม บลา บลา บลา
2. ผลการตัดสินทำให้
2.1 ประชาชนไทยและกัมพูชาที่ชายแดนต้องสูญเสียสิทธิในการในดำรงชีวิตที่อิสระ
2.2 เกิดความตึงเครียดบริเวณที่เคยไปมาหาสู่ฉันท์ญาติำมิตร และที่เคยไปมาค้าขายกันก็มีอุปสรรคเพราะต้องเสี่ยงต่อการเกิดสงคราม
จึงเรียกร้องให้สหประชาชาติสอบสวนความไม่โปร่งใสของศูนย์มรดกโลกด้วย

ผมไม่ได้ติดตามว่ายูเนสโกส่งคำประท้วงกลับมา หรือส่งต่อไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษชน
ที่นั่งอยู่ในห้องข้างๆกันที่ตึกสหประชาชาตินั้นไปแล้วหรือยัง

เอาเป็นว่า ยูเนสโกเคยโดนอัดเรื่องนี้มาแล้วจากไทย แต่ปิดกันเงียบ คงเพราะเขินที่สะเปะสะปะอย่างว่า

ลองมาดูจุดยืนเหลวๆของสังคมไทยที่มีต่อปัญหาปราสาทพระวิหารในบริบทของมรดกโลกพอสังเขป ผมคิดเอาเอง off the cup ผิดถูกอย่างไรช่วยดูด้วยละกันนะครับ
1. ด้านนักวิชาการ
1.1 กลุ่มแรกบอกว่าอย่าขึ้นทะเบียนร่วมกับกัมพูชาเด็ดขาด เพราะจะเท่ากับยอมรับแถลงการณ์ร่วม 2544 ที่เหลี่ยมแอบไปทำกับฮุนเซนแบบกินรวบจากทางบกที่กันทรลักษณ์ถึงเกาะกูด
1.2 อีกกลุ่มบอกว่าอยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร เขมรเขามาถูกทางแล้ว พูดแบบออหมัก

2. ด้านพันธมิตร: ตอนนี้เแผ่วไปมาก แต่เดิมหลังจากอัดกัมพูชา เหลี่ยม นภดล แบบไม่มีใครพูดถึงนางฟรังซัวส์ ก็มีการสรุปข้อเสนอว่า
ไทยควรขอขึ้นทะเบียนในส่วนของไทย แล้วให้กัมพูชาขึ้นในส่วนของเขา ซึ่งจะทำให้เห็นพื้นที่ทับซ้อนอย่างชัดเจนเสียที จากนั้นจึงถึงบทประนีประนอมยอมความ

ทุกแนวค่อนข้างเพ้อเจ้อ เพราะถ้าไม่อยู่เฉยก็พูดแบบไม่สนกฏ กติกา มารยาท ของ Unesco's World Heritage Centre ซึ่งถ้าศึกษาแล้วจะพบว่า ประเทศที่จะขึ้นทะเบียนต้องญาติดีกันก่อนกับ "State Party" คือประเทศเพื่อนบ้านถ้าโบราณสถานนั้นติดปัญหเรื่องกรรมสิทธิ์ มิใช่หลับหูหลับตาเขียน Nomination File โดยไม่ปรึกษาหารือกันก่อน
ที่คิดว่าไปฮั้วติดสินบนเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเอาดาบหน้าที่ปารีส คงไม่มีประเทศไหนทำกันหรอกครับ ยกเว้นว่าจะมีไส้ศึก
อีกอย่าง ถ้าจะทำเช่นนั้น ต้องเงินถึง อย่างมหาเศรษฐีทักษิณพอไหว แต่ใจต้องคดโกงเป็นทุนโดยสันดานด้วย ถึงจะพอลุ้น

นี่ว่าจะพูดแค่ยูเนสโกเคยถูกอัด ไหงวกมาถึงคนหน้าเหลี่ยมได้ครับเนี่ย
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Sun Jul 26, 2009 6:44 pm

Jseventh wrote:..จะหาอ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่เมืองเซบีญา ประเทศสเปน ในวันที่ 19 มิ.ย 2009 ได้ที่ไหนคะ? ขอบคุณค่ะ


ผมจำได้ว่าคุณสุวิทย์ คุณกิตติ ออกเดินทางจากกรุงเทพฯไปสเปนวันที่ 19 มิถุนายน 2552 ก่อนมีการประชุมที่ซีบีญ่าสามสี่วัน เหตุที่ไปก่อนอ้างว่าต้องการไปเตรียมการประท้วงมติที่เมืองกีเบคปีกลาย
วันประชุมจริงๆเป็นระหว่าง 23-30 มิถุนายน 2551
สถานะของคุณกิตติในการร่วมประชุมครั้งนี้คือ "ผู้สังเกตการณ์" แปลง่ายๆว่า ทั้ง 7-8 วันในห้องประชุมต้องหุบปากสนิท
แค่นี้คงพอเห็นความผิดปกติว่าจะต้องมีความจำเป็นอะไรนักหนาที่ต้องไปเตรียมอะไรล่วงหน้าขณะที่เขายังไม่มีประชุม เพราะขณะมีประชุมก็ไม่มีสิทธิพูดอยู่แล้ว
สิทธิในการพูดของผู้สังเกตการณ์มิใช่จะไม่มีเสียเลย ประธาน (ซินญอร่ออะไรไม่ทราบ) จะให้อย่างมาก 1 นาทีกับผู้โชคดีในวันสุดท้าย
หลังจากที่ประชุมพิจารณาทุกวาระสิ้นสุดลงแล้ว

วาระการประชุมมรดกโลกปกติในส่วนที่เกี่ยวกับผู้สังเกตการณ์มีนพเหล่เมื่อครั้งบินไปเมืองกีเบคปีกลายเป็นตัวอย่างให้แกะรอยได้ประมาณนั้น แต่ถ้าคุณสุวิทย์มีวาระซ่อนเร้นพิสดารไปกว่านั้น เช่น กับ "กรรมการ 7 ชาติ" คงยากยิ่งที่จะล่วงรู้ได้ครับ
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby Jseventh » Mon Jul 27, 2009 9:40 am

เอกสารนี้น่าจะใช่ มติที่ประชุม WHC ครั้งที่ 33 นะคะ :roll:
เป็นภาษาอังกฤษ มีให้เปิดดูหรือดาวน์โหลด 2 ภาษา (อังกฤษ, ฝรั่งเศส)
เอกสารมี 2 รูปแบบ ทั้ง Adobe และ MS Word

ดิฉันภาษาอังกฤษไม่ค่อยแข็งแรงค่ะ กลัวจะแปลผิดๆถูกๆ :lol:
เลยนำมาฝากให้คุณอารยา และท่านอื่นที่สนใจช่วยดูด้วย

http://whc.unesco.org/en/sessions/33COM/
เรื่อง Preah Vihear อยู่ข้อ 65 หน้า 111/252 (สำหรับเอกสาร Adobe) มี 4 ข้อ..

Decision
The World Heritage Committee, : 33 COM 7B.65

1. Having examined Document WHC-09/33.COM/7B.Add,

2. Recalling Decisions 31 COM 8B.24 and 32 COM 8B.102, adopted at its 31st session (Christchurch, 2007) and 32nd Session (Quebec City, 2008) respectively,

3. Notes the developments that have occurred at the property since its inscription on the World Heritage List, the information contained in the State Party report and the preliminary findings of the Reinforced monitoring mission;

4. Requests the State Party to submit to the World Heritage Centre, by 1 February 2010, a report on the progress made in the implementation of the recommendations by the Committee in its Decision 32 COM 8B.102, for the examination by the World Heritage Committee at its 34th session in 2010.

ขอบคุณค่ะ
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นเทวาหรือซาตาน มนุษย์เท่านั้นที่เป็นผู้กำหนด
User avatar
Jseventh
 
Posts: 1741
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:19 am

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Mon Jul 27, 2009 10:44 am

3. Notes the developments that have occurred at the property since its inscription on the World Heritage List, the information contained in the State Party report and the preliminary findings of the Reinforced monitoring mission

ขอบคุณและขอเรียนว่า พบประเด็นที่เกี่ยวกับคำปรารภ "ผมยังไม่เคยเห็นรายงานของเดือนเมษาเลย" ของนายกฯอภิสิทธิ์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552
คงจำกันได้ นายกนอภิสิทธิ์กล่าวขณะให้สัมภาษณ์กรณีคุณสุวิทย์ส่งข่าวข้ามทวีปจากสเปรว่าล้มเหลวในการประท้วงฯ

ก็ขนาดนพเหล่บินไปประท้วงถึงที่เกิดเหตุเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2551 มีสปีชที่เขียนจากกระทรวงการต่างประเทศอ่านชัดเจนครบถ้วนในประชุมเดียวกันนี้ คณะกรรมการ 21 ชาติได้ฟังลั่นห้องประชุมเขายังเอาหูทวนลม ก็ต้องฟังทำไม ก่อนหน้านั้นไม่ถึงชั่วโมง เขาตัดสินไปแล้ว ขอพูดก่อนเขาก็บอกผิดระเบียบที่่ประชุมที่จะให้ผู้สังเกตการณ์ได้พูดก่อนที่จะสิ้นสุดการพิจารณาวาระต่างๆแล้ว

ผมน่ะประหลาดใจเป็นที่สุดว่า Thailand เป็น State Party ของกัมพูชาแท้ๆ แต่สองปีมานี้ถูกจัดให้เป็นได้แค่คนดูธรรมดาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก

ตรงนี้ผมก็ไม่ทราบว่ามันเป็นหยังครับ น่าจะประท้วงตรงนี้ให้สำเร็จก่อนเถอะครับ คุณสุวิทย์

มี technical term สวยหรูว่า "Reinforced monitoring mission" มันอะไรอ่ะครับ ทำไมต้องเหนียมกับคำ ICC หรือเพราะว่าซ่อนไทยที่เป็น 1 ใน 7 ชาตินั้น
ผมสรุปดื้อว่ามีคนไทยที่เคยเห็น "State Party report" นั้น แต่ทำไมนายกฯวันนั้นบอกไม่เคยเห็น ฟังแล้วน่าเศร้านะครับ

ครับ ผมขอพูดสั้นๆว่า "Enforcement of the Joint Communique is underway"
เพราะหาไม่แล้วจะมีวลีสุดท้ายข้างบนว่า "for the examination by the World Heritage Committee at its 34th session in 2010." เพื่ออะไรครับ

วันนี้ถนนทุกสายมุ่งสู่นคร ริโอเดอจาเนโร่ บราซิลกลางปีหน้า เพียงแค่รอ February 1, 2010 ที่จะมี "The Final State Party report and the final findings" ไปประเคนให้เท่านั้น (ข้อ 4 ใน Joint Communique of June 18, 2008)
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby อารยา » Mon Jul 27, 2009 4:14 pm

อารยา wrote:...เกี่ยวกับคำปรารภ "ผมยังไม่เคยเห็นรายงานของเดือนเมษาเลย" ของนายกฯอภิสิทธิ์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2552
คงจำกันได้ นายกนอภิสิทธิ์กล่าวขณะให้สัมภาษณ์กรณีคุณสุวิทย์ส่งข่าวข้ามทวีปจากสเปรว่าล้มเหลวในการประท้วงฯ...มีคนไทยที่เคยเห็น "State Party report" นั้น แต่ทำไมนายกฯวันนั้นบอกไม่เคยเห็น ฟังแล้วน่าเศร้านะครับ


ไขปริศนารายงานงวด 1 ก.พ 2552
อารยา 22/09/2008 เวลา : 10.40 น http://www.oknation.net/blog/arya-tiraw ... 22/entry-1 wrote:..(1)กุมภาพันธ์ 2552 ไทยต้องรายงานร่วมกับกัมพูชาต่อยูเนสโกเรื่องยกพื้นที่ “กันชน” (ด้านตะวันออกกับใต้) และ “ปักปัน” ( ด้านเหนือกับตะวันตก) ให้ยูเนสโก (และเจ้าของมรดกโลกคือเขมร) ทั้งนี้ตามที่ระบุในแถลงการณ์ร่วมอัปยศนั้น

ประเด็นคือ ถ้า เจบีซี (ปักปันเขตแดนร่วม”--Thai-Cambodian Joint Commission on Demarcation for Land Boundary--JBC) ต้องประชุมด่วน ก็ยิ่งเข้าทางเขมร
นายกสมชายก็เพิ่งไปรับปากกับฮุนเซนเมื่อวานซืนว่าจะต้องรีบประชุมเจบีซี!!!!!!

ทางเจบีซีเขาร้อนตัว อยากให้กระทรวงการต่างประเทศรับรู้... ขณะนี้สมชายกำลังเตะหมู เร่งประชุม เจบีซีโดยด่วน อ้างผลการประชุมที่ชะอำเมื่อวันที่ 19 สิงหาที่ผ่านมา...

ขออนุญาตว่าต่อหรือต่อว่านายสมชายเลยที่อ้างการเจรจาชะอำแบบส่งเดช คุณเตชอาจพูดถึงเด๊ดไลน์ 1 ก.พ. 52 แต่ผมพอมองออกว่าตลอดการประชุมทวิภาคีกับนายฮอนัมฮงทั้งสองครั้ง คุณเตชพยายามอย่างยิ่งที่จะดึงมิให้ JBC ต้องรีบทำเรื่องปักปันเขตแดน
ในข้อ 4 ของแถลงการณ์ร่วมมันเขียนหักคอไว้อยู่แล้วว่า ให้เขมรกับไทยเร่งทำแผนผนวกพื้นที่บริหารจัดการมรดกโลกให้เสร็จในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 โดยไม่ต้องรอการทำงานร่วมของ JBC
เราเสียเปรียบตรงนั้นอยู่แล้ว ไม่ต้องปักปันมันก็สมรู้ร่วมคิดปล้นแผ่นดินไทยอยู่แล้ว แต่หากนายสมชายยังสนองบัญชาฮุนเซนให้ครบสำรับขนาดนั้น ก็เท่ากับเรายอมเปลื้องให้เขมรชำเราได้ล่อนจ้อนตามสะดวก แล้วต่อไปจะเอาอะไรไปอ้างว่าถูกข่มขืนล่ะครับ?!

ตกลงที่คุณสุวิทย์ไปสเปนเดือนที่แล้ว ใครสั่งให้ไปกันแน่ครับ นอมินีทักษิณ หรือนายกฯอภิสิทธิ์!!!
User avatar
อารยา
 
Posts: 2201
Joined: Sat Apr 11, 2009 5:26 pm

Re: กัมพูชาดีเดย์ 1 กุมภาพันธ์ 2553

Postby จีรนุช » Wed Jul 29, 2009 11:52 am

ต้องติดตามกันต่อไป
รักเเปะลิ้มมากค่ะ
User avatar
จีรนุช
 
Posts: 5689
Joined: Sun Nov 30, 2008 7:34 pm

Next

Return to สภากาแฟ