Page 1 of 5

หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 9:32 pm
by นายเวร
หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย"

ความหมายและความสำคัญ
ระบอบประชาธิปไตย หมายถึง ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน ตรงกันข้ามกับระบอบอำนาจนิยม ( เช่น ระบอบราชาธิปไตย , ระบอบเผด็จการทหาร, ระบอบอำมาตยาธิปไตย ) ซึ่งเป็นระบอบปกครองโดยคนเดียว หรือโดยคนกลุ่มน้อย ผู้มีอำนาจมากกว่าประชาชนทั่วไป (เรียกว่า พวกอภิสิทธิชน) ในโลกยุคเศรษฐกิจตลาดเสรีสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพลเมือง ผู้เสียภาษี(ทั้งทางตรงและทางอ้อม) และเป็นเจ้าของสาธารณสมบัติร่วมกัน เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตย เป็นระบอบที่จะสร้างความมีประสิทธิภาพ(ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ) และความเป็นธรรม ได้มากกว่าระบอบอำนาจนิยม ในบางสถานการณ์ ในระบอบอำนาจนิยม อาจจะมีผู้ปกครองที่เป็นคนดีหรือคนเก่งอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มีหลักประกันว่า เขาหรือลูกหลาน หรือพรรคพวกเขา ที่ได้ตำแหน่งจากการสืบเชื้อสาย หรือการแต่งตั้ง จะปกครองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมสำหรับคนส่วนใหญ่เสมอไป เพราะระบบสืบเชื้อสายและแต่งตั้งเป็นระบบที่ไม่แน่นอน และไม่มีประสิทธิภาพ และเพราะว่าการให้คนสืบทอดอำนาจโดยไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลมักนำไปสู่การฉ้อฉลเพื่อประโยชน์ส่วนตน ระบอบประชาธิปไตยดีกว่าระบอบอำนาจนิยมในแง่ที่ว่า มีระบบคัดเลือกผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพกว่า และมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองมีอำนาจมากจนเกินไปได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช้สักแค่มีการเลือกตั้ง แต่ยังมีการซื้อเสียงขายเสียง การโกง การใช้อำนาจและระบบอุปถัมภ์

รูปแบบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย หรือการปกครองตนเองของประชาชน อาจจะแบ่งเป็น
1.ประชาธิปไตยโดยตรง – ประชาชนมาประชุมกัน อภิปรายและลงคะแนนกันในเรื่องสำคัญ เช่น การประชุมเรื่องงบประมาณ กฎหมาย ในระดับท้องถิ่น หรือการลงประชามติในระดับประเทศ เช่น การจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2.ประชาธิปไตยโดยระบบผู้แทน เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่มีประชาชนมาก มีความซับซ้อน ต้องแบ่งงานกันทำ จึงมักใช้วิธีเลือกผู้แทนขึ้นไปเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายออกกฎหมาย
3.ประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม การผสมผสานทั้ง 2 แบบแรก รวมทั้งการให้ประชาชนมีการปกครองตนเองในระดับท้องถิ่น มีองค์กรอิสระที่รักษาผลประโยชน์ฝ่ายประชาชน มีสื่อมวลชนและองค์กรประชาชนที่เข้มแข็ง ภาคประชาชนหรือสังคมพลเมืองมีบทบาทในการตัดสินใจเรื่องการบริหารประเทศค่อนข้างมาก ไม่ได้ปล่อยให้ผู้แทนทำทุกอย่างโดยประชาชนให้ใช้สิทธิแค่เลือกตั้งผู้แทนนานๆครั้งเท่านั้น ตั้งแต่ปี 2475 ประเทศไทย ใช้ประชาธิปไตยแบบที่ 2 เป็นบางช่วง (บางช่วงเป็ฯเผด็จการทหาร) ประเทศไทยควรใช้แบบที่ 1 และ 3 เพิ่มขึ้นเพราะระบอบประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทนมีข้อจำกัด โดยเฉพาะในสภาพที่นักการเมืองกลุ่มน้อยมีฐานะทางเศรษฐกิจสูง มีอำนาจและความรู้สูงกว่าประชาชนส่วนใหญ่มาก ทำให้คนกลุ่มนี้มักได้เป็นผู้แทน และมักจะทำอะไรก็ทำได้ตามใจชอบ รวมทั้งการคอรัปชั่น,การหาผลประโยชน์ทับซ้อน โดยอ้างว่าเพราะประชาชนเลือกพวกเขาเข้าไปแล้ว เขาจะทำอะไรก็ถือว่าเป็นประชาธิปไตยทั้งนั้น ประชาธิปไตย โดยระบบผู้แทน หมายถึงว่า ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปเป็นผู้บริหารจัดการแทนตัวพวกเขา เพื่อให้บริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่เลือกไปเป็นเจ้านายและประชาชนยังมีสิทธิคัดค้านถอดถอนผู้แทนที่ขึ้นไปเป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำหน้าที่อย่างซื่อตรงและเพื่อส่วนรวมด้วย แต่รัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้เปิดช่องทางและไม่มีการให้การศึกษาและข่าวสารแก่ประชาชนว่า ประชาชนมีสิทธิ ประการหลังที่สำคัญนี้ด้วย ประชาชนไม่ได้เลือกผู้แทนไปเป็นเจ้านายในระบอบอำนาจนิยมซึ่งเป็นระบอบเก่า แต่วัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม (ยกย่องเกรงกลัวคนมีอำนาจ) ยังคงตกค้างมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ที่ประชาชนได้รับการศึกษาและข่าวสารน้อยและหรือได้รับแบบคุณภาพต่ำ ทำให้เป็นประชาธิปไตยแค่รูปแบบ หรือเป็นประชาธิปไตยเพียงบางส่วน ยังไม่ใช่การปกครองตนเองของประชาชน ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่หมายถึงแค่ ประชาธิปไตยทางการเมือง (ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ เลือกตั้ง คัดค้าน ถอดถอน ผู้แทนได้) เท่านั้น หากต้องเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ (มีการกระจายทรัพย์สิน และรายได้ที่เป็นธรรม มีการแข่งขันที่เป็นธรรม) และประชาธิปไตยทางสังคม (ประชาชนมีการศึกษา รับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีสิทธิเสรีภาพ และโอกาสการเข้าถึง ศาสนา ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม อย่างเสมอภาคกัน) ด้วย ประชาธิปไตย 2 อย่างหลังนี้ ประเทศไทยยังมีน้อย รวมทั้ง ไม่มีการให้การศึกษา ให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสารประชาชนในเรื่องนี้มากพอ เป็นเหตุให้ประชาธิปไตย การเมือง พัฒนาช้า
ประชาธิปไตยในแง่เนื้อหา ระบอบประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงแค่ระบบการเลือกตั้ง

หากต้องประกอบไปด้วยสภาวะความเป็นประชาธิปไตย อย่างน้อย 6 ข้อ คือ
1. การเลือกตั้งผู้แทนจะต้องเป็นอิสระและยุติธรรม ไม่มีการใช้อำนาจหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อโกงการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และการที่กลุ่มอภิสิทธิชนใช้อำนาจอิทธิพลระบอบอุปถัมภ์ ให้คนต้องเลือกเฉพาะพวกเขาบางคน
2. จะต้องมีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่ดี เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ องค์กรอิสระ องค์กรประชาชนสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ และต่างฝ่ายต่างตรวจสอบถ่วงดุลซึ่งกันและกัน รวมทั้งภาคประชาชนสามารถถอดถอนผู้แทนที่มีพฤติกรรมไม่ชอบธรรมได้
3. การบริหารบ้านเมืองจะต้องโปร่งใส มีเหตุผลอธิบายได้ เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่มีการคอรัปชั่น การหาผลประโยชน์ทับซ้อน การเล่นพรรคพวก หาประโยชน์ส่วนตัว
4. มีรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ที่มุ่งประโยชน์คนส่วนใหญ่ อย่างมี เหตุผล มีความคงเส้นคงวา คนส่วนใหญ่ยอมรับ และรัฐธรรมนูญ กฎหมาย เหล่านั้นมีผลบังคับใช้ด้วย
5. สื่อมวลชนและองค์กรประชาชนมิสิทธิเสรีภาพ, เป็นอิสระ, มีศักดิ์ศรี และเข้มแข็ง ประชาชนมีจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การแสดงความคิดเห็น การสมาคม การชุมนุม การทำประชาพิจารณ์ (เปิดอภิปรายความคิดเห็นประชาชนเรื่องกฏหมายและโครงการต่างๆ) และการลงประชามติว่า ประชาชนจะรับหรือไม่ในเรื่องสำคัญๆ
6. มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สู่ประชาชน ทำให้เกิดประชาธิปไตยทาง เศรษฐกิจและสังคม
และการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่มั่นคง สม่ำเสมอ
ดังนั้น แม้จะมีการเลือกตั้งและมีผู้สมัคร สส. จากพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก แต่ถ้าไม่ได้เกิดสภาวะความเป็นประชาธิปไตยตามแนวทาง 6 ข้อนี้ เช่น เป็นรัฐบาลที่ใช้อำนาจผูกขาดแทรกแซงองค์กรอิสระ ปิดปากสื่อมวลชนและประชาชน คอรัปชั่น หาผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง เราก็ควรถือว่าระบอบการปกครองแบบนี้เป็นระบอบประชาธิปไตยเพียงเปลือกนอก หรือเป็นประชาธิปไตยจอมปลอม ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
หากในบางช่วง เช่น หลัง พ.ศ. 2475-2490 , พ.ศ. 2516-2519 ฯลฯ เรามีสภาวะความเป็นประชาธิปไตยบางข้อ มากบ้างน้อยบ้าง ก็อาจถือว่ามีความเป็นระบอบประชาธิปไตยในเชิงเปรียบเทียบ (กับประเทศอื่น,กับประวัติศาสตร์ช่วงอื่น) ได้ระดับหนึ่ง ประเด็นที่สำคัญคือ ประเทศใดจะเป็นประชาธิปไตยในแง่เนื้อหามากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคประชาชนในแต่ละประเทศในแต่ละช่วงตอนของประวัติศาสตร์เป็นสำคัญหลักการประชาธิปไตยระบอบ

ประชาธิปไตย อยู่บนรากฐานหลักการที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. หลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนแสดงออกซึ่งการเป็นเจ้าของโดยใช้อำนาจที่มีตามกระบวนการเลือกตั้งอย่างอิสระและทั่วถึงในการให้ได้มาซึ่งตัวผู้ปกครองและผู้แทนของตน รวมทั้งประชาชนมีอำนาจในการคัดค้านและถอดถอนผู้ปกครองและผู้แทนที่ประชาชนเห็นว่า มิได้บริหารประเทศในทางที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม เช่น มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ
2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ
3. หลักความเสมอภาค การเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและคุณค่าต่างๆของสังคมที่มีอยู่จำกัดอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกกีดกันด้วยสาเหตุแห่งความแตกต่างทางชั้นวรรณะทางสังคม ชาติพันธุ์ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือด้วยสาเหตุอื่น
4. หลักการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักนิติธรรม การให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพในทรัพย์สิน การแสดงออก การดำรงชีพ ฯลฯ อย่างเสมอหน้ากัน โดยผู้ปกครองไม่สามารถใช้อำนาจใดๆลิดรอนเพิกถอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้ และไม่สามารถใช้อภิสิทธิอยู่เหนือกฎหมาย หรือเหนือกว่าประชาชนคนอื่นๆได้
5. หลักการเสียงข้างมาก (Majority rule)ควบคู่ไปกับการเคารพในสิทธิของเสียงข้างน้อย (Minority Rights) การตัดสินใจใดๆที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหมู่มาก ไม่ว่าจะเป็น การเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าสู่ระบบการเมือง การตัดสินใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายตุลาการ ย่อมต้องถือเอาเสียงข้างมากที่มีต่อเรื่องนั้นๆ เป็นเกณฑ์ในการตัดสินทางเลือก โดยถือว่าเสียงข้างมากเป็นตัวแทนที่สะท้อนความต้องการ/ข้อเรียกร้องของประชาชนหมู่มาก หลักการนี้ ต้องควบคู่ไปกับการ เคารพและคุ้มครองสิทธิเสียงข้างน้อยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า ฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้วิธีการพวกมากลากไปตามผลประโยชน์ความเห็นหรือกระแสความนิยมของพวกตนอย่างสุดโต่ง แต่ต้องดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งหมด เพื่อสร้างสังคมที่ประชาชนเสียงข้างน้อย รวมทั้งชนกลุ่มน้อย ผู้ด้อยโอกาสต่างๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยไม่มีการเอาเปรียบกันและสร้างความขัดแย้งในสังคมมากเกินไป ค่านิยม ทัศนคติ ที่ส่งเสริมประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตย นอกจากจะเป็นระบอบการเมืองแล้ว ยังเป็นระบอบเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมด้วย ดังนั้นจึงไม่ใช่อยู่ที่รัฐธรรมนูญ กฏหมาย การเลือกตั้ง และการต่อรองทางการเมืองเท่านั้น หากอยู่ที่สมาชิกในสังคมจะต้องช่วยกันหล่อหลอม สร้างค่านิยม วิถีชีวิต ที่เป็นประชาธิปไตย มาตั้งแต่ในครอบครัว โรงเรียน ที่ทำงาน ชุมชน เพื่อจะนำไปสู่หรือการปกป้อง ระบอบประชาธิปไตย ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน ระบบการศึกษา สื่อมวลชน ฯลฯ ควรช่วยกันสร้างคือ

1. เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม
2. มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี
3. เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในระยะยาว
4. เคารพกฏหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของกฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม
5. มีจิตใจเปิดกว้างและพร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
6. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป
7. มีจิตใจที่เป็นธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่มีอคติต่อผู้ที่มีความแตกต่างจากตน เช่น นับถือ ศาสนาอื่นหรือเชื้อชาติอื่น เป็นต้น บทบาทของประชาชนในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่การใช้สิทธิในการเลือกตั้งนานๆครั้ง และพยายามเลือกคนดีคนเก่งมาบริหารประเทศเท่านั้น ประชาชนต้องขวนขวาย ศึกษา พัฒนาตนเอง ใช้สิทธิและหน้าที่พลเมืองที่ดีเข้าไปแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ในการตัดสินใจ เรื่องการใช้ทรัพยากรของประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของชุมชน จังหวัด และประเทศ อย่างแข็งขัน และอย่างสม่ำเสมอตลอด ทั้งปีและทุกปีด้วย
วิทยากร เชียงกูล

http://witayakornclub.wordpress.com/200 ... emocratic/

ตามนี้ครับ "ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ

ท่านใดมีความเห็นต่างจากนี้ เชิญมาเสวนาเเลกเปลี่ยนมุมมองกันครับ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 9:39 pm
by ramboboy26
จะด่าผมมั้ยถ้าจะบอกว่าเค้าลอกแนวคิดมาจากยูโธเปียเต็มๆ
ซึ่งสุดท้ายเรื่องก็จบลงที่ตัวแปรสำคัญ แต่มักจะไม่พูดถึงกัน คือ "เงิน"

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 9:40 pm
by baezae
ที่ว่ามาก็ครบดีครับ

แต่คงต้องเพิ่มด้วยว่า ทุกคนควรมีสิทธิ์เท่ากัน และไม่ละเมิดสิทธิ์คนอื่น

และ

การเผาบ้านเผาเมืองไม่ใช่วิธีในการเรียกร้องประชาธิปไตย

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 10:05 pm
by นายเวร
"เงิน" และ "การไม่ละเมิดสิทธิ์คนอื่น" ที่ท่านทั้งสองกล่าวมา

มีในค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน มันก็คือเราทุกคน และรุ่นต่อไปใหม่ๆ

ทั้ง เยาวชน ยัน คนแก่ :lol: ที่ต้องเร่งปลูกฝังกันในเรื่องนี้ที่มีอยู่ 7 ข้อ

แต่ท่านใดมีอะไรเสนอเพิ่มเติม ต่อยอดก็บอกได้เลยครับ

มาเรียนรู้ไปด้วยกัน ผลักดันกันก้าวเดินไปข้างหน้า

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 11:19 pm
by สมชายสายชม
อ่านดูแล้ว ระบอบทักษิณสอบตกเกือบทุกข้อ เช่น เป็นเจ้าของพรรค แทรกแซงสื่อ แทรกแซงองค์กรอิสระ

ใช้เงินซื้อเสียง ใช้อภิสิทธิ์เหลื่อมล้ำไม่เสมอภาคแต่งตั้งนายตำรวจพี่เมียกระโดดข้ามหัวคนอื่น

เขตไหนเลือกพวกเรา จะดูแลเป็นพิเศษ

ฯลฯ
...

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 11:41 pm
by ramboboy26
นายเวร wrote:"เงิน" และ "การไม่ละเมิดสิทธิ์คนอื่น" ที่ท่านทั้งสองกล่าวมา

มีในค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน มันก็คือเราทุกคน และรุ่นต่อไปใหม่ๆ

ทั้ง เยาวชน ยัน คนแก่ :lol: ที่ต้องเร่งปลูกฝังกันในเรื่องนี้ที่มีอยู่ 7 ข้อ

แต่ท่านใดมีอะไรเสนอเพิ่มเติม ต่อยอดก็บอกได้เลยครับ

มาเรียนรู้ไปด้วยกัน ผลักดันกันก้าวเดินไปข้างหน้า

ในยูโธเปียมันก็มีนิยามลักษณะคล้ายๆกับเจ็กกข้อนี้แหละครับ
ออกจะหนักข้อกว่าด้วยซ้ำ เพราะ Utopian ทุกคนจะถูกสมมติให้มีจิตสาธารณะเต็มขั้น เกรงกลัวไม่กล้าทำผิดกฏหมาย
แต่ความต้องการที่จะเสมอภาคอย่างสุดโต่งและความที่เป็นสังคมที่มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบจนเกินไปมันก็มีมิติที่จะทำลายตัวเองได้อยู่

ดังนั้นผมคิดว่า สังคมไม่ต้องเสมอภาคก็ได้ เพียงแต่เราต้องยอมรับความไม่เสมอภาคที่มีให้ได้
และให้ชนชั้นที่อยู่สูงสุดมีแนวทางแบบธรรมราชา สังคมแบบนี้ก็ดีไม่น้อยนะครับ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 11:42 pm
by นายเวร
Image

อ.วิทยากร เชียงกูล เจ้าของหนังสือ "ฉันจึงมาหาความหมาย"
(1 ในหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่านประเภทบันเทิงคดี-เรื่องสั้น)
และบทกวีที่มีอิทธิพลมากที่สุดชิ้นหนึ่ง ในช่วงก่อน 14 ตุลาฯ“ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง
ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว…”
มากกว่า 30 ปี มาแล้วที่มีบทกวีชิ้นนี้ออกมา อาจารย์ก็ยังคงเป็นคนหนึ่งที่ค้นหาความหมายใหม่ๆ
ให้กับสังคมไทยอยู่เสมอ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นผู้อำนวยการศูนย์วิจัย
สังคมศาสตร์ และยังคงทำงานวิชาการทางสังคมอยู่
http://www.osknetwork.com/modules.php?n ... le&sid=187

นำเอาเกร็ดเล็กๆของคนเขียนบทความ ที่เป็นนักต่อสู้ ในช่วงแสวงหา ตุลาธาร

เนื้อหาครอบคลุมชัดเจนมาก สื่อให้เข้าใจง่ายดีคล้าย“ประชาธิปไตย”

เบื้องต้นสำหรับสามัญชน ที่เขียนโดย ปรีดี พนมยงค์

ลองติดตามงานของ อ.วิทยากร เชียงกูล ดูนะครับ

มีอีกหลายผลงานที่น่าสนใจเลยทีเดียว

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Wed Feb 23, 2011 11:47 pm
by Bond
ว่ากันตามทฤษฎี อะไรมันก้อดีไปหมด แต่เวลาควายแดงมันปฎิบัติจริง ทุกอย่างมันทำตรงข้ามกับทฤษฎีทุกข้อ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:05 am
by ramboboy26
“ประชาธิปไตย” เบื้องต้นสำหรับสามัญชน ที่เขียนโดย ปรีดี พนมยงค์ ชายผู้ถูกตราหน้าว่าคอมมิวนิสต์
ผมไม่สนหรอกนะว่าเด็กมธ.จะด่าว่าผมรึป่าว
แต่ผมคิดว่าหลักการของประชาธิปไตยแบบนายปรีดีมันเจอกลิ่นคอมมิวนิสต์จนฉุนตลบไปหมดครับ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:07 am
by นายเวร
ramboboy26 wrote:
นายเวร wrote:"เงิน" และ "การไม่ละเมิดสิทธิ์คนอื่น" ที่ท่านทั้งสองกล่าวมา

มีในค่านิยมประชาธิปไตยที่ประชาชน มันก็คือเราทุกคน และรุ่นต่อไปใหม่ๆ

ทั้ง เยาวชน ยัน คนแก่ :lol: ที่ต้องเร่งปลูกฝังกันในเรื่องนี้ที่มีอยู่ 7 ข้อ

แต่ท่านใดมีอะไรเสนอเพิ่มเติม ต่อยอดก็บอกได้เลยครับ

มาเรียนรู้ไปด้วยกัน ผลักดันกันก้าวเดินไปข้างหน้า

ในยูโธเปียมันก็มีนิยามลักษณะคล้ายๆกับเจ็กกข้อนี้แหละครับ
ออกจะหนักข้อกว่าด้วยซ้ำ เพราะ Utopian ทุกคนจะถูกสมมติให้มีจิตสาธารณะเต็มขั้น เกรงกลัวไม่กล้าทำผิดกฏหมาย
แต่ความต้องการที่จะเสมอภาคอย่างสุดโต่งและความที่เป็นสังคมที่มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบจนเกินไปมันก็มีมิติที่จะทำลายตัวเองได้อยู่

ดังนั้นผมคิดว่า สังคมไม่ต้องเสมอภาคก็ได้ เพียงแต่เราต้องยอมรับความไม่เสมอภาคที่มีให้ได้
และให้ชนชั้นที่อยู่สูงสุดมีแนวทางแบบธรรมราชา สังคมแบบนี้ก็ดีไม่น้อยนะครับ


ยูโทเปีย ผมไม่เคยอ่านเลย ว่างๆจะไปหาอ่าน แต่เคยผ่าน ยูโทเปีย อาบอบนวด U Thopia ห้วยขวาง ฮา

เสมอภาคอย่างสุดโต่ง ผมเห็นว่าดีกว่า แนวทางธรรมราชาแน่นอน ที่จะนำมาใช้ คิดให้ไกลๆๆๆๆๆ ขึ้นอีกหน่อย

สังคมไม่ต้องเสมอภาค ถ้าคุณโดนกระทำ คงไม่แนวคิดเช่นนี้ แนวทางธรรมราชาเขาก็บอกว่าไม่มีหลักประกัน

คุณยังคิดแบบนั้นอยู่อีกหรือ ที่ญี่ปุ่น-ดินแดง สังคมแบบนั้น ที่คุณอยู่ก็ดีมากกว่าไทยไม่ใช่เรอะ ramboboy26

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:08 am
by ramboboy26
ตกลงคุณจะคุยกันแบบวิชาการ หรือจะตั้งป้อมแขวะกันครับ
ผมจะได้เลิกคุย

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:12 am
by ramboboy26
...

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:13 am
by ramboboy26
เปลี่ยน log in แต่ก็ยังสัน ดานเดิม
ผมพยายามจะพูดดีๆด้วยเหตุผลด้วยแล้ว แต่พฤติกรรมยังต้องการที่จะหาเรื่องมากกว่าที่จะคุยกันเช่นนี้ก็เชิญคุณคุยเรื่องประชาธิปไตย "ในฝัน" ไปคนเดียวเหอะครับ ผมขอตัวล่ะ

อ้อ ยังไงก็ขอบใจนะที่จำได้ว่าผมอยู่ญี่ปุ่น จะให้ถูกยิ่งขึ้นคือผมอยู่โอซาก้านะครับ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 12:18 am
by ridkun_user
หลักการทุกหลักการมันก็ดีหมดแหละครับถ้าพูดเฉพาะหลักการ :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 2:03 am
by นายเวร
ramboboy26 แกเนี้ย นิสัยเหมือนผู้หญิงที่ใช้ทำรูปโลโก้เลย

แค่นี้ทำทนไม่ได้ ผมก็เป็นเช่นนี้ครับ หยิกๆหยอกๆ

ไม่สนใจอันใด แล้วแต่อยู่ช่วงอารมณ์ไหน

ไม่ว่ากัน พูดแค่นั้น ถ้ารับไปได้

ผมคนแบบนี้ ชอบขวางโลก :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 2:11 am
by Strangerman
ทุกอย่างที่เสียสละ พิมพ์มาให้อ่าน มันก็เป็นหนทางที่ดีครับ

อยู่ที่ว่าจะปฏิบัติได้ตามนั้นรึเปล่า อันนี้สิสำคัญ

แก่นแท้ของมันก็คือ คุณสอนคนให้รู้จักคุณธรรม ได้รึเปล่า แล้วใช้ คุณธรรม ควบคู่ไปกับ กฏเกณฑ์ ที่กำหนดขึ้นมาได้จริงๆ รึเปล่า

ผมว่ายากนะ ทุกวันนี้ผมว่า แบบเรียนเด็กๆ ปัจจุบัน ขาดหลายๆ อย่างที่ควรบรรจุไว้ แล้วก็คุณภาพ ของอาจารย์ผู้สอน ก็มีส่วนมากครับ

ถ้ามองแบบลึกๆ มันอยู่ที่เราจะปลูกฝัง สิ่งที่ผมกล่าวข้างต้น ให้กับคนทุกคนได้รึเปล่า ก็แค่นั้น ไอ้ที่ยกมา ยาวเป็นหางว่าว มันก็แค่ ตัวอักษรฯ ที่ไร้ค่า

หากคนอ่าน มันไร้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติ ครับ "นายเวร"

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 5:21 am
by ramboboy26
เอ้า ดูถูกผูกหญิงอีก เดี๋ยวโดนเจ้าแม่ในห้องนี้รุมนะโว้ย :lol:
แล้วเอ็งล่ะดีนักรึไงไอ้มาร นิสัยชอบจิก ชอบด่าชาวบ้านเค้า คุยกันดีๆสุภาพๆไม่เป็น แมนชิบ :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 6:57 am
by นายเวร
Strangerman คิดว่าตัวเองมี คุณธรรม จริยธรรม ไหมครับ เห็นชอบอ้างกันจังสองคำนี้

ปฏิบัติทำตัวและคิดว่าไม่ใช่คนดี มี คุณธรรม จริยธรรม หลีกเลี่ยงโพสต์สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน :lol:

----------------------------------------------------------------------------------------

ramboboy26 ข้าคุยดีๆ ไม่เป็นหรอก ฝืนตัวเองได้ไม่นานเท่าไร ไม่ค่อยชอบสร้างภาพ

เป็นคน ดิบ เถื่อน แต่ไม่ถึงกลับถอย เจ้าแม่เหลืองอ๋อย นายเวรเคยไล่ปราบป่าราบหลายรายแล้ว :lol:

----------------------------------------------------------------------------------------

มักจะได้ยินคำถามบ่อย ๆ ประชาธิปไตยของเสื้อแดงรูปหน้าค่าตามันเป็นอย่างไร

ก็อย่างนี้แหละครับ หลักสำคัญ อย่างที่เข้าใจกัน จะได้ไม่ต้องมีคนมาถามอีก

เขาเข้าใจหลักการของมันดี ประเภท 70/30 ประชาธิปไตยแบบไทยๆ

ไม่เคยมีในตำราเล่มไหนเหมือน พี่ไทเรา เหอะ เหอะ :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 7:23 am
by usarain
ขอบคุณ คุณนายเวร ที่เอาบทความดี ๆ มาฝากกันครับ ทำให้ผมรักประเทศไทยมากขึ้น ผมว่าปัจจุบันเรามีประชาธิปไตยใกล้เคียงกับที่ คุณนายเวร คัดลอกมาให้อ่านกันมากเลยครับ โดยเฉพาะผู้นำรัฐบาลซึ่งเห็นความสำคัญของสิทธิและความเท่าเทียมกัน และหลักกฎหมาย เป็นอย่างมาก ที่ไม่ค่อยชอบใจก็ตอนปีสองปีที่แล้วที่มีผู้มาชุมนุมและบอกว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย ผมไม่เข้าใจครับว่ามันไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน ฟังหมอเหวงพูดก็ไม่รู้เรื่องเลย ผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่นและผู้ที่คิดไม่ตรงกัน ทั้งข่มขู่ คุกคาม ทำร้าย ออกข่าวมากมาย ทำให้ผมไม่พอใจมากครับ คุณนายเวร คงคิดเหมือนกันกับผมนะครับว่า พวกเสื้อแดงนี้ไม่มีจิตสำนึกประชาธิปไตยเลย ต่างจากบทความดี ๆ ที่ คุณนายเวร เอามาให้อ่านเป็นอย่างมากครับ ต้องประนามครับ

อ้อ คุณนายเวร คิดยังไงกับพวกแดงล้มเจ้าครับ ถ้าไม่เห็นด้วย ช่วยกันด่าหน่อยครับ

ไอ้พวกแดงล้มเจ้า ไอ้พวกชั่ว จักรภพ ใจ ดา ตอปิโด พวกชั่วทั้งนั้น

ช่วยด่า ดัง ๆหน่อยครับ ถ้าไม่ด่าอาจถูกทำให้คิดว่าเป็นแดงล้มเจ้าเหมือนกันนะครับ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 7:59 am
by usarain
คุณนายเวรไปตอบผมอีกกระทู้นึง ใช้ถ้อยคำดูถูกเหยียดหยาม ไม่ให้คุณค่าแก่ผม บอกว่าจะคุยกับเฉพาะคนที่มีค่ามีราคา ไม่รับความคิดเห็น นี่มันผิดกับบทความที่ คุณนายเวร เอามาให้อ่านนี่ครับ ผมเสียใจจัง คิดว่าเจอคนดี ๆที่เข้าใจประชาธิปไตยแล้วแท้ ๆ ว้า

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 8:37 am
by แตงโมเหลือง
ridkun_user wrote:หลักการทุกหลักการมันก็ดีหมดแหละครับถ้าพูดเฉพาะหลักการ :lol:



:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 8:42 am
by เพื่อนร่วมชาติ
ประชาธิปไตยแบบที่ผมเข้าใจเหรอ

ตามลายเซ็นผมข้างล่างนี่เลย :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 8:50 am
by นายเวร
ประชาธิปไตยก็เหมือนส้วมสาธารณะแบบนั่งเต็มตูด คนไทยใช้แล้วเลอะเทอะชิบเป๋ง

คุณเพื่อนร่วมชาติ

คุณโพสต์ไปแล้วตั้ง1764 ครั้ง ประชาธิปไตยของคุณเป็นแบบนี้ เห็นทีขยะออนไลน์คงตึม :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 9:05 am
by -3-
กระทู้เริ่มดีๆ มานั่งจับผิดลายเซ็นกันซะงั้น

ท่านนายเวรลองกัดลายเซ็นผมหน่อยละกันครับ :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 9:26 am
by ริวมะคุง
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ ตูนีเซีย
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ อียิปต์
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ ลิเบีย
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ พม่า
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ กัมพูชา
ประชาธิปไตย แล้วเป็นแบบ บาเรน

สุดท้ายแล้วเป็นยังงัย โถๆมันก็แค่บันไดของผู้อยากมีอำนาจเท่านั้นเอง น่าสมเพชจริงๆกับพวกคลั่งสิทธิของตัวเอง แต่ไม่เคยมองสิทธิของผู้อื่น

รัสเซียติงสหรัฐยัดเยียดรูปแบบประชาธิปไตยไม่ทำให้เกิดผลดี
http://www.muslimthai.com/main/1428/con ... 9&id=16855

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 10:10 am
by ae_mon
ส่วนใหญ่รู้จักคำว่า "ประชาธิปไตย"
แต่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติตามหลักการของประชาธิปไตย

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 10:18 am
by work by faith
ประชาธิปไตยคือ
คนหาเช้ากินค่ำรายได้ปีละไม่กี่แสนต้องเสียภาษี
คนรวยขายหุ้นได้ 7.3 หมื่นล้านก็ควรต้องเสียภาษีเหมือนกัน

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 10:19 am
by jaw
ทฤษฎี มันก็คือ ทฤษฎี นั่นแหละ แต่ในโลกของความจริง ไม่มีที่ไหนในโลกที่คนทุกคนเสมอภาคกันหมด มันก็มีสูงต่ำ เหลื่อมล้ำกันไปทุกที่ ต่างก็แค่ชื่อเรียกเท่านั้น

อันที่จริงเจ้าของกระทู้ควรสรุปมาในแบบที่ตัวเองเข้าใจจริงๆ ใช้ภาษาง่ายๆ สั้นๆ กระชับ เพื่อสะท้อนถึงความเข้าใจอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปยกบทความที่คนอื่นเขียนไว้มาให้อ่านแบบนี้ เพราะสิ่งที่คนอ่านได้เห็นก็คือ หลักการที่เป็นระเบียบแบบแผนของคนอื่นเท่านั้นเอง

สรุปในแบบที่เจ้าของกระทู้เข้าใจ ใช้ภาษาของตัวเองเขียน และที่สำคัญปรียบเทียบมันกับความไม่เป็นประชาธิปไตยในยุคนี้ให้ดูจะได้ภาพที่ชัดเจนกว่าค่ะ

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 10:48 am
by ขุนพลชิน
นายเวร wrote:หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย"

2. หลักเสรีภาพ ประชาชนทุกคนมีความสามารถในการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บุคคลต้องการ ตราบเท่าที่การกระทำของเขานั้น ไม่ไปละเมิดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือละเมิดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมและความมั่นคงของประเทศชาติ <<< มาเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ตัวเองทำผิดหลักที่ตัวเองอ้างเต็มๆ

1. เป็นคนที่มีเหตุผล ยอมรับเรื่องสิทธิหน้าที่ ความเป็นจริงในทางสังคม เคารพในตัวเอง เคารพในศีลธรรมและประโยชน์ร่วมกันของส่วนรวม <<< อันนี้ก็ไม่เคยทำ
2. มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเคารพซึ่งกันและกัน และมีความสามัคคี
3. เข้าใจความจำเป็นและประโยชน์ของการเข้ามาอยู่ร่วมกันเป็นพลเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกทุกคนในระยะยาว
4. เคารพกฏหมายและดำเนินชีวิตในกรอบของกฏหมายที่มีเหตุผลและเป็นธรรม << นี้ก็ไม่เค๊ย ไม่เคย
5. มีจิตใจเปิดกว้างและพร้อมที่ปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้
6. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบผูกพันกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป <<< นี้ยิ่งแล้วใหญ่


แค่นี้ละกานเยอะจนขี้เกียจแระ :lol: :lol:

Re: หลักการของระบอบ"ประชาธิปไตย" อย่างที่ผมเข้าใจ !?!

PostPosted: Thu Feb 24, 2011 10:53 am
by ริวมะคุง
คนรวยซื้อคนโง่ เหมาะมากๆเลยกับความหมายของประชาธิปไตยแบบไทยๆ :lol: