ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

เรื่องการเมือง เชิญที่นี่เลยครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

เชิญทุกท่านเข้าสู่บอร์ดใหม่ได้ที่ http://webboard.serithai.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ viewtopic.php?f=2&t=44976 ครับ

ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 10:15 am

สืบเนื่องจากไทยไม่สามารถจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund (SWF) ยังไม่ได้ซะที

http://www.ryt9.com/s/prg/404498

.... และยังมีอัตราเติบโตของ Foreign Exchange Reserve อย่างผิดปกติในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ..... เทียบกับ 20 - 30 ปีก่อน (ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 12 ของโลก หรือ ประมาณเกือบ 3 เท่าของงบประมาณประเทศ)

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_co ... e_reserves

http://namchiang.com/smf/index.php?topic=6684.0

และ http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/Ec ... erves.aspx

ทำให้เกิดภาระต่อการคลังประเทศในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท (ยังไม่แน่ใจถึงผลกระทบกับการเลือกเงิน USD ที่มีความผันผวนพอสมควรในหลายปีที่ผ่านมา ... ให้เป็นสกุลเงินหลักใน FX Reserve หรือ กว่า 85%)

.... ส่วนตัว ผมไม่แน่ใจว่า FX Reserve เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งใน Public Saving (Governement Saving) หรือไม่? (คิดว่าไม่นับ) ....
แต่อยากจะทราบเกี่ยวกับ Standing และ ประวัติความเป็นมาของ Public Saving ของไทย ..... และ ข้อมูลการเปรียบเทียบกับนานาประเทศคับ? (หลายๆ Cluster)
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 10:52 am

ข้อทดสอบบอร์ดเสรีไทย ....... รอดู rep
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby ชามู » Mon Mar 21, 2011 11:01 am

มารอเก็บตกความรู้ด้วยคนครับ
ชามู ปลาวาฬตัวใหญ่ ใจดี
User avatar
ชามู
 
Posts: 928
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:22 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 12:59 pm

ตกลง ประเทศไทยจะไปทางใหน (นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก) ในบอร์ดนี้ ไม่มีใครพอจะรู้อะไรเลยซักคนเลยหรอคับ?

ปล. คำถามเรื่อง FX Reserve เป็นส่วนประกอบใน Public Saving หรือไม่ >>> กำลังหาคำตอบในบอร์ด IMF จ้า ..... รอสมัครผ่านอยู่

http://forums.imf.org/index.php

เดี๋ยวอาจชวนคนบอร์ดนี้ไปแจมกับฝรั่งในบอร์ด IMF .... หุหุ
Last edited by Nemaki on Mon Mar 21, 2011 1:18 pm, edited 1 time in total.
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Rocky_man » Mon Mar 21, 2011 1:12 pm

ขุดรอดูด้วยไม่ได้เรียนเศฐรศาสตร์ :D
User avatar
Rocky_man
 
Posts: 525
Joined: Tue Apr 20, 2010 1:28 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby antiseptic » Mon Mar 21, 2011 1:33 pm

ผมจบ art-eng ครับ

(อยากตอบ แต่ไม่มีความรู้เลย :D )
"We all make choices. But in the end, our choices make us."
Andrew Ryan
User avatar
antiseptic
 
Posts: 4372
Joined: Sat Mar 27, 2010 11:04 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby ตามนั้น » Mon Mar 21, 2011 2:17 pm

คงต้องรอคุณYasuhiroแล้วละครับ แต่ตอนนี้ไม่รู้เป็นยังไงบ้าง :|
User avatar
ตามนั้น
 
Posts: 598
Joined: Wed Nov 25, 2009 12:46 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby คลำปม » Mon Mar 21, 2011 3:14 pm

ถ้าจะถามว่าตกลง ประเทศไทยจะไปทางใหน ในบอร์ดนี้ ผมไม่แน่ใจว่าจะมีคนตอบได้หรือเปล่านะครับ

หากต้องการคำตอบแบบจริงจังผมว่าน่าจะลองอีเมล์ไปถามคุณกรณ์ ดูครับ


ถ้ามาถามตามบอร์ดมันน่าจะได้แค่ข้อคิดเห็นเท่านั้น (ซึ่งไม่ใช่ทิศทางที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดจริงๆ)

ผมเองไม่ใช่กูรู คงตอบอะไรไม่ได้

ที่รู้เศรษฐศาสตร์ งูๆปลาๆก็เพราะเล่นหุ้นเท่านั้นเลยหาไอ้นู่นไอ้นี่อ่านไปเรื่อย


แต่ที่คุณ Nemaki ถามมาผมเห็นว่ามันขัดๆกันเองอยู่นะครับ

สืบเนื่องจากไทยไม่สามารถจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund (SWF) ยังไม่ได้ซะที


ผมกลับไม่รู้สึกว่าต้องรีบ สมัยหมอเลี๊ยบอยู่กระทรวงการคลัง เค้ามีแนวคิดจะเอา FX Reserve

ไปสร้างกำไรในพันธบัตรของสารพัดกองทุน ดีกว่าเก็บเงินไว้เปล่าๆ

ซึ่งตอนแฮมเบอร์เกอร์ไครซิส กองทุนพวกนี่ล่มสลายหมด

เป็นเดชะบุญของประเทศไทยครับที่ธนาคารแห่งประเทศไทยขวางไว้สำเร็จ ไม่งั้นป่านนี้ไทยเป็นกรีซไปแล้ว


.... และยังมีอัตราเติบโตของ Foreign Exchange Reserve อย่างผิดปกติในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ..... เทียบกับ 20 - 30 ปีก่อน (ปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 12 ของโลก หรือ ประมาณเกือบ 3 เท่าของงบประมาณประเทศ)


ผิดปรกติตรงไหนครับ ?

ถ้าเงินลงทุนต่างประเทศเข้ามาเยอะ FX Reserve ก็เยอะตาม

และผมเข้าใจ (เอาเอง) ว่ารัฐบาลต้องการให้ค่าเงินบาทนิ่งอยู่ในอัตราระหว่างนี้เพื่อคุมค่าเงินเฟ้ออีกที ทุนสำรองระดับนี้มันจึงสำคัญ

พวกกองโจร.. เอ้ย .. กองทุนเก็งกำไรค่าเงินต่างๆเขาก็ไม่กล้ามาตอแยครับ

เราจะอยู่ลำดับที่เท่าไหร่ผมว่าไม่สำคัญ (บ้างว่า 12,14 , 17 ส่วนตัวผมไม่เห็นความแตกต่าง)

เงินเข้ามาลงทุนมากมันก็เยอะ ถูกถอนออกไปมันก็ลด

จำสมัยบิ๊กจิ๋วก่อนเข้า IMF ได้ไหมครับตอนนั้นเกือบติดลบ ย่ำแย่กันทั้งประเทศเพราะการลงทุนแทบไม่มี

พอสมัยทักษิณเข้ามาต่อจากรัฐบาลชวน ทุนสำรองเพิ่มจากราวๆ 20,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 40,000 ล้านดอลลาร์แกคุยโม้ใหญ่ จนประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าทุนสำรองเป็นเงินของรัฐบาล

พอมารัฐบาลนี้ ขณะนี้ทุนสำรอง = 181,915.15 ล้านดอลลาร์ครับ ผมไม่เห็นคุณอภิสิทธิ์หรือคุณกรณ์เอามาโม้แต่อย่างใด

มันก็แค่เงินที่สำรองไว้เวลาต่างชาติเขาถอนการลงทุนเปลี่ยนบาทกลับมาเป็นดอลลาร์


ทำให้เกิดภาระต่อการคลังประเทศในการรักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท


ตรงนี้แหละครับที่ผมงงคุณ

มีน้อยกระทบครับ ถ้ามีมากยิ่งทำให้เงินบาทมีเสถียรภาพ

ยกตัวอย่างจีนครับเขามีมากอันดับ 1 ของโลก คุณดูสิครับว่าเขากำหนดค่าเงินหยวนได้ดั่งใจเลยแม้นจะเป็นการบิดเบือนตลาด


คงแสดง คห. ได้เท่านี้นะครับเพราะผมไม่ทราบว่าลึกๆคุณ Nemaki ต้องการอะไร เหมือนๆคุณจะมีคำตอบบางอย่างในใจ ทว่ามันซ่อนอยู่ในคำถาม

ผมไม่แน่ใจว่าตีความได้ถูกครับ.. อิ อิ
ถ้าอยากให้คนยอมรับเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่ก็ต้องรู้จักมารยาท รู้จักแสดงออกอย่างมีคุณภาพครับ...
User avatar
คลำปม
 
Posts: 1791
Joined: Sat Jan 08, 2011 6:58 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby ต้นหอม » Mon Mar 21, 2011 3:42 pm

อ่านจากคุณ คลำปม ทำให้เริ่มเข้าใจเจ้าของกระทู้มากขึ้น เพราะเรามันก็แค่คนรู้น้อยที่หาอ่านความรู้เศรษฐศาสตร์ไปวันๆ

ที่เข้ามาผิดปกติในช่วง2-3 ปีหลังน่าจะเป็นตราสารหนี้และเงินลงทุนในตลาดหุ้น เพราะต่างชาติต้องการพักเงินดอลไว้ในที่ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มกว่า จะเห็นได้ว่าเงินเข้าแถบเอเซียเยอะมาก ส่วนเงินลงทุนในภาคการลงทุนแท้จริงก็น่าจะเพิ่มขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว ตัวอันตรายที่เจ้าของกระทู้หมายถึงก็น่าจะเป็นตัวตราสารหนี้ แต่เราก็ไม่รู้อีกนั่นแหละว่าครบกำหนดในระยะสั้นหรือยาวมีอัตราส่วนแค่ไหนอย่างไร

ปกติอ่านแต่บทความที่เค้าวิเคราะห์มาแล้ว เรื่องหาตัวเลขนี่ไม่ถนัด ถ้ายังไงรบกวนเทียบแต่ละตัวในดุลการชำระเงินแต่ละประเภทได้มั้ยคะ จะได้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
User avatar
ต้นหอม
 
Posts: 898
Joined: Fri Nov 07, 2008 1:59 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 3:45 pm

ตอบนะครับ .....

1. สำคัญสุดตอนนี้ คือ รบกวนโปรดช่วยตอบคำถาม "อยากจะทราบเกี่ยวกับ Standing และ ประวัติความเป็นมาของ Public Saving ของไทย ..... และ ข้อมูลการเปรียบเทียบกับนานาประเทศคับ? (หลายๆ Cluster)" ......... Cluster ที่ว่า ผมหมายถึง เทียบ G8, NID, ASEAN และ ฯลฯ ครับ

2. ผมสงสัยว่าอัตราการเติบโตของ Foreign Exchange Reserve มันยังผิดปกติอยู่ดีนะคับ ถึงจะเอาตัวเลขเป่ะๆ ของ Trading Surplus / Foreign Investment ทั้ง Direct และใน Security มาคำนวณด้วย .... อันนี้ คงต้องไปดูว่ารัฐบาลเราเก็บ US Bonds เพิ่มขึ้นขนาดใหน เมื่อใหร่ ด้วยนะครับ

3. เรื่อง Foreign Exchange Reserve ของประเทศที่เป้นอันดับสูงๆ ของโลก .... ผมไม่เคยระบุนะครับ ว่าเป็นเรื่องที่ดี .... เพราะมันมีประเด็นอื่นๆ ที่เป็นคนละประเด็นกับการสะสมเอาไว้สู้กับ Hedge Funds (Mega-Speculator) นะครับ .... อย่างในอันดับโลกฯ ในลิงค์ข้างต้น .... ยังมีชื่อประเทศที่อาจมีปัญหาทางนโยบายการคลังอยู่ด้วยเลยครับ .... อาทิ ..... Brazil (#7), Algeria (#15), Mexico (#17) และ Libya (#20) ครับ
Last edited by Nemaki on Mon Mar 21, 2011 3:53 pm, edited 1 time in total.
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Rocky_man » Mon Mar 21, 2011 3:53 pm

ยิ่งเยอะมันยิ่งดีม่ะใช่เหรอสรุป เรามีมากเป็นที่12ของโลกม่ะดีเหรอชักงงละ เจ้าของกระทูเขียนเหมือนมันจะไม่ดีใครเก่งๆอธิบายทีงับจบนิติ:?
User avatar
Rocky_man
 
Posts: 525
Joined: Tue Apr 20, 2010 1:28 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby คลำปม » Mon Mar 21, 2011 4:39 pm

Nemaki wrote:ตอบนะครับ .....

1. สำคัญสุดตอนนี้ คือ รบกวนโปรดช่วยตอบคำถาม "อยากจะทราบเกี่ยวกับ Standing และ ประวัติความเป็นมาของ Public Saving ของไทย ..... และ ข้อมูลการเปรียบเทียบกับนานาประเทศคับ? (หลายๆ Cluster)" ......... Cluster ที่ว่า ผมหมายถึง เทียบ G8, NID, ASEAN และ ฯลฯ ครับ

ผมไม่เข้าใจคำว่า Public Saving ของไทย ที่คุณ Nemaki ยกมานะครับ

โดยปรกติ Public Saving หมายถึงเงินออมของชาตินั้นๆ ไม่ได้หมายถึงเงินที่รัฐบาลเอาไปฝากไว้

แต่คุณพิมพ์ถามๆมาเหมือนว่ารัฐบาลหรือประเทศเรามีเงินฝาก ซึ่งผมไม่ทราบเลย ความรู้ผมไม่ถึงจึงไม่สามารถตอบได้

เท่าที่ผมรู้มาคือรัฐบาลไม่มีเงินฝากครับ (กฎหมายไม่อนุญาตให้นำเงินไปฝากในธนาคารพาณิชย์เพื่อหาดอกผลใดๆ แข่งกับประชาชน)

และแม้นว่าเราจะมีเงินทุนสำรองมหาศาล แต่มันก็ไม่ใช่ของรัฐบาล มันเป็นหลักประกันของค่าเงินรัฐบาลบริหารจัดการได้ แต่นำไปใช้ไม่ได้

ส่วนเงินฝากของประชาชนรวมกันมันก็เท่ากับความมั่งคั่งของประเทศนั้นๆอยู่แล้ว

รัฐบาลจะมีก็แต่เงินคงคลัง เงินงบประมาณ ถ้ามีเงินรายได้เกินความคาดหมายก็ต้องนำไปใช้หนี้ ฯลฯ
(ทำงบประมาณขาดดุลได้ สมดุลได้ แต่ทำเกินดุลไม่ได้ครับ ถ้าเกินขึ้นมาจากรายได้มากกว่าเป้าหมายจะกลายเป็นเงินคงคลัง ซึ่งรัฐบาลจะใช้เงินคงคลังได้เพียง 5 ประการเท่านั้น คือ 1. ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2. ใช้ชำระหนี้ต่างประเทศ 3. ซื้อสินทรัพย์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ 4. ไถ่ถอนพันธบัตรของรัฐบาลก่อนกำหนด 5. กรณีต้องปฏิบัติตามกฎหมายแต่ไม่ได้ตั้งงบประมาณไว้เท่านั้น จะไปทำอย่างอื่นไม่ได้)




หรือหากประเทศรวยมากอยู่แล้ว ไม่มีหนี้ เงินล้นประเทศ

รัฐบาลก็ต้องให้ต่างประเทศกู้แล้วออกพันธบัตรเป็นหนี้ประชาชนแทน(แบบญี่ปุ่นซึ่งหนี้สาธารณะสูงสุด) รัฐบาลไม่ฝากเงินแข่งกับประชาชนหรอกครับรัฐบาลมีหน้าที่ใช้เงิน

เท่าที่ผมทราบมาผิวเผินเพียงเท่านี้


2. ผมสงสัยว่าอัตราการเติบโตของ Foreign Exchange Reserve มันยังผิดปกติอยู่ดีนะคับ ถึงจะเอาตัวเลขเป่ะๆ ของ Trading Surplus / Foreign Investment ทั้ง Direct และใน Security มาคำนวณด้วย .... อันนี้ คงต้องไปดูว่ารัฐบาลเราเก็บ US Bonds เพิ่มขึ้นขนาดใหน เมื่อใหร่ ด้วยนะครับ

ถ้าผิดปรกติผมต้องถามว่าจะผิดปรกติไปเพื่ออะไรครับ

รัฐบาลก็อยากมีเงินเอาไปใช้หนี้จะแย่ รถไฟฟ้าสารพัดสียังต้องกู้ญี่ปุ่นเลยครับ
(เงินทุนสำรองเกือบทั้งหมดของไทยอยู่ในต่างประเทศเป็นดอลลาร์เพื่อลดความเสี่ยงผกผันกับเงินบาท
ที่อยู่ในประเทศเป็นทองคำ มีอยู่เป็นส่วนน้อยมาก สินทรัพย์อย่างอื่นยิ่งน้อยลงไปอีกครับ จะเห็นว่าเป็นเงินสดพร้อมให้ใช้อยู่แล้ว ถ้าใช้ได้เราจะไปกู้ทำไม)


3. เรื่อง Foreign Exchange Reserve ของประเทศที่เป้นอันดับสูงๆ ของโลก .... ผมไม่เคยระบุนะครับ ว่าเป็นเรื่องที่ดี .... เพราะมันมีประเด็นอื่นๆ ที่เป็นคนละประเด็นกับการสะสมเอาไว้สู้กับ Hedge Funds (Mega-Speculator) นะครับ .... อย่างในอันดับโลกฯ ในลิงค์ข้างต้น .... ยังมีชื่อประเทศที่อาจมีปัญหาทางนโยบายการคลังอยู่ด้วยเลยครับ .... อาทิ ..... Brazil (#7), Algeria (#15), Mexico (#17) และ Libya (#20) ครับ


อันนี้ผมเห็นด้วยครับ เงินทุนสำรองไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวในการชี้วัดความสำเร็จของเศรษฐกิจ

ถ้าอยากให้คนยอมรับเสียงส่วนใหญ่ เสียงส่วนใหญ่ก็ต้องรู้จักมารยาท รู้จักแสดงออกอย่างมีคุณภาพครับ...
User avatar
คลำปม
 
Posts: 1791
Joined: Sat Jan 08, 2011 6:58 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 4:56 pm

ขอบคุณสำหรับคำตอบมากๆ ครับ ..... IMHO ผมยังมีประเด็นต้องค้นคว้าอีกพอควรเลยครับ .... โดยคำตอบที่ให้ ทำให้ได้ความกระจ่างแจ้งถึงแนวทางการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมครับ ^^
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby PinkDevil » Mon Mar 21, 2011 6:32 pm

ประเด็นเรื่อง การจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund

การทีปัจจุบันรัฐบาลยังไม่สามารถจัดตั้ง Sovereign Wealth Fund (SWF) ได้ ก็ไม่เห็นจะเป็นความผิดพลาดของรัฐบาลตรงไหน เพราะ SWF มันไม่ใช่ must have, must do คือ สิ่งที่ต้องมีหรือต้องทำ มันเป็นแค่แนวทางที่รัฐบาลในสมัยนั้นเสนอมา แต่ถ้าพิจารณาว่า SWF คือ อะไร และมีแนวทางการดำเนินการอย่างไร

http://www.ryt9.com/s/prg/404498
Sovereign Wealth Fund (SWF) หรือที่เรียกว่า กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ หมายถึง กองทุนของรัฐบาลที่มีทุนเป็นสินทรัพย์ต่างประเทศและมีการบริหารจัดการแยกจากสินทรัพย์อื่นๆ
ลักษณะการลงทุนที่ต่างไปจากการลงทุนประเภทอื่นๆ ของรัฐ โดยในบางกรณีเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทนสูงและเป็นการลงทุนระยะยาว หรือลงทุนในธุรกิจที่สามารถเป็นประโยชน์ในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว


จะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วมันก็เป็นแค่วาทกรรมเพื่อการหาเสียงของรัฐบาลในสมัยนั้นด้วยซ้ำ เพราะบอกกล่าวแค่ด้านดี หรือยกตัวอย่างแต่ความสำเร็จ คำถามที่ตามมาคือ ถ้าเลือกธุรกิจที่ผิดพลาดขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้น เพราะการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ยิ่งผลตอบแทนสูงเท่าไหร่ความเสี่ยงก็ยิ่งสูงเท่านั้น แล้ว จขกท เห็นหรือเปล่าคะ ว่า รัฐบาลในสมัยนั้นมีแนวคิดที่จะบริหารกองทุนนี้ โดยการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงแม้จะมีความเสี่ยงมากก็ถาม ขอให้เข้าใจอย่างหนึ่งนะคะ ว่าหน้าที่หลักของรัฐบาลต้องบริหารเศรษฐกิจของประเทศใหมีเสถียรภาพและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยง

ที่จริงอาจจะนับว่าเป็นบุญของประเทศด้วยซ้ำ ที่แนวคิดนี้ไม่สามารถทำสำเร็จได้ตอนนั้น เพราะถ้าทำสำเร็จ ตอนเกิด Hamburger crisis เมื่อตอนปลายๆปี 51 ไม่รู้ว่าประเทศไทยต้องสูญเงินสำรองระหว่างประเทศไปเท่าไหร่ กับแนวคิดนี้ของรัฐบาลในสมัยนั้น

ประเด็นเรื่อง Foreign Exchange Reserve


หรือคำง่ายๆว่าทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ที่ทุกคนคุ้นเคยกัน คงไม่มีใครรู้สึกว่าการที่ ทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับที่สูงจะนำพาประเทศไปสู่หายนะได้ เพราะทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ เป็นตัวชี้วัด ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยปกติแล้ว เงินบาทที่เราใช้กันอยู่ จะต้องมีทุนสำรองที่อาจจะเป็นทองคำ บัญชีเงินฝากที่ IMF หรือ เงิตราต่างประเทศ ค้ำไว้ที่ร้อยละ 60 ของ ดังนั้นยิ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากแค่ไหน ก็เหมือนกับประเทศไทยมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่รัฐบาลไปกู้เงินจากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจรจายอมจะต่ำกว่า เพราะความเสี่ยงที่ประเทศจะไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้คืนได้ มันก็จะน้อย

จึงไม่เข้าใจว่าด้วยเหตุผลอะไรถึงทำให้ จขกท ถึงแสดงออกถึงความกราดเกรี้ยว ที่ประเทศไทยมีทุนสำรองระหว่างประเทศสูงเป็นอันดับที่ 12 ของโลก จขกท ไม่รู้จริงๆว่ามีมากดีกว่ามีน้อย หรือว่าเพราะตอนนี้ประเทศไทยมีมาก เลยทำให้เอามาด่ารัฐบาลที่ จขกท เกลียดไม่ได้
To dream the impossible dream
To fight the unbeatable foe
To bear with unbearable sorrow
To run where the brave dare not go
To right the unrightable wrong
To love pure and chaste from afar
To try when your arms are weary
To reach the unreachable star
User avatar
PinkDevil
 
Posts: 835
Joined: Sat Feb 07, 2009 1:12 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Mr.Best » Mon Mar 21, 2011 6:40 pm

ผมรู้แบบงูๆปลาๆด้วยล่ะสิ :cry: :cry:
Last edited by Mr.Best on Mon Mar 21, 2011 6:45 pm, edited 1 time in total.
User avatar
Mr.Best
 
Posts: 706
Joined: Sun Apr 05, 2009 12:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby PinkDevil » Mon Mar 21, 2011 6:45 pm

ประเด็นเรื่อง Foreign Exchange Reserve กับ นโยบายการคลัง

จขกท ต้องทำความเข้าใจอย่างมากเลยนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ ไม่ได้เกี่ยวกันเลยคะ ทุนสำรองระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ แล้วยิ่งถ้า จขกท ไปเปิดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศดู ดูรายละเอียด จขกท จะเห็นว่า ที่มาที่ไปของ ทุนสำรองระหว่างประเทศ มาจากอะไร จะเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เกิดจากอะไร

ส่วนนโยบายการคลัง คือแนวทางของรัฐบาลที่จะเลือกใช้ การใช้จ่ายภาครัฐ หรือ เครื่องมือทางภาษี เพื่อกระตุ้น หรือ การชะลอเศรษฐกิจในภาวะการณ์ต่างๆ ดังนั้นมันไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย หรือว่าจริงๆแล้ว จขกท ต้องการหมายถึง ภาวะการคลังของประเทศ ลองเข้าบอกให้ชัดเจนหน่อยแล้วกันว่าต้องการสื่ออะไร เพราะกลัวตอบไป คำตอบจะไม่ตรงกับคำถาม

ประเด็นเรื่อง ภาระการคลังของประเทศ ต่อการรักษาเสถียรภาพเงินบาท

อีกครั้งที่ จขกท ต้องจัดระบบความคิดของตัวเองใหม่แล้วคะ ภาระการคลังกับการรักษาเสถียรภาพค่าเงินมันไม่เกี่ยวข้องกันเลย คิดแบบคนไม่รู้เรื่องเลยก็ได้ ว่าการรักษาเสถียรภาพค่าเงิน มันต้องใช้ในการแทรกแซง ดอลล่าร์ แต่การใช้จ่ายภาครัฐ ที่ จขกท เรียก ภาระการคลังอ่ะ มันเป็นการใช้จ่ายในประเทศผ่านงบประมาณไปยังภาคส่วนต่างๆ มันใช้ เงินบาท มันจะมาเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ในความเป็นจริงการดูแลเสถียรภาพค่าเงิน เป็นหน้าที่โดยตรงของ ธนาคารแห่งประเทศไทย และเหมือนๆกับแบงค์ชาติทุกประเทศในโลก ที่การดำเนินการในเรื่องนี้ แบงค์ชาติจะมีอิสระในการดำเนินนโยบายเพื่อรักษาเสถียรภาพและเพื่อประโยชน์ของประเทศ โดยที่รัฐบาลไม่สามารถสั่งได้

ประเด็นเรื่อง Public Saving

ขออนุญาตไม่ตอบ เพราะไม่เข้าใจว่า จขกท นิยาม Public Saving อย่างไร เป็น S ใน สมการ Y ???

ประเด็นสุดท้าย จขกท คะ ถ้าต้องการเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนๆสมาชิกในนี้ยินดีที่จะพูดคุยแลกเปลี่ยนค่ะ แต่วิธีการที่เข้ามาตั้งคำถามแล้วลงท้ายด้วย

ข้อทดสอบบอร์ดเสรีไทย ....... รอดู rep


หรือเข้ามาตั้งคำถามเชิงสั่งให้คนต้องเข้ามาตอบ ที่นี่เราเป็นเพื่อนกันค่ะ มาร่วมแสดงความเห็น แลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน บางท่านก็เอาความรู้เรื่องการก่อสร้างมาแบ่งปัน บางท่านก็เอาความรู้เรื่องเศรษฐกิจมาแบ่งปัน บางท่านเอาความรู้เรื่องการทหาร มาแบ่งปัน แต่ทุกท่านไม่ได้มีหน้าที่ ที่ต้องมาตอบคำถามใครตามสั่ง หวังว่าคำตอบที่ได้ไปจะทำให้ จขกทได้รับคำตอบที่จะทำให้ จขกท สามารถจัดระบบความคิด แก้ไขสิ่งที่เคยเข้าใจผิด ได้นะคะ
To dream the impossible dream
To fight the unbeatable foe
To bear with unbearable sorrow
To run where the brave dare not go
To right the unrightable wrong
To love pure and chaste from afar
To try when your arms are weary
To reach the unreachable star
User avatar
PinkDevil
 
Posts: 835
Joined: Sat Feb 07, 2009 1:12 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Mon Mar 21, 2011 6:45 pm

คำตอบข้างบน ... สำหรับผมแล้ว มีสาระที่อาจจะเป็นประโยชน์แค่นี้นะครับ "ยิ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากแค่ไหน ก็เหมือนกับประเทศไทยมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่รัฐบาลไปกู้เงินจากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจรจายอมจะต่ำกว่า" ..... แต่อย่างที่ทราบกัน การกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ มันมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องนะครับ

ผมสงสัยเรื่องนี้ เป็นการส่วนตัวนะครับ ..... ที่สำคัญ Optimism เป็นสิ่งที่ดีนะคับ

.... สงสัยว่าไทยเรา Debt Finance มากี่ปีแล้วหนิ? 10, 20, 30, 40 ปี?
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby PinkDevil » Mon Mar 21, 2011 7:06 pm

ในการเจรจาเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ มันมีหลายปัจจัยก็จริง แต่ปัจจัยหลัก คือ ความสามารถในการชำระหนี้คืน ถ้ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนสูง ในฝ่ายผู้ให้กู้ก็จะมองว่าความเสี่ยงในการให้กู้ต่ำ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียก ย่อมต่ำกว่าประเทศที่มีเครดิตต่ำกว่า

เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆกับระบบการกู้ของบุคคลหรือบริษัทเอกชนทั่วไป ทำไมบางคนได้ต้องจ่ายดอกเบี้ยที่ MLR +2 บางคนแค่ MLR บางคนได้ที่ MLR- 1 เพราะเครดิตของลูกค้าแต่ละคนไม่เท่ากัน คนที่มีเครดิตมากกว่าก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าคนที่มีเครคิตต่ำกว่า และเครคิตขอลูกค้าแต่ละคน คือ ทรัพย์สิน และความสามารถในการชำระหนี้คืน
To dream the impossible dream
To fight the unbeatable foe
To bear with unbearable sorrow
To run where the brave dare not go
To right the unrightable wrong
To love pure and chaste from afar
To try when your arms are weary
To reach the unreachable star
User avatar
PinkDevil
 
Posts: 835
Joined: Sat Feb 07, 2009 1:12 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby nithiphat » Tue Mar 22, 2011 5:41 am

Nemaki wrote:คำตอบข้างบน ... สำหรับผมแล้ว มีสาระที่อาจจะเป็นประโยชน์แค่นี้นะครับ "ยิ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากแค่ไหน ก็เหมือนกับประเทศไทยมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่รัฐบาลไปกู้เงินจากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจรจายอมจะต่ำกว่า" ..... แต่อย่างที่ทราบกัน การกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ มันมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องนะครับ

ผมสงสัยเรื่องนี้ เป็นการส่วนตัวนะครับ ..... ที่สำคัญ Optimism เป็นสิ่งที่ดีนะคับ

.... สงสัยว่าไทยเรา Debt Finance มากี่ปีแล้วหนิ? 10, 20, 30, 40 ปี?


ทำไมคุณ Nemaki ถึง arrogant อย่างนี้ล่ะครับ จะเอาแต่ criticise โดยไม่ share ความเห็น แบ่งปัน knowledge ให้คนอื่นบ้างหรือครับ
อ่านยังไงก็ไม่เห็นว่าคนถามอยากได้คำตอบ ถ้ารู้เรื่องอะไรดี ก็เอามาเขียนเผยแพร่แบบ Dr. Pornchokchai ก็ยังดีกว่านะครับ
User avatar
nithiphat
 
Posts: 660
Joined: Sat Apr 24, 2010 7:33 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby baezae » Tue Mar 22, 2011 7:11 am

nithiphat wrote:
Nemaki wrote:คำตอบข้างบน ... สำหรับผมแล้ว มีสาระที่อาจจะเป็นประโยชน์แค่นี้นะครับ "ยิ่งมีทุนสำรองระหว่างประเทศมากแค่ไหน ก็เหมือนกับประเทศไทยมีความสามารถในการชำระหนี้มากเท่านั้น ดังนั้นเวลาที่รัฐบาลไปกู้เงินจากต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เจรจายอมจะต่ำกว่า" ..... แต่อย่างที่ทราบกัน การกำหนดอัตรดอกเบี้ยเงินกู้ มันมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องนะครับ

ผมสงสัยเรื่องนี้ เป็นการส่วนตัวนะครับ ..... ที่สำคัญ Optimism เป็นสิ่งที่ดีนะคับ

.... สงสัยว่าไทยเรา Debt Finance มากี่ปีแล้วหนิ? 10, 20, 30, 40 ปี?


ทำไมคุณ Nemaki ถึง arrogant อย่างนี้ล่ะครับ จะเอาแต่ criticise โดยไม่ share ความเห็น แบ่งปัน knowledge ให้คนอื่นบ้างหรือครับ
อ่านยังไงก็ไม่เห็นว่าคนถามอยากได้คำตอบ ถ้ารู้เรื่องอะไรดี ก็เอามาเขียนเผยแพร่แบบ Dr. Pornchokchai ก็ยังดีกว่านะครับ


ผม really like คำตอบข้างบนครับ

ถ้าจะถามเพื่อ share ความรู้ หรือ attitude ผมว่าเจ้าของกระทู้คงต้องมีการ develop วิธีการใช้ภาษาหน่อยนะครับ ถ้าไม่อย่างนั้นวิธีการถามหรือตอบของคุณ มัน too arrogant อย่างที่ข้างบนบอกไว้ครับ อีกอย่าง ถ้าเห็นว่า optimism เป็นสิ่งที่ดี ทำไมเจ้าของกระทู้ถึงแสดงออกถึงคำถามที่แสดงว่าเป็นคน pessimistic อย่างนั้นละครับ

เปลี่ยนภาษาไปมาเหนื่อยเสียนี่กระไร
ถ้าคุณเป็นเสื้อเหลือง ผมคุยกับคุณได้ และหัวเราะให้กันได้
ถ้าคุณเป็นเสื้อแดง ผมก็คุยกับคุณได้ และหัวเราะใ้ห้กันได้
แต่ถ้าคุณเป็นควายล้มเจ้าไม่ว่าจะสีไหน ผมจะด่าอย่างเดียว
User avatar
baezae
 
Posts: 1144
Joined: Thu Feb 18, 2010 10:43 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby ต้นหอม » Tue Mar 22, 2011 8:18 am

แล้วความหมายของ public saving ของเจ้าของกระทู้ คืออะไร

รออ่านอยู่นะ
User avatar
ต้นหอม
 
Posts: 898
Joined: Fri Nov 07, 2008 1:59 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Tue Mar 22, 2011 9:29 am

เริ่มตอบบ้างบางส่วนครับ

Public Saving > http://en.wikipedia.org/wiki/National_savings

อย่างที่เห็นใน link คับ Public Saving ที่เป็น 1 ใน 2 ของ component ของ National Saving ..... ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะประสพความสำเร็จในการดำรง Public Saving ได้ตลอดเกือบทุกๆ ปี หรือออกรายงานแจงรายละเอียดให้แก่มวลชนทราบได้

อีกอย่าง .... ขออภัยเรื่องภาษาครับ .... พอดี ตอนแรกๆ กำลังกังวลว่าคนจะไม่เข้ามาตอบกันครับ เห็นกระทู้เริ่มตก

..... เดี๋ยวจะเอาบทความเกี่ยวกับ risk exposure ของการดำรง Foreign Exchange Reserve ไว้สูงๆ ครับ (จะให้ดีสุด คงต้องหาบทความของคนใน ธปท. เขียนเอง)
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby PinkDevil » Tue Mar 22, 2011 10:20 am

Nemaki wrote:เริ่มตอบบ้างบางส่วนครับ

Public Saving > http://en.wikipedia.org/wiki/National_savings

อย่างที่เห็นใน link คับ Public Saving ที่เป็น 1 ใน 2 ของ component ของ National Saving ..... ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะประสพความสำเร็จในการดำรง Public Saving ได้ตลอดเกือบทุกๆ ปี หรือออกรายงานแจงรายละเอียดให้แก่มวลชนทราบได้


ถ้าจากใน link ที่ จขกท ยกมา Public Saving ของ จขกท คือ การเกินดุลงบประมาณของรัฐบาล (ในแต่ละปี)

ทุกประเทศไม่สามารถประสบความสำเร็จในการดำรง Public Saving ได้ตลอดเกือบทุกๆปี ???

จริงค่ะ เพราะในการจัดทำงบประมาณในแต่ละปีของรัฐบาล รัฐบาลจะเลือกใช้การขาดดุลงบประมาณ สมดุลงบประมาณ หรือเกินดุลงบประมาณ เพื่อให้เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในแต่ละปีงบประมาณ ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ การบริโภคภาคครัวเรือนลด หรือ การลงทุนภาคเอกชนลด มันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือทางการคลังที่ตัวเองมี โดยการเพิ่มรายจ่ายภาครัฐ ทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณ คงไม่มีรัฐบาลประเทศไหนจะบ้าพอจะเลือกการเกินดุลงบประมาณ เพื่อประกาศว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในการดำเนินนโยบายเกินดุล (หรือ ดำรง Public Saving ตามนิยามของ จขกท)

รัฐบาลไม่สามารถออกรายงานแจงรายละเอียดให้แก่มวลชนได้ ???

ไม่จริงค่ะ เพราะอย่างที่บอก Public Saving ของเ จขกท คือ การเกินดุลงบประมาณ รัฐบาลไทยจะต้องจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่ายในแต่ละปี เสนอเป็นกรอบงบประมาณรวมทั้งรายละเอียดการใช้จ่ายเสนอต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ด้วยค่ะ มันไม่ใช่ความลับอะไร หรือถ้าอยากเปิดดูย้อนหลังไป สิบ ยี่สิบปี ก็ยังได้นะคะ สามารถหาได้ที่ สำนักงบประมาณค่ะ

ทีจริงถ้า จขกท มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้สักนิดหนึ่ง คงจะไม่ตั้งคำถามที่สับสนในความคิดตัวเองเช่นนี้ แล้วจริงๆถ้า จขกท รู้ว่า Public Saving ที่ จขกท ยกมา คือ การเกิดดุลงบประมาณ (T-G) จขกท คงจะไม่มาตั้งคำถามเหล่านี้ด้วยซ้ำ
To dream the impossible dream
To fight the unbeatable foe
To bear with unbearable sorrow
To run where the brave dare not go
To right the unrightable wrong
To love pure and chaste from afar
To try when your arms are weary
To reach the unreachable star
User avatar
PinkDevil
 
Posts: 835
Joined: Sat Feb 07, 2009 1:12 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Tue Mar 22, 2011 10:25 am

งั้นแก้ใหม่คับ ...... จะได้ไม่เกิดการเข้าใจผิด

ไม่ใช่ทุกประเทศที่จะประสพความสำเร็จในการดำรง Public Saving ได้ตลอดเกือบทุกๆ ปี และ ไม่ใช่ทุกประเทศจะสามารถ ออกรายงานแจงรายละเอียดให้แก่มวลชนทราบได้

ตัว font สีแดง คือข้อความที่แก้ไขครับ
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Torres_No9 » Tue Mar 22, 2011 10:41 am

Nemaki wrote:ตกลง ประเทศไทยจะไปทางใหน (นี่เป็นเรื่องใหญ่มาก) ในบอร์ดนี้ ไม่มีใครพอจะรู้อะไรเลยซักคนเลยหรอคับ?


ตกลงเจ้าของกระทู้รู้แล้วหรือยังครับว่าจะถามอะไรกันแน่ :?:
กลุ่มเพื่อนลูคัส ++
User avatar
Torres_No9
 
Posts: 1091
Joined: Thu May 20, 2010 2:47 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Tue Mar 22, 2011 11:39 am

ขอโทษด้วยนะครับ ที่ผมถามไม่ตรงคำตอบ .... และ

ถึงอย่างไรก็ดี ... จากข้อความโพสท์ตอบทั้งหมดที่อ่านมา .... ผมได้คำตอบของคำถามในระดับที่ผมพึงพอใจแล้วนะครับ ทำให้เข้าใจองค์ประกอบของประเด็นฯ ที่อาจเป็นปัญหาได้ขึ้นพอสมควรครับ .... ขอขอบคุณ user ที่เข้ามาตอบกระทู้ทุกๆ ท่านครับ
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Torres_No9 » Tue Mar 22, 2011 11:52 am

เท่าที่ผมอ่าน ผมว่าคุณชมพูเค้าตอบตรงคำถามนะครับ แต่บังเอิญเจ้าของคำถามน่าจะไม่มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่ยกมาถามมากกว่า
เพราะทุกอย่างมันสับสนมั่วซั่วไปหมด เจ้าของกระทู้โชคดีที่มาเล่นบอร์ดนี้ ที่ไม่มีกูรู้เข้ามาดูถูกคนอื่นที่ไม่รู้จริง ++
กลุ่มเพื่อนลูคัส ++
User avatar
Torres_No9
 
Posts: 1091
Joined: Thu May 20, 2010 2:47 am

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby Nemaki » Tue Mar 22, 2011 12:27 pm

ยินดีน้อมรับ comment ทั้งแง่บวกและลบ .... อดีตก็คืออดีต .... และไม่เสียใจในการพิมพ์โพสท์ข้อความที่ได้โพสท์ไปแล้ว ...... และ ... สำหรับครั้งต่อไป ผมจะต่อยอดไปยัง 1 ในประเด็นที่สำคัญ (IMHO) ก็คือ 'exchange rate protectionism'
User avatar
Nemaki
 
Posts: 49
Joined: Fri Mar 18, 2011 2:52 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby halfmoon » Wed Mar 23, 2011 4:42 am

ประเทศไทยมีห้างทองเยอะ คนไทยใส่ทองหยองเต็มบาทเต็มเมือง นี่ไงคือ citizen saving มันแน่นอนกว่า public saving

นี่ยังไม่นับเครื่องลางของขลัง พระเครื่อง ปลัดขลิกนะครับ พระกรุนาดูนก็พอขายได้ ฝรั่งชอบ อันนี้เป็น citizen saving :lol:
  • อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง
User avatar
halfmoon
 
Posts: 10731
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:34 pm

Re: ถามกูรู เรื่อง Public Saving ของไทยครับ

Postby halfmoon » Wed Mar 23, 2011 4:44 am

Nemaki wrote:ข้อทดสอบบอร์ดเสรีไทย ....... รอดู rep


ปลัดขลิก พอเป็นตัวชี้วัดกรึ๋นเสรีไทยได้มั๊ยครับ :lol:
  • อธิปัตย์ 5 : อิสรภาพ เสรีภาพ ภราดรภาพ มิตรภาพ สันติภาพ : คือแก่นแท้แห่งอำนาจประชาธิปไตย : ท่านมีหรือยัง ถ้าไม่ จงสร้างเอง
User avatar
halfmoon
 
Posts: 10731
Joined: Wed Nov 19, 2008 11:34 pm

Next

Return to สภากาแฟ



cron