เรื่องเล่าพระเจ้าตาก

สมาชิกได้สนทนากันเรื่องพระเจ้าตากในหลายประเด็น ผมจึงคิดว่าตั้งเป็นหัวข้อเฉพาะไปเลยดีกว่า เพื่อจะชี้ว่าการเปลี่ยนแผ่นดินจากกรุึงธนบุรีมาเป็นรัตนโกสินทร์นั้น มีหลักฐานอะไรที่เราจะสอบค้นได้บ้าง
พวกล้มเจ้าใช้ความได้เปรียบที่ประวัติศาสตร์ไทยนั้นคลุมเครือ เอามาเสริมแต่งจนสามารถสร้างเป็นข้อกล่าวหาให้ร้ายสถาบันได้ ผมขอเสนอหลักฐานให้อ่านกันเอาเอง อ่านแล้วจะคิดอย่างไร เป็นสิทธิของท่าน
ประชุมพงศาวดารภาค ๓๙
http://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๓๙
เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กับครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรตอนต้น
ก่อนจะอ่าน ขอเล่าประวัติของเอกสารสักเล็กน้อย
พวกบาทหลวงที่มาเผยแพร่ศาสนาในสยาม จะต้องส่งบันทึกเหตุการณ์กลับไปยังต้นสังกัด เอกสารชุดนี้มีมากมายมหาศาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้คัดมาจากฝรั่งเศส ดูเหมือนจะมียอร์ช เซแดสเป็นผู้ดำเนินการ จดหมายเหล่านี้ในทางวิชาการถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูง เพราะเป็นรายงานที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่เรื่องแต่งที่อาจจะใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปได้อย่างแนบเนียน และเนื่องจากพวกบาทหลวงไม่ได้มีส่วนได้เสียกับเหตุการณ์ จึงน่าเชื่อว่าจะไม่มีการโกหก เว้นแต่รับฟังมาผิดก็จะรายงานไปผิด แต่การรายงานผิดอย่างนี้ เราสามารถตรวจสอบจากเอกสารอื่น หรือพิจารณาจากเนื้อความภายใน ก็พอจะประเมินความน่าเชื่อถือได้
รายงานเหล่านี้ ทำต่อเนื่องมาคั้งแต่สมัยพระนารายณ์มาจนกรุงแตก เข้าสู่กรุงธนบุรีและต่อมาถึงต้นรัชกาลที่ ๑ นับว่ามีความสำคัญและน่าอ่านมิใช่น้อย
ผมขอตัดตอนเฉพาะที่เกี่ยวกับพระเจ้าตากมาดังนี้
-------------------------------------
เรื่องพระเจ้าตากละราชสมบัติ และถูกปลงพระชนม์
จดหมายเหตุของมองซิเออร์เดอคูร์วิแยร์ วันที่ ๒๑ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕)
คนทั้งหลายคงจะอยากทราบการเกิดขบถขึ้นในเมืองไทย ข้าพเจ้าจะได้เล่าให้ฟังอย่างย่อ ๆตามเรื่องที่ข้าพเจ้าได้ทราบมาจากจดหมายที่มีผู้เขียนมาถึงข้าพเจ้าจากเมืองไทยบ้าง ได้ทราบมาจากข้าราชการไทยคน ๑ กับคนเข้ารีดคน ๑ ซึ่งได้มาพักอยู่ที่นี่ได้ เดือน ๑ แล้วบ้าง
เมื่อหลายปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าตากได้กดขี่ใต้ฟ้าข้าแผ่นดินและชาวต่างประเทศ ที่เข้าไปอยู่หรือไปทำการค้าขายในเมืองไทยอย่างสาหัสมาก เมื่อปีกลายนี้พวกจีนซึ่งเคยได้ไปค้าขายในเมืองไทย ต้องละทิ้งทรัพย์สมบัติหนีไปหมดด้วยทนความกดขี่ของพระเจ้าตากไม่ไหว มาในปีนี้พระเจ้าตากซึ่งเสียพระสติแล้วนั้น ได้กลับกดขี่ข่มเหงพวกพลเมืองมากกว่าเก่าขึ้นอีกหลายเท่า บางทีก็จับพระสนมหรือพระราชโอรสผู้เปนรัชทายาท หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จำตรวนเสียบ้าง ลงพระอาญาเฆี่ยนเสียบ้าง แล้วแต่พระทัยจะฉุนเฉียวกลับกลอกอย่างไร ก็ทำเอาตามพระทัยทั้งสิ้น บางคนก็ถูกบังคับให้รับผิดในสิ่งที่ตัวไม่รู้เรื่องเลยก็มี เพื่อจะได้ ปรับผู้นั้นเกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้นั้นจะมีให้ได้ บางคนก็ถูกพระเจ้าตากบังคับให้ซัดคนโน้นคนนี้ซึ่งหาความผิดมิได้แต่เปนคนที่มีเงิน เพื่อจะได้ปรับเอาเงินเข้าท้องพระคลังให้มาก ๆ ข้าราชการเข้ารีด ๒ คนได้ถูกซัดเช่นนี้ พระเจ้าตากก็ลงพระราชอาญาเฆี่ยน จนคน ๑ ทนความเจ็บปวดที่ถูกเฆี่ยนไม่ไหวก็เลยตาย
การที่พระ เจ้าตากทรงประพฤติเช่นนี้ ทำให้ราษฎรพลเมืองตลอดถึงเจ้าพนักงารข้าราชการเกลียดเปนอันมาก ข้าราชการบางคนซึ่งได้รับ ๆ รับสั่ง ให้ทำการข่มเหงต่าง ๆ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็ลงปรึกษากันว่า " เราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราไม่ทำตามรับสั่งเราก็จะถึงที่ตาย ถ้าเราคงทำตามรับสั่ง ราษฎรก็จะเกลียดเราเท่ากับที่เขาเกลียดพระเจ้าแผ่นดินอยู่แล้ว และเราก็คงจะไม่พ้นมือพวกราษฎรเปนแน่ " เมื่อข้าราชการได้ปรึกษากันดังนี้แล้ว จึงได้ตกลงกันจะยุให้ราษฎรเปนจลาจลขึ้น เพราะราษฎรก็คอยจะลุกอยู่แล้ว และเต็มใจที่จะทำตามคำแนะนำของข้าราชการเหล่านี้
ครั้นเวลา ๒ ยาม ข้าราชการกับราษฎรได้ตรงไปล้อมพระราชวังและได้พยายามที่จะเข้าไปในพระราชวังให้จงได้ แต่พวกทหารเข้ารีด ๓๖ คนซึ่งมีหน้าที่รักษาพระราชวัง ได้เอาปืนใหญ่ปืนเล็กและอาวุธต่าง ๆ ต่อสู้ และได้ต้านพวกจลาจลไว้จนตลอดสว่าง พวกจลาจลหาเข้าไปในพระราชวังได้ไม่ พวกจลาจลจึงได้ล้อมพระราชวังไว้มิให้ใครเข้าออกได้ รุ่งขึ้นพระเจ้าตากทรงเห็นว่าจะสู้พวกจลาจลไม่ได้เสียแล้ว จึงได้ทรงขอร้องจะทรงผนวช หัวหน้าพวกขบถก็ยอมให้พระเจ้าตากได้ทรงผนวชตามพระราชประสงค์
พระเจ้าตากจึงได้ปลงพระเกศา ทรงครองผ้าเหลือง แล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้พวกขบถ เข้าไปในพระราชวังได้ ข้าราชการจึงได้นำความไปแจ้งต่อขุนนางสำคัญของเมืองนี้ ๒ คน ซึ่งเวลานั้นกำลังไปทัพทางเมืองเขมรและเมืองญวน ขุนนางทั้งสองนี้พอได้ทราบถึงเรื่องที่เกิดในกรุง ก็ได้จัดทหารและนายทหารให้รีบลงไปที่บางกอกโดยเร็ว พอทหารและนายทหารเหล่านี้ได้ลงมาถึงบางกอก ก็ได้มาเปลื้องผ้าเหลืองออกจากพระองค์พระเจ้าตาก แล้วได้เอาพระเจ้าตากจำตรวนไว้ อีกสองสามวันขุนนางที่สำคัญ ๒ คนนั้น คืออรรคมหาเสนาบดี และเปนแม่ทัพของกองทัพไทยก็ลงมาถึงบางกอก ขุนนางทั้งสองนี้เปนพี่น้องกัน ผู้พี่นั้นเปนอรรคมหาเสนาบดี พอได้มาถึงบางกอก* อาณาประชาราษฎรก็ได้อัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทีเดียว
* ในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า มาถึงเมืองไทย(Siam) ตั้งแต่ต้นเรื่องมาแล้วภาษา ฝรั่งเศสไม่ได้ออกชื่อกรุงธนบุรีเลย เคยแต่เรียกว่าบางกอก เพราะฉนั้นในที่นี้จึงใช้ ตามคำเดิมของภาษาฝรั่งเศสว่าบางกอก
------------
(ยังมีต่อ)
เมื่ออ่านแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือ อย่าเพิ่งเชื่อ จะเห็นว่า แม้แต่คนบันทึก ก็บอกว่าฟังเขามาอีกที ให้เก็บใจความสำคัญไว้ รอตรวจสอบกับหลักฐานอื่นๆ
เล่นเรื่องเก่า ก็สนุกตรงนี้แหละครับ
พวกล้มเจ้าใช้ความได้เปรียบที่ประวัติศาสตร์ไทยนั้นคลุมเครือ เอามาเสริมแต่งจนสามารถสร้างเป็นข้อกล่าวหาให้ร้ายสถาบันได้ ผมขอเสนอหลักฐานให้อ่านกันเอาเอง อ่านแล้วจะคิดอย่างไร เป็นสิทธิของท่าน
ประชุมพงศาวดารภาค ๓๙
http://th.wikisource.org/wiki/ประชุมพงศาวดาร_ภาคที่_๓๙
เรื่องจดหมายเหตุของคณะบาดหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศ กับครั้งกรุงธนบุรีแลกรุงรัตนโกสินทรตอนต้น
ก่อนจะอ่าน ขอเล่าประวัติของเอกสารสักเล็กน้อย
พวกบาทหลวงที่มาเผยแพร่ศาสนาในสยาม จะต้องส่งบันทึกเหตุการณ์กลับไปยังต้นสังกัด เอกสารชุดนี้มีมากมายมหาศาล สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดให้คัดมาจากฝรั่งเศส ดูเหมือนจะมียอร์ช เซแดสเป็นผู้ดำเนินการ จดหมายเหล่านี้ในทางวิชาการถือว่ามีความน่าเชื่อถือสูง เพราะเป็นรายงานที่ต่อเนื่อง ไม่ใช่เรื่องแต่งที่อาจจะใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปได้อย่างแนบเนียน และเนื่องจากพวกบาทหลวงไม่ได้มีส่วนได้เสียกับเหตุการณ์ จึงน่าเชื่อว่าจะไม่มีการโกหก เว้นแต่รับฟังมาผิดก็จะรายงานไปผิด แต่การรายงานผิดอย่างนี้ เราสามารถตรวจสอบจากเอกสารอื่น หรือพิจารณาจากเนื้อความภายใน ก็พอจะประเมินความน่าเชื่อถือได้
รายงานเหล่านี้ ทำต่อเนื่องมาคั้งแต่สมัยพระนารายณ์มาจนกรุงแตก เข้าสู่กรุงธนบุรีและต่อมาถึงต้นรัชกาลที่ ๑ นับว่ามีความสำคัญและน่าอ่านมิใช่น้อย
ผมขอตัดตอนเฉพาะที่เกี่ยวกับพระเจ้าตากมาดังนี้
-------------------------------------
เรื่องพระเจ้าตากละราชสมบัติ และถูกปลงพระชนม์
จดหมายเหตุของมองซิเออร์เดอคูร์วิแยร์ วันที่ ๒๑ เดือนธันวาคม ค.ศ. ๑๗๘๒ (พ.ศ. ๒๓๒๕)
คนทั้งหลายคงจะอยากทราบการเกิดขบถขึ้นในเมืองไทย ข้าพเจ้าจะได้เล่าให้ฟังอย่างย่อ ๆตามเรื่องที่ข้าพเจ้าได้ทราบมาจากจดหมายที่มีผู้เขียนมาถึงข้าพเจ้าจากเมืองไทยบ้าง ได้ทราบมาจากข้าราชการไทยคน ๑ กับคนเข้ารีดคน ๑ ซึ่งได้มาพักอยู่ที่นี่ได้ เดือน ๑ แล้วบ้าง
เมื่อหลายปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าตากได้กดขี่ใต้ฟ้าข้าแผ่นดินและชาวต่างประเทศ ที่เข้าไปอยู่หรือไปทำการค้าขายในเมืองไทยอย่างสาหัสมาก เมื่อปีกลายนี้พวกจีนซึ่งเคยได้ไปค้าขายในเมืองไทย ต้องละทิ้งทรัพย์สมบัติหนีไปหมดด้วยทนความกดขี่ของพระเจ้าตากไม่ไหว มาในปีนี้พระเจ้าตากซึ่งเสียพระสติแล้วนั้น ได้กลับกดขี่ข่มเหงพวกพลเมืองมากกว่าเก่าขึ้นอีกหลายเท่า บางทีก็จับพระสนมหรือพระราชโอรสผู้เปนรัชทายาท หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จำตรวนเสียบ้าง ลงพระอาญาเฆี่ยนเสียบ้าง แล้วแต่พระทัยจะฉุนเฉียวกลับกลอกอย่างไร ก็ทำเอาตามพระทัยทั้งสิ้น บางคนก็ถูกบังคับให้รับผิดในสิ่งที่ตัวไม่รู้เรื่องเลยก็มี เพื่อจะได้ ปรับผู้นั้นเกินกว่าจำนวนเงินที่ผู้นั้นจะมีให้ได้ บางคนก็ถูกพระเจ้าตากบังคับให้ซัดคนโน้นคนนี้ซึ่งหาความผิดมิได้แต่เปนคนที่มีเงิน เพื่อจะได้ปรับเอาเงินเข้าท้องพระคลังให้มาก ๆ ข้าราชการเข้ารีด ๒ คนได้ถูกซัดเช่นนี้ พระเจ้าตากก็ลงพระราชอาญาเฆี่ยน จนคน ๑ ทนความเจ็บปวดที่ถูกเฆี่ยนไม่ไหวก็เลยตาย
การที่พระ เจ้าตากทรงประพฤติเช่นนี้ ทำให้ราษฎรพลเมืองตลอดถึงเจ้าพนักงารข้าราชการเกลียดเปนอันมาก ข้าราชการบางคนซึ่งได้รับ ๆ รับสั่ง ให้ทำการข่มเหงต่าง ๆ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วนั้น ก็ลงปรึกษากันว่า " เราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราไม่ทำตามรับสั่งเราก็จะถึงที่ตาย ถ้าเราคงทำตามรับสั่ง ราษฎรก็จะเกลียดเราเท่ากับที่เขาเกลียดพระเจ้าแผ่นดินอยู่แล้ว และเราก็คงจะไม่พ้นมือพวกราษฎรเปนแน่ " เมื่อข้าราชการได้ปรึกษากันดังนี้แล้ว จึงได้ตกลงกันจะยุให้ราษฎรเปนจลาจลขึ้น เพราะราษฎรก็คอยจะลุกอยู่แล้ว และเต็มใจที่จะทำตามคำแนะนำของข้าราชการเหล่านี้
ครั้นเวลา ๒ ยาม ข้าราชการกับราษฎรได้ตรงไปล้อมพระราชวังและได้พยายามที่จะเข้าไปในพระราชวังให้จงได้ แต่พวกทหารเข้ารีด ๓๖ คนซึ่งมีหน้าที่รักษาพระราชวัง ได้เอาปืนใหญ่ปืนเล็กและอาวุธต่าง ๆ ต่อสู้ และได้ต้านพวกจลาจลไว้จนตลอดสว่าง พวกจลาจลหาเข้าไปในพระราชวังได้ไม่ พวกจลาจลจึงได้ล้อมพระราชวังไว้มิให้ใครเข้าออกได้ รุ่งขึ้นพระเจ้าตากทรงเห็นว่าจะสู้พวกจลาจลไม่ได้เสียแล้ว จึงได้ทรงขอร้องจะทรงผนวช หัวหน้าพวกขบถก็ยอมให้พระเจ้าตากได้ทรงผนวชตามพระราชประสงค์
พระเจ้าตากจึงได้ปลงพระเกศา ทรงครองผ้าเหลือง แล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้พวกขบถ เข้าไปในพระราชวังได้ ข้าราชการจึงได้นำความไปแจ้งต่อขุนนางสำคัญของเมืองนี้ ๒ คน ซึ่งเวลานั้นกำลังไปทัพทางเมืองเขมรและเมืองญวน ขุนนางทั้งสองนี้พอได้ทราบถึงเรื่องที่เกิดในกรุง ก็ได้จัดทหารและนายทหารให้รีบลงไปที่บางกอกโดยเร็ว พอทหารและนายทหารเหล่านี้ได้ลงมาถึงบางกอก ก็ได้มาเปลื้องผ้าเหลืองออกจากพระองค์พระเจ้าตาก แล้วได้เอาพระเจ้าตากจำตรวนไว้ อีกสองสามวันขุนนางที่สำคัญ ๒ คนนั้น คืออรรคมหาเสนาบดี และเปนแม่ทัพของกองทัพไทยก็ลงมาถึงบางกอก ขุนนางทั้งสองนี้เปนพี่น้องกัน ผู้พี่นั้นเปนอรรคมหาเสนาบดี พอได้มาถึงบางกอก* อาณาประชาราษฎรก็ได้อัญเชิญให้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติทีเดียว
* ในภาษาฝรั่งเศสใช้คำว่า มาถึงเมืองไทย(Siam) ตั้งแต่ต้นเรื่องมาแล้วภาษา ฝรั่งเศสไม่ได้ออกชื่อกรุงธนบุรีเลย เคยแต่เรียกว่าบางกอก เพราะฉนั้นในที่นี้จึงใช้ ตามคำเดิมของภาษาฝรั่งเศสว่าบางกอก
------------
(ยังมีต่อ)
เมื่ออ่านแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือ อย่าเพิ่งเชื่อ จะเห็นว่า แม้แต่คนบันทึก ก็บอกว่าฟังเขามาอีกที ให้เก็บใจความสำคัญไว้ รอตรวจสอบกับหลักฐานอื่นๆ
เล่นเรื่องเก่า ก็สนุกตรงนี้แหละครับ