คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

เรื่องการเมือง เชิญที่นี่เลยครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

เชิญทุกท่านเข้าสู่บอร์ดใหม่ได้ที่ http://webboard.serithai.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ viewtopic.php?f=2&t=44976 ครับ

คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby พุฒิพงศ์ » Sat Oct 25, 2008 5:27 pm

มติมหาชน กับ กฎหมู่ บนวิถีประชาธิปไตยที่ไม่หลงทาง
โดย ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสแห่งวงการนิติศาสตร์ไทย

กระแสความปั่นป่วนทางการเมือง อันเกิดจากการเรียกร้องบางประการของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บทความนี้จึงขอนำหลักวิชาการบริสุทธิ์ ซึ่งศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้บรรยายลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย ที่เกี่ยวข้องสอดรับกับกระแสความวุ่นวายในปัจจุบัน ไว้อย่างน่ารับฟัง ในเรื่องประชามติ มติมหาชน และ กฎหมู่ ความดังนี้


“ในระบอบประชาธิปไตยนั้น วิธีการที่จะทำให้รัฐบาลทราบเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศได้ คือ ประชามติ และมติมหาชน สำหรับประชามตินั้นเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดให้มีการลงคะแนนโดยประชาชนทั้งประเทศ จึงไม่มีปัญหาแต่ประการใด แต่ที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยก็คือ มติมหาชน และ กฎหมู่


อย่างไรก็ตาม แม้มติมหาชนจะไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองไว้โดยปริยาย นั่นคือการแสดงความคิดเห็น อภิปราย ถกเถียง และเสนอแนะโดยมีเหตุผล จนรัฐบาลหรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นคล้อยตามด้วย และในการรวบรวมมติมหาชนนี้ จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดกฎหมาย อาทิ ไม่มีการชุมนุมโดยมีอาวุธ หรือ ไม่มีการปลุกระดมมวลชน โดยมุ่งหมายจะก่อให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง


มติมหาชนที่ปรากฏออกมาจากประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศนั้น ย่อมมีลักษณะเป็นเครื่องชี้แนะทางให้รัฐบาลและรัฐสภา ดำเนินการเท่านั้น หาได้มีลักษณะบีบบังคับหรือกดดันให้รัฐบาลหรือรัฐสภาจำต้องกระทำตามไม่


ส่วนกฎหมู่นั้น เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับประชามติ และ มติมหาชนอย่างชัดแจ้ง เพราะกฎหมู่นั้นเอง ย่อมมีลักษณะเป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักในการปกครองประเทศ เพื่อความสงบสุขของประชาชนอยู่ในตัว อาทิ มีอาวุธในการชุมนุม หรือมีเจตนาพิเศษในการชุมนุม เช่น มีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือเรียกร้องให้ล้มเลิกกฎหมาย หรือให้ถอดถอนตัวบุคคลในคณะรัฐบาล หรือ รัฐสภา อันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา


ที่สำคัญที่สุดก็คือ การยกข้ออ้างในเรื่องคนที่มาชุมนุม ซึ่งอาจมาร่วมโดยความเห็นด้วยหรือต้องการมาดูเหตุการณ์ แล้วอ้างว่า เป็นมติมหาชนที่รัฐบาลและรัฐสภาจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นลักษณะของการบีบบังคับรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ให้ใช้ดุลยพินิจโดยอิสระในการวินิจฉัยปัญหานั้นได้


ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การชุมนุมนั้นเอง อาจมีการข่มขู่รัฐบาลโดยจำนวนคน หรือโดยวิธีการอันมิชอบด้วยกฎหมาย แสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลบางคนในรัฐบาลหรือรัฐสภา สร้างความวุ่นวายยุ่งเหยิงขึ้นในบ้านเมือง พอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็พยายามบิดเบือนให้เห็นว่า นั่นเป็นการใช้อำนาจรัฐคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ


ซ้ำยังอ้างว่า การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ เป็นการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐบาล


จริงอยู่ การชุมนุมกันแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เป็นสิ่งที่กระทำได้และพึงกระทำในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้รัฐบาลได้รับทราบความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนได้ทางหนึ่ง อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจ หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ตกอยู่กับรัฐบาลซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนทั้งประเทศ จึงต้องปล่อยให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐบาล ในการวินิจฉัยปัญหานั้น ๆ การยื่นคำขาดก็ดี การบีบบังคับก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย”



อ้างอิง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร , ระบอบประชาธิปไตย , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว) , ๒๕๒๐ , หน้า ๖๙ – ๗๐ .
User avatar
พุฒิพงศ์
 
Posts: 5
Joined: Sat Oct 25, 2008 2:50 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby arch_freeman » Sat Oct 25, 2008 6:28 pm

นี่แหละครับ ที่ผมถึอว่าเป็นการก้าวพลาดของพันธมิตร เมื่อครั้งกระโน้นตอนที่บุกเข้าไปยึดทำเนียบ

เพราะเปลี่ยนจากการที่เคยประท้วงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาเป็นการใช้กฎหมู่ซึ่งละเมิดกฏหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ

แต่พันธมิตรใช้คำเลี่ยง ว่า อารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ซึ่งการกระทำแบบนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานการชุนนุมแบบผิดๆ ให้กับสังคมไทย

อีกหน่อย รัฐบาลอื่นๆ เข้ามาบริหารประเทศแล้วมี ม๊อบชาวนา ชาวไร่ เข้าไปยึดทำเนียบบ้าง แล้วอ้างว่าอารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ใครจะว่าอะไรเขาได้ครับ ในเมื่อ พันธมิตรบังคับให้คนไทยยอมรับบรรทัดฐานดังกล่าวเสียแล้ว

ที่ผมเขียนไปนี้ ผมไม่ได้บอกให้พันธมิตร ถอนออกจากทำเนียบนะครับ คือตอนนี้คุณยึดไปแล้วล่ะ ผิดกฎหมายไปแล้ว ไหนๆ ก็ทำแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป แต่ก็ต้องเตรียมรับผิดชอบกับ สิ่งที่จะตามมาภายหลังกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ข้อดีเดียวที่ผมเห็นจากการเข้าไปยึดทำเนียบคือ การสร้างความกดดัน ขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินได้เล็กน้อย และ สร้างความอับอายกับรัฐบาล แต่ รัฐบาลชุดนี้มันหน้าด้านเกินกว่าที่มันจะมีจิตสำนึกอยู่แล้ว

ไม่ได้ทำให้ สมัคร หมดสภาพ หรือ หยุดยั้งความชั่วที่นักการเมืองพรรครัฐบาล ยังกระทำแต่อย่างใดไม่ คนเหล่านั้นก็ยังทำชั่วต่อไป โดยไม่สะทกสะท้าน และ สนใจสิ่งที่ พธม กระทำแต่อย่างใด

สมัคร หมดสภาพ เพราะ กระบวนการยุติธรรม

ทักษิณ ติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

และ คนอื่นๆ ก็กำลังจะติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการยึดทำเนียบรัฐบาลแต่อย่างใด แต่มันเป็นผลพวงจากการทำงานของ คตส ปปช กกต และ อัยการ เท่านั้น

ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ดำเนินไปตามเงื่อนไขเวลา อยู่แล้ว ถึงแม้คุณจะยังคงชุนนุมที่สะพานมัฆวาน
User avatar
arch_freeman
 
Posts: 1254
Joined: Mon Oct 13, 2008 8:34 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby พรรณชมพู » Sat Oct 25, 2008 6:36 pm

การต่อสู้นั้น สาระสำคัญคือต้องทำการต่อสู้ เช่นเดียวกับนักกีฬา สนามแข่งขันคือเครื่องวัดความสามารถ

บนอัฒจรรย์ดูกีฬานั้น เราจะได้ยินเสียงโคชผูเก่งกาจ หรือนักกีฬาที่ไม่ได้ลงแข่งขัน ร่อำร้องกันระงม ว่าควรจะเล่นเช่นนั้น ควรจะทำเช่นนี้ เหมือนข้างกระดานหมากรุก เซียนนั้นนั่งครุ่นคิด แต่เหนือกว่าเซียนจะสอนชั้นเชิงมิได้ขาดปาก

เหล่านี้หากให้ลงสนามจริง ก็ขี้มักจะตายเสียตั้งแต่ต้นมือ

นักมวยเขาบอกว่า หากไม่โดนต่อยหน้าเข้าให้เอง จะนึกฝันให้หลบหลีกหมัด หรือเต้นฟุตเวิร์คให้สวยงามประการใดก็ได้ แต่พอโดนเข้าเองแล้วจะรู้ว่า ขอแค่ชกเอาตัวรอดให้ได้ ก็ดีใจแล้ว ชนะแพ้มันอีกเรื่องหนึ่ง

แต่นักกีฬาเขาก็บอกว่า เสียงเชียร์นั้นมีส่วนเหมือนกันในการแข่งขัน หากต่องสู้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีเสียงให้กำลังใจ บางทีก็ถอดใจแพ้เอาดื้อๆเหมือนกัน

จึงยากที่จะบอกได้ว่า นักกีฬาชนะเพราะตนเองเพียงลำพัง หรือชนะเพราะเสียงเชียร์เท่านั้น ทั้งสองอย่างบางทีมันก็ประกอบกันจนได้สัดส่วนที่ลงตัว

คดีที่ดินรัชดา มาได้จนถึงวันตัดสิน ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า หากไม่มีพันธมิตร คดีจะเดินมาถึงจุดนี้หรือไม่ เท่าๆกับไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ถ้าไม่มีพันธมิตร คดีก็จะไม่ดำเนินมาจนถึงจุดนี้
"silent key 16/06/2009"
User avatar
พรรณชมพู
 
Posts: 1774
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:17 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby Solidus » Sat Oct 25, 2008 8:55 pm

arch_freeman wrote:นี่แหละครับ ที่ผมถึอว่าเป็นการก้าวพลาดของพันธมิตร เมื่อครั้งกระโน้นตอนที่บุกเข้าไปยึดทำเนียบ

เพราะเปลี่ยนจากการที่เคยประท้วงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาเป็นการใช้กฎหมู่ซึ่งละเมิดกฏหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ

แต่พันธมิตรใช้คำเลี่ยง ว่า อารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ซึ่งการกระทำแบบนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานการชุนนุมแบบผิดๆ ให้กับสังคมไทย

อีกหน่อย รัฐบาลอื่นๆ เข้ามาบริหารประเทศแล้วมี ม๊อบชาวนา ชาวไร่ เข้าไปยึดทำเนียบบ้าง แล้วอ้างว่าอารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ใครจะว่าอะไรเขาได้ครับ ในเมื่อ พันธมิตรบังคับให้คนไทยยอมรับบรรทัดฐานดังกล่าวเสียแล้ว

ที่ผมเขียนไปนี้ ผมไม่ได้บอกให้พันธมิตร ถอนออกจากทำเนียบนะครับ คือตอนนี้คุณยึดไปแล้วล่ะ ผิดกฎหมายไปแล้ว ไหนๆ ก็ทำแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป แต่ก็ต้องเตรียมรับผิดชอบกับ สิ่งที่จะตามมาภายหลังกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ข้อดีเดียวที่ผมเห็นจากการเข้าไปยึดทำเนียบคือ การสร้างความกดดัน ขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินได้เล็กน้อย และ สร้างความอับอายกับรัฐบาล แต่ รัฐบาลชุดนี้มันหน้าด้านเกินกว่าที่มันจะมีจิตสำนึกอยู่แล้ว

ไม่ได้ทำให้ สมัคร หมดสภาพ หรือ หยุดยั้งความชั่วที่นักการเมืองพรรครัฐบาล ยังกระทำแต่อย่างใดไม่ คนเหล่านั้นก็ยังทำชั่วต่อไป โดยไม่สะทกสะท้าน และ สนใจสิ่งที่ พธม กระทำแต่อย่างใด

สมัคร หมดสภาพ เพราะ กระบวนการยุติธรรม

ทักษิณ ติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

และ คนอื่นๆ ก็กำลังจะติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการยึดทำเนียบรัฐบาลแต่อย่างใด แต่มันเป็นผลพวงจากการทำงานของ คตส ปปช กกต และ อัยการ เท่านั้น

ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ดำเนินไปตามเงื่อนไขเวลา อยู่แล้ว ถึงแม้คุณจะยังคงชุนนุมที่สะพานมัฆวาน
บางครั้งกฎหมู่กับการดื้อแพ่งมันก็คล้ายกันนะครับ ต่างที่ฝ่ายหนึ่งไม่ยอมรับโทษทางกฎหมายอีกฝ่ายยอมรับโทษ บางคนอ้างเสียงส่วนใหญ่กระทำตามใจตัวเองไม่สนใจว่าการกระทำนั้นจะผิดกฎหมาย พอถึงเวลาที่ต้องรับโทษกลับหนีคดีไปต่างประเทศ แบบนี้จัดเป็นกฎหมู่หรือไม่
User avatar
Solidus
 
Posts: 8593
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:47 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby arch_freeman » Sat Oct 25, 2008 9:02 pm

ไม่ใช่กฎหมู่ครับ

แต่เป็นการกระทำของโจรที่ขี้ขลาดตาขาว

ผมมองแบบนี้ครับ คือ ทักษิณทำชั่ว ทำเลวแล้ว พันธมิตรก็สมควรเป็นตัวอย่างของการกระทำที่ถูกกฎหมายน่าจะเหมาะกว่า

ไม่ใช่เพราะ ทักษิณชั่ว พันธมิตรก็มีสิทธิทำชั่ว แบบนี้ทั้งสองฝ่ายมันก็ไม่ต่างกัน แบบที่หลายคนกำลังมอง

อย่างไรก็ดี มุมของคุณพรรณชมพูนั้น เป็นมุมมอง ที่ต้องการชัยชนะทางการเมืองเป็นหลัก ซึ่งในคำว่า politics นั้น มันไม่มีคำว่า ศีลธรรม อยู่แล้วแหล่ะครับ แต่มันเต็มไปด้วยการหักเหลี่ยมโหดกันทั้งนั้น เพื่อชัยชนะทางการเมืองของตน

แต่สิ่งที่ผมมองคือ รูปแบบ ที่ สนธิ พยายามบอกกับ ผู้ชุนนุมว่า เขาเอาธรรมนำหน้า ไงครับ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เขาตัดสินใจ บางครั้งก็ไม่ใช่เป็นไปเพื่อธรรม แต่เป็นไปเพื่อการเอาชัยชนะ โดยไม่คำนึงถึงตัวบทกฎหมาย ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถึงแม้จะเลวน้อยกว่าสิ่งที่ทักษิณทำ แต่ก็ถือว่าเลวเหมือนกันไม่ใช่หรอครับ และ เป็นเหตุให้ มวลชนของ นปช ใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการโจมตี พธม มาได้ตลอด
User avatar
arch_freeman
 
Posts: 1254
Joined: Mon Oct 13, 2008 8:34 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby Moon » Sat Oct 25, 2008 9:17 pm

อ้างอิง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร , ระบอบประชาธิปไตย , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว) , ๒๕๒๐ , หน้า ๖๙ – ๗๐ .

ครับ ๒๕๒๐ ผ่านมา 30 ปีแล้วครับ ถ้าตอนนี้กลับไปถามท่านธานิทร์ ในสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ท่านจะบอกว่าอย่างไร
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
User avatar
Moon
 
Posts: 6807
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:51 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby amalit1990 » Sat Oct 25, 2008 9:20 pm

หอยยยยยยยยยยยยยยยย

มาแว้วววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว 55555555
ø¤º°¨„ø¤º°¨°º¤ø„¸¨°º¤ø„¸¸„ º¤ø„¸
¨°º¤ø„ ¸THE BEATLES FOREVER!! º¤ø„¸
¸„ø¤º°¨¸„ø¤º „¸¨°º¤ø„¸¸„ ¸„ø¤º
User avatar
amalit1990
 
Posts: 1026
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:22 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby boykool » Sat Oct 25, 2008 9:27 pm

Moon wrote:อ้างอิง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร , ระบอบประชาธิปไตย , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว) , ๒๕๒๐ , หน้า ๖๙ – ๗๐ .

ครับ ๒๕๒๐ ผ่านมา 30 ปีแล้วครับ ถ้าตอนนี้กลับไปถามท่านธานิทร์ ในสถานการณ์บ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ท่านจะบอกว่าอย่างไร


เคยเห็นท่านออกมากล่าวถึงบ้านเมืองเมื่อเร็วๆนี้ ท่านใดพอจะหาได้มั้ยคับ ไม่น่าจะเกิน 2 เดือนนี้มั้งคับ
“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา..."
ส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยคดีซุกหุ้นภาค 1
ประเสริฐ นาสกุล
User avatar
boykool
 
Posts: 3324
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:06 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby Solidus » Sat Oct 25, 2008 9:31 pm

arch_freeman wrote:ไม่ใช่กฎหมู่ครับ

แต่เป็นการกระทำของโจรที่ขี้ขลาดตาขาว

ผมมองแบบนี้ครับ คือ ทักษิณทำชั่ว ทำเลวแล้ว พันธมิตรก็สมควรเป็นตัวอย่างของการกระทำที่ถูกกฎหมายน่าจะเหมาะกว่า

ไม่ใช่เพราะ ทักษิณชั่ว พันธมิตรก็มีสิทธิทำชั่ว แบบนี้ทั้งสองฝ่ายมันก็ไม่ต่างกัน แบบที่หลายคนกำลังมอง

อย่างไรก็ดี มุมของคุณพรรณชมพูนั้น เป็นมุมมอง ที่ต้องการชัยชนะทางการเมืองเป็นหลัก ซึ่งในคำว่า politics นั้น มันไม่มีคำว่า ศีลธรรม อยู่แล้วแหล่ะครับ แต่มันเต็มไปด้วยการหักเหลี่ยมโหดกันทั้งนั้น เพื่อชัยชนะทางการเมืองของตน

แต่สิ่งที่ผมมองคือ รูปแบบ ที่ สนธิ พยายามบอกกับ ผู้ชุนนุมว่า เขาเอาธรรมนำหน้า ไงครับ แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เขาตัดสินใจ บางครั้งก็ไม่ใช่เป็นไปเพื่อธรรม แต่เป็นไปเพื่อการเอาชัยชนะ โดยไม่คำนึงถึงตัวบทกฎหมาย ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถึงแม้จะเลวน้อยกว่าสิ่งที่ทักษิณทำ แต่ก็ถือว่าเลวเหมือนกันไม่ใช่หรอครับ และ เป็นเหตุให้ มวลชนของ นปช ใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในการโจมตี พธม มาได้ตลอด
พวกมากลากไปไม่สนใจกฎหมาย ไม่ยอมรับการตัดสินของกฎหมายมันก็คือกฎหมู่แหละครับ ส่วนการดื้อแพ่งนั้นอยู่นั้นหลักนิติศาสตร์นะครับ
User avatar
Solidus
 
Posts: 8593
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:47 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby Moon » Sat Oct 25, 2008 9:39 pm

บรรยายในหัวข้อ
"นักกฎหมายกับอคติ" ให้กับเนติบัณฑิต รุ่นที่ 60
ของสำนักอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา

เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาว่าสาเหตุของความผิดพลาดของนักกฎหมาย

คืออคติของนักกฎหมายจึงได้มีการเตือนใจนักกฎหมายให้เอาใจใส่ และระมัดระวัง
ไม่ให้อคติก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบวิชาชีพ
ทำให้มองสถานการณ์ผิดพลาด และเห็นว่า อคติยังมีอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหาร ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก
ทั้งนี้ ยกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
หากนำกฎหมายไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์จะเป็นอันตรายต่อ
บ้านเมือง หากผู้บริหารไม่ว่าระดับใดลุแก่อำนาจ ทำอะไรอยู่เหนือกฎหมาย
เช่น การขู่ฆ่า ฆ่าตัดตอน และการสร้างพยานหลักฐานเท็จ
จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เจ้าพนักงานจึงไม่ควรลุแก่อำนาจ
และให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา

อันนี้มีเต็มๆ จากเว็บลุงแคนด้วยคร้าบ

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=7760.0
Last edited by Moon on Sat Oct 25, 2008 9:55 pm, edited 1 time in total.
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
User avatar
Moon
 
Posts: 6807
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:51 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby Moon » Sat Oct 25, 2008 9:41 pm

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2548

"ธานินทร์ กรัยวิเชียร"ปลงมาตรฐานรมต.ไทยต่ำ

องคมนตรีชี้ผู้นำต้องยึดมั่นจริยธรรม ซื่อสัตย์ ปลงหากรัฐมนตรีไทยได้ มาตรฐานอังกฤษ ป่านนี้คงไม่เหลือรัฐมนตรีสักคน ขณะที่ "ต่อตระกูล" แฉหัวคิวเมกะโปเจคท์ 6.8 แสนล้าน ต่ออายุรัฐบาลได้ชั่วกัปชั่วกัลป์

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษระหว่างเป็นประธานเปิดการประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5 เรื่องการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและการพาณิชย์ ในหัวข้อเรื่อง "จริยธรรมของผู้ประกอบการค้า" ว่า ประเทศในแถบแอฟริกามีการทุจริตคอรัปชั่นมากมาย เพราะทุกคนต้องการอำนาจและความมั่นคงและนักวิจัยในประเทศนั้นก็ได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขว่า ผู้บริหารต้องเป็นคนดี ซึ่งตามหลักความเป็นจริงแล้วไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ถูกต้องคือผู้นำต้องยึดมั่นในหลักจริยธรรมและความชอบธรรม เพราะความชอบธรรมหมายความว่าซื่อสัตย์ สุจริต

เพิ่มเติมส่วนที่เหลือได้ที่ http://www.komchadluek.net/news/2005/07 ... 59381.html ครับกระผม
จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
User avatar
Moon
 
Posts: 6807
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:51 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby boykool » Sat Oct 25, 2008 10:05 pm

รวดเร็วทันใจจริงๆ

ขอบคุงมากคับ

แจ่มๆ :D
“หัวใจของการเมือง คือ ความไม่เห็นแก่ตัว หากเห็นแก่ตัวและพรรคของตัวแล้ว จะเห็นแก่มวลชนได้อย่างไร ดังนั้น นักการเมืองควรมีศีลธรรม ยึดถือธรรม บูชาธรรมยิ่งกว่าคนธรรมดา..."
ส่วนหนึ่งของคำวินิจฉัยคดีซุกหุ้นภาค 1
ประเสริฐ นาสกุล
User avatar
boykool
 
Posts: 3324
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:06 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby ปุถุชน » Mon Oct 27, 2008 11:35 am

arch_freeman wrote: นี่แหละครับ ที่ผมถึอว่าเป็นการก้าวพลาดของพันธมิตร เมื่อครั้งกระโน้นตอนที่บุกเข้าไปยึดทำเนียบ

เพราะเปลี่ยนจากการที่เคยประท้วงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาเป็นการใช้กฎหมู่ซึ่งละเมิดกฏหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ

แต่พันธมิตรใช้คำเลี่ยง ว่า อารยะขัดขืนขั้นสูงสุด


ซึ่งการกระทำแบบนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานการชุนนุมแบบผิดๆ ให้กับสังคมไทย

อีกหน่อย รัฐบาลอื่นๆ เข้ามาบริหารประเทศแล้วมี ม๊อบชาวนา ชาวไร่ เข้าไปยึดทำเนียบบ้าง แล้วอ้างว่าอารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ใครจะว่าอะไรเขาได้ครับ ในเมื่อ พันธมิตรบังคับให้คนไทยยอมรับบรรทัดฐานดังกล่าวเสียแล้ว

ที่ผมเขียนไปนี้ ผมไม่ได้บอกให้พันธมิตร ถอนออกจากทำเนียบนะครับ คือตอนนี้คุณยึดไปแล้วล่ะ ผิดกฎหมายไปแล้ว ไหนๆ ก็ทำแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป แต่ก็ต้องเตรียมรับผิดชอบกับ สิ่งที่จะตามมาภายหลังกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ข้อดีเดียวที่ผมเห็นจากการเข้าไปยึดทำเนียบคือ การสร้างความกดดัน ขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินได้เล็กน้อย และ สร้างความอับอายกับรัฐบาล แต่ รัฐบาลชุดนี้มันหน้าด้านเกินกว่าที่มันจะมีจิตสำนึกอยู่แล้ว

ไม่ได้ทำให้ สมัคร หมดสภาพ หรือ หยุดยั้งความชั่วที่นักการเมืองพรรครัฐบาล ยังกระทำแต่อย่างใดไม่ คนเหล่านั้นก็ยังทำชั่วต่อไป โดยไม่สะทกสะท้าน และ สนใจสิ่งที่ พธม กระทำแต่อย่างใด

สมัคร หมดสภาพ เพราะ กระบวนการยุติธรรม

ทักษิณ ติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

และ คนอื่นๆ ก็กำลังจะติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการยึดทำเนียบรัฐบาลแต่อย่างใด แต่มันเป็นผลพวงจากการทำงานของ คตส ปปช กกต และ อัยการ เท่านั้น

ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ดำเนินไปตามเงื่อนไขเวลา อยู่แล้ว ถึงแม้คุณจะยังคงชุนนุมที่สะพานมัฆวาน



จริงอยู่ การชุมนุมกันแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เป็นสิ่งที่กระทำได้และพึงกระทำในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้รัฐบาลได้รับทราบความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนได้ทางหนึ่ง อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจ หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ตกอยู่กับรัฐบาลซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนทั้งประเทศ จึงต้องปล่อยให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐบาล ในการวินิจฉัยปัญหานั้น ๆ การยื่นคำขาดก็ดี การบีบบังคับก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย



อ้างอิง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร , ระบอบประชาธิปไตย , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว) , ๒๕๒๐ , หน้า ๖๙ – ๗๐ .



นายธานินทร์ฯ เป็นองคมนตรี ในขณะเดียวกันก็เป็น'เผด็จการพลเรือน'ของรัฐบาล'หอยเน่า' ด้วย......
หม่อมคึกฤทธิ์ฯ เคยชี้แจงว่า 'องคมนตรี' คือ ''คนใช้ของในหลวง....!

ผมไม่มีวันเห็นด้วยกับความคิดของนายธานินทร์(ถ้าไม่ติดขัดว่าเป็น'คนใช้ของในหลวง' คงเปลี่ยนคำเรียกใหม่)อดีตเคยเป็นเผด็จการพลเรือน รัฐบาล'มือเปื้อนเลือด'ที่แต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครอง(การรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของรัฐบาลหม่อมเสนีย์ ปราโมช)ปี 2519....

ในขณะที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งแต่'ซื้อสิทธิ-ขายเสียง' รัฐบาลอุปโลกน์ รัฐบาลหุ่นเชิดของทักษิณ นักโทษหนีคุก อดีตนักธุรกิจการเมือง อดีตนายกฯที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ หน้าด้าน ไร้ยางอาย ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมเยี่ยงนักการเมืองในอารยะประเทศ ในประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ที่หน้าบาง รับผิดชอบสูง มีศักดิ์ศรีความเป็นคนสูงกว่าประชาชนทั่วไป....!!!

รัฐบาล'หมัก เมถุน' และ ' รัฐบาล'ชายน้อย วงเสร่อ' จอมฆาตกร ใช้วิธีการทุกรูปแบบรวมทั้งการใช้' อันธพาลของรัฐบาลฯ'(นปก.)ในการปราบปรามประชาชนที่ชุมนุมขับไล่รัฐบาลหุ่นเชิดของนักโทษฯ....

ประชาชนจำเป็นต้องพูดกับตนเองในบ้าน ในเคหะสถานส่วนตัว กับเพื่อนฝูงในโต๊ะอาหาร...?
ประชาชนจะใช้วิธีการอื่นๆ ในการต่อสู้ ในการอยู่รอด ไม่ต้องพิการ ไม่ต้องเสียชีวิตจากการปราบปรามของเจ้าหน้าที่รัฐบาล'ทรราช' ไม่ได้เหรอ....?


วันนี้ คือวันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม 2551 ย่อมมีความคิด พัฒนาการทางการเมือง ความคิดถึงสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก แตกต่างกับวันหนึ่งในปี 2520 ได้เช่นกัน โดยเฉพาะความคิดของประชาชนที่ต่อสู้กับความเป็นธรรมกับอดีตนายกฯ รัฐบาลเผด็จการในอดีต.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby อภิสิทธิ์ » Mon Oct 27, 2008 11:37 am

ดีใจจังที่พวกแป๊ด(PAD)ติดกับดักตัวเองที่ทำเนียบ คริ คริ :lol:
User avatar
อภิสิทธิ์
 
Posts: 485
Joined: Tue Oct 21, 2008 8:42 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby ปุถุชน » Mon Oct 27, 2008 11:45 am

Moon wrote:บรรยายในหัวข้อ
" นักกฎหมายกับอคติ" ให้กับเนติบัณฑิต รุ่นที่ 60
ของสำนักอบรมกฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา

เมื่อวันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมาว่าสาเหตุของความผิดพลาดของนักกฎหมาย

คืออคติของนักกฎหมายจึงได้มีการเตือนใจนักกฎหมายให้เอาใจใส่ และระมัดระวัง
ไม่ให้อคติก่อให้เกิดปัญหาในการประกอบวิชาชีพ
ทำให้มองสถานการณ์ผิดพลาด และเห็นว่า อคติยังมีอยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหาร ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก
ทั้งนี้ ยกพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
หากนำกฎหมายไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์จะเป็นอันตรายต่อ
บ้านเมือง หากผู้บริหารไม่ว่าระดับใดลุแก่อำนาจ ทำอะไรอยู่เหนือกฎหมาย
เช่น การขู่ฆ่า ฆ่าตัดตอน และการสร้างพยานหลักฐานเท็จ
จะสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน เจ้าพนักงานจึงไม่ควรลุแก่อำนาจ
และให้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา

อันนี้มีเต็มๆ จากเว็บลุงแคนด้วยคร้าบ

http://www.weopenmind.com/board/index.php?topic=7760.0



นายธานินทร์ อดีตเผด็จการพลเรือน'หอยเน่า'รับใช้คณะปฏิรูปการปกครอง ซึ่งทำการรัฐประหารรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง รับบาล มรว.เสนีย์ ปราโมช ตุลาคม ปี 2519....!!!

เขาต้องชี้แจง อธิบาย 'อคติ' และ การเต็มใจเป็นนายกฯของเผด็จการทหารซึ่งใช้กำลังทหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ให้ได้ก่อน.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby รักษ์สยาม » Mon Oct 27, 2008 11:49 am

arch_freeman wrote:นี่แหละครับ ที่ผมถึอว่าเป็นการก้าวพลาดของพันธมิตร เมื่อครั้งกระโน้นตอนที่บุกเข้าไปยึดทำเนียบ

เพราะเปลี่ยนจากการที่เคยประท้วงตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาเป็นการใช้กฎหมู่ซึ่งละเมิดกฏหมาย บุกรุกสถานที่ราชการ

แต่พันธมิตรใช้คำเลี่ยง ว่า อารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ซึ่งการกระทำแบบนี้ เป็นการสร้างบรรทัดฐานการชุนนุมแบบผิดๆ ให้กับสังคมไทย

อีกหน่อย รัฐบาลอื่นๆ เข้ามาบริหารประเทศแล้วมี ม๊อบชาวนา ชาวไร่ เข้าไปยึดทำเนียบบ้าง แล้วอ้างว่าอารยะขัดขืนขั้นสูงสุด

ใครจะว่าอะไรเขาได้ครับ ในเมื่อ พันธมิตรบังคับให้คนไทยยอมรับบรรทัดฐานดังกล่าวเสียแล้ว

ที่ผมเขียนไปนี้ ผมไม่ได้บอกให้พันธมิตร ถอนออกจากทำเนียบนะครับ คือตอนนี้คุณยึดไปแล้วล่ะ ผิดกฎหมายไปแล้ว ไหนๆ ก็ทำแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป แต่ก็ต้องเตรียมรับผิดชอบกับ สิ่งที่จะตามมาภายหลังกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ข้อดีเดียวที่ผมเห็นจากการเข้าไปยึดทำเนียบคือ การสร้างความกดดัน ขัดขวางการบริหารราชการแผ่นดินได้เล็กน้อย และ สร้างความอับอายกับรัฐบาล แต่ รัฐบาลชุดนี้มันหน้าด้านเกินกว่าที่มันจะมีจิตสำนึกอยู่แล้ว

ไม่ได้ทำให้ สมัคร หมดสภาพ หรือ หยุดยั้งความชั่วที่นักการเมืองพรรครัฐบาล ยังกระทำแต่อย่างใดไม่ คนเหล่านั้นก็ยังทำชั่วต่อไป โดยไม่สะทกสะท้าน และ สนใจสิ่งที่ พธม กระทำแต่อย่างใด

สมัคร หมดสภาพ เพราะ กระบวนการยุติธรรม

ทักษิณ ติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

และ คนอื่นๆ ก็กำลังจะติดคุก เพราะ กระบวนการยุติธรรม

สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการยึดทำเนียบรัฐบาลแต่อย่างใด แต่มันเป็นผลพวงจากการทำงานของ คตส ปปช กกต และ อัยการ เท่านั้น

ซึ่งกระบวนการทั้งหมด ดำเนินไปตามเงื่อนไขเวลา อยู่แล้ว ถึงแม้คุณจะยังคงชุนนุมที่สะพานมัฆวาน


ถ้าไม่มีพันธมิตรก็ไม่แน่ว่ากระบวนการยุติธรรมจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ รธน. และ กม.ต่างๆอาจได้รับการแก้ไขจนคดีเป็นโมฆะไปหมดก็ได้ เพราะรัฐบาลพยายามมาแทบทุกวิถีทาง

พันธมิตรไม่ได้กระทำโดนใจตรงใจผมทุกเรื่อง แต่ถ้่้าไม่มีพันธมิตรคานไว้ บ้านเมืองคงจะเตลิดเปิดเปิงไปแล้ว
"For form of government let fools contest, What e'er is best administered is best;" - Alexander Pope
User avatar
รักษ์สยาม
 
Posts: 92
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:49 am
Location: Bangkok, Thailand

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby อภิสิทธิ์ » Mon Oct 27, 2008 11:51 am

รักษ์สยาม wrote:
ถ้าไม่มีพันธมิตรก็ไม่แน่ว่ากระบวนการยุติธรรมจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ รธน. และ กม.ต่างๆอาจได้รับการแก้ไขจนคดีเป็นโมฆะไปหมดก็ได้ เพราะรัฐบาลพยายามมาแทบทุกวิถีทาง

พันธมิตรไม่ได้กระทำโดนใจตรงใจผมทุกเรื่อง แต่ถ้่้าไม่มีพันธมิตรคานไว้ บ้านเมืองคงจะเตลิดเปิดเปิงไปแล้ว



PAD สอนให้คนไทยรู้ว่าการใช้กำลังและอาวุธยึดสถานที่ราชการ คือ อาระขัดขืน!! กร๊ากกกกกกกก :lol:
User avatar
อภิสิทธิ์
 
Posts: 485
Joined: Tue Oct 21, 2008 8:42 am

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby ปุถุชน » Mon Oct 27, 2008 11:52 am

ผมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินที่อุดร สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา...

กลับถึงบ้านนึกว่า'หนอนในโถส้วม'ที่บ้านในกรุงเทพจะ'อดอยากปากแห้ง'จนตาย....!!!

ที่ไหนได้ยังแสดงตัวให้เห็นว่ามีชีวิตอยู่......

แสดงว่า 'หนอนฯ' ไม่ได้พึ่งพา'อาหาร'จากผมแหล่งเดียวเท่านั้น....!

ปล. เพราะเหตุนี้ 'หนอนฯ' จึงไม่เชื่อคำสั่งสอน อบรมจาก 'เพื่อนเทวดา'......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: คำอธิบายเรื่องกฎหมู่กับมติมหาชน โดย ศ.ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Postby รักษ์สยาม » Mon Oct 27, 2008 11:54 am

พุฒิพงศ์ wrote:มติมหาชน กับ กฎหมู่ บนวิถีประชาธิปไตยที่ไม่หลงทาง
โดย ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ผู้ทรงคุณวุฒิอาวุโสแห่งวงการนิติศาสตร์ไทย

กระแสความปั่นป่วนทางการเมือง อันเกิดจากการเรียกร้องบางประการของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย บทความนี้จึงขอนำหลักวิชาการบริสุทธิ์ ซึ่งศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้บรรยายลักษณะของความเป็นประชาธิปไตย ที่เกี่ยวข้องสอดรับกับกระแสความวุ่นวายในปัจจุบัน ไว้อย่างน่ารับฟัง ในเรื่องประชามติ มติมหาชน และ กฎหมู่ ความดังนี้


“ในระบอบประชาธิปไตยนั้น วิธีการที่จะทำให้รัฐบาลทราบเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศได้ คือ ประชามติ และมติมหาชน สำหรับประชามตินั้นเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลจัดให้มีการลงคะแนนโดยประชาชนทั้งประเทศ จึงไม่มีปัญหาแต่ประการใด แต่ที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตยก็คือ มติมหาชน และ กฎหมู่


อย่างไรก็ตาม แม้มติมหาชนจะไม่มีกฎหมายบัญญัติรับรองไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม แต่เป็นสิ่งที่กฎหมายรับรองไว้โดยปริยาย นั่นคือการแสดงความคิดเห็น อภิปราย ถกเถียง และเสนอแนะโดยมีเหตุผล จนรัฐบาลหรือประชาชนส่วนใหญ่มีความเห็นคล้อยตามด้วย และในการรวบรวมมติมหาชนนี้ จะต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดกฎหมาย อาทิ ไม่มีการชุมนุมโดยมีอาวุธ หรือ ไม่มีการปลุกระดมมวลชน โดยมุ่งหมายจะก่อให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง


มติมหาชนที่ปรากฏออกมาจากประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศนั้น ย่อมมีลักษณะเป็นเครื่องชี้แนะทางให้รัฐบาลและรัฐสภา ดำเนินการเท่านั้น หาได้มีลักษณะบีบบังคับหรือกดดันให้รัฐบาลหรือรัฐสภาจำต้องกระทำตามไม่


ส่วนกฎหมู่นั้น เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับประชามติ และ มติมหาชนอย่างชัดแจ้ง เพราะกฎหมู่นั้นเอง ย่อมมีลักษณะเป็นการละเมิดกฎหมาย ซึ่งเป็นหลักในการปกครองประเทศ เพื่อความสงบสุขของประชาชนอยู่ในตัว อาทิ มีอาวุธในการชุมนุม หรือมีเจตนาพิเศษในการชุมนุม เช่น มีเจตนาก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือเรียกร้องให้ล้มเลิกกฎหมาย หรือให้ถอดถอนตัวบุคคลในคณะรัฐบาล หรือ รัฐสภา อันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา


ที่สำคัญที่สุดก็คือ การยกข้ออ้างในเรื่องคนที่มาชุมนุม ซึ่งอาจมาร่วมโดยความเห็นด้วยหรือต้องการมาดูเหตุการณ์ แล้วอ้างว่า เป็นมติมหาชนที่รัฐบาลและรัฐสภาจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นลักษณะของการบีบบังคับรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ให้ใช้ดุลยพินิจโดยอิสระในการวินิจฉัยปัญหานั้นได้


ซ้ำร้ายไปกว่านั้น การชุมนุมนั้นเอง อาจมีการข่มขู่รัฐบาลโดยจำนวนคน หรือโดยวิธีการอันมิชอบด้วยกฎหมาย แสดงความอาฆาตมาดร้ายบุคคลบางคนในรัฐบาลหรือรัฐสภา สร้างความวุ่นวายยุ่งเหยิงขึ้นในบ้านเมือง พอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็พยายามบิดเบือนให้เห็นว่า นั่นเป็นการใช้อำนาจรัฐคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ


ซ้ำยังอ้างว่า การกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่ เป็นการใช้อำนาจเผด็จการของรัฐบาล


จริงอยู่ การชุมนุมกันแสดงออกซึ่งความคิดเห็น เป็นสิ่งที่กระทำได้และพึงกระทำในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้รัฐบาลได้รับทราบความคิดเห็น และความต้องการของประชาชนได้ทางหนึ่ง อันจะทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า อำนาจ หน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น ตกอยู่กับรัฐบาลซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนทั้งประเทศ จึงต้องปล่อยให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐบาล ในการวินิจฉัยปัญหานั้น ๆ การยื่นคำขาดก็ดี การบีบบังคับก็ดี เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่งในระบอบประชาธิปไตย”



อ้างอิง : ธานินทร์ กรัยวิเชียร , ระบอบประชาธิปไตย , พิมพ์ครั้งที่ ๔ (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว) , ๒๕๒๐ , หน้า ๖๙ – ๗๐ .


ก็คนใช้กฎหมาย มันกดขี่ คนมันก็ลุกฮือมาต่อต้าน เรื่องธรรมดาของโลก ตำราที่ว่า ใช้ได้ในบางบริบท แต่คุณธานินทร์ก็เป็นเผด็จการ จนคนหนีเข้าป่ากันไม่ใช่เหรอ
"For form of government let fools contest, What e'er is best administered is best;" - Alexander Pope
User avatar
รักษ์สยาม
 
Posts: 92
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:49 am
Location: Bangkok, Thailand


Return to สภากาแฟ