Page 1 of 4

เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:08 pm
by sigree
ต้องเรียนตรงๆว่าน้ำท่วมหนนี้ทำให้ผมคิดหลายเรื่อง หนึ่งในหลายๆเรื่องคือการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างจริง

ยอมรับก่อนว่าผมผิดหวังกับหลายๆรัฐบาล รวมถึงชุดนี้ ในการจัดการเรื่องน้ำท่วมทั้งในแง่แผนและอื่นๆ

รัฐบาลชุดปัจจุบัน เมื่อ ตค 2553 ปีที่แล้วเสนอเรื่องการจัดการแก้น้ำท่วม แต่ไม่พัฒนาต่อ พอเลือกตั้งเสนอทำเขื่อนกันน้ำท่วมกทมในทะเล ทั้งๆที่น้ำมาจากทางเหนือ........?

แต่เอาเถอะ ก็เสนอ เพราะ ปชป ดันไม่เสนอเรื่องน้ำชัดเท่ารัฐบาลปัจจุบัน เสนอเพียง เดินหน้าต่อในการบริหารจัดการแหล่งน้ำทั่วประเทศ ขยายพื้นที่ชลประทาน เพิ่มปริมาณน้ำอุตสาหกรรมและขยายประปาชุมชน แต่ไม่มีการพูดเรื่องน้ำท่วม...........

แล้วเมื่อได้อ่านกระทู้ ผมเจ็บปวดมากครับ จากน้ำท่วมคราวนี้http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=43652

ผมพบหลายคนมีไอเดีย และผมเชื่อว่าชาว สรท ไม่ได้มีนิสัยรอให้ความช่วยเหลือมาจากฟ้า อยากให้ช่วยระดมความคิดแก้ปัญหาน้ำท่วมที่หนักขึ้นเรื่อยๆทุกปี

ผมแบ่งความคิดเป็น 2 ส่วนนะครับ

1) ข้อเสนอแนะเพื่อประชาชน ส่วนที่ทำได้เลยด้วยมือเราเอง
2) ข้อเสนอแนะเพื่อรัฐบาล การจัดการต่างๆ

เชิญทุกท่านครับ

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:19 pm
by sigree
1) ข้อเสนอแนะเพื่อประชาชน ส่วนที่ทำได้เลยด้วยมือเราเอง

เสนอให้จัดทำและสนับสนุนแบบบ้านเรือนแพในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก หากทำไม่ได้ ให้สร้างบ้าน 2-3 ชั้นในพื้นที่ดังกล่าว
หากเป็นไปได้อยากให้ อบต จัดหาพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึงในทุกๆ ตำบล เพื่อใช่งานในช่วงน้ำท่วมเช่นเก็บรถ หรือตั้งเต็นต่างๆ

2) ข้อเสนอแนะเพื่อรัฐบาล การจัดการต่างๆ

ควรจัดการพื้นที่และกำหนดให้ชัดเจนว่าพื้นที่ใดน้ำท่วมได้หรือไม่ได้อย่างไร การกำหนดจุดที่ชัดเจนจะทำให้ชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมรับมือได้ ขณะเดียวกันรัฐบาลเองก็สามารถกำหนดกฏเกณฑ์พิเศษในพื้นที่ต่างๆเพื่อการควบคุมน้ำได้อย่างชัดเจน

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:22 pm
by แดงจังเลย
คุณลองไปดูประวัติศาสตร์นะ ไม่มีน้ำท่วมครั้งใหนของประเทศไทย ที่จะแก้ได้ ในความคิดเห็นของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือ เยียวยา และกำลังใจ และพวกตัวป่วนก็ให้เพลาๆปากบ้าง

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:22 pm
by เพลิงสีนิล
กำหนดพื้นที่ก่อนครับ แต่ละพื้นที่มีปัญหาพื้นฐานไม่เหมือนกัน

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:23 pm
by sigree
แดงจังเลย wrote:คุณลองไปดูประวัติศาสตร์นะ ไม่มีน้ำท่วมครั้งใหนของประเทศไทย ที่จะแก้ได้ ในความคิดเห็นของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือ เยียวยา และกำลังใจ และพวกตัวป่วนก็ให้เพลาๆปากบ้าง

ขออภัย

ความสิ้นหวังเป็นหนทางของความตกต่ำ

โลกเราไปข้างหน้าด้วยการแก้ไข ไม่ใช่ปีหน้ามาปลอบใจกันใหม่

และหากพูดเชิงประวัติศาสตร์ ประเทศเราแก้ปัญหาน้ำท่วมถึงด้วยการอยู่ร่วมกับน้ำ บ้านใต้ถุนสูง ใช่น้ำเป็นทางสัญจร เพาะปลูก ฯลฯ

ดินแดนแถบนี้มีการจัดการน้ำมากกว่า 1000 ปี อย่าอ้างว่าแก้ไม่ได้ โดยประวัติศาสตร์ คนโบราณเขาทำมาแล้ว

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:28 pm
by sigree
ประมวลเพิ่มจาก กระทู้ ผมเจ็บปวดมากครับ จากน้ำท่วมคราวนี้http://forum.serithai.net/viewtopic.php?f=2&t=43652

ให้จัดเตรียมกระสอบทรายไว้เสมอในพื้นที่น้ำท่วม

และบ้านเรือนแพ และกฏหมายอาคารในพื้นที่น้ำท่วมและดินถล่ม

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:31 pm
by เพื่อนร่วมชาติ
เมกกะโปรเจคต์ ศึกษาและสร้างระบบคลองระบายน้ำขนาดใหญ่ตามที่ลุ่ม

เพราะฝนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทางระบายน้ำที่มีอยู่เดิมไม่มีทางรองรับได้เพียงพอ

เขื่อนก็มีขีดจำกัด ถึงระดับหนึ่งก็ต้องปล่อย

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:32 pm
by แดงจังเลย
sigree wrote:
แดงจังเลย wrote:คุณลองไปดูประวัติศาสตร์นะ ไม่มีน้ำท่วมครั้งใหนของประเทศไทย ที่จะแก้ได้ ในความคิดเห็นของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือ เยียวยา และกำลังใจ และพวกตัวป่วนก็ให้เพลาๆปากบ้าง

ขออภัย

ความสิ้นหวังเป็นหนทางของความตกต่ำ

โลกเราไปข้างหน้าด้วยการแก้ไข ไม่ใช่ปีหน้ามาปลอบใจกันใหม่

และหากพูดเชิงประวัติศาสตร์ ประเทศเราแก้ปัญหาน้ำท่วมถึงด้วยการอยู่ร่วมกับน้ำ บ้านใต้ถุนสูง ใช่น้ำเป็นทางสัญจร เพาะปลูก ฯลฯ

ดินแดนแถบนี้มีการจัดการน้ำมากกว่า 1000 ปี อย่าอ้างว่าแก้ไม่ได้ โดยประวัติศาสตร์ คนโบราณเขาทำมาแล้ว

ผมไม่ได้มาขัดคุณนะ แต่คุณลองดู ถนน แทบทุกสายยกระดับเหนือบ้านคน ทำให้การระบายน้ำลำบากมาก ป่าไม้ถูกบุกรุกมากมาย บ้านเรือนก็ปลูกขวางการสัญจรน้ำ
แล้วโลกร้อนทำให้น้ำท่วม ฝนตก แบบพิศดาร ตำราใหนๆก็แก้ยาก ถ้าคุณบอกเราอยู่กับน้ำท่วมได้ งั้นลองปล่อยให้กรุงเทพ ท่วมสัก2เมตร เหมือนต่างจังหวัดดูสิ คุณจะอยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้ไหม

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 7:34 pm
by orogaros
ถ้าแก้ปัญหาต้นเหตุจริงๆ ก็คงต้องสร้างป่าเขาให้เหมือนเดิม ซึ่งทำได้ยากมากๆ

จากที่ฟังข่าวมาหลายๆ ส่วนจะมีท่อนซุงไหลมากับน้ำป่าด้วย เลยทำให้คิดว่า

ป่าไม้โดนทำลายมากกว่าการเพิ่มจำนวน แต่ถ้าวิธีการรับมือเบื้องต้นคงต้องศึกษาพื้นที่เพิ่มเติม

และขยายช่องทางน้ำไหลเพิ่มมากขึ้น แต่ในบางเขตมันทำไม่ได้อย่างที่คิด ด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน

มันก็เลยต้องทนท่วมกันไป คงมีแต่วิธีการที่จะรับมือปัญหาเวลาน้ำท่วมยังไง

อย่างเช่นคนไทยต้องฝึกการใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นที่เวลาเจอสึนามิ หรือแผ่นดินไหว ว่าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง

ไม่ใช่รอหน่วยงานราชการอย่างเดียว และวิธีการรับมืออย่างที่สองก็คงต้องลงแรงกันเอาเอง

ก่อนอื่นผมออกตัวก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ค่อยชอบเที่ยวเลยไม่ได้ไปที่ไหน แต่จากที่เห็นบ้านเกิดเมืองนอนผม

เวลาขี่รถมอเตอร์ไซผ่านถึงแม้น้ำจะไม่ท่วมก็เถอะ แต่จะเห็นได้ว่าบางครั้งคูน้ำที่เป็นส่วนของทางหลวง

ซึ่งชาวบ้านจะเอาท่อไปฝังเพื่อเป็นทางน้ำไหลจะมีดินและทรายเข้าไปอุดตันจนทำให้น้ำไม่ไหลเลย

ก็คงต้องมาขุดลอกเอาเองอย่าไปรอให้หน่วยงานรัฐมาทำให้เลย หน้าบ้านใครหน้าบ้านมันช่วยกันคนละไม้คนละมือ

แล้วทรายที่ขุดจากคูน้ำก็เอามาทำคันกั้นน้ำ ส่วนที่เหลือก็คงต้องสร้างกลุ่มคนที่ศึกษาด้านผังเมืองมาช่วย

เรื่องการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ อาจจะทำจุดพักน้ำ แล้วเร่งระบายกันเป็นทอดๆ ไปเรื่อยๆ แต่จะทำได้หรือไม่

ก็อยู่ที่รัฐบาลนั่นหละครับ

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:00 pm
by stand with a fist
รออ่าน เพราะไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
ระหว่างรอ ขอแอบดูของเนเธอแลนด์ไปพลางๆก่อน

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0207

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:02 pm
by พิฆาตอสูร
คิดถึงโครงการพระราชดำริ

ปลูกหญ้าแฝกยึดดิน รากมันยาวเป็นสิบเมตรก็มี
น่าจะช่วยไม่ให้เกิดซุงตามน้ำมาซัดบ้านเรือนได้

เชื่อครับว่า ชาว สรท มีปัญญา และจิตใจที่ดี

มีปัญหา ใช้ ปัญญา ครับ
ไม่ใช่เอาแต่งอมือขอน้ำรอของบริจาคเหมือนบางคน (ไม่อยากเอ่ยชื่อ) 8-)

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:11 pm
by tuang
ปรับตัวอยู่กลับธรรมชาติครับ....ปลูกป่า.....จัดหาแหล่งรองรับน้ำ(แก้มลิง).....อย่าไปฝืนธรรมชาติจะดีที่สุด

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:31 pm
by The Producer M@ster
การจัดการเรื่องน้ำทำยากมากครับ
เพราะสภาพพื้นที่บริเวณภาคกลางมีน้ำท่วมตั้งแต่อดีตกาลอยู่แล้ว (อันที่จริงมันท่วมกันทุกภาค แต่ภาคกลางเดือดร้อนสุด)
ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงดำริขุดคลองตื้นเขิน และขุดคลองสาขาเพื่อระบายน้ำ
แม้ว่าจะแก้ปัญหาได้บ้างก็ยังท่วมอยู่ดี เพราะปริมาณน้ำฝนที่เกิดขึ้นในสยามขณะนั้นมีอยู่สูงมาก

แต่หลังจากเข้าสู่ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ทางรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมีโครงการขุดคลองที่ตื้นเขินและขยายคลองแม่น้ำเจ้าพระยา
แต่ปัญหามีอยู่ว่าพื้นที่รับน้ำในอดีตถูกถมให้เป็นที่ดินทำธุรกิจแทน
และคลองบางคลองถูกถมเป็นที่ดินหรือไม่ก็คลองตื้นเขินเกินกว่าที่จะระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าถามว่ามีวิธีแก้ไขไหม? ก็ต้องทำที่รับน้ำเพิ่มเติม (ไม่ใช่เขื่อนแต่เป็นบ่อรับน้ำ) และ
สร้างท่อระบายน้ำขนาดใหญ่แบบที่ กทม. เคยทำซึ่งแน่นอนว่าจะต้องใช้เวลาและงบประมาณมหาศาล

สรุป ถ้าจะแก้ไขปัญหานี้ ผมบอกได้เลยว่ายากครับ ยาก...


ส่วนเรื่องเรือแพ...อันที่จริง ในสมัยต้นรัชกาลจักรี
คนจีนที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยบางส่วนอาศัยอยู่บนเรือแพตามแม่น้ำครับ เพราะสมัยนั้นมีกฏหมายไม่ให้คนจีนครอบครองที่ดิน ยกตัวอย่าง ชุมชนตลาดน้ำบางพลีครับ
ส่วนคนไทบบางส่วนก็อาศัยอยู่บนแพเช่นเดียวกันแต่ไม่นิยม

ผมว่าก่อนการทำโครงการสร้างเรือแพ ผมว่าต้องแก้กฏหมายให้ขอเลขที่บ้านให้ได้ก่อนดีกว่าตามที่บางท่านเสนอมาในกระทู้ต้นเรื่องครับ...

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:54 pm
by เพลิงสีนิล
แดงจังเลย wrote:
sigree wrote:
แดงจังเลย wrote:คุณลองไปดูประวัติศาสตร์นะ ไม่มีน้ำท่วมครั้งใหนของประเทศไทย ที่จะแก้ได้ ในความคิดเห็นของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือ เยียวยา และกำลังใจ และพวกตัวป่วนก็ให้เพลาๆปากบ้าง

ขออภัย

ความสิ้นหวังเป็นหนทางของความตกต่ำ

โลกเราไปข้างหน้าด้วยการแก้ไข ไม่ใช่ปีหน้ามาปลอบใจกันใหม่

และหากพูดเชิงประวัติศาสตร์ ประเทศเราแก้ปัญหาน้ำท่วมถึงด้วยการอยู่ร่วมกับน้ำ บ้านใต้ถุนสูง ใช่น้ำเป็นทางสัญจร เพาะปลูก ฯลฯ

ดินแดนแถบนี้มีการจัดการน้ำมากกว่า 1000 ปี อย่าอ้างว่าแก้ไม่ได้ โดยประวัติศาสตร์ คนโบราณเขาทำมาแล้ว

ผมไม่ได้มาขัดคุณนะ แต่คุณลองดู ถนน แทบทุกสายยกระดับเหนือบ้านคน ทำให้การระบายน้ำลำบากมาก ป่าไม้ถูกบุกรุกมากมาย บ้านเรือนก็ปลูกขวางการสัญจรน้ำ
แล้วโลกร้อนทำให้น้ำท่วม ฝนตก แบบพิศดาร ตำราใหนๆก็แก้ยาก ถ้าคุณบอกเราอยู่กับน้ำท่วมได้ งั้นลองปล่อยให้กรุงเทพ ท่วมสัก2เมตร เหมือนต่างจังหวัดดูสิ คุณจะอยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้ไหม


ถ้าต้องอยู่ก็อยู่ได้ ไม่ใช่ควายอย่างท่านนี่นา มีสมองไม่งอมืองอเท้า มันก็อยู่ได้ คนที่เขาท่วมทุกปี เขาก็มีวิธีรับมือของเขา

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:56 pm
by เพลิงสีนิล
สนามฟุตบอลลอยน้ำ อย่างในโฆษณา ยังมีปัญญาคิด ทำกันขึ้นมาได้ หากมีความตั้งใจ

ไม่ต้องรอของแจกไปวันๆ เหมือนคนบางกลุ่ม

:lol: :lol: :lol: :lol:

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 8:57 pm
by เพลิงสีนิล
ปัญหาโลกร้อนแก้ที่ประเทศไทยนั้น แก้ไปก็ไร้ความหมาย

หาก อเมริกา และ จีน ยังต้องพึ่งอุตสาหกรรม และ ถ่านหิน ปริมาณมากเหมือนทุกวันนี้

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 9:01 pm
by dae004
กรณีศึกษาในเบื้องต้น ถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน บริเวณตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
เพื่อเป็นใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภัยในระยะยาวจากการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน บริเวณตำบลน้ำก้อ และบริเวณอื่นๆ ในประเทศไทย


โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบัติ อยู่เมือง
ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศเพื่อประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [ GISTHAI ]
e - mail : ysombat@chula.ac.th

บทนำ
จากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันล่าสุดที่บริเวณตำบลน้ำก่อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างรุนแรง (ต่างจากกรณีน้ำท่วมล้นฝั่งจากแม่น้ำหรือฝนตกหนักในที่ราบลุ่มในภาคอิสานตอนบน) ในพื้นที่ต่างๆของประเทศเราในช่วงเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ในลักษณะคล้ายคลึงกันได้เกิดขึ้นมาแล้วในหลายจังหวัด ได้แก่

- บริเวณอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในปี 2517
- บริเวณตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2531
- บริเวณอำเภอละอุ่น อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง ในเดือนสิงหาคม ปี 2540
- บริเวณกิ่งอำเภอเขาคชกูฏ จังหวัดจันทบุรี ในเดือนกรกฏาคม ปี 2542
- บริเวณอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในเดือนพฤษภาคม ปี 2544
- และล่าสุดที่บริเวณตำบลน้ำก่อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ในระหว่างวันที่ 11-21 เดือนสิงหาคมปี 2544 นั้น

แนวทางการป้องกันภัยจากปัญหาน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน ที่มีประสิทธิภาพ ตามแนวทางการศึกษาและวิจัยในปัจจุบันที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาใช้ในการบริหารจัดการ ก็คือ การเฝ้าระวังในพื้นที่ที่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์แล้วว่า เป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน ในระดับสูงมาก ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งจะมีการวางแผนและทำงานเป็นทีม โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันดำเนินการ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยและทันการณ์ เป็นหลักในการวิเคราะห์ และเฝ้าติดตามระวัง ในพื้นที่ดังกล่าว (ไม่นับศักยภาพของบุคลากร ของเขาที่มีคุณภาพในทุกระดับ)

ดังนั้นการคัดเลือกพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลัน ในระดับสูงมาก ต่อชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน ในแต่ละจังหวัด แต่ละภาคของประเทศเรา จึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนมาก ก็เพื่อที่จะทำให้ทราบถึงมีความจำเป็นต่อการเฝ้าระวังติดตาม ในการเตือนภัย การลงทุนในการวางแผนป้องกันด้านกายภาพและการเตือนภัยโดยเครื่องมือที่ทันสมัย ในการทำงานในลำดับต่อไปในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการเหมือนกัน ในทุกขั้นตอนก็ได้ อย่างไรก็ตามการที่จะคัดเลือกพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม ฉับพลัน ในระดับต่างได้นั้น คงต้องทำความเข้าใจถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อน ไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันในทางทฤษฏีโดยสังเขปเสียก่อน

สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ
ในทางทฤษฏีแล้วมีสาเหตุอยู่ 2 ประการหลัก ได้แก่

สาเหตุตามธรรมชาติ
สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์

1. สาเหตุตามธรรมชาติ ประกอบด้วย
- ลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ ความสูง ความลาดชัน
- ลักษณะธรณีวิทยา ได้แก่ ชนิดหิน รอยเลื่อย รอยแตก
- ลักษณะของดิน ได้แก่ ชนิดของดิน ความลึกของชั้นดิน
- ลักษณะของป่าไม้ ได้แก่ ชนิดของป่าไม้ ขนาดของต้นไม้
- พื้นที่รับน้ำหรือลุ่มน้ำ ได้แก่ รูปร่างและขนาดของพื้นที่รับน้ำ
- ปริมาณน้ำฝน (ตัวเร่งและปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด)

2. สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ ประกอบด้วย
- การตัดไม้ทำลายป่า - การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกวิธีได้แก่ การทำไร่เลื่อนลอย การจัดผังเมืองและสาธารณุปโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น การสร้างถนนขวางทางน้ำ การให้ปลูกบ้านเรือนตามแบบที่ไม่เหมาะสมในลุ่มน้ำ และในที่ที่อันตราย เป็นต้น

เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันบริเวณตำบลน้ำก้อ จะขอยกตัวอย่างของลักษณะของข้อมูลดังกล่าวข้างต้นประกอบ โดยแสดงเป็นแผนที่บริเวณโดย รอบตำบลน้ำก้อ ซึ่งทางทีมงานของเรา (GISTHAI Team) ได้จัดทำข้อมูลในเวลา 5 วันให้อยู่ในระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System - GIS) และแสดงเป็น ภาพจำลองสามมิติตามสภาพจริงของพื้นที่โดยรอบ (ประมาณ 400 ตร.กม.) ตำบลน้ำก้อ ได้แก่
- ลักษณะภูมิประเทศ ความลาดชัน พื้นที่ลุ่มน้ำ
- ลักษณะธรณีวิทยา
- ลักษณะดิน
- ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของปัจจัย หรือสาเหตุบางประการที่ได้แสดงเอาไว้ดังกล่าวนี้ ข้อมูลบางประการจะยังไม่สามารถนำไปร่วมวิเคราะห์ได้ เพราะเป็นข้อมูลก่อนปี 2540 และเป็นข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณ โดยรอบตำบลน้ำก้อ ได้แก่ พื้นที่ป่า พื้นที่ไร่เลื่อนลอย พื้นที่ชุมชน พื้นที่การเกษตร เส้นทางคมนาคม (ต้องอาศัยการแปลข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ที่ไม่เคยเห็นในการทำงานติดตามสภาพน้ำท่วมของประเทศเราเลย ในขณะนี้ และการเก็บข้อมูลในภาคสนามมาสุ่มตรวจสอบ) รวมทั้งปริมาณน้ำฝนรายวันที่ครอบคลุมบริเวณพื้นที่รับน้ำ เป็นต้น และเมื่อเราเข้าใจถึงสาเหตุ หรือปัจจัย ที่ทำให้พื้นที่ต่างๆ มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิด น้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ แล้ว ก็จะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยง ต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆได้

วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในระดับต่างๆ
ในทางทฤษฏีนั้น (จะไม่อธิบายในรายละเอียดมากนักเพราะเป็นเชิงวิชาการที่ลงลึกระดับหนึ่ง) โดยทั่วไปจะนิยมใช้การวิเคราะห์เชิงพื้นที่จากปัจจัยตามธรรมชาติ Zoom Imagesและปัจจัยที่มนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้น โดยมีการทดลองเลือกกำหนดค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยขึ้น และรวมผลสรุปเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆ โดยจะทำการสุ่มตรวจสอบข้อมูลในภาคสนามเพื่อ นำมาปรับค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัยให้เหมาะสม ในการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว หรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลัน ในระดับต่างๆ แต่ละพื้นที่ ซึ่งมีปัจจัยตามธรรมชาติ และปัจจัยที่มนุษย์เป็นผู้กระทำขึ้น แตกต่างกันไป ซึ่งต้องทำการศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่ต่อไป


การศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่
เมื่อได้พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวในระดับสูงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มฉับพลันในพื้นที่ต่างๆ แล้ว จึงจะดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละพื้นที่ซึ่งทุกขั้นตอนของการดำเนินการตามแผนที่จะได้ (ซึ่งล้วนแต่ใช้เงินมากๆ เกือบทุกขั้นตอน) เช่น การอนุรักษ์ และปลูกป่า การรักษาหน้าดิน การก่อสร้างเขื่อน/ฝาย การปรับเส้นทางระบายน้ำ เส้นทางคมนาคม การวางผังเมืองใหม่ การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม การติดตั้งเครื่องมือสื่อสาร/เตือนภัย/วัดปริมาณน้ำฝน การประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ต่อประชาชน ในพื้นที่ดังกล่าว (รวมเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย) เป็นต้นนั้น ไม่จำเป็นที่ทุกพื้นที่ ต้องกระทำเหมือนกันหมดอย่างแน่นอน

จากขั้นตอนต่างๆโดยสังเขปดังกล่าวข้างต้นของ
- สาเหตุ หรือปัจจัยที่ทำให้พื้นที่ต่างๆมีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และดินถล่ม ฉับพลันในระดับต่างๆ
- วิธีการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและดินถล่ม ฉับพลันในระดับต่างๆ
- การศึกษาเพื่อกำหนดแผนงานการป้องกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวขึ้นในแต่ละ พื้นที่

ดังกล่าวข้างต้นนั้น รัฐบาลจะสามารถกระทำให้เกิดผลอย่างจริงจังได้ในระยะยาวนั้น สิ่งแรกที่รัฐบาลต้องรีบดำเนินการก็คือ การจัดทำระบบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ทันการณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ระบบภาพดาวเทียม ซึ่งต้องเชื่อมโยงจาก หน่วยงานเครือข่าย ทั้งในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวัง และติดตามการเบลื่ยนแปลงปัจจัยต่างๆไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่ทำหน้าที่ปฏิบัติ ในพื้นได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็วและทันการณ์ ซึ่งคงต้องมี หน่วยงานกลาง ที่มีความสามารถ (อย่างจริงจังเสียที) เพื่อรับผิดชอบข้อมูลเชิงพื้นที่ข้อมูลรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง จากหน่วยงานต่าง โดยมีมาตรฐาน ช่วงเวลาที่เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนกันได้และไม่ซ้ำซ้อน (รวมทั้งมีข้อมูลดาวเทียม ที่มีความละเอียดซึ่งสามารถเลือกสั่งตามช่วงเวลาที่ต้องการได้)โดยข้อมูลดังกล่าว ไม่ใช่แต่จะมีความสำคัญเฉพาะการป้องกันน้ำท่วมเท่านั้น แต่จะที่มีความสำคัญต่อความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่สามารถ ใช้ข้อมูลส่วนใหญ่ใช้ร่วมกันได้ซึ่งจะแก้ปัญหาทุกๆด้านของประชาชนที่รากหญ้าได้อย่างแท้จริง

ปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำท่วม และแผ่นดินถล่มในประเทศเรานับวันจะเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอนจาก การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในระดับโลก (Global Climate Change) ความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สิน คงจะน้อยลง ถ้าเราเริ่มทำงานอย่างเป็นระบบ มีแผนงานระยะยาวที่ชัดเจน และกระทำอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่แค่เฉพาะกิจเท่านั้น เพราะปัญหาเหล่านี้จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก จะรุนแรงขึ้นและมากขึ้นอย่างแน่นอน อยากให้ช่วยป้องกันอย่างเต็มที่ก่อนการเกิดความเสียหาย ดีกว่ามาช่วยตอนเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม (เป็นประจำ) เท่านั้น ความรู้สึกทางจิตใจของชาวบ้านต่อความสูญเสียนั้นคงจะดีกว่านี้แน่ ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกก็ตาม เพราะเราได้พยายามป้องกัน และเตือนภัย(ในอนาคต)ไว้อย่างดีที่สุดแล้ว
ประเทศมาเลเซียใช้ภาพถ่ายดาวเทียมของประเทศเขาเองติดตามเฝ้าระวังไฟป่าในเกาะบอร์เนียว ...
ประเทศสิงคโปร์มีภาพดาวเทียมของประเทศเขาเองที่มีรายละเอียด 1 เมตร เพื่อใช้ในการติดตาม และควบคุมงานสาธารณูปโภค การปรับปรุงพื้นที่ถมชายทะเลอยู่ตลอดเวลา ...

แล้วประเทศไทยของเรา.. การแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับเรื่องน้ำท่วมและดินถล่มในบ้านเรา.. จะใช้ประสบการณ์แก้ปัญหา เฉพาะหน้าโดยใช้กรอบแนวคิดแบบเดิมๆ

...ภาครัฐจะเพียงแต่คอยใช้วิกฤติให้กลายเป็นโอกาสจากการใช้งบประมาณอย่างรวดเร็ว(เป็นหลัก) จากความเห็น(ที่สรุปได้อย่างรวดเร็ว)โดยการซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือ(เช่นดาวเทียมเพื่อใช้เฝ้าระวังหมู่บ้านเสี่ยงภัยที่ยังไม่ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์อย่างจริงจัง รวมทั้งเครื่องเทเลเมเตอริงที่จะใช้เตือนภัย) ซึ่งจะคุ้มค่าต่อการช่วยเหลือประชาชน อย่างแท้จริงซักเพียงใด คงจะมีคำถามต่อไปอีกอย่างแน่นอน..
ไม่คิดใหม่ทำใหม่ให้รอบคอบและสอดคล้องตามหลักวิชาการ สมัยใหม่อย่างเป็นระบบ โดยไม่ลืมข้อมูลพื้นฐานเดิมและภูมิปัญญาชาวบ้าน มาช่วยในการศึกษาและวิเคราะห์ หาแนวทางในการวางแผนป้องกันภัยจากน้ำท่วมและดินถล่มฉับพลันในประเทศเรา ดูบ้างหรือไร..

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 9:56 pm
by sigree
เท่าที่อ่าน ผมว่าหลายคนกำลังเสนอตรงกันอยู่คือ

การจัดการพื้นที่ หรือ Zoning

ว่าตรงไหนท่วมไม่ได้ ไม่น่าจะท่วม พอจะท่วมได้ และท่วมได้ และตรงไหนเป็นแก้มลิง

แล้วใช่สิ่งที่คุณ แดงจังเลย คิดว่าเป็นปัญหาคือ ถนน เพราะไปขวางทางน้ำ ทำให้มันมาเป็นเขื่อนแบ่งแต่ละพื้นที่แทน

Image

ไม่ให้น้ำเข้าถึงส่วนที่ท่วมไม่ได้ เช่น สถานที่ราชการ แหล่งพลังงาน โรงไฟฟ้า สถานีสื่อสารต่างๆ

เห็นไหมสิ่งที่เรียกว่าปัญหาในมุมของอีกคน อาจเป็นหนทางรอดของอีกคน

หรือในพื้นที่สำคัญมากๆ อาจกั้นเป็นแห่งแบบโบราณสถานต่างๆ อันนี้เป็นโมเดลแล้วไม่ต้องตั้ง
Image

Image

Image
ทำแบบนี้ในทุกๆ รพ และศาลาว่าการฯ เพื่อให้รักษาคนได้ และมีพื้นที่ทำงานยามฉุกเฉินของข้าราชการ ประสานงาน
สำคัญสุดและต้องทำทันทีคือการจัดพื้นที่

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:00 pm
by swtp99
1.หมดฝนนี้ให้ขุดลอกคู คลอง แม่น้ำ หนอง บึง ที่ติ้นเขินทั่วประเทศด่วน..เพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำหน้าถัดไป
2.ปรับปรุงประตูน้ำ คันดิน ให้เป็นอะไรที่มั่นคงถาวรมากกว่านี้

(เอาแค่ 2 ข้อก่อนนะคะ..พรุ่งนี้ต่อใหม่)

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:04 pm
by sigree
ฝากถามทุกท่าน

เอาแบบวางใจเป็นกลางนะ การถมทะเลทำเขื่อนคิดว่าแก้ไขปัญหาได้ไหม?

ส่วนตัวมองว่าไม่เกี่ยว เพราะที่ผ่านมาเราเจอปัญหาน้ำจืดท่วมจากทางเหนือและพายุมากกว่าการหนุนของทะเล

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:18 pm
by เช neverdie
ลองทำบ้านดำน้ำดูไหมครับ

พอน้ำมาจะได้นอนดูปลาธรรมชาติผ่านทางกระจกหน้าต่าง

ผมล้อเล่น .... :mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:
..........................................................................

เอาจริงจังหน่อย...

แต่มาคิดไปคิดมา บ้านเรือนแพที่คิดกันมามันจะเจอปัญหาก็คือ ถ้ามันลอยน้ำอยู่ตลอดเวลาก็โอเค แต่เนื่องจากมันต้องใช้อยู่อาศัยตอนน้ำลดแห้งไปแล้วด้วย ถ้าหากมีวัสดุอะไรไม่ว่าอาจจะเป็นขอนไม้ โอ่ง ไห ฯลฯ พัดตามน้ำมาอยู่ใต้บ้าน เวลาน้ำลดบ้านมันก็จะไม่ตั้งตรงอยู่ในสภาพเดิม เนื่องจากมีสิ่งแปลกปลอมมาค้ำอยู่ใต้บ้าน ทีนี้ก็งานงอกละครับ ต้องยกบ้านทั้งหลังเพื่อเอาวัสดุแปลกปลอมที่ค้ำใต้บ้านออกไป บ้านทั้งหลัง ยกไม่ดี ก็พังอีก ...

แต่ถ้าจะทำเสาใต้แพเพื่อยกตัวบ้าน(จะเหมือนบ้านยกพื้น)กรณีที่น้ำลดจนแห้งไปแล้ว ตัวโครงสร้างของบ้านก็ต้องแข็งแรงมากพอที่ห้อยแพเอาใว้ใต้ตัวบ้าน(ราคาก็คงไม่ถูกแน่ๆ) แบบบ้านของเนเธอร์แลนด์จึงไม่น่าจะเอามาประยุกต์ใช้ได้เพราะบ้านเรื่อนแพของเนเธอร์แลนด์เค้าลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา มีเสาเข็มยึดใว้ไม่ให้บ้านลอยไปตามน้ำ เพียงแต่ตัวบ้านยกระดับตามการขึ้นลงของน้ำได้ แต่บ้านกึ่งเรือนแพของที่พวกเราจะทำกันมันต้องเป็นบ้านสะเทินน้ำสะเทินบก

ฝากเป็นการบ้านครับ แต่เชื่อว่าปัญหามา ปัญญามี .... ;) ;) ;)

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:19 pm
by Solidus
แดงจังเลย wrote:
sigree wrote:
แดงจังเลย wrote:คุณลองไปดูประวัติศาสตร์นะ ไม่มีน้ำท่วมครั้งใหนของประเทศไทย ที่จะแก้ได้ ในความคิดเห็นของคุณ

สิ่งที่ดีที่สุดคือ เยียวยา และกำลังใจ และพวกตัวป่วนก็ให้เพลาๆปากบ้าง

ขออภัย

ความสิ้นหวังเป็นหนทางของความตกต่ำ

โลกเราไปข้างหน้าด้วยการแก้ไข ไม่ใช่ปีหน้ามาปลอบใจกันใหม่

และหากพูดเชิงประวัติศาสตร์ ประเทศเราแก้ปัญหาน้ำท่วมถึงด้วยการอยู่ร่วมกับน้ำ บ้านใต้ถุนสูง ใช่น้ำเป็นทางสัญจร เพาะปลูก ฯลฯ

ดินแดนแถบนี้มีการจัดการน้ำมากกว่า 1000 ปี อย่าอ้างว่าแก้ไม่ได้ โดยประวัติศาสตร์ คนโบราณเขาทำมาแล้ว

ผมไม่ได้มาขัดคุณนะ แต่คุณลองดู ถนน แทบทุกสายยกระดับเหนือบ้านคน ทำให้การระบายน้ำลำบากมาก ป่าไม้ถูกบุกรุกมากมาย บ้านเรือนก็ปลูกขวางการสัญจรน้ำ
แล้วโลกร้อนทำให้น้ำท่วม ฝนตก แบบพิศดาร ตำราใหนๆก็แก้ยาก ถ้าคุณบอกเราอยู่กับน้ำท่วมได้ งั้นลองปล่อยให้กรุงเทพ ท่วมสัก2เมตร เหมือนต่างจังหวัดดูสิ คุณจะอยู่ร่วมกับน้ำท่วมได้ไหม
กรุงเทพท่วม 2 เมตร พวกนนท์ ปทุม อยุธยาคงมิดน้ำไป 4 เมตรกระมังครับ :lol: :lol: :lol:

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:20 pm
by aumstar
การจัดการ
พื้นที่ป่าไม้
ระบบชลประทานแบบโครงข่าย
แผนแก้ปัญหาน้ำท่วมเป็นระบบ
เช่น
โปรแกรม simulator วิเคราะห์ จัดการน้ำ
ระบบ bypass น้ำลงทะเล

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:29 pm
by เพลิงสีนิล
sigree wrote:ฝากถามทุกท่าน

เอาแบบวางใจเป็นกลางนะ การถมทะเลทำเขื่อนคิดว่าแก้ไขปัญหาได้ไหม?

ส่วนตัวมองว่าไม่เกี่ยว เพราะที่ผ่านมาเราเจอปัญหาน้ำจืดท่วมจากทางเหนือและพายุมากกว่าการหนุนของทะเล



ถมทะเลแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ เพราะทำให้ทางระบายน้ำแคบลง เมื่อการระบายน้ำทำได้ช้า เป็นคอขวด ก็ท่วม กรุงฯ อะครับ

ถมทะเลเป็นวิธีการที่ทำเพื่อรักษาชายหาด หรือ ชายฝั่งที่เกิดการกัดเซาะ ของน้ำทะเลทำให้ที่ดินหดหาย



ส่วนกรณีป้องกันน้ำทะเลหนุนนั้น การทำเขื่อนกั้นปากแม่น้ำ(ไม่ใช่ถม) และแนวชายฝั่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล อาจช่วยได้ (เหมือนญี่ปุ่น)

แต่หากปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงมาตามแม่น้ำมากเหมือนปีนี้ จะทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้ท่วมสองฝากฝั่งของแม่น้ำ

เพราะทางระบายออกมีเพียง ประตูระบายน้ำเท่านั้น

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:32 pm
by Solidus
เพลิงสีนิล wrote:
sigree wrote:ฝากถามทุกท่าน

เอาแบบวางใจเป็นกลางนะ การถมทะเลทำเขื่อนคิดว่าแก้ไขปัญหาได้ไหม?

ส่วนตัวมองว่าไม่เกี่ยว เพราะที่ผ่านมาเราเจอปัญหาน้ำจืดท่วมจากทางเหนือและพายุมากกว่าการหนุนของทะเล



ถมทะเลแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ เพราะทำให้ทางระบายน้ำแคบลง เมื่อการระบายน้ำทำได้ช้า เป็นคอขวด ก็ท่วม กรุงฯ อะครับ

ถมทะเลเป็นวิธีการที่ทำเพื่อรักษาชายหาด หรือ ชายฝั่งที่เกิดการกัดเซาะ ของน้ำทะเลทำให้ที่ดินหดหาย



ส่วนกรณีป้องกันน้ำทะเลหนุนนั้น การทำเขื่อนกั้นปากแม่น้ำ(ไม่ใช่ถม) และแนวชายฝั่งที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล อาจช่วยได้ (เหมือนญี่ปุ่น)

แต่หากปริมาณน้ำเหนือที่ไหลลงมาตามแม่น้ำมากเหมือนปีนี้ จะทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ทำให้ท่วมสองฝากฝั่งของแม่น้ำ

เพราะทางระบายออกมีเพียง ประตูระบายน้ำเท่านั้น
ลองทายซิว่าห่างทะเลกี่เมตร :lol: :lol: :lol:


Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:32 pm
by Solidus
sigree wrote:เท่าที่อ่าน ผมว่าหลายคนกำลังเสนอตรงกันอยู่คือ

การจัดการพื้นที่ หรือ Zoning

ว่าตรงไหนท่วมไม่ได้ ไม่น่าจะท่วม พอจะท่วมได้ และท่วมได้ และตรงไหนเป็นแก้มลิง

แล้วใช่สิ่งที่คุณ แดงจังเลย คิดว่าเป็นปัญหาคือ ถนน เพราะไปขวางทางน้ำ ทำให้มันมาเป็นเขื่อนแบ่งแต่ละพื้นที่แทน

Image

ไม่ให้น้ำเข้าถึงส่วนที่ท่วมไม่ได้ เช่น สถานที่ราชการ แหล่งพลังงาน โรงไฟฟ้า สถานีสื่อสารต่างๆ

เห็นไหมสิ่งที่เรียกว่าปัญหาในมุมของอีกคน อาจเป็นหนทางรอดของอีกคน

หรือในพื้นที่สำคัญมากๆ อาจกั้นเป็นแห่งแบบโบราณสถานต่างๆ อันนี้เป็นโมเดลแล้วไม่ต้องตั้ง
Image

Image

Image
ทำแบบนี้ในทุกๆ รพ และศาลาว่าการฯ เพื่อให้รักษาคนได้ และมีพื้นที่ทำงานยามฉุกเฉินของข้าราชการ ประสานงาน
สำคัญสุดและต้องทำทันทีคือการจัดพื้นที่
ต้องทำแบบกรุงเทพแหละครับ ทำคันกั้นน้ำในแม่น้ำสายหลัก คลองระบายน้ำมีการเชื่อมถึงกัน สามารถระบายน้ำไปถึงแม่น้ำสายหลักได้ ใช้ถนนเป็นเขื่อนกั้นน้ำส่วนหนึ่ง ส่วนที่จะขวางทางน้ำนั้นข้างถนนมันเป็นคลองระบายน้ำหลายจุดเลย จะที่ท่วมตอนฝนตกเท่าที่ดูท่วมเพราะไม่ได้เปิดเครื่องสูบน้ำซะงั้น :lol: :lol: :lol:

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:33 pm
by dutchout
เสนอไปแล้วกระทู้ก่อนๆ ขอเสนอซ้ำ


สิ่งที่เราลืมๆกันก็คือน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลครับ

สมัยก่อนพื้นยังไม่เป็นคอนกรีต เป็นพื้นดินเสียส่วนใหญ่ เวลามีน้ำท่วม น้ำหลาก ดินก็ซับน้ำลงใต้ดิน และน้ำก็ไหลตามแหล่ง ตามทางของมัน

สมัยนี้พื้นที่คอนกรีตเยอะ อัตราการระบายน้ำลงดิน มีน้อยมาก อีกทั้งปัจจุบันน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดิน ก็ถูกสูบมาผลิตเป็นน้ำดื่มน้ำกินเป็นส่วนใหญ่ ปัญหานี้ก็เกิดการทรุดตัวของดิน อย่าง กทม ทรุดไปแล้วเท่าไร จำตัวเลขไม่ได้ (คิดง่ายๆ มนุษย์ไปทำลายสมดุลของธรรมชาติ เราสูบน้ำจากใต้ดินมาใช้ ตอนนี้น้ำจากใต้ดินก็มาอยู่บนดิน น้ำบนดินมีมาก ก็ระเหย ระเหยกลายเป็นเมฆเป็นฝน ก็ตกลงมา น้ำก็หลาก น้ำก็ท่วม แต่น้ำที่อยู่ใต้ดินกลับลดลง)

ดังนั้น การสร้างแหล่งพักน้ำใต้ดิน น่าจะได้ประโยชน์ 2 เด้ง คือ
1. ช่วยระบายน้ำจากบนดินให้สู้ใต้ดิน
2. ป้องกันการทรุดตัวของหน้าดิน

แต่ก็ใช้ว่าวิธีนี้จะไม่มีปัญหาตามมา ปัญหามีแน่ๆ คือระบบการจัดการ และงบประมาณ อีกเรื่องที่สำคัญคือ จะกลายเป็นการเพิ่มภาระในการผลิตน้ำดื่มน้ำกิน เพราะการต่อน้ำบนดินลงใต้ดินโดยตรงนั้น จะไม่เกิดการกรองน้ำเสียตามธรรมชาติ มันก็เหมือนเอาน้ำเสีย ขี้โคลน ที่ไม่ผ่านการกรองเติมลงไปใต้ดินโดยตรง

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:36 pm
by เพลิงสีนิล
dutchout wrote:เสนอไปแล้วกระทู้ก่อนๆ ขอเสนอซ้ำ


สิ่งที่เราลืมๆกันก็คือน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลครับ

สมัยก่อนพื้นยังไม่เป็นคอนกรีต เป็นพื้นดินเสียส่วนใหญ่ เวลามีน้ำท่วม น้ำหลาก ดินก็ซับน้ำลงใต้ดิน และน้ำก็ไหลตามแหล่ง ตามทางของมัน

สมัยนี้พื้นที่คอนกรีตเยอะ อัตราการระบายน้ำลงดิน มีน้อยมาก อีกทั้งปัจจุบันน้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดิน ก็ถูกสูบมาผลิตเป็นน้ำดื่มน้ำกินเป็นส่วนใหญ่ ปัญหานี้ก็เกิดการทรุดตัวของดิน อย่าง กทม ทรุดไปแล้วเท่าไร จำตัวเลขไม่ได้ (คิดง่ายๆ มนุษย์ไปทำลายสมดุลของธรรมชาติ เราสูบน้ำจากใต้ดินมาใช้ ตอนนี้น้ำจากใต้ดินก็มาอยู่บนดิน น้ำบนดินมีมาก ก็ระเหย ระเหยกลายเป็นเมฆเป็นฝน ก็ตกลงมา น้ำก็หลาก น้ำก็ท่วม แต่น้ำที่อยู่ใต้ดินกลับลดลง)

ดังนั้น การสร้างแหล่งพักน้ำใต้ดิน น่าจะได้ประโยชน์ 2 เด้ง คือ
1. ช่วยระบายน้ำจากบนดินให้สู้ใต้ดิน
2. ป้องกันการทรุดตัวของหน้าดิน

แต่ก็ใช้ว่าวิธีนี้จะไม่มีปัญหาตามมา ปัญหามีแน่ๆ คือระบบการจัดการ และงบประมาณ อีกเรื่องที่สำคัญคือ จะกลายเป็นการเพิ่มภาระในการผลิตน้ำดื่มน้ำกิน เพราะการต่อน้ำบนดินลงใต้ดินโดยตรงนั้น จะไม่เกิดการกรองน้ำเสียตามธรรมชาติ มันก็เหมือนเอาน้ำเสีย ขี้โคลน ที่ไม่ผ่านการกรองเติมลงไปใต้ดินโดยตรง



อันนี้ผมเข้าใจนะ แต่ปัญหาคือใครจะทำ รัฐบาลไหนจะยอมลดอัตราความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นหมายถึงการขยายตัวของเมือง

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:37 pm
by sigree
http://www.tantusmarina.com/th/thsolution.html
ไม่อยากโฆษณาให้ แต่ให้ดูเป็นแนวทางครับ เราสามารถทำทุ่นลอยน้ำกับคอนกรีตได้ทนและแข็งแรง

สำหรับกรณีอะไรมารองใต้บ้านตอนท่วม ไม่ยากครับ

หากมีอะไรรองแล้วบ้านเอียง เวลาน้ำลดก็เช็คดูครับ มีอะไรใต้บ้านไหมเคลื่อนย้ายก่อน

หากมาเจอภายหลังก็ล้มกระสอบทรายรอบบ้าน แล้วใส่น้ำจนบ้านลอยแล้วถอนออกก็ได้ครับ ไม่ยาก

โดยส่วนตัวชอบบ้านลอยน้ำแบบนี้
Image

สังเกตนะครับ แกทำแพไว้ปลูกผักด้วย

Re: เชิญ ชาว สรท ร่วมเสนอแนวคิด แก้ปัญหาน้ำท่วม

PostPosted: Mon Sep 26, 2011 10:39 pm
by ลายน้ำ
มิน่าล่ะ สมัยก่อนบ้านส่วนใหญ่ยกสูงทั้งนั้น
แต่ปัจจุบันมันแย่กว่านั้นมาก เพราะสิ่งแวดล้อม
ถูกทำลายไม่ยั่งมือเลย น้ำในดินก็อุ้มไว้ไม่อยู่
ส่วนถ้าดินแถวไหนที่ใต้ล่างเป็นหินนะแล้วเนื้อ
ดินประมาณ 4-5 เมตรนะถล่มแน่นอน แต่ถ้า
มีต้นไม้ใหญ่จะช่วยได้มาก เพราะรากไม้
เป็นต้วทำลายและเร่งการผุกร่อนของหิน
แต่ก็นะ โดนตัดไปเยอะ ค่อยๆแก้ไม่เอา
แป็ปเดียว ขอระยะยาว ก็นี่แหล่ะปลูกต้นไม้ที่
เชิงเขา ปลูกหญ้าแฟก ทำแก้มลิง(ที่มหาลัยน้ำท่วมบ่อย
แต่มีแก้มลิง) น่าจะลดปัญหาตรงนี้ได้มาก