อ่าน ปวศ. กันบ้าง

เรื่องการเมือง เชิญที่นี่เลยครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

เชิญทุกท่านเข้าสู่บอร์ดใหม่ได้ที่ http://webboard.serithai.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ viewtopic.php?f=2&t=44976 ครับ

อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Fri Oct 14, 2011 3:43 pm

อ่าน ปวศ. กันบ้าง

“ คลองแห่งความหวัง "
แคน สาริกา คมชัดลึก
14 ตุลาคม 2554

การขุดคลองเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญอย่างหนึ่งที่พระเจ้าแผ่นดินไทยนิยมทำมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แม่น้ำเจ้าพระยาตรงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เราข้ามไปมาทุกวี่วัน ความจริงเมื่อ 400 ปีก่อนก็คือคลองขุดหรือคลองลัดที่พระมหากษัตริย์โปรดฯให้ขุดเพื่อช่วยร่นระยะทางไม่ให้ต้องอ้อมแม่น้ำเก่าคดโค้ง คลองแสนแสบหรือคลองบางขนากขุดเพื่อใช้ขนส่งเสบียงอาหารระหว่างทำสงครามกับญวน คลองผดุงกรุงเกษมขุดเพื่อใช้เป็นคูเมือง และเป็นทางคมนาคม คลองรังสิตประยูรศักดิ์ขุดเพื่อเปิดพื้นที่รกร้างว่างเปล่าให้เป็นแหล่งเพาะปลูก

ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการขุดคลองมากที่สุด และคลองอันเป็นที่พึ่งที่หวังในการระบายน้ำออกสู่ทะเลคราวนี้ ก็เป็นผลงานของพระพุทธเจ้าหลวงทั้งสิ้น ยกเว้นคลองระพีพัฒน์ที่มีการขุดในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเวลานี้กรมชลประทานกำลังเร่งผันน้ำจากสวนอุตสาหกรรมโรจนะลงสู่คลองระพีพัฒน์ออกไปทางแม่น้ำบางปะกง

และมีบางคลองที่ขุดในรัชกาลที่ 4 คือคลองมหาสวัสดิ์ กับ คลองภาษีเจริญที่ทั้งสองคลองเชื่อมเจ้าพระยากับท่าจีน แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าหลวงโปรดฯให้เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์เป็นแม่กองจัดการว่าจ้างชาวจีนขุดคลองตั้งแต่หลักสองคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือตัดทุ่งไปถึงคลองมหาสวัสดิ์ พระองค์พระราชทานนามว่าคลองทวีวัฒนา ซึ่งทั้งสามคลองนี้จะช่วยเหลือชาวกรุงธนบุรีด้านเขตหนองแขม เขตทวีวัฒนา เขตบางแคมิให้จมน้ำในฤดูมหาอุทกภัย

สำหรับคลองประวัติศาสตร์ที่จัดว่าเป็นคลองสายแรกในรัชกาลที่ 5 คือ คลองเปรมประชากร

พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นตั้งแต่ครองราชย์ใหม่ๆ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2413 โดยใช้เวลาขุด 18 เดือน ทรงออกเงินส่วนพระองค์จ้างจีนขุด สิ้นพระราชทรัพย์ 2,544 ชั่ง กับอีก 8 บาท หรือสองแสนกว่าบาทในสมัยนั้น คลองสายนี้มีจุดเริ่มต้นจากวัดโสมนัสวิหาร ผ่านบางซื่อ บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง ปทุมธานีไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดเปรมประชากร ต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน อยุธยา

ประตูน้ำด้านวัดเปรมประชากรมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะยามน้ำมากอย่างนี้ กระแสน้ำที่เชี่ยวแรงจะทะลักไหลเข้าท่วมหลายอำเภอของปทุมธานีและกรุงเทพฯ

แทบไม่น่าเชื่อเลยว่าร้อยกว่าปีที่ผ่านไป คลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 จะกลายเป็นคลองแห่งความหวังของพสกนิกรยุคปัจจุบัน

หมายเหตุ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯผันน้ำผ่านคลองระพีพัฒน์ คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองหกวาสายล่าง คลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรัมย์ เพื่อระบายสู่แม่น้ำนครนายกและบางปะกง
อีกทางหนึ่งระบายผ่านคลองสำโรง คลองพระองค์ไชยานุชิต และสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ

พื้นที่ฝั่งตะวันตกระบายน้ำผ่านคลองมหาสวัสดิ์ คลองทวีวัฒนา และคลองภาษีเจริญลงสู่แม่น้ำท่าจีน

ซึ่งปลายทางเหล่านี้ของคลองทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก ก็คือทะเลอ่าวไทยนั่นเอง
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby ปกติทำแต่งาน » Fri Oct 14, 2011 4:05 pm

ถึงยุคกาลีครองเมือง น้ำท่วมกำลังสร้างความเสียหายบ้านเมือง สิ่งที่มาช่วยบรรเทาคือคลองที่มีอยู่ หลายคลองถูกสั่งให้สร้างโดยพระมหากษัตริย์ในอดีต พระมหากรุณาธิคุณยังคงปกป้องบ้านเมืองมาถึงทุกวันนี้ พวกควายแดงล้มเจ้า ใจรัน อีเ็พ็ญ หงอกเจียม และไอ้อ้วน พวกเอ็งมันเป็นพวกต่ำกว่านรก ที่พยายามปลุกปั่น ทำลายล้างสถาบันที่เป็นที่เคารพและพึ่งพิงของคนไทยมาตลอด โดยอาศัยเงินประชานิยมจากเจ้ามูลเมือง ทำ Dual Track ไปกับระบบคอมมิวนิสต์ของพวกเอ็ง อาศัยความซื่อๆของชาวบ้านสนตะพายนำพาไปสู่จุดที่ไม่สมควร ขอให้ตกนรกเป็นมะเร็งปาก มะเร็งไข่ ไปพร้อมกับเจ้ามูลเมืองบิดาเอ็ง

Image
ผิดคือผิด แม้ว่าหลายคนจะทำสิ่งนั้น
ถูกคือถูก แม้ว่าจะไม่มีใครทำสิ่งนั้น

ศจ. สังเวียน อินทรวิชัย
User avatar
ปกติทำแต่งาน
 
Posts: 206
Joined: Tue May 24, 2011 4:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby finch » Fri Oct 14, 2011 8:07 pm

ขอให้เวรกรรมตามทันพวกที่คิดร้ายต่อสถาบันและบ้านเมือง ขอให้มีอันเป็นไปโดยเร็ว
My HeaD FoR My KinG
User avatar
finch
 
Posts: 83
Joined: Wed May 19, 2010 2:05 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 12:22 am

ภาพและเรื่องของคลองผดุงกรุงเกษม

Image

เพิ่งรู้ว่าฝั่งธนบุรี ที่เรารู้จักกันนั้นเป็นชื่อเล่น.. ชื่อเต็มๆจริงของฝั่งธนฯ ก็คือ

กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร เนื่องจากทางฝั่งธนบุรีนั้นสภาพดินเป็นดินดอน

และมีการค้าขายกับต่างประเทศมากประมาณพาณิชย์นาวี

ส่วนฝั่งพระนครนั้น แต่เดิมลักษณะดินเป็นดินเลน จึงมีอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ

การปั้นดินเหนียว ที่เราเคยได้ยินกัน จำพวก ตุ่มสามโคก..หรือชื่อคลองโอ่งอ่าง

ก็มาจากการปั้นโอ่ง ปั้นอ่างขาย ค่ะ …

และก่อนที่จะมีถนนอย่างทุกวันนี้..เราเดินทางด้วยเรือกันมาก่อน

การเลือกชัยภูมิในการตั้งเมืองหลวงนั้น จึงเลือกให้อยู่ใกล้แหล่งน้ำ

เพื่อการคมนาคม การค้าขาย..

เมื่อมีการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์....

พระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ก็มีพระราชดำริให้ขุดคูคลองต่างๆ

เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทาง..ดังนั้นคลองในกทม. จึงมีเยอะมาก

แต่ละคูคลองก็มีความเป็นมาและความสำคัญในตัวเอง..

มีคลองอยู่คลองหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่เห็นในภาพ คือ คลองผดุงกรุงเกษม

ภาพนี้ถ่ายขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 คลองนี้ได้รับการออกแบบเหมือนคลองเวนิส ที่อิตาลี..ที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดในโลก

โดยรอบคลองสองข้างทางจะเป็น walk way เป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจของคนในสมัยก่อน

http://lovelybluemoon.wordpress.com/2008/03/26/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%873/
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 12:29 am

Image
บรรยากาศขณะที่ชาวเมืองเวนิสซึ่งพร้อมใจกันแต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองมารวมตัวกันเต็มคลองแกรนด์ คาแนลเมื่อเดือน ก.ย. 2553 หลังทางการอิตาลีออกกฎหมายใหม่ให้คลองต่างๆของเมืองเวนิสตกเป็นสมบัติของรัฐบาลกลางอิตาลี แทนที่จะตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเมืองเวนิสอย่างในอดีต...
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby The Producer M@ster » Sat Oct 15, 2011 12:44 am

ผมขอเสริม...

ขอบอกว่าช่วงรัชกาลที่ 5 มีเอกสารกล่าวถึงการขุดคลองต่างๆมากมาย บางคลองที่มีอยู่แล้วก็ขยายกว้างขึ้นหรือลึกขึ้น...
และขอเสริมเรื่องแม่น้ำเจ้าพระยา...อันที่จริงสมัยก่อนแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้กว้างเหมือนปัจจุบันนะครับ
สมัยก่อนมีขนาดความกว้างของคลองเพียง 2/3 เท่านั้น (โดยประมาณ)
ซึ่งทำให้คนสมัยก่อนสามารถเดินเล่นในแม่น้ำเจ้าพระยากันได้ด้วยซ้ำไป...เพราะมีทิ้งดินรกร้างที่สามารถรับน้ำไว้ได้ (สมัยนั้นคนไม่มาก)
จนกระทั่งที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาถูกน้ำค่อยๆกัดเซาะจนทำให้คลองมีขนาดใหญ่มากขึ้น...

เอาเป็นว่า ลองสังเกตบ้านเรือนที่จังหวัดนนทบุรี มีบ้านตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาถึงแม้ว่าปัจจุบันการตั้งบ้านเรือนในคลองผิดกฏหมาย
แต่ชาวบ้านเขาตั้งบ้านได้เพราะเขามีหลักฐานว่าสมัยก่อนที่ตรงนี้เป็นที่ดินของเขา แต่ถูกแม่น้ำกัดเซาะไปแล้ว)

อันที่จริงการขุดคลองไม่ได้มีไว้เพื่อระบายน้ำเป็นหลักนะครับ บางแห่งเขาขุดคลองก็เพื่อทำทางสัญจรและให้ชาวบ้านจำจองที่ดินทำมาหากินก็มี
อย่างคลองพระองค์ไชยานุชิต ก็เป็นหนึ่งในนั้น...
User avatar
The Producer M@ster
 
Posts: 520
Joined: Wed Jul 29, 2009 10:43 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 1:01 am

ดีค่ะช่วยกันเสริม ช่วงนี้จะว่างรอบดึกหลังหกทุ่ม เขียนทิ้งไว้ให้เพื่อนๆอ่าน เป็นการเชิดชูบูรพกษัตริย์ไทยค่ะ
เห็นคุณแคน สาริกา (คอมมิวนิสต์เก่า - ฮา) นำร่องบทความต้นเรื่องไว้ให้ พวกเราไม่เคยเป็นคอม จัดไปเลยค่ะ 55

ภาพและเรื่องของคลองประเวศน์บุรีรมย์

คลองประเวศน์ ขุดจากกรุงเทพฯ 50 กม.ต่อจากคลองพระโขนง ตอนต้นคลองส่วนที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่เขตพระโขนง เรียกว่าคลองพระโขนง เกิดเองตามธรรมชาติ พอไหลเข้าเขตประเวศน์ และเขตลาดกระบังก็เริ่มเรียกคลองประเวศน์ ไหลไปทางทิศตะวันออกผ่านสมุทรปราการไปจรดแม่น้ำบางปะกงที่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา คลองนี้เป็นคลองยุทธศาสตร์ของชาติในยุค ร. 3 ครั้งไทยทำสงครามรบกับเวียดนาม เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยนำทัพเข้ารบ ทั้งในลาว เขมรและเวียดนาม ถึง 15 ปี และครั้งหนึ่งในยุค ร. 5 ฝรั่งเศสแผ่อำนาจจักรวรรดินิยมรุกเข้าไปยึดเวียดนาม เขมรและลาว ไทยต้องเตรียมรับภัยที่มาทางตะวันออกเต็มที่

คลองพระโขนง คลองประเวศน์บุรีรมย์หรือเรียกว่าคลองประเวศน์เป็นคลองสายเดียวกัน เหมือนการเรียกชื่อถนนตามชุมชนที่ผ่าน อาจเพราะสงครามกับญวน ร. 3 โปรดให้ขุดต่อปลายคลองพระโขนงต่อออกไปทางตะวันออกไปบรรจบแม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทราดังกล่าวแล้ว คลองนี้จัดเป็นคลองยุทธศาสตร์ขนานไปกับคลองแสนแสบที่มีอยู่ก่อนแล้วทางด้านเหนือ การขุดครั้งนั้นไม่เสร็จแต่ก็ทำให้ได้พื้นที่เพิ่มผลผลิตการเกษตรขึ้นมาก ทั้งเกิดประชาคมใหม่ๆตามแนวคลองเพิ่มขึ้น

หลังปีพ.ศ. 2420 ร. 5 โปรดให้จ้างชาวจีนขุดคลองที่ค้างสมัย ร. 3 ต่อไปออกแม่น้ำบางปะกงอีก ครั้งนี้เป็นการขุดอย่างมีการรังวัดแนวคลองเป็นเส้นตรง ทำให้เดินทางได้เร็ว ประชาชนพากันบริจาคสมทบงบการขุด และได้รับพระราชทานนามว่า คลองประเวศน์บุรีรมย์

Image
ภาพตลาดคลองสวนซึ่งตั้งอยู่ริมคลองประเวศน์บุรีรมย์ บริเวณรอยต่อ 2 จังหวัด
คือตำบลคลองสวน อำเภอบ่างบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ต่อกับตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 1:16 am

เอาเรื่องตัวเลขจากกรมชลฯกันบ้าง

- การระบายน้ำผ่านคลองต่างๆ อาทิ คลองระพีพัฒน์ คลองรังสิต คลองหกวาสายล่าง คลองบางขนาก คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรัมย์ ระบายสู่แม่น้ำนครนายกและแม่น้ำบางปะกง ก่อนระบายลงสู่อ่าวไทย อีกส่วนจะระบายผ่านคลองสำโรง คลองพระองค์ไชยานุชิต และสถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ ก่อนสูบและระบายลงสู่ทะเลอ่าวไทย รวมปริมาณน้ำที่ระบายทั้งหมดประมาณวันละ 36 ล้าน ลบ.ม.

- ส่วนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกตอนล่าง ได้เร่งระบายน้ำผ่านคลองรับน้ำต่างๆ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน รวมทั้งใช้สถานีสูบน้ำที่ตั้งอยู่ตามคลองชายทะเลต่างๆ สูบและระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย คิดเป็นปริมาณน้ำที่ระบายประมาณวันละ 14 ล้านลบ.ม.

- นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงที่น้ำทะเลลงต่ำ ประมาณวันละ 51 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้ง ยังได้ประสานกับสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร เพื่อให้แบ่งรับน้ำจากทางตอนบนผ่านคลองต่างๆ ก่อนที่จะใช้อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง และสถานีสูบน้ำต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร สูบและระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและทะเลอ่าวไทยต่อไป

http://www.posttoday.com/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1/115313/%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81-%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 1:28 am

ภาพและเรื่องของคลองแสนแสบ

Image

คลองแสนแสบเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ขุดขึ้นเพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงที่ตำบลบางขนาก เมื่อ พ.ศ. 2380 ใช้เป็นเส้นทางลัดในการเดินทางไปยังเมืองปราจีนบุรีและเมืองฉะชิงเทรา มีพระราชประสงศ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังประเทศญวนในราชการสงครามไทย-ญวนซึ่งใช้เวลารบถึง 14 ปี ที่เรียกกันว่า “สงครามอันนัมสยามยุทธ”

ชื่อของคลองน่าจะพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศที่คลองนี้ขุดผ่าน ซึ่งล้วนเป็นที่ราบลุ่มอุดมด้วยทุ่งหญ้า มีน้ำขังเจิ่งนองตลอดปี จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่ใหญ่ที่สุด อันได้แก่ ทุ่งบางกะปิ ทุ่งคลองตัน ทุ่งมีนบุรี ทุ่งหนองจอก และจากหลักฐานสำคัญซึ่งอาจสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อแสนแสบเป็นอย่างดีก็คือ รายงานการเดินทางของนาย ดี.โด.คิง (D.O. King) นักสำรวจชาวอังกฤษแห่งกรุงลอนดอน มีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของผู้คนแถบคลองแสนแสบนี้ว่า

“..คลองนี้มีความยาว 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง ผ่านบริเวณที่ราบชนบท ซึ่งใช้สำหรับการเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะ คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์ เช่นเดียวกับชาวสยามอื่นๆ พื้นบ้านของคนเหล่านี้ทำด้วยไม้ไผ่ยกขึ้นสูงจากพื้นประมาณ 4 ฟุต เสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นผ้ารัดเอวธรรมดาๆ และไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ....”

จากข้อความตามในรายงานของนาย ดี.โอ.คิง ก็น่าที่จะเป็นข้อสันนิษฐานว่าชื่อคลองแสนแสบนี้น่าจะเกิดจากความเจ็บแสบอย่างสาหัสของชาวบ้านแถบนั้นที่ถูกยุงกัด และปัจจุบันคลองแห่งนี้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการคมนาคมเพราะมีเรือบริการผู้โดยสารซึ่งจะเริ่มออกจากท่าเรือที่วัดศรีบุญเรืองไปจนสุดเส้นทางที่ท่าเรือสะพานผ่านฟ้าลีลาศ

Image

http://www.thaigoodview.com/node/88178
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 2:00 am

เมื่อ ปี 2310 และได้มีการตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองสายแรกๆ ที่มีการขุดขึ้นเมื่อปี 2325 นั้น อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อให้มีสายน้ำล้อมรอบ ราชธานีแห่งใหม่นี้ และล้อมรอบกำแพงเมืองที่ก่อขึ้นจากอิฐจนครบทุกด้าน
-----------------------
แก้ไข
กำแพงเมืองในปี 2325 เป็นเสาไม้ระเนียดจ้า

*
*
*
Posts: 2323
Private message
amplepoor


^^^^^^ได้มีจดหมายน้อย'บับหนึ่งมาถึงข้าพเจ้า ทักท้วงเนื้อความที่อาจไม่ถูกต้อง
ข้าพเจ้ามีเวลาและศักยภาพทึ่จะตรวจทานได้บางข้อ จึงแก้ไขและบันทึกเป็นเรป.ใหม่
เอาตามท่านแอมไว้ก่อนด้วยความขอบพระคุณ
หากท่านใดมีข้อโต้แย้งเนื้อความใด หรือมีข้อมูลน่าสนใจ
ก็ขอให้ช่วยเข้ามาสร้างสรรค์กันนะคะ
.........ขอบพระคุณทุกท่านค่ะ
Last edited by หนูอ้อย on Sun Oct 16, 2011 12:30 pm, edited 3 times in total.
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 7:34 am

หนูอ้อย wrote:ในประวัติศาสตร์ หัวเมืองต่างๆ ทุกแห่งและแม้กระทั่งเมืองขนาดเล็กทั่วประเทศไทยต่างมีคูคลองและเนินดินล้อมรอบเมืองด้วยกันทั้งสิ้น บางทีมีการใช้วัสดุอื่นก่อสร้างเช่นอิฐหรือหินศิลาแลง คูคลองเหล่านี้อาจมีความยาวหลายกิโลเมตรอย่างเช่นในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น เหตุผลของการขุดคูคลองรอบเมืองก็เพื่อใช้เป็นปราการป้องกันไม่ให้ช้างและศัตรูเข้ามาในเมืองได้ แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในคูคลองเหล่านี้กลายเป็นประเด็นที่เมืองต่างๆ เหล่านี้ต้องขบคิด เนื่องจากว่าเมืองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเมืองใหญ่

เมื่อปี 2310 และได้มีการตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่ เกาะรัตนโกสินทร์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองสายแรกๆ ที่มีการขุดขึ้นเมื่อปี 2325 นั้น อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศเหนือของเกาะรัตนโกสินทร์เพื่อให้มีสายน้ำล้อมรอบราชธานีแห่งใหม่นี้.....โดยกำแพงเมืองในปี 2325 เป็นเสาไม้ระเนียด
แก้ไขโดยท่าน amplepoor ท่านยืนยันว่าไม่ใช่ "ล้อมรอบกำแพงเมืองที่ก่อขึ้นจากอิฐจนครบทุกด้าน"

การขุดคูน้ำล้อมรอบนี้ทำเป็นสองชั้นตั้งแต่ทรงย้ายพระบรมมหาราชวังข้ามมาจากป้อมวิชัยประสิทธิ์ โดยการนี้เป็น "การขุดคูน้ำล้อมรอบ เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน” เพื่อการป้องกันพระนครจากศึกสงคราม

ในปี 2393 ได้มีการขุดคูน้ำรอบที่สามขึ้นเพื่อขยายเมืองไปทางทิศตะวันออก ขณะที่อาวุธยุทโธปกรณ์ได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

แต่นับตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 19 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการตัดถนน ซึ่งกลายมาเป็นระบบขนส่งที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และไม่มีการขุดคลองใหม่นับตั้งแต่หลังปี 2458 เป็นต้นมา ส่วนคลองที่เหลืออยู่ก็ไม่ได้รับการเหลียวแล หรือไม่ก็ถูกถมเพื่อใช้เป็นถนนแทน

เซอร์จอห์น เบาวริ่ง อุปทูตจากประเทศอังกฤษซึ่งเข้ามาประจำการในประเทศไทย (หรือสยามในสมัยนั้น) ในปี 2398 ได้เขียนไว้ว่า “ ทางหลวงของบางกอกไม่ใช่ถนน หรือตรอกซอกซอย แต่เป็นแม่น้ำและคูคลอง” เมื่อช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีรายงานว่า 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดในบางกอก หรือประมาณ 400,000 คนอาศัยอยู่บนแพลอยน้ำหรือในบ้านริมแม่น้ำหรือริมตลิ่งคูคลอง แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายเล็กสายน้อยที่แตกย่อยออกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยานับว่าเป็นสิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานของบางกอก และเรือเป็นยานพาหนะหลักที่ใช้ในการขนส่งสินค้าและผู้คน ตลอดจนใช้ในการติดต่อสื่อสารด้วย ปัจจุบันนี้กรุงเทพฯ มีประชากรกว่า 11 ล้านคน และถึงแม้ว่าจะมีบริการรถประจำทางและยานพาหนะต่างๆ มากมาย แต่ก็ยังมีคนนับหมื่นที่ยังใช้บริการเรือยนต์ในการเดินทางเป็นประจำทุกวัน

แง่มุมทางประวัติศาสตร์ของคูคลองต่างๆ ถูกลดความสำคัญลงและไม่ได้รับความสนใจ และแม่น้ำลำคลองกลายเป็นสิ่งที่เสี่ยงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ควรหลีกเลี่ยง ในบางพื้นที่ลำคลองส่งกลิ่นเหม็นจนถึงขนาดทนไม่ได้และเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ในย่านที่มีความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพฯ พื้นที่ซึ่งแต่เดิมเป็นลุ่มน้ำ ปัจจุบันนี้ก็เต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่อง กลายเป็นป่าคอนกรีตที่เต็มไปด้วยถนนหนทางแทน ด้วยเหตุนี้ จึงมีพื้นที่ที่จะซึมซับน้ำฝนในช่วงมรสุมลดน้อยลง ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วม และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือทำให้ระดับความสามารถในการอุ้มน้ำของชั้นหินและดินลดน้อยลง จึงเป็นสาเหตุให้พื้นที่ในตัวเมืองทรุดลงปีละหลายนิ้ว

มีผู้เรียกกรุงเทพฯ ว่า “ เวนิสตะวันออก” (ซึ่งอยุธยาเคยได้ฉายานี้มาก่อน) แต่กรุงเทพฯ ไม่ได้มีรูปแบบหรือลักษณะเหมือนเมืองเวนิสเลย มีแต่ปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาแผ่นดินทรุดตัวลง ปัญหามลพิษเรื้อรัง และระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น กรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานท้องถิ่นที่ตระหนักถึงปัญหาในจุดนี้ที่สุด และได้มีการเสนอแผนการต่างๆตลอดมาเป็นสิบปี เพื่อสร้างอุโมงค์ยักษ์และกำแพงขนาดใหญ่ รวมทั้งปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีเหมือนอย่างในประเทศฮอลแลนด์ เพื่อรับมือกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เช่นในวันนี้

ต้องลองดูฝีมือผู้ว่าการจากพรรคประชาธิปัตย์ดู ท่านประกาศเอาชีวิตทางการเมืองเป็นเดิมพันแล้ว
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby เพื่อนร่วมชาติ » Sat Oct 15, 2011 4:42 pm

ก่อนยุครถยนต์

การขุดคลองคือการเพิ่มเส้นทางคมนาคม หรือสร้างทางลัดในจุดที่ลำน้ำธรรมชาติคดโค้ง

ถึงแม้จุดมุ่งหมายหลักในเวลานั้นจะไม่ใช่การระบายน้ำ

แต่เนื่องจากคลองก็คือลำน้ำ การคมนาคมทางน้ำที่คล่องตัว จึงสัมพันธ์กับการระบายน้ำที่ดีขึ้นไปโดยปริยาย



พอเข้าสู่ยุครถยนต์ เราก็พัฒนาไปในทิศทาง "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ"

เส้นทางคมนาคมทางน้ำด้อยความสำคัญลงไป

ถนนกลายเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง และต้องพยายามทำให้ถนนแห้ง ถึงแม้พื้นที่รอบข้างจะท่วม

ถนนจึงถูกถมสูง และหลายจุดก็กลายเป็นคันกั้นน้ำ


ผมคิดว่าเวลานี้เรา้ไม่มีทางเลือกที่ดีไปกว่า การหันกลับมาให้ความสำคัญกับเส้นทางน้ำอีกครั้ง

คนสมัยรัชกาลที่ห้ายังขุดระบบคลองมหึมาอย่างคลองรังสิตได้

ทำไมคนยุคนี้จะทำไม่ได้
ประชาธิปไตยก็เหมือนส้วมสาธารณะแบบนั่งเต็มตูด คนไทยใช้แล้วเลอะเทอะชิบเป๋ง
User avatar
เพื่อนร่วมชาติ
 
Posts: 3541
Joined: Mon Oct 13, 2008 6:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby amplepoor » Sat Oct 15, 2011 5:08 pm

เคยอ่านเจอว่า การก่อสร้างพระนครใหม่เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะมีข่าวว่าพม่าเตรียมทัพจะยกเข้ามา จึงสร้างชั่วคราวเป็นกำแพงไม้ระเนียด หลังจากเสร็จศึกพม่า 2328 แล้ว จึงทำพระราชพิธีราชาภิเษกเต็มตามตำรา และก่อสร้างป้อมกำแพงถาวร อิฐที่ใช้ ก็ไปรื้อมาจากกำแพงเมืองอยุธยา

มีเรื่องต่อเนื่องที่เกี่ยวกับคลองก็คือ โปรดให้ขุดคลองขึ้นมาใหม่สายหนึ่งตามอย่างคลองมหานาคที่อยุธยา สำหรับเป็นที่เล่นมหรสพหน้าน้ำ ก็คือคลองที่อยู่หน้าโรงหนังเฉลิมไทย...อ้าว รื้อไปแล้วนี่ เอาเป็นว่าคือคลองที่ตรงสะพานผ่านฟ้า ที่ปัจจุบันเราเรียกกันผิดว่าคลองแสนแสบนั่นแหละ ที่จริงชื่อว่าคลองมหานาค ตัดออกไปทางทิศตะวันออกถึงเวิล์ดเทรด อุ๊บ สมัยนั้นยังไม่มี ......เอาเป็นว่าตัดออกไปนอกเมืองผ่านที่รกร้างว่างเปล่า และอาจจะเชื่อมต่อกับคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว

จะว่าไปแล้ว คลองมหานาคก็นับว่าแปลกประหลาด เพราะขุดขึ้นมาเพื่อความบันเทิงของพระนคร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเกษตรหรือคมนาคมอย่างคลองอื่นๆ

ตรงปากคลองที่ทุกวันนี้เป็นพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอู่เก็บเรือรบ เพราะจากจุดนี้เองที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาใช้เป็นที่ตั้งต้น ยกทัพออกไปรบญวน ที่ไกล้ๆ กันมีวัดที่ท่านปฎิสังขรณ์เป็นอนุสรณ์ไว้ รัชกาลที่ 3 พระราชทานชื่อให้เป็นเกียรติกับท่านว่า วัดปรินายก เพราะท่านเป็นสมุกนายกนั่นเอง เดิมกินเนื้อที่กว้างขวาง แต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดนเฉือนเป็นจุดเริ่มต้นของถนนราชดำเนินนอก เห็นจะร่วมครึ่งวัดทีเดียว วัดปรินายกอันยิ่งใหญ่ ก็เลยเหลือพื้นที่อย่างที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้

อิอิ ส่งการบ้านคุณครูน้องหนูอ้อยแค่นี้ครับ
User avatar
amplepoor
 
Posts: 2363
Joined: Wed Apr 06, 2011 2:52 am

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sat Oct 15, 2011 10:05 pm

ขอบคุณท่านผู้ร่วมสนทนา
ขอส่งบทความต่อนะคะ. . .

ประวัติคลองรังสิต

Image
ครั้นถึงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๔๔๕ เวลาเช้า พระบาทสมเด็จพระจุลจอม
เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบทหารเต็มยศ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช (รัชกาลที่ ๗) และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จโดยพระที่นั่ง
จากวังสวนดุุสิตถึงสถานีรถไฟสามเสน ประทับรถพระที่นั่งโดยมีรถไฟใช้
ฝีจักรจูงรถพระที่นั่งออกจากสถานีรถไฟสามเสนประมาณโมงเศษ ถึง
สถานีรถไฟคลองรังสิต เวลาเช้า ๒ โมงเศษ ณ ที่นั้นมีพ่อค้า ประชาชน
ทั้งเมืองปทุมธานีและเมืองธัญญบุรีมารับเสด็จกันอย่างมากมาย
พ.ท.พระฤทธิจักรกำจร ผู้ว่าราชการเมืองธัญญบุรี ได้อันเชิญดอกไม้
ธูปเทียนและเครื่องสักการะบูชาทูลเกล้าถวายเชิญเสด็จเข้าสู่เมือง
ธัญญบุรีโดยเรือพระที่นั่งชื่อ "สมจิตรหวัง" โดยมีเรือกลไฟลากจูงเรือพระ
ที่นั่งถึงเมืองธัญญบุรีเวลาประมาณ ๔ โมงเศษ ในระยะทาง ๓๖๘ เส้น
เมื่อเรือพระที่นั่งเทียบท่าหน้าเมืองแล้ว ณ ที่นั้นได้มีข้าราชการในมณฑล
กรุงเทพฯ และหัวเมืองตลอดทั้งพ่อค้าประชาชนมารอรับเสด็จอย่างคับคั่ง


ในช่วงกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นช่วงที่การขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยวิธีการขุดคลองได้ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวางมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 – 2440 ในช่วงนี้โครงการทุ่งรังสิตถือได้ว่าเป็นโครงการขุดคลองที่สำคัญอย่างเด่นชัดที่สุด พระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงมีพระราชดำรัสมาก่อนว่า

“ในพระราชอาณาเขตสยามนี้ คลองเป็นสิ่งสำคัญ ในหนึ่งปีควรให้ได้มีคลองขึ้นสักหนึ่งสาย จะทำให้บ้านเมืองเจริญ ถึงจะต้องออกพระราชทรัพย์ปีละพันชั่งหรือสองพันชั่งก็ไม่ทรงเสียดาย"


ด้วยพระราชดำรัสนี้ทำให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ขอพระบรมราชานุญาตขุดคลองโครงการทุ่งรังสิต ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2433 ซึ่งได้ทรงอนุญาตให้บริษัทกอมปนีขุดคลองแลคูนาสยาม (บริษัทนี้ภายหลังเรียกชื่อว่า บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม) ได้เป็นผู้รับสัมปทานเป็นเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 – 2458 และกำหนดให้ขุดคลองเพียงสายเดียวก่อนคือ “คลองรังสิตประยูรศักดิ์” ซึ่งชื่อคลองนี้ทรงโปรดเกล้าพระราชทานเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์

จากหนังสืออนุญาตฉบับแรก บริษัทได้เริ่มขุดคลองที่ 1 โดยเริ่มที่ตำบลบ้านใหม่ ใต้เกาะใหญ่ แขวงเมืองปทุมธานี ไปออกแม่น้ำนครนายก ขนาดคลองกว้าง 6 วา ลึก 6 ศอก ยาว 1,400 เส้น เริ่มขุดตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2436 พอครบกำหนดสัญญาบริษัทก็ยังขุดคลองสายนี้ไม่เสร็จคงขุดไปได้เพียง 100 เส้นเศษ เท่านั้น บริษัทได้ขอเลื่อนเวลาแล้วเสร็จออกไปเป็นปี พ.ศ. 2440 และขอขยายขนาดคลองจากขนาดกว้าง 6 วา ลึก 6 ศอก เป็นกว้าง 8 วา ลึก 5 ศอก นับได้ว่าเป็นคลองสายใหญ่ที่สุดในสมัยนั้น

พื้นที่สัมปทานรังสิตมีประมาณ 800,000 - 150,000ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดปทุมธานี บริเวณอำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ และอำเภอลำลูกกา จังหวัดนครนายก ในเขตอำเภอองครักษ์ กรุงเทพมหานคร บริเวณเขตหนองจอก และเขตบางเขน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อำเภอวังน้อย และจังหวัดสระบุรี ที่อำเภอหนองแค

การเกิดขึ้นของคลองรังสิต เอิ้อคุณประโยชน์นานัปการ โดยเฉพาะทางการเกษตร ทำให้พื้นที่รกร้างบริเวณทุ่งหลวงเปลี่ยนเป็นแหล่งเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่มีข้าวเป็นผลผลิตหลัก การขุดทั้งคลองหลักและคลองแยกในเวลาต่อมา ทำให้มีคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณทุ่งรังสิตมากขึ้นมีทั้งคนไทย จีน มอญ ลาว และแขกมลายูที่นับถือศาสนาพุทธ คริสต์ และอิสลาม ต่างพากันมาตั้งบ้านเรือนอยู่ร่วมกันตามริมคลองไปตลอด จึงทำให้เป็นเส้นทางคมนาคมไปด้วย พื้นที่ทุ่งรังสิตนี้ได้มีการส่งเสริมการปลูกข้าวทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนกันอย่างจริงจังดังเห็นได้จาก พ.ศ. 2449 ได้มีการนำเครื่องจักรไถนามาทดลองใช้เป็นครั้งแรกที่บริเวณคลองหนึ่ง และจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกที่รังสิตเมื่อ พ.ศ. 2450 เพื่อกระตุ้นให้ชาวนาคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ดี พร้อมกับได้ตั้งสถานีทดลองพันธุ์ข้าวขึ้นที่รังสิตและมีการตั้งอำเภอธัญบุรี ในเขตปทุมธานีในพ.ศ. 2445
สำหรับชื่ออำเภอธัญญบุรี ที่ใช้ "ญ" ตัวเดียวนั้น ใช้ตามประกาศสำนัก
นายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๐ ให้เขียนชื่ออำเภอธัญบุรี มี
"ญ" ตัวเดียว เพื่อให้เป็นไปตามประกาศของราชบัณฑิตยสถาน ในเรื่อง
การเขียนชื่ออำเภอต่างๆ (เดิมอำเภอธัญบุรีมี "ญ" สองตัว)


Image
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sun Oct 16, 2011 10:04 am

นอกจากการสร้างคูคลองในรัชกาลพระพุทธเจ้าหลวงแล้ว ในสมัยนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของการสร้างสะพานข้ามคูคลองอีกด้วย

มีการนำเทคนิควิทยาการแบบตะวันตกเข้ามาใช้ ตลอดจนจ้างนายช่างชาวต่างประเทศออกแบบและอำนวยการก่อสร้าง

สะพานหลายแห่งจึงมีลักษณะศิลปกรรมเป็นแบบตะวันตกที่ผสมผสานกับศิลปกรรมไทยได้อย่างกลมกลืน หลายสะพานที่สร้างขึ้นโดยรัฐบาลเพื่อสนองพระราชดำริ เช่น สะพานเทวกรรมรังรักษ์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนนครสวรรค์ สร้าง พ.ศ. 2442 เชื่อมถนนตลาดและถนนปลายตลาดซึ่งได้แก่ถนนนครสวรรค์ในปัจจุบัน

สะพานนริศดำรัส ข้ามคลองมหานาคที่ถนนจักรพรรดิพงษ์ หน้าวัดสระเกศ หรือที่เรียกว่าสะพานดำ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2442 เช่นกัน

สะพานผ่านพิภพลีลา ข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมถนนราชดำเนินในและถนนราชดำเนินกลาง สร้างเมื่อ พ. ศ. 2443

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ข้ามคลองรอบกรุงตอนที่เรียกว่าคลองบางลำภู เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและราชดำเนินนอก

สะพานวิศุกรรมนฤมาน ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมถนนราชสีมา และถนนประชาธิปไตย สร้าง พ. ศ. 2444

สะพานมัฆวานรังสรรค์ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมถนนราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอกสร้างปี พ.ศ. 2446 เป็นสะพานที่งดงามและประณีตมาก

สะพานชมัยมรุเชฐ ข้ามคลองเปรมประชากร สร้าง พ. ศ. 2444 ดังภาพประกอบ

Image

ชมัยมรุเชฐ แปลว่า พี่ชายผู้เป็นเทพ 2 พระองค์
สะพาน ชมัยมรุเชฐ เป็นสะพานที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 โดยพระประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 เพื่ออุทิศถวายพระเชษฐา 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สยามมกุฏราชกุมาร
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ได้เสด็จพระราชดำเนิน
พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ มาทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2445

สะพานชมัยมรุเชฐ เป็นสะพานข้ามคลองเปรมประชากร อยู่บนถนนพิษณุโลก เขตดุสิต บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล



ปัจจุบันสะพานหลายแห่งได้มีการแก้ไขดัดแปลงไปจากเดิม กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ
และจัดอยู่ในโครงการอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์เพื่อดูแลรักษาและอนุรักษ์คุณค่าของศิลปะและความสำคัญในประวัติศาสตร์ไว้
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby อาวุโสโอเค » Sun Oct 16, 2011 10:15 am

ขอบคุณหนูอ้อยมากครับ อ่านหายเครียดดี :mrgreen:
User avatar
อาวุโสโอเค
 
Posts: 1300
Joined: Mon Jul 04, 2011 8:08 am

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sun Oct 16, 2011 11:08 am

คลองเปรมประชากร

Image

คลองเปรมประชากร (Khlong Prem Prachakon) เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2413 เชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยา จากคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าวัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร ไปทะลุตำบลเกาะใหญ่ แขวงกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นระยะทาง 1271 เส้น 3 วา (50846 เมตร) เนื่องจากทรงเห็นว่าการเดินเรือขึ้นล่องตามแม่น้ำเจ้าพระยานั้น เส้นทางอ้อมไปมาทำให้เสียเวลาในการเดินทางมาก

การขุดคลองเปรมประชากรโดยเป็นการตัดเส้นทางน้ำให้ตรงขึ้น ทำให้ได้ประโยชน์สองประการ คือ ช่วยร่นระยะทางระหว่างกรุงศรีอยุธยากับกรุงรัตนโกสินทร์ให้สั้นลง และขยายพื้นที่การเพาะปลูกเข้าไปในบริเวณที่คลองตัดผ่าน ซึ่งเดิมเป็นป่ารกชัฏเต็มไปด้วยโขลงช้างเถื่อน จนไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย โดยโปรดเกล้าฯให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้อำนวยการ และ เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระชลธารวินิจฉัย เป็นผู้ปักหมายกรุย ให้ทำการจ้างจีนขุดคลอง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อคลองนี้ว่า "คลองเปรมประชากร" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คลองนี้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมขุดคลองและภาษีคลองใด ๆ ทั้งสิ้น ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้คลองนี้เป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระราชกุศลให้ราษฎรได้รับความสะดวกสบายโดยทั่วกัน

อ่าน ปวศ.คลองเปรมประชากรแล้ว มาดูสถานการณ์ปัจจุบันของคลองเปรมฯนี้กันบ้าง......
(ข่าวจากไทยรัฐออนไลน์)

ประตูน้ำคลองเปรมประชากรใต้ ที่อยู่ในพื้นที่ของหลักหก ซึ่งเป็นด่านสุดท้ายที่น้ำจากคลองรังสิตและคลองเปรมประชากร จะผ่านเข้าไปยังเขตดอนเมืองของ กทม. นั้น....ขณะนี้ประตูระบายน้ำยังมั่นคงแข็งแรงดี และมีการเสริมแผ่นเหล็กขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีน้ำเข้าไปท่วมในเขตดอนเมือง และ กทม.อย่างแน่นอน โดยในขณะนี้ระดับน้ำหน้าประตูระบายน้ำคลองเปรมประชากรใต้สูงกว่าระดับน้ำด้านหลังประตูประมาณ 4 เมตร โดยมีการประสานงานกันระว่างเขตดอนเมือง และเจ้าหน้าที่ของชลประทานอยู่ตลอดเวลา ขอให้ชาวดอนเมืองมั่นใจได้ว่าน้ำจะไม่เข้าไปท่วม กทม.อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เทศกิจเขตดอนเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยจำนวน 40 นาย และมีทหารจาก ปตอ.พัน 7 จำนวน 60 นาย มาช่วยสมทบในการป้องกันน้ำเข้าท่วมในเขตกรุงเทพฯ

^ ^ และเรื่องราวท้าย เรป.นี้ วันต่อไปข้างหน้าก็จะเป็น ปวศ.ของรุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป. . . . .
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby phoebus » Sun Oct 16, 2011 11:14 am

มาเสริม ๆ ครับ

คลองรังสิตประยูรศักดิ์

ไม่ต้องอ่าน ดูเลย :mrgreen:

"ดี แต่ตอแหล"
User avatar
phoebus
 
Posts: 3245
Joined: Mon Feb 28, 2011 4:32 am

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby overtherainbow » Sun Oct 16, 2011 12:01 pm

เมื่อวานว่าจะเข้ามาคุยในกระทู้นี้เสียหน่อย

โดน 403 เกือบทั้งวัน

โห

เกือบขาดใจ
User avatar
overtherainbow
 
Posts: 3123
Joined: Sat Dec 27, 2008 12:36 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sun Oct 16, 2011 3:57 pm

หน้าที่อันสำคัญเร่งด่วน ณ.วันนี้ของคลองระพีพัฒน์

ชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กำลังเผชิญกับน้ำที่ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน หลังจากลำคลองในละแวกนี้มีระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากถูกใช้เป็นทางระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยเฉพาะ "คลองระพีพัฒน์" หนึ่งในช่องทางระบายน้ำสำคัญ ที่จะช่วยผันน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้ไหลออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น

โดยมีการผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาลงยังคลองระพีพัฒน์ ในช่วงจังหวัดปทุมธานี เพื่อผันน้ำให้ไหลลงคลองต่าง ๆ และลงสู่ทะเลที่อ่าวไทยต่อไป ซึ่งก็ช่วยให้การระบายน้ำจากลุ่มภาคกลางตอนล่างเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น แต่การผันน้ำลงคลองระพีพัฒน์นี้ ก็ได้ส่งผลให้บ้านเรือนในจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งชุมชนริมคลองรังสิต และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมตามมา

สำหรับคลองระพีพัฒน์ (ทำการขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ) ส่วนต้นที่เป็นคลองสายใหญ่...มีความยาว 32 กิโลเมตร เริ่มต้นจากประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย คือ คลองระพีพัฒน์แยกใต้ ระบายน้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีเสาวภาค ออกไปยังอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาว 28.7 กิโลเมตร ส่วนอีกสายคือ คลองระพีพัฒน์แยกตะวันตก ระบายน้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีศิลป์ และไปสิ้นสุดที่ประตูน้ำพระอินทร์ราชา จังหวัดปทุมธานี ความยาว 36.6 กิโลเมตร โดยสามารถรองรับน้ำจากที่ไหลมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้เต็มที่ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้กำลังใกล้เต็มพื้นที่รับน้ำแล้ว แต่ทว่า...ยังคงมีน้ำเหนือที่จะไหลลงมายังคลองระพีพัฒน์อีกเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบัน การระบายน้ำที่มาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทางคลองระพีพัฒน์นั้น ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก แต่ที่น่าห่วงก็คือ มวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลมาจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะทำให้ปริมาณน้ำในคลองระพีพัฒน์สูงขึ้นมาก จนระบายไม่ทัน และส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ตามเส้นทางที่คลองระพีพัฒน์ไหลผ่านได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรในละแวกใกล้เคียงตั้งแต่คลอง 13 และรอบ ๆ บริเวณจังหวัดปทุมธานี

ด้วยเหตุนี้ กรมชลประทานจึงต้องเร่งระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์ฝั่งตะวันตก เข้าสู่คลองรังสิต 1-6 เพื่อให้คลองระพีพัฒน์สามารถรองรับน้ำที่จะไหลบ่ามาเพิ่มเติมได้ แต่นั่นก็จะทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่คลองรังสิต 1-6 ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นคลองเช่นกัน โดยกรมชลประทานคาดว่าระดับน้ำอาจสูงกว่าถนนไม่เกิน 1 เมตร ส่วนพื้นที่ตั้งแต่คลอง 7 เป็นต้นไปเป็นทุ่งนาความเดือดร้อนจะไม่มากเท่าช่วงคลองรังสิต 1-6 พร้อมกับยืนยันว่า น้ำจะไม่ไหลทะลักเข้าเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

เช่นนั้นแล้ว ในช่วงนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในช่วงคลองรังสิต 1-6 รวมทั้งเส้นทางที่อยู่ใกล้คลองระพีพัฒน์ จึงต้องเผชิญกับน้ำท่วม และคงต้องอดทนกับสถานการณ์เช่นนี้อีกพักหนึ่ง กว่าที่น้ำก้อนมหาศาลจะไหลลงทะเลที่อ่าวไทยได้ทั้งหมด ดังนั้น ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูง จะได้เตรียมการป้องกัน หรือร้ายที่สุดคือ จะได้สามารถอพยพออกมาได้ทัน


คลองระพีพัฒน์กำลังทำหน้าที่ทางประวัติศาสตร์นั้นอยู่
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sun Oct 16, 2011 5:06 pm

amplepoor wrote:เคยอ่านเจอว่า การก่อสร้างพระนครใหม่เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะมีข่าวว่าพม่าเตรียมทัพจะยกเข้ามา จึงสร้างชั่วคราวเป็นกำแพงไม้ระเนียด หลังจากเสร็จศึกพม่า 2328 แล้ว จึงทำพระราชพิธีราชาภิเษกเต็มตามตำรา และก่อสร้างป้อมกำแพงถาวร อิฐที่ใช้ ก็ไปรื้อมาจากกำแพงเมืองอยุธยา

มีเรื่องต่อเนื่องที่เกี่ยวกับคลองก็คือ โปรดให้ขุดคลองขึ้นมาใหม่สายหนึ่งตามอย่างคลองมหานาคที่อยุธยา สำหรับเป็นที่เล่นมหรสพหน้าน้ำ ก็คือคลองที่อยู่หน้าโรงหนังเฉลิมไทย...อ้าว รื้อไปแล้วนี่ เอาเป็นว่าคือคลองที่ตรงสะพานผ่านฟ้า ที่ปัจจุบันเราเรียกกันผิดว่าคลองแสนแสบนั่นแหละ ที่จริงชื่อว่าคลองมหานาค ตัดออกไปทางทิศตะวันออกถึงเวิล์ดเทรด อุ๊บ สมัยนั้นยังไม่มี ......เอาเป็นว่าตัดออกไปนอกเมืองผ่านที่รกร้างว่างเปล่า และอาจจะเชื่อมต่อกับคลองเก่าที่มีอยู่แล้ว

จะว่าไปแล้ว คลองมหานาคก็นับว่าแปลกประหลาด เพราะขุดขึ้นมาเพื่อความบันเทิงของพระนคร ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเกษตรหรือคมนาคมอย่างคลองอื่นๆ
ตรงปากคลองที่ทุกวันนี้เป็นพิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอู่เก็บเรือรบ เพราะจากจุดนี้เองที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาใช้เป็นที่ตั้งต้น ยกทัพออกไปรบญวน ที่ไกล้ๆ กันมีวัดที่ท่านปฎิสังขรณ์เป็นอนุสรณ์ไว้ รัชกาลที่ 3 พระราชทานชื่อให้เป็นเกียรติกับท่านว่า วัดปรินายก เพราะท่านเป็นสมุกนายกนั่นเอง เดิมกินเนื้อที่กว้างขวาง แต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดนเฉือนเป็นจุดเริ่มต้นของถนนราชดำเนินนอก เห็นจะร่วมครึ่งวัดทีเดียว วัดปรินายกอันยิ่งใหญ่ ก็เลยเหลือพื้นที่อย่างที่เห็นอยู่ในทุกวันนี้

อิอิ ส่งการบ้านคุณครูน้องหนูอ้อยแค่นี้ครับ


ไปค้นไปอ่านต่อก็พบจริงอย่างท่านแอมว่า โดยมีปรากฏในพงศาวดารฉบับพระยาทิพากรวงศ์ ว่า รัชกาลที่ 1 ทรง “ขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระแก (สระเกศ) อีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนครจะได้ลงเรือเล่นเพลงสักวา ในเทศกาลน้ำหลากเหมือนอย่างกรุงศรีอยุธยาเก่า…”

ประวัติศาสตร์นี้ แสดงว่า เมื่อน้ำหลากยังเล่นเพลงสักวาได้ อาจแสดงให้เห็นว่า แม้น้ำจะท่วมแต่ก็ไม่เกิดความเสียหายอะไรมากนัก หรืออาจจะไม่ท่วมเพราะคูคลองมีมากมายก็ได้

สรุปเรื่องคลองในรัชกาลต่างๆไล่เรียงกันไปมีดังนี้

คลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 1 นอกจากคลองมหานาคที่มีปรากฎในพงศาวดารแล้ว ยังมีคลองหลอด และคลองรอบกรุง

คลองรอบกรุง หมายถึงคลองโอ่งอ่างและบางลำพู ขุดสมัยรัชกาลที่ 1 คือ พ.ศ.2328 จุดประสงค์เพื่อทำเป็นคูเมือง และการคมนาคม เริ่มขุดตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกด้านเหนือ คือตั้งแต่บางลำพูออกมาแม่น้ำเจ้าพระยาข้างใต้ เหนือวัดสามปลื้ม

แรงงานที่ใช้นั้น รัฐเกณฑ์แรงงานเขมร 10,000 คน มาขุดขึ้น คลองนี้มีความยาว 177.9 เส้น กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก เป็นคลองขุดใหม่ เรื่องแรงงานเขมรที่ขุด สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนบอกไว้ในหนังสือคนไทมาจากไหน ว่า เขมรที่ถูกเกณฑ์มีหลายพวก แต่พวกหนึ่งเป็นจามที่เข้ารีตอิสลามอยู่ในเมืองเขมร เมื่อขุดคลองคูเมือง และคลองมหานาคแล้ว ก็โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งคลองสืบมาทุกวันนี้ ซึ่งชุมชนนั้นถูกเรียกว่า "บ้านครัว" หมายถึง ถูกกวาดต้อนมาทั้งครอบครัว เลยเรียกยกครัว กลายเป็นบ้านครัวในปัจจุบัน

สืบมารัชกาลที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ โดยขุดจากหลังเมืองนครเขื่อนขันธ์ไปจนถึงคลองตาลาว ด้วยการจ้างแรงงานคนจีน

สมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดคลองบางขุนเทียน คลองสุนัขหอน คลองพระโขนง และคลองแสนแสบ

สมัยรัชกาลที่ 4 ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองถนนตรง คลองสีลม คลองเจดีย์บูชา คลองมหาสวัสดิ์ และคลองภาษีเจริญ

สมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองสวัสดิ์ เปรมประชากร นครเนื่องเขต ประเวศบุรีรมย์ อุดมชลจร ส่วนฝั่งธนฯ มี 3 คลองคือ คลองราชมนตรี ทวีวัฒนา และนราภิรมย์

คลองสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีเครือข่ายมากมาย เป็นตาข่ายใยแมงมุงครอบคลุมพื้นที่ทิศเหนือของกรุงเทพมหานครคือ คลองที่ทุ่งรังสิต

ทุ่งรังสิตสมัยก่อนเรียก ทุ่งหลวงรังสิต รัฐบาลได้จ้างบริษัทขุดคลองและคูนาสยาม

บริษัทแห่งนี้ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2431 โดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ และพรรคพวก เพื่อรับงานขุดคลองโดยเฉพาะ จุดประสงค์การขุดนั้น ต้องการใช้เนื้อที่ทำนา การคมนาคม และมีผลพลอยได้เรื่องอาหารการกิน ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก น้ำ และปลา

การจัดจ้างขุดนี้ทำอย่างเป็นระบบ ไม่ได้จ้างแรงงานจีน หรือเกณฑ์แรงงานเขมรขุดเหมือนคลองยุดเก่าๆ แถมมิได้จ่ายเป็นเงิน แต่ให้ที่ดินแทน

“รัฐ จะยกกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองฝั่งคลองที่ไม่มีผู้ใดจับจอง โดยให้ขุดตั้งแต่ฝั่งคลองขึ้นไปฟากละ 40 เส้น หรือ 1,600 เมตร ทั้งสองฝั่งลำคลองใหม่ แต่ถ้าลำคลองเล็กจะวัดออกไป 25 เส้น หรือ 1,000 เมตร ทั้งสองฝั่งคลอง”

เนื้อที่สองฝั่งคลองที่ขุดนั้น “บริษัทจะขายให้ผู้ใดก็ได้ตามความปรารถนา แต่ต้องเหลือที่ริมฝั่งทั้งสองข้าง ข้างละ 6 วา เพื่อให้เป็นที่สาธารณะ”

การขุดคลองรังสิตนั้นเริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ.2431 แต่ลงมือขุดจริงปี พ.ศ.2433 โดยขุดตั้งแต่รังสิตไปจนถึงลำน้ำนครนายกบริเวณตำบลบางปลากด ใช้ชื่อว่า คลองรังสิตประยูรศักดิ์ คลองเส้นนี้เป็นแม่ข่ายคลองเล็กคลองน้อยต่างๆ โดยมีจุดระบายน้ำสำคัญคือ ประตูน้ำจุฬาลงกรณ์

เมื่อขุดเสร็จแล้ว บริษัทจะเป็นผู้รักษาคลองและเก็บเงินจากเรือที่ผ่านไปมา เมื่อขุดเสร็จสรรพก็มีพิธีการเปิดคลองรังสิตอย่างเป็นทางการ คราวนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชดำเนินไปทรงเปิดเมื่อวันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2439

ถือเป็นความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะชาวบ้านได้อาศัยน้ำทำมาหากิน และดำรงชีวิตสืบมาจนปัจจุบัน

Image
^^ภาพคลองมหานาคในอดีต

Image
^^ภาพเรือในคลองมหานาคปัจจุบันถ่ายบริเวณตลาดโบ๊เบ๊
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby amplepoor » Sun Oct 16, 2011 6:17 pm

เรื่องแรงงานเขมรที่ขุด สุจิตต์ วงษ์เทศ เขียนบอกไว้ในหนังสือคนไทมาจากไหน ว่า เขมรที่ถูกเกณฑ์มีหลายพวก แต่พวกหนึ่งเป็นจามที่เข้ารีตอิสลามอยู่ในเมืองเขมร เมื่อขุดคลองคูเมือง และคลองมหานาคแล้ว ก็โปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งคลองสืบมาทุกวันนี้ ซึ่งชุมชนนั้นถูกเรียกว่า "บ้านครัว" หมายถึง ถูกกวาดต้อนมาทั้งครอบครัว เลยเรียกยกครัว กลายเป็นบ้านครัวในปัจจุบัน

ผมไม่ได้อ่านต้นฉบับ ก็เลยไม่รู้ว่าคัดลอกมาเพี้ยนหรือเปล่า แต่ประเมินจากสติปัญญาของสุจิต ผิดพลาดขนาดนี้ เป็นของธรรมดา เพราะเจ้าตัวอ่านมากแต่ไม่มึความคิดวิเคราะห์ หรือประเมินความถูกผิดอะไรได้ดีนัก เอาเป็นว่า ขอแก้คำผิดที่พบในประโยคนี้ อย่างนี้ละกัน

1 แรงงานที่ขุดคลอง จริงอยู่ที่เราเกณฑ์เขมรเข้ามาเป็นหมื่น ให้มาทำงานโยธาสมัยสร้างเมือง หลักๆ ที่พวกเขมรทำก็คือถมที่และขุดคูคลอง

แต่แขกจามบ้านครัว ไม่ใช่เขมรครับ แม้ว่าจะมาจากเขมรก็ตาม และพวกเขาเป็นชุมชนระดับผู้ชำนาญการ ดังที่เรามีชื่อเรียกเป็นหลักฐานว่า กรมอาสาจาม....แปลว่าเป็นนักรบ ไม่มีประเทศใหนเอานักรบมาขุดดิน....อิอิ ยกเว้นประเทศของสุจิตมั้ง

2 ชื่อเรียกว่าบ้านครัว ไม่ได้แปลแบบโฮ่ๆ ว่ามาทั้งครอบครัว แต่แปลว่ามากันหมดทั้งชุมนุม

สมัยนั้นไม่มีหรอกครับ คำว่าครอบครัวที่หมายถึงแฟมีลี่ คำว่าครัว หมายถึงทั้งโคตร คือการเทครัวในสมัยนั้น เป็นการอพยพมาทั้งหมดทุกคนที่เป็นเครือญาติเป็นสมาชิกชุมนุมกันเลย ไม่ได้มากันแค่"ครอบครัว"แบบพ่อแม่ลูก สี่ซ้าห้าคน

แต่แปลว่า ไม่มีใครเหลืออยู่ที่บ้านเดิมอีกเลย (เว้นแต่ไม่ยอมอพยพมาด้วย อาจจะเพราะเหตุผลทางการเมือง หรืออะไรอื่นที่สำคัญมากๆ) .....อย่างสมัยพญาเจ่ง หัวหน้ามอญที่ยกครัวเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระเจ่าตาก นั่นก็มาทั้งเมืองครับ พอเข้ามาแล้ว เราก็มอบให้อยู่กันเป็นชุมนุม ต่อมาก็จะกลายเป็นเนื้อเดียวกับพลเมืองกรุงเทพไป

และการยกครัวนี้ ต้องมีหัวหน้าครัวนำเข้ามา พวกเขาไม่ใช่เชลยศึกไปเสียทุกกลุ่มนะครับ ถ้ามาโดยสมัครใจ เรามักจะตั้งให้เป็นขุนนาง มอบหมายให้ปกครองดูแลกันเป็นการจำเพาะ

สำหรับเขมรที่เข้ามาขุดคลองนั้น มีหัวหน้าเป็นเจ้า ซึ่งเรายกขึ้นเหนือกว่าขุนนาง คือนับเป็นชั้นพระญาติ อย่างต้นโคตรเง่าของกษัตริย์เขมรปัจจุบัน รัชกาลที่ 1 ทรงชุบเลี้ยง ให้บวชเรียน โตขึ้นก็ให้กองทัพให้ขุนพล พากลับไปครองราชย์

เรื่องนี้ไปถามสีหนุได้ เขาจะรับรองข้อความของผม ถ้าเขาไม่ตอแหลนะครับ
User avatar
amplepoor
 
Posts: 2363
Joined: Wed Apr 06, 2011 2:52 am

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby หนูอ้อย » Sun Oct 16, 2011 11:49 pm

ปกิณกะเรื่องคลอง ๆ
ในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้มีการกำหนดชื่อคลองสำคัญ 16 คลองที่จะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติครม.เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2510
และใน พ.ศ.2525ในวาระสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ทางราชการได้กลับมาบูรณะคลองคูเมืองเดิม ได้แก่
คลองวัดเทพธิดา คลองวัดราชบพิธ และคลองรอบกรุง เพราะมีความสัมพันธ์กับทัศนียภาพของส่วนราชการและโบราณสถานสำคัญ
เช่นบริเวณที่เรียกว่าหัวแหวนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ การบูรณะได้ทำการขุดลอกลำคลองเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม
และปลูกไม้ประดับริมฝั่งคลอง ปลูกต้นไม้ใหญ่ ปรับปรุงอาคารบ้านเรือนและร้านค้าสองฟากฝั่งให้สะอาดเรียบร้อยถูกหลักสุขอนามัย
โครงการฟื้นฟูคลองเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จประพาสคลองเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2537
Image
ในโครงการร่วมใจภักดิ์รักษ์คลองแสนแสบ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพลิกฟื้นวิญญาณคลองให้กลับมาอีกครั้ง
คลองจึงได้ถูกมองเป็นทางเลือกในการเดินทางอีกครั้งเช่นเส้นทางเดินเรือหางยาวเพื่อรับส่งคนจากมีนบุรีถึงผ่านฟ้าตามคลองแสนแสบ
ปัจจุบันเป็นที่น่าเสียดายว่าคลองเน่าสนิททั่วกรุงเทพ
จากการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2546 พบว่าในจำนวน 66 คลองเหลือให้สัตว์น้ำอาศัยอยู่ได้เพียง 7 คลองเท่านั้น
ซ้ำร้ายคลองประวัติศาสตร์ที่อนุรักษ์ไว้ 16 คลองหายไปถึง 2 คลองคือคลองบ้านกล้วยและคลองพระยาเวิก
ส่วนคลองห้วยขวาง ได้รับตำแหน่งแชมป์คลองเน่า คลองไผ่สิงโต คว้ารองแชมป์
สู้ถวายหัว
User avatar
หนูอ้อย
 
Posts: 2095
Joined: Sat Mar 21, 2009 10:40 pm

Re: อ่าน ปวศ. กันบ้าง

Postby amplepoor » Sun Oct 16, 2011 11:57 pm

คลองคูเมืองชั้นในนั้นไม่ยาวมาก เริ่มจากปากคลองตลาดไปออกที่สะพานพระปิ่น (ตัวสะพานสร้างคร่อมปิดคลองคลองไว้เสียมิดเลย

เป็นคลองที่เน่าเหม็นที่สุดในโลก คือน้ำนั้นดำขนาดเอามาเติมปากกาเขียนหนังสือได้ (อิอิ เล่าให้เว่อร์....) แต่ผมขอยกย่องมหาจำลอง ที่สมัยแกเป็นผู้ว่า ได้ทำให้น้ำกลับมาสะอาดเป็นสีเหลืองขุ่นได้อีกครั้ง

ยอดเยี่ยมครับท่านมหา
User avatar
amplepoor
 
Posts: 2363
Joined: Wed Apr 06, 2011 2:52 am


Return to สภากาแฟ



cron