เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

คลังปัญญา กระทู้ปักหมุดเดิม เรื่องสำคัญจัดเก็บที่นี่

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby marrykate » Fri Oct 09, 2009 7:28 pm

กระทู้นี้สุดยอด เข้ามาให้กำลังใจ + ขอบคุณที่รวบรวมไว้ให้อ่านค่ะ
เวลาเห็นสตอเบอรี่สมองกลวงพล่ามใน TV แล้วอยากจะอ้วกอ่ะ (><)
User avatar
marrykate
 
Posts: 1149
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:06 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Fri Oct 09, 2009 8:32 pm

marrykate wrote:กระทู้นี้สุดยอด เข้ามาให้กำลังใจ + ขอบคุณที่รวบรวมไว้ให้อ่านค่ะ


ขอบคุณสำหรับกำลังใจคร้าบ :oops:
จะพยายามเต็มที่คร้าบผ้ม :mrgreen:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm


Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Sat Oct 10, 2009 3:04 pm

โอทอป ลวงโลก

นโยบายประชานิยมขายฝันที่โด่งดังที่นายกแม้ว ใข้เป็นเครื่องมือในการหาเสียง
เพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งหัวหน้าคณะบริหารราชการแผ่นดิน อีกนโยบายหนึ่งที่ได้รับเสียง
ชื่นชมจากผู้มีรายได้น้อย คนยากจน หรือ ประชาชนชาวรากหญ้าที่สายตาของแม้ว
คงหนีไม่พ้น โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ โอทอป

คณะรัฐมนตรีได้กำหนด "ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวย
การ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๔" ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๔ โดยมอบหมายให้ รองนายกฯ (คุณปองพล) เป็น
ประธานกรรมการ

มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ รวมทั้งแผนแม่แบบการดำเนินงาน
หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์การคัดเลือก และ ขึ้นบัญชี
ผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล รวมไปถึงสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบาย
ยุทธศาสตณ์และแผนแม่แบบ อย่างมีประสิทธิภาพ....

โครงการโอทอป มีปรัชญาพื้นฐาน คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล, พึ่งตนเองและ
คิดอย่างสร้างสรรค์, การสร้างทรัพยากรมนุษย์
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่แถลงต่อรัฐสภา
ไว้อย่างน่าเลื่อมใส ชื่นชม ดังนี้

1. สร้างงาน สร้างรายได้ แก่ช่มชน
2. สร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน ให้สามารถคิดเอง ทำเอง ในการพัฒนาท้องถิ่น
3. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
5. ส่งเสิรมความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ของชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับ
วิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ชาวรากหญ้าที่เข้าร่วมโครงการผลิตสินค้าโอทอปกลับกระอักเลือด
เพราะชาวบ้านไม่ใช่นักธุรกิจที่จะสามารถผลิตสินค้า บริหารจัดการ และดูแลเรื่องการตลาด
แข่งขันกับตลาดภายนอกชุมชนที่ไปไกลถึงเรื่องการส่งออก ซึ่งเป็นเศรษฐกิจ ระบบทุนนิยม
กลุ่มโอทอปรากหญ้าที่มุ่งเน้นผลิตสินค้าเพื่อการแข่งขันในตลาดตามนโยบายการส่งเสริม
ของรัฐบาลแม้ว จึงมีปัญหาเกิดขึ้นสารพัด ล้มลุกคลุกคลาน ขาดทุน สุดท้าย ติดหนี้หัวโต

ซึ่งสวนทางกับคำโฆษณา โอ้อวดถึงความสำเร็จของโครงการ ที่ว่า มียอดขายมหาศาล
เพิ่มจากมุลค่า 200 ล้าน (ข้อมูลปี 2544) เป็น 50,000 ล้าน (ข้อมูลปี 2549) และยังมี
แนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึง 100,000 ล้านบาทภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ซึ่งก็เป็นแค่
คำพูดที่ปราศจากหลักฐานในการพิสูจน์ ถึงผลสำเร็จของโครงการตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง
แต่อย่างใด หรือ ผลประโยชน์ที่กล่าวถึงนั้น อยู่ในกระเป๋าของใครคนใดคนหนึ่งจึงไม่
สามารถหยิบยื่นหลักฐานออกมายืนยันได้

ข้อสรุปของโครงการโอทอป กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงมักเป็นกลุ่มทุนของ
ผู้ประกอบการที่รัฐบาลเลือกส่งเสริมมากกว่าชาวบ้าน และชาวบ้านมักเป็นเพียงลูกจ้าง
ที่ต้องทำงานหนัก ค่าจ้างต่ำ และใช้เวลาทำงานมากขึ้น รัฐบาลใช้งบประมาณแผ่นดิน
อันมาจากเงินภาษีอากรของประชาชนเป็นจำนวนมหาศาลในการโฆษณาสินค้าโอทอป
โดยผลที่ได้ไม่คุ้มค่าการลงทุนแต่อย่างใด....
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Sat Oct 10, 2009 3:06 pm

overtherainbow wrote:มาตอกบัตรก่อนอาหารเที่ยง ค่ะ ;)


ขอบคุณคร้าบที่ติดตามอย่างต่อเนื่อง
เบิร์ด สู้ สู้ สู้โว้ย :lol: :lol: :lol:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Sat Oct 10, 2009 4:28 pm

คนบ้าอำนาจ

ความร่ำรวยของครอบครัวแม้ว วงศาคณาญาติ รวมไปถึงบริวารและเครือข่าย
พวกพ้อง ไม่เว้นแม้กระทั่งคนใช้ อันมาสาเหตุมาจากแม้วต้องการให้บุคคล
เหล่านั้นร่ำรวย เพื่อจะได้สำนึกในบุญคุณ ยอมเป็นบริวาร คอยทำตามคำสั่ง
อย่างไร้ข้อแม้ใด ๆ เรียกได้ว่า สามารถชื้เป็นชี้ตาย

ในฤดูการหาเสียงก่อนรัฐบาลชวนจะหมดวาระ ถือเป็นการต่อสู้แบบข้าต้อง
ไม่แพ้ เม็ดเงินถูกหว่านลงไปในหลายหลายรูปแบบ แต่แฟงไว้ด้วยเล่ห์กล
สัญญาว่าถ้าได้เป็น สส แล้วจะทำให้ประชาชนร่ำรวย มีบ้านเป็นของตัวเอง
มีที่ดินทำกิน มีเงินอุดหนุนจากหน่วยงานของรัฐ ให้เงินเพื่อการศึกษาโดย
ไม่เลือกฐานะ

4 ปีของการบริหารช่วงที่ 1 เป็นไปในลักษณะผักชีโรยหน้า น้ำตาลฉาบไว้
ให้ดูสวยหรู ส่งนักเรียนไปต่างประเทศเพียงไม่แก่คนจากจำนวนเป็นล้าน
มวลชนจนลง ระบบเงินเชื่อสะพัดไปทั่วประเทศ ประชาชนมึนเมากับการ
ใช้จ่ายในสิ่งของฟุ่มเฟือย เช่น เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ เพื่อผลประโยชน์
ของกลุ่มนายทุนบางกลุ่ม

วิถีชีวิตของประชาชนในระบบเศรษฐกิจพอเพียงถูกทำลายลง ให้สัญญา
โดยเห็นประชาชนเป็นเพียงสุนัขจนตรอก ถ้าไม่เลือก ทอรอทอ ไม่เลือก
แม้ว จะไม่จัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วยอาการฉุนเฉียว
ตะโกนว่า " คนในจังหวัดที่ไม่เลือกเขา ไม่เลือก ทอรอทอ ทำไมเขาจะ
ต้องทำตามความต้องการของคนเหล่านั้น " นี่คือคำพูดของแม้ว

2 ปีของการบริหารช่วงที่ 2 แม้วยังคงข่มเหงมวลชนภายใต้นโยบายประ
กาศสงครามกับยาเสพย์ติด ถึงแม้จะดูเหมือนว่าสามารถกำจัดพวกค้ายา
เสพยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคนถูกฆ่าตัดตอนในโครงการนี้จำนวน
มาก แต่จะมีสักกี่คนที่เป็นพวกขายยาตัวจริง เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประเทศ

หลักการบริหารประเทศของแม้ว ก่อนประกาศยุบสภา เป็นรูปแบบการบริหาร
บ้าอำนาจ บริหารคนเดียวอย่างสนุกสนาน โดยไม่สนใจว่าประเทศชาติจะเป็น
อย่างไร ใครที่เห็นต่าง ใครวิพากวิจารณ์ นั้นคือศัตรุ ที่ต้องประหัตประหาร
สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนถูกครอบงำ ทำลายลงจนสิ้น
สภาพการปกครองในขณะนั้นอยู่ในสภาพ ระบบเผด็จการ รวบอำนาจไว้
ที่แม้วเพียงคนเดียว ตัดสินใจโดยไม่ฟังเสียงของประชาชนผุ้เป็นเจ้าของ
ประเทศ...

มีการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ไว้ที่กลุ่มการเมืองและพรรคพวก
โดยการกล่าวอ้างอำนาจและตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองที่ได้รับมาจาก
ประชาชน สร้างความชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญ กอบโกยผลประโยชน์
จำนวนมหาศาล ไม่เว้นแม้กระทั่งออกกฎหมายขายสมบัติชาติ....
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby overtherainbow » Sun Oct 11, 2009 12:07 pm

:( แง จะมาบอกว่าจะไปต่างจังหวัด
แต่ถ้ากระทู้จม หาย
จะตามไปขุด งม มาให้ นะจ๊ะ นะจ๊ะ
User avatar
overtherainbow
 
Posts: 3123
Joined: Sat Dec 27, 2008 12:36 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Sun Oct 11, 2009 7:58 pm

overtherainbow wrote::( แง จะมาบอกว่าจะไปต่างจังหวัด
แต่ถ้ากระทู้จม หาย
จะตามไปขุด งม มาให้ นะจ๊ะ นะจ๊ะ


เดินทางปลอดภัยน่ะจ้ะพี่จ้า
ว่าแต่ว่า จะไปสักกี่วันหละจ้ะเนี้ย....
เบิร์ดคิดถึงแย่เลย :cry: :cry: :cry:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby tu249cm » Mon Oct 12, 2009 7:57 am

เป็นกระทู้เยี่ยมแห่งเสรีไทยเลยค่ะ ได้เอาไปใช้ประโยชน์ให้ความสว่าง
กับคนแถวๆบ้านให้ตื่นที่ยังสองจิตสองใจเพราะขาดข้อมูลได้หลายคนแล้ว

ขอบคุณมากค่ะ จะติดตามต่อไป....
User avatar
tu249cm
 
Posts: 1422
Joined: Mon Oct 13, 2008 10:33 am

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 10:10 am

tu249cm wrote:เป็นกระทู้เยี่ยมแห่งเสรีไทยเลยค่ะ ได้เอาไปใช้ประโยชน์ให้ความสว่าง
กับคนแถวๆบ้านให้ตื่นที่ยังสองจิตสองใจเพราะขาดข้อมูลได้หลายคนแล้ว

ขอบคุณมากค่ะ จะติดตามต่อไป....


ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง หากข้อมูลข้างต้นสามารถเตือนสติให้มวลชนได้ฉุกคิด
แม้เพียง 1 คนก็ถือว่าเป็นประโยชน์แล้วค่ะ ขอบคุณอีกครั้งนะค่ะ
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 10:47 am

คำฟ้อง กรณีแปรรูป ปตท

มูลนิธีเพื่อผู้บริโภคและองค์กรเครือข่าย ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ในกรณีที่
คณรัฐมนตรีแม้ว ได้ตรากฎหมายเพื่อนำ ปตท เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการยื่นฟ้องใน
ครั้งนั้น ศาลปกครองได้มีคำพิพากษาโดยสรุป ดังนี้

ให้ยกเลิกและเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิ
และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544
ให้ยกเลิกและเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขแวลา
การยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2544
(รายละเอียดจะนำเสนอในหัวข้อถัดไป)

นอกจากนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายยังได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดกรณี
การแปรสภาพ กฟผ. เป็นอันดับต่อมา ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในกรณีนี้

ให้ยุติการนำ กฟผ. เข้ากระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
เมื่อเดือน มีนาคม 2550 รายละเอียดคำฟ้อง กรณีการแปรรูป ปตท. มีรายละเอียดดังนี้

คำฟ้อง คดีหมายเลขดำที่ /๒๕๔๙

ศาลปกครองสูงสุด

วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ ๑ กับพวกรวม ๕ คน ผู้ฟ้องคดี

ระหว่าง

คณะรัฐมนตรี ที่ ๑ , นายกรัฐมนตรี ที่ ๒ , รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี

ข้าพเจ้า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่ ๑ ,กับพวกรวม ๕ คน (รายละเอียดชื่อ อายุ อาชีพ และที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี ปรากฏตามบัญชีรายชื่อผู้ฟ้องคดี ที่แนบท้ายคำฟ้องนี้)
มีความประสงค์จะขอฟ้อง คณะรัฐมนตรี ที่ ๑ , นายกรัฐมนตรีที่ ๒ กับพวกรวม ๓ คน (รายละเอียดปรากฏตามบัญชีรายชื่อผู้ถูกฟ้องคดี ท้ายฟ้องฉบับนี้)
โดยมีรายละเอียดการกระทำ ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ดังมีข้อความต่อไปนี้

ข้อ ๑. ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้ชื่อว่า “มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค” โดยมี นางสาวจิราพร ลิ้มปานานนท์ เป็นประธาน รายละเอียดข้อบังคับ วัตถุประสงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปรากฏตามสำเนาเอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑.

ในการฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีที่ ๑ ได้มอบอำนาจให้ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง กรรมการและผู้จัดการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ดำเนินการฟ้องคดี รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๒.

ผู้ฟ้องคดีที่ ๒ – ที่ ๕ เป็นประชาชนผู้ใช้น้ำมันและก๊าซของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาแปรรูปเป็น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ในการฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีทั้ง ๕ ได้มอบอำนาจให้ นายนิติธร ล้ำเหลือ นายนคร ชมพูชาติ และ นายชัยรัตน์ แสงอรุณ เป็นผู้ฟ้องคดีแทน รายละเอียดปรากฏตามหนังสือมอบอำนาจ เอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๓.

ผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรืออาจจะเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการที่คณะรัฐมนตรีและพวกผู้ถูกฟ้องคดีรวม ๓ ราย ที่ได้ดำเนินการยกเลิกและแปรสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพลังงานในปัจจุบันไปเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ในฐานะคณะรัฐมนตรี ตราพระราชกฤษฎีกาจำนวน ๒ ฉบับ คือ

ฉบับที่ ๑ พระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔

ฉบับที่ ๒ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔

รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข ๔. และหมายเลข ๕. ตามลำดับ

ผู้ฟ้องคดีทั้งหมด เห็นว่าการตราพระราชกฤษฎีกาทั้ง ๒ ฉบับขัดกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยเป็นการตราพระราชกฤษฎีกาที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนและเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อีกทั้งยังเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกต้อง ในการเลือกรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมาแปรรูปซึ่งทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้ฟ้องคดีรวมทั้งประชาชนและประเทศชาติในฐานะผู้บริโภคตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายโดยมีรายละเอียดดังจะกล่าวต่อไปนี้

ข้อ ๑. กระบวนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ขัดกับพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ตั้งแต่เริ่มต้น: เนื่องจากพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดกระบวนการเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจประเภทองค์กรของรัฐตามที่กฎหมายจัดตั้งขึ้นให้เป็นรูปแบบของบริษัท โดยมีบทบัญญัติที่กำหนดขั้นตอนที่เป็นสาระสำคัญไว้ตาม มาตรา ๔ ที่กำหนดว่าในกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท ให้กระทำได้ตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งเมื่อรัฐบาลมีนโยบายแล้ว การดำเนินการเริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจขั้นตอนแรกตามมาตรา ๑๓ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ในการเสนอความคิดเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการและแนวทางให้ดำเนินการนำทุนของรัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัท
หลังจากนั้น คณะรัฐมนตรีจึงจะอนุมัติในหลักการให้เปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นรูปแบบของบริษัทตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ และเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการแล้วจึงไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือ การแต่งตั้ง และการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งและดำเนินการของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจได้จัดประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแปรรูปโดยการนำการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหรือ ปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจทั้งองค์กรมาแปลงสภาพเป็นบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแปรสภาพ ปตท.เป็นบริษัทมหาชน(จำกัด) ตามมติคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจดังกล่าวข้างต้น จึงถือได้ว่าการเริ่มต้นกระบวนการแปรสภาพ ปตท.นั้นต้องเริ่มขึ้นจากวันที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ โดยให้มีการแต่งตั้งและการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท .จำกัด(มหาชน)
แต่ปรากฏว่า ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. ดำเนินการประชุมพิจารณาเรื่องต่างๆ และดำเนินการอื่นๆ ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นการดำเนินการก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการแปรสภาพ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ประการสำคัญการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ดังกล่าวก็เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกิน ๓ คน โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการเงินและการบัญชี และในกิจการหรือการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่จะเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นอย่างน้อยด้านละ ๑ คน
โดยนัยนี้หมายความว่าจะต้องมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย ๒ คน ในข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. มีผู้ทรงคุณวุฒิเพียงคนเดียวเท่านั้นคือ นายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ กรรมการบางคนในคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ และคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) คือ นายวิเศษ จูภิบาล อดีตกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) และนายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตประธานกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ได้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๑๒ และมาตรา๑๘ ซึ่งบัญญัติห้ามกรรมการในคณะกรรมการทั้งสองชุดนี้เป็นผู้ถือหุ้นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยการเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นของบริษัทนั้นมิได้ แต่บุคคลทั้ง ๒ รายได้กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าวและถูกกลุ่มพิทักษ์เสรีภาพของประชาชนได้ดำเนินการกล่าวโทษต่อผู้บังคับการกองปราบปรามให้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับ นายวิเศษ จูภิบาล และนายมนู เลียวไพโรจน์ ฐานกระทำความผิดตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ รายละเอียดตามเอกสารประกอบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๖.

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าทั้งคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจและคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการแปรรูปและยุบเลิกการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปเป็น บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เพราะได้รับอำนาจพิเศษตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งมีผลเท่ากับการที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบหมายให้คณะกรรมการทั้งสองชุดเป็นผู้ดำเนินการยกเลิกการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายโดยไม่ต้องเสนอฝ่ายนิติบัญญัติยกเลิกอีก
ดังนั้น การแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งสองชุด จึงต้องมีการดำเนินการแต่งตั้งและตรวจสอบประวัติคุณสมบัติต่าง ๆ โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่ได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวได้กระทำไปโดยไม่ถูกต้องตามคุณสมบัติและขั้นตอนที่กฎหมายไว้ จึงมีผลทำให้การดำเนินการใด ๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลให้ พระราชกฤษฎีกากำหนด อำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๔๔ และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ เสียไปด้วยเช่นกัน

ข้อ ๒. การตราพระราชพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับไม่เป็นไปตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ และรัฐธรรมนูญกำหนดไว้: เนื่องพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๙ วรรคหนึ่งได้กำหนดขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจว่าต้องมีการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการที่รัฐบาลจะเลือกแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
ประกอบกับบทบัญญัติตามมาตรา ๕๙ ของรัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลคำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ก่อนการดำเนินโครงการหรือกิจการใดที่อาจมีผลกระทบหรือมีส่วนได้เสียอื่นใดที่เกี่ยวกับตน และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องดังกล่าว
แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยไม่ถูกต้องไม่เปิดเผย และไม่เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดไว้แต่อย่างใดตามรายละเอียดคำฟ้องหมายเลข ๗. ดังนี้

(๑) คณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนได้จัดให้มีการ ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพียงครั้งเดียวเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๔ และจัดเพียงแห่งเดียวที่กรุงเทพมหานคร

(๒) จำนวนผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นมีจำนวนน้อยมาก โดยปรากฏในหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๔ ก่อนวันรับฟังเพียงวันเดียว ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมจำนวน ๑,๑๗๓ คน รายละเอียดปรากฏตามสำเนาเอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๘. ทั้งนี้ยังปรากฏว่าการจัดการรับฟังครั้งนี้มีการตั้งข้อจำกัดเรื่องจำนวนคนเข้าร่วมรับฟังตั้งแต่แรก โดยลงประกาศในหนังสือพิมพ์เชิญประชาชนเข้าร่วมมีข้อความว่า “สถานที่ประชุมมีที่นั่งเพียง ๒,๕๐๐ ที่นั่ง”

(๓) การจัดทำประกาศมิได้ดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ.๒๕๔๓ ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการจัดทำประกาศโดยสรุปเรื่องที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ และประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทยที่มีการจำหน่ายเผยแพร่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๓ วัน ในฉบับเดียวกัน ข้อเท็จจริงปรากฏว่าได้มีการประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันเพียงฉบับละ ๑ วันเท่านั้น โดยประกาศในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เพียงวันเดียว และในหนังสือพิมพ์มติชนวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๔ เพียงวันเดียว

(๔) การจัดทำประกาศในหนังสือพิมพ์มิได้สรุปเรื่องที่จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่ประกาศเพียงเฉพาะหัวข้อที่จะรับฟังความคิดเห็นเท่านั้น ขัดกับหลักกฎหมายว่าด้วย การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ๒๕๔๓

(๕) บุคคลผู้ชี้แจงข้อมูล คณะกรรมการได้จัดให้มาเฉพาะจากหน่วยงานที่ต้องการผลักดันให้มีการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเท่านั้น ไม่มีบุคคลซึ่งมีความอิสระและเป็นกลางร่วมอยู่ด้วยเลย

นอกจากนี้ กระบวนการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)ไม่โปร่งใส ไม่ปรากฏว่าได้มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดทำขึ้นต่อสาธารณชน ตามบทบัญญัติมาตรา ๑๙ (๑๐) แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่อย่างใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่มีความจำเป็นที่สาธารณชนควรรับรู้ด้วยคือ

- รายงานการประชุมคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท
- รายงานผลการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
- การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ตามมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒ และรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการ
- รายละเอียดของทรัพย์สิน อำนาจ สิทธิ และผลประโยชน์ของ ปตท.ที่โอนไปให้บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน)
- รายละเอียดหนี้สินและคดีต่างๆ ที่ยังผูกพันกับบุคคลภายนอก

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่ากระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการแปลงสภาพการ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยไปเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) นั้น เป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทั้งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดไว้ จึงต้องดำเนินการโดยเคร่งครัดทุกขั้นตอน
เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นปรากฎว่าคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)และคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายไว้อย่างครบถ้วน จึงทำให้การจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ตามพระราชกฤษฎีกากำหนด อำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๔๔ และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายประกอบกับการที่คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ได้มีคำสั่งที่ ๓/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๔ แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก็เป็นการแต่งตั้งก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติเห็นชอบให้มีการแปรรูปการปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทยในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ ดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวนี้จึงไม่มีผลทางกฎหมายจึงมีผลให้คณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

ข้อ ๓. การตราพระราชพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับขัดกับหลักประกันสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญ: เนื่องจากการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๔๔และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๔ ของผู้ถูกฟ้องคดี นั้นมีผลให้มีการโอนทรัพย์สิน และสิทธิ ซึ่งเดิมเป็นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้สอยร่วมกัน ไปเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน ซึ่งทรัพย์สินเดิมของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยหลายรายการเป็น ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นส่วนควบของที่ดินนั้น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้มาโดยการเวนคืนซึ่งเป็นการใช้อำนาจมหาชนของรัฐเพื่อใช้ในกิจการสาธารณประโยชน์ แต่เมื่อมีการโอนทรัพย์สินและสิทธิดังกล่าวมาให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักความเสมอภาค หลักความเท่าเทียมกันอย่างเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ ตามมาตรา ๓๐ และมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญ ประกอบกับมาตรา ๒๖ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ และไม่สอดคล้องกันมาตรา ๘๗ แห่งรัฐธรรมนูญด้วย
ดังเช่น ที่ดินที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เวนคืนมาก่อนการแปลงสภาพเป็นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้แก่ ที่ดินคลังน้ำมันซึ่งเดิมเป็นองค์การเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการเวนคืนโดยกระทรวงกลาโหมและได้โอนให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามมาตรา ๖๑ แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๑ และ ที่ดินตามแนวท่อก๊าซธรรมชาติสายประธาน จากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๙.
รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์(ทั้งที่มีอยู่เดิมและสร้างขึ้นใหม่) อันเป็นส่วนควบของที่ดินดังกล่าว ได้แก่ โรงงานแยกก๊าซ สถานีควบคุมระบบส่งก๊าซ และท่อก๊าซฝังใต้ดิน ทั้งที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อันเป็นส่วนควบเหล่านี้ล้วนเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินตามมาตรา ๑๓๐๔ (๓) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราชพัสดุตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘

นอกจากนี้ได้มีการโอนสิทธิการใช้ที่ดินรวมทั้งระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติอันเป็นทรัพย์สิทธิติดอยู่กับที่ดินใน ๓ โครงการ ได้แก่ โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย, โครงการท่อจากชายแดนไทยและพม่า-ราชบุรี และโครงการท่อราชบุรี-วังน้อย ปรากฏตามเอกสารแนบท้ายคำฟ้องหมายเลข ๑๐.

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจึงเห็นได้ว่าการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจสิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๔๔และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๔ ที่มีผลทำให้มีการโอนทรัพย์สินซึ่งได้แก่ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปให้บริษัทปตท.จำกัด (มหาชน)ที่มีฐานะเป็นบริษัทเอกชนประเภทหนึ่ง จึงทำให้บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ได้รับเอกสิทธิ์เหนือสาธารณชนทั่วไปโดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดซึ่งการได้รับเอกสิทธิ์ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าความจำเป็นที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

ข้อ ๔. การตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.๒๕๔๔ ขัดต่อสาระสำคัญพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจและรัฐธรรมนูญ : ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ มาตรา ๒๖ วรรคสอง กำหนดว่า ในการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกาให้บริษัทคงมีอำนาจ สิทธิ หรือประโยชน์เพียงเท่าที่จำเป็นแก่การดำเนินงานที่จะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในการแข่งขันทางธุรกิจ การควบคุมให้การใช้อำนาจกฎหมายเป็นไปโดยถูกต้อง และการรักษาผลประโยชน์ของรัฐซึ่งสอดคล้องกับหลัดการของรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๘๗ ซึ่งมีสาระสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันในการประกอบอาชีพตามกฎหมาย

แต่ในการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ของผู้ถูกฟ้องคดี ตามมาตรา ๔ ได้กำหนดให้บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) มีอำนาจได้รับยกเว้น มีสิทธิพิเศษหรือได้รับความคุ้มครอง “ทั้งหมด” ตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทั้งๆที่บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) มีสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชน แต่กลับมีอำนาจมหาชนของรัฐได้แก่ อำนาจเวนคืนที่ดิน อำนาจในการประกาศเขต และรอนสิทธิเหนือพื้นดินของเอกชน ตามมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ มาตรา ๓๒-๓๖ และมาตรา ๓๘ ของพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๑

นอกจากนี้ยังปรากฏว่าบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ยังได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่นเดียวกับที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้รับอยู่เดิม โดยมิได้มีการจำกัดสิทธิใดๆ ตามหลักการในมาตรา ๒๖ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งสิทธิประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)ที่ได้รับจากผลของการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) พ.ศ ๒๕๔๔ ของผู้ถูกฟ้องคดี ทำให้บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) มีสทธิเหนือบริษัทเอกชนอื่นๆคือ

(๑) สิทธิประโยชน์เสมือนเป็นผู้รับสัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียมตาม มาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๑
(๒) สิทธิรับซื้อปิโตรเลียมที่ผลิตได้เป็นอันดับแรก (Right of First Refusal) จากผู้รับสัมปทาน
(๓) สิทธิผูกขาดก๊าซธรรมชาติ
(๔) สิทธิผูกขาดขายน้ำมันราชการ
(๕) สิทธิในการยกเว้นการเสียภาษีป้าย
(๖) หนี้สิน/พันธะผูกพันใด ๆ ที่โอนไปยัง บริษัทปตท.จำกัด(มหาชน) ที่ กระทรวงการคลังค้ำประกัน ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันต่อไป โดยไม่มี ค่าธรรมเนียมค้ำประกัน
(๗) สิทธิในการยกเว้นการวางหนังสือค้ำประกันธนาคารต่อกรมศุลกากรในการ ดำเนินการคลังสินค้าทัณฑ์บน
(๘) สิทธิได้รับการผ่อนผันตามระเบียบศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานพิธีการ ศุลกากรสำหรับหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ
(๙) สิทธิในการเช่า หรือ ใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ โดยคง เงื่อนไขสัญญา ค่าเช่า ค่าตอบแทนการใช้ที่ดินตามเงื่อนไขเดิม
(๑๐) สิทธิในการยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม/ค่าตอบแทนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การดำเนินการออก/โอนใบอนุญาตหรือหนังสือต่าง ๆ หรือรับจดทะเบียนที่ เกี่ยวข้องต่อการดำเนินกิจการ

ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการตราพระราชกฤษฎีกำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ ของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชนตามระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและไม่เป็นการรักษาผลประโยชน์ของสาธารณชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ และเป็นกระทำที่ขัดต่อพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔

ข้อ ๕. การตราพระราชพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ถูกต้องทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ:จากผลของการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ ซึ่งทำให้เกิดการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่เป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปแบบ ไปเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งมีเอกชนในตลาดหลักทรัพย์เป็นเจ้าของนั้น ได้ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความเสียหายแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบังคับให้กระทรวงการคลัง มีหน้าที่ต้องค้ำประกัน “หนี้” ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเดิม ซึ่งโอนไปเป็นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ทั้งๆ ที่บรรดากิจการ สิทธิประโยชน์ สินทรัพย์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากสาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหลายทั้งหมด ได้ถูกถ่ายโอนไปให้แก่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จนหมดสิ้น เรียกได้ว่ามีการบังคับให้ถ่ายโอนทรัพย์สินกิจการลักษณะผูกขาดทางธุรกิจ สิทธิ ประโยชน์ และทุกอย่างที่เคยเป็น “สมบัติชาติ” ภายใต้การดูแลใช้ประโยชน์ และถือว่าทุกอย่างเป็นของ “รัฐ” ซึ่งผู้ได้รับประโยชน์ คือ ประชาชนตลอดมาให้ตกไปเป็นของเอกชนในตลาดหลักทรัพย์
แต่ขณะเดียวกัน กลับบังคับให้กระทรวงคลังต้องค้ำประกัน “หนี้” ที่มีอยู่แต่เดิมและเปลี่ยนไปเป็นของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งที่รัฐจะเอาเงินจากภาษีอากรของประชาชนไปค้ำประกันหนี้ของบริษัท ซึ่งไม่ใช่ของ “รัฐ” อีกต่อไป จึงถือว่าการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นไปโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและประชาชน ในขณะที่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชนและนายทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงนายทุนต่างชาติด้วยอย่างเห็นได้ชัดอีกทั้งยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงที่จะทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงต่างๆราคาถูกลงแต่อย่างใด

การกำหนดราคาหุ้นและการจัดสรรหุ้น การกระจายหุ้น มิได้ดำเนินการอย่างเป็นธรรมไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยมิสิทธิในการเข้าถึงการเป็นเจ้าของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยการซื้อหุ้น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้อย่างเท่าเทียมกัน ขัดกับการประชาสัมพันธ์ ของปตท. ก่อนการแปรรูป ในทำนองว่าเพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ร่วมกันได้อย่างทั่วถึง
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าประชาชนที่มีโอกาสได้เป็นเจ้าของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) อย่างแน่นอนคือ ประชาชนที่เป็นพนักงานของ ปตท. เดิม กล่าวคือ พนักงาน ปตท. ทุกคนสามารถซื้อหุ้น บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้ในราคาพาร์ (๑๐ บาท/หุ้น) โดยสามารถซื้อได้ถึงจำนวน ๘ เท่า ของอัตราเงินเดือน ซึ่งการได้มาดังกล่าวเป็นการจัดสรรหุ้นให้พนักงาน ปตท.
นอกจากได้อภิสิทธิในการซื้อหุ้นดังกล่าวแล้ว ยังมีโอกาสใช้สิทธิในการซื้อหุ้นรอบสองที่ต้องการขายหุ้นให้กับประชาชนโดยทั่วไปอีกด้วย วิธีการกระจายหุ้นของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มิได้มีโอกาสสร้างให้กับประชาชนโดยทั่วไปเพื่อเข้าถึงการซื้อหุ้นได้อย่างเท่าเทียมกัน
ดังปรากฏข้อเท็จจริงว่าเมื่อเปิดให้มีการจองหุ้นในวันแรก หุ้นทั้งหมดถูกจองหมดเกลี้ยงภายในเวลา ๑ นาที ๗ วินาที เท่านั้น และปรากฏว่าหุ้นดังกล่าวกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด วิธีการ ที่เสมือนหนึ่งไม่ต้องการให้เกิดการกระจายหุ้นไปสู่ประชาชนโดยทั่วไปอย่างทั่วถึงเป็นธรรม
นอกจากนี้ การประเมินราคาทรัพย์สินของ ปตท. อันมีส่วนสัมพันธ์กับการกำหนดราคาหุ้นของ ปตท. จำกัด(มหาชน) รวมตลอดถึงการจัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน ปตท. การกระจายหุ้นให้กับประชาชนไทย และชาวต่างชาติซึ่งมีข้อเท็จจริงที่น่าเคลือแคลงสงสัยอีกหลายประการที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดผลกระทบความเสียหายต่อประชาชน ประเทศชาติ ซึ่งผู้ฟ้องคดีจะได้เสนอข้อมูลต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป
จากการแปรรูป ปตท. โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลให้ประชาชนต้องใช้น้ำมันราคาแพงเกินควรอย่างมาก เนื่องจากการแปรรูป ปตท. ส่งผลให้เปลี่ยนแปลงผู้ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันภายในประเทศจากเดิมโดยรัฐ เป็นผูกขาดโดยบริษัทเอกชน โดยประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันทั้งหมดรวม ๗ แห่ง โดยบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ๋ในโรงกลั่นน้ำมันเหล่านี้ถึง ๕ แห่ง จึงทำให้บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มีอำนาจในการควบคุมตลาดเสมือนการผูกขาดในธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
ดังนั้น การแปรรูป ปตท. เป็น บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกอบกับการกำหนดราคาหุ้น การจัดสรรหุ้น การกระจายหุ้น ไม่เป็นธรรมจึงทำให้บุคคลกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้ไปซึ่งสิทธิประโยชน์อันมิควรได้ จากการกำกับดูแล การกำหนดราคาน้ำมันที่ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้น้ำมันต้องรับภาระเกินควรจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยผู้ฟ้องคดีขอนำเสนอข้อเท็จจริงโดยสรุปดังนี้

(๑) กำไรของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น ๙ เท่า ใน ๓ ปี โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ก่อนการแปรรูป ปตท. และบริษัทโรงกลั่นน้ำมัน ๗ แห่งมีกำไรรวมกัน ๒๐,๓๓๐ ล้านบาท (สองหมื่นสามร้อยสามสิบล้านบาท) และในปีพ.ศ. ๒๕๔๕ มีกำไร ๒๒,๐๙๓ ล้านบาท (สองหมื่นสองพันเก้าสิบสามล้านบาท) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมากำไรของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ มีกำไรรวมกัน ๑๙๕,๘๕๓ ล้านบาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าพันแปดร้อยห้าสิบล้านบาท) กำไรสูงขึ้นเป็น ๙ เท่า เป็นเงินจำนวน ๑๗๓,๗๕๔ ล้านบาท (หนึ่งแสนเจ็ดหมื่นสามพันเจ็ดร้อยห้าสิบสี่ล้านบาท)

(๒) บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และโรงกลั่นน้ำมัน กำหนดวิธีการคิดราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมัน ที่ทำให้ราคาสูงเกินควรไปอย่างน้อยลิตรละ ๓.๐๐ บาท ทำให้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่คนไทยใช้อยู่ปีละ ๒๘,๐๐๐ ล้านลิตร มีราคาแพงเกินควรไปประมาณปีละ ๘๔,๐๐๐ ล้านบาท (แปดหมื่นสี่พันล้านบาท) ทำให้ผู้บริโภคน้ำมันต้องรับภาระหนักเกินควร ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจคัดค้านหรือต่อรองใด ๆ ได้
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ต้องการให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นโดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและประเทศชาติ นอกจากการกำหนดราคาขายน้ำมันที่ไม่เป็นธรรมแล้ว ส่งผลให้บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) และโรงกลั่นน้ำมันในเครือมีกำไรอย่างมากแล้ว กำไรอีกส่วนหนึ่งของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) มาจากธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผูกขาดโดยบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เช่นเดียวกัน โดยส่วนก๊าซธรรมชาติยังขาดการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ขาดการถ่วงดุล ไม่มีการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายอื่น ไม่คำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงจากผลกำไรของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ตามเอกสารแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ๕๖-๑) ที่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ยื่นต่อสำนักงาน กลต. ปรากฏว่ากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี และค่าเสื่อมราคาของธูรกิจก๊อซธรรมชาติในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เท่ากับ ๙๒,๑๖๑ ล้านบาท (เก้าหมื่นสองพันหนึ่งร้อยหกสิบเอ็ดล้านบาท) เทียบกับผลกำไรในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวน ๔๕,๗๓๑ ล้านบาท (สี่หมื่นหกพันสี่ร้อยสามสิบล้านบาท) กำไรที่เพิ่มขึ้นนี้ก็คือภาระของผู้บริโภคที่ต้องจ่ายแพงขึ้น โดยเห็นได้จากภาระค่าไฟฟ้า ที่ผู้บริโภคต้องจ่ายแพงขึ้นรวมกันถึงปีละกว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการค้ากำไรเกินควร

รายละเอียดข้อมูลประเด็นในประเด็นที่กล่าวมา ผู้ฟ้องคดีจะนำเสนอข้อมูลต่อศาลในชั้นพิจารณาต่อไป นอกจากนี้การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น มีผลทำให้ “รัฐ” ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ต้องสูญเสียอำนาจการควบคุมและต่อรองในกิจการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ไปอย่างเป็นการถาวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยปี ๒๕๒๑ ได้แก่ การรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมราคาน้ำมันและราคาก๊าซธรรมชาติอันเป็นต้นทุนหลักของค่าไฟฟ้าและการจัดให้มีการสาธารณูปโภค เพราะการดำเนินกิจการของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คงจะต้องยึดกลไกและกติกา รวมทั้งกระแสการตลาดในตลาดหลักทรัพย์และผู้ถือหุ้นเป็นหลัก นอกจากนั้น ยังจะทำให้ “รัฐ” และกลไกการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบความโปร่งใส และการทุจริตภายในองค์กรได้อย่างเต็มที่ เพราะบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มิใช่หน่วยงานของรัฐ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ “รัฐ” และการตรวจสอบโดยกลไกตามรัฐธรรมนูญอีกต่อไป

จากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงเห็นได้ว่าการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔และพระราชกฤษฎีกา กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๔๔ ของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้

๑. พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับขัดต่อหลักการตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๓๐ และมาตรา ๘๗ เพราะทำให้เกิดการผูกขาดโดยองค์กรเอกชนในรูปแบบบริษัทมหาชนรวมทั้งเป็นการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนส่วนใหญ่เกินกว่าความจำเป็นซึ่งขัดกับมาตรา ๒๙ และมาตรา ๕๐ แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย

๒. การตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับมีผลทำให้มีการนำทรัพย์สินบางอย่างที่มีลักษณะเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ไม่สามารถซื้อขายได้ไปขายหรือไปอยู่ในการถือครองขององค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรเป็นการกระทำที่กับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญโดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตในการตราพระราชกฤษฎีกาทั้ง ๒ ฉบับทำให้บุคคลบางกลุ่มและพวกพ้องของผู้ถูกฟ้องคดีได้รับประโยชน์จากการใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดินมากกว่าประชาชนทั่วไป

๓. ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้ปฎิบัติตามขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายในการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวโดยผู้ถูกฟ้องคดีได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ประกอบกับการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)และคณะกรรมการจัดทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องทำหน้าที่ในการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนั้น ก็เป็นการแต่งตั้งที่ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด

๔. ผู้ถูกฟ้องคดีใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบด้วยหลักการและเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.๒๕๔๒ ในการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกา กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ทำให้ประชาชนผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริงจากการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ

ผู้ฟ้องคดีทุกคนขอยืนยันว่า ผู้ฟ้องคดีทุกคนเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายได้รับผลกระทบอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ถูกฟ้องคดีทุกคน ประกอยกับการฟ้องคดีนี้เป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียของประชาชน ประเทศชาติ ดังนั้น เพื่อให้การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นบริการสาธารณะไม่เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทเอกชนที่มีลักษณะผูกขาดและเปิดโอกาสให้เอกชนบางกลุ่มที่เป็นนายทุนในประเทศและต่างประเทศเข้ามาครอบครองกิจการอันเป็นสาธารณะสมบัติของชาติ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและความสงบสุขของประชาชนตลอดจนขัดกับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ฟ้องคดีจึงขออาศัยอำนาจของศาลปกครองสูงสุดในการปกป้องสาธารณสมบัติของประเทศชาติและประชาชนได้โปรดมีคำพิพากษาให้ยกเลิกและเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิประโยชน์ของ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๔๔ ต่อไปด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

ลงชื่อ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี

( นายนิติธร ล้ำเหลือ )

ลงชื่อ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี

( นายนคร ชมพูชาติ )

ลงชื่อ ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี

( นายชัยรัตน์ แสงอรุณ )

ด้วยความเคารพต่อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่าย และผู้ร่วมดำเนินการทุกท่าน
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 12:02 pm

แปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อใคร

จากนโยบายประชานิยม ที่แม้วใช้เป็นเครื่องมือปูทางเข้าสู่อำนาจได้อย่างสวยสดงดงาม
ด้วยการชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย และเป็นนโยบายที่ใช้เม็ดเงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนมหาศาล รวมแล้วเป็นมูลค่างบประมาณ 890,000 ล้านบาท (แปดแสนเก้าหมื่นล้าน
บาท) เป็นการหว่านเงินงบประมาณแผ่นดินลงไปเพื่อการหาเสียง สร้างฐานกำลังเพื่อตนเอง
และพวกพ้อง นโยบายประชานิยมของแม้วยังสร้างความเสี่ยงสูงให้แก่เศรษฐกิจ ในระดับ
ประเทศและระดับชุมชน ครัวเรือนมีหนี้สินพอกพูนขึ้น ในขณะที่ผลผลิตทางเศรษฐกิจไม่ได้
เพิ่มขึ้นอย่างที่แม้วได้โฆษณาไว้แต่อย่างใด ผลกระทบที่เกิดขึ้นคงไม่ต้องอธิบาย เพราะ
มีให้เห็นอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

นโยบายต่อจากประชานิยมของรัฐบาลแม้ว คือ นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐบาลแม้ว
ได้ประกาศนโยบายชัดเจนว่ามีความต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
ทำงาน และประหยัดงบประมาณแผ่นดิน 4 ปีกว่าที่รัฐบาลแม้วครองอำนาจบริหารประเทศ
ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ข้ออ้างที่ว่า
เป็นการระดมทุนจากภาคเอกชนและนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลแม้ว คือ การทำให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็น
เจ้าของบางส่วนในรูปแบบของผู้ถือหุ้น โดยรัฐบาลยังคงมีอำนาจในการบริหาร แต่ไม่ได้
ใช้อำนาจการบริหารนั้นเพื่อประชาชน กลับทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนผู้ถือหุ้น
ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลแม้ว เช่น ในกรณีของ ปตท มีประชาชนเข้าคิว
รอเพื่อจับจองหุ้นก่อนเวลานานหลายชั่วโมง พอเริ่มเปิดให้จองเพียง 1 นาที 2 วินาที
หุ้นที่เตรียมจัดสรรให้ประชาชนทั่วไปถูกจองหมดแล้ว 1 นาที 2 วินาทีเท่านั้น

ผลที่ปรากฎหลังจากนั้น คนที่ได้สิทธิซื้อหุ้นจองมากที่สุด 20 อันดับแรกเป็นตระกูลของ
นักการเมือง ส่วนหุ้นอีกจำนวนหนึ่งถูกขายให้กับนักลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งบิรษัทที่ถือ
หุ้นใหญ่ที่สุดจำนวน 3 ใน 5 ราย เป็นบิรษัทตัวแทนนักลงทุนโดยไม่ได้ระบุชื่อนักลงทุน
แต่อย่างใด สุดแล้วแต่ว่าใครจะคาดเดาว่ากลุ่มนักลงทุนเหล่านั้นเป็นใคร (มีเพียงเสียง
กระซิบผ่านสายลม ว่า คงเป็นกลุ่มนักธุรกิจในคราบของนักการเมือง เป็นพียงเสียงกระซิบ
จากสายลมเท่านั้น)

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทจำกัด เพื่อเอาเข้าตลาดหลักทรัพย์นอกจากเป็นการหา
รายได้เข้าประเทศ (หลังจากใช้เงินคงคลังที่เหลือจากการใช้หนี้ IMF จนแทบไม่เหลือ)
ผลพวงที่ได้รับคือ การเพิ่มขนาดของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ ทำให้มูลค่าหุ้นตัวอื่นขยับขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้ถือหุ้นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
นักธุรกิจนักการเมืองทั้งหลายในเครือข่ายของแม้วทั้งนั้น

อีกมุมหนี่งการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ มีการกำหนดมูลค่าซื้อขายต่ำกว่าความเป็น
จริง เช่น กรณีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินของ กฟผ.เพื่อทำการแปรรูปต่ำกว่าความเป็นจริง
ถึง 10 เท่า ดังนั้นราคาหุ้นที่เสนอขายจึงมีมูลค่าค่ำ นั้นหมายความว่า ผู้ที่ซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจ
ได้ในราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างมหาศาลจากส่วนต่างของ
มูลค่าหุ้นในอนาคต การดำเนินการเช่นนี่สามารถสะท้อนพฤติกรรมแสวงหากำไรจากการ
แปรรูปได้อย่างชัดเจน

การแปรรุปรัฐวิสาหกิจ ไม่ได้ลดการผูดขาด หรือ ลดการแข่งขันอย่างที่รัฐบาลแม้วได้
โฆษณาไว้แต่อย่างใด และไม่ทำให้ประชาชนได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เพียงแต่เปลี่ยน
จากการผูกขาดของรัฐบาลเป็นการผูกขาดของเอกชน ส่งผลให้อำนาจการต่อรองของ
ประชาชนลดลง.. และมีแนวโน้มที่อาจจะต้องจ่ายค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในอัตราที่
สูงขึ้นต่อไปในอนาคต...

ในส่วนของการแปรรูป ปตท คงไม่ต้องอธิบายรายละเอียด การดำเนินการของรัฐบาล
รวมถึงผลกระทบต่อประชาชนของประเทศ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างได้ปรากฎอยู่ในคำฟ้อง
ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายยื่นฟ้องนายกและคณะรัฐมนตรี ตามสำเนาที่นำมา
ให้ทุกท่านได้อ่าน ได้วิเคราะห์ รวมถึงผลคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในหัวข้อ
ที่ผ่านมา "คำฟ้องกรณีแปรรูป ปตท
Last edited by bird on Mon Oct 12, 2009 12:34 pm, edited 1 time in total.
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby คนเล็กของเล่นใหญ่ » Mon Oct 12, 2009 12:03 pm

น่าจะเป็นกระทู้ปักหมุดนะครับ
User avatar
คนเล็กของเล่นใหญ่
 
Posts: 2134
Joined: Mon Oct 13, 2008 11:52 am

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 1:37 pm

โกงเชิงนโยบาย

มีความหมายแบบพอสรุปให้เข้าใจได้ง่ายๆ หมายถึง การโกง การทุจริต การคร์อรัปชั่น
โดยการออกกฎระเบียบ ออกกฎหมาย ออกคำสั่ง มอบหมายแนวนโยบายทางปฏิบัติ
ข้อบังคับทั้งในส่วนท้องถิ่น ชนบท หรือตัวเมือง ในระดับประเทศ ระดับจังหวัด หมู่บ้าน
ให้เข้าทางของตนเองและพวกพ้อง เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เข้าพกเข้าห่อที่ได้จัดเตรียมไว้
อย่างถูกต้องตามระเบียบ ตามคำสั่ง ตามกฎหมาย

การโกง การทุจริต การคร์อรัปชั่น นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา มีการพัฒนารูปแบบ
แนบเนียนชนิดที่หน่วยงานและองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ ไม่สามารถเอาผิดได้
เพราะถือเป็นการให้โดย เสน่หา หรือออกมาในรูปของการเข้า ร่วมทุน
โดยไม่ต้องนำเงินมาลงทุน หรือที่นิยมเรียกกันว่า หุ้นลม แทนการจ่ายเป็นตัวเงิน
เป็นเช็คหรือสิ่งของสุดแล้วแต่จะประเคนมาให้ เค้าเรียกว่าเป็น การโกงกินแบบยาวนาน
ต่อเนื่องชั่วลูกชั่วหลาน

การกระทำข้างต้นได้อาศัยช่องว่างของรัฐธรรมนูญที่พยายามเรียกร้องให้นำกลับมา
บังคับใช้ของมวลชนกลุ่มหนึ่ง ช่องว่างดังกล่าวเพียง 2 มาตราก็สามารถกระทำการ
ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อน ระหว่างผลประโยชน์ทางการเมืองและทางธุรกิจ

มาตรา 110 ห้ามมิให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องไม่รับสัมปทานจากรัฐ
หรือไม่รับประโยชน์ใด ๆ จากรัฐ

มาตรา 209 ห้ามมิให้รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วน หรือ ผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
หรือห้ามไม่ให้รัฐมนตรีกระทำการใดอันมีลักษณะเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ
เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท

ในข้อความที่ปรากฎตามรัฐธรรมนูญ ตีความภาษาซื่อ ของคนซื่อ ๆ คือ ห้ามเฉพาะ
ตัวรัฐมนตรี ไม่ได้ห้ามภรรยาและบุตร ไม่ได้ห้ามไปถึงพี่น้อง เครือญาติ จึงไม่ใช่
เรื่องแปลกที่บรรดาท่านรัฐมนตรีจะทำการโอนหุ้นและกิจการต่างๆให้กับ ภรรยา
บุตร พี่น้อง และ เครือญาติ แทนที่จะโอนให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์หรือบริษัท
ตัวแทนผู้ถือหุ้นให้ดูแลรักษาผลประโยชน์แทน...

21 ม.ค.46 ครม.มีมติออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษี
สรรพสามิต พ.ศ.2537 เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดให้จัดเก็บภาษีสรรพสามิต
กับผู้รับสัมปทานโทรคมนาคม แทนการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่รัฐ ทำให้แอดวานซ์
ได้รับผลประโยชน์จากการแปรค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต

19 พ.ย.46 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้มีมติส่งเสริมการลงทุน
โครงการดาวเทียม "ไอพีสตาร์" ของชินแซท โดยให้การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เฉพาะรายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ เป็นระยะเวลา 8 ปี ทำให้ชินแซท ได้รับการยก
เว้นภาษีครั้งนี้สูงถึง 16,459 ล้านบาท

14 ธ.ค.46 กระทรวงคมนาคมให้สิทธิการใช้สนามบินแก่สายการบินราคาถูกและ
ยกเลิกการคุมค่าโดยสารขั้นต่ำ 3.8 บาทต่อกิโลเมตร ทำให้แอร์เอเชียได้ผลประโยชน์
จากนโยบายนี้

30 ม.ค. 47 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้สำนักงานปลัดนายกฯ
ปรับลดค่าสัมปทานกับไอทีวี เป็นเงิน 20 ล้านบาท พร้อมมีคำสั่งให้ สปน.ปรับลดค่า
สัมปทานให้ไอทีวี เหลือปีละ 230 ล้านบาท ทำให้ไอทีวีได้ประโยชน์ไปไม่น้อยกว่า
17,000 ล้านบาท

กลางปี 2547 ครม.มีมติอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ออกเงินกู้ดอกเบี้ย
ต่ำให้รัฐบาลพม่า เพื่อมาทำสัญญาขอใช้บริษัทดาวเทียมไทยคมกับชินแซท ซึ่งนอกจาก
รัฐบาลต้องค้ำประกันความเสี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ให้กับพม่าซึ่งถือเป็นการโอนภาระของ
ชินแซท ในฐานะคู่สัญญาโดยตรงมาให้ การคลังด้วย

20 ม.ค.2549 ประกาศใช้ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544
แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 โดยแก้ไขให้คนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ซึ่งเดิมระบุ
ให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 25% เท่านั้น และมีการตัดเงื่อนไขเรื่องสัดส่วนกรรมการบริษัท
ที่ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด โดยกม.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้
ในวันที่ 21 ม.ค. 2549 ก่อนที่จะเกิดการขายหุ้นให้กับเทมาเส็กเพียงแค่ 2 วัน คือขายวันที่
23 ม.ค.49

ข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่นอกเหนือจากนี้เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นส่วนของพวกพ้องและ
เครือข่าย ซึ่งยากต้องการพิสุจน์เพราะกระทำการอย่างถูกต้องตามกฎหมายและข้อบังคับ
ทุกประการ จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดแต่อย่างใด หากแต่ว่า ความผิดที่กระทำมันคงฝังลึก
อยู่ในจิตใจ ตราบจนถึงวันสิ้นลมหายใจ ตราบาปหากแม้นไม่ปรากฏต่อสายตาสาธราณชน
ตราบาปนั้นจะจมลึกอยู่ในสามัญสำนึกทั้งในปัจจุบัน ในจิตใจของลูกหลานให้หาความสุข
ในชีวิตมิได้ ถึงแม้ว่า กองเงิน กองทุน จะทำให้ชีวิตหรูหรา ฟู่ฟ่า แต่ ชีวิตยากนักที่จะพบ
กับความสงบสุข หากแต่ต้องดิ้นรน ต่อสู้ กับตราบาปที่ยังคงอยู่ ตราบนานเท่านาน...
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 1:40 pm

คนเล็กของเล่นใหญ่ wrote:น่าจะเป็นกระทู้ปักหมุดนะครับ


ขอบคุณค่ะ แต่ไม่ต้องปักหมุดหรอกค่ะ ขอเพียงแค่ให้มีคนอ่าน
และฉุกคิดสักคนสองคน ก็พอแล้วค่ะ
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby devotion » Mon Oct 12, 2009 3:04 pm

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ จะนำไปใช้ประโยชน์
User avatar
devotion
Moderator
 
Posts: 1001
Joined: Tue Apr 28, 2009 7:11 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 4:02 pm

devotion wrote:ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ จะนำไปใช้ประโยชน์


หากข้อมูลพอจะเป็นประโยชน์สักเพียงนิด เพียงประโยค ก็น่ายินดีแล้วค่ะ
ขอบคุณค่ะ
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby pisakesing » Mon Oct 12, 2009 6:36 pm

เป็นกระทู้ที่นำข้อมูลดีๆมาเสนอได้ดีมาก
User avatar
pisakesing
 
Posts: 387
Joined: Thu Apr 23, 2009 4:36 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 7:07 pm

pisakesing wrote:เป็นกระทู้ที่นำข้อมูลดีๆมาเสนอได้ดีมาก


ขอบคุณค่ะ จะพยายามต่อไปค่ะ :oops: :oops: :oops:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby dahlia » Mon Oct 12, 2009 7:34 pm

ผมมีหนังสือเล่มนี้ไว้ในการครอบครองแล้วครับ ได้รู้กลอุบายของพวกนักการเมือง รวมทั้งพวกมะกันเยอะเลยครับ
ผมเป็นแฟนคลับ แคนไท , ริดกุน , nontee , eAT , Moon , tonythebest , -3- , amplepoor , เด็กปากดี
User avatar
dahlia
 
Posts: 1375
Joined: Mon Oct 12, 2009 2:35 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Mon Oct 12, 2009 8:34 pm

dahlia wrote:ผมมีหนังสือเล่มนี้ไว้ในการครอบครองแล้วครับ ได้รู้กลอุบายของพวกนักการเมือง รวมทั้งพวกมะกันเยอะเลยครับ


ขอความกรุณา บอกชื่อหนังสือด้วยน่ะค่ะ เผื่อว่ามีผู้ที่สนใจจะได้ไปซื้อหา
มาไว้ครอบครองเช่นกันค่ะ ขอบคุณค่ะ :mrgreen:

เบิร์ดแนะนำหนังสือไว้ 3-4 เล่ม ถ้าจะให้เดา
ขอเดาว่า หนังสือ ตื่นเถิด ชาวไทย ใช่มั้ยค่ะ :mrgreen:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Tue Oct 13, 2009 12:22 pm

เส้นทางสายธุรกิจ

ความมั่นคงและมั่งคั่งของชินคอร์ป เกิดจากความสามารถของผู้บริหาร หรือเกิดจากโอกาส
ที่ประชาชนหยิบยื่นให้ ได้มีโอกาสเข้ามาบริหารบ้านเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี (โดยประมาณ)
ยังเป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์โดยปราศจากภาพลวงตาใด ๆ

เอไอเอส : ได้สัมปทานและยังสามารถขยายเวลาสัมปทานโทรศัพท์มือถือที่สร้างรายได้
ในลักษณะของการสูบเงินจากประชาชนด้วยจำนวนเลขหมายรวมเกือบ 21 ล้านเลขหมาย
(ข้อมูล ณ ปี 2549) หรือประมาณ 90 % ของเลขหมายที่เปิดใช้บริการ มีรายได้รวมต่อปี
ประมาณ 80,000 ล้านบาท

ชินแซทเทิลไลท์ : ได้รับสัมปทานดาวเทียมจากรัฐบาล รสช และยังได้รับยกเว้นภาษี
เงินได้จากบีโอไอประมาณ 16,400 ล้านบาท ในปี 2546 (19 พย. 2546) ในสมัยรัฐบาล
ของใครคงไม่ต้องอธิบาย

แคปปิตอลโอเค : บริษัทให้สินเชื่อในรูปแบบเงินกู้ด่วน โดยมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าผู้มีรายได้
น้อย คนยากจน และอาจจะรวมถึงชาวรากหญ้า โดยการปล่อยสินเชื่อเงินกู้ด่วน ดอกเบี้ย
สูง (ชาวบ้านบอกว่า มหาโหด)

แอร์เอเซีย : สายการบินราคาถูก ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อปันส่วนลูกค้าจากการบินไทย

ไอทีวี : ทีวีได้รับสัมปทานจากกรมประชาสัมพันธ์ ได้รับการอนุมัติให้ลดค่าสัมปทาน
พร้อมทั้งอนุญาตให้ปรับผังเวลาขยายรายการบันเทิง เพื่อผลประโยชน์เชิธุรกิจในปี 2547

เอสซีแอทเซท : บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทสร้างที่อยู่อาศัย หมู่บ้าน เพื่อ
ขาย ที่สามารถซื้อที่ดินราคาถูกทั้งจากบุคคลธรรมดาและหน่วยงานบรรษัทบริหารสินทรัพย์

เส้นทางการเติบโตของเครือข่ายธุรกิจในครอบครอง

27 มีนาคม 2533 – วิ่งเต้นจนเอไอเอสได้รับสัมปทานจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ให้เป็นผู้ดำเนินโครงการระบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHZ เป็นระยะเวลา 20 ปี

ปี 2535 – วิ่งเต้นจนได้รับสัมปทานดาวเทียมไทยคมโดยการสนับสนุนอย่างดีจากรัฐบาล รสช.
โดยอิงความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นกับ พล.อ.สุนทร คงสม พงษ์ ในการชดใช้บุญคุณเกิด
หรือไม่ ไม่ขอเอยถึง แต่คนสนิทของท่าน ได้เป็นรมว.กลาโหม และ ผบ.สูงสุด

18 พฤศจิกายน 2535 - เอไอเอสแปรสภาพเป็นมหาชนจำกัด กระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

1 ตุลาคม 2537 - รัฐบาลชวน 1 เอไอเอสเปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ Digital GSM

20 กันยายน 2539 - รัฐบาลนายบรรหาร ทักษิณ ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี เอไอเอส
ลงนามสัญญาแก้ไขสัญญาสัมปทานกับองค์การโทรศัพท์ โดยเพิ่มอายุสัมปทานจาก 20 ปี เป็น
25 ปี

กรกฎาคม 2542 - เอไอเอสเริ่มเปิดจำหน่ายและให้บริการผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ชื่อ One-2-Call
ซึ่งเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล GSM แบบ Pre-paid โดยใช้บัตรเติมเงินที่ไม่จัดเก็บค่า
บริการรายเดือน และไม่ต้องมีการจดทะเบียนเลขหมาย

ปี 2544 – ปีแรกของการเข้าบริหารบ้านเมือง ภายใต้นโยบายเพื่อชาติ

• แปรสภาพคู่สัญญาและคู่แข่งของเอไอเอสอย่างองค์การโทรศัพท์ มาเป็นบริษัท ทศท
คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รายได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงลงทุนโครงข่ายที่ไม่
คุ้มทุนเพื่อประชานิยม โดยรัฐบาลทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการสัมปทานที่
ไม่คุ้มค่าและทำให้การแข่งขันของ ทศท.อ่อนแอลงไปเรื่อย ๆ

• แปรสภาพคู่แข่งของเอไอเอสอย่างการสื่อสาร มาเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด
(มหาชน) ยกเลิกการประมูลสัมปทานเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือของคู่แข่ง CDMA เฟส 2
ที่เอกชนรายอื่นชนะประมูลแล้วกลับมาให้ กสทฯ ลงทุนเอง รัฐบาลก็กำกับดูแลเช่นเดียว
กับกรณี ทศท จนรายได้ของ กสทฯ ก็ลดลงและอ่อนแอลงอีกเช่นกัน

ในปี 2546 - ตรา พ.ร.ก.จัดเก็บภาษีสรรพสามิตกิจการโทรคมนาคม โดยไม่ให้กระทบ
รายได้สัมปทานของผู้ประกอบการรายเดิม กีดกันผู้ประกอบการรายใหม่ จนไม่มีผู้ประกอบ
การรายใหม่เข้ามาแข่งขันได้

19 พฤศจิกายน 2546 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีมติส่งเสริมการลงทุนโครง
การดาวเทียมไอพีสตาร์ของชินแซทเทิลไลท์ โดยให้การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะ
รายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ ทั้ง ๆ ที่เป็นกิจการที่ลงทุนเดิมอยู่แล้ว ชินแซทฯ จึงได้รับ
การยกเว้นภาษีเงินได้อีก 16,459 ล้านบาทต่อปี

14 ธันวาคม 2546 - ชินคอร์ปลงทุนในสายการบินราคาถูก แอร์เอเซียมาเป็นคู่แข่งการบินไทย
(นกแอร์) โดยรัฐบาลจัดส่งคนไปดูแลและตัดสินใจนโยบายเส้นทางการบินและการจัดซื้อจัดจ้าง
พร้อมกับเปิดเสรีการบินภายในประเทศโดยยกเลิกอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำ 3.8 บาทต่อกิโลเมตร
และในที่สุดการบินไทยก็เริ่มเข้าสู่การขาดทุนจากนโยบายเส้นทางบินที่ผิดพลาด

30 มกราคม 2547 - ไอทีวีได้ลดค่าสัมปทาน และไอทีวีสามารถปรับเพิ่มรายการบันเทิงได้

ปื 2547 - ชินคอร์ปเริ่มเข้าสู่ธุรกิจสินเชื่อแก่ผู้บริโภค แคปิตอล โอเค ปล่อยสินเชื่อนอกระบบ
ธนาคารพาณิชย์ ทำมาหากินเพิ่มเติมจากภาคประชาชนที่เดือดร้อนเงินทอง

ข้อมูล ณ ปี 2547 เฉพาะบริษัทมือถืออย่างเอไอเอสมีรายได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 77,708 ล้านบาท
โดยที่ไม่ต้องเสียค่าเช่าโครงข่าย (access charges) ของ ทศท ฯ เหมือนผู้ประกอบการรายอื่น

ผลการวิเคราะห์ที่มาของความมั่นคงและมั่งคั่งของชินคอร์ป จะเกิดจากความสามารถหรือโอกาส
สุดแล้วแต่ท่านจะวิเคราะห์ ไม่มีทั้งคำอธิบายหรือคำนิยามใด ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างปรากฎอยู่ในตัว
ของมันเองแล้วทุกกรณี
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Tue Oct 13, 2009 1:36 pm

ชิน กับ เทมาเส็ก

พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 บัญญัติคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตการ
ประกอบกิจการโทรคมนาคมไว้ว่า "ต้องมิใช่คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจ
ของคนต่างด้าว และต้องมีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้า
ของทุนทั้งหมดในนิติบุคคลนั้น รวมทั้ง ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า สามในสี่ ของจำนวนกรรมการ
ทั้งหมด และผู้มีอำนาจกระทำการผูกพันนิติบุคคลนั้นต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยด้วย ในการนี้คณะ
กรรมการ (กทช.) อาจกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการบางลักษณะหรือบาง
ประเภทที่เป็นนิติบุคคลจะต้องกำหนดข้อห้ามการกระทำอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการครอบงำกิจการ
โดยบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยอีกด้วยก็ได้"


การแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 ผ่าน ครม. ด้วยเสียงข้างมากใน
สภาผู้แทนราษฎร การแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงเป็นไปอย่างเรียบร้อย พ.ร.บ.การประกอบกิจ
การโทรคทนาคมฉบับใหม่ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันศุกร์ที่ 20 มกราคม 2549 โดยมี
ผลบังคับใช้วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2549 การซื้อขายหุ้นที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศเกิดขึ้นใน
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2549

พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ได้ตัดเงื่อนไขที่จำกัดการถือ
หุ้นไว้ที่ร้อยละ 25 โดยอิงกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ให้ต่างด้าวถือหุ้นใน
บริษัทด้านกิจการโทรคมนาคมได้ถึงร้อยละ 49 และตัดเงื่อนไขสัดส่วนกรรมการบริษัทที่ต้องเป็น
บุคคลสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ออกทั้งหมด


หมายเหตุท้าย พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ตอกย้ำถึงสมมติฐานข้างต้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นโดยระบุว่า

"โดยที่กิจการโทรคมนาคมบางลักษณะหรือบางประเภทเป็นกิจการที่ต้องใช้ทุนเป็น
จำนวนมากในการดำเนินการและต้องใช้เทคโนโลยีสูงซึ่งปัจจุบันการพึ่งพาทุนและเทคโนโลยีจาก
ต่างประเทศยังมีความจำเป็น การกำหนดคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตการประกอบกิจการโทรคม
นาคม โดยให้มีสัดส่วนการถือหุ้นของบุคคลผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้านั้น เป็น
ปัญหาและอุปสรรคต่อการระดมทุนจากผู้ลงทุนต่างประเทศหรือหากจะร่วมทุนกับต่างประเทศก็จะ
ติดขัดปัญหาสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวดังกล่าวส่งผลให้ผู้รับใบอนุญาตทั้งรายเดิมและราย
ใหม่ไม่สามารถพัฒนาโครงข่ายหรือเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อจัดการให้บริการแก่ประชาชน
อย่างมีประสิทธิภาพได้เท่าที่ควร สมควรแก้ไขสัดส่วนการถือหุ้นเสียใหม่เอื้อต่อการระดมทุนจาก
นักลงทุนจากต่างประเทศ.."


ข้อสังเกตอีกประการหนึ่ง คือ ในช่วงเดือนธันวาคม 2548 ราคาหุ้นชิน เคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับราคา
37 บาท และขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกระแสข่าวการขายหุ้นของ 2 ตระกูล และผู้บริหารในกลุ่ม
ชินคอร์ปได้ทยอยขายห้นออกมาเป็นระยะ โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ขึ้นเครื่องหมายเตือน
เนื่องจากมองว่าเป็นการตัดสินใจของผู้ถือหุ้น แต่อย่าลืมว่า ผู้ถือหุ้น กับ ผู้บริหารเกี่ยวข้องกัน
และกัน สุดท้ายราคาหุ้นชิน ณ วันที่ 23 มกราคม 2549 หยุดที่ราคา 48 บาท กลุ่มชินคอร์ปขาย
หุ้นทั้งหมดในครอบครอง 49.95% ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท มีมูลค่ารวมสุทธิประมาณ 73,200
ล้านบาท (เจ็ดหมื่นสามพันสองร้อย..ล้านบาท)..

การซื้อหุ้นในครั้งนี้ เทมาเส็ก ไม่ได้ซื้อโดยตรง แต่ซื้อผ่าน 2 บริษัท
1. บจ. ซีดาร์ โฮลดิ้ง (เป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย) จำนวน 1,158 ล้านหุ้น ( 38.6% )
2. บจ. แอสแพน โฮลดิ้ง (เป็นนิติบุคคลไม่สัญชาติไทย) จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ( 11% )

โดย ซีดาร์ โฮลดิ้ง มีสัดส่วนการถือหุ้น : เทมาเส็ก 49%, ไทยพาณิชย์ 9.9%, กุหลาบแก้ว 41.1%
และ แอสแพน โฮลดิ้ง มีสัดส่วนการถือหุ้น : เทมาเส็ก 100%

ซึ่งการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้เป็นไปด้วยสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายเป็นคำพูดเป็นตัวอักษร
ให้ง่ายต่อความเข้าใจ อันเนื่องมาจากการเข้าถือหุ้นสลับไขว้กันไปมาทั้งในประเทศและพัฒนา
ไปถึงการถือหุ้นสลับไขว้กันไปมาข้ามประเทศ หากท่านเป็นนักเล่นหุ้นในตลาด ท่านจะมองเห็น
ภาพอันสลับซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ซ่อนปมได้อย่างกระจ่างชัด สุดความสามารถที่จะอธิบายให้เห็น
ภาพได้

ในส่วนของการเสียภาษีอากร ภายใต้ประมวลรัษฎากรคงปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากร
ในการตีความ เพราะประมวลรัษฎากรเขียนด้วยภาษากฎหมายทางภาษีการตีความในแต่ละ
มาตรา แต่ละวงเล็บ แต่ละข้อยกเว้น จำต้องอ้างอิงจากผู้รู้อย่างแท้จริง จะตีความด้วยอคติมิได้
จึงขอละไว้ ที่จะไม่กล่าวถึง การละไว้ครั้งนี้มีสาเหตุอีกประการคือ หนังสือชี้แจงของสรรพากร
ที่มีออกมา 2-3 ครั้งในช่วงปี 2549 ให้ข้อมูลที่ขัดกันเองในการตีความ จึงไม่สามารถอ้างอิงได้
ว่าการตีความใดที่ถูกต้องและยึดเป็นหลักพื้นฐานในการวิเคราะห์และอ้างอิง

แต่ขอทิ้งประเด็นการเสียภาษีในกรณีซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไว้พอสังเขป การขายหุ้น
ในตลาดหลักทรัพย์โดยนิติบุคคล (บริษัทมหาชน) ต้องเสียภาษี แต่ ขายในนามบุคคลธรรมดา
ไม่ต้องเสียภาษี ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ตั้งขึ้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนทั่วไปเข้า
ไปลงทุนในตลาดหุ้น แต่ช่องว่างนี้ ได้ถูกใช้เป็นช่องทางในการหลบเลี่ยงภาษี ดังจะเห็นได้จาก
ความพยายามโอนหุ้นที่โดยนิติบุคคลทั้งหมด กลับมาอยู่ในมือของบุคคลธรรมดาก่อนการขาย
หุ้น และยังดำเนินการโอนหุ้นจากกองทุนต่างประเทศที่ไม่ได้ระบุนามผู้ถือหุ้นมาเป็นหุ้นในนาม
บุตรสาว แล้วจึงดำเนินการเจรจาซื้อขายหุ้น จงใจหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่ พฤติกรรมฟ้องอยู่

หมายเหตุ : พฤติกรรมการโอนหุ้น ก่อนการซื้อ-ขายหุ้นครั้งนี้ จะนำมาเรียบเรียงในครั้งต่อไป
Last edited by bird on Tue Oct 13, 2009 10:37 pm, edited 1 time in total.
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby overtherainbow » Tue Oct 13, 2009 2:33 pm

;) เห็นมั้ย ว่าแล้วว่าคงไม่ต้องถึงกับงม หา กระทู้หรอก
น่าจะส่งเป็น fwd mail นะเนี่ย
User avatar
overtherainbow
 
Posts: 3123
Joined: Sat Dec 27, 2008 12:36 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Tue Oct 13, 2009 2:36 pm

overtherainbow wrote:;) เห็นมั้ย ว่าแล้วว่าคงไม่ต้องถึงกับงม หา กระทู้หรอก
น่าจะส่งเป็น fwd mail นะเนี่ย


ยินดีต้อนรับกลับมาค่ะ
คิดถึงแย่เลย :mrgreen:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm


Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby แดง ขาว น้ำเงิน » Wed Oct 14, 2009 12:43 am

หารูปนั้นมะเจอเลยคุณเบิร์ด :?
ต้องให้คนไปดึงคลิปแล้วแคปหน้าจอแล้วละครับ
"ผู้ที่ใช้สติปัญญาไม่เป็น คือคนโง่ ผู้ที่ไม่กล้าใช้สติปัญญา คือทาส" เพลโต้
User avatar
แดง ขาว น้ำเงิน
Moderator
 
Posts: 4943
Joined: Thu Feb 12, 2009 4:07 pm
Location: Earth

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Wed Oct 14, 2009 12:30 pm

พฤติกรรมการโอนหุ้น

Adam Smith เคยกล่าวไว้ว่า
" พฤติกรรมใดๆ ของการลงทุน พฤติกรรมใดๆ ของนายทุน ล้วนแล้วแต่ทำไปเพื่อสนองผลประโยชน์
ของตัวเองทั้งสิ้น นายทุนทำทุกอย่างด้วยแรงจูงใจ เพื่อกำไรของตัวเอง ไม่ใช่กำไรของประเทศ
กำไรของประเทศนั้นเป็นเรื่องผลพลอยได้ ไม่ใช่ความตั้งใจ "

พฤติกรรมการโอนหุ้น ก่อนการเจรจาซื้อขายครั้งใหญ่ และมีมูลค่ามหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฎ
ในประเทศมาก่อน พอสรุปโดยสังเขป ดังนี้

1) วันที่ 11 มิถุนายน 2542 ทักษิณขายหุ้นชิน ในนามตัวเองให้กับ แอมเพิลริช (ตั้งอยู่ที่หมู่เกาะ
บริติชเวอร์จิ้น ไอร์แลนด์ คาดกันว่าแม้วเป็นผู้จัดตั้ง) จำนวน 329.20 ล้านหุ้น

2) วันที่ 20 มกราคม 2549 แอมเพิลริช ขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ให้กัน พานทองแท้ และ
พิณทองทา จำนวนคนละ 164.60 ล้านหุ้น ในมูลค่าหุ้น 1 บาท ขณะที่ราคาในตลาดเป็น 49 บาท
ในกรณีนี้ได้รับยกเว้นภาษี เนื่องจากขายหุ้นในบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งหุ้นจำนวนนี้
พานทองแท้ และ พิณทองทา ได้รวมขายให้กับกลุ่มเทมาเส็กในวันที่ 23 มกราคม 2549 ด้วย

3) วันที่ 23 มกราคม 2549 ผู้ถือหุ้นของชินคอร์ป 5 ท่านได้รวมหุ้นกันขายให้กับกลุ่มเทมาเส็ก
ซึ่งหุ้นที่ทำการขายเป็นหุ้นที่ชินคอร์ปถือหุ้นอยู่ใน เอไอเอส แอร์เอเซีย แคปปิตอลโอเค ไอทีวี
และ ซินเซทฯ โดยจำนวนหุ้นที่ขายออกในครั้งนี้ประมาณ 1,487.73 ล้านหุ้น คิดเป็น 49.60%
ของหุ้นชินทั้งหมด ซึ่งเป็นหุ้นที่ถือในนามของ
3.1 นายบรรณพจน์ จำนวนหุ้นประมาณ 404.42 ล้านหุ้น (13.48% ของหุ้นชิน)
3.2 นายพานทองแท้ จำนวนหุ้นประมาณ 458.52 ล้านห้น (15.29% ของหุ้นชิน)
3.3 นส.พิณทองทา จำนวนหุ้นประมาณ 604.60 ล้านหุ้น (20.15% ของหุ้นชิน)
3.4 นส.ยิ่งลักษณ์ จำนวนหุ้นประมาณ 20.00 ล้านหุ้น ( 0.67% ของหุ้นชิน)
3.5 นางบุษา จำนวนหุ้นประมาณ 0.16 ล้านหุ้น ( 0.05% ของหุ้นชิน)

4) กลุ่มเทมาเส็กซื้อหุ้นชินจำนวน 1,487.73 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 49.25 บาท (ราคาในตลาด
หุ้นละ 48.- บาท รวมมูลค่าเป็นเงินประมาณ 73,000 ล้านบาท โดยการซื้อหุ้นครั้งนี้ เทมาเส็ก
ซื้อผ่านบริษัทตัวแทน 2 บริษัท
4.1 บจ. ซีดาร์ โฮลดิ้ง จำนวนประมาณ 1,158.00 ล้านหุ้น (38.6% ของหุ้นชิน)
4.2 บจ. แอสแพน โฮลดิ้ง จำนวนประมาณ 329.20 ล้านหุ้น (11.0% ของหุ้นชิน)

5) บจ. ซีดาร์ โฮลดิ้ง เป็นบริษัทสัญชาติไทย โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นก่อนการซื้อหุ้นดังนี้
5.1 กลุ่มเทมาเส็ก ถือหุ้นร้อยละ 49 สิทธิ์ในหุ้นใหม่ 18.91 ของ 38.60%
5.2 กลุ่มไทยพาณิชย์ ถือหุ้นร้อยละ 9.9 สิทธิ์ในหุ้นใหม่ 3.82 ของ 38.60%
5.3 กลุมกุหลาบแก้ว ถือหุ้นร้อยละ 41.1 สิทธิ์ในหุ้นใหม่ 15.87 ของ 38.60%

6) กลุ่มกุหลาบแก้ว เป็นบริษัทสัญชาติไทย โดยมีสัดส่วนผู้ถือหุ้น ดังนี้
6.1 กลุ่มเทมาเส็ก ถือหุ้นร้อยละ 49 สิทธิ์ในหุ้นใหม่ 7.78 ของ 15.87 %
6.2 กลุ่มผู้ถือหุ้นไทย ถือหุ้นร้อยละ 51 สิทธิ์ในหุ้นใหม่ 8.09 ของ 15.87 %

7) บจ. แอสแพน โฮลดิ้ง ไม่ใช่บริษัทสัญชาติไทย ซึ่งกลุ่มเทมาเส็ก ถือหุ้น 100%

8) กลุ่มเทมาเส็ก มีสิทธิในชินคอร์ป หลังจากซื้อหุ้นจำนวนมหาศาล โดยลงทุนผ่าน
8.1 ในนาม บจ.ซีดาร์ โฮลดิ้ง
8.2 ในนาม กุหลาบแก้ว
8.3 ในนาม แอสแพน โฮลดิ้ง


การซื้อขายหุ้นในครั้งนี้ หากจะถามว่า ต้องเสียภาษีเงินได้หรือไม่ โดยส่วนตัวคงต้องบอกว่า
ตามประมวล เปิดช่องไว้ การซื้อขายหุ้นจะยกเว้นภาษีเพียงกรณีเดียว คือ เป็นการซื้อขายหุ้น
ของบุคคลธรรมดาในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้เข้าเกณฑ์ตามประมวลฯ
ทุกประการ นั้นย่อมหมายความว่า ประเด็นการเสียภาษีคงไม่เสียภาษีแน่นอน หากแต่ว่า

พฤติกรรมการโยกย้าย ถ่ายเท หุ้นจากนิติบุคคล จากบริษัท เป็นในนามบุคคลธรรมดา
ก่อนการซื้อขายหุ้นต่างหาก ที่ควรจะเป็นบรรทัดฐานในการวัดจริยธรรมและคุณธรรมของ
ท่านผู้มีชื่อเสียง เป็นผู้นำรัฐบาล ว่าท่านมีจริยธรรมหรือคุณธรรมมากพอหรือไม่ มิฉะนั้น
คำกล่าวที่ว่า โกงเชิงนโยบาย ทุจริตอย่างถูกกฎหมาย คงจะไม่เกิดขึ้น....
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Wed Oct 14, 2009 12:34 pm

แดง ขาว น้ำเงิน wrote:หารูปนั้นมะเจอเลยคุณเบิร์ด :?
ต้องให้คนไปดึงคลิปแล้วแคปหน้าจอแล้วละครับ


มะเป็งไรคร้าบ... ขอบคุณคร้าบ :mrgreen:
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

Re: เค้าลางแห่งความเลวร้าย...แม้ว

Postby bird » Wed Oct 14, 2009 2:55 pm

ที่ดินรัชดา

" เมื่อพยานหลักฐานที่ได้จากการไต่สวนรับฟังได้ว่า จำเลยที่ ๑ กระทำความผิดดังที่วินิจฉัยมา
ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมาย ไว้วาง
ใจให้บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน แต่จำเลย
ที่ ๑ กลับฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งที่จำเลยที่ ๑ เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็น
แบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตามจริยธรรม
ของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับความไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่อันสำคัญยิ่งนี้
จึงไม่สมควรรอการลงโทษ
"

ข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งคำพิพากษาของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๑ ในคดีทุจริตซื่อขายที่ดินรัชดาภิเษกจำนวนประมาณ ๓๓ ไร่ มุลค่า
๗๗๒ ล้านบาทเศษ ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีและภิรยา เป็นจำเลยที่ ๑
และ ๒ ตามลำดับ ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วน
เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจ
กำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน
มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.๒๕๔๒ ม.๔,
๑๐๐ และ ๑๒๒ ประมวลกฎหมายอาญา ม.๓๓, ๘๓, ๘๖, ๙๑, ๑๕๒ และ ๑๕๗

ลำดับเหตุการณ์ กรณีที่ดินรัชดา สรุปได้ดังนี้

เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๘ กองทุนฟึ้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น
ร้อยละ ๙๒ ของบริษัทเงินทุนเอราวัณทรัสต์ ทำการซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษกของบริษัทเงินทุน
เอาราวัณทรัสต์ จำนวน ๒ แปลง รวม ๓๑ โฉนด มีเนื้อที่รวม ๑๒๑ ไร่ ๒ งาน ๓๔ ตารางวา
ในมูลค่าสุทธิ ๔,๘๘๙,๔๗๙,๕๐๐ บาท (สี่พันแปดร้อยแปดสิบเก้าล้านสี่แสนเก้าหมื่นเจ็ดพัน
ห้าร้อยบาท)

กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ทำการปรับราคาที่ดินตามราคาประเมินของกรมที่ดิน เพื่อรับรุ้การขาดทุนทาง
บัญชี และเพื่อสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของที่ดิน การปรับลดราคาในครั้งนี้ทำให้มุลค่าที่ดินทั้ง ๒
แปลงมีมูลค่าเหลือเพียง ๒,๐๖๔.๖๐ ล้านบาท โดยแยกเป็น แปลงที่ ๑ มีราคา ๑,๓๑๐.๑๐
ล้านบาท และแปลงที่ ๒ ซึ่งเป็นที่ดินแปลงที่เกี่ยวข้องกับคดี มีมูลค่า ๗๕๔.๕๐ ล้านบาท

วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๖ กองทุนฟื้นฟูฯ ได้นำที่ดินแปลงที่ ๒ ออกประมูลทางอินเตอร์เนท
โดยกำหนดราคาขั้นต่ำไว้ที่ ๘๗๐ ล้านบาท และต้องชำระเงินมัดจำการประมูล ๑๐ ล้านบาท
ปรากฎว่าไม่มีผู้เสนอราคาประมูลแต่อย่างใด

กองทุนฟื้นฟูฯ จึงได้ทำการรังวัดแบ่งแยกที่ดินแปลงที่ ๒ ออกเป็น ๔ โฉนด โดยตัดส่วนที่เป็น
พื้นที่สาธารณะประโยชน์ตามกฏหมายออกไป คงเหลือเนื้อที่รวม ๓๓ ไร่ ๗๘.๙ ตารางวา (เดิม
มีเนื่อที่รวม ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๖๙ ตารางวา)

กองทุนฟื้นฟูฯ นำที่ดินหลังรังวัดใหม่ออกประมูลอีกครั้ง โดยไม่ได้กำหนดราคาขึ้นต่ำ แต่เพิ่ม
วงเงินมัดจำการประมูลเป็น ๑๐๐ ล้านบาท (หนึ่งร้อยล้านบาท) กำหนดยื่นซองประมูลและเปิด
ซองประมูลในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖ ปรากฎว่ามีผู้ยื่นซองจำนวน ๓ ราย คือ

๑) บริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา ๗๓๐ ล้านบาท
๒) บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เสนอราคา ๗๕๐ ล้านบาท
๓) คุณหญิงพจมาน ชินวัตร เสนอราคา ๗๗๒ ล้านบาท

กองทุนฟื้นฟูฯ อนุมัติให้คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ชนะการประมูลซื้อขายที่ดินในครั้งนี้ และได้ทำ
สัญญาจะซื้อจะขาย ในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๖ จุดสำคัญอยู่ตรงที่ว่า วันโอนกรรมสิทธิ์คือ
วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ ซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน
เฉพาะกรณีปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยเสียในอัตรา ร้อยละ 0.01 โดยมีผลบังคับใช้ถึงสิ้นปี
๒๕๔๖ เท่านั้น (ต่อมา ๒ มกราคม ๒๕๔๗ กรมที่ดินได้ประกาศขยายเวลาใช้อัตราลดหย่อน
ถึงสิ้นปี ๒๕๔๗)

ในปีเดียวกัน ( ปี ๒๕๔๖ ) คณะรัฐมนตรีมีมติให้เลื่อนวันหยุดปีใหม่ จากวันที่ ๓๑ ธันวาคม
เป็นวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๔๗ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้ประชาชนได้หยุดยาวตั้งแต่วันที่ ๑ -
๔ มกราคม ๒๕๔๗ เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินรัชดาสามารถกระทำได้
ทันภายในว้นที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ และเสียค่าธรรมเนียมโอนเพี่ยงร้อยละ ๐.๐๑ เท่านั้น

หากลองค้นข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ จะมีจำนวนที่ดิน
ที่ทำการโอนกรรมสิทธิ์ในวันดังกล่าวสักกี่แปลง กี่คู่สัญญา หรือ อาจจะมีเฉพาะที่ดินย่าน
รัชดาภิเษกแปลงนี้แปลงเดียว.. หากเป็นเช่นนั้น คงไม่ผิดถ้าจะเกิดคำถามขึ้นในใจถึง
พฤติกรรมของบุคคลเหล่านั้นว่า จริยธรรม คุณธรรม ยังคงมีเหลืออยุ่ในจิตใจ ในจิตใต้
สำนึกบ้างหรือป่าวหนอ....
User avatar
bird
 
Posts: 1426
Joined: Wed Apr 01, 2009 1:25 pm

PreviousNext

Return to ห้องสมุด



cron