คอคอดกระ

คลังปัญญา กระทู้ปักหมุดเดิม เรื่องสำคัญจัดเก็บที่นี่

Re: คอคอดกระ

Postby jinnivan » Thu Apr 29, 2010 1:49 am

คาดว่าไม่ต้องสร้างแล้วครับ เพราะ 2012 น้ำก็ท่วมหมดแล้ว :lol:
รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย จะเกิดภาคไหนก็ไทยด้วยกัน เชื้อสายประเพณีไม่มีกัดกั้น เกิดใต้ธงไทยนั้นปวงชนทุกคนคือไทย
User avatar
jinnivan
 
Posts: 350
Joined: Mon Mar 29, 2010 10:27 pm

Re: คอคอดกระ

Postby ชายขอบ » Thu Apr 29, 2010 3:16 am

กระทู้คุณภาพ :D
ช่วยจัดเข้าห้องสมุดด้วยครับ
คำตอบสำหรับคำถามทั้งหลายของ ฟดก.
"ถ้า ลูกกระทำผิด ลูกต้องกราบเท้าขอโทษพ่อ แต่ ถ้าบังเอิญพ่อทำสิ่งดีแต่ไม่ถูกใจลูก พ่อต้อง กราบเท้าลูกเหรอครับ."
User avatar
ชายขอบ
 
Posts: 257
Joined: Mon Jan 12, 2009 1:43 am

Re: คอคอดกระ

Postby รักน้องพิณ » Thu Apr 29, 2010 3:20 am

ผมลองคิดว่าหากเราทำท่าเรือที่ฝั่งอันดามัน แล้วทำรถไฟรางคู่ที่มีความกว้างมาตรฐานจากใต้-เหนือ-อีสาน แล้วเชื่อมไปถึงจีนถึงเวียดนาม
สินค้ามาลงที่ท่าเรือ แล้วขึ้นรถไฟต่อ
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: คอคอดกระ

Postby รักน้องพิณ » Thu Apr 29, 2010 3:26 am

คนเล็กของเล่นใหญ่ wrote:แต่แน่นอน คลองนี้จะมีผลประโยชน์กับมหาศาลกับประเทศไทย ง่ายที่สุดเลยก็คือ ประเทศไทยจะเป็นประเทศศูนย์กลางทางการคมนาคมของภูมิภาคครบสมบูรณ์แบบ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และทางบก ท่าเรือสำคัญจะย้ายจากสิงคโปร์มาที่ประเทศไทย นอกจากการเดินเรือสั้นลงแล้ว เรือสินค้าจะปลอดจากการรบกวนของพวกโจรสลัดในช่องแคบมะละกาด้วย



โจรสลัดในช่องแคบมะละกามีเยอะมากเหรอครับ
แล้วกองทัพเรือมาเลย์, อินโด กับโปโตกทำอะไรไม่ได้เหรอ
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: คอคอดกระ

Postby loginofu » Thu Apr 29, 2010 4:17 am

รถไฟเร็วกว่าเป็นไหนๆครับ เพียงแต่ต้องผ่านหลายประเทศ ขั้นตอนไม่รู้ว่าจะยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า

ส่วนโจรสลัด บางทีก็อยู่ในรูปเรือประมง ทะเลกว้างขนาดนั้น ยังไงก็เข้าไปดูแล ตรวจดูเรือทุกลำไม่ได้
http://www.prachathon.org/forum/index.php
ทางเข้าบอร์ดสำรอง http://siamseri.orgfree.com/
ประชาทนธิปไตย : ทนได้ก็ทนไป
loginofu
 
Posts: 10316
Joined: Mon Oct 13, 2008 3:22 am

Re: คอคอดกระ

Postby รักน้องพิณ » Thu Apr 29, 2010 4:24 am

loginofu wrote:รถไฟเร็วกว่าเป็นไหนๆครับ เพียงแต่ต้องผ่านหลายประเทศ ขั้นตอนไม่รู้ว่าจะยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า

แบบว่าทำข้อตกลงว่าหากสินค้าผ่านประเทศนั้นเฉยๆจะมีขั้นตอนน้อยลง
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: คอคอดกระ

Postby nontee » Thu Apr 29, 2010 8:25 am

รักน้องพิณ wrote:
loginofu wrote:รถไฟเร็วกว่าเป็นไหนๆครับ เพียงแต่ต้องผ่านหลายประเทศ ขั้นตอนไม่รู้ว่าจะยุ่งยากเกินไปหรือเปล่า

แบบว่าทำข้อตกลงว่าหากสินค้าผ่านประเทศนั้นเฉยๆจะมีขั้นตอนน้อยลง


ในปัจจุบันมีข้อตกลง Transis สินค้าและผู้โดยสารแบบนี้อยู่แล้วครับ แต่มันยังไม่ค่อยเป็นระบบเท่าไหร่

ถ้าเราสามารถริเริ่มโครงการ แลนด์บริดจ์ (ถนน+รถไฟรางคู่) ก็นำข้อตกลงเดิมมาบูรณาการให้เป็น

มาตรฐานเดียวกันทั้งภูมิภาคได้เลย
User avatar
nontee
 
Posts: 6598
Joined: Tue Jan 26, 2010 2:34 pm
Location: หว้ากอ

Re: คอคอดกระ

Postby Yasuhiro » Thu Apr 29, 2010 9:22 am

รักน้องพิณ wrote:
คนเล็กของเล่นใหญ่ wrote:แต่แน่นอน คลองนี้จะมีผลประโยชน์กับมหาศาลกับประเทศไทย ง่ายที่สุดเลยก็คือ ประเทศไทยจะเป็นประเทศศูนย์กลางทางการคมนาคมของภูมิภาคครบสมบูรณ์แบบ ทั้งทางน้ำ ทางอากาศ และทางบก ท่าเรือสำคัญจะย้ายจากสิงคโปร์มาที่ประเทศไทย นอกจากการเดินเรือสั้นลงแล้ว เรือสินค้าจะปลอดจากการรบกวนของพวกโจรสลัดในช่องแคบมะละกาด้วย



โจรสลัดในช่องแคบมะละกามีเยอะมากเหรอครับ
แล้วกองทัพเรือมาเลย์, อินโด กับโปโตกทำอะไรไม่ได้เหรอ



เท่าที่ผมเก็บข้อมูลมานะครับ จำนวนที่พวกโจรสลัดโจมตีเรือบรรทุกสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวน 161 ครั้ง ในปี1999 และ จำนวน 242 ครั้งในปี 2000 และเพิ่มขึ้นเป็น 445 ครั้ง ในปี 2003 ซึ่งมีการโจมตีในช่องแคบมะลากาอย่างเดียวมีจำนวน 170 ครั้งในปี 2003 ครับ หลังจากปี 2003 อย่างที่หลายคนทราบกันครับว่าได้มีการลาดตระเวณร่วมของสามประเทศ (ที่จริงเขาต้องการกองทัพเรือไทยเข้าร่วมด้วย แต่เท่าที่ผมทราบจากนายทหารเรือท่านหนึ่ง ไทยเราอยากเข้าร่วมครับ แต่ด้วยขีดความสามารถที่จำกัดเนื่องมาจากงบประมาณที่จำกัด แถมนักการเมืองก็ไม่เข้าใจว่ามีกองทัพเรือก็มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางทะเลของประเทศ และภูมิภาค ไทยราเลยได้เป็นแค่ผู้ร่วมสังเกตการณ์เท่านั้นครับ) แต่ข่าวที่ออกมาล่าสุดตอนเดือนมีนาคมปีนี้ อัตราการโจมตีของโจรสลัดลดลงเป็นจำนวนมากครับ แต่การลาดตระเวนร่วมของสามประเทศไม่ได้เป็นเอกภาพอย่างที่ควรจะเป็น ทำให้เรือบรรทุกสินค้าที่แล่นผ่านช่องแคบมะละกายังมีความเสี่ยงในการถูกโจรสลัดโจมตีครับ และอีกเรื่องที่กังวลกันในแวดวงความมั่นคงทางทะเลก็คือเรื่องการก่อการร้ายครับ ถึงแม้ว่ากลุ่มผู้ก่อการร้ายในภูมิภาคนี้อ่อนแอลง แต่มันก็ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกพวกนี้โจมตีเรือบรรทุกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ในเวลาที่เรือพวกนี้จอดเทียบท่าครับ

ที่สำคัญอีกประเด็นคือ จากการประเมินของหน่วยงานสหรัฐได้มีการประมาณการจำนวนน้ำมันดิบที่มีการขนส่งผ่านช่องแคบมะละกาในปี 2006 มีจำนวน 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน และมีจำนวนเรือบรรทุกมากกว่า 50000 ลำแล่นผ่านช่องแคบมะละกาต่อปี ทีนี้ถ้าเกิดปัญหาร้ายแรงทำให้เรือไม่สามารถแล่นผ่านช่องแคบมะละกาได้ มีการประเมินกันว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 8.5 วัน เพื่อที่จะปรับเส้นทางขนส่งทางเรือใหม่ ซึ่งมันจะส่งผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันในภูมิภาคและค่าขนส่งทางเรือมันถีบตัวสูงขึ้นไปอีก แถมบางจุดในช่องแคบมะละกานั้นตื้นและจุดที่แคบที่สุดกว้างแค่ 500 เมตร ทำให้การแล่นเรือในช่องแคบต้องใช้ความเร็วต่ำเพื่อความปลอดภัย ซึ่งมันก็มีโอกาสที่จะถูกโจมตีโดยโจรสลัดได้ง่าย ตามที่ผมเล่ามาในข้างต้นครับ


ทีนี้แผนพัฒนาของประเทศเรา เท่าที่ผมเช็คๆดู ก็มีเอกสารนำเสนอของสภาพัฒน์ครับ ก็สามารถไปดูได้ที่[url] http://www.nesdb.go.th/portals/0/home/i ... opment.pdf
[/url] ครับ ซึ่งผมได้แต่ภาวนาให้ปัญหาหางแดงมันจบๆไปโดยเร็ว เราจะได้เอาเวลาไปพัฒนาประเทศเป็นเรื่องเป็นราวกันซักทีครับ
"The future is plural" Peter Schwatz
เพิ่มเติม: ผมไม่มีนโยบายที่จะต่อความยาวสาวความยืดกับพวกเกรียนทางความคิด เพราะมันเสียทั้งเวลาและอารมณ์ ไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะไปนั่งอธิบายให้คนที่ปิดกั้นทางความคิดพวกนี้ฟังหรืออ่าน
User avatar
Yasuhiro
 
Posts: 1109
Joined: Mon Feb 01, 2010 3:00 pm

Re: คอคอดกระ

Postby รักน้องพิณ » Thu Apr 29, 2010 9:44 am

โครงการแลนด์บริดจ์ Vs คลองไทย


การเปรียบเทียบระหว่าง โครงการแลนด์บริดจ์ กับโครงการคลองไทย (คอคอดกระ)
เขียนโดย รศ.ดร. สถาพร เขียววิมล BSIE. (University of Oklahoma) MSIE. (New Jersey Institute of Technology) Dr.Ing. (Universite De Nice) France คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของ โครงการขุดคอคอดกระ(คลองไทย) วุฒิสภา ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน วุฒิสภา

โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) เป็นโครงการสร้างถนนเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยหรือที่เราเรียกว่า Land Bridge หรือสะพานข้ามพื้นดิน เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าต่างๆ ที่มาทางเรือจากฝั่งทะเลด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง สำหรับในทางภาคปฏิบัติ ประโยชน์ที่จะได้รับก็คงไม่แตกต่างไปจาก ถนนสายหลักของประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจะมีการเน้นในรูปแบบของวัตถุประสงค์ที่จะใช้เฉพาะ เพื่อการขนส่งสินค้าระหว่างสองฝั่งทะเล การขนส่งสามารถเป็นได้ทางรถยนต์ รถไฟ หรือการขนส่งน้ำมันโดยระบบทางท่อ โดยเฉพาะการขนส่งน้ำมันผ่านระบบท่อ จากฝั่งทะเลหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ก็ไม่ได้ประหยัดจริง เมื่อเทียบกับการขนส่งทางทะเลโดยตรง ในทางปฏิบัติจะต้องศูนย์เสียเวลาในการขนส่งผ่านระบบท่อมาก และจะต้องมีการก่อสร้าง คลังน้ำมันขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ตั้งพักน้ำมันไว้สำหรับจำหน่าย ตลอดจนต้องมีท่าเทียบเรือน้ำลึกขนาดใหญ่เพื่อใช้รองรับเรือทั้งสองฝั่ง ทำนองเดียวกันกับการขนส่งสินค้าทางเรือ

ถ้าหากมีการขนถ่ายสินค้าจากฝั่งทะเลหนึ่ง ไปยังอีกฝั่งทะเลหนึ่ง โดยใช้รถบรรทุกเป็นตัวเชื่อมในการขนส่ง จะมีตู้คอนเทเนอ เป็นจำนวนมากที่ถูกขนย้ายไปมาตลอดเวลา และจะต้องสร้างคลังสินค้า ขนาดใหญ่ และ พื้นที่ ขนาดใหญ่ สำหรับไว้ใช้ วางตู้คอนเทเนอจำนวนมาก ตลอดจนเตรียมอุปกรณ์ขนาดใหญ่ (เครน) ที่สามารถ ยกตู้คอนเทเนอขนาดใหญ่ ได้จำนวนมากๆ ยกตู้คอนเทเนอจากเรือมายังรถบรรทุก และ ยกตู้คอนเทเนอจากรถบรรทุก มาลงเรืออีก ฝั่งทะเลหนึ่ง โดยต้องมีโครงการ การสร้างท่าเรือน้ำลึก เพื่อรองรับเรือขนส่งสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ทั้งสองฝั่งทะเล สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องลง ทุนแพงกว่าเท่าตัวโครงการแลนด์บริดจ์ เสียอีก (ไม่น้อยไปกว่าค่าก่อสร้าง ที่สร้างท่าเรือแหลมฉบัง) โครงการแลนด์บริดจ์ คงไม่ได้ลงทุนก่อสร้าง เฉพาะถนนอย่างเดียว จะต้องสร้างท่าเรือน้ำลึก ของ หัว – ท้าย ของถนนด้วยวัตถุประสงค์ของโครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge) สามารถตอบสนองความต้องการของ เรือเดินทะเล ต่างๆที่จะมาใช้บริการหรือไม่? จะต้อง มีการนำมาศึกษา วิเคราะห์ อย่างรอบ คอบ ความ สำคัญ ด้านประโยชน์ และ ด้านศักยภาพ ระหว่าง โครงการแลนด์บริดจ์ กับ โครงการขุดคลอง

สิบ แลนด์บริดจ์ ก็ยังทำประโยชน์ ไม่เท่าหนึ่งคลอง

เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น สมมุติว่าเราสร้าง Land Bridge เสร็จสมบูรณ์แล้ว และมีท่าเทียบเรือทั้งสองฝั่งทะเล ที่ฝั่งทะเลอันดามัน กับ ฝั่งทะเลอ่าวไทย และ มีเรือขนาด 5,000 ตู้(TEU) มาเทียบท่าฝั่งทะเลอันดามัน แล้วนำตู้สินค้า จำนวน5,000 ตู้(TEU)ลงเพื่อส่งต่อ ไปยังฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยใช้รถขนส่งตู้สินค้า 5,000 ตู้(TEU) จะต้องใช้รถบรรทุก วิ่งขาไป 5,000 เที่ยว ขากลับ 5,000 เที่ยว รวม 10,000 เที่ยว หากจ่ายค่ารถบรรทุกเที่ยวละ 7,000 บาท คิดรวมเฉพาะค่าขนส่งอย่างเดียว 70 ล้าน บาท ถ้ารวม ค่าเครน ยกตู้จากเรือ ขึ้น รถ และจากรถ ลงเรือ ค่าเช่าเรือ และค่าที่จอดเรือในแต่ละวันที่เสียเวลาระหว่างขนตู้คอนเทเนอ ตลอดจนค่าบริการต่างๆ หากรวมแล้ว ค่าใช้จ่ายจะมีมากกว่า 100 ล้าน บาท จะเห็นได้ว่าการขนส่งด้วย โครงการแลนด์บริดจ์ หรือสะพานเศรษฐกิจ (Land Bridge) กลับเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาก และเสี่ยงกับความเสียหายของสินค้าในการ ขนขึ้น- ขนลง ทำให้เสียเวลาเพิ่มมากขึ้นอีกต่างหาก จากการวิเคราะห์แบบธรรมดาๆ เจ้าของบริษัทเดิน เรือขนส่งสินค้า ที่มาใช้บริการ สามารถให้คำตอบได้เลยว่าไม่เอา ด้วยแน่

โครงการแลนด์บริดจ์ เพื่อการค้าน้ำมัน ทางท่อ ยิ่งเป็นเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าในทาง ปฏิบัติจริง มีเรือกลุ่มใดบ้าง ประเภทใดบ้าง ที่จะมาใช้บริการ เพราะเรือแต่ละขนาดจะมีค่าใช้จ่ายในแต่ละวันที่สูงแตกต่างกัน เช่น เรือขนสินค้า ขนาดขนตู้คอนเทเนอ 5, 000 TEU (ค่าเช่าเรือ เป็นเงิน ไม่ต่ำกว่า 3 ล้าน บาทต่อวัน) วิ่งมาเพื่อเติมน้ำมันราคาถูกแล้ววิ่ง ไปขนถ่ายสินค้าลงอีกแหล่งหนึ่ง บริษัทเจ้าของเรือคงจะไม่นำเรือวิ่งมาเพื่อเติมน้ำมันแน่ๆ เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆของเรือนั้น จะต้องเสียทั้งค่าเช่าเรือในแต่ละวันและ จะต้องเสียค่าน้ำมันในการเดินทางมาเติมน้ำมัน หากคำนวณผลต่างของค่าใช้จ่ายแล้วไม่คุ้มกับการเดินทางมาเติมน้ำมันราคาถูก

สำหรับโครงการสร้างโรงกลั่นน้ำมันฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อกลั่นน้ำมันแล้วส่งผ่านทางระบบท่อส่งน้ำมันไปยังฝั่งอ่าวไทยเพื่อไว้จำหน่ายเรือเดินทะเลต่างๆที่มาใช้บริการ ซึ่งในทางทฤษฎีโรงกลั่นที่อยู่ฝั่งอันดามันสามารถกลั่นน้ำมันได้ในราคาถูกก็จริง เพราะเรือน้ำมันขนาดใหญ่สามารถย่นระยะทางเดินเรือที่นำน้ำมันมายังโรงกลั่นน้ำมันฝั่งอันดามัน(ไม่ต้องอ้อมไปทางช่องแคบมะละกา) ทำให้มีต้นทุนต่ำ ส่วนหนึ่ง แต่โรงกลั่นน้ำมันทางฝั่งทะเลอันดามันก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการที่จะนำน้ำมันที่กลั่นแล้วผ่านระบบทางท่อไปยังฝั่งอ่าวไทย พร้อมทั้งต้องมีที่พักคลังน้ำมันขนาดใหญ่คอยเก็บสำรองน้ำมันไว้จำหน่าย ตลอดจนจะต้องมีท่าเทียบเรือน้ำลึกเพื่อให้เรือเข้ามาใช้บริการ

ดังนั้นถ้าประเทศไทยคิดจะขายน้ำมันแข่งกับประเทศสิงคโปร์ โดยการสร้างถนนเศรษฐกิจ (Land Bridge) โดยมีโครงการตั้งโรงกลั่นน้ำมันเพื่อจำหน่าย แข่งกับประเทศสิงคโปร์ ผมไม่ทราบว่าเป็นกลลวงของมิตรผู้หวังดี หรือเปล่า ?

ปัจจุบันประเทศสิงคโปร์ มีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของโลก แต่ละวัน ขายน้ำมัน ได้วันละ 56,000 ตัน ต่อ วัน (ประเทศสิงคโปร์สามารถขายน้ำมัน 1 เดือนเท่ากับประเทศไทยขายน้ำมัน 1 ปี) น้ำมันที่ขายได้ ลูกค้าที่มาใช้บริการ ก็ไม่ได้มาจากที่ไหน ก็คือเรือสินค้าต่างๆ กว่า 600 ลำในแต่ละวัน ที่มาจอดลงสินค้า ที่ท่าเรือของประเทศสิงคโปร์นั่นเอง ขณะที่เรือกำลังขนถ่ายสินค้าอยู่ โรงกลั่นน้ำมันของสิงคโปร์ ก็จะส่งน้ำมันที่กลั่นแล้ว เข้าสู่ระบบท่อน้ำมัน ส่งไปตามท่าเรือต่างๆ เพื่อเติมน้ำมันให้กับเรือที่กำลังจอดอยู่ เพราะขณะที่กำลังเติมน้ำมันก็สามารถ จะทำการขนถ่ายสินค้าขึ้นลงไปพร้อมๆกันได้ เรียกว่าเป็นการบริการครบวงจร(one stop service) ทำให้เรือที่มาใช้บริการประหยัดค่าใช้จ่าย และ เวลามากขึ้น

ประเทศสิงคโปร์ เป็นศูนย์กลั่นน้ำมันของเอเชีย ใช้น้ำมันดิบในการกลั่นแต่ละวัน 1,300,000 บาเลน ต่อวัน มีโรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 3 โรง ของบริษัท ExxonMobil’s ใช้น้ำมันดิบในการกลั่นวันละ 580,000 บาเลน ต่อวัน ของบริษัท Royal Dutch/Shell’s ตั้งอยู่ที่เกาะ Pulau Bukom island ใช้น้ำมันดิบในการกลั่นวันละ 430,000 บาเลน ต่อ วัน และของบริษัท Singapore Refining Corporation’s (SRC) ใช้น้ำมันดิบในการกลั่นวันละ 285,000 บาเลน ต่อ วัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความเจริญก้าวหน้าของประเทศสิงคโปร์ มีข้อจำกัดในเรื่องของทรัพยากรณ์ธรรมชาติ และขนาดของตลาดซื้อขายภายในประเทศมีขนาดเล็กมาก รัฐบาลของประเทศสิงคโปร์ตระหนักดีว่าประเทศตนต้องอาศัยการค้าขายเป็นหลัก จึงต้องพยามทำทุกอย่าง ที่จะให้คนสิงคโปร์เป็นผู้ดำเนินธุระกิจ ทั้งบริษัทในประเทศสิงคโปร์เอง และต่างประเทศอย่างเต็มที่ และรัฐบาลประเทศสิงคโปร์เอง ก็พยามทำทุกอย่างที่จะเอื้ออำนวย สร้างเงื่อนใขที่จะให้ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศสิงคโปร์ ช่วงปี 2546 การมาเยือนช่วงสั้นของประธานาธิบดีสหรัฐ President Bush นายกรัฐมนตรี Goh Chok Tong ได้นำหน้าประเทศต่างๆ ทั้ง ประเทศจีน ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศ ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้ทำการตกลง และทำหนังสือความร่วมมือ ทางการค้า (Free Trade Agreement and a Memorandum of Intent of Cooperation in Environmental Matters.) กับประธานาธิบดีสหรัฐ และรัฐบาลประเทศสิงคโปร์ ยังประกาศถึงความร่วมมือกับประธานาธิบดีสหรัฐ ด้านการต่อต้านกลุ่มผู้ก่อการร้ายทั่วโลก และยับยั้งการกระจายอาวุธต่างๆในย่านนี้ด้วย ประเทศสิงคโปร์ เป็นลูกค้าสำคัญของประเทศสหรัฐ รายใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันประเทศสหรัฐ ลงทุนใน ประเทศสิงคโปร์ประมาณ 2,500,000 ล้านบาท ( $61.4 billion) , และประเทศสิงคโปร์ส่งสินค้าไปยังประเทศสหรัฐมูลค่ากว่า 70,000 ล้าน บาท ต่อปี ($16.6 billion) มีบริษัทของประเทศสหรัฐตั้งศูนย์สำนักงานขนาดใหญ่กว่า 1,300 บริษัทในประเทศสิงคโปร์ (ข้อมูลจาก CIA World Fact book; Dow Jones News Wire; Economic Survey of Singapore 2003; Economist Intelligence Unit; Global Insight Asia Economic Outlook; Government of Australia Singapore Statistical Fact Sheet; International )

ข้อมูลทั้งหมดก็คงพอจะทำให้มองเห็นว่าทำไมประเทศไทยเราต้องใช้ราคาน้ำมันที่ประเทศสิงคโปร์(ผู้ค้ารายใหญ่) เป็นตัวกำหนดราคา ทำให้มองเห็นถึงโครงการ คลองไทย(คอคอดกระ) ว่าประเทศสิงคโปร์และประเทศสหรัฐ จะคิดเห็น กับคลองไทยอย่างไร ประเทศไทยคงจะต้องใช้ความพยายามอย่างมากๆ ที่จะทำให้โครงการนี้ทำได้สำเร็จ ดังนั้นในเรื่องนี้ รัฐบาลจะต้องพิจารณาให้รอบครอบ ว่าในการทำโครงการแลนด์บริดจ์เพื่อสร้างโรงกลั่นเพื่อขายน้ำมันนั้น ในทางปฏิบัติจริงสามารถที่จะสู้ประเทศสิงคโปร์ได้หรือไม่?

ในปัจจุบันเท่าที่ทราบ โรงกลั่นน้ำมันของ ปตท. ในทุกวันนี้ มีน้ำมันที่กลั่นแล้วบางส่วนมีปริมาณเกินความต้องการการใช้ภายในประเทศโดยบางส่วน ต้องส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ

( ประเทศไทย ใช้น้ำมันเบนซิน ประมาณ วันละ 20 ล้านลิตร ส่วนน้ำมันดีเซล ลิตรประมาณ วันละ 50 ล้าน ลิตร )

หากโครงการแลนด์บริดจ์ คุ้มในทางเศรษฐกิจจริงๆในการขนส่งทางบก แทนการสร้างคลองเพื่อการขนส่งทางน้ำ คลองหลักต่างๆของโลก คงไม่ได้เกิด เช่นคลองปานามา หรือ คลองสุเอช และ อีกหลายๆ คลองหลักของโลก

การทำโครงการ ถนน (Land Bridge) หรือโครงการ สร้างคลอง เชื่อมสองฝั่งทะเล ต่างก็เกิดประ โยชน์ทั้งสิ้นแต่ ถ้าเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ระหว่างการสร้าง คลอง กับ Land Bridge แล้ว สาระ ประ โยชน์ จะแตก ต่างกันอย่างมาก

โดยสรุปแล้ว ถ้าเราจะสร้าง Land Bridge รองรับโรงกลั่นเพื่อขายน้ำมันแข่ง กับประเทศสิงคโปร์ ผู้เขียนไม่เข้า ใจว่าจะมีเรือจากที่ไหนมาใช้บริการบ้าง แต่ถ้าสร้างคลอง และ สร้างโรงกลั่นน้ำมัน แล้วละก็ สิงคโปร์จะต้องหนาวแน่ ๆ

แต่อย่างไรก็ตาม โครงการ Land Bridge สาย กระบี่- ขนอม ที่ ครม.มีมติ อนุมัติเมื่อ วันที่ 22 มิถุนายน 2536 (10 ปีที่แล้ว) ผมเห็นว่าสมควรเร่งดำเนินโครงการให้สำเร็จสมบูรณ์ เพราะจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ในส่วนหนึ่งและ ที่สำคัญอย่างยิ่ง ถึงจะมีโครงการขุดคลองไทยเกิดขึ้นจริง ก็จำเป็นต้องมี ถนนเชื่อมระหว่าง สองฝั่งทะเล ระหว่างฝั่งทะเลอันดามัน และ ฝั่งทะเลอ่าวไทยอยู่ดี ซึ่งอาจจะต้องมีถนนเชื่อมสองฝั่งทะเล ถึง 2-3 เส้นทาง

---------------------------------- http://www.thai-canal.org

http://www.thaipetroweb.com/index.php?o ... 0&Itemid=2
วิญญาณปู่จะร้องไอ้ลูกหลานจัญไร­!!
User avatar
รักน้องพิณ
 
Posts: 2710
Joined: Wed Feb 18, 2009 12:42 pm

Re: คอคอดกระ

Postby คนเล็กของเล่นใหญ่ » Thu Apr 29, 2010 10:00 am

ขอบพระคุณท่านยูชิโร่มากนะครับที่หาคำตอบมาให้ พอดีเพิ่งแวะเข้ามาดูที่กระทู้นี้อีกที

ผมเคยเขียนไว้ในกระทู้เก่า ที่ตอนนี้หาไม่เจอแล้ว ว่า ประเทศไทยนั้นศักยภาพนอกจากขุดคลองกระแล้ว เราสามารถทำแลนบริจน์ที่เริ่มต้นจากทวาย เข้ากาญจนบุรี ผ่าน กทม เข้าเขมร และออกเวียดนามที่เว้ หรือดานัง ก็ยังได้ โดยแลนบริจนี้ เราจะร่วมลงทุนกับพม่าทำท่าเรือขนาดใหญ่ที่ทวาย และที่เวียดนาม เส้นทางแลนบริจ จะเป็นมอเตอร์เวย 12 เลน คู่ขนานไปกับทางรถไฟความเร็วสูง อีกด้านของถนนจะเป็นท่อส่งน้ำมันขนาดใหญ่ วิ่งจากทวายข้ามเทือกเขาตะนาวศรีเข้ากาญจนบุรี มาทะลุออกนครปฐม หรือสุพรรณบุรี เข้าปทุมธานีตัดผ่านถนนวงแหวนของเรา ออกไปฉะเชิงเทรา เข้าปราจีนบุรี เข้าเขมร แล้วเลือกว่าจะวกขึ้นไปที่ลาวด้วยหรือไม่ เพื่อจะได้เป็นผลประโยชน์ร่วมกันของทุกประเทศบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ แล้วไปออกท่าเรือขนาดใหญ่ที่เวียดนาม

นอกจากนั้นตัวแลนบริจ จะมีเส้นทางหลักอีกเส้นทางที่จะครอสมาจากทางด้านเหนือ กล่าวคือ จะวิ่งลงมาจากจีนตอนใต้ ผ่านลาว และมีจุดจังก์ชั่นใหญ่ที่พิษณุโลกซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าจากจีนตอนใต้ ลาว และพม่าตอนเหนือ ก่อนจะเข้าเส้นทางหลัก แล้วตรงเข้ามาสมทบกับแลนบริจจากทวายที่บริเวณจังหวัดปทุมธานี

โดยใช้คอนเซปท์เดียวกัน คือมีเส้นมอเตอร์เวย์ 12 เลน ขนาบข้างด้วยทางรถไฟความเร็วสูง และ การขนส่งทางท่อ ขนส่งสินค้าจากจีนลงมา ซึ่งจะทำให้สินค้าจากจีนตอนใต้สามารถส่งไปที่ท่าเรือที่ทวายได้เลย ซึ่งจะประหยัดเวลาการขนส่งได้มาก เพราะไม่ต้องไปอ้อมทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ แวะเข้าสิงคโปร์ ผ่านช่องแคบมะละกา เสียเวลากันหลายวัน

ด้วยแนวคิดอันนี้ เรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องวิ่งผ่านช่องแคบมะละกา เพียงแต่มาถ่ายสินค้าที่ทวาย ทั้งสินค้าและน้ำมัน แล้วมาถ่ายลงที่ท่าเรือใหญ่ที่เวียดนาม ด้วยความรวดเร็วจากการคมนาคมทั้งทางท่อ ทางมอเตอร์เวย์ และทางรถไฟ จะทำให้ประหยัดเวลาเดินทางการขนส่งสินค้าจากทางเรือได้มาก (ประมาณ3-5วัน) เมื่อเส้นทางการเดินเรือสั้นลง (คือจากยุโรป และตะวันออกกลาง สิ้นสุดเส้นทางแค่ที่พม่า และจากเอเชียตะวันออก มาสิ้นสุดเส้นทางแค่ที่เวียดนาม) ก็จะสามารถทำรอบการขนส่งได้มากขึ้น

ส่วนงบประมาณที่ใช้ ผมว่าก็คงสูสีกับที่เราไปขุดคลองกระใหม่ และไม่ต้องมานั่งปวดหัวเรื่องความมั่นคงอะไรนั่นอีกด้วย

และผลประโยชน์นั้น คนไทยเราก็ได้ประโยชน์ไปเต็มๆ ใช้กันได้เกือบจะทุกภาค
User avatar
คนเล็กของเล่นใหญ่
 
Posts: 2134
Joined: Mon Oct 13, 2008 11:52 am

Re: คอคอดกระ

Postby plunk » Thu Apr 29, 2010 10:03 am

ขอขอบคุณ ทุกๆๆคนที่เข้ามาให้ความรู้ครับ ว่าแต่ว่า บทความและความรู้เหล่านี้ จะมีโอกาสที่ผู้ใหญ่ ในบ้านเมืองจะได้อ่านบ้างไหมครับ :?:
User avatar
plunk
 
Posts: 1031
Joined: Thu Apr 16, 2009 3:41 pm

Re: คอคอดกระ

Postby nontee » Thu Apr 29, 2010 10:28 am

สมันที่ยังมีแต่ถนนบางนา-ตราด แล้วเริ่มสร้างบูรพาวิถี ก็มีคนค่อนแคะกันว่าจะมีใครไปใช้บริการของบูรพาวิถี แต่พอสร้างเสร็จก็เห็นคนขึ้นไปใช้กันเนืองแน่นมองไม่เห็นทางเจ๊งเลย พอมีบูรพาวิถี แล้วจะตัดมอเตอร์เวย์เพิ่ม ก็มีคนค่อนแคะกันอีกว่าจะมีใครมาใช้บริการ แต่พอสร้างเสร็จก็เห็นคนเข้าไปใช้บริการมอเตอร์เวย์กันเนืองแน่นเช่นกัน ผมว่าเรื่องแลนด์บริดจ์นีก็คงเข้าหรอบเดียวกัน
User avatar
nontee
 
Posts: 6598
Joined: Tue Jan 26, 2010 2:34 pm
Location: หว้ากอ

Re: คอคอดกระ

Postby Yasuhiro » Thu Apr 29, 2010 3:43 pm

เรื่องเกี่ยวกับผลดีผลเสีย หรือแผนพัฒนาประเทศไม่ว่าจะเป็นการขุดคลองไทย หรือแลนด์บริจด์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มีเอกสารและข้อมูลอยู่ในมือครับ เพียงแต่โครงการพวกนี้จะเริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ เร็วหรือช้าบางทีมันไปติดที่ผู้บริหารระดับอธิบดีหรือไปติดตรงที่รัฐมนตรีของกระทรวงนั้นๆครับ อย่างโครงการแลนด์บริจด์เอง โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบารา เมื่อวานมีข่าวรายงานออกมาว่าทางสำนักงานนโยบายและแผนก อย่างน้อยก็ค่อยๆเป็นรูปเป็นร่าง เสียแต่พวกหางแดงเป็นตัวถ่วงประเทศจริงๆ

สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ถ้าดำเนินการแล้วเสร็จ ที่แน่ๆคือจีนจะเข้ามาใช้บริการแน่ๆ เพราะนโยบายด้านความมั่นคงทางพลังงานของจีนตอนนี้กำลังหาทางลดความเสี่ยงจากการที่จีนพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากการขนส่งโดยทะเลเป็นหลัก โดยที่ตอนนี้จีนเองพยายามลดความเสี่ยงโดยการโดยการพยายามเข้าไปลงทุนสร้างและวางระบบท่อขนส่งน้ำมันโดยมีจุดเริ่มต้นสำคัญๆ อยู่สามที่ครับ ท่าเรือ Gwardar ในปากีสถาน ท่าเรือของบังคลาเทศ และท่าเรือที่เมือง Sittwe ของพม่า ทั้งนี้ทั้งนั้น สองโครงการแรกนี่มีความเสี่ยงกับต้นทุนที่สูง สำหรับโครงการท่อขนส่งน้ำมันพม่า-จีน ในแง่ของการลงทุนถือว่าคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ แต่ไม่คุ้มค่าทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ เพราะจีนเองก็ไม่ได้อยากได้ชื่อว่าสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการพม่าซักเท่าไหร่ ก็มีไทยนี่แหล่ะครับที่มีความสัมพันธ์อันดีกับจีนตั้งแต่เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตมาโดยตลอด และในรัฐบาลสุรยุทธ์ก็มีการลงนามระหว่างรัฐบาลไทยกับจีนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ซึ่งไม่ใช่ว่าประเทศไหนก็ลงนามกับจีนเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ต้องเป็นประเทศที่สำคัญมากจริงๆถึงจะได้ ล่าสุดปลายปีที่แล้วก็มีการคุยกันในเรื่องความมั่นคงทางทะเล ซึ่งความเห็นส่วนตัวของผมเอง ถึงแม้คอคอดกระเราคงไม่ได้ขุดกันแล้ว แต่โครงการแลนด์บริดจ์กับพัฒนาท่าเรือน้ำลึกปากบาราจะทำให้เราได้รับผลประโยชน์เต็มๆอย่างแน่นอน เหมือนอย่างที่คุณ nontee ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วครับ
"The future is plural" Peter Schwatz
เพิ่มเติม: ผมไม่มีนโยบายที่จะต่อความยาวสาวความยืดกับพวกเกรียนทางความคิด เพราะมันเสียทั้งเวลาและอารมณ์ ไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะไปนั่งอธิบายให้คนที่ปิดกั้นทางความคิดพวกนี้ฟังหรืออ่าน
User avatar
Yasuhiro
 
Posts: 1109
Joined: Mon Feb 01, 2010 3:00 pm

Re: คอคอดกระ

Postby TIK Tik tik » Thu Apr 29, 2010 4:02 pm

โครงการ southern seaboard ยังไม่จัดเป็นแลนด์บริดจ์ ใช่มั๊ยคะ แล้วในส่วนนี้ถ้ามีการปรับปรุงจะสร้างเป็นแลนด์บริดจ์ได้รึป่าวคะ
User avatar
TIK Tik tik
 
Posts: 179
Joined: Tue Aug 25, 2009 12:27 am

Re: คอคอดกระ

Postby Afrikaan » Thu Apr 29, 2010 4:29 pm

สร้างสะพานเรือก็ได้คือไม่ต้องขุดมาก คลองปานามาก็ทำแบบนี้เพราะน้ำทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและด้านแอตแลนติกไม่เท่ากัน
Friendly Hospitality is still changing into detestation immediately.
หัวเฉียว เมืองซัวเถา
Afrikaan
 
Posts: 30
Joined: Tue Apr 27, 2010 6:46 pm

Re: คอคอดกระ

Postby คนเล็กของเล่นใหญ่ » Thu Apr 29, 2010 4:58 pm

plunk wrote:ขอขอบคุณ ทุกๆๆคนที่เข้ามาให้ความรู้ครับ ว่าแต่ว่า บทความและความรู้เหล่านี้ จะมีโอกาสที่ผู้ใหญ่ ในบ้านเมืองจะได้อ่านบ้างไหมครับ :?:


จริงๆโครงการพวกนี้ทั้งหมดเลย อยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศหมดแล้วครับ เพียงแต่ว่าจะหยิบอันไหนขึ้นมาใช้เท่านั้นเอง

พูดง่ายๆคือเขาคิดกันมาตั้งนานแล้ว แต่ว่าไม่มีตังค์จะทำ หรือมีอุปสรรคอะไรต่างๆ
User avatar
คนเล็กของเล่นใหญ่
 
Posts: 2134
Joined: Mon Oct 13, 2008 11:52 am

Re: คอคอดกระ

Postby Vihok_Asnii » Thu Apr 29, 2010 8:05 pm

nontee wrote:สมันที่ยังมีแต่ถนนบางนา-ตราด แล้วเริ่มสร้างบูรพาวิถี ก็มีคนค่อนแคะกันว่าจะมีใครไปใช้บริการของบูรพาวิถี แต่พอสร้างเสร็จก็เห็นคนขึ้นไปใช้กันเนืองแน่นมองไม่เห็นทางเจ๊งเลย พอมีบูรพาวิถี แล้วจะตัดมอเตอร์เวย์เพิ่ม ก็มีคนค่อนแคะกันอีกว่าจะมีใครมาใช้บริการ แต่พอสร้างเสร็จก็เห็นคนเข้าไปใช้บริการมอเตอร์เวย์กันเนืองแน่นเช่นกัน ผมว่าเรื่องแลนด์บริดจ์นีก็คงเข้าหรอบเดียวกัน


ก็น่าคิดนะครับ

อีกตัวอย่างก็พอมีแผนแม่บทขยายรถไฟฟ้าออกมา ...โครงการคอนโดต่างๆ ก็เริ่มผุดขึ้นมาตามเส้นทางที่จะต่อขยายรถไฟฟ้าซะก่อนแล้ว
ชาติหนอนย่อมเสพส้อง .... อาจม
อิ่มหนำก็ชื่นชม .... แซ่ซร้อง
มินำพาครรลอง .... ถูกผิด
อ้างความสุขที่ต้อง .... หมักหมมอมมูล


REMEMBER, O BEAST! THAT STARTED THY BLOODY HISTORY ON 14th OF JULY,
REMEMBER, HE WHO INVENTED GUILLOTINES WAS HIMSELF BEHEADED BY A GUILLOTINE!
User avatar
Vihok_Asnii
 
Posts: 2133
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:54 am

Re: คอคอดกระ

Postby rokjitjung » Thu Apr 29, 2010 9:56 pm

เห็นคุยกันเรื่องนี้ เลยขอแวะเอาข่าวมาฝากครับ
Landbridge.jpg
(75.34 KiB) Downloaded 189 times

สนข. เดินหน้าเร่งเครื่องโครงการแลนด์บริดจ์ เผยเตรียมเสนอครม.สร้างท่าเทียบเรือปากบารา 9.7 พันล้าน หลังเคาะแนวรถไฟ 142 กิโลเมตรขนส่งสินค้าเชื่อมโยง อ่าวไทย-อันดามัน ตั้งเป้าไทยเป็นศูนย์ส่งน้ำมันขายทั่วเอเชียและเป็นจุดกำหนดราคาน้ำมันอ้าง อิงเหมือนสิงคโปร์ ขณะที่ทุนต่างชาติจีนและเนเธอร์แลนด์ทาบบริหาร ส่วนมิตซุย หนุนเต็มที่เพื่อหวังใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า
ดร.มาลี เอื้อภราดร หัวหน้ากลุ่มโลจิสติกส์การขนส่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าของโครงการศึกษาความเหมาะสมแนวทางพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเล อันดามันและสะพานเศรษฐกิจ เชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย หรือแลนด์บริดจ์ว่า ขณะนี้ผลการศึกษาได้สรุปแนวทางในการพัฒนาออกมาเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกันคือ
ขั้นตอนแรก คือ การเดินหน้าก่อสร้างท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล ซึ่งเรื่องนี้ผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยจะนำเรื่องให้กระทรวงคมนาคมพิจาณาก่อนนำเข้าที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) ซึ่งกรมเจ้าท่าเป็นเจ้าของโครงการใช้งบประมาณ 9,741 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 6 ปีเริ่มปี 2554-2559
ขั้นตอนที่สอง คือ เร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้า ระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและอันดามันให้แล้วเสร็จก่อนที่จะนำเสนอพิจารณาผล กระทบสิ่งแวดล้อม
และขั้นตอนสุดท้ายคือการก่อสร้างท่าเรือสงขลา 2 ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมเพื่อออกแบบรายละเอียด และผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยจะสร้างที่บริเวณบ้านนาทับ จังหวัดสงขลา

สำหรับแนวรถไฟที่ได้ข้อสรุปแล้วคือ เส้นทางจากท่าเรือปากบารา (สตูล) - รัตภูมิ - หาดใหญ่ - จะนะ (ท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2) แนว 2A ระยะทาง 142 กิโลเมตรเป็นแนวที่มีความเหมาะสมมากที่สุด สอดคล้องกับแนวเส้นทางแลนด์บริดจ์ ซึ่งกลุ่มที่ปรึกษา Dubai World ได้เคยทำการศึกษาภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าแก่ กระทรวงคมนาคมในปี 2551-2552

ดร.มาลี ยังกล่าวอีกว่า ล่าสุด สนข.ได้รับการทาบทามจากสายการเดินเรือจากจีนและเนเธอร์แลนด์สนใจที่จะเข้า ดำเนินการบริหารท่าเรือในระดับ เวิลด์ คลาส อีกทั้ง กลุ่มบริษัทมิตซุยฯผู้ผลิตเหล็กป้อนรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นและกลุ่ม บริษัทเอกชนจากอินเดียที่ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ยังพร้อม สนับสนุนการพัฒนาโครงการของไทยเพื่อที่จะใช้แนวเส้นทางนี้ขนถ่ายวัตถุดิบ ป้อนตลาดให้ลูกค้าได้รวดเร็ว อีกด้วย

ทั้งนี้โครงการแลนด์บริดจ์ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจะเกิดผลต่อการ เสริมสร้างศักยภาพ และการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยมีข้อได้เปรียบเชิงกายภาพและมีปัจจัยแวดล้อมที่จะทำให้ การพัฒนาในทางปฏิบัติมากกว่าประเทศมาเลเซีย ช่วยกระตุ้นให้การพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งภาครัฐและเอกชน กล่าวคือเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันส่งออก และยังเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ในขณะที่ภาคธุรกิจยังมีโอกาสร่วมลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น ธุรกิจน้ำมัน ท่าเรือ โลจิสติกส์ และกิจการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ช่วย ลดต้นทุนด้านพลังงาน และการส่งออกและนำเข้าได้สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ยังจะทำให้ไทยสามารถกระจายน้ำมันดิบไปกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกได้ โดยเฉพาะการส่งออกน้ำมันจากไทยไปยังญี่ปุ่น เกาหลี และจีน และมีความเป็นไปได้สูงว่าในอนาคตอันใกล้จังหวัดสงขลาจะมีศักยภาพเป็นจุด กำหนดราคาน้ำมันอ้างอิงที่สำคัญในเอเชียเช่นเดียวกับสิงคโปร์

ดร.มาลี กล่าวเพิ่มเติมว่า การก่อสร้างท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลา แห่งที่ 2 ยังเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาธุรกิจการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่จะสนับสนุนโครงการแลนด์บริดจ์ คาดว่าจะมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์เข้ามาใช้ท่าเรือที่ จังหวัดสตูล และ สงขลา ในปริมาณเพิ่มมากขึ้นจากกลยุทธ์การดึงดูดให้สายการเดินเรือหลักนำเรือมาเข้า เทียบท่าเรือทั้ง 2 แห่งของไทย ซึ่งพบว่าในปี 2558 จะมีปริมาณตู้คอนเทนเนอร์เท่ากับ 468,500 ทีอียู ที่จะมีปริมาณเพิ่มเป็น 1,540,500 ทีอียูในปี 2578

ทั้งนี้สำหรับแนวคิดการให้เอกชนร่วมทุนแบบ PPPs เพื่อพัฒนาท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์จะเป็นการดำเนินการในรูปแบบการให้ สัมปทาน โดยภาครัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของท่าเทียบเรือ การพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องการขนส่งที่จะตามมาและกระจายสินค้า รวมถึงการส่งเสริมที่ชัดเจนเพื่อให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่นเดียวกับการที่รัฐจะออกกฎหมายเพื่อให้พื้นที่ในบริเวณแม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของประเทศไทย
"โครงการก่อสร้างท่าเรือปากบาราจะเริ่มได้ก่อนโดยจะเป็นการเปิดโอกาสให้ เอกชนร่วมทุนแบบ PPPs สำหรับการพัฒนาท่าเทียบเรือตู้คอนเทนเนอร์และการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อ โดยภาครัฐต้องลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของท่าเทียบ เรือ การพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณท่าเทียบเรือทั้ง 2 ฝั่ง และก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่เป็นหน้าที่ของภาครัฐในการลงทุน ส่วนภาคเอกชนลงทุนด้านการเดินรถ จัดหารถและบริหารจัดการจะคล่องตัวกว่า

สำหรับรายละเอียดการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการ ขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันซึ่ง สนข. ได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษาดำเนินการในวงเงิน 91 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดในเดือนกันยายน 2553โดย สนข. เตรียมสรุปความเห็นและข้อเสนอแนะจากที่ประชุมสัมมนาในวันที่ 28 เมษายนนี้ไปประกอบการจัดทำรายงานการศึกษาฉบับสุดท้ายต่อไป"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,526
29 เมษายน - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=29091:2010-04-27-02-55-31&catid=128:-real-estate-&Itemid=478

หวังว่าจากข้อมูลตามข่าวนี้ คงช่วยให้เพื่อนๆ ในบอร์ดนี้เห็นความชัดเจนมากขึ้นนะครับ
User avatar
rokjitjung
 
Posts: 89
Joined: Mon May 11, 2009 1:47 pm

Re: คอคอดกระ

Postby rokjitjung » Thu Apr 29, 2010 11:27 pm

ขอต่ออีกหน่้อย

เบื้องหลังของข่าวนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น ดังนี้ ครับ

1. การดำเนินงานโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล เพื่อเชื่อมต่อกับท่าเรือสงขลา 2 จ.สงขลา เป็นความพยายามที่น่าชมเชย และยกย่องของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่สำคัญคือ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่ร่วมดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ครับ และนอกจากนี้ ไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไร หากงานนี้เกิดความสำเร็จขึ้นได้จริงๆ ประเทศไทยต้องขอบคุณ ความโลภและจานไรของไอ้เควี่ยแม้วครับ เพราะมันหลอกดูไบเวิร์ลมาลงทุนศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ในการสร้างแลนด์บริดจ์ข้ามระหว่างฝั่งอันดามันมายังฝั่งอ่าวไทย โดยท่านรู้มั๊ยครับ งานนี้ดูไบเวิร์ลลงทุนศึกษาไปหลายร้อยล้านบาทและศึกษาอย่างละเอียดยิบ เพื่อประโยชน์ในการลงทุนของเขา โดยเริ่มทำ Pre-Research ตั้งแต่ปี 2549 โดยแอบมีสัญญาใจกับไอ้เควี่ยแม้วว่า หากมีความสามารถในการลงทุนจริงจะให้สิทธิดูไบเวิร์ลมาลงทุนก่อนคนอื่น และจะให้สิทธิพิเศษหลายอย่าง แต่ยังไม่ได้เริมจริงจังไอ้เควี่ยแม้วก็มีอันหลุดเก้าอี้ไปก่อน
จนเมื่อวิเคราะห์แล้วมีความคุ้มค่าในการลงทุน เขาก็ได้เข้ามาติดต่อ สนข. เพื่อทำการศึกษาอย่างละเอียดในทางเศรษฐศาสตร์ และทางเทคนิค ตั้งแต่ปลายปี 50 แต่เนื่องจากความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงปลายสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ เขาก็ไม่ตัดสินใจในทางนโยบายอะไร
เรื่องเลยมาถึงช่วงรัฐบาลสมัครตอนนั้น ได้หยิบยกเรื่องนี้ เข้าครม. แต่ถูกท้วงทั้งเรื่องกฎหมาย และความมั่นคง จึงได้เลื่อนการพิจารณาและให้สภาพัฒน์ กับสนข.ไปหารือ รูปแบบความร่วมมือ เพื่อเลี่ยงข้อกฎหมายหลายๆ อย่าง สุดท้ายรูปแบบข้อตกลงที่ได้ข้อสรุปคือ ข้อตกลงความร่วมมือแบบให้เปล่าไม่มีเงื่อนไข
ซึ่งหมายถึง ดูไบเวิร์ลเข้ามาศึกษาได้โดยต้องรายงานข้อมูลให้หน่วยงานรัฐของไทย(สนข.และสภาพัฒน์)โดยจะได้รับการอำนวยความสะดวกด้านการติดต่อเจ้าหน้าที่และข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น โดยไม่มีข้อผูกมัดว่ารัฐบาลไทยจะทำโครงการนี้หรือไม่ และดูไบจะไม่ได้สิทธิพิเศษใดๆ แต่ทั้งนี้ เขามีสิทธิเลือกศึกษาสิ่งที่เขาสนใจโดยเราจะไม่ก้าวก่ายในเรื่องขอบเขตประเด็น และการวิเคราะห์ข้อมูล แล้วคุณรู้มั๊ยว่าดูไบเวิร์ลเลือกศึกษาอะไร? เขาเลือกศึกษาความเป็นไปได้ในการขนส่งน้ำมันทางท่อข้ามอันดามันกับอ่าวไทย
จากการศึกษาของดูไบเวิร์ลทำให้ไทย ได้ข้อมูลการวิเคราะห์ระดับโลก โดยไม่ได้เสียซักบาท ซึ่งนอกจากต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่สนข. และสภาพัฒน์ในเรื่องการทำข้อตกลงนี้แล้ว ท่านรู้มั๊ยครับ มีอีกคนที่ควรได้รับเครดิตในการตกลงขนาดใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งใน แก๊งค์ออฟโฟ ใช่ครับ พี่เน ฟีโน่ นายเนวิน ณ บุรีรัมย์ นั่นแหละคับ เป็นคนผลักดันโครงการอยู่เบื้องหลัง
แต่ก็ด้วยการทำงานสไตล์เขาแหละครับ ทุกย่างก้าว เต็มไปด้วยผลประโยชน์มหาศาล ทั้งการส่งคนกว้านซื้อที่ดินใกล้รอบโครงการ การผลักดันงบประมาณโดยเฉพาะงบตัดถนน ซ่อมถนน และพัฒนาระบบขนส่งทางราง ทางอากาศ ทางน้ำ โดยสรุปกินงบคมนาคมทุกรูปแบบ ดูได้เลยครับ รมต.กระทรวงคมนาคม มาจากพรรคไหน ตลอดเวลา ตั้งแต่รับบาลสมัคร ไม่นับรัฐบาลสมชายที่โดนปล้นเก้าอี้กลางอากาศด้วยข้อหาแก๊งค์ออฟโฟร์ และในรัฐบาลอภิสิทธิ์นี้ ตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมเป็นตำแหน่งที่อยู่ในมือพี่เน ฟีโน่ ตลอด และท่านลองดูปริมาณงบประมาณ 2553 และงบประมาณที่จะออกมาของปี 2554 แล้วลองดูปริมาณเงินของกระทรวงคมนาคมสิครับ มหาศาลขนาดไหน ยังไม่นับการเติบโตแบบก้าวกระโดดของปลัดกระทรวงคมนาคม ที่ขยับจากอธิบดีกรมทางหลวงชนบท มาเป็นอธิบดีกรมทางหลวง และสุดท้ายมานั่งปลัดกระทรวงในระยะเวลาเพียง 3 ปี
และผมจะไม่แปลกใจเลย ถ้าการตกลงกุมอำนาจสิทธิขาดในการดูแลระบบคมนาคมทั้งระบบของนี่คือ ข้อตกลงสำคัญที่สุดในการดึงพี่เน ฟีโน่ ออกจากอ้อมอกของพรรคเพื่อไทย โดยสาระของข้อตกลงน่าจะเป็น เงื่อนไขที่ว่า ปชป. เอากล่อง ในฐานที่เป็นผู้นำรัฐบาล และผลักดันเมกะโปรเจคด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยยเฉพาะการคมนาคม ในขณะที่ภูมิใจไทยขอสิทธิขาดในการดูแลงบประมาณทั้งระบบของงานด้านคมนาคม โดยมีแม่นมสุเทพเป็นคนกลางในการประสานข้อตกลงนี้ ซึ่งสิ่งนี้ ถือว่า WIn-Win ทั้ง ปชป. และภูมิใจไทย

2. งานศึึกษาของดูไบเวิร์ลเน้นเรื่องท่อส่งน้ำมัน แต่ท่อมันไปเปล่าๆ ก็ไม่ปลอดภัยครับ (ลองดูกรณีท่อก๊าซของ ปตท.เป็นตัวอย่างปัญหาเยอะครับ) เขาก็เลยเสนอให้ไทยทำถนนไปตามแนวท่อ สนข.ก็เลยทำการศึกษาควบคู่ไปด้วย ผลสรุป ก็เลยได้ว่าจะทำไปทั้ง ถนนและรางรถไฟ ไปตามแนวท่อด้วยนะครับ แต่ ไม่ได้ทำเฉพาะแนวท่อน้ำมัน ถนนยังมีตัด ขยายเพิ่มอีกอย่างน้อย 4 เส้น เพื่อเิพิ่่มศักยภาพในการเดินทางข้ามจากอันดามันไปอ่าวไทยครับ

3. สภาพัฒน์ ได้นำข้อมูลการพัฒนาระบบคมนาคมไปพัฒนาศึกษาต่อโดยวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการพัฒนา นิคมอุตสาหกรรม และเขตอุตสาหกรรมพิเศษต่างๆ โดยพื้นที่แถบนครศรีธรรมราช -สุราษฎร์ธานี มีแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมน้ำัมัน เนื่องจากภาคใต้ เป็นแหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมันแหล่งใหญ่ของโลกนะครับ ถ้ามีการพัฒนาแนวท่อส่งน้ำมันจริง นิคมโรงกลั่นในภาคใต้เพื่อแข่งกับสิงคโปร์ย่อมไม่ใช่เรื่องยาก เช่นเดียวกับ บริเวณบางสะพาน ประจวบคีรีขันธ์ มีแนวคิดที่จะพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ เนื่องจากมีรายงานการศึกษาของออสเตรเลียที่บอกว่า บางสะพานคือจุดที่ดีที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก และถ้าเราทำความเข้าใจกับคนในพื้นที่ได้ สามารถส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเหล็กได้ มีบริษัทในออสเตรเลียพร้อมเข้ามาลงทุนโรงงานเหล็กขนาดใหญ่ ไม่น้อยกว่า 3 ราย

4. มีแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูงรางคู่เพื่อการขนส่ง Logistic ระหว่างมาเลย์-ไทย-ลาว-จีน อยู่ในแผนพัฒนาการขนส่งระบบรางของสภาพัฒน์ และกระทรวงคมนาคมแล้ว นอกจากนี้ การเชื่อมโยงระบบถนนระหว่างไทย -ลาว- จีน ในเส้นทาง R3 ก็มีพัฒนาคืบหน้ากว่า 50% แล้ว

ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่ หน่วยงานรัฐ (ขอย้ำ--ไม่ใช่รัฐบาล) ดังนั้น เราควรหันกลับมาให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ของรัฐที่พยายามทำงานอย่างเต็มที่เพื่อประเทศด้วยนะครับ ส่วนรัฐบาล หากทำงานที่เป็นประโยชน์ก็ควรส่งเสริม แต่หากทำอะไรที่ "โกง" "ไร้ประโยชน์" ก็สมควรถูกประนามครับ
User avatar
rokjitjung
 
Posts: 89
Joined: Mon May 11, 2009 1:47 pm

Re: คอคอดกระ

Postby Vihok_Asnii » Sat May 08, 2010 8:52 pm

ไม่รู้เป็นไง เมื่อวันก่อนผมไปได้ยินเขาเปิดเพลง ชาละวัน ท่อนที่ร้องว่า

"อาบน้ำที่สงขลา แล้วไปผลัดผ้าที่ปากพนัง"

แล้วเกิดนึกถึงกระทู้นี้ขึ้นมาทันที :lol:
ชาติหนอนย่อมเสพส้อง .... อาจม
อิ่มหนำก็ชื่นชม .... แซ่ซร้อง
มินำพาครรลอง .... ถูกผิด
อ้างความสุขที่ต้อง .... หมักหมมอมมูล


REMEMBER, O BEAST! THAT STARTED THY BLOODY HISTORY ON 14th OF JULY,
REMEMBER, HE WHO INVENTED GUILLOTINES WAS HIMSELF BEHEADED BY A GUILLOTINE!
User avatar
Vihok_Asnii
 
Posts: 2133
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:54 am

Re: คอคอดกระ

Postby maj2shall » Tue Sep 21, 2010 8:37 pm

ผมขออนุญาตินำเอาข้อมูลต่างๆไปเผยแพร่บ้างนะครับ
User avatar
maj2shall
 
Posts: 61
Joined: Wed Apr 28, 2010 8:22 pm

Re: คอคอดกระ

Postby maj2shall » Tue Sep 21, 2010 9:09 pm

nontee wrote:ที่วิพากษ์วิจารณ์กันมานั้นก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่ปัญหาหลักที่เราขุดไม่ได้ ปัญหาจริงๆเป็นเอกสารที่อยู่ในมือผม เป็นเรื่องของ "รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมครับ" เอาสั้นๆกระชับเพื่อความเข้าใจง่ายๆนะครับ ...

1 . ปัญหาเรื่องความสูงของระดับน้ำทะเลที่ไม่เท่ากันของมหาสมุทรอินเดีย (อันดามัน) กับฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค(อ่าวไทย)ที่มีความสูงของระดับน้ำทะเลแตกต่างกันค่อนข้างมาก

2 . ปัญความเค็มของน้ำทะเลที่ไม่เท่ากันของทั้งสองมหาสมุทร จะทำลายระบบนิเวศน์วิทยาของทั้งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน ให้พังพินาศลงสิ้นเชิงเป็นการถาวร และไม่รู้ว่าต้องใช้เวลาอีกกี่พันปี สิ่งมีชีวิตทั้งสองฝั่งทะเลจะสามารถปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศน์แบบใหม่ได้

3 .

4......
..................................................................................................................................

เอาเข้าจริงการขุดคอคอดกระ ประเทศที่จะได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยอันดับหนึ่งคือญี่ปุ่น รองลงมาคือจีน และอันดับสามคือเศรษฐกิจของอาเซียนโดยรวม และอันดับสุดท้ายคือไทย (แต่เราเสียระบบนิเวศน์ของสองฝั่งทะเลไปแล้วตลอดกาล)

แต่ถ้าตัดเป็นแลนด์บริดจ์ ประเทศที่จะได้ผลประโยชน์โดยตรงสูงสุดอันดับหนึ่งคือไทย และประเทศที่จะได้ผลประโยชน์สูงสุดเป็นอันดับสองต่อจากไทยคือจีน และเศรษฐกิจของอาเซียนโดยรวมจะได้ผลประโยชน์เป็นอันดับสาม ส่วนญี่ปุ่นแทบไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆจากโครงการนี้หรือได้ก็น้อยมากๆ



ขออนุญาติถามได้ไหมครับ
1.ว่าทำไมถึงมีปัญหาเรื่องระดับน้ำทะเล ในเมื่อมันมีประตูน้ำกั้น
2. ถ้าสมมุติข้อที่1 มีประตู้น้ำกั้น ละทำไม ถึงมีปัญหาเรื่องความเค็มของน้ำทะเล
3. ถ้าขุดคลองคอดกระ ทำไมประเทศที่ได้รับผลประโยชน์ถึงเป็น ยี่ปุ่น และ จีน
4. ถ้าทำแลนด์บริดต์ ทำไมยี่ปุ่นถึงไมไ่ด้ประโยช์ แล้ว จีนถึงได้ประโยชน์

ผมความรู้น้อย ยังไงช่วยไขข้อสงสัยให้ทีนะครับ
User avatar
maj2shall
 
Posts: 61
Joined: Wed Apr 28, 2010 8:22 pm

Previous

Return to ห้องสมุด



cron