VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

คลังปัญญา กระทู้ปักหมุดเดิม เรื่องสำคัญจัดเก็บที่นี่

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby -3- » Fri Jul 09, 2010 11:03 am

โหวตให้ปักหมุด ไม่ก็ย้ายเข้าห้องสมุดไปเลยครับ :D :D
"คนไทยนี่โชคดีจริงๆนะ จะอยู่ที่ไหน จะทำอะไร มีในหลวงฯคอยติดตามเฝ้าดูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา...ก็ผมเห็นธนบัตรไทยมีรูปในหลวงฯของพวกคุณอยู่ ทุกๆใบแม้นกระทั่งในเหรียญที่มีค่าน้อยที่สุดถึงมีค่ามากที่สุดในธนบัตร ไม่เคยห่างกัน"
User avatar
-3-
Moderator
 
Posts: 6302
Joined: Thu Nov 27, 2008 11:34 am
Location: Gensokyo

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby มารุจัง » Fri Jul 09, 2010 3:12 pm

รับทราบค่ะ จะย้ายเก็บไว้ในห้องสมุดให้ค่ะ
จะได้เก็บไว้เป็นกระทู้ศึกษาเรื่องราวของประเทศเรา
:D
Forum rules!
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด
User avatar
มารุจัง
 
Posts: 2372
Joined: Mon Oct 13, 2008 11:50 pm

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Sat Jul 10, 2010 8:12 am

สยามประเทศ....ในอดีต



Image

การเข้ามาของเครื่องเล่นแผ่นเสียงจากยุโรปในรัชสมัย ร.๕
เครื่องเล่นแผ่นครั่งแบบปากแตร

Image

แผ่นครั่ง....แผ่นเสียงสยามในอดีต

Image

สาวน้อยผมจุกกับกระจกคันฉ่อง
Image

รถยนต์ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕

Image

พระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลที่ ๕ กับกล้องถ่ายรูป
จากซ้ายมาขวา

- สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราไชย
- ไม่ทราบว่าพระองค์ใด
- สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสงขลานครินทร สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรฯ
- พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช
Image

วิธีเกล้าผมจุกเด็ก ผมจุกบนกลางกระหม่อม
ใช้สีผึ้งรูดให้แข็งเรียบเข้ารูป แล้วขมวดไว้เป็นจุกกลม

Image

สตรีรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ กับจักรเย็บผ้า

Image

ห้างร้าน....บริษัทในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕
บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า
ตั้งอยู่ที่ถนนสาทร มาตั้งแต่แรกสร้าง

Image

ห้าง บี กริม แอนด์ โก ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์
Image

บริษัทกิมเซ่งหลี จำหน่ายทองรูปพรรณ
Image

เรือแม่ปะ(เรือหางแมลงป่อง) พาหนะที่สำคัญของชาวเหนือ
จอดเทียบท่าอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวังหลัง ธนบุรี
ตรงกับโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน

Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Sat Jul 10, 2010 10:15 am

เครื่องราชบรรณาการของไทยในรัชสมัย รัชกาลที่ ๕

Image

ตาลปัตรด้ามงา พระราชทานแก่สหรัฐอเมริกา ปี ๑๘๗๖
แกะสลักเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์

Image

พระมหาพิไชยราชรถ
ของพระราชทานจาก รัชกาลที่ ๕, ปี ๑๘๗๖ พระราชทานแก่สหรัฐอเมริกา

Image
:shock:
Image

ชุดเครื่องแป้งถมตะทอง ปี ๑๘๗๖ พระราชทานแก่สหรัฐอเมริกา
Image

กล่องสำหรับใส่ของ....สำหรับชาวสยามนิยมใส่หมาก
ของพระราชทานจาก รัชกาลที่ ๕, ปี ๑๘๗๖ พระราชทานแก่สหรัฐอเมริกา
Image

ตลอดรัชสมัย รัชกาลที่ ๕

ได้มีการทดแทนปรับเปลี่ยนเครื่องอิสริยยศ เครื่องแบบและ
เครื่องแต่งกายให้เป็นตะวันตกมากขึ้น เครื่องแบบทหารตะวันตก
เข้ามา ทดแทนผ้านุ่ง แถบยศเข้ามาแทนที่เหรียญตรา

พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จะยิ่งใหญ่หรือไม่
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้คนในปกครองอีกต่อไปแล้ว
เพราะต้องเผชิญกับอำนาจตะวันตก
พระมหากษัตริย์ทรงปรับเปลี่ยนบทบาท
โดยใช้วิธีประสานสัมพันธ์กับอำนาจตะวันตกเพื่อ
ปกป้องประเทศให้รอดพ้นจากการรุกรานและ
ประเทศได้รับประโยชน์จากการค้าระหว่างประเทศ

รูปแบบของเครื่องราชบรรณาการได้
เปลี่ยนแปลงไปมาก จากของพระราชทานตามธรรมเนียมประเพณี
และโอกาสมาเป็นการคำนึงถึงตัวผู้รับ

สิ่งของพระราชทานจึงเปลี่ยนจากเครื่องราชบรรณาการที่มุ่งเน้นการ
สร้างสัมพันธ์ของราชสำนัก ไปเป็นของกำนัล
ที่เน้นความรุ่งเรืองทางศิลปะและวัฒนธรรมของไทย

ถุงผ้าไหมซาตินถุง
รัชกาลที่ ๔,ค.ศ.๑๘๕๖

ของบรรณาการเนื่องจากสนธิสัญญาแฮริส
Image

สนธิสัญญาแฮริส ค.ศ.๑๘๕๖
ในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ความอยู่รอดของประเทศ จึงทำให้เกิดสนธิสัญญาหลายฉบับใน
ระยะต้นๆ รัชสมัยของพระองค์ อาทิ สนธิสัญญาไทย-อเมริกัน
ฉบับใหม่ ซึ่งรู้จักกันในนามของสนธิสัญญา แฮริส (Harris Treaty)
ตามชื่อของทูตสหรัฐ เทาวเซ็นธ์ แฮริส ผู้มาเมืองไทย ก่อนที่จะไป
รับตำแหน่งกงศุลใหญ่และทูตประจำญี่ปุ่น


สหรัฐอเมริกาถือเป็นพันธมิตรที่สำคัญของไทยเพราะอย่างน้อยในเวลานั้น
สหรัฐไม่มีนโยบายยึดครองประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ถึงกระนั้นก็ยังประสบความล่าช้าต่าง ๆ ในขั้นตอนของการเจรจา
เนื่องจากในเวลาเดียวกัน ทูตแฮรี่ ปาร์กส์ ของอังกฤษ
กำลังเข้ามาแลกเปลี่ยนสัตยาบันของสัญญาเบาว์ริ่ง (ค.ศ.๑๘๕๕) อยู่ในกรุงเทพพอดี
แต่แฮริส ก็ไม่ได้เสียเวลามากนัก เพราะสามารถใช้สาระสำคัญ
ของสัญญาเบาว์ริง เป็นพื้นฐานในการเจรจา

Image
๒๑ เมษายน ค.ศ.๑๘๕๖ ทาวน์เซนด์ แฮริส (Townsend Harris)
กงสุลอเมริกันประจำประเทศญี่ปุ่น เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ
เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ ก่อนจะเดินทางไปถึงท่าเรือชิโมดะ (Shimoda)
เมืองท่าของ อ.ชิสุโอกะ (Shizuoka) แคว้นชุบุ (Chubu)ที่เกาะฮอนชู (Honshu)
ภาคกลางของญี่ปุ่นเมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมปีเดียวกัน
แฮริสเป็นเป็นกงสุลคนแรกที่ได้รับการมอบหมายจาก
ประธานาธิบดี แฟรง คลิน เพียซ (Franklin Pierce-ปธน.คนที่ ๑๔ ของสหรัฐอเมริกา)
ให้เดินทางมาสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศในแถบเอเชีย..สยามและญี่ปุ่น
แวะสยามประเทศเพื่อเจริญเจริญสัมพันธไมตรี หลังจากนั้นเดินทางต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น

คำกราบบังคมทูลของ แฮริส ต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของสหรัฐต่อประเทศไทยได้แจ่มชัด

“สยามมีผลิตผลมากมายที่สหรัฐอเมริกาปลูกเองไม่ได้
ชาวอเมริกัน ยินดีแลกเปลี่ยนผลิตผลและทองกับเงิน
กับผลิตผลของสยามซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ทางการค้าและมิตรภาพที่ดีต่อกันค้า”

ในวันต่อมา แฮริส ได้กราบบังคมทูลด้วยว่า

“สหรัฐอเมริกาไม่มีอาณานิคมในตะวันออกและไม่
ต้องการจะมี เพราะรูปแบบการบริหารประเทศของ
สหรัฐไม่ส่งเสริมให้มีอาณานิคม ดังนั้น ประเทศ
ตะวันออกไม่จำเป็นต้องระแวงกลัวสหรัฐ ความ
สัมพันธ์ทางการค้าอย่างสันติ ซึ่งมีทั้งการให้และ
การรับผลประโยชน์ต่อกัน เป็นสิ่งที่ประธานาธิบดี
ของข้าพเจ้าหวังให้เกิดขึ้นแก่ประเทศสยาม และ
นี่คืองานที่ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้มาปฏิบัติ”


ต่อมาในวันที่ ๑ พฤษภาคม ได้มีการนำเครื่องบรรณาการ
ที่ประธานาธิบดีแฟรงคลิน เพียซ ส่งมาทูลเกล้าฯ
ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นขบวน
ทางน้ำจากท่าเรือไปยังพระบรมมหาราชวัง
นายแพทย์วูดส์ แพทย์ประจำเรือได้เล่าไว้อย่างละเอียดดังนี้


“… ราวเที่ยงวัน พวกเราได้ออกเดินทางจากที่พำนัก โดยเรือพระราชพิธีที่พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้มารับ เรือนำขบวนบรรทุกวงดนตรี แล้วตามด้วย
เรือที่นำสาส์นจากประธานาธิบดี ประดิษฐานในบุษบกใต้หลังคากัญญา สาส์นดังกล่าว
นี้ห่อหุ้มด้วยผ้ากำมะหยี่ลายนูน สีม่วง มีเชือกที่ทำจากไหมพันรอบประทับตราบนครั่ง
ซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องเงินสลักลายนูนตราประจำประเทศสหรัฐอเมริกา เชือกไหมที่พันห่อยังร้อย
ผ่านตราและกล่องเงินมาเป็นพู่ห้อย ทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในกล่อง
ทำเป็นรูปหนังสือห่อหุ้มด้วยสีม่วงและทองและมีผ้าซาตินสีเหลืองคลุมอีกชั้น
เรือทหารนาวิกโยธิน สองลำ ภายใต้การบังคับบัญชา
ของเรือโท ไทเลอร์ แล่นขนาบสองข้าง ต่อจากนั้น เป็นเรือบรรทุก
เครื่องบรรณาการ อยู่ใต้หลังคากัญญาติดม่าน
ตามด้วยเรือนำทูตเทาวเซ็นด์ แฮริส พร้อมด้วยสาธุคุณ แมททูน (Rev. Mattoon)
ล่ามประจำตัว, มร.ฮิวสกิน เลขานุการส่วนตัวและมีนายท้ายเรือถือธงชาติอเมริกัน
ส่วนผู้บังคับการเรือพร้อมด้วยเลขานุการและตัวข้าพเจ้านั่งไปในเรืออีกลำ
ต่อจากนั้นก็เป็นเรือของพวกทหารเรือที่มาในคณะ
ทั้งขบวนแล่นไปตามคุ้งน้ำยาวเหยียดอย่างน้อยครึ่งไมล์”

พระราชทานแก่ประเทศสหรัฐอเมริกา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มพระราชทานของ
กำนัลสู่สถาบัน Smithsonian ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ ๑๘๘๐ ในปี
ค.ศ.๑๘๘๑ หลังจากที่ประเทศไทย และ สหรัฐอเมริกาได้เจรจาข้อ
เปลี่ยนแปลงในสนธิสัญญาแฮริส ค.ศ.๑๘๕๗ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าฯ มีพระประสงค์ที่จะพระราชทานของกำนัลอีก
แต่เมื่อทรงทราบว่า เครื่องราชบรรณาการที่เคยพระราชทาน
แก่ประธานาธิบดีมาโดยตลอดนั้น ได้เก็บรักษาไว้ ณ สถาบัน
Smithsonian จึงทรงมีพระราชดำริ ที่จะพระราชทานของกำนัล
ไปให้สถาบันฯโดยตรง

ธงสยาม(ธงช้าง) พระราชทาน ปี ๑๘๘๑
สัมพันธไมตรีระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา
ในระยะแรกเริ่ม จุดเด่นได้แก่สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่มีความ
หมายทางประวัติศาสตร์ และการแลกเปลี่ยนบรรณาการระหว่างกัน
และกันระหว่างพระมหากษัตริย์ไทยและประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา
Image

พระไตรปิฎก ฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ , ปี ๑๘๙๓
ของพระราชทานจาก รัชกาลที่ ๕
Dibner Rare Book Library
Image

เครื่องเขินจากทางภาคเหนือของไทย พระราชทาน ปี ๑๙๐๔
Image

เสื่อหวาย
เสื่อลายมัดหมี่ สีเขียว – เหลือง มีขอบสีม่วง พระราชทาน ปี ๑๙๐๔

Image

ขอขอบคุณ
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ข้อมูลจาก
http://www.mnh.si.edu/treasures/

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Sat Jul 10, 2010 2:21 pm

เครื่องราชบรรณาการจากประเทศรัสเซีย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย
แถวยืน จากซ้ายไปขวา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวัตนวิศิษฏ์
เคานต์มูราเวียฟ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
แถวนั่ง จากซ้ายไปขวา
เจ้าฟ้าหญิงพระราชธิดาพระเจ้าซาร์นิโคลัส (ไม่ทราบพระนาม)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซารินาแห่งรัสเซีย พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ
Image

ฟาแบร์เช่....แห่งรัสเซีย
งานฝีมือของช่างทองราชสำนักอย่างฟาแบร์เช่ จัดว่ามีชื่อเสียงมาก
ประชาชนส่วนใหญ่ของรัสเซียนับถือคริสตศาสนานิกายออโธดอกซ์
โดยเฉพาะมีประเพณีให้ไข่เป็นของขวัญกันในวันอีสเตอร์คือ
ประดิษฐ์ไข่ด้วยเพชรพลอยและลวดลายวิจิตร ไม่ซ้ำกัน ส่งถวายพระเจ้าซาร์
เพื่อพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์

Image

เป็นงานที่ขึ้นชื่อลือชา จนเรียกกันว่า "ไข่ฟาแบร์เช่" บัดนี้เป็นของสะสมหายาก
อย่างในภาพนี้คือ ตัวอย่างงานศิลปะของฟาแบร์เช่
มีไข่ และเครื่องประดับลงยาเป็นริ้ว ลายฝังเพชร

"ไข่ฟาแบร์เช่" ของสะสมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นทองคำ 14 กะรัต ลงยาสีขาว ประดับพลอยมุกดาหาร
ฝีมือช่าง Henrik Wigstrom ของฟาแบร์เช่
Image

หีบพระโอสถมวนลงยาสีทอง มีตรามงกุฎรัสเซียประดับเพชรตรงมุม
เป็นของถวายจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จารึกข้อความภายในหีบว่า
From Your Friend Nicholas 1897

ฝีมือช่าง August Wilhelm Holmstorm ของฟาแบร์เช่
Image

ถ้วยสุราแบบรัสเซียทำด้วยหินหยกเขียว ด้ามเป็นตราราชวงศ์โรมานอฟ
สลักลายลงยาสีต่างๆ ประดับเพชร ทับทิมและไข่มุก
ฝีมือช่างของฟาแบร์เช่ ชื่อ Henrik Wigstrom
สันนิษฐานว่าเป็นของถวายที่ระลึกในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนรัสเซีย ในค.ศ. 1897
Image

หีบพระโอสถมวนทำด้วยหินหยกเขียว ฝาทองคำ 14 กะรัต
มีภาพวาดพระที่นั่งจักรีเป็นลายเส้นสีน้ำตาล
ล้อมรอบด้วยดอกไม้ทองคำลงยา
ฝีมือฝีมือช่างของฟาแบร์เช่ ชื่อ Henrik Wigstrom
Image

กระดุมข้อพระหัตถ์ ทำด้วยหินหยกเขียว
ฝังเพชรเป็นริ้วตามสไตล์ของฟาแบร์เช่

Image

บาตรน้ำมนต์ทำด้วยหินหยกเขียว ประกอบด้วยทองคำ ฝังเพชร พลอย
มีพาหนะพระผู้เป็นเจ้าสามองค์ของพราหมณ์ เป็นฐานแบก
คือครุฑ(พาหนะพระนารายณ์ ) หงส์( พาหนะพระพรหม) และโค (พาหนะพระอิศวร)
ฝีมือช่าง Henrik Wigstorm
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Fri Jul 16, 2010 5:28 am

วิถีชาวบ้าน....สยามในอดีต

พระพายเรือรับบาตรยามเช้า

Image

โรงเีรียนวัด

Image

ชีิวิตชาวนา....แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา
Image

ฤดูเก็บเกี่ยว....เคียวเกี่ยวข้าว
Image

เกวียน....บรรทุกข้าวกลับบ้าน
Image

เรือบรรทุกข้าว

Image

วิถีชีวิตริมฝั่งน้ำ

Image

โรงสีข้าวที่แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา

Image

บ้านเรือนริมน้ำ ....ชัยนาท
Image

ตากแหและอวน

Image

แม่น้ำป่าสัก....ไหลผ่านชัยบาดาล....ลพบุรี

Image

ป่ากล้วย....ชัยบาดาล.....ลพบุรี
Image

ตากพริกไทยดำ....จันทบุรี
Image

ป่าสักที่ดอยเชียงดาว
Image

บ้านไม้ไผ่ขัดแตะของชาวเชียงคาน....จังหวัดเลย
Image

ดงดอกฝิ่นที่เชียงคาน
Image

สาวปั่นด้ายที่เชียงคาน
Image

สาวชาวไืทยภูเขาเผ่าเย้า
Image

ชาวไทยภูเขาที่ตลาดเชียงคาน....จังหวัดเลย
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Sun Jul 18, 2010 1:00 am



ท่ารำแม่บทของนาฏศิลป์ไทย อย่างโบราณ ถ่ายทำในสมัยรัชกาลที่ ๖
ถ่ายภาพที่วังวรดิศ โดยช่างภาพฝรั่ง
อยู่ในความควบคุมของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพ
บอกท่ารำโดยบรมครู พระยานัฏกานุรักษ์ แสดงแบบโดย ๒ ศิลปิน จากกรมมหรสพ
ชื่อท่ารำและตัวสะกดเป็นอย่างตำรารำชั้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์

"ท่ารำแม่บท" หมายถึงท่ารำหลักที่จะต้องเรียนรู้ให้แม่นยำ
เป็นท่ารำเบื้องต้นของนาฎศิลป์ไทย

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Wed Jul 21, 2010 12:23 pm

เพลงรัตนโกสินทร์ ....พร้อมภาพสยามในอดีต
และราชวงศ์จักรี



เพลงรัตนโกสินทร์
ขับร้องโดย ชมพู ฟรุตตี้
(ประกอบละครรัตนโกสินทร์)

รัตนโกสินทร์ คือแผ่นดิน ที่หล่อหลอมหัวใจ
ร้อยความรักรวมผู้คน
มากมายอาศัยอยู่ร่วมชายคา
เชื้อชาติไหนก็พี่น้อง
ล้วนพวกพ้อง ข้องเกี่ยวนานเนิ่นมา

ทุกชีวิตมีสุข ใจใต้ฟ้า...ใต้บารมีจักรีวงศ์ :D
และเมื่อความรักของเราเกิดขึ้น
จากดวงใจสองดวงที่ซื่อตรง
บนแผ่นดินแห่งความรัก
ด้วยศรัทธาที่มั่นคง
รักย่อมยืนยง ตลอดไป

ขอแค่มีเธอกับฉัน และมีรักที่ผูกพันหัวใจ
ก็สุขแล้ว บนแผ่นดินกว้างไกล แห่งรัตนโกสินทร์

Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Mon Jul 26, 2010 1:57 pm

ภาพการแห่เทียนพรรษาในอดีต
Image

วันเข้าพรรษา
(วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘) หรือเทศกาลเข้าพรรษา
(วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑)
ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย
โดยมีระยะเวลาประมาณ ๓ เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘)

"วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"
ในปี พ.ศ.๒๕๕๑ รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ"
โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร
ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษา
และในช่วง ๓ เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย

กำเนิดเทียนพรรษา

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นับถือวัวเพราะถือว่าวัวเป็นพาหนะของพระอิศวร เมื่อวัวตายจะเอาไขจากวัวมาทำเป็นน้ำมันเพื่อจุดบูชาพระผู้เป็นเจ้าที่ตนเคารพ

แต่ชาวพุทธซึ่งนับถือศาสนาพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็กๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ

วิวัฒนาการของเทียนพรรษา


เทียนพรรษาคือเทียนขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น สำหรับจุดในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษาจนถึงวันออกพรรษา(พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕)

การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่น เป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็กๆ หลายๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐานซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่าต้นเทียนหรือต้นเทียนพรรษา

ต้นเทียนพรรษาประเภทแรกคือ "มัดรวมติดลาย"
เป็นการเอาเทียนเล่มเล็กๆ มามัดรวมกันบนแกนไม้ไผ่ให้เป็นต้นเทียนขนาดใหญ่ แล้วตัดกระดาษเงิน กระดาษทองเป็นลายต่าง ๆ ติดประดับโดยรอบต้นเทียน ต่อมามีการคิดทำต้นเทียนเป็นต้นเดี่ยว เพื่อใช้จุดให้ได้นาน

โดยการใช้ลำไม้ไผ่ที่ทะลุปล้องเป็นแบบหล่อเมื่อหล่อเทียนเป็นต้นเสร็จแล้ว
จึงนำมาติดที่ฐานและจัดขบวนแห่เทียนไปถวายพระที่วัด

การตกแต่งต้นเทียน
เริ่มมีขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อน
แล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือเอาขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วใช้ผลมะละกอ
หรือผลฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้ง แล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น
แกะขี้ผึ้งออกจากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน

Image
พ.ศ.๒๔๘๒ มีช่างทองชื่อนายโพธิ์ ส่งศรี
เริ่มทำลายไทยไปประดับบนเทียน โดยมีการทำแบบพิมพ์ลงในแผ่นปูนซีเมนต์
ซึ่งถือว่าเป็นแบบพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ แล้วเอาขี้ผึ้งที่อ่อนตัวไปกดลงบนแม่พิมพ์
จะได้ขี้ผึ้งเป็นลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน

ต่อมานายสวน คูณผล ได้คิดทำลายให้นูนและสลับสีจนเห็นได้ชัด
เมื่อส่งเทียนเข้าประกวดจึงได้รับรางวัลชนะเลิศ และในปี พ.ศ.๒๔๗๙ นายประดับ ก้อนแก้ว
คิดประดิษฐ์ทำหุ่นเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ และเอาลวดลายขี้ผึ้งติดเข้าไปที่หุ่น
ทำให้มีลักษณะแปลกออกไป จึงทำให้เทียนพรรษาได้รับรางวัลชนะเลิศ
และชนะเลิศมาทุกปีในเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์

Image
ปี พ.ศ.๒๕๐๒ มีช่างแกะสลักลงในเทียนพรรษาคนแรก คือนายคำหมา แสงงาม
และคณะกรรมการตัดสินให้ชนะการประกวด ทำให้เกิดการประท้วงคณะกรรมการตัดสิน
ทำให้ในปีต่อๆ มามีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนออกชัดเจน

การทำเทียนพรรษามีวิวัฒนาการเรื่อยมาไม่หยุดนิ่ง ในปี พ.ศ.๒๕๑๑
ผู้คนได้พบเห็น ต้นเทียนพรรษาขนาดใหญ่และสูงขึ้น
มีการแกะสลักลวดลายในส่วนลำต้นอย่างวิจิตรพิสดาร
ในส่วนฐานก็มีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนาและความเป็นไปในสังคมขณะนั้น
กลายเป็นประติมากรรมเทียนพรรษาที่ยิ่งใหญ่

ซึ่งช่างผู้ริเริ่มในการทำต้นเทียนยุคหลังคือ
นายอุตส่าห์ และนายสมัย จันทรวิจิตร ๒ พี่น้อง
นับเป็นงานสร้างสรรค์ทางศิลปะอันเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างแท้จริง

ความงดงามของเทียนพรรษาในปัจจุบัน
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby eastisred » Wed Aug 18, 2010 12:30 am

แนวร่วมประชาธิปไตย ขับไล่เดียรถีย์
User avatar
eastisred
 
Posts: 219
Joined: Tue Aug 17, 2010 2:20 am
Location: 496/2 soi chareonkrung 85 bangkok

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Wed Aug 18, 2010 1:48 am

พระสยามเทวาธิราช

Image

เมื่อสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นช่วงเวลาที่เมืองไทยต้องเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตก จนเกือบที่จะพลาดพลั้งสูญเสียอธิปไตยแต่ก็รอดพ้นได้ทุกครั้ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่าคงเป็นเพราะมีเทพยดาพิทักษ์รักษา จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ สร้างรูปเทพยดาองค์นั้น เพื่อสักการะบูชาถวายพระนามว่า พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหากษัตราธิราชพระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายจีบเสมอพระอุระ ขนาดสูง ๘ นิ้ว ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งทรงธรรม ทรงบวงสรวงในวันอังคารและวันเสาร์ประจำทุกสัปดาห์

นอกจากนี้ในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ท้ายพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ ซึ่งหมายถึงพระราชพิธีขึ้นปีใหม่แต่เดิมของไทย มีการพระราชกุศลในเวลาเช้า จากนั้นเวลาค่ำทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดระหม่อมให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชและเทวรูปพร้อมด้วยเจว็ดมุกจากหอพระภูมิ ประดิษฐาน ณ มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเพื่อทรงบวงสรวง มีละครหลวงเล่นสมโภชเป็นแบบอย่างธรรมเนียมด้วย

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รื้อหมู่ที่นั่งในพุทธมณเฑียรและพระที่นั่งทรงธรรมลง ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชมา ประดิษฐาน ณ พระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการพระราชพิธีบวงสรวงในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ เช่นเดิม แต่ได้อัญเชิญจากพระวิมานมาประดิษฐาน ณ โต๊ะตั้งเครื่องสังเวยในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีละครหลวงสมโภชสืบมา

Image

ในรัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการพระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราชเป็นพระราชพิธีภายในพระราชสำนักในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ตาม โบราณราชประเพณี หากมีพระราชกิจมิได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชพิธีด้วยพระองค์เอง จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนเป็นพระราชพิธีประจำปีมิได้ว่างเว้นและในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชมาประดิษฐาน ณ มุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อให้พสกนิกรได้สักการะ ตั้งแต่วันที่ ๓ เมษายน จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน

ในตอนเช้าของแต่ละวันเจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานพระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยกระบวนอิสริยยศ มาประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและอัญเชิญกลับในเวลาเย็น

ตลอดเวลาเกือบหนึ่งเดือนที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อาณาประชาราษฎร์ได้สักการะพระสยามเทวาธิราชเป็นครั้งแรกนี้ มีประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางมาอย่างเนืองแน่นทุกวัน

ผู้คนทั้งหลายที่เคยตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระสยามเทวาธิราชคุ้มครองโดยมิเคยได้เห็นองค์ต่างได้มีโอกาสได้ถวายสักการะโดยใกล้ชิด เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จักจารึกอยู่ในดวงใจพสกนิกรชาวไทยโดยทั่วกัน

http://www.identity.opm.go.th/identity/king/show_content.asp?type_qry=19&king_code_qry=01&king_type_qry=1&lang=thai&cont_type=cere&menu_code=00000016

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby eastisred » Wed Aug 18, 2010 1:58 am

ฉันรักตัวฉันเอง

ฉันต้องกินอิ่ม
ฉันต้องซุกหัวนอน

ฉันอยู่ในแผ่นดินนี้

แผ่นดินนี้ให้ฉันอิ่ม
ให้หลับสบาย

ดังนั้น ฉันรักในหลวง เพราะ ฉันรักตัวฉันเอง

แนวร่วมประชาธิปไตย ขับไล่เดียรถีย์
User avatar
eastisred
 
Posts: 219
Joined: Tue Aug 17, 2010 2:20 am
Location: 496/2 soi chareonkrung 85 bangkok

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Wed Aug 18, 2010 2:20 am

คนมีหลายประเภท
เพราะฉะนั้น ความรักของคนแต่ละประเภท
ที่เลือกให้นิยามความรักของตัวเองก็ย่อมแตกต่างกันไปค่ะ
ไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่สำหรับเรื่องสถาบัน....สิ่งที่ดิฉันเกลียดมากคือ
การมาในคราบที่เสมือนจะจงรักภักดี แต่ประสงค์ร้าย

และก็ขอโทษนะค่ะ ที่นี่เป็นห้องสมุด เป็นคลังความรู้
โพสอะไรที่ตรงกับหัวข้อกระทู้กันดีกว่านะค่ะ ขอบคุณค่ะ :D

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby รักเมืองไทย55 » Sun Aug 29, 2010 11:31 am

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับภาพเก่า ๆ ที่หาดูได้ยากมากในตอนนี้ ถือว่าเป็นภาพที่มีค่ามาก
ควรจะเก็บภาพเหล่านี้ไว้ให้เด็กเยาวชนรุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษาต่อไป
User avatar
รักเมืองไทย55
 
Posts: 476
Joined: Tue Aug 24, 2010 11:12 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby permsakdi » Tue Aug 31, 2010 11:07 pm

noway2know wrote:คนมีหลายประเภท
เพราะฉะนั้น ความรักของคนแต่ละประเภท
ที่เลือกให้นิยามความรักของตัวเองก็ย่อมแตกต่างกันไปค่ะ
ไม่ใช่เรื่องแปลก

แต่สำหรับเรื่องสถาบัน....สิ่งที่ดิฉันเกลียดมากคือ
การมาในคราบที่เสมือนจะจงรักภักดี แต่ประสงค์ร้าย

และก็ขอโทษนะค่ะ ที่นี่เป็นห้องสมุด เป็นคลังความรู้
โพสอะไรที่ตรงกับหัวข้อกระทู้กันดีกว่านะค่ะ ขอบคุณค่ะ :D


คุณ noway2know เป็นแรงสำคัญของกระทู้นี้ ผมชื่นชมคุณอย่างยิ่ง
มีหลายต่อหลายบอร์ด เล่นกระทู้เมืองไทยในอดีต ซึ่งเป็นเรื่องครูพักลัก copy
เสียเป็นส่วนใหญ่ รายละเอียด ของ noway2know ดีกว่ามาก ผมเองยังรู้สึก
เสียใจที่ไม่ได้ช่วยให้สาระแก่ บอร์ด นี้เลย เป็นผู้เข้ามาเก็บเกี่ยวออกไปเสีย
ทุกครั้ง
ํํYou are what you wrote ครับ อย่าทิ้ง กระทู้ นี้นะครับ คุณ noway2know
เพราะพักหลังๆนี้ เห็นคุณหายไปนานเลยครับ
User avatar
permsakdi
 
Posts: 28
Joined: Thu May 20, 2010 6:51 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Thu Sep 02, 2010 2:12 am

คุณpermsakdi ขอบคุณมากนะค่ะ
ไม่เป็นไรหรอกค่ะ แบ่งปันกันอย่างอื่นก็ได้ค่ะ
ความคิดเห็นของเพื่อนๆ หน้าการเมืองดิฉันก็ชอบอ่านค่ะ

ส่วนกระทู้นี้ กับกระทู้ ในหลวงในดวงใจ
เป็นกระทู้ที่ดิฉัน โพสแล้วมีความสุขที่สุดค่ะ
ดิฉันขอบคุณ เพื่อนทั้ง 2คน นะค่ะ
ที่ตั้งกระทู้ไว้ รวมถึงขอบคุณเพื่อนๆด้วยค่ะ
ที่เข้ามากัน ดิฉันภาคภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษ
เสียสละ และสร้างไว้ให้พวกเรา
โดยเฉพาะสถาบันพระมหากษัตริย์
ที่วางรากฐานสิ่งต่างๆไว้มากมาย
รวมถึงดีใจ ที่ได้เกิดในรัชสมัย ของในหลวง

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Thu Sep 02, 2010 3:14 am

วัฒนธรรมการกินหมาก

Image

การกินหมากถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของคนไทยอย่างหนึ่ง จากเอกสารของจีนโบราณได้กล่าว ถึงกลุ่มชนฟันดำซึ่งหมายถึงคนกินหมาก เมื่อ 200 ปี อยู่ทางทิศใต้ซึ่งหมายถึงไทยและลาว ในสมัยสุโขทัยมีหลักฐานจากศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงว่า “ป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมัน สิ้น”ซึ่งมีการปลูกหมากปลูกพลูและมีวัฒนธรรมในการกินหมากสืบต่อเนื่องมาถึงสมัยอยุธยา

จากหลักฐานที่พบที่ชุมชนบ้านเก่าบางกระบือ เต้าปูนทองแดง/สำริด แสดงให้เห็น ว่าคนในชุมชนบ้านเก่ามีการกินหมาก เป็นสำรับเรียกว่า “เชี่ยนหมาก” มีอุปกรณ์ประกอบด้วย ตลับใส่ยาเส้น ใส่หมากแห้ง สีผึ้ง สีเสียด เต้า ปูนใส่ปูนแดง ซองพลูใส่ใบพลู กรรไกรหนีบหมาก ครกหรือตะบันหมาก กระโถนบ้วนน้ำหมาก

เชี่ยนหมากเป็นเครื่องบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของไทยในสมัยโบราณได้ เช่น พวกขุนนางและพระเจ้าแผ่นดิน จะพระราชทานเครื่องประดับยศมีหีบหมากทองคำ ดาบ เรือยาว สัตว์พาหนะ เช่น ช้าง ม้า โค กระบือ ทาสสำหรับใช้สอย

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามา ได้แต่งหนังสือไว้เรียกว่า “จดหมายเหตุของลาลูแบร์” บันทึกเรื่องราว ในสมัยอยุธยาไว้เป็นอันมากได้กล่าวถึงเรื่อง การกินหมากของคนไทยในสมัยอยุธยาไว้ว่า “เป็นธรรมเนียมเจ้าของบ้านต้องยอมให้แขก ที่มาสู่เหย้านั่งที่ตนเคยนั่ง และต้องเชื้อเชิญให้ยอมนั่ง ภายหลังก็ยกผลไม้ ของว่างและของหวานมาเลี้ยง บางที่ก็ถึงเลี้ยงข้าวปลาด้วยและข้อสำคัญนั้นเจ้าของบ้าน ต้องส่งเชี่ยนหมากแลทีชาให้แขกรับประทาน ด้วยมือเอง ถ้าเป็นราษฎร์สามัญแล้วไม่ลืมเลี้ยงเหล้า”

จากบันทึกอีกตอนหนึ่งของบาลูแบร์ กล่าวไว้ว่า “ในพระราชมณเทียรพระมหากษัตริย์นั้น ข้าราชการที่เข้าเฝ้าไม่กล้าไอ จาม หรือบ้วนน้ำหมาก ถ่มเสลด และไม่กล้าสั่งมูลนาสิก หมากที่อมติดปากไว้ นั้นก็กลืนน้ำหมากเอือก ๆ ให้หายเข้าไปในคออย่างแช่มชื่น”

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
วัฒนธรรมการกินหมาก สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
มีรัฐนิยมให้คนไทยเลิกกินหมากและตัดต้นหมากทิ้ง เพราะการกินหมาก
แล้วบ้วนทิ้งเรี่ยราด ทำให้บ้านเมืองสกปรก ได้สั่งไม่ให้มีการค้าขายหมาก
ทำให้คนไทยเลิกกินหมาก วัฒนธรรมการกินหมากกับสังคมไทยก็ค่อยๆ เลือนหายไป

เชี่ยนหมากทองเหลือง
Image

เชี่ยนหมาก
เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะที่ใช้สำหรับวางตลับต่างหมาก ตลับยาเส้น กระปุกปูน และซองใส่พลูซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการกินหมากทั้งสิ้น ด้วยแต่เดิมคนไทยกินหมากกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิง เพราะสมัยก่อนนั้นถือว่าการกินหมากเป็นสิ่งดีงาม อีกทั้งยังมีค่านิยมที่ว่าคนสวยจะต้องกินหมากจนปากแดง และ ฟันดำอีกด้วย

เชี่ยนหมากจึงเป็นสิ่งที่แทบทุกครัวเรือนจะต้องมีติดบ้านไว้เสมอ เพราะนอกจากสมาชิกในครอบครัวได้เพลิดเพลินกับการเคี้ยวหมากในยามว่างแล้ว เชี่ยนหมากยังใช้รับแขกที่มาเยี่ยมเยียนถึงเรือนชานได้เป็นอย่างดี ตามปกเชี่ยนหมากทำขึ้นจากไม้ ทอง ทองเหลือง เงิน และเครื่องเขิน โดยมีลักษณ์เป็นทรงกลมหรือหกเหลี่ยม บ้างมีการตกแต่งรวดรายเพื่อเพิ่มคุณค่าความงามตามความนิยมท้องถิ่น

ปัจจุบันวัฒนธรรมการกินหมากค่อยๆ เลื่อนหายไปตามการเวลา มีเพียงคนสูงอายุเท่านั้นที่ยังจีบหมากจีบพูลใส่เชี่ยนหมากไว้ถวายพระในงานบุญงานกุศลต่างๆ เช่น งานบวช และพิธีแต่งงาน เป็นต้น

Image

เครื่องใช้ในการกินหมาก

การกินหมากจนเป็นธรรมเนียมเช่นนี้ ทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่วัฒนธรรมมากอย่างจริงจัง นั่นคือ ใช้หมาก เป็นเครื่องต้อนรับแขก การเตรียมหมากพลูเพื่อต้อบรับแขก จึงนับเป็นการต้อบรับที่ดี ผู้ที่มีฐานะ จะมีอุปกรณ์เกี่ยวกับหมากที่สวยงาม ดังนี้

-เชี่ยนหมาก เป็นภาชนะสำหรับใส่อุปกรณ์เกี่ยวกับการกินหมาก รวมทั้ง หมาก ใบพลู และปูน ผู้ที่มีฐานะอาจใช้เครื่องโลหะ หรือเครื่องฝังมุก มีลวดลายสวยงาม

-กรรไกรคีบหมาก เป็นกรรไกรทำด้วยเหล็ก ลักษณะคล้ายคีมมีคมด้านเดียว เอาไว้หั่นหมาก เมื่อจะใช้เอาหมากสอดระหว่างกรรไกรแล้วใช้มือบีบเพื่อผ่าหมาก หรือแบ่งหมากออกเป็นส่วนๆ

-เต้าปูน นิยมใช้เครื่องเคลือบ สำหรับใส่ปูนแดง

-ตะบันหมาก เป็นกระบอกทองเหลือง มีวัสดุด้ามยาว ปลายแบนทำหน้าที่คล้ายสิ่ว เอาไว้สำหรับตำลงไปในกระบอกให้แหลก เหมาะสำหรับคนชรา ที่ไม่สามารถเคี้ยวหมากแก่ได้ ภาษาถิ่นใต้เรียกตะบันหมาก ว่า ยอนหมากหรือ ยอน กระบอกที่ทำด้วยทองเหลืองจัดเป็นยอนสำหรับผู้มีอันจะกิน หากเป็นชาวบ้านทั่วไปอาจใช้กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกไม่เกิน 1 นิ้ว เหล็กที่ไว้ตำหมากกับยอน เรียกว่า ตายอน

-ไหหมาก เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดองหมากไว้กินนอกฤดู โดยการเอาหมากสุกใส่ลงในโอ่งหรือไห เติมน้ำสะอาดจนท่วมเก็บไว้กินนอกฤดู ทิ้งไว้ได้เป็นปีจนกว่าฤดูกาลใหม่จะมาถึง

เชี่ยนหมากในอดีต
Image

Image

Image

Image

Image

Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Thu Sep 02, 2010 4:16 am

เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ ๕ รัชกาล
งานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี
ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๕


Image
Image
Image
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Mon Sep 06, 2010 3:40 pm

จุดกำเนิดและประวัติข้าวไทย

Image

พันธุ์ข้าวที่มนุษย์เพาะปลูกในปัจจุบันพัฒนามาจากข้าวป่าในตระกูล Oryza gramineae
สันนิษฐาน ว่าพืชสกุล Oryza มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนชื้นของทวีป Gondwanaland ก่อนผืนดินจะเคลื่อนตัวและเคลื่อนออกจากกันเป็นทวีปต่างๆ เมื่อ230-600 ล้านปีมาแล้วจากนั้นกระจายจากเขตร้อนชื้นของแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ ออสเตรเลีย อเมริกากลางและใต้ ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ความสูงระดับน้ำทะเลถึง2,500เมตรหรือมากกว่า ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ทั้งในที่ราบลุ่มจนถึงที่สูง ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่เส้นรุ้งที่ 53 องศาเหนือถึง 35 องศาใต้ มนุษย์ได้คัดเลือกข้าวป่าชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตน เพื่อให้สอดคล้องกับระบบนิเวศน์ มีการผสมพันธุ์ข้ามระหว่างข้าวที่ปลูกกับวัชพืชที่เกี่ยวข้อง เกิดข้าวพื้นเมืองมากมายหลายสายพันธุ์ ซึ่งสามารถให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี ก่อให้เกิดพันธุ์ข้าวปลูกที่เรียกว่า ข้าวลูกผสมซึ่งมีปริมาณ120,000 พันธุ์ทั่วโลก ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันแบ่งออกเป็นข้าวแอฟริกาและข้าวเอเชีย

ข้าวแอฟริกา(Oryza glaberrima)
แพร่กระจายอยู่เฉพาะบริเวณเขตร้อนของแอฟริกาเท่านั้น สันนิษฐานว่าข้าวแอฟริกาอาจเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตศักราช

ข้าวเอเชีย
เป็นข้าวลูกผสม เกิดจาก Oryza sativa กับข้าวป่า มีถิ่นกำเนิดบริเวณประเทศอินเดีย บังคลาเทศ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่อินเดีย ตอนเหนือของบังคลาเทศ บริเวณดินแดนสามเหลี่ยมระหว่างพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้

Image

Oryza sativa


: ข้าวเอเชียแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์ :
-ข้าวสายพันธุ์แรก เรียกว่าสายพันธุ์ Senica หรือ Japonica ปลูกบริเวณแม้น้ำเหลืองของจีน แพร่ไปยังเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ เป็นข้าวเมล็ดป้อม

-ข้าวสายพันธุ์ที่สอง
เรียกว่า Indica เป็นข้าวเมล็ดยาวปลูกในเขตร้อนแพร่สู่ตอนใต้ของอินเดีย ศรีลังกา แหลมมาลายู หมู่เกาะต่าง ๆ และลุ่มแม่น้ำแยงซีของจีนประมาณคริสต์ศักราช 200

-ข้าวสายพันธุ์ที่สาม คือ ข้าวชวา (Javanica) ปลูกในอินโดนีเชีย ประมาณ 1,084 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นแพร่ไปยังฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น ในข้าวเอเชียแพร่เข้าไปในยุโรปและแอฟริกา สู่อเมริกาใต้ อเมริกากลาง เข้าสู่สหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยนำเมล็ดพันธุ์ไปจากหมู่เกาะมาดากัสกา

Image

ในเบื้องแรกมนุษย์ ค้นพบวิธีปลูกข้าวแบบทำไร่เลื่อนลอย ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีนและวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อประมาณ 10,000 ปีมาแล้ว ต่อมามนุษย์ค้นพบการทำนาหว่าน ดังปรากฏหลักฐานในวัฒนธรรมยางเชา บริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ในวัฒนธรรมลุงซาน ประเทศจีนและวัฒนธรรมฮัวบิเนียน ประเทศเวียดนาม เมื่อ 5,000 - 10,000 ปีมาแล้ว ภูมิปัญญาด้านการปลูกข้าวพัฒนาสู่การปักดำ พบหลักฐานในวัฒนธรรมบ้านเชียงประเทศไทย เมื่อไม่ต่ำกว่า 5,000 ปีมาแล้ว ในประเทศไทย เมล็ดข้าวที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมีลักษณะคล้ายข้าวปลูก ของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว3,000 - 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ได้แก่ รอยแกลบข้าว ซึ่งเป็นส่วนผสมของดินที่ใช้ปั้นภาชนะดินเผาที่โนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นหลักฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเก่าแก่ที่สุด คือ ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช

หลักฐานอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าสยามประเทศเป็นแหล่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ อาทิ เมล็ดข้าวที่ขุดพบที่ถ้ำปุงฮุง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แสดงว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้เมื่อ 3,000 - 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือราว 5,400 ปีมาแล้ว แกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุงมีทั้งลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามอยู่ ในที่สูง เป็นข้าวไร่และข้าวเจ้า แต่ไม่พบลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดป้อมหรือข้าวพวก Japonica เลย แหล่งโบราณคดีที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี พบรอยแกลบข้าวผสมอยู่กับดินที่นำมาปั้นภาชนะดินเผา กำหนดอายุได้ใกล้เคียงกับแกลบข้าวที่ถ้ำปุงฮุง คือ ประมาณ 2,000 - 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ลักษณะเป็นข้าวเอเชีย (Oryza sativa)

หลักฐานการค้นพบเมล็ดข้าว เถ้าถ่านในดินและรอบแกลบบนเครื่องปั้นดินเผา
ที่โคกพนมดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสดงให้เห็นถึงชุมชนปลูกข้าวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังพบหลักฐานคล้ายดอกข้าวป่าเมืองไทยที่ถ้ำเขาทะลุ จังหวัดกาญจนบุรี อายุประมาณ 2,800 ปีก่อนคริสต์ศักราช (อาจก่อนหรือหลังจากนั้นประมาณ 300 ปี) ซึ่งเป็นช่วงรอยต่อยุคหินใหม่ตอนปลายกับยุคโลหะตอนต้น

ส่วนหลักฐานภาพเขียนบนผนังถ้ำหรือผนังหินอายุไม่น้อยกว่า 2,000 ปี ที่ผาหมอนน้อน บ้านตากุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี บันทึกการปลูกธัญพืชอย่างหนึ่งมีลักษณะเหมือนข้าว ภาพควายในแปลงพืชคล้ายข้าว อาจตีความได้ว่ามนุษย์สมัยนั้นรู้จักข้าวหรือการเพาะปลูกข้าวแล้ว ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี สรุปไว้เมื่อปี พ.ศ. 2535 ว่า "ประเทศไทย ทำนาปลูกข้าวมาแล้วประมาณ 5471 ปี ผลของการขุดค้นที่โนนนกทาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า ข้าวเริ่มปลูกในทวีบเอเชียอาคเนย์ ในสมัยหินใหม่ จากนั้นแพร่ขึ้นไปที่ประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

Image

ภาพเขียนที่ผนังถ้ำที่ผาแต้ม

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Tue Sep 07, 2010 3:47 pm

ตราตั้งพระครุฑพ่าห์

Image

ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑ จึงได้มีการสร้างรูป ครุฑพ่าห์ (หรือ พระครุฑพ่าห์) หมายถึง ครุฑซึ่งเป็นพาหนะ เป็นรูปครุฑกางปีก และใช้เป็นสัญลักษณ์สำคัญเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทยก็มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยว่าไทยเราได้รับลัทธิเทวราชของอินเดียที่ถือว่าพระมหากษัตริย์คืออวตาร ของพระนารายณ์ ดังนั้น ครุฑซึ่งเป็นผู้มีฤทธิ์มากและเป็นพาหนะของพระนารายณ์ จึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ ดังที่ปรากฏอยู่ในดวงตราหรือพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ประจำแผ่นดิน ประจำราชวงศ์ และประจำรัชกาล เป็นต้น

ImageImage

ซึ่งจากการที่เราใช้ตราครุฑเป็นพระราชลัญจกรสำหรับประทับหนังสือราชการแผ่นดินที่เป็นพระบรมราชโองการ และใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ประทับหนังสือราชการแผ่นดินมาแต่โบราณกาล ต่อมาจึงได้มีการใช้ ตราครุฑ เป็นหัวกระดาษของหนังสือของราชการทั่วๆไปด้วย เพื่อให้ทราบว่างานนั้นเป็นราชการ ส่วนรูปครุฑที่เป็นธงแทนองค์พระมหากษัตริย์นั้นเรียกว่า ธงมหาราช เป็นรูปครุฑสีแดงอยู่บนพื้นธงสีเหลือง เริ่มใช้ในสมัยรัชกาลที่ 4

ธงมหาราชนี้เมื่อเชิญขึ้นเหนือเสา ณ พระราชวังใดแสดงว่าพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ ณ ที่นั้น สำหรับครุฑที่ปรากฏอยู่ในขบวนเรือหลวงก็มีอยู่ 3 ลำคือเรือครุฑเหินเห็จ เป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีแดงยุดนาค เรือครุฑเตร็จไตรจักรเป็นหัวโขนรูปพญาครุฑสีชมพูยุดนาค และ เรือนารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เป็นเรือที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

Image

นอกเหนือจากการที่ตราครุฑปรากฏในส่วนราชการต่างๆแล้ว ในภาคเอกชนก็สามารถรับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ตราครุฑหรือตราแผ่นดิน ในกิจการได้ด้วย โดยเริ่มมีมาแต่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเดิมเป็นตราอาร์ม โดยมีข้อความประกอบว่า โดยได้รับพระบรมราชานุญาต

ต่อมาในรัชกาลที่ 6ได้เปลี่ยนตราแผ่นดินเป็นตราพระครุฑพ่าห์ การพระราชทานตรานี้ แต่เดิมถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่จะพระราชทานตามพระราชอัธยาศัย ผู้ได้รับนอกจากจะเป็นช่างหลวง เช่น ช่างทอง ช่างถ่ายรูป เป็นต้นแล้ว ก็มักจะเป็นผู้ประกอบกิจการค้ากับราชสำนักและเป็นประโยชน์ต่อราชการงานแผ่นดิน

ตราพระราชลัญจกร พระครุฑพ่าห์ ในรัชกาลปัจจุบัน
Image

ปัจจุบันการขอพระราชทานตราตั้งนี้ต้องยื่นคำขอต่อสำนักพระราชวัง เพื่อพิจารณานำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ซึ่งตราตั้งนี้ถือเป็นของพระราชทานเฉพาะบุคคล สิทธิรับพระราชทานและการใช้เครื่องหมายนี้จะสิ้นสุดเมื่อสำนักพระราชวังเรียกคืนเนื่องจากบุคคล ห้างร้าน บริษัทที่ได้รับพระราชทานฯ ตาย หรือเลิกประกอบกิจการหรือโอนกิจการให้ผู้อื่น หรือสำนักพระราชวังเห็นสมควรเพิกถอนสิทธิ

Image
Image
Image
Image
Image
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Tue Sep 07, 2010 5:57 pm



จุดกำเนิดบทเพลงพระราชนิพนธ์
บนจานเสียงตรากระต่าย


Image
Image

....ห้าง ต.เง๊กเชวน จานเสียงตรา "ตรากระต่าย"
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้นำเพลงพระราชนิพนธ์เพลงสายฝน - ยามเย็น - ชตาชีวิต - ใกล้รุ่ง - ดวงใจกับความรัก - แสงเทียน
ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ อัดลงในจานเสียงออกจำหน่าย
ปันผลกำไรส่งไปบำรุง โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี
เพื่ออุทิศส่วนกุศลวายแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

Image
Image
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Sun Sep 26, 2010 5:51 am

ย้อนอดีตไปกับตำนานรถสามล้อ

Image
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8
ทรงประทับรถพระที่นั่งสามล้อ
ทอดพระเนตรงานฉลองรัฐธรรมนูญ
ณ พระราชอุทยานสราญรมย์
8 ธันวาคม 2481

Image

รถตุ๊กตุ๊กหรือชื่อเรียกทางราชการว่า "รถสามล้อเครื่อง"
ที่เราทุกคนรู้จักคุ้นเคยกันดี เริ่มเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรกราวๆ ปี 2503
โดยนำเข้ามาจากหลายประเทศด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากประเทศญี่ปุ่น

ในยุคแรกๆของรถตุ๊กตุ๊กมีทางให้ผู้โดยสารขึ้นลง2ด้านแต่ต่อมาเพื่อความปลอดภัย ของผู้โดยสารเลยกำหนดให้ปิดทางขึ้นลงด้านขวาของตัวรถเหลือทางขึ้นลงเพียง ด้านเดียว

กว่าจะมาเป็นรถตุ๊กตุ๊กได้อย่างทุกวันนี้ มีวิวัฒนาการจากการนำรถสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลงโดย เอามาต่อหลังคาเพิ่มไว้สำหรับนั่งโดยสารและขนของได้

แต่พอช่วงปี 2508 รถตุ๊กตุ๊กก็เกือบจะต้องอันตรธานหายไปจากเมืองไทยเพราะทางราชการเตรียมจะยุบ เลิกโดยเห็นว่าเป็นรถที่มีกำลังแรงม้าต่ำ แล่นช้า เกะกะกีดขวางทางจราจร

แต่สุดท้ายก็ต่อสู้ยืนหยัดอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรถตุ๊กตุ๊กยังถือเป็นรถที่ต้องถูกจำกัดจำนวน โดยปี 2530 ทางราชการก็ออกกฎห้ามจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กรับจ้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และนครราชสีมาแต่อนุโลมให้กับรถตุ๊กตุ๊กส่วนบุคคลที่นำไปประยุกต์ใช้งาน เฉพาะอย่างได้

ทำให้ปัจจุบันมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่บนท้องถนนใน กรุงเทพฯ รวมกันประมาณ 7,405 คันเท่านั้น และถ้ารวมๆ กันทั้งประเทศ จะมีรถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งอยู่ประมาณ 3 หมื่นกว่าคัน

นอกจากคนไทยจะเริ่มประกอบรถตุ๊กตุ๊กใช้ในประเทศได้เองแล้ว ยังผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ อินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาทแถมยังกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยอีกด้วย

นี่เองเลยกลายเป็นที่มาของชื่อเรียก "ตุ๊กตุ๊ก" เพราะเดิมทีชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองไทย ไม่รู้จะเรียกรถสามล้อเครื่องว่าอะไร เลยอาศัยเรียกชื่อตามเสียงท่อไอเสียของรถ กลาย เป็นชื่อ "รถตุ๊กตุ๊ก" ติดปากมาถึงวันนี้

Image

"รถสามล้อถีบ" หรือ "สามล้อปั่น"
รถสามล้อ ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยประมาณปี 2476 ที่จ.นครราชสีมา โดย น.อ. เลื่อน พงษ์โสภณ ได้ นำ "รถลาก" หรือ "รถเจ๊ก" มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ทำให้แล่น ได้เร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า และยังปลอดภัยเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯในสมัยนั้น

การถือกำเนิดของรถสามล้อ

พ.ศ.2476 "รถสามล้อ" ถือกำเนิดขึ้นในประเทศ ไทยเป็นครั้งแรกที่ จ.นครราชสีมา โดย นาวาอากาศเลื่อน พงษ์โสภณ นำรถลาก หรือรถ เจ็ก มาดัดแปลงร่วมกับจักรยาน ถือเป็นต้นแบบของรถสามล้อที่ใช้รับผู้โดยสารแพร่หลายไปทั่วประเทศ ต่อมามีผู้นำจักรยานมาเพิ่มล้อและกระบะพ่วงเข้าที่ด้านข้าง ติดตั้งเก้าอี้ หวายยึดแน่นกับกระบะ ออกวิ่งรับจ้าง นับเป็นต้นแบบของ "สามล้อพ่วงข้าง" ซึ่งปัจจุบันยังใช้อยู่ในจังหวัดภาคใต้

เพื่อทุ่นแรงและสามารถรับส่ง ผู้โดยสารได้ในระยะที่ไกลขึ้น นักประดิษฐ์ชาวไทยได้ดัดแปลงนำเครื่องจักรยานยนต์มาติดกับรถสามล้อแบบที่ใช้ คนถีบได้รับความนิยมแพร่หลายเพราะนอกจากไปได้ในระยะทางไกลกว่าแล้ว ความรวดเร็วก็เป็นส่วนสำคัญ ทุกวันนี้ "สามล้อเครื่อง" ยังเกลื่อนเมือง ตามด้วย "ซาเล้ง" หรือสามล้อแดง ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ส่งสินค้าที่มีน้ำหนักไม่มาก ระยะทางไม่ไกลนัก เป็นสามล้อใช้แรงถีบ ผู้ขับขี่อยู่ด้านหลังกระบะบรรทุก

"รถตุ๊กตุ๊ก"
กำเนิดจากการนำสามล้อเครื่องกระบะบรรทุกจากญี่ปุ่นเข้ามาดัดแปลงเป็นรถนั่งโดยสาร เมื่อ พ.ศ.2503 เพื่อทดแทนรถสามล้อถีบซึ่งถูกห้ามวิ่งใน เขตกรุงเทพฯ ทุกวันนี้เราผลิตได้เองแล้ว และส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศด้วย ในนาม "TUK-TUK" สามล้อตุ๊กตุ๊กมีบริการทั่วไปทุกจังหวัดและเป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่งของนักท่องเที่ยว

Image
"รถตุ๊กตุ๊กสองแถว"
วิวัฒนาการมาจากตุ๊กตุ๊กธรรมดา ดัดแปลงเบาะนั่งด้านหลังเป็นที่นั่ง สองแถวเพื่อรับผู้โดยสารได้จำนวนมาก พบเห็นได้ตามแหล่งชุมชนอย่างท่ารถโดยสาร ท่า เรือข้ามฟาก ตลาดสดและด้วยฝีมือไทยประดิษฐ์ ได้มีการนำรถตุ๊กตุ๊กธรรมดามาดัดแปลงประดับตกแต่งสวยงามทั้งตัวถัง วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระบังหน้า เครื่องยนต์เปลี่ยนจาก 2 เป็น 4 จังหวะ จากตุ๊กตุ๊กธรรมดาก็กลายเป็น "ตุ๊กตุ๊กเดอลุกซ์" บริการในจังหวัดภาคตะวันออก

Image
"สามล้อสกายแล็บ"
เมื่อครั้งสถานีอวกาศ"สกายแล็บ"เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก คนไทยร่วมฮิตด้วย การประดิษฐ์สามล้อและเรียกชื่อตามสมัยนิยมว่า"สามล้อสกายแล็บ"เป็นสามล้อที่ใช้กำล้งเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ ที่นั่งโดยสารตอนหลังเป็นสองแถว จุดเด่นคือสีสันสดใสและช่วงหน้าเชิดสูง

Image
ไก่นา
เมื่อมอเตอร์ไซด์รับจ้างถือกำเนิดและแพร่หลายไป ทุกท้องถิ่นทั่วประเทศก็มีแนวความคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะรับส่งผู้โดยสารได้ ครั้งละหลายๆคน รถสามล้อแบบมอร์เตอร์ไซด์พ่วงข้าง จึงได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น เมื่อไม่ต้องการ ออกรับจ้างผู้โดยสาร ก็สามารถถอดเฉพาะ ตัวถังรถ ขับขี่ไปทำกิจธุระได้ เรียกรถสามล้อแบบมอเตอร์ไซด์พ่วงข้างว่า " ไก่นา" พบเห็นได้ทั่วไปแถวภาคใต้

Image
ซาเล้ง
อาชีพรับซื้อของเก่าประเภทขวดเปล่า กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือเศษโลหะ
ซึ่งแต่เดิมเรามักจะเห็นภาพของชาวจีนชรา
พร้อมด้วยหาบเข่งคู่บนบ่าเดินร้องประกาศไปตามบ้าน
แต่ปัจจุบัน จากการนำเอาซาเล้งหรือสามล้อแดงมาดัดแปลงต่อกระบะให้ยาวขึ้น
นำบางส่วนของรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กมาเชื่อมต่อเข้า
ก็เกิดสามล้ออีกประเภทหนึ่งเข้ามาแทนหาบเข่งคู่

Image
สัมมาอาชีพ
จากจุดกำเนิดเมื่อ พ.ศ.2476 สายทางสามล้อไทย
ได้ดำเนินและมีวิวัฒนาการตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมา
โดยลำดับ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นสามล้อประเภทที่ยังใช้แรงคน
หรือกำลังเครื่องยนต์ ก็ได้ถูกดัดแปลงมาใช้เพื่อการประกอบสัมมาชีพอย่างกว้างขวาง
ไม่ว่าจะเป็นขนมถาด ไอศกรีม ผลไม้ดอง หรือลูกชิ้น-ไส้กรอก

Image
ตุ๊ก-ตุ๊ก เดอร์ลุกซ์
ด้วยสายเลือดของนักประดิษฐ์ไทย ได้มีการนำรถตุ๊กตุ๊กธรรมดา มาดัดแปลงและประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง วงล้อ เบาะนั่ง แผงหน้าปัด กระจังหน้า รวมทั้งเครื่องยนต์ที่เปลี่ยนจาก เครื่อง 2 จังหวะ เป็น 4 จังหวะ จากตุ๊ก-ตุ๊กธรรมดา ก็กลายเป็นตุ๊ก-ตุ๊กเดอลุกซ์ ซึ่งมีวิ่งบริการในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกและจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน

Image
สามล้อเครื่องรถยนต์
ในยุคที่เครื่องยนต์ใช้แล้วราคาถูกลง ก็นำเครื่องรถยนต์เหล่านี้ ไปดัดแปลง ออกแบบติดตั้งใน รถสามล้อเครื่องเพื่อเพิ่มสมรรถนะ ทั้งในด้านกำลังเครื่องยนต์ ความเร็ว สะดวกด้วย ความกว้างของที่นั่งโดยสาร และพื้นที่สำหรับบรรทุกสิ่งของ

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby อานุง อัน รามา » Wed Oct 20, 2010 10:25 pm

ช่วงนี้น้ำกำลังท่วมหลายพื้นที่ เห็นรายการข่าวข้นคนข่าว เอาคลิปน้ำท่วม กทม ในอดีต มาให้ดูกัน :mrgreen:
คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์
กฎแห่งกรรมไม่ต้องวีซ่า กฎแห่งกรรมไม่ยกเว้นหน้าอินทร์หน้าพรหม กฎแห่งกรรมไม่มีวันหยุด กฎแห่งกรรมเที่ยงธรรมตลอดกาล
ว.วชิรเมธี

เศรษฐกิจพอเพียง
http://www.sufficiencyeconomy.org/
User avatar
อานุง อัน รามา
 
Posts: 546
Joined: Thu May 13, 2010 1:10 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Fri Oct 22, 2010 6:28 am

ขอบคุณ....คุณ อานุง อัน รามา สำหรับคลิปน้ำท่วมค่ะ :D


น้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ.2485 พายเรือกันทั่วเมือง
ผลงานของ นายแท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง(ภาพยนตร์และละคร) ซึ่งเป็นการบันทึกภาพเหตุการณ์น้ำท่วม สถานที่สำคัญ เช่น สถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเยาวราช อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภูเขาทอง ถนนราชดำเนิน รวมถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม

Image

Image

Image
Last edited by noway2know on Fri Oct 22, 2010 7:16 am, edited 2 times in total.

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Fri Oct 22, 2010 7:07 am

Image

น้ำท่วมใหญ่ปี 2485 ทำให้ประชาชนต่างต่างออกมาพายเรือกันอย่างคึกคักที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า "...ด้วย ปรากตว่า ฝนตอนต้นรึดูพุทธสักราช 2485 ตกมากทางภาคพายัพและภาคอิสาน เปนเหตไห้น้ำท่วมเรือกสวนไร่นา และบ้านเรือนราสดรทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคอิสาน ไนระหว่างเดือนกันยายน ตุลาคม และพรึสจิกายน เปนอุทกภัยครั้งสำคันไนประวัติการน์น้ำท่วมของเมืองไทยที่ทำความเสียหายไห้ แก่ประชาชนพลเมืองเปนหย่างมาก..."

ส่วนหนึ่งของบทนำในหนังสือ "เหตุการน์น้ำท่วม พ.ส.2485" ของ กระซวงมหาดไทย (ภาษาที่ใช้เป็นภาษาตามต้นฉบับของหนังสือ ซึ่งเป็นภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยนั้น)

จากข้อความข้างต้นในหนังสือที่กระทรวงมหาดไทยได้ทำการบันทึกไว้ ได้บ่งบอกให้เห็นว่าปี พ.ศ. 2485 นับเป็นหนึ่งในปีแห่งประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทย ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ปรากฏอยู่ตามบันทึกและเอกสารต่างๆ มากมาย โดยอุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2485 นั้นเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อครั้งที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

สถานการณ์ ตอนนั้นน้ำท่วมหลายจังหวัดในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ปิง วัง ยม น่าน ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง และทางภาคอีสานและภาคใต้ ซึ่งถือว่าเป็นปีหนึ่งที่มีน้ำท่วมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ก่อนที่จะมีการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์

Image

สำหรับกรุงเทพฯ เมืองที่มีชัยภูมิเอื้อต่อการถูกน้ำท่วม แน่นอนว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2485 ได้เปลี่ยนโฉมกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร (ของคนยุคนั้น) ให้กลายเป็นทะเล (น้ำจืด) ขนาดใหญ่ ที่ในหลายๆ พื้นที่มีคนนำเรือออกมาพายกันเป็นทิวแถว

ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ในครั้งนั้น คนที่มีอายุในวัยหลัก 7 หลายคนๆ ยังจำได้ดี เพราะในขณะที่ผู้ใหญ่ (สมัยนั้นที่ปัจจุบันต่างก็อำลาโลกไปกันหมดแล้ว) หลายๆ คนรู้สึกเป็นทุกข์และเดือดร้อนกับน้ำท่วม แต่ว่าพวกเขาที่ช่วงนั้นอยู่ในวัยเด็กกลับรู้สึกสนุกต่อการออกพายเรือเล่น น้ำ และทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำอีกสารพัดอย่าง

Image
ลุงประพิมพ์ อิศรเสนา อายุ 78 ปี
ที่เป็นหนึ่งในผู้อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งในปี 2485

ลุงประพิมพ์มีอายุ 15 ปี รำลึกภาพในยุคนั้นให้ฟังว่า

"กรุงเทพฯ ช่วงนั้นมองไปทางไหนก็เห็นแต่ท้องน้ำ ที่ถนนพระอาทิตย์ (บริเวณบ้าน) ของลุงประพิมพ์เดินไม่ได้เลย ต้องใช้เรือสัญจรไปมา บางคนก็ถือโอกาสหารายได้ด้วยการรับจ้างเข็นเรือ เวลาจะไปไหนมาไหนต้องใช้เรืออย่างเดียวเพราะรถวิ่งไม่ได้ โดยช่วงแรกๆ เห็นคนลำบากกันมาก ไปไหนมาไหนไม่ได้เพราะเป็นอุปสรรคในการเดินทาง แต่เมื่อเกิดขึ้นนานเราก็เริ่มปรับสภาพได้ และหาทางไปใช้เรือแทน"

ส่วน ลุงจุลทรรศน์ได้เล่าเสริมว่า แม้ว่าน้ำจะท่วมแต่ว่าก็ยังมีคนเอาของมาขาย ข้าวสารก็ยังไม่แพงมาก ส่วนคนกรุงเทพฯ สมัยนั้นก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์น้ำท่วมได้ เพราะว่าที่ผ่านมามีชีวิตผูกพันกับสายน้ำมาตลอด พอถึงหน้าน้ำก็จะมีการเตรียมเสบียงพวกข้าวสาร อาหารแห้ง ปลาเค็ม ปลาแห้ง เอาไว้กินที่บ้าน ไม่เหมือนกับทุกวันนี้

นอกจาก เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2485 จะสร้างความเสียหายให้แก่บ้านเมืองเป็นอย่างมากแล้ว ในช่วงนั้นเมืองไทยยังต้องประสบกับสภาวะคับขัน เพราะต้องร่วมทำสงครามมหาเอเชียบูรพา ด้วยสาเหตุนี้จึงมีคนบันทึกเหตุการณ์ปี 2485 เอาไว้ว่าเป็นปีที่ "ถึงแก่ทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง"

Image

Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby Robert De Niro » Thu Dec 02, 2010 9:02 am

ชอบวิดิโอสุดท้ายของโพสแรก ชอบดูชีวิตคนเมื่อก่อน มันเหมือนภาพสะท้อนนะครับ
วันนึงภาพชีวิตในวันนี้ก็จะเป็นภาพอดีตเช่นเดียวกัน

บอร์ดการเมืองในอีก 50 ปีข้างหน้า อาจจะทึ่งที่เห็นพวกเราโพสกันด้วยข้อความจาก
การพิมพ์ผ่านคีย์บอร์ดก็ได้
กองกำลังไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (...ใส่แว่นสีฟ้า)
User avatar
Robert De Niro
 
Posts: 6093
Joined: Sat Nov 08, 2008 11:27 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Fri Dec 10, 2010 10:44 pm

เรือนไทยในอดีต

Image

การสร้างเรือนไทยในอดีตส่วนใหญ่เป็นการสร้างเพื่ออยู่อาศัยโดยใช้ไม้จากผืนป่าที่แต่ละคนจองไว้ สำหรับเป็นที่ทำกิน เรือนไทยสมัยก่อนมีลักษณะเป็นบ้านไม้ ใต้ถุนสูง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกและยังช่วยป้องกันน้ำท่วม เนื่องจากคนสมัยก่อนนิยมปลูกบ้านใกล้แหล่งน้ำเพราะจะได้ประโยชน์ทั้งใช้สอย ในครัวเรือนเพื่อการเพาะปลูกหรือการคมนาคมขนส่ง

นอกจากนั้นยังนิยมปลูกบ้านกันเป็นหมู่ โดยขยายออกไปจากเรือนเดิมเนื่องจากลูกหลานของแต่ละบ้านเมื่อเติบโตมีครอบครัวแล้ว พ่อแม่ก็จะปลูกบ้านเรือนให้อยู่ในบริเวณเดียวกันลักษณะการสร้างบ้านเช่นนี้ นับเป็นภูมิปัญญาอันชาญฉลาดของคนสมัยก่อนอย่างเห็นได้ชัด เพราะนอกจากจะมีบ้านเรือนเหมาะกับสภาพอากาศ อยู่ในทำเลที่อุดมสมบูรณ์แล้ว การที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มยังเป็นการแสดงความรักความผูกพันที่พ่อแม่มีต่อลูก

Image

ในอดีตเมื่อพ่อแม่เสียชีวิตลูกหลานจะทำการรื้อเรือนพ่อแม่ถวายวัด เนื่องจากคนไทยสมัยก่อนไม่นิยมนำเรือนคนตายมาอยู่อาศัย ต่อมาไม้มีราคาแพงขึ้น การรื้อเรือนถวายวัดก็เริ่มเปลี่ยนไป เป็นการรื้อเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวแทน กระทั่งราวปี พ.ศ.๒๕๒๐ ได้เกิดแหล่งรับซื้อเรือนไทยเก่าอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ด้วยเหตุผลที่ว่าไม้สักอันเป็นไม้หลักในการปลูกเรือนไทยสมัยเก่ามีราคาสูง อีกทั้งหายาก

ราคาไม้สักมีราคาสูงขึ้นอย่างน่าตกใจสำหรับคนที่มีฐานะต่ำต้อยทำให้การรื้อเรือนไทย ซึ่งเดิมจะรื้อเฉพาะเรือนพ่อแม่ที่เสียชีวิตแล้วขยายผลไปถึงเรือนคนที่ฐานะยากจน โดยส่วนใหญ่จะรื้อเพื่อนำเงินมาสำหรับทำไร่ทำนา แต่ในสมัย ปัจจุบันการสร้างเรือนไทยแบบสมัยเก่าแทบไม่มีให้เห็นเพราะช่างทำเรือนไทย พลอยลดน้อยจนแทบสูญหายตามไปด้วย

Image

บ้านทรงไทยสมัย รัชกาลที่ ๑
รัตนโกสินทร์ที่สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ รับสืบทอดวัฒนธรรมการสร้างเรือนมาจากอาณาจักรศรีอยุธยาไม่ผิดเพี้ยน บ้านทรงไทยภาคกลางในยุคนั้นมักเป็นเรือน ๓ ห้อง ยกใต้ถุนสูงพอเดินลอดได้ มีบันไดทอดลงสู่ท่าน้ำเพื่อสะดวกในการใช้น้ำทั้งดื่ม อาบและใช้สอยภายในบ้าน

ImageImage

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ ๓

มาถึงสมัยรัชกาลที่ ๒ และ รัชกาลที่ ๓ เรือนไทยก็ยังไม่ต่างจากสมัยรัชกาลที่ ๑ เท่าไร ตัวอย่างแรกคือตำหนักแดง ของสมเด็จพระสุริเย-นทรามาตย์ พระมเหสีในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

Image

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ ๔

อิทธิพลตะวันตกในรัชกาลที่ ๔ ส่งผลต่อที่อยู่อาศัยอย่างมาก บ้านทรงไทยแบบใหม่เปลี่ยนรูปจากเดิมไปเป็นแบบฝรั่ง เริ่มมีบ้านก่ออิฐ ถือปูนชั้นล่าง แต่ชั้นบนเป็นไม้ มีระเบียงโปร่งรอบชั้นบนและหลังคาปั้นหยา

Image

บ้านทรงไทยหลังคาปั้นหยา สมัยรัชกาลที่ ๕
ในรัชกาลที่ ๕ เรือนหลังคาปั้นหยาเริ่มมีกันหนาตาแทนบ้านทรงไทยโบราณ อย่างสมัยต้นรัตนโกสินทร์บ้านไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ชั้นเดียวหรือสองชั้นนิยมสร้างประยุกต์แบบตะวันตกเข้ากับไทย คือสร้างด้วยไม้ยกพื้นกันน้ำท่วมแต่ใต้ถุนเตี้ยกว่าบ้านไทยเดิม

Image

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ ๖
รัชกาลที่ ๖ เป็นยุคบ้านเมืองสงบราบรื่น เศรษฐกิจดี ชาวเมืองนิยมความประณีตงดงาม ประกวดประชันความหรูหราของเรือนแบบตะวันตกได้รับอิทธิพลจากบ้านวิกตอเรียของอังกฤษ โดยเฉพาะการตกแต่งด้วยลายฉลุที่เรียกว่าขนมปังขิง (gingerbread) และเล่นรูปทรงตัวห้องมุข หกหรือ แปดเหลี่ยม

Image

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ ๗
พอมาถึงรัชกาลที่ ๗ ที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง บ้านทรงไทยเริ่มลดความหรูหราเป็น เรียบง่าย ตัดลายฉลุฟุ่มเฟือยออกไป หลังคานิยมจั่วตัด

Image

บ้านทรงไทยสมัยรัชกาลที่ ๘
ในรัชกาลที่ ๘ รูปทรงบ้านทรงไทยเก๋ไก๋ทันสมัยแบบตะวันตกสมัยศตวรรษที่ ๒๐ เป็นบ้านสองชั้น แม้ว่าใช้ไม้ซึ่งเป็นวัสดุหาง่ายของไทย แต่หลังคาก็เล่นแบบซ้อนกันหลายชั้น มีหน้าต่างบานเกล็ดและกระจกสีเหนือหน้าต่างแบบฝรั่ง

Image

บ้านทรงไทยประยุกต์ในสมัยปัจจุบัน
การปลูกสร้างบ้านเรือนไทยสำหรับคนไทยในยุคปัจจุบัน จะประยุกต์อาคารบ้านเรือนไทยให้เข้ากับประโยชน์ใช้สอย วัสดุหาง่าย ทั้งนี้เพื่อการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัยโดยสร้างเรือนไทยให้เหมือน ตามแบบดั้งเดิม ในส่วนของรูปแบบที่จะแสดงถึงเอกลักษณ์ซึ่งมีลักษณะเป็นไทย ที่สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศของประเทศ

ปัจจุบันเรือนไทยมีน้อยลง ส่วนมากจะพบเป็นบ้านปูนเป็นตึกสูง มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ก็ยังมีผู้คนอีกจำนวนหนึ่ง ที่ยังหลงรักในเสน่ห์เรือนไทย แม้เรือนไทยปัจจุบัน จะกลายเป็นเรือนเดี่ยว ขนาดเล็กลง ไม่ใช่แบบอย่างเรือนหมู่ในอดีต

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am

Re: VDO สยาม ถ่ายเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ไม่น่าเชื่อที่มีโอกาสได้ดู

Postby noway2know » Fri Dec 10, 2010 10:52 pm

เรือนไทยที่พบในภาคใต้
Image

เรือนกาแล ทางภาคเหนือ
จะเรียกว่าเรือนไทยล้านนา หรือเรือนกาแลก็ได้
มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอยู่บนยอดจั่ว เป็นไม้กากบาทไขว้กัน
Image
Image
Image

เรือนริมปิง ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
Image

เรือนที่ดัดแปลงมาจากยุ้งข้่าวในอดีต
Image
Image

รักในหลวง หวงแผ่นดิน
เกลียดเสื้อแดง จะรัฐบาล ม.แม้ว หรือ ม.มาร์ค ก็น่าผิดหวัง เลวพอๆกัน
ไปม๊อบมา ไปก็บอกว่าไป..ไม่ใช่ประเภท....ตุลาคมก็อยู่นะ(โกหก)
http://www.baanpud.net/forum/index.php....http://www.prachathon.org/forum/
User avatar
noway2know
 
Posts: 7750
Joined: Thu May 20, 2010 12:19 am


Previous

Return to ห้องสมุด



cron