น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

คลังปัญญา กระทู้ปักหมุดเดิม เรื่องสำคัญจัดเก็บที่นี่

น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby thyrocyte » Fri Dec 03, 2010 10:01 pm

ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ลองโพสต์ดูสักกระทู้สองกระทู้ อยากฟังความเห็นสมาชิกในบอร์ดนี้ระครับ ผิดพบาดอย่างไรขออภัยด้วย

กระทู้แรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจศาลรธน.ในการวินิจฉัยระยะเวลาการฟ้องคดีหรือายุความนะครับ อาจจะถกกันไปแล้วในบอร์ดนี้ พอดีผมไม่มีเวลาค้น หากซ้ำขออภัยด้วย เป็นกระทู้ที่ลงไว้ในบอร์ดราชดำเนินครับ แต่อยากเอามาถามความเห็นเพื่อนที่นี้ ดังนี้
ในเวลานี้มีการถกกันมากพอสมควร โดยกล่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ควรยกการพ้นระยะเวลาการฟ้องหากคู่กรณีไม่ยกขึ้นมาก่อนเองกันพอสมควรโดยมีการให้ความเห็นกันว่า "ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอยุบพรรคผู้ถูกร้อง นั้น พรรคผู้ถูกร้องไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจึงไม่มีอำนาจยกเรื่องอายุความมาเป็นเหตุยกคำร้องได้" ทั้งนี้ได้มีการหยิบยกประมวลกฏฏฆมายแพ่งมาอ้าง ในมาตรา 193/29


ในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้หลายวันก่อนสรยุทธิก็ได้ถามอจ.ปริญญา แต่อาจารย์ได้ตอบแย้งไว้แล้วว่า ในศาลพิจารณาคดีกฎหมายมหาชนนั้นศาลสามารถหยิบยกเรื่องเกี่ยวกับอายุความขึ้นเองได้ นั้นคือหมายถึงศาลรัฐธรรมนูญสามารถหยิบยกเรื่องอายุความขึ้นมาเองได้ ซึ่งเรื่องอาจสร้างความสงสัยสำหรับบางท่าน ในกระทู้นี้จะพยายามอภิปรายในเรื่องนี้เท่าที่พอจะทำได้ดังนี้

เรื่องการที่ศาลสามารถจะหยิบยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องคดีชึ้นมาเองได้หรือไม่นั้น มาจากการที่ศาลรธน.ได้อ้างข้อกำหนดในมาตรา ๙๓ ของพรบ.พรรคการเมือง 2550 ที่ว่า “เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนโดยความ เห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ความปรากฏต่อนายทะเบียน” ในเวลานี้ ความตอนนี้ถูกเรียกกันโดยคนทั่วไปว่า “อายุความ” ซึ่งเป็นคำที่สื่อเพื่อให้เกิดการเข้าใจง่ายๆแก่ประชาชนทั่วไป

แต่อย่างไรก็ดี คำว่า”อายุความ” ที่ประชาชนหรือสื่อมวลชนพูดถึงนี้ จะไปตรงกับอายุความในคดีอาญา หรือตรงกับอายุความในคดีแพ่ง หรือเป็นเพียง “กำหนดเวลาในการฟ้องคดีตามบัญญัติของกฏหมาย” ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย นั้นเป็นเรื่องที่ขออภิปรายในกระทู้นี้ ดังนี้

1.อายุความในคดีอาญานั้นหมายถึงระยะเวลาที่ผู้กระทำความผิดได้กระทำความผิดนัยไปจนถึงเวลาที่ผู้กระทำผิดมาปรากฏตัวต่อศาล หากเลยระยะเวลานี้แล้วก็จะไม่สามารถฟ้องผู้ถูกกล่าวหาได้ อายุความในคดีอาญาจึงไม่น่าจะใช่อายุความที่ประชาชนทั่วไปเข้าใจกันในเวลานี้ ในกรณีมาตรา 93 นี้

2.อายุความในคดีแพ่งนั้นบัญญัติไว้ในลักษณะ 6 เรื่องอายุความ หมวดที่ 1 บททั่วไป ในมาตราแรกของหมวดคือ มาตรา 193/9 บัญญัติว่า “สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ” โดยสิทธิเรียกร้องในที่นี้หมายถึงสิทธิเรียกร้องระหว่างบุคคลต่อบุคคล ไม่ใช่บุคคลต่อศาล ดังจะมีฏีกาที่อธิบายเรื่องนี้ต่อไป และในประมวลกฏหมายแพ่งยังมีบัญญัติในมาตรา193/29 ว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” และตรงนี้เองที่มีผู้พยายามนำมาอ้างว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถหยิบยกมาตรา 93 ในพรบ.พรรคการเมืองที่กำหนดเกี่ยวกับเงื่อนเวลาไว้ได้เพราะขัดต่อกฏหมายแพ่งมาตรานี้

3.ส่วน“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” ที่มีกำหนดในกฎมายต่างๆที่เป็นกฎหมายมหาชนนั้นเหมือนดังทีมีกำหนดเป็นเงื่อนเวลาในมาตรา 93 ของพรบ.พรรคการเมือง2550 นั้น ศาลฏีกาได้มีแนวคำวินิจฉัยไว้ว่า ไม่ใช่ “อายุความการเรียกร้องสิทธิ” นั้นคือหมายถึงได้ว่าไม่ใช่อายุความตามกฎหมายแพ่งซึงเป็นกฏฆมายเอกชน (กฎหมายมหาชนหมายถึงกฎหมายที่มีข้อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับบุคคล เช่น พรบ.พรรคการเมือง พรบ.แรงงาน กฏหมายการปกครองต่าง ส่วนกฎหมายเอกชนที่ศาลแพ่งศาลอาญาพิจารณานั้น หมายถึงกฏหมายที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา)


4.ตามแนวทางการวินิจฉัยฏีกาที่ 5033/2549 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541(เป็นกฎหมายมหาชน) มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า “เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 และ ถ้านายจ้าง ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง ซึ่งกำหนดเวลาให้นำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ”
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=5855

(ความในฏีกานี้วินิจฉัยว่า หากลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ไม่พอใจในคำสั่งนั้น ให้นำคดีขึ้นสู่ศาลได้ภายใน 30 วันนับแต่วันดำรับคำสั่ง หากพ้นจากนั้นไป ก็ไม่อาจนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ แต่ก็ไม่เสียสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายอื่น นั้นคือหากมีกฎหมายอื่นบัญญัติสิทธิเรียกร้องอื่นๆไว้ ก็ยังสามารถฟ้องร้องได้)

ดังนั้น"กำหนดเวลาในการฟ้องคดี"จึงไม่ใช่อายุความและไม่เข้าบังคับกฏหมายแพ่งมาตรา 193/29 ทีมีการอ้างกัน

5. ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 6 เรื่องอายุความ หมวดที่ 1 บททั่วไป ในมาตราแรกของหมวดคือ มาตรา 193/9 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฏหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ

ดังนั้นอายุความในกฏหมายแพ่งนั้นหมายถึงสิทธิเรียกร้องเอาเรื่องกันระหว่างบุคคล หรือบุคคลกับนิติบุคคล ว่าล่วงเวลาไปนานเท่าไรแล้ว จึงเอาเรื่องระหว่างกันไม่ได้ อันเป็นลักษณะของกฏมายเอกชน ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องในทางศาล ดังคำวินิจฉัยกับฏีกาที่ 5033/2549 ข้างบน

6.ดังนั้น จึงไม่สามารถอ้างกฎหมายแพ่งตามมาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” มาใช้กับศาลรัฐธรรมนูณได้ เพราะมาตรา 93 ของพรบ.พรรคการเมือง นั้นเป็นกฎหมายมหาชน บัญญัติเรื่อง“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” ไว้ 15 วัน กำหนดเวลาการฟ้องคดี มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใดๆตามกฏหมายแพ่ง จึงนำกฏหมายแพ่งมาใช้ตรงนี้ไม่ได้ ไม่เข้าบังคับของ กฎหมายแพ่งตามาตรา 193/29 (ตามนัยยะนิยาม 193/9 ของประมวลกฎหมายแพ่ง และฏีกา 5033/2549ของศาลแรงงาน)


อนึ่ง มีความแตกต่างที่สำคัญมากอีกประการระหว่างศาลแพ่ง กับศาลรัฐธรรมนูญก็คือ ศาลแพ่งนั้นเป็นศาลตามกฏหมายเอกชน และใช้การพิจารณาคดีโดยใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งในระบบนี้ศาลจะวางตัวอยู่กลางอย่างเคร่งครัด ในระบบกล่าวหานั้น ศาลจะให้คู่ความต่อสู้คดีกัน และเป็นคนนำเสนอสิ่งต่างๆ ในระบบนี้ หากสิ่งใดที่คู่คดีไม่ยกมาต่อสู้ แม้จะเป็นข้อความจริงที่มีอยู่จริงก็ตาม และแม้ศาลได้รู้ได้เห็นแล้วก็ตาม หากคู่ความไม่ยกขึ้นมาศาลแพ่งก็จะไม่ยกขึ้นมา เช่นกรณีมาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้” เพราะถือว่าคู่คดีฝ่ายที่อาจได้ประโยชน์จากการยกข้อความนั้นไม่ใช้สิทธิเอง ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในระบบกล่าวหาซึ่งศาลจะวางตัวอยู่ตรงกลางอย่างเคร่งครัด และถือว่าคู่กรณีอีกฝ่ายสละสิทธิในส่วนที่ตนพึ่งไปด้วยตนเอง

ส่วนศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นศาลกฏหมายมหาชนและใช้ระบบไต่สวน ตามระบบไต่สวน ศาลจะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเอง ศาลจะมีบทบาทในการดำเนินคดีอย่างสูง ผิดกับในระบบกล่าวที่ศาลมีบทบาทน้อยมากเพราะจะให้คู่ความเป็นคนนำเสนอสิ่งต่างๆ แต่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการดำเนินคดี เช่น การสืบพยาน การดำเนินการต่างๆ ตลอดจนถึงการวินิจฉัยสรุปประเด็นในศาลจึงยืดหยุ่นกว่าระบบกล่าวหา ที่จะพึงพาแต่การนำเสนอของคู่คดี และเนื่องจากในระบบไต่สวนนั้น เน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้นข้อความจริงใดข้อกฎหมายใด ที่มีอยู่จริง แม้หากคู่กรณีจะไม่ยกขึ้นมา แต่ศาลเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงข้อความจริงของคดี ศาลในระบบไต่สวนก็สามารถยกข้อความนั้นขึ้นมาวินิจฉัยได้

อนึ่ง ในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลจะใช้ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ซึ่งในข้อกำหนดนั้นบัญญัติไว้ในข้อ ๖ ว่า “วิธีพิจารณาตามที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ให้ใช้ระบบไต่สวน” และมีบัญญัติเพิ่มเติมไว้ว่า...บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้และไม่ขัดต่อข้อกำหนดนี้” นั้นคือศาลจะใช้การพิจารณาคดีแบบไต่สวน และประมวลกฏหมายแพ่งสามารถนำมาใช้ได้เท่าที่จะไม่ขัดต่อหลักกฏหมายนี้

ประเทศไทยเรานั้นได้มีการใช้ระบบกล่าวหาสำหรับคดีแพ่งและคดีอาญา และใช้ระบบไต่สวนในคดีที่ใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชน เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ , ศาลปกครอง , ศาลคุ้มครองแรงงาน และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=891
http://www.maephrik.com/nitiram/taisuan.doc


ดังนั้นโดยสรุป กรณีคดีพิจารณาขอยุบพรรคประชาธิปัตย์ ในทางคดีศาลวินิจฉัยว่า การยื่นฟ้องคดีของนายทะเบียนพรรคการเมืองนั้น ล่วงเลยกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดในมาตรา 93 ของพรบ.พรรคการเมือง 2550 ทำให้การยื่นฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต่อกฎหมาย เสมือนดังพ้นอายุความไปนั้น ศาลใช้อำนาจตามข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๖ ที่ว่าวิธีพิจารณาตามที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ให้ใช้ระบบไต่สวน และศาลจึงมีอำนาจที่จะชี้ข้อกฏหมายและข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงนี้ได้ แม้คู่กรณีจะไม่ยกขึ้นมาต่อสู้ก็ตาม เพราะตามระบบไต่สวน ศาลสามารถจะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเองได้ และที่สำคัญสิ่งที่ศาลวินิจฉัยในเรื่องระยะเวลาที่ล่วงเลยไปเกิน 15 วันนั้น ไม่ใช่อายุความตามกฎหมายแพ่ง แต่เป็น“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี”




ขออนุญาตให้ความเห็นต่อคุณเติ้ง1234 ด้วยความเคารพ ตามสิทธิดังนี้


1 .1 กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ เป็นอายุความหรือไม่ หรือเป็นเพียงกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร


ความเห็น - ควรเรียกว่า“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” แต่จะเรียกว่าอายุความ หรือ กำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร เพื่อความเข้าใจสำหรับคนทั่วไปก็ตามแต่ “แต่ไม่ใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง” กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กฏหมายกำหนดเช่นนั้นได้ ก็จะผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ ก็ย่อมถือว่าดำเนินการไม่ชอบด้วยบัญญัติของกฎหมาย


1.2 กรณีการกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร มีปรากฏในกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่เกินระยะเวลาที่กำหนด ฯลฯ หากถือว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นอายุความ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่ตั้งเมื่อเกินระยะเวลาที่กำหนด มิต้องกลายเป็นโมฆะหรือ?


ความเห็น-เรื่องนี้ก็ต้องว่ากันต่อไปครับ จะรีบร้อนเอามาปะปนไปทำไม หากมันไม่ถูกก็ไม่ถูก ในความเห็นผมนะ มันไม่ถูกอยู่แล้วที่ตั้งกันเกินกำหนดที่กฎหมายบัญญัติ และหากเรื่องนี้มีการ้องต่อศาล ก็อาจจะโมฆะไปได้ แต่ทางแก้มีอยู่เช่นแก้กฎหมายให้รองรับเรื่องพวกนี้เสียใหม่


2. ถ้ากำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ ถือว่าเป็นอายุความ แต่การที่ศาลรับคดีไว้พิจารณา แสดงว่าศาลได้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า "เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้"


ความเห็น-ดังที่ได้อภิปรายไว้ข้างบนแล้ว “กำหนดเวลาในการฟ้องคดี”ในกฏหมายมหาชนนั้น ไม่ใช่อายุความตามกฏหมายแพ่ง อีกทั้งกรณีที่คุณยกมานั้นเป็นกรณีของศาลแพ่งที่พิจารณาด้วยระบบกล่าวหา โดยที่หากคู่ความไม่ยกอายุความาต่อสู้ ก็เท่ากับสละสิทธิที่ตนพึ่งมี แต่กรณีศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลระบบไต่สวน ศาลจะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเอง ข้อกฏหมายและข้อเท็จจริงที่มีอยู่แม้คู่กรณีจะไม่ยกขึ้นมาต่อสู้ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจที่จะชี้ข้อกฏหมายและข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงนี้ได้ ดังในกรณีนี้ การไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 93 ก็จะมีผลให้เกิดการ “ขาดอายุความ” และในขณะเดียวกันก็คือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย” และมีผลให้กฎหมายในข้อนั้นไม่สมบูรณ์

3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นองค์กรอิสระเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อไม่มีข้อขัดแย้งกับองค์กรอื่น หรือมีการยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีสิทธิก้าวล่วงไปพิจารณาในเรื่องขั้นตอนการทำงานภายในของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ดังนั้นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องนับจากวันที่กกต.มีมติให้ยื่นคำร้องต่อศาลในครั้งหลัง คือ วันที่ 12 เมษายน 2553


ความเห็น-ศาลแจ้งอยู่แล้วว่า การที่กกต.มีการประชุมกันหลายครั้งนั้นเป็นเรื่องภายในของกกต. แต่ในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย การประชุมกกต.เมื่อ 17 ธค.นั้น ได้มีมติให้นายทะเบียน ดำเนินคดีและยื่นเรื่องต่อศาลแล้ว ตามพฤติการณ์ต้องถือว่าวันนั้นเป็นวันที่นายทะเบียนได้รับทราบเรื่องและได้รับความเห็นชอบจากกกต.และจะต้องยื่นเรื่องต่อศาลใน 15 วันนับจากวันนี้


4 ตามมาตรา93 วรรค2 ตอนท้าย ระบุว่า “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น”+


ความเห็น-
1. ในคดีนี้ คำร้องของนายทะเบียนไม่ถูกกฎหมายแต่แรกศาลไม่ยกคดีเสีย คดีจึงถูกยกไป
2. หากคำร้องของนายทะเบียนถูกต้องก็ตาม ความที่ว่า “เมื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น” หมายถึง ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาคดี แล้วเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองจริง ตามคำร้องของนายทะเบียน ศาลรัฐธรรมนูญจึงสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น

หากศาลพิจารณาแล้วไม่เห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองตามคำร้องของนายทะเบียน ก็จะไม่สั่งยุบพรรคการเมือง ความข้อนี้เป็นความจริง เพราะหากกฎหมายมีเจตนาอย่างที่คุณเติ้ง123 ว่าจริง ก็ไม่ต้องมีการไต่สวนคดี ลำพังนายทะเบียนยื่นเรื่องให้ศาล ศาลก็จะสามารถสั่งยุบได้เลย แต่กรณีไม่เป็นอย่างที่คุณเติ้ง123 สรุปแบบนั้น เพราะที่ผ่านมา ศาลล้วนแต่เปิดศาลดำเนินการไต่สวน ไม่ใช่รับความจากนายทะเบียนมาแล้วไปสั่งยุบพรรคอย่างที่คุณเติ้ง123 ว่าเลย


ดังนั้น ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดจึงขอสรุปว่า ศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นศาลพิจารณาคดีกฏหมายมหาชน และใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคดี สามารถวินิจฉัยระยะเวลาการยื่นฟ้งอของนายทะเบียนพรรคการเมืองว่า เป็นไปตามกฏหมายหรือไม่ ที่มีการอ้างกันว่า "ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอยุบพรรคผู้ถูกร้อง นั้น พรรคผู้ถูกร้องไม่ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ศาลจึงไม่มีอำนาจยกเรื่องอายุความมาเป็นเหตุยกคำร้องได้" นั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะศาลวินิจฉัยเรื่อง“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี”ซึ่งไม่ใช่อายุความตามกฏหมายแพ่ง จึงนำกฏหมายแพ่งมาใช้ตรงนี้ไม่ได้

จึงขอจบกระทู้ไว้ในเวลานี้เพียงแค่นี้ก่อนนะครับ
User avatar
thyrocyte
 
Posts: 43
Joined: Mon Aug 24, 2009 1:13 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby พายุ » Fri Dec 03, 2010 10:12 pm

ยินดีต้อนรับค่ะ เห็นสู้มานานเหมือนกัน ชื่นชมนะคะ :D
" คนที่พูดคำว่า จงรักภักดี คำที่ดีที่สุดคือ สติ เหนือสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้สติหด หาย ขาด ถ้ามีสติ มีศีล มีปัญญา ฉลาดรอบคอบ ก็ไม่ทำให้ใครเดือด ร้อน เพราะฉะนั้น คนในสังคมต้องมีสติ อย่าขาดสติ จะให้เราเข้าใจที่สุด"
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
User avatar
พายุ
 
Posts: 3977
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:33 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby pochi » Fri Dec 03, 2010 10:13 pm

คุ้นๆชื่อจังเลยค่ะ เล่นพันทิบหว้ากอรึป่าวคะ
RT @Cake_NBC: นายกฯแจงเรื่องที่เอาหมวกถุงยางมาสวมหัว อะไรที่ทำแล้วลดปัญหาได้ ก็พร้อมทำ "เป็นศีรษะผม ไม่ใช่ศีรษะของคนอื่น" #NBT
User avatar
pochi
 
Posts: 5035
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:24 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Robert De Niro » Fri Dec 03, 2010 10:18 pm

มีสมาชิกหนุ่มมา สาวๆรีบหาที่ให้นั่งเลยนะ ;)
กองกำลังไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (...ใส่แว่นสีฟ้า)
User avatar
Robert De Niro
 
Posts: 6093
Joined: Sat Nov 08, 2008 11:27 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby พายุ » Fri Dec 03, 2010 10:18 pm

pochi wrote:คุ้นๆชื่อจังเลยค่ะ เล่นพันทิบหว้ากอรึป่าวคะ



แหม... กดพร้อมกันเลย เดี๋ยวคนอื่นก็รู้หมด ว่าเราเป็นคนเดียวกาน :lol: :lol:
" คนที่พูดคำว่า จงรักภักดี คำที่ดีที่สุดคือ สติ เหนือสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้สติหด หาย ขาด ถ้ามีสติ มีศีล มีปัญญา ฉลาดรอบคอบ ก็ไม่ทำให้ใครเดือด ร้อน เพราะฉะนั้น คนในสังคมต้องมีสติ อย่าขาดสติ จะให้เราเข้าใจที่สุด"
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
User avatar
พายุ
 
Posts: 3977
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:33 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby pochi » Fri Dec 03, 2010 10:19 pm

ก็เก่าๆ มันเป็นสนิม นี่นา :D (เค้าโพสต์มีสาระ เรายังอุตส่าห์พาออกทะเล)


นี่ พายุ
โปจิเป็นคนเดียวกับ คุ๊กกี้คอฟฟี่ ต่างหาก :evil:
RT @Cake_NBC: นายกฯแจงเรื่องที่เอาหมวกถุงยางมาสวมหัว อะไรที่ทำแล้วลดปัญหาได้ ก็พร้อมทำ "เป็นศีรษะผม ไม่ใช่ศีรษะของคนอื่น" #NBT
User avatar
pochi
 
Posts: 5035
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:24 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby แดง ขาว น้ำเงิน » Fri Dec 03, 2010 10:20 pm

ประเด็นเรื่องกำหนดเวลาในการฟ้องคดี ฟ้องนี้ อยู่ใน ม.93 วรรค 2 ซึ่งที่บอกว่าพรรคผู้ถูกร้องไม่ได้ยกมาเป็นประเด็นนั้น

ผมคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้ขอให้ศาลวินิจฉัยเบื้องต้นครับว่า กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ดังนั้นศาลจึงได้บรรจุเป็นประเด็น 1 ใน 5 ข้อในวันแถลงเปิดคดีนะครับ ดังนั้นการบอกว่าพรรคผู้ถูกร้องไม่ได้ร้องขอจึงไม่น่าใช่

ศาลจึงได้วินิจฉัยในประเด็น กระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคผู้ถูกร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องกฎหมาย

และศาลท่านจึงพิจารณาทั้งมาตรา คือมาตรา 93 ซึ่งครอบคลุมเรื่องอำนาจนายทะเบียนและเรื่องระยะเวลา 15 วันครับ :D
"ผู้ที่ใช้สติปัญญาไม่เป็น คือคนโง่ ผู้ที่ไม่กล้าใช้สติปัญญา คือทาส" เพลโต้
User avatar
แดง ขาว น้ำเงิน
Moderator
 
Posts: 4943
Joined: Thu Feb 12, 2009 4:07 pm
Location: Earth

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby พายุ » Fri Dec 03, 2010 10:21 pm

Robert De Niro wrote:มีสมาชิกหนุ่มมา สาวๆรีบหาที่ให้นั่งเลยนะ ;)


เชิญนั่งตามสบายนะค๊าพี่่ระเบิด

เย้ยย... มาจากไหนกันพรึ่บพรั่บเลย เราอุส่าย่องมาเงียบๆ :lol: :lol:
" คนที่พูดคำว่า จงรักภักดี คำที่ดีที่สุดคือ สติ เหนือสิ่งอื่นใด ทุกวันนี้สติหด หาย ขาด ถ้ามีสติ มีศีล มีปัญญา ฉลาดรอบคอบ ก็ไม่ทำให้ใครเดือด ร้อน เพราะฉะนั้น คนในสังคมต้องมีสติ อย่าขาดสติ จะให้เราเข้าใจที่สุด"
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
User avatar
พายุ
 
Posts: 3977
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:33 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby nontee » Fri Dec 03, 2010 10:22 pm

อธิบายด้วยภาษาชาวบ้านง่ายๆ เหตุที่ศาลฯท่านต้องใช้เวลาสืบพยานนาน ก็เพราะ ...

1.เรื่องที่ส่งฟ้องกันนี้อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ อยู่ในขอบข่ายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ก็พิจารณาต่อว่า ...

2.ผู้ฟ้องมีอำนาจหน้าที่ในการฟ้องร้องคดีนี้หรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ ผู้ฟ้องมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ก็พิจารณาต่อว่า ...

3.ผู้ฟ้องได้กระทำการครบถ้วนถูกต้องในการฟ้องหรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ จึงจะพิจารณารายระเอียดการกระทำความผิด

รายการนี้มันมาสะดุดหยุดลงที่ข้อสามครับ หลังจากพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานทั้งหมดแล้ว ก็ บลา บลา บลา ... จบข่าว
User avatar
nontee
 
Posts: 6598
Joined: Tue Jan 26, 2010 2:34 pm
Location: หว้ากอ

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Cookies & Coffee » Fri Dec 03, 2010 10:23 pm

pochi wrote:ก็เก่าๆ มันเป็นสนิม นี่นา :D (เค้าโพสต์มีสาระ เรายังอุตส่าห์พาออกทะเล)


นี่ พายุ
โปจิเป็นคนเดียวกับ คุ๊กกี้คอฟฟี่ ต่างหาก :evil:


เอ๋ มีใครปัญญาอ่อนคิดอย่างนั้นด้วยเหรอคะ คนพวกนี้น่าจะไปเช็คสมองบ้างนะคะ ปัญญาอ่อนจริงๆ :evil:
ถุ ย ย ย อาจารย์สนธิ คร่า 55555
Cookies & Coffee
 
Posts: 200
Joined: Sun Jul 25, 2010 11:38 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby pochi » Fri Dec 03, 2010 10:25 pm

Cookies & Coffee wrote:
pochi wrote:ก็เก่าๆ มันเป็นสนิม นี่นา :D (เค้าโพสต์มีสาระ เรายังอุตส่าห์พาออกทะเล)


นี่ พายุ
โปจิเป็นคนเดียวกับ คุ๊กกี้คอฟฟี่ ต่างหาก :evil:


เอ๋ มีใครปัญญาอ่อนคิดอย่างนั้นด้วยเหรอคะ คนพวกนี้น่าจะไปเช็คสมองบ้างนะคะ ปัญญาอ่อนจริงๆ :evil:


โปจิกับพายุเป็นคนๆเดียวกับทุกคนที่พูดลงท้ายด้วย "ค่ะ" ในเวบนี้หมดแหละ คุ๊กกี้ต้องเข้าใจนะ :lol:
RT @Cake_NBC: นายกฯแจงเรื่องที่เอาหมวกถุงยางมาสวมหัว อะไรที่ทำแล้วลดปัญหาได้ ก็พร้อมทำ "เป็นศีรษะผม ไม่ใช่ศีรษะของคนอื่น" #NBT
User avatar
pochi
 
Posts: 5035
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:24 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Sweet Chin Music » Fri Dec 03, 2010 10:27 pm

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่คนจะแยกแยะได้ละครับว่า
กฎหมายแพ่ง -- ระบบกล่าวหา
ศาลรัฐธรรมนูญ -- ระบบใต่สวน
ที่ยังทำตัวโง่งม ไม่รู้เรื่อง ไม่รับฟัง อะไรต่อมิอะไร เห็นจะมีแต่พวกที่จ้องจะทำลายศาลอย่างเดียว

แต่ที่น่าเป็นห่วง ก็คือคนที่ไม่รู้เรื่อง ไปรับข้อมูลจากฝ่ายที่กล่าวมา แล้วเข้าใจผิดๆ ซะงั้นไป
ทำดีได้ทำดี ทำชั่วได้ทำชั่ว
User avatar
Sweet Chin Music
Moderator
 
Posts: 3892
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:40 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby แม่นาค » Fri Dec 03, 2010 10:47 pm

ประเด็นอายุความ 15 วัน มาจากประเด็นที่ผู้ถูกร้องยกเรื่อง อำนาจ กกต. กับ อำนาจนายทะเบียน มาต่อสู้

อ่านในคำแถลงปิดคดี ( ความจริงสู้อธรรม ) จะเห็นชัดเจนว่าผู้ถูกร้องได้ยกประเด็นอำนาจนายทะเบียนไม่ได้เสนอความเห็นให้กกต.ลงมติเป็นหลัก

อ่านในคำวินิจฉัยก็ชัดเจน อธิบายประเด็นอำนาจนายทะเบียนไม่ได้ทำความเห็นให้ กกต.มีมติยุบพรรค

ส่วนประเด็น 15 วัน นั้นไม่น่าจะใช่เรื่องใหญ่ไปกว่า กกต. สำคัญผิดในมติของตนเอง มากกว่า

ถ้าจะบอกว่าศาลยกประเด็น 15 วันขึ้นพิจารณาได้หรือไม่? ก็ต้องบอกว่า "ได้" เพราะ การวินิจฉัยในศาลรัฐธรรมนูญใช้คนละหลักในศาลทั่วๆ ไป

มีกรอบวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างจากศาลทั่วๆ ไป เพราะใช้ระบบใต่สวน ไม่ใช่ระบบกล่าวหา

อ่านคำวินิจฉัยให้ละเอียด แล้วควรรออ่านคำวินิจฉัยส่วนตนประกอบ
User avatar
แม่นาค
 
Posts: 760
Joined: Tue Nov 23, 2010 8:27 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Alien007 » Sat Dec 04, 2010 12:41 am

ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเผยแพร่ พวกเสื้อแดงน่าจะเข้ามาอ่านบ้างนะ จะได้เลิกแถ เลิกตะแบงว่าศาลสองมาตรฐานเสียที

คดีนี้ คุณอภิชาต นายทะเบียนพรรคการเมือง ลงความเห็นมาตั้งแต่ต้นว่า พรรค ปชป ไม่ได้ทำผิดตามข้อกล่าวหาใดๆ มันก็ควรจะจบไปแล้ว
ตามขั้นตอนทุกอย่าง แต่เวรกรรมดันมีไอ้พวกอันธพาลมาข่มขู่ถึงขั้นเอาชีวิตคุณอภิชาต
แต่ถึงกระนั้นคุณอภิชาตในฐานะนายทะเบียน ก็ยังยืนยันว่า ปชป ไม่ผิดอยู่นะ มีแต่คุณเห็ดสดกับพรรคพวก กกต อีกสามคนนั่นแหละ ที่เจ๋อ+ สะเหร่อไปลงความเห็น
ว่า พรรคปชปทำผิด ทั้งๆ ที่กฏหมายไม่ได้ให้สิทธิ์ลงความเห็นเลย :lol: :lol:
นายชูวิทย์ รับงานจากใครมาเพื่อขัดขวางการทำงานของพรรคฝ่ายค้าน เลียนแบบการเมืองสิงคโปร์แบบไม่มีผิดเพี้ยน
เงินภาษีของเราอย่าให้พวกอันธพาลเผาบ้านเผาเมืองมันเอาไปถลุงเล่น หนีได้เป็นหนี เลี่ยงได้เป็นเลี่ยงภาษีพี่น้อง
Alien007
 
Posts: 1844
Joined: Thu Nov 25, 2010 6:21 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby PettyCash » Sat Dec 04, 2010 12:45 am

pochi wrote:
Cookies & Coffee wrote:
pochi wrote:ก็เก่าๆ มันเป็นสนิม นี่นา :D (เค้าโพสต์มีสาระ เรายังอุตส่าห์พาออกทะเล)


นี่ พายุ
โปจิเป็นคนเดียวกับ คุ๊กกี้คอฟฟี่ ต่างหาก :evil:


เอ๋ มีใครปัญญาอ่อนคิดอย่างนั้นด้วยเหรอคะ คนพวกนี้น่าจะไปเช็คสมองบ้างนะคะ ปัญญาอ่อนจริงๆ :evil:


โปจิกับพายุเป็นคนๆเดียวกับทุกคนที่พูดลงท้ายด้วย "ค่ะ" ในเวบนี้หมดแหละ คุ๊กกี้ต้องเข้าใจนะ :lol:


เวปนี้มีคนนั่งจับผิดด้วยหรือเนี่ย :?:
(หนุ่มๆก็คุยเรื่องกฎหมายกันไปนะ :D )
เบือพวกตัวเองดีอยู่คนเดียว
คนอื่นผิดหมด เลวหมด
User avatar
PettyCash
 
Posts: 1666
Joined: Fri Nov 28, 2008 11:26 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby saopao » Sat Dec 04, 2010 1:12 am

คนเสื้อแดงโดยทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะเข้าใจอะไรที่ลงลึกในรายละเอียดแบบนี้หรอกครับ
ถึงเสื่อแดงบางคนที่มีความรู้มาอ่าน ก็พยายามจะไม่เข้าใจอยู่ดี
Image
User avatar
saopao
Moderator
 
Posts: 2593
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:21 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Red Baron » Sat Dec 04, 2010 1:53 am

pochi wrote:ก็เก่าๆ มันเป็นสนิม นี่นา :D (เค้าโพสต์มีสาระ เรายังอุตส่าห์พาออกทะเล)


นี่ พายุ
โปจิเป็นคนเดียวกับ คุ๊กกี้คอฟฟี่ ต่างหาก :evil:



เลี้ยงพุงให้ได้สัก 42 ก่อนแล้วค่อยเทียบชั้นคุ๊กกี้ :lol: :lol: :lol:
อย่าถามหาความเป็นกลางจากผม
User avatar
Red Baron
 
Posts: 1883
Joined: Mon Oct 13, 2008 11:19 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Solidus » Sat Dec 04, 2010 1:59 am

ง่าย ๆ คือ ไปฟ้องตามมาตรา 93 แต่มาตรา 93 กำหนดให้ฟ้องภายใน 15 วัน แล้วเวลาผ่านไปเป็นเดือนแล้วยังฟ้องมาตรานี้ ก็จบข่าวครับ ฟ้องโดยมิชอบ
User avatar
Solidus
 
Posts: 8593
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:47 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby ssa » Sat Dec 04, 2010 10:53 am

1 .1 กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ เป็นอายุความหรือไม่ หรือเป็นเพียงกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร


ความเห็น - ควรเรียกว่า“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” แต่จะเรียกว่าอายุความ หรือ กำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร เพื่อความเข้าใจสำหรับคนทั่วไปก็ตามแต่ “แต่ไม่ใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง” กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กฏหมายกำหนดเช่นนั้นได้ ก็จะผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ ก็ย่อมถือว่าดำเนินการไม่ชอบด้วยบัญญัติของกฎหมาย


1.2 กรณีการกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร มีปรากฏในกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่เกินระยะเวลาที่กำหนด ฯลฯ หากถือว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นอายุความ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่ตั้งเมื่อเกินระยะเวลาที่กำหนด มิต้องกลายเป็นโมฆะหรือ?


ความเห็น-เรื่องนี้ก็ต้องว่ากันต่อไปครับ จะรีบร้อนเอามาปะปนไปทำไม หากมันไม่ถูกก็ไม่ถูก ในความเห็นผมนะ มันไม่ถูกอยู่แล้วที่ตั้งกันเกินกำหนดที่กฎหมายบัญญัติ และหากเรื่องนี้มีการ้องต่อศาล ก็อาจจะโมฆะไปได้ แต่ทางแก้มีอยู่เช่นแก้กฎหมายให้รองรับเรื่องพวกนี้เสียใหม่




ดูเหมือนคุณจะติดอยู่ที่ "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" ซึ่งยังอธิบายไม่ได้ชัดแจ้งนัก
ผมขอเสริมประการนี้

คำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" มีใช้สำหรับการปฏิบัติราชการขององค์กรอื่นๆที่ไม่เกี่ยวแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทางศาล ซึ่งอาจเป็นฝ่ายปกครองหรือองค์การมหาชนหรือองค์กรอิสระก็ได้ แต่กำหนดเวลาตาม พรบ. พรรคการเมืองเป็นกำหนดเวลาการฟ้องคดี อันเป็นกฎหมายวิธีพิจารณาความขั้นตอนก่อนฟ้องคดี

ดังนั้น "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" กับ "กำหนดเวลาฟ้องคดี" จึงเป็นสองเรื่องที่ต่างกัน หนึ่งคือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการ อีกหนึ่งเป็นกฎหมายวิธีพิจารณาความ

การใช้คำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร"เป็นเพียงความพยายามเบี่ยงเบนให้สังคมสับสน เข้าใจผิด เท่านั้น

เบื้องแรกอ้างเป็นอายุความทางแพ่งที่คู่กรณีไม่ยกขึ้นต่อสู้ ซึ่งตะแบงไปไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็นคำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" ซึ่งผมยังไม่เห็นผู้มาอธิบายโต้แย้ง จึงมาเสริมให้

คราแรกที่อ้างว่าเป็นอายุความทางแพ่งคงเป็นนักกฎหมายพื้นๆทั่วไป
แต่การอ้างในครั้งหลัง "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร"เป็นการอ้างของมือกฎหมายมหาชนสอนมา
Last edited by ssa on Sat Dec 04, 2010 12:23 pm, edited 2 times in total.
User avatar
ssa
 
Posts: 2775
Joined: Fri Oct 17, 2008 11:31 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby ริวมะคุง » Sat Dec 04, 2010 11:06 am

คือมันผิดระเบียบข้อบังคับอะครับ เพราะลุงชวนแกเอาจุดนี้มาเปิดประเด็นให้ศาลพิจารณา ตรงนี้ต้องยกเครดิตให้ทีมทนายหละครับที่หาช่องโหว่มาสู้ได้
ประเทศไทยต้องก้าวต่อไป
User avatar
ริวมะคุง
 
Posts: 1906
Joined: Thu Nov 26, 2009 8:28 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby Robert De Niro » Sat Dec 04, 2010 12:10 pm

saopao wrote:คนเสื้อแดงโดยทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะเข้าใจอะไรที่ลงลึกในรายละเอียดแบบนี้หรอกครับ
ถึงเสื่อแดงบางคนที่มีความรู้มาอ่าน ก็พยายามจะไม่เข้าใจอยู่ดี

นี่แหละครับ ปัญหาใหญ่ของประเทศเรา

คนที่มีความรู้น้อยก็ไม่ไฝ่หาข้อเท็จจริง อ่านแต่หัวข่าวแล้วเฮตาม ไม่ก็ฟัง
เค้ามาได้เลาๆแบบนี้ก้เอาไปคุยได้ข้ามวัน

คนบางคนมีความรู้พอจะเข้าใจอะไรได้ก็ทะลึ่งมีอคติ คิดไปอคติไปตลอด
แล้วมันจะรู้เรื่อง จะเข้าใจอะไรตรงกันได้อย่างไร

สมมุติว่ามีคนเอาที่คุณ thyrocyte เขียนมา หรือที่เพื่อนๆท่านอื่นสรุปให้ฟัง
พิมพ์แล้วเดินแจกตามถนน จะมีกี่คนที่อ่านจนจบ

บางคนเห็นหัวข้อก็โยนทิ้งแล้ว บางคนเห็นคำว่ามาตรา กฎหมายมหาชน
อายุความ ก็เลิกอ่านแล้ว
กองกำลังไม่ฝักไฝ่ฝ่ายใด (...ใส่แว่นสีฟ้า)
User avatar
Robert De Niro
 
Posts: 6093
Joined: Sat Nov 08, 2008 11:27 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby แม่นาค » Sat Dec 04, 2010 12:16 pm

ถ้าจะบอกคนไม่มีความรู้หรือมีความรู้ฝ่ายต่อต้านว่า ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินแล้วเป็นที่สุด จบข่าว

อยากเชื่อก็เชื่อ ไม่อยากเชื่อก็แล้วไป

แต่กกต. สดศรีนี่สิ ดูเหมือนจะตาค้าง
User avatar
แม่นาค
 
Posts: 760
Joined: Tue Nov 23, 2010 8:27 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby ปุถุชน » Sat Dec 04, 2010 12:22 pm

nontee wrote:อธิบายด้วยภาษาชาวบ้านง่ายๆ เหตุที่ศาลฯท่านต้องใช้เวลาสืบพยานนาน ก็เพราะ ...

1.เรื่องที่ส่งฟ้องกันนี้อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ อยู่ในขอบข่ายอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ก็พิจารณาต่อว่า ...

2.ผู้ฟ้องมีอำนาจหน้าที่ในการฟ้องร้องคดีนี้หรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ ผู้ฟ้องมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ก็พิจารณาต่อว่า ...

3.ผู้ฟ้องได้กระทำการครบถ้วนถูกต้องในการฟ้องหรือไม่ ถ้าใม่ใช่ ก็ไม่ต้องพิจารณาข้ออื่นต่อ เพราะจะกลายเป็นการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ... แต้ถ้าใช่ จึงจะพิจารณารายระเอียดการกระทำความผิด

รายการนี้มันมาสะดุดหยุดลงที่ข้อสามครับ หลังจากพิจารณาจากข้อมูลหลักฐานทั้งหมดแล้ว ก็ บลา บลา บลา ... จบข่าว


ผมคิดว่าเป็นการชี้แจงที่น่าจะเข้าใจง่ายสำหรับคนทั่วไปที่สนใจคดีความนี้ ยกเว้นไอ้ตู่ สะเด็ดผี แกนนำพรรคเพื่อแม๊ว และคนเสื้อแดง....

ไอ้ตู่บอกว่าสังเกตุจากสีหน้าคนของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น คุณชวน หลีกภัย คุณบัญญัติ บรรทัดฐาน และทนายความเป็นต้นไม่มีสีหน้าเคร่งเครียดหรือหวาดเกรงผลการวินิจฉัยคดี 29 ล้านบาทนี้....
คาดได้เลยว่าศาลรัฐธรรมนูญ"ยกฟ้อง"....!


ถ้าให้ไอ้ตู่จะให้สัมภาษณ์อย่างนี้กับผู้สื่อข่าวและปรากฏบน"มติชนออนไลน์" หรือ"ข่าวสดออนไลน์" หรือ"สรยุทธ์ช่องสาม" หรือ"ไทยรัฐออนไลน์"ก่อนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยก็ดีนะ......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby ปุถุชน » Sat Dec 04, 2010 12:27 pm

saopao wrote:คนเสื้อแดงโดยทั่วไปไม่มีความสามารถที่จะเข้าใจอะไรที่ลงลึกในรายละเอียดแบบนี้หรอกครับ
ถึงเสื่อแดงบางคนที่มีความรู้มาอ่าน ก็พยายามจะไม่เข้าใจอยู่ดี



ผมว่าคนเสื้อแดงก็เข้าใจแง่กฏหมายที่ ทะแนะนพดล, ดร.เป็ดเหลิม, ที่ปรึกษากม.พรรคเพื่อแม๊วประเกียรติ ไอ้ตู่ สะเด็ดผีพูดให้ฟังอย่างลึกซึ้งและเชื่อเข้ากระดูกทันทีนา จะบอกให้.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า


ส่วน"บัตรเติมเงิน"ในนี้ ก็รู้จักนำ"แง่กฏหมาย"จาก"มติชน" "ข่าวสด" "ไทยรัฐ"มาถ่ายทอดให้ฟังที่นี่ ส่วนสุจริตชนที่จะยอมเชื่อ ฝืนใจเชื่อก็อีกเรื่องหนึ่ง.....ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
"ถ้าไม่มีการทุจริตตั้งแต่แรก เงื่อนไขการปฏิวัติก็คงไม่เกิด เพราะมันมีการแทรกแซงองค์กรอิสระตลอดเวลา ซึ่งการปฏิวัติก็เป็นการนำตัวคนผิดมาลงโทษ ผมก็ไม่เห็นว่า ทำไมคณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ถอยหลังไปแค่ 19 กันยา 2549".. อ.ไชยันต์ ไชยพร
User avatar
ปุถุชน
 
Posts: 11805
Joined: Mon Oct 13, 2008 5:19 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby thyrocyte » Sat Dec 04, 2010 2:51 pm

ssa wrote:1 .1 กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ เป็นอายุความหรือไม่ หรือเป็นเพียงกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร


ความเห็น - ควรเรียกว่า“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” แต่จะเรียกว่าอายุความ หรือ กำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร เพื่อความเข้าใจสำหรับคนทั่วไปก็ตามแต่ “แต่ไม่ใช่อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่ง” กำหนดเวลา 15 วัน ตามมาตรานี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามที่กฏหมายกำหนดเช่นนั้นได้ ก็จะผิดไปจากที่กฎหมายบัญญัติ ก็ย่อมถือว่าดำเนินการไม่ชอบด้วยบัญญัติของกฎหมาย


1.2 กรณีการกำหนดกรอบเวลาการทำงานขององค์กร มีปรากฏในกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่เกินระยะเวลาที่กำหนด ฯลฯ หากถือว่า ระยะเวลาดังกล่าวเป็นอายุความ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ที่ตั้งเมื่อเกินระยะเวลาที่กำหนด มิต้องกลายเป็นโมฆะหรือ?


ความเห็น-เรื่องนี้ก็ต้องว่ากันต่อไปครับ จะรีบร้อนเอามาปะปนไปทำไม หากมันไม่ถูกก็ไม่ถูก ในความเห็นผมนะ มันไม่ถูกอยู่แล้วที่ตั้งกันเกินกำหนดที่กฎหมายบัญญัติ และหากเรื่องนี้มีการ้องต่อศาล ก็อาจจะโมฆะไปได้ แต่ทางแก้มีอยู่เช่นแก้กฎหมายให้รองรับเรื่องพวกนี้เสียใหม่




ดูเหมือนคุณจะติดอยู่ที่ "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" ซึ่งยังอธิบายไม่ได้ชัดแจ้งนัก
ผมขอเสริมประการนี้

คำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" มีใช้สำหรับการปฏิบัติราชการขององค์กรอื่นๆที่ไม่เกี่ยวแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทางศาล ซึ่งอาจเป็นฝ่ายปกครองหรือองค์การมหาชนหรือองค์กรอิสระก็ได้ แต่กำหนดเวลาตาม พรบ. พรรคการเมืองเป็นกำหนดเวลาการฟ้องคดี อันเป็นกฎหมายวิธีพิจารณาความขั้นตอนก่อนฟ้องคดี

ดังนั้น "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" กับ "กำหนดเวลาฟ้องคดี" จึงเป็นสองเรื่องที่ต่างกัน หนึ่งคือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการ อีกหนึ่งเป็นกฎหมายวิธีพิจารณาความ

การใช้คำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร"เป็นเพียงความพยายามเบี่ยงเบนให้สังคมสับสน เข้าใจผิด เท่านั้น

เบื้องแรกอ้างเป็นอายุความทางแพ่งที่คู่กรณีไม่ยกขึ้นต่อสู้ ซึ่งตะแบงไปไม่ได้ จึงเปลี่ยนเป็นคำว่า "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร" ซึ่งผมยังไม่เห็นผู้มาอธิบายโต้แย้ง จึงมาเสริมให้

คราแรกที่อ้างว่าเป็นอายุความทางแพ่งคงเป็นนักกฎหมายพื้นๆทั่วไป
แต่การอ้างในครั้งหลัง "กรอบเวลาการทำงานขององค์กร"เป็นการอ้างของมือกฎหมายมหาชนสอนมา


อันที่จริงแล้ว นี้เป็นครั้งแรกที่ผมโพสต์กระทู้ในเสรีไทย และได้นำขออภัยที่นำกระทู้ที่ลงในราชดำเนินมา แต่ตั้งใจนำมาฝากเพื่อนๆที่นี้ช่วยพิจารณาและให้ข้อคิดเห็น ในส่วนที่คุณ ssa ยกมานั้น ไม่ใช่ส่วนหลักของกระทู้ แต่เป็นส่วนที่ผมตอบขอข้องใจของสมาชิกในหห้องนั้นคือ เติ้ง1234

เรื่อง"กรอบเวลาการทำงานขององค์กร"นั้นเป็นคำที่คุณเติ้ง1234 ยกมา และผมได้พยายามอธิบายแล้วว่า ระยะเวลาการฟ้องคดี 15 วันตามารตรา 93 วรรคสองนั้น ตามกฏหมายมหาชนจะเรียกว่า"กำหนดเวลาการฟ้องคดี" ซึ่งฏีกาเดิมวินิจฉัยว่า "กำหนดเวลาการฟ้องคดี ไม่ใช่อายุความ ดังนั้น ระยะเวลาการฟ้องคดี 15 วันตามมาตรา 93 วรรคสองนั้น จึงไม่ใช่อายุความตามกฏหมายมหาชน และจึงอ้างว่าเป็นอายุความ จึงนำปพ 193/29 มาแย้งศาลไม่ได้

อีกทั้งคดีนี้เป็นคดีตามกฏหมายมหาชน ศาลเองก็ใช้ระบบการพิจารณาคดีแบบไต่สวน ดังที่อธิบายไว้ข้างบนแล้วว่า ในระบบนี้ศาลสามารถจะยกประเด็นที่คู่ความไม่ยกขึ้นมา แต่ศาลสามารยกมาพื่อให้คดีสมบูรณ์ได้



อนึ่ง มีความแตกต่างที่สำคัญมากอีกประการระหว่างศาลแพ่ง กับศาลรัฐธรรมนูญก็คือ ศาลแพ่งนั้นเป็นศาลตามกฏหมายเอกชน และใช้การพิจารณาคดีโดยใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งในระบบนี้ศาลจะวางตัวอยู่กลางอย่างเคร่งครัด ในระบบกล่าวหานั้น ศาลจะให้คู่ความต่อสู้คดีกัน และเป็นคนนำเสนอสิ่งต่างๆ ในระบบนี้ หากสิ่งใดที่คู่คดีไม่ยกมาต่อสู้ แม้จะเป็นข้อความจริงที่มีอยู่จริงก็ตาม และแม้ศาลได้รู้ได้เห็นแล้วก็ตาม หากคู่ความไม่ยกขึ้นมาศาลแพ่งก็จะไม่ยกขึ้นมา เช่นกรณีมาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยก ฟ้องไม่ได้” เพราะถือว่าคู่คดีฝ่ายที่อาจได้ประโยชน์จากการยกข้อความนั้นไม่ใช้สิทธิเอง ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในระบบกล่าวหาซึ่งศาลจะวางตัวอยู่ตรงกลางอย่างเคร่งครัด และถือว่าคู่กรณีอีกฝ่ายสละสิทธิในส่วนที่ตนพึ่งไปด้วยตนเอง

ส่วนศาล รัฐธรรมนูญนั้นเป็นศาลกฏหมายมหาชนและใช้ระบบไต่สวน ตามระบบไต่สวน ศาลจะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเอง ศาลจะมีบทบาทในการดำเนินคดีอย่างสูง ผิดกับในระบบกล่าวที่ศาลมีบทบาทน้อยมากเพราะจะให้คู่ความเป็นคนนำเสนอสิ่ง ต่างๆ แต่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการดำเนินคดี เช่น การสืบพยาน การดำเนินการต่างๆ ตลอดจนถึงการวินิจฉัยสรุปประเด็นในศาลจึงยืดหยุ่นกว่าระบบกล่าวหา ที่จะพึงพาแต่การนำเสนอของคู่คดี และเนื่องจากในระบบไต่สวนนั้น เน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้นข้อความจริงใดข้อกฎหมายใด ที่มีอยู่จริง แม้หากคู่กรณีจะไม่ยกขึ้นมา แต่ศาลเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงข้อความจริงของคดี ศาลในระบบไต่สวนก็สามารถยกข้อความนั้นขึ้นมาวินิจฉัยได้

อนึ่ง ในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ศาลจะใช้ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัย ซึ่งในข้อกำหนดนั้นบัญญัติไว้ในข้อ ๖ ว่า “วิธีพิจารณาตามที่กำหนดในข้อกำหนดนี้ให้ใช้ระบบไต่สวน” และมีบัญญัติเพิ่มเติมไว้ว่า...บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้และไม่ขัดต่อข้อ กำหนดนี้” นั้นคือศาลจะใช้การพิจารณาคดีแบบไต่สวน และประมวลกฏหมายแพ่งสามารถนำมาใช้ได้เท่าที่จะไม่ขัดต่อหลักกฏหมายนี้

ดังนั้น จึงไม่สามารถอ้างกฎหมายแพ่งตามมาตรา 193/29 ที่บัญญัติว่า “เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยก ฟ้องไม่ได้” มาใช้กับศาลรัฐธรรมนูณได้ เพราะมาตรา 93 ของพรบ.พรรคการเมือง นั้นเป็นกฎหมายมหาชน บัญญัติเรื่อง“กำหนดเวลาในการฟ้องคดี” ไว้ 15 วัน กำหนดเวลาการฟ้องคดี มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใดๆตามกฏหมายแพ่ง จึงนำกฏหมายแพ่งมาใช้ตรงนี้ไม่ได้ ไม่เข้าบังคับของ กฎหมายแพ่งตามาตรา 193/29 (ตามนัยยะนิยาม 193/9 ของประมวลกฎหมายแพ่ง และฏีกา 5033/2549ของศาลแรงงาน) อีกทั้งการพิจารณาคดีก็ใช้ระบบไต่สวน ซึ่งหากแม้จะเป็นเรื่องอายุความ หากเป็นข้อความจริง ศาลเองก็สามารถยกขึ้นมาได้ ต่างจากศาลแบบกล่าวหาเช่นศาลแพ่ง จะไม่ยกอายุความขึ้นมาเอง

ผมเห็นด้วยว่าพูดเรื่องกฏหมายกันมากไปแบบนี้อาจทำความเข้าใจกับคนทั่วไปได้ลำบากครับ แต่พวกเราก็คงต้องช่วยๆกันต่อไปครับ
User avatar
thyrocyte
 
Posts: 43
Joined: Mon Aug 24, 2009 1:13 pm

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby ssa » Sat Dec 04, 2010 4:48 pm

ผมไม่ได้ตำหนิว่า จขกท. โพสต์ผิด ที่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องอายุความทางแพ่งกับระยะเวลาฟ้องคดี และเรื่องระบบการดำเนินคดี เนื่องจากเห็นว่าที่ จขกท.ว่ามานั้น ชอบแล้ว

ตอนยกข้อความข้างต้นมา ผมยกมาทั้งคำถามและคำตอบ
คำถามเป็นของคนอื่น
คำตอบเป็นของ จขกท.

ผมดูจากคำถามแล้วเป็นความพยายามของผู้ถามที่จะเบี่ยงหาช่อง(ช่วงแรกอ้างอายุความทางแพ่ง)จากระยะเวลาการฟ้องคดีเป็นกรอบระยะเวลาการทำงาน
เมื่อดูจากคำตอบ จขกท. ยังไม่ได้ชี้แจงว่า ระยะเวลาการฟ้องคดีไม่ใช่กรอบระยะเวลาการทำงาน คนละเรื่องกัน ผมดูแล้วยังไม่มีใครชี้แจงประเด็นนี้

หากไม่มีใครชี้แจงประเด็นนี้ได้ เขาก็จะใช้เป็นช่องในการโจมตีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะว่า กรอบระยะเวลาการทำงาน คือ วิธีปฏิบัติราชการภายในองค์กร ไม่ใช่กระบวนวิธีพิจารณาความ เมื่อไม่ใช่กระบวนวิธีพิจารณาความ ศาลก็ไม่มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ซึ่งมีบ้างแล้วที่เขาโยนประเด็นนี้ลงมา

ผมจึงมาเสริมของ จขกท.

คำว่า กรอบระยะเวลาการทำงาน ไม่ใช่คำที่นักกฎหมายทั่วไปใช้ แต่ใช้กันตามกฎหมายมหาชนในแวดวงมือกฎหมายมหาชน
ประเด็นนี้ถูกทิ้งลงมาโดยมือกฎหมายมหาชนฝ่ายเขา
พอคาดได้ว่าคือใคร

ผมไม่มีล็อคอินของเว็บนั้นจึงไม่สามารถเข้าไปร่วมช่วยชี้แจงได้
User avatar
ssa
 
Posts: 2775
Joined: Fri Oct 17, 2008 11:31 am

Re: น้องใหม่ฝากตัว ศาลรธน.มีอำนาจวินิจฉระยะะเวลาการฟ้องคดีหรือ

Postby thanong » Wed Jun 29, 2011 8:32 pm

เวลคัม เราชาว สรท ยินดีต้อนรับ
;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;) ;)
User avatar
thanong
 
Posts: 5110
Joined: Wed Nov 24, 2010 4:27 am


Return to ห้องสมุด



cron