แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทย เทิดพระเกียรติในหลวงและราชวงศ์จักรีที่ห้องนี้ครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby network1974 » Thu May 12, 2011 2:15 pm

แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐาน และเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกร โดยเฉพาะประชาชนในชนบทและท้องถิ่นทุรกันดารทั่วราชอาณาจักรอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้ง ได้เห็นความทุกข์ยากของพสกนิกรโดยเฉพาะที่เป็นเกษตรกร ซึ่งประสบปัญหาในการประกอบอาชีพ เนื่องจากเกษตรกรต้องพึ่งพาปัจจัยต่าง ๆ มากมาย
ด้วยน้ำพระทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาเมื่อทรงทราบและตระหนักถึงความทุกข์ยากของพสกนิกรจึงทรงมีพระดำริในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชีพของเกษตรกร โดยเน้นเกษตรกรที่มีความยากจนในเขตน้ำฝน ซึ่งมีอยู่กว่าร้อยละ 70 ของเกษตรกรทั้งประเทศ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 5-15 ไร่ โดยมีแนวทางในการแก้ปัญหา คือ จัดการแหล่งน้ำให้เพียงพอ หากมีน้ำเพียงพอ เกษตรกรก็สามารถปลูกพืชได้ทั้งปี มีงานทำ มีรายได้ตลอดทั้งปีและไม่ต้องอพยพเคลื่อนย้ายไปทำงานที่อื่น ดังกระแสพระราชดำรัสความว่า “ หลักสำคัญต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่ามีชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ “ นอกจากการจัดการในเรื่องแหล่งน้ำแล้ว การแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพตามแนวพระราชดำริยังเน้นการจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวไว้บริโภคในครอบครัวและพื้นที่ปลูกพืชอื่น ๆ ไว้บริโภค ใช้สอย และจำหน่าย ทั้งนี้ แนวทางการประกอบอาชีพการเกษตรดังกล่าวนี้ จะทำให้เกษตรกรมีงานทำ มีอาหารไว้บริโภค มีรายได้พอเพียงต่อการครองชีพสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ นับเป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร และก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อความมั่นคงของประเทศชาติในอนาคต
โดยแนวคิดแก้ปัญหาการประกอบอาชีพการเกษตรตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นี้ เรียกว่า “ทฤษฏีใหม่”
ในปี ๒๕๕๔ เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ พสกนิกรชาวไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันเปี่ยมด้วยพระเมตตา ที่ทรงวางแนวพระราชดำริเพื่อช่วยเหลือพสกนิกรชาวไทยให้พ้นจากความทุกข์ยากในการดำรงชีวิต ยังผลให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างอเนกอนันต์
User avatar
network1974
 
Posts: 138
Joined: Fri Mar 11, 2011 6:39 pm

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby รักเมืองไทย55 » Sun May 15, 2011 8:38 am

เกษตรทฤษฎีใหม่สามารถลดและแก้ปัญหาภัยแล้งได้

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของประเทศไทย คือ กว่าร้อยละ 70 อยู่นอกเขตชล
ประทาน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรที่อาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ประเทศไทยมีระบบชลประทาน
ทั้งประเทศประมาณ ร้อยละ 21 ของพื้นที่การเกษตรเท่านั้น หลักการของเกษตรทฤษฎีใหม่ก็คือ การขุดสระน้ำเพื่อกัก
เก็บน้ำในช่วงที่มีฝนตกสำหรับเก็บไว้ใช้ในการเกษตรยามขาดแคลน ซึ่งจะทำให้เกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรในเขตน้ำ
ฝนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไว้ใช้ในยามที่ขาดแคลน นับว่าเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ สามารถแก้ปัญหา
หรือลดปัญหาความแห้งแล้งที่เกษตรกรประสบอยู่โดยทั่วไปในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง
User avatar
รักเมืองไทย55
 
Posts: 476
Joined: Tue Aug 24, 2010 11:12 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby babycat » Mon May 16, 2011 9:45 pm

เนื่องจากเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นระบบการเกษตรที่จัดให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเกษตร มีการจัดสรร พื้นที่ สำหรับ
ปลูกพืชหลายชนิดอย่างเหมาะสม และหมุนเวียนปลูกพืชได้ตลอดทั้งปีเป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่าและมีรายได้
หมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยรวมแล้วจึงทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นต่างจากเมื่อก่อนที่เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชชนิด
เดียวหรือมีเพียงครั้งเดียวในหนึ่งปี จึงไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
http://student.nu.ac.th/sammy/Econ.html
User avatar
babycat
 
Posts: 266
Joined: Wed Aug 11, 2010 2:01 pm

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby tarato13 » Wed May 18, 2011 9:35 am

ปีที่แล้วพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียง เพราะหาคำอื่นไม่ได้. และได้พูดอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี้ ให้ปฏิบัติเพียงครึ่งเดียว คือไม่ต้องทั้งหมด หรือแม้จะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็พอ…. ไม่ได้แปลว่าเศษหนึ่งส่วนสี่ของพื้นที่ แต่เศษหนึ่งส่วนสี่ของการกระทำ…

หมายความว่าวิธีปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงนั้น ไม่ต้องทำทั้งหมด และขอเติมว่าถ้าทำทั้งหมดก็จะทำไม่ได้. ถ้าครอบครัวหนึ่ง หรือแม้หมู่บ้านหนึ่งทำเศรษฐกิจพอเพียงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นการถอยหลังถึงสมัยหิน สมัยคนอยู่ในอุโมงค์หรือในถ้ำ ซึ่งไม่ต้องอาศัยหมู่อื่น เพราะว่าหมู่อื่นก็เป็นศัตรูทั้งนั้น ตีกัน ไม่ใช่ร่วมมือกัน จึงต้องทำเศรษฐกิจพอเพียง. แต่ละคนต้องหาที่อยู่ ก็หาอุโมงค์หาถ้ำ. ต้องหาอาหาร คือไปเด็ดผลไม้หรือใบไม้ตามที่มี หรือไปใช้อาวุธที่ได้สร้างได้ประดิษฐ์เอง ไปล่าสัตว์. กลุ่มที่อยู่ในอุโมงค์ในถ้ำนั้น ก็มีเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์. ก็ปฏิบัติได้.

แต่ต่อมาเมื่อออกจากถ้ำ ในสมัยต่อมา ที่สร้างบ้านเป็นที่อาศัย ก็เริ่มจะเป็นเศรษฐกิจพอเพียงเหลือประมาณ ๘๐ เปอร์เซ็นต์ เพราะว่ามีคนไปผ่านมา ซึ่งไม่ได้เป็นศัตรู เอาอะไร ๆ มาแลกเปลี่ยนกัน. เช่นคนที่มาจากไกล ผ่านมามีหนังสัตว์ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม ก็ซื้อด้วยการแลกเปลี่ยนด้วยอาหาร เช่นปลาที่จับได้ในบึง. อย่างนี้ก็ไม่ใช่เศรษฐกิจพอเพียงแล้ว. เวลาก้าวล่วงมาอีก มาถึงปัจจุบันนี้ ถ้าคนที่อยู่ทั้งข้างนอกทั้งข้างในนี้ จะปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คงทำไม่ได้. และถ้าสำรวจตัวเอง หรือเศรษกิจของตัวเอง ก็เข้าใจว่า จะเห็นได้ว่าไม่ได้ทำ. เข้าใจว่าทำได้ไม่ถึง ๒๕ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ถึงเศษหนึ่งส่วนสี่ เพราะว่าสิ่งที่ตนผลิตหรือทำ ส่วนใหญ่ก็เอาไปแลกกับของอื่นที่มีความจำเป็น. ฉะนั้นจึงพูดว่าเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติเพียงเศษหนึ่งส่วนสี่ ก็ควรจะพอและทำได้. อันนี้เป็นข้อหนึ่ง ที่จะอธิบายคำพูดที่พูดมาเมื่อปีที่แล้ว.

คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก. ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ ถ้าใครได้มาอยู่ที่นี่ ในศาลานี้ เมื่อ เท่าไหร่ ๒๐ ๒๔ ปี เมื่อปี ๒๕๑๗. ๒๕๑๗ ถึง ๒๕๔๑ นี้ ก็ ๒๔ ปี ใช่ไหม. วันนั้นได้พูดว่า เราควรจะปฏิบัติให้พอมีพอกิน. พอมีพอกินนี้ก็แปลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง. ถ้าแต่ละคนพอมีพอกิน ก็ใช้ได้. ยิ่งถ้าทั้งประเทศพอมีพอกินก็ยิ่งดี และประเทศไทยเวลานั้น ก็เริ่มจะไม่พอมีพอกิน บางคนก็มีมาก บางคนก็ไม่มีเลย. สมัยก่อนนี้พอมีพอกิน มาสมัยนี้ชักจะไม่พอมีพอกิน. จึงต้องมีนโยบายที่จะทำเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อที่จะให้ทุกคนมีพอเพียงได้. ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอ. แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ. อันนี้ก็ความหมายอีกอย่างของเศรษฐกิจ หรือระบบพอเพียง. เมื่อปีที่แล้วตอนที่พูดพอเพียง แปลในใจ แล้วก็ได้พูดออกมาด้วย ว่าจะแปลเป็น Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) ถึงได้บอกว่าพอเพียงแก่ตนเอง แต่ความจริงเศรษฐกิจพอเพียงนี้ กว้างขวางกว่า Self-sufficiency. คือ Self-sufficiency นั้นหมายความว่า ผลิตอะไรที่มีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง)… … แต่พอเพียงนี้มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก คือคำว่าพอก็เพียงพอ เพียงนี้ก็พอดังนั้นเอง. คนเราถ้าพอในความต้องการ ก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย. ถ้าทุกประเทศมีความคิด - อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ – มีความคิดว่า ทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอประมาณ ไม่สุดโต่ง ไม่โลภอย่างมาก คนเราก็อยู่เป็นสุข. พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น. ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง…. ถ้า (หากต้องการเบียดเบียน) อย่างนั้นก็เดือดร้อนกันแน่ เพราะว่าอึดอัด จะทำให้ทะเลาะกัน. เมื่อมีการทะเลาะกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย….. จากการทะเลาะด้วยวาจาก็กลายเป็นการทะเลาะด้วยกาย ซึ่งในที่สุดก็นำมาสู่ความเสียหาย เสียหายแก่ผู้ที่เป็นตัวละครทั้งสองคน. ถ้าเป็นหมู่ก็เลยเป็นการตีกันอย่างรุนแรงได้ ซึ่งจะทำให้คนอื่นอีกมากเดือดร้อน…. ฉะนั้น ความพอเพียงนี้ก็แปลว่า ความพอประมาณและความมีเหตุผล”

จะเห็นได้ว่าพระราชดำรัสเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ท่านได้ให้ไว้อย่างครอบคลุม รวมทั้งได้ ทรงมีพระวินิจฉัยด้วยว่าสาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจเกิดจากความโลภเป็นหลัก ทำให้เกิดความคิดเบียดเบียนและเดือดร้อนกันไปทั่ว นี่จึงเป็นที่มาสำคัญของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
User avatar
tarato13
 
Posts: 368
Joined: Thu Jul 22, 2010 8:47 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby sareesri_39 » Thu May 19, 2011 7:39 am

เป็นโครงการที่พระองค์ทรงคิดค้นเพื่อให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแบบครบวงจร
User avatar
sareesri_39
 
Posts: 306
Joined: Mon Oct 11, 2010 10:03 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby kuron23 » Thu May 19, 2011 7:56 am

แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นขั้นเริ่มต้นที่มีความสำคัญเพราะว่าเป้นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการผลิต โดยมีการการจัดแบ่งพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงคิดคำนวณเป็นสูตรไว้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ คือในพื้นที่แต่ละแปลงควรประกอบไปด้วย นา 5 ไร่ พืชไร่และพืชสวน 5 ไร่ สระน้ำ 3 ไร่ ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ อีก 2 ไร่ รวมทั้งหมด 15 ไร่และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 : 30 ; 30 ; 10 : ซึ่งสัดส่วนนี้อาจปรับเปลี่ยนหรือยิดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ที่สามารถให้เกษตรกรสามารถหาเลี้ยงครอบครัวให้อยู่ได้อย่างพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริ
User avatar
kuron23
 
Posts: 407
Joined: Thu Jul 22, 2010 8:34 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby sweet2011 » Mon May 30, 2011 12:06 am

เศรษฐกิจพอเพียงและแนวทางปฏิบัติของ ทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถ
ในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการ
เปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณและความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความ
เพียรและความอดทน สติและปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี
เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลัก
การและแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนว
ทางการพัฒนาภาคเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม
เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม
User avatar
sweet2011
 
Posts: 179
Joined: Sat Feb 05, 2011 10:41 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby สมศรี422อาร์ » Mon May 30, 2011 1:46 am

ทฤษฎีนี้ทำให้เกษตรกรไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถรับมือกับภัยธรรมชาติต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
User avatar
สมศรี422อาร์
 
Posts: 208
Joined: Sun Oct 17, 2010 1:27 pm

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby น้ำตก » Mon May 30, 2011 12:17 pm

การเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นการทำประโยชน์กับที่ดินอันน้อยนิด
และสามารถทำได้ตลอดโดยไม่ต้องว่างเว้น
ประชาชนจึงได้มีงานทำและรายได้ตลอด
ไม่ขัดสน
User avatar
น้ำตก
 
Posts: 370
Joined: Wed Sep 08, 2010 9:32 pm

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby รักเมืองไทย55 » Tue Sep 13, 2011 8:40 am

เกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้การใช้พื้นที่การเกษตรมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชอย่างเหมาะสม เช่น แบ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าว และปลูก
พืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร และไม้ใช้สอย รวมทั้งมีการจัดแบ่งพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่อาศัย และใน
บริเวณที่อยู่อาศัยนี้เอง สามารถใช้เป็นที่ปลูกผักสวนครัว เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค การจัดสรรพื้นที่แบบนี้จะทำให้
พื้นที่ทุกส่วนได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถใช้พื้นที่ได้ตลอดทั้งปี ผิดกับเมื่อก่อนที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูก
พืชชนิดเดียว พื้นที่ก็ไม่ได้นำมาใช้เต็มที่ มีการใช้เฉพาะที่หรือบางฤดูกาลเท่านั้น
User avatar
รักเมืองไทย55
 
Posts: 476
Joined: Tue Aug 24, 2010 11:12 am

Re: แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่

Postby militaryloveking » Tue Sep 13, 2011 9:36 am

แนวคิดทฤษฎีใหม่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ยิ่งสมควรน้อมนำเอาไปปฏิบัติ
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am


Return to ห้องเฉลิมพระเกียรติ



cron