การเสด็จนิวัติประเทศไทยของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทย เทิดพระเกียรติในหลวงและราชวงศ์จักรีที่ห้องนี้ครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

การเสด็จนิวัติประเทศไทยของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์

Postby samart0110 » Mon May 23, 2011 4:19 pm

เมื่อที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เมื่อได้ทรงประทับขณะอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพระองค์ก็จะเสด็จนิวัติประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีและพิธีต่างๆ และทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์เป็นประจำ มีดังนี้
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 1 เพื่อทรงเยี่ยมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 2 เพื่อทรงร่วมงานพระราชพิธีอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีและ นาวาอากาศเอกวีระยุทธ ดิษยะศรินขณะยังมียศทหารอากาศเป็น เรืออากาศโท เมื่อ พ.ศ. 2525
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 3 เพื่อทรงงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 4 เพื่อทรงงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 5 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพ.ศ. 2538
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 6 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อพ.ศ. 2539
• การเสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่ 7 เพื่อทรงร่วมงาน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
และเมื่อหลังประกาศทรงหย่ากับนายปีเตอร์ แลด เจนเซน ชาวอเมริกัน เมื่อพ.ศ. 2541 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดีเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวร เมื่อพ.ศ. 2544
User avatar
samart0110
 
Posts: 67
Joined: Wed Nov 24, 2010 11:29 pm

Re: การเสด็จนิวัติประเทศไทยของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์

Postby tarato13 » Wed May 25, 2011 11:46 am

ความหมายของ
1. โครงการ TO BE NUMBER ONE คืออะไร
โครงการ TO BE NUMBER ONE เป็นโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เป็นองค์ประธาน ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1. การรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างกระแสที่เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
2. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชนในชุมชน
3. การสร้างและพัฒนาเครือข่าย

นักเรียน / นักศึกษา และประชาชนทั่วไป สนใจสมัครสมาชิกได้ที่
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในสถานศึกษา
- ชมรม TO BE NUMBER ONE ในชุมชน / เขต / จังหวัด ที่อาศัยอยู่
- ภูมิภาค สมัครได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร สมัครได้ที่ สำนักงานเขต
1. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม
2. ผู้สมัครสมาชิกได้รับเข็ม
3. ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดรักษาฟรีได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ
4. หน้าที่ของสมาชิก5. การจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE
TO BE NUMBER ONE เกิดจากการรวมตัวกันของสมาชิก TO BE NUMBER ONE จัดตั้งเป็นชมรมโดยมีองค์ประกอบ 3 ก ได้แก่
1. เป็นแกนนำในการหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการ เพื่อสร้างเครือข่ายสมาชิกในการต่อต้านยาเสพติดให้กว้างขวางมากขึ้น
2. สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมในการต่อต้านยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง
3. ร่วมสอดส่องดูแลถึงเพื่อนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงให้ห่างไกลยาเสพติดหรือหากพบเพื่อนที่เป็นกลุ่มเสพที่แจ้งเบาะแสแก่ครู อาจารย์
4. ทำหน้าที่คอย “ปรับทุกข์ – ผูกมิตร” กับเพื่อนที่ติดยาเสพติดและกลับตัวเป็นคนดีเพื่อให้ก้าวสู่สังคมได้อย่างมั่นใจ
ชมรม
กรรมการ โดยสมาชิก TO BE NUMBER ONE คัดเลือกกรรมการเพื่อบริหารจัดการชมรม มีบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งอย่างน้อย 5 คน ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน เลขานุการ กรรมการ
กองทุน กรรมการและสมาชิกร่วมดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำเงินรายได้หมุนเวียนใช้จ่ายในชมรม ซึ่งเป็นแนวทางสู่ความยั่งยืนของชมรม รวมถึงทรัพย์สินของชมรมด้วย
กิจกรรม สนับสนุนให้สมาชิกใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เกิดความภาคภูมิใจ และมองเป็นคุณค่าของตนเอง อันเป็นหนทางห่างไกลยาเสพติด รวมทั้งให้โอกาสและสนับสนุนการคืนสู่สังคมของสมาชิก “ใครติดยายกมือขึ้น” เช่น การฝึกและจัดหาอาชีพให้ เป็นต้น
6. กิจกรรมในชมรมมีอะไรบ้างTO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER เป็นรูปแบบสำเร็จรูปที่ชมรมต่าง ๆ สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินการในชมรม TO BE NUMBER ONE ของตน
7. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น หรือ TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER คืออะไร
TO BE NUMBER ONE FRIEND CORNER จัดตั้งขึ้นภายใต้การดำเนินโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อตอบสนองความต้องการของวัยรุ่น ที่ต้องการสิ่งพึ่งพาทางจิตใจ โดยเฉพาะจากผู้ที่มีความรู้และทักษะการให้คำปรึกษาวัยใกล้เคียงกัน หรือวัยเดียวกัน ช่วยเหลือให้คำแนะนำในลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน และให้วัยรุ่นมีสถานที่ที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย ได้รับประสบการณ์เพิ่มพูนทักษะจากการฝึกแก้ปัญหาและพัฒนาภาวะความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยมีแนวคิด
“ปรับทุกข์ สร้างสุข แก้ปัญหา พัฒนา EQ”
8. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นมีบริการอะไรบ้าง
9. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนเมือง
ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนเมือง ประกอบด้วย ชุมชนเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค ดังนี้
10. ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในชุมชนชนบท11. การจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นในสถานศึกษาTO BE NUMBER ONE ของสถานศึกษานั้น หรือจัดหาพื้นที่ใหม่แยกเป็นศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นต่างหาก
12. สื่อและเทคโนโลยีประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น
กิจกรรมในชมรม คือกิจกรรมสร้างสรรค์อะไรก็ได้ที่ให้สมาชิกเข้ามามีส่วนร่วม และดูแลช่วยเหลือกันระหว่างสมาชิก เช่น กิจกรรมด้านดนตรี กีฬา ศิลปะ เป็นต้น โดยมี
ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่น หรือ
ศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นให้บริการโดยอาสาสมัครประจำศูนย์เพื่อนใจวัยรุ่นที่มีวัยใกล้เคียงกัน หรือวัยเดียวกันกับวัยรุ่น ซึ่งมีบริการดังนี้
1. บริการให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่ต้องการพูดคุยปรึกษาปัญหาต่าง ๆ มีบริการ 2 ลักษณะ คือ บริการปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม โดยอาสาสมัครประจำศูนย์ ฯ และบริการปรึกษาทางโทรศัพท์
2. บริการฝึกคิดแก้ปัญหาพัฒนา EQ สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของตนเอง มีบริการด้วยกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยคอมพิวเตอร์จากคู่มือการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ทางระบบอินเตอร์เนต นอกจากนี้สามารถศึกษาหรือประเมินตนเองจากแบบประเมินต่าง ๆ เช่น แบบประเมิน EQ แบบประเมินความเครียดที่สามารถวิเคราะห์และประเมินผลให้ผู้ใช้บริการ ทราบผลได้ทันที หรือจากจุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง หากผู้ใช้บริการยังไม่สามารถค้นพบตัวเอง หรือค้นพบแนวทางการแก้ไขปัญหาในระดับที่พึงพอใจ สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนา EQ และกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตให้แก่เยาวชน โดยอาสาสมัครจะเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม กิจกรรมดังกล่าวจะสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากยาเสพติด ซึ่งนอกจากจะทำให้วัยรุ่นได้รับความสนุกสนาน ได้รู้จักเพื่อนแล้วยังทำให้วัยรุ่นได้พัฒนา EQ ของตนเอง และเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัยจากยาเสพติด
3. บริการกิจกรรมเสริมทักษะเชิงสร้างสรรค์เพื่อสร้างสุข เป็นบริการแนะนำ และฝึกกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจของเยาวชน โดยอาสาสมัครที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ร้องเพลง เต้นรำ DJ และอื่น ๆ เป็นต้น

TO BE NUMBER ONE
User avatar
tarato13
 
Posts: 368
Joined: Thu Jul 22, 2010 8:47 am


Return to ห้องเฉลิมพระเกียรติ



cron