Page 1 of 1

ทรงโปรดฯ

PostPosted: Tue Jun 14, 2011 2:27 pm
by bluedog
ทรงโปรดฯ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คุณอาจยังไม่รู้

นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Tue Jun 14, 2011 5:17 pm
by เพียงดิน2889
พระองค์ยังทรงโปรดการเล่นกีฬา โดยการแล่นเรือในทะเล ทรงเป็นนักกีฬาทีมชาติเมื่อครั้งแข่งกันกีฬาระดับอาเซียน โดยทรงแล่นเรือที่มีชื่อว่า ซุปเปอร์มด และทรงได้รับชัยชนะเป็นที่ 1 ด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการกีฬาเป็นอย่างมาก

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Wed Jun 15, 2011 6:54 am
by sareesri_39


เรื่องของในหลวง (ที่เราอาจไม่เคยรู้)

1.ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น.
2.นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์
3.พระนาม 'ภูมิพล' ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5.ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6.ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า 'H.H Bhummibol Mahidol'หมายเลขประจำตัว 449
7.ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า 'แม่'
8.สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9.แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10.สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคย เลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต11.สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทย ทรงตั้งชื่อให้ว่า'บ๊อบบี้'
12.ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13.สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ที มากเกินไป 2 ทีพอแล้ว

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Sat Jun 18, 2011 10:56 am
by รักเมืองไทย55
รายการโทรทัศน์ทรงโปรด

ทรงโปรดโทรทัศน์ช่อง ๕ ของฝรั่งเศส มีอยู่ช่วงหนึ่ง สถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวียูบีซีจะยกเลิกรายการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านทรงไปติดต่อไว้ว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรอยู่ อย่ายกเลิกเลย และได้ทราบว่าทางช่อง ๕ ของฝรั่งเศสก็ดีใจมากที่ทราบว่า พระองค์ท่านทอดพระเนตร และพระองค์จะรับฟังข่าวอยู่ตลอดเวลาทางวิทยุสื่อสารข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของตำรวจ ทหาร การสื่อสาร ในสมัยก่อนเมื่อมีข่าวต่างๆ ท่านจะทรงทราบหมด เช่น เวลามีไฟไหม้ ท่านก็ทรงโทรศัพท์ไปบอกดับเพลิงว่ามีไฟไหม้ตรงโน้นตรงนี้ มีเหตุการณ์หนึ่งขอนำมาเล่าให้ฟังที่สำนักราชเลขาธิการ วันหนึ่งพระองค์ท่านโทรศัพท์มาถามว่าท่านราชเลขาธิการอยู่ไหม เลขาหน้าห้องตอบว่าท่านยังไม่เข้ามานะคะ พระองค์ตรัสถามต่อว่าราชเลขาธิการไปไหน เลขาฯ ก็พูดเสียงสูงขึ้นว่าท่านยังไม่เข้ามา ไม่ทราบว่าใครจะเรียนสายด้วย ท่านก็ตรัสว่าช่วยบอกเขาด้วยว่านายเขาโทรมา เลขาฯหน้าห้องแทบจะเป็นลม หมอบกราบลงตรงนั้นเลย

http://www.otat.org/index.php?lay=show& ... 78&Ntype=1

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Mon Jun 20, 2011 7:08 am
by น้ำตก
ท่านทรงโปรดฯเรื่องกีฬาเรือใบ และโปรดฯ ดนตรีมาก
เพลงพระราชนิพนธ์ที่ท่านแต่งก็ไพเราะ

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Mon Jun 20, 2011 10:30 am
by babycat
ในหลวงของเรา (กับบางสิ่งที่เราไม่รู้)

- นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วย ทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯ โรงพยาบาลภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
- ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์" และ "ติโต" ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ "พระมหาชนก" ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
- ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"กีฬาซีเกมส์") ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2510
- ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
- ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ "กังหันชัยพัฒนา" เมื่อปี 2536
- ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็น พลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์ , ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

ที่มา : http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=67653

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Mon Jun 20, 2011 1:42 pm
by kuron23
ในหลวงทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน ทั้งด้านดนตรี ศิลปะ วัฒนธรรม การเกษตร และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแนวทางให้กับราษฎรได้นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและประเทศชาติอย่างยั่งยืน

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Wed Jun 22, 2011 2:05 pm
by tarato13
คำราชาศัพท์มี ๓ ประเภท คือ คำราชาศัพท์สมบูรณ์ คำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์ และคำราชาศัพท์ที่มาจากคำสามัญ

๑. คำราชาศัพท์สมบูรณ์ เป็นคำส่วนหนึ่งที่เป็นคำราชาศัพท์มาแต่เดิม จัดเป็นคำราชาศัพท์รูปแบบ มีรูปคำ ความหมายและวิธีการใช้คงที่ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงรูปคำ ไม่ต้องมีคำประกอบหน้าประกอบหลัง ถ้าเติมคำประกอบหน้าประกอบหลังเข้าไปก็ถือว่า "ผิด" คำราชาศัพท์สมบูรณ์มีจำนวนไม่มากนัก มีทั้งคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต เขมร ไทย และภาษาอื่นอีกเล็กน้อย คำราชาศัพท์สมบูรณ์ใช้ได้ทันที มีทั้งที่เป็นคำนามและคำกริยา เช่น

คำนาม ได้แก่ พลับพลา (ที่พักชั่วคราว) พาหุรัด (กำไลแขน) ทองกร (กำไล กำไลมือ) น้ำโสม น้ำจัณฑ์ (เหล้า) เป็นต้น คำพวกนี้ไม่ต้องมี "พระ" ประกอบอยู่

คำประสมอื่น ๆ ที่มีคำว่า "พระ" ประกอบอยู่กลาง เช่น สร้อยพระศอ ฉลองพระองค์ ลายพระหัตถ์ รถพระประเทียบ ฯลฯ

คำกริยา ได้แก่ เสด็จ โปรด เสวย บรรทม ตรัส กริ้ว สรง ประสูติ ประทาน ประชวร ฯลฯ

รวมทั้งคำประสมอื่น ๆ เช่น ทอดพระเนตร ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท โปรดเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ น้อมเกล้าฯ ด้วยเกล้าฯ ฯลฯ

ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์สมบูรณ์ก็คือ ผู้ใช้มักใช้ผิดด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจผิด โดยการเติมคำ "พระ" หน้าคำนามราชาศัพท์สมบูรณ์ หรือเติมคำ "ทรง" หน้าคำกริยาราชาศัพท์สมบูรณ์ การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง


๒. คำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์ เป็นคำราชาศัพท์รูปแบบเช่นเดียวกับคำราชาศัพท์สมบูรณ์ คำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์เป็นคำมีศักดิ์สูงกว่าคำสามัญ ปกติมักจะไม่ใช้ภาษาทั่วไป คือหากไม่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ ก็มักใช้เป็นภาษาวรรณคดีหรือภาษาการประพันธ์ที่เน้นแสดงออกถึงความรู้สึกและอารมณ์เป็นสำคัญ

คำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์จะนำมาใช้ทันทีไม่ได้ ต้องนำมาปรุงแต่งเสียก่อน ด้วยวิธีเติมคำประกอบหน้าหรือคำประกอบหลังตามแต่กรณี ตัวอย่างเช่น
วัง เป็น ราชวัง พระราชวัง พระบรมมหาราชวัง วังหลวง
อาราม เป็น พระอาราม พระอารามหลวง
เนตร เป็น พระเนตร
แสง เป็น พระแสง พระแสงต้น พระแสงทรง
ประพาส เป็น ประพาสต้น
ฯลฯ


๓. คำราชาศัพท์ที่มาจากคำสามัญ คำราชาศัพท์รูปแบบ ทั้งคำราชาศัพท์สมบูรณ์และคำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์มีคำอยู่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่คำราชาศัพท์จำเป็นต้องมีคำใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอตามธรรมชาติของภาษา คำราชาศัพท์ที่จะเกิดขึ้นใหม่จึงต้องมาจากคำสามัญ ทั้งคำไทย และคำต่างประเทศที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั่นเอง

คำสามัญเมื่อจะนำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ต้องนำมาปรุงแต่งโดยการเติมคำประกอบหน้าหรือคำประกอบหลังเช่นเดียวกับคำราชาศัพท์ไม่สมบูรณ์ ดังตัวอย่าง
ลูก เป็น พระลูก ลูกหลวง
ปืน เป็น พระแสงปืน พระแสงปืนต้น ปืนต้น
เรือ เป็น เรือต้น เรือหลวง เรือพระที่นั่ง
ฯลฯ

(คัดจากหนังสือ "ราชาศัพท์" โดย สนิท บุญฤทธิ์)

จากคุณ : วศินสุข - [ 23 ก.ย. 49 12:09:45 ]

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Sat Jun 25, 2011 1:49 pm
by สมศรี422อาร์
ท่านทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายๆด้าน ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Thu Jun 30, 2011 11:09 am
by ae_mon
ในหลวงทรงโปรดการดนตรี
ทรงมีพระปรีชาสามารถสร้างสรรค์พระราชนิพนธ์บทเพลงหลาย ๆ เพลง
อาทิเช่น แสงเทียน ใกล้รุ่ง ยามเย็น ชะตาชีวิต
ซึ่งล้วนแต่มีความไพเราะอย่างยิ่ง

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Thu Jun 30, 2011 9:22 pm
by sweet2011
การพึ่งพาตนเองได้ ความพอเพียง

Re: ทรงโปรดฯ

PostPosted: Wed Oct 12, 2011 8:44 am
by militaryloveking
ในแผ่นดินนี้ไม่มีใครเสียสละ เท่าพ่อหลวง