การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทย เทิดพระเกียรติในหลวงและราชวงศ์จักรีที่ห้องนี้ครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

Postby bluedog » Thu Aug 04, 2011 12:31 pm

การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบ ประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"

การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟอง Chaipattana Aerator, Model RX-1
2. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
3. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
4. เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท Chaipattana Aerator, Model RX-5
5. เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
6. เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
7. เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8
8. เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
9. เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 เครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ได้รับการพิจารณาและทูลเกล้า ฯ ถวายสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย นับเป็นสิ่งประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตร และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรให้แก่พระบรมราชวงศ์ด้วย จึงนับได้ว่าเป็น "สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยและเป็นครั้งแรกของโลก" นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนาได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทรางวัลผลงานคิดค้นหรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประจำปี 2536 และทูลเกล้า ฯ ถวายรางวัลนี้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอีกวาระหนึ่ง

หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
1. โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
2. ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
3. ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลายเข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
4. ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลังเคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น
User avatar
bluedog
 
Posts: 146
Joined: Fri Mar 11, 2011 1:52 pm

Re: การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

Postby น้ำตก » Mon Aug 08, 2011 2:51 pm

ประชาชนสามารถนำไปประดิษฐ์ใช้ในที่บ้านเพื่อบรรเทา
ปัญหาน้ำเสีย โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายมาก
User avatar
น้ำตก
 
Posts: 370
Joined: Wed Sep 08, 2010 9:32 pm

Re: การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"

Postby sareesri_39 » Tue Aug 09, 2011 7:02 am

โครงการบำบัดน้ำเสียแหลมผักเบี้ย

....ปัญหาสำคัญคือเรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะได้ศึกษามาแล้วเหมือนกันทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยีทำได้แล้วในเมืองไทยเองก็ทำได้หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแล้วทำในเมืองไทยก็ทำได้หรือจะจ้างบริษัทต่างประเทศมาทำก็ได้นี่แหละปัญหาเดียวกันเดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำแต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ""

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อัญเชิญมานี้คือที่มาของ"โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ด้วยทรงตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเป็นอย่างมากและนับวันปัญหานี้ได้ทับถมทวีคูณมากยิ่งขึ้นส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชนทั้งหลายที่ต้องประสบกับภาวะวิกฤตที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

หลังจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนาและสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ(สำนักงาน กปร.)และกรมชลประทานไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ประเทศออสเตรเลียเพื่อนำรูปแบบและ วิธีการมาปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในประเทศไทย

พื้นที่ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นพื้นที่ดำเนินการโครงการเพื่อสนองพระราชดำริคือพื้นที่สาธารณประโยชน์ของจังหวัดเพชรบุรีประมาณ 642 ไร่ ตั้งอยู่ในบริเวณตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยมูลนิธิชัยพัฒนาสำนักงานกปร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรมชลประทานกรมป่าไม้ กรมประมงสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และจังหวัดเพชรบุรี

วัตถุประสงค์ของโครงการในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชนได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้ดังนี้ ระยะที่หนึ่ง : การทดลองศึกษาความเป็นไปได้ (พ.ศ. 2535-2536)

ระยะที่สอง : การหารูปแบบการทดลอง ภาคปฏิบัติ (พ.ศ.2537-2539)
ระยะที่สาม : การทดลองประสิทธิภาพ และสร้างแบบจำลองระบบ บำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะ (พ.ศ.2540-2542)
ระยะที่สี่ : การสร้างคู่มือสำหรับการประยุกต์ใช้ (พ.ศ.2543-2544)

ปัจจุบันการดำเนินงานศึกษาวิจัยตามแผนที่กำหนดไว้ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วและสามารถสร้างคู่มือสำหรับประยุกต์ใช้เพื่อเผยแพร่ การศึกษาวิจัยคือ 1. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชน และปลูกพืชน้ำที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ว่าเหมาะสมที่สุด 2 ชนิด คือกกกลม(กกจันทบูรณ์) (Cyperus Corymbosus Rottb.) และ ธูปฤาษี (Typha angustifolia Linn.) ช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะ การให้น้ำเสีย 2 ระบบ คือระบบปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียขังได้ในระดับหนึ่งและมีการระบายน้ำเสียเติมลงในระบบทุกวันและระบบเปิดเป็นระบบที่ให้น้ำเสียลงสู่ระบบบำบัดอย่างต่อเนื่องน้ำเสียใหม่เข้าไปดันน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบให้ไหลล้นทางระบายน้ำหรือทางระบบท่อใต้ดินสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติซึ่งมีระยะเวลาในการพักน้ำเสีย 1 วัน และพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

2. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบพืชกรองน้ำเสียเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกพืชที่ผ่านการคัดเลือกว่า เหมาะสม 3 ชนิด คือ ธูปฤาษีกกกลม (กกจันทบูรณ์) และหญ้าแฝก อินโดนีเซียช่วยในการบำบัดน้ำเสียโดยมีลักษณะการให้น้ำเสียคือระบบที่ให้น้ำเสียขังไว้ 5 วันและปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วันและระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำ ธรรมชาติและพืชที่ปลูกสามารถตัดออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

3. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบบำบัดแบบพึ่งพาธรรมชาติโดยอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียและการเติมออกซิเจนจากการสังเคราะห์แสงของแพลงตอนในน้ำเสีย ซึ่งในการออกแบบสามารถรองรับน้ำเสียได้ 4,500-10,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยมีบ่อบำบัดน้ำเสียจำนวน 5 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน 1 บ่อ บ่อผึ่ง 3 บ่อ และบ่อปรับสภาพจำนวน 1 บ่อ ซึ่งคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัด อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งชุมชน

4. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบหญ้ากรองน้ำเสียเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงหรือทำบ่อเพื่อกักเก็บน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและปลูกหญ้าอาหารสัตว์ที่ผ่านการคัดเลือกว่าเหมาะสม 3 ชนิดช่วยในการบำบัดคือหญ้าสตาร์(Cynodon plectostachyus) หญ้าคาลลา (Letpochloa fusca) และหญ้าโคสครอส (Sporobolus virginicus) มีลักษณะการให้น้ำเสีย คือระบบที่ให้น้ำเสียขังไว้ 5 วัน และ ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง 2 วัน และระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกจากระบบโดยปล่อยระบายน้ำสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและหญ้าเหล่านี้ สามารถตัดออกนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้

5. การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบแปลงพืชป่าชายเลนเป็นการบำบัดโดยการทำแปลงเพื่อกักเก็บน้ำทะเลและน้ำเสียที่รวบรวมได้จากชุมชนและ ปลูกป่าชายเลนด้วยพันธุ์ไม้ 2 ชนิด คือ ต้นโกงกางและ ต้นแสมเพื่อช่วย ในการบำบัดอาศัยการเจือจางระหว่างน้ำทะเลกับน้ำเสียสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนหรือกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งที่มีพื้นที่ติดอยู่กับป่าชายเลนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างแปลงพืชป่าชายเลนแต่จะต้องมีบ่อพักน้ำเสียไว้ระยะหนึ่งและทำการระบายน้ำเสียเหล่านั้นสู่พื้นที่ป่าชายเลนที่มีอยู่ในขณะที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุดซึ่งจะเป็นการบำบัดน้ำเสียได้ในระดับหนึ่ง
User avatar
sareesri_39
 
Posts: 306
Joined: Mon Oct 11, 2010 10:03 am


Return to ห้องเฉลิมพระเกียรติ



cron