ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทย เทิดพระเกียรติในหลวงและราชวงศ์จักรีที่ห้องนี้ครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

Postby bluedog » Mon Aug 08, 2011 2:28 pm

ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาต่อ พสกนิกรชาวนาไทย ทรงทุ่มเทพระวรกายบำเพ็ญ พระราชกรณียกิจด้าน การพัฒนาข้าวไทย และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา พระองค์ท่าน จึงทำให้แผ่นดินไทยกลายเป็น "แผ่นดินทอง" ความทุกข์ยากลำบากแปรเปลี่ยนเป็นความสุขสบาย อยู่แบบพอเพียง ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ เกี่ยวกับข้าวและชาวนามากมาย

พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ต่างก็ให้ความสำคัญกับข้าวและชาวนาไทยมาโดยตลอด
User avatar
bluedog
 
Posts: 146
Joined: Fri Mar 11, 2011 1:52 pm

Re: ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

Postby sareesri_39 » Tue Aug 09, 2011 7:37 am

ข้าวสังข์หยด พัทลุง

พันธุ์ข้าวที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
พระองค์ท่านทรงมีพระราชดำริเมื่อปี พ.ศ. 2543 ให้โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ
จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ในพื้นที่แปลงนา
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2546 สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถเสด็จไปยังฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ จังหวัดพัทลุง ครั้งนั้น
ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด ซึ่งทรงนำมาเสวย ทรงรับสั่งว่าอร่อย
ทรงโปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาปลูกใหม่เพื่อเผยแพร่ และรักษาพันธุ์ข้าว
ต่อมาในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา ทรงโปรดให้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวสังข์หยด
เผยแพร่กับประชาชนที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และในปีนี้ (2548) ศูนย์ศิลปาชีพได
้นำข้าวสังข์หยดมาแนะนำ และเผยแพร่ ในงานจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพใน
วันที่ 15-31 กรกฎาคม นี้
จังหวัดพัทลุง เมืองอู่ข้าวอู่น้ำของชาวใต้มาแต่โบราณ เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวที่สำคัญ
เพื่อเลี้ยงคนในพื้นที่และจังหวัดต่างๆในภาคใต้ ด้วยเหตุแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางด้าน
ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งปลูกฝังคู่กับเมืองพัทลุงมาเป็นเวลานาน
พันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้หลากหลายพันธุ์ จึงมีถิ่นกำเนิดจากเมืองพัทลุงแห่งนี้
ข้าวพันธุ์สังข์หยด ข้าวพื้นเมืองภาคใต้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในเขตเพาะปลูกเมืองพัทลุง จากเอกสารหลักฐานบัญชีรายชื่อข้าวที่รวบรวมจากท้องถิ่นต่างๆทั่วประเทศ โดยกองบำรุงพันธุ์
กรมการข้าว กระทรวงเกษตร ได้รวบรวม และปรากฏชื่อ ข้าวสังข์หยด ใน locality No. ที่ 81
เมื่อปี พ.ศ. 2495 – 2496 เก็บจากอำเภอเมืองจังหวัดพัทลุงดังนั้นจึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกกันมานาน ไม่ต่ำกว่า 50 ปี และปัจจุบันยังคงปลูกอยู่ในจังหวัดพัทลุงข้าวพันธุ์สังข์หยดมีลักษณะแตกต่างจากข้าวพันธุ์อื่น คือ ข้าวสารหรือข้าวกล้องที่มีเหยื้อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม
ในเมล็ดเดียวกันเมื่อข้าวหุงสุกมีความนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัวลง ข้าวสังข์หยดนอกจากมีความนุ่มอร่อยแล้วยังให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวอื่นๆ
เนื่องจากข้าวสังข์หยดกล้อง มีโปรตีนสูง วิตามินสูง โดยเฉพาะ ไนอาซีน มีมากถึง 3.97 มิลิกรัม ซึ่งมีน้อยในข้าวสายพันธุ์ อื่นๆ จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ได้ดำเนินการคัด
เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมของข้าวสังข์หยด และศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชที่ 6 พัทลุง
ทำการขยายพันธุ์ในแปลงขยายพันธุ์ของศูนย์ เพื่อขยายเมล็ดพันธุ์ ส่งเสริมการ
ปลูกข้าวพันธุ์สังข์หยด ให้เกษตรกรในเขตจังหวัดพัทลุงในปี 2548 นวทางในการจัดจำหน่าย
ในปัจจุบันมีจำหน่ายในร้านสุวรรณชาด และซุปเปอร์สโตร์ชั้นนำในกรุงเทพมหานครตลอดจน
ร้านอาหารสุขภาพต่างๆ การส่งเสริมข้าวสังข์หยดให้เป็นข้าวเศรษฐกิจของจังหวัดพัทลุง
จึงเริ่มดำเนินการ ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ ที่เพิ่มคุณค่า และตรงกับความต้องของตลาดภายใน
และต่างประเทศ ละด้วยคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้าวพันธุ์สังข์หยดจึงจัดอยู่ในระดับตลาดข้าว
คุณภาพดีพิเศษได้

ข้าวสังข์หยดพัทลุง "ข้าวจีไอ" พันธุ์แรกของไทย
User avatar
sareesri_39
 
Posts: 306
Joined: Mon Oct 11, 2010 10:03 am

Re: ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

Postby NUBO » Tue Aug 09, 2011 2:20 pm

เห็นมั้ยละท่านสนใจทุกเรื่อง
ท่านทรงคิดและให้ช่วยกันหาหนทางช่วยเหลือประชาชน
ให้พ้นทุกข์ให้มีความสุข
ทำไมพวกเราถึงไม่ทำเพื่อในหลวงบ้างละ
User avatar
NUBO
 
Posts: 236
Joined: Thu Jul 22, 2010 4:00 pm

Re: ข้าวกับพระมหากษัตริย์ไทย

Postby militaryloveking » Mon Oct 10, 2011 8:39 am

การทรงงานหนักด้วยพระวินิยะอุตสาหะนั้น เป็นที่ประจักษ์และตราตรึงอยู่ในหัวใจของปวงประชาทุกหมู่เหล่า
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am


Return to ห้องเฉลิมพระเกียรติ