จักรยานๆ ทำไมมันมีแต่ล้อนะเนี้ย

คุยกันสบายๆ ไม่ซีเรียส

จักรยานๆ ทำไมมันมีแต่ล้อนะเนี้ย

Postby chanbaan » Sat Sep 19, 2009 8:31 pm

Image
แล้วคุณจะต้องค้นหา เมื่อจักรยานที่เราเคยเห็นมันเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้ และทีสำคัญมันมีอยู่จริง เราอาจคุ้นเคยกับจักรยานที่ธรรมดาๆ และเมื่อคุณปั่นจักรายนไปไหน ก็ลำบากมากเวลาที่จักรยานที่รักของเราลากสังขารที่เหนื่อยเหน็ดของเราไปไกลแสนไกล แล้วเวลาจะกลับบ้านก็ต้องปั่นๆ ฝืนสังขารกลับบ้าน เพราะหลงระเริงปั่นไปสะเพลิน แบบนี้้
--------------------------------

จักรยานพับได้เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งของคนที่นิยมการออกกำลังกายแบบไม่อยู่กับที่ และไม่ยึดติดสถานที่ จักรยานพับได้มีคุณลักษณะในการเคลื่อนย้ายง่าย และที่สำคัญลดภาระค่าน้ำมันรถในเวลาที่คุณอยากท่องเที่ยวอีกด้วย การท่องเที่ยวในยุคที่น้ำมันแพงหูฉี่ เวลาที่เราขับรถไปทั่วก็ต้องเอาจักรยานไปด้วยหากพับไม่ได้ ก็ทำให้เป็นภาระเวลาเคลื่อนย้ายเจ้าจักรยานคันโปรดอีกด้วย
วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกจักรยานพับได้ก็คือ เรื่องราคา เพราะเรื่องราคานั้นถือเป็นเรื่องสำคัญพอๆ กับรูปลักษณ์ที่คุณต้องการเลยทีเดียว เพราะหากราคาแพงก็ไม่ต้องคิดถึงรูปลักษณ์จริงไหมละ
เรามาติดตามดูความคิดเห็นของชาวไซเบอร์กันว่าเขามีความคิดเห็นในการเลือกจักรยานพับได้กันอย่างไรบ้าง เราจะขอพาท่านไปที่เว็บ
http://www.bikeloves.com/board_qa/show_ ... p?qID=8654
โดย เสือ Spectrum
แล้วยังมีตัวเลือกอื่นๆ ที่ดีกว่าอีกไหมนะ เรามาดูกัน เราขอพาท่านไปที่เว็บไซต์
http://hitech.sanook.com/technology/product_13257.php
YikeBike จักรยานไฟฟ้า"พับได้"ใช้ดี
ก่อนหน้านี้ ทางเว็บไซต์ arip ได้เคยแนะนำนวตกรรมยานพาหนะ"ล้อเดียว"ทีสามารถทรงตัวได้เองชื่อว่า Enicycle หรือจะเป็นจักรยานไฮบริดที่เลือกว่าจะปั่นเอง หรือให้มอเตอร์ไฟฟ้าปั่นให้ รวมถึงจักรยานพับได้ในรูปแบบต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการพกพา หรือจัดเก็บ ล่าสุดมีนวตกรรมแนวๆ นี้โผล่ออกมาอีกแล้ว โดยตัวนี้มีชื่อว่า YikeBike

YikeBike เป็นจักรยานไฟฟ้าที่มีดีไซน์ไม่เหมือนใคร แถมยัง"พับได้" เพื่อสะดวกต่อการนำติดตัวไปใช้งานเมื่อยามจำเป็นได้อีกด้วย YikeBike จะมีสองล้อไม่เท่ากัน โดยที่นั่งของผู้ขับจะอยู่บนล้อใหญ่ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากำลัง 1.2 กิโลวัตต์ ด้านข้างจะเป็นแฮนด์บังคับ ตัวถังทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ทีมีคุณสมบัติเบาและแข็งแรง และออกแบบให้สามารถพับเล็กลงจนเหลือขนาดเพียง 6 x 23.6 x 23.6 นิ้ว (23.6 นิ้ว จะเป็นความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อใหญ่) และมีน้ำหนักเพียง 22 ปอนด์ (10 กิโลกรัม) ซี่งได้เร็วสุด 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถชาร์จแบตเตอรี่ให้ได้ 80% ภายในเวลา 20 นาที โดยเจ้าของ YikeBike จะใช้เวลาในการพับเก็บแค่ 15 วินาทีเท่านั้น...ว้าว!!!



ไม่น่าเชื่อว่า YikeBike จะควบคุมการทำงานด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์จริงๆ โดยเฉพาะระบบป้องกันการล็อคไม่ให้เกิดการลื่นไถล อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ดีไซน์ของ YikeBike ทำให้นึกถึงต้นแบบจักรยานสองล้อในอดีตที่"ล้อหน้าใหญ่-ล้อหลังเล็ก" แต่การออกแบบในสมัยนั้นล้อหน้าจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 3 ฟุตเลยทีเดียว ซึ่งก็ไม่น่าเชื่ออีกเหมือนกันว่า มันจะใช้ขี่ได้จริง กลับมาที่ YikeBike กันดีกว่า ปัจจุบันเจ้าจักรยานไฟฟ้าพับได้คันนี้ยังคงเป็นคอนเซปต์ เนื่องจากยังหาผู้รับผลิตเป็นสินค้าไม่ได้ แต่หากมีการผลิตจริง สนนราคาเบื้องต้นจะตกอยู่ที่ประมาณ

เอาเป็นว่า ข้อมูลที่หามานี่คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกท่าน

การเลือกซื้อจักรยานพับเรื่องแรกที่สำคัญเลยคือความแน่นหนาของจุดพับครับ ก่อนซื้อลองจับรถตามตำแหน่งที่เป็นจุดพับได้ทั้งหลายว่ามีการคลอนตัวหรือไม่ จุดพับ "แข็งแรง" หรือเปล่า หากรู้สึกว่าคลอนตัวตั้งแต่แรกก็ไม่ควรนำมาใช้งาน

ถ้ารู้สึกว่าทดลองขยับแล้วแน่นหนาดี ขั้นที่ 2 ที่ควรทำก็คือทดลองปั่นฯ ดูสักเล็กน้อย จักรยานพับบางคันเวลาปั่นฯ จะให้ความรู้สึกว่าหน้าไว บังคับการทรงตัวยาก เอามาใช้ปั่นฯ ทางยาวๆ แล้วจะ "เครียด" ได้ง่ายครับ หากลองปั่นฯ แล้วรู้สึกว่า "แปลกๆ" จักรยานคันนั้นก็ไม่เหมาะกับเราครับ

เรื่องที่ 3 ที่อยู่ในหัวข้อพิจารณาก็คือจักรยานพับที่รองรับผู้ใช้ได้หลายระดับความสูงมักจะต้องปรับสูง-ต่ำได้ทั้งแฮนด์และหลักอาน (เบาะนั่ง) ครับ รถรุ่นราคาต่ำบางคันแฮนด์จะปรับสูง-ต่ำไม่ได้ ซึ่งทำให้เหมาะสมกับบางระดับความสูงเท่านั้นเช่น คนสูงขับขี่ไม่สบายหรือไม่ก็กลับกันครับ

จักรยานจากอังกฤษบางยี่ห้อที่เป็นจักรยาน Classic ราคาแพงเช่น Brompton ก็เป็นแฮนด์แบบปรับสูง-ต่ำ ไม่ได้ แต่จะใช้วิธีเปลี่ยนแฮนด์เพื่อให้เหมาะสมกับเจ้าของแทน เนื่องจากแนวคิดของรถจากอังกฤษไม่ได้รองรับผู้ใช้หลายคน / จักรยาน 1 คัน ตามปรกติมักมีเจ้าของคนเดียวเป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้งานครับ

ถ้ามี Spec. ของจักรยานให้อ่านก็ลองดูว่าเขาระบุให้สามารถใช้ได้กับความสูงตั้งแต่เท่าใดถึงเท่าใด และรับน้ำหนักผู้ขับขี่ได้สูงสุดเท่าไร แต่ตามปรกติแล้วมักได้เฉียดๆ 100 กก. และความสูงระหว่าง 160 - 180 ซม.เป็นอย่างต่ำครับ

เรื่องที่ 4 ที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยก็คือเรื่องการพับว่าสามารถพับได้ง่าย-คล่องแคล่วหรือพับ (ยุ่ง) ยาก ลองนึกภาพตัวเองกำลังยุ่งอยู่กับการพยายามพับรถจักรยานตรงบันใดทางขึ้นรถไฟฟ้าหรือริมถนนที่มีคนเดินขวักไขว่ซิครับ ยิ่งพับยากเท่าไรคุณก็ยิ่งวุ่นวายใจกับเวลาที่ผ่านไปจนกระทั่งแม้เวลาแค่ 1 หรือ 2 นาทีก็นานเหมือนเป็นชั่วโมงครับ

รถพับจากอเมริกายี่ห้อ Bike Friday ล้อ 16 นิ้ว รุ่น Tikit 8 เกียร์ ราคาคิดเป็นเงินไทยประมาณ 7 - 8 หมื่นบาท ใช้เวลาพับแค่ชั่วกระพริบตาหรือสะบัดมือ(พับ) ครับ เนื่องจากเป็นรถพับรุ่นเดียวที่ออกแบบให้มีกลไกเป็นสายสลิงภายในช่วยในการพับเร็วและกางออกเร็ว

เรื่องที่ 5 คือขนาดเมื่อพับแล้วครับ รถพับล้อ 16 นิ้วหรือเล็กกว่าได้เปรียบและเหมาะสมสำหรับพื้นที่ในเมืองเนื่องจากขนาดเมื่อพับแล้วมีมิติที่ไม่ใหญ่จนดูเหมือนเกะกะ รถพับทั่วๆ ไปเมื่อพับแล้วมักมีมิติไม่น้อยกว่า 50 X 50 X 50 ซม. หรือ ครึ่งลูกบาศก์เมตร

หากอยากทราบความรู้สึกเปรียบเทียบเมื่อต้องใช้งานรถพับจริง ลองหากล่องกระดาษที่มีมิติประมาณนี้แล้วใส่น้ำหนักลงไปอย่างน้อย 10 กก. แบกหรือหิ้วขึ้นสถานนีรถไฟฟ้าหรือลงรถใต้ดินดูครับ

จักรยานพับที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในเมืองมักจะเน้นเรื่องน้ำหนักที่ "เบา" ไว้เป็นเรื่องแรกก่อนครับ จักรยานทั่วไป ที่น้ำหนักเบาๆ ส่วนมากก็มีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 10 - 11 กก. แต่สำหรับจักรยานพับนี่ต้องทดลองของจริงด้วยการหิ้วกล่องกระดาษน้ำหนัก 10 กก. หรือคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คน้ำหนัก 5 กก. สัก 2 เครื่องขึ้นบันใดรถไฟฟ้าครับ แล้วคุณจะตัดสินใจได้เองกับ "น้ำหนัก" ของรถพับว่าหนักระดับใหนถึงจะเรียกได้ว่า "เหมาะสม"

Strida ล้อ 16 นิ้ว Single Speed น้ำหนักรวมประมาณ 10 กก. ราคาประมาณ 19,000 บาท

Pacific Carry ME ล้อ 8 นิ้ว Single Speed น้ำหนักรวมประมาณ 8 กก. ราคาประมาณ 16,000 - 18,000 บาท

จักรยานพับตัวถังเหล็กหรืออลูฯ Single Speed ทั่วๆ ไป จะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 10 - 12 กก. ราคาอยู่ระหว่าง 3,500 - 10,000 กว่าบาท ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อครับ
ส่วนจักรยานพับมีเกียร์จะมีหลายราคา รุ่นที่ราคาแถวๆ 8,000 - 10,000 กว่าบาท มักมีน้ำหนักมากคือระหว่าง 13.5 - 16 กก. ครับ หากต้องการรุ่นที่น้ำหนักเบาก็จะมีราคาแพงขึ้นไประหว่าง 20,000 - 30,000 กว่าบาทครับ

หากต้องการหาจักรยานพับแบบมีเกียร์เอาไว้ใช้ในเมืองและไม่อยากได้จักรยานแบบเกียร์เดียว (Single Speed) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับรถแบบมีเกียร์ที่ไม่ค่อยต้องการการดูแลรักษามาก (พัง-ทิ้งหรือเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ ถ้าไม่พังก็ยังใช้งานได้ดีไม่ต้องคอยปรับแต่ง) ก็ต้องหารถจักรยานประเภทเกียร์ดุม (Hub Gear) ครับ แต่อาจจะหาซื้อในแบบของใหม่ มือหนึ่งยากหน่อยนะครับ ส่วนมากมักจะเป็นจักรยานมือสองและก็มีน้ำหนักมากกว่าจักรยานแบบเกียร์เดียวเนื่องจากน้ำหนักของอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาครับ (เกียร์ดุม 3 เกียร์ ล้อ 20 นิ้วที่ผมใช้อยู่เป็นจักรยานตัวถังเหล็ก มือสอง น้ำหนัก 14 กิโลฯ ครับ)

เหตุผลที่จักรยานแบบมีเกียร์ไม่เหมาะกับพื้นที่ในเมืองใหญ่เนื่องจากว่า

1. การใช้ความเร็วสูงไม่สามารถทำได้สะดวกและต่อเนื่อง จึงไม่ค่อยได้ใช้ความสามารถของเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์บ่อยนัก และระยะทางที่ใช้งานมักอยู่ในรัศมีไม่เกิน 10 - 15 กิโลฯ ซึ่งระยะทางขนาดนี้แม้ว่าจะใช้จักรยานแบบเกียร์เดียวก็อยู่ในวิสัยที่จะนำมาใช้งานได้อย่างสะดวก

2. รถแบบมีเกียร์ (ภายนอก) จะมีปัญหาระหว่างทางได้ง่ายเช่นรถล้มหรือตีนผีไปชนกับเสาหรือกำแพงขณะพับและหิ้วเพื่อเดินทาง ซึ่งจะมีผลให้เกียร์รวนหรือเสียหายไม่สามารถใช้งานได้

เท่านี้คงพอให้คุณมีหลักในการเลือกรถพับมากขึ้นอีกนิดหน่อยนะครับ ส่วนที่เหลือก็อยู่กับการตัดสินใจของคุณเองว่ารถแบบใดจะเหมาะกับความต้องการในการนำไปใช้งานของคุณครับ
------------------------------------------
อันนี้ผมคิดว่าเป็นประโยชน์นะครับ แบ่งกันติชมบ้างก็ดีนะครับ
รูปภาพประกอบ http://www.pookpun.com/phpfile/showsearch.php?bkid=47&groupb=7
อุดมการณ์ไม่ใช่คลิก แต่ต้องคิด คิดไปเรื่อยเลยวุ่ย
พุทธเจ้านำทาง ธรรมประคองใจ จิตใจวุ่นวาย ผิดพลาดพลั่งเผลอ มันเป็นสัจจะธรรมของคนที่ยังคน(เราเอง)
"เกลียดปฏิวัติไทยคม ชื่นชมปฏิวัติสีขาว เกลียดนักการเมืองขี้ฉอ ชื่นชอบนักการเมืองยึดมั่นอุดมการณ์"
User avatar
chanbaan
 
Posts: 2001
Joined: Wed Aug 19, 2009 9:25 am

Return to ชายคาพักใจ



cron