21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

เรื่องการเมือง เชิญที่นี่เลยครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

เชิญทุกท่านเข้าสู่บอร์ดใหม่ได้ที่ http://webboard.serithai.net ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ viewtopic.php?f=2&t=44976 ครับ

21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby istyle » Sun Oct 19, 2008 12:14 am

ก็แค่ตัดสินคดีเหลี่ยม ถึงขั้นติดคุกติดตะราง

แล้วมันทำไมอะครับ มันสำคัญยังไง

ถ้าติดคุก มันก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ก็ยังขับโรสลอยด์อยู่ หรือว่าเขาจะส่งกลับมาติดคุก?

สมชายก็หน้าด้านหน้าทนต่อไป ไม่ใช่คดีตัวเองสักหน่อย

ไม่เห็นต้องเดือดร้อนขนาดต้องออกมาปฎิวัติตัวเอง/ล้อมศาลเลยหนิครับ

พอดีอ่านเกมไม่ออกอ้ะ :oops:
User avatar
istyle
 
Posts: 1160
Joined: Mon Oct 13, 2008 9:18 am

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby Cherub Rock » Sun Oct 19, 2008 12:50 am

ล่าทักษิณ...เลือนราง

17 สิงหาคม 2551 กองบรรณาธิการ

การไม่มารายงานตัวต่อศาลของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และภริยา โดยเดินทางไปประเทศอังกฤษและประกาศว่าจะขอลี้ภัยทางการเมือง

ในขณะที่ยังมีคดีความต่างๆ ค้างคาอยู่ในศาลหรือรอขึ้นศาลนั้น
คงจะมีกระแสเรียกร้องกดดันให้รัฐบาลไทยใช้ช่องทางขอตัวให้รัฐบาลอังกฤษส่ง ผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งรัฐบาลก็คงปฏิบัติไปตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน
แต่-ช่องทางนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ ต่อให้รัฐบาลอังกฤษไม่ยอมให้ พ.ต.ท.ทักษิณลี้ภัย เพราะการขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนนั้นรู้กันว่ายากเย็นแสนเข็ญ ตั้งแต่กรณีของราเกซ สักเสนา และปิ่น จักกะพาก ผ่านไปเป็นทศวรรษแล้วยังไม่ได้ตัว โดยเฉพาะรายหลัง ศาลอังกฤษยกคำร้องขอโดยระบุว่าเป็นฐานความผิดที่ไม่มีในประเทศอังกฤษ
อังกฤษมีกฎหมาย ป.ป.ช.มาตรา 100 หรือไม่ อังกฤษจะให้ตัวมาดำเนินคดีหวยบนดินหรือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้ออ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณว่า "ผลไม้ที่เกิดจากต้นไม้ที่เป็นพิษ" มีการสืบทอดระบบเผด็จการและแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ศาลอังกฤษจะพิจารณาอย่างไร เป็นที่น่าสนใจยิ่ง


"เราควบคุมไม่ได้"
ศิริศักดิ์ ติยะพรรณ

อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศเพิ่งรับตำแหน่งนี้เมื่อเดือนเมษายน อยู่ๆ ก็มีเผือกเผาลอยลมมาตกใส่เท้า สนทนากันก็รู้ว่ามีความลำบากใจอยู่ใต้ถ้อยคำ แม้เจ้าตัวจะบอกว่าต้องตั้งความหวังไว้ 100% ก่อน จากนั้นจะลดลงไปมากน้อยแค่ไหนขึ้นกับเงื่อนไข
เพราะนี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลไทย ศาลไทย อัยการไทย ตัดสินอะไรไม่ได้ ขึ้นกับทางอังกฤษเป็นสำคัญ
เขาพยายามพูดในหลักการทั่วไป ไม่มีคำว่า "ทักษิณ" ออกจากปาก นอกจากคำถามของเรา
ยิงคำถามเลยว่า กรณีของอดีตนายกฯ ที่มีหลายคดีค้างคาอยู่ จะต้องขอตัวทีละคดีหรือขอรวม
"โดยหลักการคืออยากได้คดีไหนขอคดีนั้น เพราะหลักของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็นอย่างนี้ ขอคดีไหนมาคุณต้องทำคดีนั้นนะ ถ้าไปทำคดีอื่นที่ไม่ได้ขอถือว่าผิด จะพ่วงคดีอื่นด้วยไม่ได้ อันนี้คือหลักนะ เขาเรียก rules of speciality คือหลักการดำเนินคดีโดยเฉพาะเจาะจง เป็นหลักสากล"
"แต่ก็มีข้อยกเว้น แล้วแต่การตกลงกันในสนธิสัญญา เช่นถ้าคดีหลักขอเข้ามาแล้วมีคดีพ่วงแถมเข้ามา ถ้าประเทศที่จะส่งมาให้เขายอมก็โอเค ถ้าเขาไม่ยอมก็ต้องขอกันใหม่ เขาเรียกว่าหลักการดำเนินคดีโดยเฉพาะเจาะจง ถ้าหลายคดีต้องขอหลายกรณีไหมก็สุดแล้วแต่ คือมันทำได้หลายวิธี เรายังไม่เห็นหลักฐานก็ยังไม่สามารถจะบอกได้ว่าควรทำอย่างไร"
ถ้าดูจากตอนนี้ คดีที่ดินรัชดาฯ ขึ้นศาลแล้ว แต่บางคดียังไม่ฟ้องเลย อย่างนี้ก็คงต้องขอคดีเดียวก่อนหรือเปล่า
"เรื่องนี้สุดแล้วแต่จะมีหน่วยงานขอเข้ามา พอขอเข้ามาเขาจะบอกเลยว่าขอเพื่อคดีไหน แต่ที่ผ่านมาในอดีตส่วนมากจะขอทีละคดี นอกจากมีคดีแถมพ่วง ที่จริงไม่ได้เรียกเป็นคดี ต้องเรียกว่ามีการกระทำอะไรบ้าง การกระทำอย่างนี้ๆ ก็มีเหมือนกันที่ว่า ข้อ ก. การกระทำอย่างนี้เมื่อวันที่เท่านี้ เห็นว่าผิดกฎหมายอย่างนี้ ข้อ ข. กระทำการอย่างนี้ แล้วคนเดียวกัน ฉะนั้นขอมาเป็นชุดเลยก็ได้"
อธิบายให้ฟังว่า จะต้องมีหน่วยงานขอมาให้อัยการฝ่ายต่างประเทศส่งเรื่อง
"กฎหมายใหม่ใช้คำกว้างๆ ว่าหน่วยงานที่ประสงค์จะให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนก็สามารถขอมาได้ และหน่วยงานที่ว่านี้ก็จะมีพนักงานอัยการอยู่ด้วย แต่เป็นพนักงานอัยการที่ทำคดี ไม่ใช่สำนักงานต่างประเทศขอตัวเอง"
นั่นคืออัยการที่ทำคดีแต่ละคดี เช่น คดีที่ดินรัชดาฯ
"สมมติอัยการไม่ได้ฟ้องเองหรือว่าเป็นคดีที่หน่วยงานอื่นต้องการ อย่างดีเอสไอหรือตำรวจ เขาก็ขอมาได้เหมือนกัน แล้วแต่หน่วยไหนมีหน้าที่ตรงนั้น และเขาอยากได้ตัว"
อ้าว คดีหวยบนดินก็ยุ่งสิเพราะอัยการไม่ได้ฟ้อง
"นั่นต้องดูว่าใครจะเป็นคนขอ เราก็ยังไม่รู้ว่าใครจะขอ"
แล้วถ้าขอมาหลายที่ อัยการฝ่ายต่างประเทศรวบรวมขอทีเดียวเลยได้ไหม
"คนขอคือคนที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นไปได้ที่ต่างคนก็ต่างคิดว่าเขาก็มีส่วน เราอาจจะมารวมได้ เราก็ยังไม่เคยคิดถึงประเด็นนี้มาก่อนเลย เราคิดแต่ว่าใครต้องการคนนั้นก็ ขอ แต่เป็นไปได้ว่าหน่วยงานนั้นก็คิดว่าเขาอยากจะเข้าไปดูแล"
อธิบายขั้นตอนให้ฟังต่อว่าเมื่อรับคำขอมาแล้วก็ต้องประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ
"อัยการฝ่ายต่างประเทศจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้น ตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ว่าครบถ้วนไหม ตรวจสอบหลักกฎหมายว่าการกระทำอย่างนี้เข้าหลักเกณฑ์ไหม สนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นอย่างนี้หรือเปล่า หลังจากถูกต้องครบถ้วน พนักงานอัยการฝ่ายต่างประเทศก็จะจัดทำคำร้องถึงผู้ประสานงานกลางของอังกฤษ บอกว่าเนื่องด้วยทางการไทยขอความร่วมมือ คนนี้ทำอย่างนี้ เมื่อวันที่เท่านี้ ตามหลักฐานที่แนบมา ขอให้ช่วยดำเนินคดีผู้ร้ายข้ามแดนส่งตัวกลับมาให้หน่อยได้ไหม หลังจากเสร็จทุกอย่างเราก็จะส่งให้กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศก็จะส่งไปอังกฤษ เมื่อทางการอังกฤษเขาได้รับแล้วปกติก็จะส่งให้อัยการของเขาเป็นคนดูว่าที่ อัยการไทยขอมาเข้าหลักเกณฑ์ที่ทำให้เราได้ไหม บางทีมีเหมือนกันที่เราบอกว่าทำได้แต่เขาบอกอย่างนี้ไม่ได้ ต้องมาคุยกัน ถ้าเขาเห็นว่าเข้าหลักเกณฑ์ที่ทำได้เขาก็ต้องไปยื่นฟ้องต่อศาลอังกฤษ เหมือนถ้าเขาขอมาเราก็ต้องยื่นฟ้องต่อศาลไทย หลังจากนั้นกระบวนการก็จะเข้าสู่วิธีพิจารณคีของศาลต่างประเทศ ตรงนี้ผู้ที่ถูกร้องขอให้ส่งตัวข้ามแดนก็มีสิทธิ์ที่จะนำพยานหลักฐาน รวมทั้งยกข้อต่อสู้อะไรก็แล้วแต่เขา"
การว่าความในศาลก็จะเป็นหน้าที่ของอัยการอังกฤษ แต่อัยการไทยก็ต้องประสานอยู่ตลอด และอาจจะต้องไปติดตามการพิจารณาคดีถึงในศาล
"จะต้องประสานงานกันบ่อยๆ เราเป็นฝ่ายขอเขา จะให้เขาบินมาหาเราคงไม่ได้ ก็อาจมีการประสานงานภายในว่า ช่วยถามเรื่องนั้นให้หน่อย ช่วยบอกตรงจุดนี้หน่อย แต่อัยการไทยเราไม่มีสิทธิจะไปว่าความในศาลเขา ไปขอสังเกตการณ์ได้ แต่ไม่ใช่ไปทำหน้าที่เป็นอัยการ"

ลี้ภัย-ขอได้แต่ยาก
ถ้าทักษิณขอลี้ภัย แล้วรัฐบาลอังกฤษยอมให้ลี้ภัย จะมีผลต่อการขอตัวอย่างไร
"แนวความคิดเรื่องลี้ภัยเกี่ยวพันกับกฎหมายระหว่างประเทศที่เขาต้องการคุ้ม ครองสิทธิมนุษยชน ที่เราพบเห็นกันบ่อยอย่างเช่นชนกลุ่มน้อยหนีจากรัฐบาล อพยพลี้ภัย อันนี้ค่อนข้างชัดเจน ในกรณีปัจเจกบุคคลอันนี้ก็จะมีกฎหมายว่าถ้าเขาพิสูจน์ได้ว่าจะถูกข่มเหง รังแก ไม่เป็นธรรม ได้รับอันตรายต่อชีวิตเนื่องมาจากเป็นศัตรูคู่แข่งทางการเมือง มันก็กลายเป็นว่าถ้าเป็นผู้ลี้ภัยก็เป็นเรื่องการเมืองแท้ๆ"
"แต่ลี้ภัยกับเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนคนละอย่างกัน แนวคิดในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเกิดจากการที่ประเทศ 2 ประเทศต้องการจะมาร่วมมือกับปราบปรามอาชญากรรมข้ามแดน หรือว่าคนทำผิดประเทศนี้แล้วหนีไปประเทศนี้ เราไม่ต้องการให้ใครที่ทำผิดแล้วสามารถหลบหนีความยุติธรรมไปได้ ก็เลยเกิดความร่วมมือข้อตกลงกันว่าถ้าคนทำผิดในประเทศเราหนีไปประเทศเขา เขาช่วยส่งกลับมาได้ไหม แต่ต้องดูก่อนว่าการกระทำอย่างเดียวกัน ถ้าทำในบ้านเขามันผิดหรือเปล่า ถ้าเขาบอกว่าทำในบ้านเราผิดแต่ทำในบ้านเขาไม่ผิด อย่างนั้นเขาจะส่งได้อย่างไรล่ะ ถ้าในประเทศเขาทำได้ ไปจับเขามาก็ขัดสิทธิเสรีภาพเขา"
"ที่การลี้ภัยกับส่งผู้ร้ายข้ามแดนเกี่ยวข้องกัน เพราะการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ร่วมมือกันส่งตัวผู้กระทำ ความผิดอาญา เพราะฉะนั้นถ้าตัวผู้ที่จะส่งข้ามแดนบอกว่าเขาไม่เกี่ยวกับคดีอาญาธรรมดา เลย มันเป็นทางการเมือง หรือว่าที่ขอให้ส่งตัวเขากลับมามีวัตถุประสงค์แอบแฝง จะกำจัดคู่แข่งทางการเมือง ถ้าพิสูจน์ได้มันก็จะเป็นข้อยกเว้นอย่างหนึ่งที่ประเทศนั้นเขาจะไม่ส่งให้ก็ ได้"
ถ้ารัฐบาลอังกฤษให้ทักษิณลี้ภัย การขอตัวจะจบเลยไหม
"ถ้าเขาให้ลี้ภัย โอกาสก็ยากขึ้น แต่สถานการณ์ต่างๆ โดยทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้ บางทีเขาให้แล้วต่อมาเขาเปลี่ยนใจไม่ให้ก็ได้ เป็นเรื่องที่อยู่ในดุลยพินิจของประเทศที่ให้เหมือนกัน ถ้าให้แล้วมีเงื่อนไขอย่างนี้ๆ เอ๊ะคุณผิดเงื่อนไข ผมเพิกถอนคุณก็ได้"

ถึงจะยากขึ้น เราก็ยังต้องยื่นอยู่ดี
"ก็เผื่อเขาเปลี่ยนใจ (หัวเราะ) ถ้ามีการลี้ภัยขึ้นมาโอกาสที่เขาจะไปอ้างเป็นข้อต่อสู้ว่าเป็น เรื่องทางการเมืองเขาก็มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น"
อธิบดีอัยการระหว่างประเทศอธิบายอีกว่า การขอตัวเป็นการขอจากฝ่ายบริหาร
"เรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนอำนาจสิทธิขาดจริงๆ อยู่ที่ฝ่ายบริหาร แต่ที่มีศาลเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์ให้ศาลช่วยคุ้มครองตรวจสอบว่า จะมีการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน สิทธิมนุษยชนของผู้ที่ถูกขอให้ส่งข้ามแดนหรือเปล่า สมมติศาลบอกว่าตรวจสอบแล้วศาลไม่ขัด ส่งได้ ฝ่ายบริหารเขาจึงจะส่งให้ได้"
ดูเหมือนกฎหมายตะวันตกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมาก อย่างราเกซ พอมีเหตุการณ์ 19 ก.ย. มีข่าวว่าเราต้องนับหนึ่งใหม่หมด
"ไม่แน่ใจว่าเป็นสาเหตุนั้นหรือเปล่านะ คดีราเกซจะเห็นตั้งแต่ต้นว่าไม่ใช่เรื่องการเมืองเลย แต่เขาก็พยายามสู้ให้เป็นเรื่องการเมือง เขาบอกว่าถ้าส่งมาแล้วจะมีนักการเมืองเจ็บตัวหลายคน ข้อต่อสู้ของราเกซที่บอกว่าเป็นเรื่องการเมืองศาลก็ไม่ได้รับฟัง แต่เราก็เสียเวลาไปเยอะ เพื่อที่จะรอศาลบอกว่าเห็นแล้วไม่จริงหรอก แค่ตรงนี้ก็ใช้เวลาหลายปี ความจริงตอนนี้ศาลให้หมดแล้วแต่ยังติดขั้นตอนของฝ่ายบริหาร เขาบอกว่ายังพิจารณาไม่เสร็จ หลังจากศาลอนุญาตเขาต้องส่งไปให้รัฐมนตรีมหาดไทยดูอีกทีหนึ่ง ศาลไม่ขัดข้องแล้วนะ จะมีอย่างอื่นขัดข้องอีกหรือเปล่า อยู่ในขั้นตอนนี้ ก็เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร เราก็ประสานทำหนังสือสอบถามไป ก็ยังเงียบ"
"บางอย่างมันอยู่นอกเหนือจากที่เราจะ control ได้ เราควบคุมไม่ได้"
แล้วคดีปิ่น จักกะพาก
"คดีปิ่นมีปัญหาว่าที่เราฟ้องไป จะมีข้อหาเช่นเป็นผู้จัดการธนาคารเป็นตัวแทนธนาคารแล้วเอาประโยชน์มาเป็นของ ส่วนตัว ปล่อยเงินกู้โดยไม่มีเอกสารเพียงพอ ซึ่งตรงนี้ความคิดของเขาเห็นว่าเป็นเทคนิคการค้า ระบบกฎหมายอังกฤษไม่เหมือนกับเรา ของเราเป็นระบบประมวลกฎหมาย เขาเป็น common law ฉะนั้นแนวคิดบางอย่างก็ไม่ตรงกัน ก็ต้องยอมรับว่าบางอย่างเขาก้าวหน้ามากกว่าเราในเรื่องตลาดหุ้น การค้า การเงิน มันจะมีส่วนที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นที่เราทำไปก็ทำเต็มที่ทุกรูปแบบ จนศาลชั้นต้นเขาให้แล้วนะ บอกว่าอย่างนี้เชื่อว่าผิด เขายื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์บอกดูแล้วไม่น่าจะผิดเลย ศาลอุทธรณ์บอกไม่เชื่อข้อเท็จจริง ก็ จบแค่นั้น"
ฎีกาไม่ได้หรือ
"ไม่ได้เพราะกฎหมายอังกฤษฎีกาได้เฉพาะข้อกฎหมาย จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ทำให้ศาลอุทธรณ์เขาไม่ให้ ก็จบตรงนั้น เราก็มาวิเคราะห์ว่ามีปัญหาอะไรที่ทำให้เป็นอย่างนั้น ประการที่หนึ่งเรื่องฐานความผิด หลังจากคดีนี้แล้วเข้าใจว่ามีการแก้กฎหมายเรื่องตลาดหลักทรัพย์เรื่องการ เงินหลายฉบับ ประการที่สอง สนธิสัญญาไทย-อังกฤษล้าสมัยหรือเปล่า เพราะมันนานมากแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 มันตั้งเกือบ 100 ปี แนวความคิดสมัยนั้นกับสมัยนี้ต่างกันเยอะ ก็มีการพูดกันว่าเราน่าจะเสนอให้แก้ไขสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไทย-อังกฤษ ไหม ก็ยังเป็นแนวความคิด เพราะทำจริงๆ ก็ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องยินยอมพร้อมใจกันทั้ง 2 ประเทศ ถ้าตราบใดเขาเห็นว่าอย่างนี้เขาได้ประโยชน์มากกว่าเขาก็อาจจะไม่ยอมก็ได้"
"สนธิสัญญาไทย-อังกฤษกำหนดว่าการกระทำต่อไปนี้ขอได้ หนึ่ง สอง สาม มีทั้งหมด 31 ข้อ ถ้าไม่เข้า 31 ข้อก็ขอไม่ได้ ยิ่งเป็นความผิดสมัยใหม่การใช้ถ้อยคำมันไม่มีทางตรงกัน สมัยนั้นผมยังไม่แน่ใจว่าความผิดบางอย่างมีหรือยัง ถึงจะมีวรรคสามที่บอกว่าถ้าความผิดนอกเหนือ 31 ข้อก็ลองขอดูสิ แต่เขาจะให้หรือไม่ให้ก็แล้วแต่ สรุปก็คืออยู่ที่ดุลยพินิจของประเทศนั้น"
สนธิสัญญากับประเทศอื่นไม่เหมือนอังกฤษหรือ
"มันทันสมัยขึ้นหน่อย เช่นความผิดของการกระทำ กรณีส่งผู้ร้ายข้ามแดนเราจะไม่ยึดว่าความผิดนั้นเรียกชื่อว่าอะไร อย่างเราบอกว่าลักทรัพย์ ประเทศเขาบอกไม่ใช่ อย่างนี้คือฉ้อโกง แต่ถ้าดูจากการกระทำแบบเดียวกันกันมีความผิดลงโทษอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป มีโทษทั้ง 2 ประเทศ ไม่ว่าจะเรียกชื่อตรงกันหรือไม่ สนธิสัญญาสมัยใหม่บอกใช้ได้แล้ว ดูเรื่องการกระทำกับดูเรื่องโทษเพียงพอแล้ว แต่สนธิสัญญาไทย-อังกฤษกำหนด 31 ฐาน เช่นความผิดฐานลักทรัพย์ ทำให้มันดูยาก"
"ความยากลำบากประการที่สามคือ การที่เราทำเอกสารต่างๆ ต้องทำให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ประเทศนั้นเขาต้องการด้วย ต้องทำเป็นภาษาของเขาด้วย ตรงนี้ปัญหาเยอะมาก ต้องแปลเอกสารต้องรับรองการแปล และบางทีเอกสารประกอบคดีไม่ใช่ 10-20 แผ่น บางทีเป็นพันๆ หน้า หรือ 10 กล่องกระดาษ ต้องมาแปลทุกหน้า"
สมมติคดีที่ดินรัชดาฯ สำนวนมีเท่าไหร่ต้องส่งไปหมดหรือ
"เอกสารที่เราจะใช้ขั้นต่ำต้องตามที่เขาต้องการ ปกติเราส่งที่เราคิดว่าเพียงพอ แต่สมมติยังไม่พอทางนั้นเขาจะบอกมาว่าเขาต้องการอะไรเพิ่ม ซึ่งเราก็ต้องพยายามทำให้ได้ตามใจเขา เวลาไปขอให้เขาช่วย เราก็ต้องเอาใจเขา เขาต้องการอะไรก็ต้องทำตามเขา ซึ่งเอกสารหลักๆ ที่ใช้กันก็คือหนึ่งหมายจับ อันที่สองคือหลักฐานที่ว่ามีการกระทำอย่างนี้เป็นความผิดตามกฎหมาย อาจจะมีตัวบทกฎหมายต่างๆ ก็ต้องส่งไป รวมทั้งคำยืนยันว่าอยู่ที่ไหน สามารถไปตามหาตัวได้"
การขอตัวถ้าเทียบอังกฤษกับอเมริกา อเมริกายากกว่าไหม
"เขาเคยส่งให้หลายคดีนะ ถ้าพูดถึงแนวคิดทั่วไปทางกฎหมาย อเมริกาจะเปิดกว้าง แต่ทางอังกฤษ และประเทศทางยุโรป เขาค่อนข้าง conservative ยังไม่เปิดกว้างเท่าไหร่"
"ผมจบอเมริกา แต่ก็เคยไปเรียนที่เบลเยียม ก็ได้ความคิดทางกฎหมายยุโรปมา ผมได้ปริญญาโท 2 ใบ ใบแรกจากอเมริกา ใบที่สองได้ทุนจากเบลเยียม ก็เลยพอจะมองความแตกต่างระบบยุโรปกับอเมริกา"
บอกว่าอเมริกาก็ไม่เชิงให้ง่ายกว่า แต่เป็นสนธิสัญญาที่ทำใหม่กว่า
"ผมมีข้อสังเกตว่าสนธิสัญญาระหว่างไทย-อเมริกา จะทำรุ่นหลัง มีความคิดบางอย่างที่อาจจะกว้างกว่า แต่อังกฤษนานมากแล้ว เราจึงน่าจะทบทวนใหม่ได้แล้ว"
ใช่ไหมว่าอเมริกายึดประโยชน์การค้า การเมือง แต่อังกฤษไม่แคร์เท่าไหร่
"ดุลยพินิจอยู่ที่ทางการของประเทศนั้น ส่วนหนึ่งที่หนีไม่พ้นเลย ในใจที่เขาจะให้ไม่ให้ เขาอาจจะมองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มองประโยชน์ที่เขาจะได้ อันนี้อาจจะไม่ปรากฏอยู่ในตัวข้อตกลงโดยตรง แต่ผมเชื่อว่าทุกประเทศต้องมีในใจ ของไทยเราก็มีเหมือนกัน เช่นกรณีที่ต่างประเทศขอให้ไทยเราส่งตัว ถ้าเราเห็นว่าการส่งไปจะกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เราก็ต้องถามรัฐบาลนะ ถามผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ให้กระทรวงการต่างประเทศนำเข้าไปหารือในคณะรัฐมนตรี ให้คณะรัฐมนตรีตัดสินใจ ดังนั้นถ้าผู้ประสานงานกลางเห็นว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะทำให้เกิดผลกระทบ กระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือมีเหตุผลพิเศษที่บางครั้งเราไม่อยากพูดกัน ก็ต้องหารือกับทางรัฐบาล โดยผ่านไปทางกระทรวงการต่างประเทศ"

ไทยผิดอังกฤษไม่ผิด?
ที่ชัดเจนประเด็นหนึ่งคือถ้าความผิดนั้นไม่มีในอังกฤษ ก็ขอตัวไม่ได้
"ถ้าเป็นตามสนธิสัญญาก็คือจบ เพราะพูดชัดเจนว่าต้องเป็นการกระทำซึ่งเป็นความผิดของ 2 ประเทศ"
อย่างนี้คดีที่ดินรัชดาฯ ก็น่าจะขอตัวไม่ได้ เพราะอังกฤษคงไม่มีกฎหมายนี้
"เรื่องยังไม่เข้ามา ผมยังไม่ได้เทียบเคียง ยังไม่ทราบว่าอังกฤษเขามีหรือเปล่า พอเราได้มาเราก็ต้องลองตรวจสอบดู ถ้าเห็นว่าน่าจะได้เราก็ต้องส่งไป ทางโน้นเขาก็จะชี้ว่าเข้าหรือไม่เข้า"
สมมติคดีนี้ส่งเข้ามาขอตัว อัยการฝ่ายต่างประเทศก็จะดูก่อนแล้วค่อยส่งอัยการอังกฤษ อย่างนั้นหรือ
"ใช่ เราต้องดูเองรอบหนึ่งก่อนว่าความผิดอย่างนี้เข้าไหม ถ้าไม่เข้ามันยังขาดหลักฐานอะไรเราก็ต้องสอบถามที่อังกฤษ"
ตัวบทกฎหมายอาจจะไม่เหมือนกันเป๊ะแต่ต้องเทียบเคียง
"เราจะไม่เอาชื่อความผิด เราดูการกระทำ คุณมีการกระทำแบบนี้กฎหมายเราว่าผิด การกระทำแบบเดียวกันนี้ถ้าทำที่ต่างประเทศ ต่างประเทศจะถือว่าผิดด้วยไหม"
สมมติเราบอกว่าคดีที่ดินรัชดาฯ ผิดแล้วส่งไป ถ้าอัยการอังกฤษเห็นว่าไม่มีกฎหมายในประเทศเขา เขาจะตีกลับเลยหรือว่าต้องส่งขึ้นศาล
"ถ้าเขาเห็นว่าไม่เข้า เขาก็ไม่ยื่นให้ แต่ก่อนจะถึงขั้นตอนนั้นก็คงต้องประสานกันตลอด ดูแล้วว่ามันไม่เข้านะยูจะว่ายังไง อะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเวลาที่ทำงานไม่ใช่แต่เฉพาะกฎหมายไทย ในบางกรณีอัยการเราก็จำเป็นต้องดูไปถึงกฎหมายต่างประเทศด้วย"
แสดงว่าทักษิณหลุดไปคดีหนึ่งแล้ว อังกฤษคงไม่มีความผิดมาตรา 100 กฎหมาย ป.ป.ช.
"เราก็ไม่รู้ ต้องให้อัยการอังกฤษช่วยตรวจสอบ"
แต่คดีภาษีมีแน่
"ทุกประเทศน่าจะมี เรื่องภาษีส่วนมากเป็นสากล แต่ก็ยังไม่แน่ว่าการกระทำอย่างนี้ของเราเรียกว่าเลี่ยงภาษี ของเขาอาจไม่ใช่ ในที่สุดก็ต้องมีเอกสารหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวอย่างเป็นทางการ แล้วถึงจะลงมือวิเคราะห์อย่างจริงจัง"
สมมติคดีที่ดินรัชดาฯ ที่ออกหมายจับแล้ว ถ้าอัยการคดีนั้นส่งเรื่องมาให้ขอตัว ฝ่ายต่างประเทศต้องใช้เวลาเท่าไหร่ที่จะส่งไปถึงมืออัยการอังกฤษ
"เอกสารมากน้อยแค่ไหนยังไม่เห็นนะครับ อย่างน้อยที่เห็นชัดคือต้องแปลเอกสาร สมมติเอกสารหลักฐานไม่ครบ อัยการก็ต้องแจ้งไปขอเพิ่ม หนังสือราชการกว่าจะแจ้งไปกว่าจะกลับมาก็ต้องใช้เวลาเหมือนกัน กฎหมายใหม่จึงบอกว่าไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องลงมือเอง สอบสวนเอง"
ต้องมีการประสานงานพิเศษไหม เพราะคงมีแรงกดดันทางการเมือง ถ้าทำเรื่องช้า
"อัยการมีกระบวนกฎหมาย มีหลักมีเกณฑ์อยู่ มีมาตรฐาน และสื่อต่างๆ จับตาดูทุกขั้นทุกตอน ฉะนั้นการทำงานของเราก็ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ความโปร่งใส หลักเหล่านี้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่เราพูดกันบ่อยๆ หลักนิติธรรม ความเสมอภาคไม่ลำเอียง ถ้าไม่มีทุกอย่างมันล้มไปหมดแล้ว"
แต่ว่าตามระบบราชการก็จะช้า
"อะไรบางอย่างที่ล่าช้าก็เป็นความกดดันอย่างหนึ่ง ไม่เห็นสักที ทำอะไรไม่ได้ อย่างนี้ เป็นความกดดัน แต่ระเบียบวิธีปฏิบัติของราชการก็มีขั้นมีตอนอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นและน่าเห็นใจเพราะระบบของเราตรวจสอบกันเป็นชั้นๆ อันนี้ทำมาผู้บังคับบัญชาก็ต้องมาตรวจสอบสิ่งที่คุณทำไปก่อนลงนามเห็นด้วย ก็ต้องขอเช็กดูว่าคุณทำมาถูกระเบียบไหม ถูกต้องตามกฎหมายหรือเปล่า"
คือถ้าผ่านไปหลายเดือนไม่ได้ส่งหนังสือขอตัวก็คงเจอม็อบ
"ก็ต้องเข้าใจขั้นตอนเหมือนกันนะ ต้องถามว่ามันเกิดเหตุมานานหรือยัง แล้วมาถึงอัยการขอให้เสร็จใน 2 อาทิตย์ได้ไหม"
อยากให้ลองอธิบายว่าสมมติคดีที่ดินรัชดาฯ เขาส่งหมายจับมา จะส่งให้อัยการอังกฤษมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
"หมายจับเป็นเอกสารชิ้นหนึ่งที่ต้องส่งไปแน่ๆ แต่แค่หมายจับลอยๆ มานี่ยังใช้ไม่ได้ ต้องมีคำขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน และมีเอกสารอย่างอื่นประกอบด้วย สมมติส่งมาพร้อมทุกอย่างแล้ว เราต้องมานั่งอ่านทุกแผ่น ต้องวิเคราะห์ละเอียดทุกอย่าง ถ้าเรามองด้วยความเห็นใจกันก็เป็นความรอบคอบ และเป็นสิ่งที่ต้องทำ ต้องขอความเห็นใจว่าเราต้องการปิดช่องทุกจุดไม่ให้มีข้อต่อสู้ ต้องใช้เวลา แต่ถ้ามองอีกแง่หนึ่งก็เอ๊ะอย่างนี้แกล้งถ่วงเวลาหรือเปล่า แต่ความจริงไม่ใช่ มันต้องใช้เวลาจริงๆ ครับในการดำเนินการ เสียเวลาแต่เราก็พยายามทำกัน นี่เป็นแค่เรื่องระเบียบวิธีการนะ หลังจากเราส่งไปแล้วความยากลำบากไปอยู่ตรงโน้นอีก ส่งไปแล้วก็ต้องนั่งรอ ขั้นตอนที่อัยการของประเทศนั้นเขาจะยอมรับเสนอขึ้นศาลไหม ก็ต้องใช้เวลาพิจารณาเหมือนกัน ซึ่งตรงนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา"
กระทรวงการต่างประเทศก็ต้องช่วย
"ต้องคอยประสาน พยายามขอให้เร็วหน่อยได้ไหม กระทรวงการต่างประเทศเขาจะมีบทบาทช่วยได้เยอะ"
บางคนมองว่าอัยการที่ทำคดีเช่นคดีที่ดินรัชดาฯ มานั่งคุยกับฝ่ายต่างประเทศ ช่วยกันทำจะเร็วขึ้นไหม
"ผมคิดว่าไม่ใช่อย่างนั้น เพราะหลักเกณฑ์การฟ้องคดีกับหลักเกณฑ์ส่งผู้ร้ายข้ามแดนมันไม่ใช่อย่างเดียว กัน ข้อสำคัญเมื่อเรามาดูหลักฐานเอกสารถูกต้องครบแล้ว ส่งแปล ทุกชิ้นจะต้องแปลรับรองถูกต้องให้เขา นี่ก็เสียเวลาเยอะแล้ว เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยหมดเราก็ต้องส่งไปที่กระทรวงการต่างประเทศ ที่ผ่านมากระทรวงการต่างประเทศก็ไม่ช้า เมื่อไปถึงแล้วขั้นตอนจึงจะเริ่ม นี่เป็นเพียงความยากลำบากของงานประจำ เป็นความยุ่งยากซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ อันนี้ไม่ว่ากัน แต่ความยุ่งยากที่ยิ่งกว่านั้นก็คือถ้าผู้ที่ถูกขอให้ส่งตัวข้ามแดนเขาสู้ คดี เขาก็จะมีเทคนิคมีวิธีการต่างๆ เวลาขออะไรไปเขาจะถ่วงให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ก็จะเป็นปัญหา มันก็อยู่ที่ศาลทางโน้นว่าเขายอมหรือเปล่า ในความเห็นส่วนตัวผม ผมว่าความยุ่งยากของการดำเนินการต่างๆ มันก็มีอยู่ แต่มันไม่ใช่สิ่งที่มันยุ่งยากมากจนเกินเหตุ แต่สิ่งที่ซับซ้อนมากๆ คือความยุ่งยากที่มาจากสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้"
สมมติศาลตัดสินว่ามีความผิด การขอตัวจะมีน้ำหนักมากขึ้นไหม อย่างคดีภาษีศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว
"การขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีวัตถุประสงค์ 2 อย่าง คือหนึ่งขอตัวมาเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดี อันนี้ศาลยังไม่ตัดสิน สองศาลตัดสินแล้ว แต่หนีไป ก็ขอตัวมาเพื่อรับโทษ ถามว่าง่ายหรือยากนี่ไม่ได้อยู่ที่ว่าตัดสินแล้วหรือยัง มันอยู่ที่ปัจจัยอื่น ความยากง่ายของกระบวนการ การต่อสู้ของผู้ที่จะถูกส่งตัวข้ามแดน ถ้าเขาสู้ทุกประเด็นทำให้เราทำงานยากขึ้น"
ง่ายยากไม่ต่างกันเลยหรือ
"หลักทั่วไปก็อาจจะมีผลได้บ้างเหมือนกัน ถ้าคดีไหนที่ศาลมีคำพิพากษาไปแล้ว หลักสากลเขาก็ให้น้ำหนักพอสมควร ว่าผ่านกระบวนการพิสูจน์ของศาลแล้ว แต่ถ้าคดีไหนที่ศาลยังไม่พิสูจน์ เป็นการกล่าวหามันก็อาจะมีผลต่างกันบ้าง ตรงนี้ก็เป็นข้อที่น่าคิด"

บังเอิญทักษิณก็อ้างว่ากระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง และศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมืองก็ให้สู้แค่ศาลเดียว จะมีปัญหาไหม
"องค์ประกอบสำคัญคือผู้ที่มาทำหน้าที่ใช้ดุลยพินิจจะต้องไม่ลำเอียง ต้องมีความเป็นกลาง เที่ยงธรรม เรื่องศาลกี่ชั้นผมคิดว่าไม่มีปัญหา"
ทักษิณมีแนวโน้มจะสู้เรื่องกระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง สมมติเขาบอกว่าศาลลำเอียง อัยการต้องไปเถียงแทนด้วยไหม
"โดยหลักการถ้าใครอ้างก็ต้องเอาหลักฐานมาสืบ ไม่ใช่เฉพาะกรณีนี้ ถ้าคุณบอกเฮ้ยเขาไม่ดี ไหนหลักฐานอยู่ไหน อย่างไรก็ตามตัวบุคคลที่ถูกขอให้ส่งข้ามแดนจะอ้างสารพัด เขาต่อสู้ได้ทุกรูปแบบ อ้างอะไรก็ได้ บางทีเราฟังทำไมอ้างอะไรที่ไร้สาระ ไม่เป็นประเด็น เขาบอกอ้างไว้เพื่อให้มันเกิดเป็นประเด็นขึ้นมา กว่าจะรอให้ศาลมาบอกเพียง 3 คำว่าไม่ใช่ประเด็น เสียเวลาไปแล้วครึ่งปี บางครั้งเราเจอคดีแปลกๆ เช่นผมไม่ใช่คนนี้ เราขอส่งนาย ก. เขาบอกไม่ใช่นาย ก. ก็มีนะ มีตั้งแต่อ้างแบบชัดๆ ว่าไม่ถูก จนถึงอ้างแบบมีเทคนิคสลับซับซ้อน กว่าจะวิเคราะห์กันว่าใช่หรือไม่ใช่ก็ไม่ง่าย"
เพราะฉะนั้นแนวโน้มคือทักษิณสบาย รอเวลาไปเรื่อยๆ
"ไม่ทราบ แต่พนักงานอัยการทำคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน เราจะตั้งความหวังไว้ 100 เปอร์เซ็นต์ทุกเรื่อง มันจะลดลงไปแค่ไหนก็ต้องดูเหตุการณ์ในอนาคต แต่เวลาทำเราต้องตั้งใจว่าจะสำเร็จผลทุกคดี แต่เมื่อทำไปแล้วมีอุปสรรคก็เป็นเรื่องธรรมดา แม้แต่คดีราเกซความจริงเราทำจนศาลเขาเห็นด้วย แต่ก็มามีปัญหาเรื่องระยะเวลา"
ถ้าไม่นับคดีราเกซ คดีปิ่น เคยมีที่ขอตัวง่ายๆ ไหม
"คดีที่เราขอปกติถ้าได้ตัวมาจะไม่เป็นข่าว แต่คดีที่มีปัญหา ไม่ได้ตัว พวกนี้แหละครับเป็นข่าวครึกโครม แต่ส่วนใหญ่จะได้ ที่มีปัญหาคือคดีไฮเทคคดีซับซ้อน หรือผู้ที่จะถูกขอให้ส่งตัวมีเงินมีอิทธิพล มีการคิดวางแผนต่อสู้ ก็มีความยากลำบากเพิ่มขึ้นมา อุปสรรคพวกนี้ความจริงเป็นของที่เกิดขึ้นจริงๆ แต่เวลามีปัญหาคนก็มองข้ามไป คนจะมองแค่ 2 ขั้นตอน ว่าวันนี้ผมส่งเรื่องให้คุณแล้ว พรุ่งนี้เสร็จหรือยัง เขาจะไม่มองว่าระหว่างนั้น กว่าจะไปถึงอีกจุดหนึ่งใช้เวลาเดินทางเท่าไหร่ ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้จะต้องออกแรงทำอะไรบ้าง"
"จุดหนึ่งที่ผมอยากจะพูดคือมีคนสงสัยว่าเอ๊ะทำไมต้องถ่วงเวลาให้นานที่สุด เท่าที่จะนานได้ เขาต้องถ่วงเพราะอะไร เพราะว่ากฎหมายไทยเรามีเรื่องอายุความ สมมติว่าทำผิดอย่างนี้ ถ้าสามารถหลบหนีไปเลย 10 ปีกลับมายืดหน้าได้เลย หลุดแล้ว เป็นช่องทางให้คนพยายามจะหาประโยชน์จากตรงนี้ คือถ่วงให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ เราก็รู้ไม่ใช่ไม่รู้แต่ก็พยายามแก้ เราเคยเสนอเหมือนกันว่ากฎหมายอย่ามีอายุความได้ไหม สมมติคอรัปชั่นคุณอยากหนีหนีไปให้ตลอดชีวิตเลย ไม่ต้องกลับมาให้เห็นหน้าอีก แต่ถ้ากลับมาอย่ามีอายุความนะ คุณเข้ามาเมื่อไหร่โดนทันที ก็มีคนเห็นด้วยเยอะ แต่คนที่ไม่เห็นด้วยก็มาก คนไม่เห็นด้วยเขาบอกว่าถ้าไม่มีอายุความเจ้าหน้าที่ก็สบายสิ ไม่ต้องทำอะไร พอเรื่องเข้ามาก็เก็บเข้าลิ้นชักไปเลย แต่ถ้ามีอายุความก็เหมือนกับมีไฟจี้ว่าคุณต้องรีบทำให้เสร็จภายในเวลาเท่า ไหร่ ถ้าไม่รีบทำพยานล้มหายตายจากคุณรับผิดชอบนะ และอีกอย่างถ้าไม่มีอายุความเลย เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพเขาหรือเปล่า บางคนที่เขาต้องหลบหน้าไปเขาไม่ ได้ทำผิดแต่เขามีเหตุผลอื่น ถ้าไปทำอย่างนี้เท่ากับตัดโอกาสที่เขาจะแก้ตัว ก็มองได้หลายแง่มุม ในที่สุดแล้วเราก็ยังคงไว้ตามเดิมว่าให้มีอายุความ นอกจากความผิดบางประเภทที่สำคัญ ต้องขยายอายุความเพิ่ม เมื่อก่อนอายุความ 20 ปี เดี๋ยวนี้เป็น 30 ปี"
หลักสากลเรื่องนี้เป็นอย่างไร
"บางประเทศก็มี บางประเทศก็ไม่มีอายุความสำหรับข้อหาบางอย่าง เคยมีประเทศหนึ่งเขาเคยขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนคนนี้เพราะว่าฆาตกรรมบุคคล สำคัญ ปรากฏมาดูกฎหมายเรามันขาดอายุความไปแล้ว เรื่องเกิดขึ้นตั้ง 25 ปีก่อน เขาบอกของเขาไม่มีอายุความ ก็เป็นปัญหาว่าเราจะให้หรือไม่ให้ เราอาจจะไม่ให้ก็ได้ ถ้าลงโทษในบ้านเราไม่ได้แล้วเราก็ไม่มีสิทธิส่งไปให้เขาลงโทษ"
บอกว่าที่เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร ของไทยกับต่างประเทศก็ยังต่างกัน
"ระบบของไทยเราใช้อยู่ เขาขอมา ถ้าฝ่ายบริหารไม่ให้ก็จบไปเลย ถ้าฝ่ายบริหารอยากจะให้ ก็ต้องส่งไปให้ศาลตรวจสอบว่าถ้าส่งตัวไปจะขัดต่อสิทธิอะไรไหม สมมติศาลบอกไม่ขัดก็ส่งได้ ถ้าศาลบอกขัดเราก็ไม่ส่ง ของเราถือระบบนี้"
"ฝ่ายบริหารจะใช้ดุลยพินิจว่าจะให้หรือไม่ให้ ถ้าให้ก็ไม่ใช่ว่าส่งได้ทันที ถ้าจะให้ต้องส่งให้ศาลช่วยตรวจสอบการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ที่จะส่งตัว ข้ามแดนก่อน ถ้าศาลบอกไม่ได้ ก็ต้องเก็บไว้ตรงนั้น แต่ของบางบ่ระเทศเขาไม่อย่างนั้น จะมีเหมือนกันว่าศาลไม่ขัดข้องแล้ว แต่ฝ่ายบริหารขัดข้อง"
นี่เช่นคดีราเกซ
"ราเกซชัดเจนว่าฝ่ายตุลาการเขาบอกว่าถูกแล้ว แต่ฝ่ายบริหารขอดูก่อน"
เรื่องนี้คงจะยาว จะต้องตั้งชุดทำงานพิเศษไหม สมมติมีฝ่ายต่างประเทศ ฝ่ายคดีพิเศษ มี ป.ป.ช. มีกระทรวงการต่างประเทศเข้ามาร่วมกัน
"งานตรงนี้ถ้าไม่ใช่คดีซับซ้อนมาก เราก็ถือว่าเป็นงานประจำชิ้นหนึ่ง เรื่อง ขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนเข้ามาทุกวัน แต่ถ้าบางคดีที่ซับซ้อน มีความสำคัญ บางทีทางท่านอัยการสูงสุดก็จะมอบหมายให้รองอัยการสูงสุดมาดูแล มาเป็นประธานคณะทำงาน หรือเชิญหน่วยงานต่างๆ เข้ามาด้วย ก็ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณีไป ก็มีความเป็นไปได้".


http://www.thaipost.net/index.asp?bk=ta ... _id=220100
:idea: 1 ปีตุลาเลือด ฆาตรกรต้องไม่ลอยนวล
วันข้างหน้า ผู้มีอำนาจ จะไม่บังอาจฆ่าประชาชน
-->
User avatar
Cherub Rock
 
Posts: 2769
Joined: Mon Oct 13, 2008 12:47 am

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby firestong » Sun Oct 19, 2008 12:15 pm

ปลุกปั่น เพื่อแตกแยก
เมื่อคนเกลียดกัน อยู่ร่วมกันไม่ได้ ก็ต้องแบ่ง แยกกันอยู่
ภูมิภาคนิยม วัฒนธรรม การใช้ชีวิต ภาษาถิ่นเดียวกัน จัดเป็นกลุ่ม
สร้างเป็นรัฐ แต่ละรัฐปกครองตนเอง อยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครองใหม่
แต่ละรัฐขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง.....
เป็นโมเดลที่กำกึ่งระหว่างจีนกับอเมริกา

นำร่องเริ่มทดลองโมเดลแล้วที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เริ่มแล้วที่เชียงใหม่ รัฐล้านนา นำโดย นปก เสื้อแดง ผู้จะเถลิงอำนาจใหม่
เริ่มแล้วที่อุดร รัฐอีสาน นำโดย ดีเจ นรก ผู้ที่จะมีอำนาจปกครองรัฐใหม่

ประเทศไทยแตกออกเป็นเสี่ยงๆ หลายคน ไม่สนใจ เฉพาะหนี้สิน ปากท้องแต่ละวัน
ก็จะแย่อยู่แล้ว ไปสนใจเรื่องไกลตัวอย่างนั้นทำไม

นั่นคือ คำตอบของปัญหาที่หลายคนเผชิญอยู่ประจำวัน มองไปไม่ไกลจากตัวเอง

อนาคตประเทศไทย อาจมีเหตุการณ์ที่คนเหนือจะไปเที่ยวทะเล คงต้องทำเรื่องกันวุ่นวาย เสียภาษีข้ามรัฐ เข้ากระเป๋าพวกโกงกิน
คนใต้จะไปเที่ยวภูเขาแถวเหนือ อีสาน ก็ต้องทำเรื่องขออนุญาต ข้ามเขต

สังคมไทยคงไม่น่าอยู่ สำหรับคนรักอิสระเสรี อีกต่อไป...
User avatar
firestong
 
Posts: 92
Joined: Sat Oct 18, 2008 4:45 pm

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby Solidus » Sun Oct 19, 2008 12:29 pm

อาจ
1. เปลี่ยนคำนำหน้าเป็น นช.
2. พิสูจน์แล้วว่าโกงจริงแท้แน่นอนชนิดที่ลิ่วล้อแถไม่ออก เพราะพวกนี้ชอบบอกว่าแน่จริงก็ฟ้องศาลสิ พอฟ้องก็บอกว่าศาลยังไม่ตัดสิน
3. ทหารออกมาถีบน้องเขยก็ไม่มีผลต่อคดีแล้ว
4. ฯลฯ
User avatar
Solidus
 
Posts: 8593
Joined: Mon Oct 13, 2008 1:47 pm

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby โลกสวยงาม » Sun Oct 19, 2008 2:06 pm

มันเป็นวันอังคาร แรม 7 ค่ำเดือน11 เท่านั้นเอง :lol:
อำนาจ ผลประโยชน์ ทำให้คนไทยสามารถฆ่าคนไทยด้วยกันได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลย บางคนนั้นเป็นไทยแต่ชื่อ และพร้อมที่จะเป็นคนสัญชาติอื่นได้ในทันที หากมันจะให้ประโยชน์กับเขามากกว่าความเป็นคนไทยนะ
User avatar
โลกสวยงาม
 
Posts: 340
Joined: Mon Oct 13, 2008 8:09 am

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby cookie » Sun Oct 19, 2008 2:16 pm

มันสำคัญกับรากหญ้าที่ยังหลงเชื่ออยู่ และเป็นแรงบีบตัวหนึ่งที่ทำให้ทักกี้ม่อาจลี้ภัยได้
User avatar
cookie
 
Posts: 728
Joined: Fri Oct 17, 2008 9:10 pm

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby samepong » Sun Oct 19, 2008 3:15 pm

เหนื่อยครับแบบนี้ต่อไปผมก็ต้องอยู่นอกอนาเขตไทยแล้วซิผมอยู่สามจ.ใต้อะ
อยางงี้สงสัยต้องขายธุรกิจไปซื้อที่แถวระยองดีกว่าฮิ
User avatar
samepong
 
Posts: 1943
Joined: Mon Oct 13, 2008 4:15 pm

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby nengchai » Sun Oct 19, 2008 3:24 pm

คำว่าเรารักนายหลวงไม่มีอิกแล้ว ไอพวกโง่ มึงจาโง่ ตามหาบิดาทักษินไปถึงไหน
กูจาขอยอมป้อมป้องพระมหากษัตย์ด้วยตัวกูนี่หละ
<img src="http://upyai.com/out.php?i=96770_.jpg" alt="?????? At site" />
User avatar
nengchai
 
Posts: 8
Joined: Wed Oct 15, 2008 8:18 pm

Re: 21 ตค. มันทำไมเหรอครับ

Postby firestong » Sun Oct 19, 2008 4:12 pm

samepong wrote:เหนื่อยครับแบบนี้ต่อไปผมก็ต้องอยู่นอกอนาเขตไทยแล้วซิผมอยู่สามจ.ใต้อะ
อยางงี้สงสัยต้องขายธุรกิจไปซื้อที่แถวระยองดีกว่าฮิ


ผมย้ายทะเบียนบ้านจากพะเยาบ้านเกิด
มาระยองเรียบร้อยเมื่อ สาม อาทิตย์ก่อน
5555 คนละเรื่องเดียวกัน :lol: :D
User avatar
firestong
 
Posts: 92
Joined: Sat Oct 18, 2008 4:45 pm


Return to สภากาแฟ



cron