ก่อนไปอ่าน โปรดอ่านเพื่อปูพื้นฐานก่อนนะครับ จะได้เข้าใจเร็วขึ้น
1.เมื่อทำการปักปันเขตแดนกับฝรั่งเศสเสร็จ เอกสารที่ใช้ประกอบการปักปันมีเพียงสัญญา2ฉบับคือฉบับปีค.ศ.1904และ1907โดยยึดสันปันน้ำ
2.จนเหตุการณ์เมื่อศาลโลกตัดสินให้เขมรได้ตัวปราสาทในปีพ.ศ.2505 แต่ไทยได้ยื่นข้อสงวนต่อศาลโลกไว้ และยังมีผลจนทุกวันนี้ เท่ากับยังอ้างสิทธิ์โดย2ประเทศ(อ้างคำพูดของอ.สมปอง สุจริตกูล) ดังนั้นพื้นที่ทับซ้อนจึงมีเพียงตัวปราสาทและการที่ไทยอยู่เฉยหรือสนับสนุนให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็เท่ากับสละสิทธิ์ในการอ้างสิทธิ์ปราสาทพระวิหารโดยสิ้นเชิง และเป็นการเสียดินแดนด้วย เพราะศาลโลกไม่ได้รับรองแผนที่1:200,000ของเขมร เท่ากับว่า
พื้นที่ที่ปราสาทตั้งอยู่เป็นของไทย ตามสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ยึดสันปันน้ำ
ตัวปราสาทเขมรได้สิทธิ์ตามคำตัดสินของศาลโลก
ถ้าพื้นที่ของตัวปราสาทไม่ใช่ของเขมร เขมรจะขึ้นทะเบียนไม่ได้ และ
การขึ้นทะเบียนต้องมีพื้นที่บริวาร (อาคารจัดการ,ส้วม,ร้านอาหารเป็นต้น)
ให้จำข้อมูลเหล่านี้ไว้ครับ ต้องใช้ทำความเข้าใจ
เอามาจาก http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=25743คำกล่าวตอบของรัฐมนตรีว่าการฯ
ในการประชุมของรัฐสภาเพื่อพิจารณาบันทึกการประชุม
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย–กัมพูชา รวม ๓ ฉบับ
๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
................................................
กราบเรียน ท่านประธานที่เคารพ
เรียน ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาผู้ทรงเกียรติ
กระผมนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ขอขอบพระคุณท่านสมาชิกรัฐสภาที่ได้อภิปรายให้ข้อคิดเห็นและข้อห่วงกังวล เกี่ยวกับบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา รวม ๓ ฉบับ ซึ่งได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวางเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๓
กระผมตระหนักดีว่าประเด็นปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชา เป็นเรื่องสำคัญและประชาชนให้ความสนใจอย่างมาก ขอเรียนว่า ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้พยายามชี้แจง ให้ข้อมูลข่าวสารตามช่องทางต่าง ๆ แก่ประชาชน กรรมาธิการต่าง ๆ ทั้งของสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา สื่อมวลชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคมมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้ได้รับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน
กระผมขอเรียนว่า
MOU ๒๕๔๓ เป็นเครื่องมือที่ไทยกับกัมพูชาใช้ในการดำเนินการเรื่องเขตแดนระหว่างทั้ง สองประเทศเพื่อหาว่า เส้นเขตแดนที่สยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันไว้เรียบร้อยแล้วในอดีต ว่าอยู่ที่ใด[/b] กระผมหมายถึงตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ และปี ค.ศ. ๑๙๐๗ ดังนั้น MOU ๒๕๔๓ จึงไม่ใช่ความตกลงเพื่อปักปันเขตแดน หรือเพื่อกำหนดหรือแบ่งเขตแดนกันใหม่ถ้าหาแล้วคนไทยจะรู้ได้ไงว่า ไม่มีการทำให้เราเสียดินแดน เพราะข้อสงสัยมีมากมาย
1.คนไทยถูกไล่ออกจากพื้นที่ของตนที่อยู่มาแต่บรรพบุรุษ
2.คนเขมรเข้าไปอยู่แทนในที่ของคนไทย
3.พื้นที่ทับซ้อนมีแต่ตัวปราสาท ทำไมจึงเกิดสิ่งปลูกสร้างของเขมรในพื้นที่4.6ตร.กม.
4.เมื่อเขมรล้ำเข้ามาเป็นการทำผิดกติกา ทำไมการเจรจาจึงยังเดินหน้า ทำไมไม่หยุดการเจรจาแล้วให้เขมรถอยออกไปก่อน
5.คำกล่าวของนายวา คิม ฮง ที่กล่าวหาไทยว่าไทยล้ำเข้าไปในดินแดนของเขมร และมีอยู่ในบันทึกของJBC โดยทางไทยไม่ได้โต้แย้ง จะถูกทางเขมรใช้เป็นข้ออ้างว่าพื้นที่ทั้งหมดที่เขากล่าวถึงเป็นของเขา เพราะไทยไม่ได้โต้แย้ง เช่นเดียวกับกฎหมายปิดปาก นอก จากนี้ MOU ๒๕๔๓ ยังเป็นกรอบของทั้งสองฝ่ายที่เสนอว่า จะใช้เอกสารใดบ้าง ดังนั้น เมื่อเป็นการเจรจาทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายจึงเสนอเอกสารหลักฐานที่ฝ่ายตนเชื่อว่าเป็นหลักฐานสำคัญ
แม้ MOU จะมีการกำหนดแผนที่ระวางดงรัก มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ เป็นหนึ่งในเอกสารตามข้อ ๑ (ค) ใน MOU ๒๕๔๓ แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นการยอมรับว่าเอกสารดังกล่าวผูกพันฝ่ายไทยแต่อย่างใด ดังนั้น MOU ๒๕๔๓ จึงไม่ใช่การยอมรับแผนที่ระวางดงรักมาตราส่วน ๑: ๒๐๐,๐๐๐ แต่เป็นเพียงเอกสารหนึ่งในเอกสารหลาย ๆ ฉบับที่ต้องนำมาใช้ประกอบการพิจารณา ร่วมกับเอกสารสำคัญอีกสองฉบับ คือ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ (๒๔๔๗) และสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๗ (๒๔๕๐)
ถ้าเขาเสนอเอกสารที่ไม่สมควรเสนอ และศาลโลกก็ไม่ได้รับรอง ทำไมไทยต้องยอมให้เขาเสนอตั้งแต่ต้น การที่บอกว่ามีเอกสารอะไรบ้างอยู่ในสัญญา เท่ากับยอมรับที่จะให้เขาใช้อ้างแล้วครับ เราจะมาไม่ยอมรับในภายหลังหรือขณะพิจารณาหลักเขตแดนก็ต้องเถียงกันอยู่ดี การยอมให้เขาเอาแผนที่ใส่เข้ามาเพื่อให้เขาใช้อ้างอิงก็ผิดแต่ต้นแล้ว
การปักปันกับฝรั่งเศสใช้เพียงสัญญา2ฉบับ และทั้ง2ฝ่ายก็มีอยู่ในมือ ไม่มีแผนที่มาเกี่ยวข้อง การมาหาเส้นเขตแดนเดิมจึงควรใช้เอกสารเดิมทุกอย่าง ให้ดูที่หนังสือสีแดงและขีดเส้นใต้สิครับ อ่านแล้วขัดกันในตัวไหมครับ ซึ่งอาจเทียบเคียงได้กับกระบวนการในศาล กรณีการเสนอพยานหรือหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายสามารถเสนอได้ แต่มิได้หมายความว่า จะผูกมัดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งให้ต้องยอมรับพยานหรือหลักฐานนั้น หรือยอมรับความถูกต้องของพยานหรือหลักฐานนั้น
แต่กระบวนการนี้ไม่ใช่ศาลครับ เอามาเทียบเสียน่านับถือ การยอมให้เขาเอาเอกสารที่ไม่ได้รับการยอมรับจากศาลโลกและไม่มีกำหนดอยู่ในสนธิสัญญาก็ผิดแต่ต้นแล้ว เพราะเท่ากับยอมให้เขาเอาหลักฐานที่ไม่เคยมีปรากฎในการปักปันครั้งก่อนมาใช้อ้างอิงได้ ต้องใช้สนธิสัญญาเพียงอย่างเดียวเหมือนเมื่อ1904และ1907 จึงจะไม่ผิดเพี้ยนจากเดิม โดยในการดำเนินการตาม MOU ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการดำเนินการสำรวจภูมิประเทศจริง การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่คือภาพถ่ายทางอากาศมาตรวจสอบ ประกอบเอกสารต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง
ถ้าถูกต้องจริง สภาพต้องเหมือนเมื่อปี2505ที่ศาลโลกตัดสิน คือพื้นที่ที่ปราสาทตั้งอยู่เป็นของไทย แต่ตัวปราสาทเป็นของเขมร ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงก่อนทำTOR2546(อ้างอิงMOU43) เขมรไม่เคยสามารถทำอะไรกับปราสาทพระวิหารเลย จนหลังจากมีTOR2546 เขมรจึงเริ่มเดินเครื่อง และตอนนี้ พื้นที่แถบนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมรแล้วโดยพฤตินัย และการปล่อยให้มีพื้นที่บริวารให้เขมรไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็เท่ากับไทยเสียพื้นที่4.6ตร.กม.และพื้นที่ที่ตั้งของตัวปราสาทให้เป็นประโยชน์กับเขมร
ข้อโต้แย้งของผมทั้งหมด ยืนยันได้ด้วยข้อมูลพื้นฐานที่กษิตกล่าวเอาไว้ใน2ย่อหน้าถัดลงไป เชิญอ่าน
ท่านประธานที่เคารพ
เขตแดนไทย-กัมพูชาบริเวณปราสาทนี้ถูกกำหนดขึ้นโดยสนธิสัญญาสองฉบับคือ อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗ ซึ่งกำหนดให้เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นไปตามสันปันน้ำบนเทือกเขา ดงรัก และให้ตั้งคณะกรรมการผสมสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสร่วมปักปันเขตแดนที่แน่ชัด ในคดีปราสาทพระวิหารศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่ตัดสินในประเด็นเส้นเขตแดน ไทย–กัมพูชาบริเวณปราสาทพระวิหาร และโดยที่ศาลฯ ได้จำกัดขอบเขตของการพิจารณาคดีนี้ว่า ศาลฯ จะไม่พิจารณาพิพากษาในประเด็นเส้นเขตแดนและสถานะทางกฎหมายของแผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ ไทยจึงมีข้อโต้แย้งตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและทางเทคนิคที่สนับสนุนการ ใช้หลักสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนตามตัวบทสนธิสัญญา ๑๙๐๔ ซึ่งรัฐบาลก็ได้ยึดถือการใช้สันปันน้ำเป็นแนวทางในการดำเนินการเรื่องเขตแดน และปฏิเสธไม่ยอมรับการใช้แผนที่ระวางดงรักซึ่งเป็นหนึ่งในชุดแผนที่ระวาง ๑:๒๐๐,๐๐๐ มาโดยตลอด เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง คือไม่เป็นไปตามสันปันน้ำและไม่สามารถนำมาปรับใช้กับภูมิประเทศจริงได้แล้วทำไมยอมให้เขมรยัดเข้ามาในMOU438ครับท่าน พูดกับทำ ไม่เห็นตรงกันเลยนะครับ (ต่อคำถามเรื่องการไม่คงกำลังทหารเป็นผลเสียกับไทยหรือไม่) ข้อตกลงชั่วคราวฯ เป็นมาตราการลดความตึงเครียดบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยหลีกเลี่ยงการปะทะกันและการใช้กำลัง คืนความปกติสุขให้แก่ประชาชนตามแนวชายแดน และใช้การปรึกษาหารือระหว่างคู่ ภาคีในระหว่างการรอการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกภายใต้คณะกรรมาธิการเขต แดนร่วมไทย–กัมพูชาให้แล้วเสร็จ หากร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ มีผลใช้บังคับ
การไม่คงกำลังทหารดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า กลไกการเจรจาระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ของรัฐบาลที่มุ่งมั่นจะแก้ปัญหาข้อพิพาทเขตแดนในบริเวณ ปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธีและเป็นไปอย่างฉันท์มิตร ดังนั้นการที่ทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายไทยและกัมพูชาไม่คงกำลังไว้ในพื้นที่ไม่ได้ เป็นการทำให้เสียดินแดนหรืออธิปไตยแต่อย่างใดในพื้นที่ที่ประชิดปราสาท
[b]ตรงนั้นเป็นพื้นที่ของเราทั้งหมด ยกเว้นตัวปราสาท การให้เขามีกำลังทหารอยู่เท่ากับเสียอธิปไตยแล้วครับท่าน อย่ามาแถ เพียงแค่ยังไม่เสียถาวรเท่านั้น และฝ่ายไทยก็ไม่ได้สูญเสียความสามารถในการปกป้องดินแดนภายใต้อธิปไตยของไทย และไทยก็ได้ประท้วงกิจกรรมต่าง ๆ ของกัมพูชาบริเวณพื้นที่ประชิดปราสาทเพื่อยืนยันอธิปไตยของไทย ทั้งนี้ ผลของการประท้วงในทางกฎหมายระหว่างประเทศ มีนัยแสดงถึงการไม่ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา[/b]
แล้วจะประท้วงถึงเมื่อไร จนอภิสิทธิ์แก่ตายไปเลยหรือครับ ถ้าเป็นชาวบ้านเขาเรียกว่าครอบครองปรปักษ์ครับหรือจนปักปันเสร็จ คนไทยทั้งชาติจึงได้รู้ความจริงว่า เราถูกรัฐบาลตัวเองหลอก้หมือนที่รัฐบาลอาร์เจนติน่าทำกับประชาชนของตน สำหรับการถอนชุมนุมนั้น ขอเรียนว่า เมื่อร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ มีผลบังคับใช้ ข้อ ๔ ของร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ กำหนดพื้นที่ให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ซึ่งหมายถึงให้รื้อถอนชุมชนและสิ่งปลูกสร้างออกไปพร้อมกับการไม่คงกำลังทหาร จึงขอยืนยันว่าข้อตกลงชั่วคราวนี้จะต้องรวมเงื่อนไขเกี่ยวกับการถอนชุมนุม และสิ่งปลูกสร้างออกไปด้วยและถ้ามีผลบังคับใช้แล้วเขาไม่ถอน แต่อยู่ตลอดไป ไทยจะทำอย่างไรครับ ทำไมไม่มีคำตอบนี้ด้วย และเมื่อเขาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา ทำไมไม่หยุดการเจรจา จนกว่าเขาจะปฏิบัติตาม(ต่อคำถามเรื่องการไม่คงกำลังทหารในพื้นที่เป็นผลดีกับกัมพูชาในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก) ขอเรียนว่า พื้นที่กันชนสำหรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (buffer zone) ที่กัมพูชาเสนอ ไม่รวมพื้นที่ซึ่งเป็นข้อพิพาทด้านเขตแดนกับไทย และระบุด้วยว่า
การกำหนดเขตกันชนจะกำหนดตามผลของการจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดน ร่วมไทย-กัมพูชา และขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการสำรวจจัดทำหลักเขตแดนภายใต้การดำเนินการของคณะ กรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ส่งผลให้ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกต้องรอผลการสำรวจจัดทำหลักเขตแดนภาย ใต้การดำเนินการของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา เพื่อประกอบการพิจรณาขึ้นทะเบียนมรดกโลก
นี่ไงครับ โผล่มาแล้ว
อย่างที่ผมบอก พื้นที่ทั้งหมดเป็นของไทย ตามสนธิสัญญา เฉพาะตัวปราสาทเป็นของเขมรตามคำตัดสินของศาลโลก ไอ้พื้นที่กันชนโผล่มาจากไหนครับพี่ มันลอยขึ้นมาจากฝั่งเขมรหรืออย่างไรครับ และที่มาเร่งเข้าสภานี่น่ะ กลัวเขมรไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกล่าช้าหรือครับ อภิสิทธิ์เคยให้สัมภาษณ์นักข่าวว่า ถ้ามีปัญหาชายแดนกลัวว่าเขมรจะขึ้นทะเบียนไม่ได้และล่าสุดยังให้สัมภาษณ์หลังไม่สามารผ่านสภา จนต้องตั้งกรรมาธิการร่วมว่า ผมได้รายงานให้เขมรทราบแล้วในเรื่องที่เกิดขึ้น แม่เจ้าโว้ย ต้องราบงานเขมรทันที กลัวเขมรโกรธหรือครับท่าน (ประเด็นมรดกโลก ต่อคำถามเกี่ยวกับ ICC จะสามารถเข้ามาจัดการพื้นที่ 4.6 ตร.กม.)
ขอเรียนยืนยันว่า การดำเนินการใด ๆ ของกัมพูชา และยูเนสโก รวมทั้ง ICC หากจะออกมานอกตัวปราสาท หรือเข้ามาในพื้นที่ของไทยจะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศไทยก่อน ดังนั้น จึงวางใจได้ว่า การดำเนินการของ ICC จะไม่ล่วงล้ำเข้ามาในพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม. ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
เฉพาะตัวปราสาทมันมีส้วม,ตัวอาคารดำเนินการและอื่นๆหรือครับ คำตอบของกษิต ไม่ได้บอกว่าเราจะไม่เอา4.6ตร.กม.ไปร่วมกับเขมรเลยนะครับ จะเห็นว่าเขาพูดว่า "หากจะออกมานอกตัวปราสาท หรือเข้ามาในพื้นที่ของไทยจะต้องได้รับอนุญาตจากประเทศไทยก่อน" ดังนั้นถ้าเขาขอเราก็สามารถให้ได้ใช่ไหม ถ้าเราไม่ให้ คนมามรดกโลกก็ไม่มีส้วมเข้าใช่ไหม มันก็จะขึ้นทะเบียนไม่ได้ใช่ไหม นับว่าเป็นการซ่อนคำตามหลักภาษาทางการฑูตที่เลวจริงๆ
และการปล่อยให้เขมรขึ้นทะเบียนได้ก็เท่ากับว่าเราเสียดินแดนแล้วครับท่าน
(กรณีความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต่อคำถามที่ว่า ท่าทีของตัวกระผมไม่เป็นมิตรกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการ ดำเนินความสัมพันธ์)ท่านประธานที่เคารพ
ตามที่สมาชิกรัฐสภาได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินความสัมพันธ์กับ ประเทศเพื่อนบ้าน กระผมขอยืนยันว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญเสมอมากับการเสริมสร้างความ สัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านบนพื้นฐานของการบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน และในการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์แห่งชาติของไทย อันได้แก่ อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิของประเทศ ตลอดจนความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของไทย ที่ผ่านมารัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวังที่ จะรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน หากในขณะเดียวกันก็ปกป้องมิให้ไทยต้องเสียประโยชน์ทั้งที่เป็นรูปธรรมและ นามธรรม โดยผลที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจ กล่าวคือความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ในระดับปกติหรือดียิ่งขึ้น ในบางส่วนที่เคยเป็นปัญหาก็มีการปรับตัวในเชิงบวก ซึ่งสะท้อนว่าการดำเนินการของรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมาใน ทิศทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิผล
ท่านประธานที่เคารพ
จากปัญหาข้อพิพาทเขตแดนที่ผ่าน ๆ มา แสดงให้เห็นว่าการมีเส้นเขตแดนที่ชัดเจน ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศ
เส้นเขตแดนที่ชัดเจนจะช่วยป้องกันและระงับความขัดแย้งตามชายแดนที่เกิดจาก ปัญหาเขตแดน ลดปัญหาสภาพการณ์ความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง ส่งเสริมให้สาธารณชนไทยโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่สามารถได้รับประโยชน์ทาง เศรษฐกิจและอื่น ๆ จากเสถียรภาพและความปลอดภัย และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทั้งสองประเทศในบริเวณแนวชายแดนได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องหวาดระแวงว่าที่ดินจะถูกรุกราน หรือตกอยู่ในข้อจำกัดใด ๆ ที่มีสาเหตุจากข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ
จริงอ้ะ แล้วคนไทยที่อยู่มาแต่เดิมไหงต้องระเห็จออกมาครับ กลายเป็นว่าคนไทยได้ผลตรงข้ามกับที่ท่านพูดมานะครับการมีเส้นเขตแดนที่ชัดเจน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และมาตรการควบคุมและป้องกันอาชญากรรมระหว่างประเทศ เช่น การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการปราบปรามการลักลอบขนค้ายาเสพติด อีกทั้งยังสร้างความชัดเจนในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายทหาร ที่จะดำเนินการป้องกันและรักษาสิทธิประโยชน์ของประชาชนชาวไทยตามแนวชายแดน และผลประโยชน์ของชาติในด้านต่าง ๆ
ท่านประธานที่เคารพ
บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา จำนวน ๓ ฉบับ ที่เรียนเสนอขอความเห็นชอบของรัฐสภา หากได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา กระทรวงต่างประเทศก็จะแจ้งยืนยันฝ่ายกัมพูชาโดยช่องทางการทูตให้บันทึกการ ประชุมทั้ง ๓ ฉบับดังกล่าวมีผลเพื่อให้กระบวนการเจรจาเรื่องเขตแดน และการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในกรอบคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ดำเนินต่อไปได้ อันเป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันของทั้งไทยและกัมพูชาที่จะระงับข้อพิพาทเขตแดน ที่มีอยู่อย่างสันติวิธี
เราไม่เคยมีปัญหารุนแรงกับเขมรเลยหลังสงครามอินโดจีนสงบลง จนมามีไอ้ข้อตกลงเฮงซวยพวกนี้และมาหนักในสมัยแม้ว และเพื่อที่จะให้การดำเนินงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในกรอบของคณะ กรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการปรับเปลี่ยนให้พื้นที่ชายแดนเป็นพื้นที่แห่งความร่วมมือบน พื้นฐานของประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างความร่วมมือในระดับภูมิภาค หรืออาเซียน ให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
ท่านประธานที่เคารพ
โดยที่ยังมีพี่น้องประชาชนชาวไทยที่ยังมีความห่วงใยและข้อกังวลในเรื่องดัง กล่าว ซึ่งรัฐบาลตระหนักความห่วงใยดังกล่าว รัฐบาลได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมของรัฐสภา จำนวน ๓๐ คน โดยมีสัดส่วนของวุฒิสภาจำนวน ๑๕ คน และสภาผู้แทนราษฎร ๑๕ คน เพื่อพิจารณาและศึกษาประเด็นที่ยังมีความเห็นไม่ตรงกันเพื่อทำความเข้าใจกับ พี่น้องประชาชนทั้งประเทศให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
จะคอยดูว่าจะมีลูกเล่นอะไรอีก ขอกราบขอบพระคุณครับท่านประธานครับ
สรุปได้ว่ากษิตสารภาพข้อมูลและความจริงออกมาเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าข้อมูลพธม.ถูกต้องแล้ว