ในหลวงกับการศึกษาไทย

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระราชวงศ์ไทย เทิดพระเกียรติในหลวงและราชวงศ์จักรีที่ห้องนี้ครับ
Forum rules
- ห้ามใช้คำพูดหยาบคาย
- ห้ามโพสกระทู้หรือข้อความที่ดูหมิ่นเสียดสีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันขาด

ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby bluedog » Thu Jul 07, 2011 10:52 am

ในหลวงกับการศึกษาไทย

เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2546 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางแผน และกำหนดนโยบายทางการศึกษาของชาติ ได้ตระหนักดีว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงแก่การพัฒนาการศึกษาของไทย พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาของชาติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่อาณาประชาราษฎร์ตลอดมา

ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม และเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จึงได้จัดทำเว็บไซต์ "ในหลวงกับการศึกษาไทย" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมการพัฒนาการศึกษาที่เกี่ยวเนื่องในพระราชดำริ ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย พระราชปณิธานและพระราชดำริที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษา รวมทั้งพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการสร้างคน และการพระราชทานทุนการศึกษาซึ่งพสกนิกรได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ในพระปรีชาญาณและสายพระเนตรอันยาวไกล ในการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าสูงสุดในการพัฒนาประเทศ และส่งผลให้ปวงชนชาวไทยมีความร่มเย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน พระเจ้าอยู่หัวกับการศึกษาในระบบโรงเรียน
User avatar
bluedog
 
Posts: 146
Joined: Fri Mar 11, 2011 1:52 pm

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby ae_mon » Thu Jul 07, 2011 11:33 am

พระบรมราโชวาทของในหลวง
"หนังสือเป็นศูนย์รวมปัญญาของโลก จงอ่านหนังสือดีเดือนละเล่ม"
User avatar
ae_mon
 
Posts: 365
Joined: Mon Jul 26, 2010 11:24 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby เพียงดิน2889 » Thu Jul 07, 2011 5:27 pm

การศึกษาทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ สามารถนำมาพัฒนาประเทศชาติ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง การศึกษาทำให้คนสามารถประกอบอาชีพ นำรายได้มาเลี้ยงตนเอง ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดได้ พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับการศีกษาเป็นอย่างมาก ดังเช่น คำว่า การศึกษาสร้างคน
คนสร้างชาติ
User avatar
เพียงดิน2889
 
Posts: 158
Joined: Mon Feb 07, 2011 5:39 pm

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby kuron23 » Fri Jul 08, 2011 9:04 am

ในหลวงทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาในทุกระดับ และทรงได้ตั้งโรงเรียนวังไกลกังวล ที่หัวหิน ตามพระบรมราโชบายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน แก่โรงเรียนวังไกลกังวล ความว่า...
“ให้จัดการศึกษาอบรมเด็กนักเรียนให้เป็นเด็กดี มีเมตตากรุณา เมื่อจบการศึกษาตามกำลังสติปัญญาของแต่ละคนแล้ว ให้มีความสามารถทำงานประกอบอาชีพพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเรียนถึงระดับชั้นใดก็ตาม”
User avatar
kuron23
 
Posts: 407
Joined: Thu Jul 22, 2010 8:34 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby สมศรี422อาร์ » Mon Jul 25, 2011 8:47 pm

ท่านทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยเป็นอย่างมาก
เพราะเยาวชนของชาตินั้นจะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศชาติในภายภาคหน้า
User avatar
สมศรี422อาร์
 
Posts: 208
Joined: Sun Oct 17, 2010 1:27 pm

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby เพียงดิน2889 » Wed Jul 27, 2011 6:36 pm

การศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรด้วยการศึกษา ทรงให้ทุนการศึกษาต่าง ๆ มากมาย การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พระองค์ทรงพระราชทุนการศึกษา เช่น ทุนมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการศึกษา เป็นการเพิ่มพูนวิทยาการใหม่ให้กับผู้ที่ต้องการจะศึกษาในระดับที่สูงต่อไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคตต่อไป
User avatar
เพียงดิน2889
 
Posts: 158
Joined: Mon Feb 07, 2011 5:39 pm

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby sweet2011 » Wed Jul 27, 2011 9:28 pm

“…ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษ เป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรกเมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วน ทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่งซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้น ๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจ ความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้…”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔
User avatar
sweet2011
 
Posts: 179
Joined: Sat Feb 05, 2011 10:41 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby militaryloveking » Thu Jul 28, 2011 9:26 am

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักเพื่อประชาชนคนไทยทั้งประเทศมาโดยตลอด
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby ae_mon » Thu Jul 28, 2011 10:54 am

โครงการ "สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ตามพระราชประสงค์"
เกิดขึ้นจากพระราชดำริในเรื่องการเผยแพร่ความรู้
ที่ต้องการให้เป็นโลกของความรู้ ที่มีการนำเอาวิชาการในแขนงต่าง ๆ
มารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
User avatar
ae_mon
 
Posts: 365
Joined: Mon Jul 26, 2010 11:24 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby militaryloveking » Thu Jul 28, 2011 11:39 am

ทรงงานด้านการศึกษามาตลอด ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby sweet2011 » Mon Aug 01, 2011 5:50 pm

เหตุผลที่เลือกวันที่ 29 กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ นั้นเพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธาน และทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ทรงเปิดอภิปรายในหัวข้อ "ปัญหาการใช้คำไทย" โดยพระองค์ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปราย ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยรวมถึงความห่วงใยในภาษาไทย ซึ่งเป็นที่ประทับใจกับผู้ร่วมเข้าประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้น มีใจความตอนหนึ่งว่า "เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษาก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่าวิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้... สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆ ก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆ ที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก..."
นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ซึ่งในโอกาสต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส อย่างในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 ที่ได้ทรงมีพระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "ในปัจจุบันนี้ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคนจึงมีหน้าที่จะต้องรักษาไว้ ฉะนั้นจึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษาไทย ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ"
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยะภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก เป็นต้น
ที่มา www.kapook.com
User avatar
sweet2011
 
Posts: 179
Joined: Sat Feb 05, 2011 10:41 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby militaryloveking » Wed Aug 03, 2011 10:08 am

การศึกษาทำให้คนมีความรู้ ความสามารถ สามารถนำมาพัฒนาประเทศชาติ ให้มีความเจริญรุ่งเรือง มีความมั่นคง การศึกษาทำให้คนสามารถประกอบอาชีพ นำรายได้มาเลี้ยงตนเอง ทำให้ประเทศชาติอยู่รอดได้ พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับการศีกษาเป็นอย่างมาก ดังเช่น คำว่า การศึกษาสร้างคน
คนสร้างชาติ
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby ปลาบู่ทะเล » Tue Aug 09, 2011 4:48 pm

ถูกต้องนะค๊ะการศึกษาทำให้คนมีความรู้
แต่คนที่มีความรู้บางคนทำให้ในหลวงต้องปวดหัว
ขอให้คนที่มีความรู้ช่วยกันคิดหาหนทางที่จะทำให้
ประเทศไทยมีความสงบสักที่เถอะ
ในหลวงจะได้มีความสุข
User avatar
ปลาบู่ทะเล
 
Posts: 208
Joined: Thu Jul 22, 2010 9:11 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby เพียงดิน2889 » Tue Aug 09, 2011 5:55 pm

การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างชาติ คนในชาติควรหมั่นศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะในตำรา หนังสือ การค้นคว้า วิจัย การเรียนรู้ ก็ถือว่าเป็นการศึกษา เราคนไทยควรให้ลูกหลานมีการศึกษาที่ดี มีความรู้ และคุณธรรมประกอบกันไปด้วย เพราะความรู้ถ้าใช้ให้เกิดประโยชน์ก็จะเกิดประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดวัตถุประสงค์จะทำให้คนอื่นเดือนร้อนได้ คนที่ศึกษาควรศึกษาทั้งวิชาการ การใช้ปัญญาในการศึกษา จึงจะถือว่าการศึกษานั้นสำเร็จตามวัตถุประสงค์ พระองค์จึงให้ความสำคัญกับการศึกษาไทย
User avatar
เพียงดิน2889
 
Posts: 158
Joined: Mon Feb 07, 2011 5:39 pm

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby militaryloveking » Wed Aug 10, 2011 8:44 am

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากมายมหาศาล
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby รักเมืองไทย55 » Tue Aug 23, 2011 5:24 pm

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป




นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่นๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่างๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์



ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่างๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต



โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น



เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้นๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

http://king.kapook.com/job_edu.php
User avatar
รักเมืองไทย55
 
Posts: 476
Joined: Tue Aug 24, 2010 11:12 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby ปลาบู่ทะเล » Wed Aug 24, 2011 12:20 pm

ในหลวงทรงอยู่คู่กับการศึกษาไทยจริงๆๆๆ
ท่านต้องการเห็นคนไทยมีความรู้แม้จะอยู่บนเขา
ท่านก็ต้องการให้การศึกษาไปถึง
User avatar
ปลาบู่ทะเล
 
Posts: 208
Joined: Thu Jul 22, 2010 9:11 am

Re: ในหลวงกับการศึกษาไทย

Postby militaryloveking » Tue Oct 11, 2011 8:47 am

โครงการในพระราชดำรินานัปการที่พระองค์ทรงก่อกำเนิดล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรทั่วทั้งแผ่นดิน
User avatar
militaryloveking
 
Posts: 587
Joined: Tue May 24, 2011 9:27 am


Return to ห้องเฉลิมพระเกียรติ



cron